ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ชื่อว่ากรรมเถิงแล้วจำใจจำจาก บ่มีไผแก่ทื้นคืนได้โลกเฮา แปลว่า เมื่อถึงคราวต้องพลัดพรากจากกัน แม้ไม่อยากจากก็ต้องจาก ไม่มีใครย้อนเวลาคืนได้ หมายถึง เมื่อผลกรรมมาถึงแล้ว ไม่มีใครจะแก้ไขทัดทานได้

การละเล่นพื้นบ้านอีสาน  

ปาว ปิ่ง ป้ง...การละเล่นพื้นบ้าน --- อีสานจุฬาฯ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
การจัดไท


การจัดไท กะคือ การแบ่งฝ่ายออก ส่วนใหญ่สิจัดออก เป็นสองไท หรือสองฝ่าย สำหรับการละเล่น แบบที่ต้องแข่งขันกัน วิธีการแบบง่ายๆ กะคือ "ปาว ปิ่ง ป้ง” (เปา ยิง ฉุบ) กับ “ โอ น้อย ออก ”

 

จัดไทแบบ “ ปาว ปิ่ง ป้ง ”

ผู้ที่สูสีกันจับคู่กัน หรือผู้ญิงจับคู่กับผู้ญิง ผู้ซายจับคู่กับผู้ซาย แล้วกะ ปาว ปิ่ง ป้ง กัน

กำปั้น หมายถึง ค้อน
ชูนิ้วชี้กับนิ้วกลางขึ้นสองนิ้ว หมายถึง กรรไกร
แบมือหงายฝ่ามือขึ้น หมายถึง กระดาษ

เกณฑ์ตัดสิน :

ค้อน ชนะ กรรไกร แต่ว่า แพ้ กระดาษ
กรรไกร ชนะ กระดาษ แต่ว่า แพ้ ค้อน
กระดาษ ชนะ ค้อน แต่ว่า แพ้ กรรไกร

ผู้ที่ชนะ กะไปอยู่ไทชนะ ผู้ที่แพ้ กะไปอยู่ไทแพ้.... กะสิได้ สองไท พอดี จากนั้น กะเริ่มเล่น

 

จัดไทแบบ “ โอ น้อย ออก ”

วิธีการคือ คนที่สิเล่นเทิงเหมิดมายืนล้อมวงกัน แล้วกะว่า “ โอ น้อย ออก ” แล้วกะเด่มือที่แบ ออกมากลางวง พร้อม ๆ กัน สิหงายฝ่ามือขึ้น (ที่เอิ้นว่าขาว) หรือ เอาหลังมือขึ้น (ที่เอิ้นว่าดำ) กะได้ แล้วแต่ผู้ได๋สิเฮ็ด …

สมมติว่า มีคนอยู่สิบคน ต้องการแบ่งออกไทละ ห้าคน โดยใช้วิธี “ โอ น้อย ออก ” คนทั้งสิบคนมายืนล้อมวงกัน แล้วกะว่า  “ โอ น้อย ออก ” แล้วกะเด่มือที่แบ ออกมากลางวง พร้อม ๆ กัน สมมติ ออก “ขาว” หกคน ออก “ ดำ ” สี่คน คนทั้งสี่ นี้ เป็นไทเดียวกัน ให้แยกออกไปก่อน ที่เหลืออีกหกคน ต้อง “ โอ น้อย ออก ” อีก เพื่อหาอีกคนหนึ่ง ไปอยู่ไทที่แยกออกไปแล้ว “ โอ น้อย ออก ” จนได้คนที่ออกมือต่างจากผู้อื่นหนึ่งคน นั่นล่ะ... เป็นวิธีการค่อย ๆ ตัด ทอน ออก นั่นล่ะ

  (การเล่นบางอย่าง จัดไท โดยบ่ใช้ “ ปาว ปิ่ง ป้ง ” หรือ “ โอ น้อย ออก ” เพราะว่ามีวิธีการจัดไทแบบเฉพาะของการเล่น นั้นๆ เดี๋ยวจั่งค่อยเว้าถึง ทีหลัง เนาะ)

 

การคัดโตและเลือกไทเล่นก่อน

“ การคัดโต ” กะคือ การหาคนที่สิเป็นคนแรก ของการเริ่มเล่น การละเล่นบางอย่าง เช่นการคัดหาผู้ที่สิเป็นหนอน เป็นต้น

