จำนวนผู้เล่น : สองคนขึ้นไป (หรือสิฝึกเล่นผู้เดียวกะบ่ว่ากัน)
การจัดไท : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง (ถ้ามีอยู่สองหรือสามคน กะบ่ต้องจัดไทยาก เล่นไผเล่นมันเลย)
การเลือกเล่นก่อน : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง (ถ้ามีสามคน กะใช้วิธี โอ น้อย ออก แล้วกะที่เหลือสองคน จั่งค่อย ปาว ปิ่ง ป้ง)
ตาตุ๊บมีวิธีเล่นอยู่สองแบบ คือ แบบธรรมดา กับ แบบหัวกะโหลก
ตาตุ๊บแบบธรรมดา
สถานที่และการเตรียม :
เดิ่นหรือบริเวณ โดยมากมักใช้เดิ่นขี้ดิน (สิเป็นพะลานปูน กะได้) ขีดสนามเล่นขึ้นเป็นตาๆ โดย ขีดเส้นแนวตั้ง สามเส้น แล้วกะเส้นแนวนอนหรือแนวขวาง อีกประมาณ ห้าเส้นขึ้นไป สิเป็นหกเส้น เจ็ดเส้น แปดเส้น เก้าเส้น กะได้ แล้วแต่สิอยากเล่นกันจักช่อง หรือว่าจักบ้าน นั่นล่ะ จากนั้น กะขีดทะแยงช่องที่อยู่หัวมุมบนสุด สมมติว่าเป็นศาลาพักเซา ซึ่งศาลาพักนี่ ผู้เล่นทุกคนสามารถเซาพักได้
อุปกรณ์ : ลูกโยน
ลูกโยน เฮ็ดจากของแปๆ แบนๆ เช่น เศษถ้วยกาไก่แตก เศษกระเบื้องแตก เปลือกหอย เปลือกบักบก ฯลฯ แล้วแต่สิเลือกใช้น้อ... แต่ว่า ต้องถู หรือฮุลบคม ออกดีๆ เพื่อป้องกันบ่ให้บาดตีน
วิธีการเล่น :
สมมติให้ช่องแต่ละช่อง คือบ้านที่ว่างอยู่ บ่มีไผเป็นเจ้าของ แล้วกะให้ช่องหัวมุมเป็นศาลาสาธารณะ... บาดทีนี่ ผู้เล่น กะสิเล่นเพื่อเอาบ้านที่บ่มีเจ้าของนั้นมาเป็นบ้านเจ้าของ โดยผ่านด่านต่างๆ เทิงเหมิด ห้าด่าน หรือ ห้าตา คือ
๑ ตาโยน-เก็บ
๒ ตาค้างหม้อกะทะ
๓ ตาเตะ
๔ ตาเบิด
๕ ตาเลือกบ้าน
๑. ตาโยน เก็บ
ผู้เล่น ใช้ลูกโยน เริ่มโยนไปตั้งแต่บ้านที่๑.... แล้วกะสักอีเลง หรือใช้ขาข้างเดียวกระโดด ตั๊บๆ ไป... สักอีเลง ไปฮอดบ้านที่มีลูกโยนวางอยู่ กะก้มลงเก็บ แล้วกะสักอีเลงต่อไป ..พอไปฮอดศาลาพัก กะเอาขาลงเหยียบพื้นเทิงสองขา เป็นการพักเซาเมื่อย... จากนั้น กะสักอีเลงต่อ จนออกบ้านสุดท้าย... เป็นการจบหนึ่งรอบ
จากนั้น กะโยนลูกโยน ไปบ้านที่๒... แล้วกะสักอีเลง ไปเก็บลูกโยน ...จนออกบ้านสุดท้าย (แบบเดียวกันบ้านที่๑) ...บ้านที่๓ ...บ้านที่๔.... บ้านหลังสุดท้าย... กะใช้วิธีการแบบเดียวกัน
พอโยนพร้อมทั้งสักอีเลงเก็บลูกโยน จนครบเหมิดทุกบ้าน กะเป็นอันผ่านตาโยน-เก็บ แล้วกะเข้าสู่ตาที่ ๒ คือตาค้างหม้อกะทะ
แต่ว่า ถ้าผู้เล่น ลุ่น ก่อนครบบ้านสุดท้าย เพราะผิดกติกา เช่น โยนผิดบ้าน ลูกโยนวางถืกเส้น หรือผู้เล่นเหยียบเส้น เป็นต้น ...กะต้องเถิงทีของผู้อื่น.... ผู้อื่นเล่นจน ลุ่น พุ่นล่ะ เจ้าของจั่งค่อยมาโยน-เก็บ ต่อจากบ้านที่ ลุ่น
กติกาสำหรับตาโยน-เก็บ :
- ต้องโยนลูกโยนตามลำดับบ้านไปเรื่อยๆ ตั้งแต่บ้านที่๑ จนถึงบ้านสุดท้