การ “ คัดโต ” สำหรับการละเล่นทั่ว ๆ ไป กะใช้วิธี แบบ “ โอ น้อย ออก ” แต่กะมีการละเล่นบางอย่าง มักใช้วิธีคัดโตแบบเฉพาะ ซึ่งสิอธิบายไว้ในหัวข้อการละเล่นชนิดนั้น ๆ แต่โดยทั่วไปแล้ว “โอ น้อย ออก” สามารถใช้  “คัดโต ” ได้กับการละเล่นทุกอย่าง (ที่มีการคัดโต)

“ การเลือกไทเล่นก่อน ” กะคือ การเลือกแล้วกะตัดสินว่า ไทได๋สิเป็นฝ่ายเฮ็ดอันนั้นก่อน ไทได๋ สิเป็นฝ่ายเฮ็ดอันนี้ก่อน หรือ ไทได๋ สิเป็นฝ่ายได้เล่นก่อน นั่นล่ะ โดยมาก กะใช้วิธี “ ปาว ปิ่ง ป้ง ”

 

คัดโตแบบ “ โอ น้อย ออก ”

วิธีการคือ คนที่สิเล่นเทิงเหมิดมายืนล้อมวงกัน แล้วกะว่า “ โอ น้อย ออก ” แล้วกะเด่มือที่แบ ออกมากลางวง พร้อม ๆ กัน สิหงายฝ่ามือขึ้น (ที่เอิ้นว่าขาว) หรือ เอาหลังมือขึ้น (ที่เอิ้นว่าดำ) กะได้ แล้วแต่ผู้ได๋สิเฮ็ด … คนเดียวผู้ที่ต่างจากผู้อื่นนั่นล่ะ คือผู้ที่ถืกคัดเลือก

สมมติว่า มีคนอยู่สิบคน ต้องการคัดเลือกออกมาผู้นึง “ โอ น้อย ออก ” แล้ว... ถ้าคนเก้าคนหงายฝ่ามือขึ้น อีกคนนึงต่างหมู่ คือเอาหลังมือขึ้น...ตัดสินว่า ผู้ที่เอาหลังมือขึ้น นั่นล่ะ คือผู้ที่ถืกคัดเลือก...หรือถ้าคนเก้าคน เอาหลังมือขึ้น อีกคนนึงต่างหมู่ คือหงายฝ่ามือขึ้น...ตัดสินว่า ผู้ที่หงายฝ่ามือขึ้นนั่นล่ะ คือผู้ที่ถืกคัดเลือก...

“ โอ น้อย ออก ” ไปเรื่อย ๆ จนได้คนที่ออกมือต่างจากผู้อื่นหนึ่งคน นั่นล่ะ

 

เลือกไทเล่นก่อนโดย “ ปาว ปิ่ง ป้ง ”

แบบที่๑ หัวหน้าหรือโตแทนของแต่ละไท แค่ไทละคนเดียว ออกมา “ ปาว ปิ่ง ป้ง ” กัน

แบบที่๒ ปาวกันเหมิดทุกคน โดย อันดับแรก แต่ละไทส่งโตแทนออกมาไทละหนึ่งคน แล้วกะ “ปาว” กัน ผู้ที่แพ้ ถือว่าตาย กะถอยออกไป ผู้ที่ชนะ กะอยู่ต่อ... โตแทนของไทได๋แพ้ ไทนั้น กะต้องส่งผู้อื่นออกไป “ ปาว ” สู้กันต่อ ...แพ้ - ชนะ สลับกันไป มา... จนฝ่ายได๋ ฝ่ายนึงแพ้เหมิดทุกคน นั่นล่ะ

เกณฑ์ตัดสิน :

ค้อน ชนะ กรรไกร แต่ว่า แพ้ กระดาษ
กรรไกร ชนะ กระดาษ แต่ว่า แพ้ ค้อน
กระดาษ ชนะ ค้อน แต่ว่า แพ้ กรรไกร

ผลการการ “ ปาว ” กัน ไทได๋ ชนะ ไทนั้น กะได้เล่นก่อน

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... การละเล่นพื้นบ้านอีสาน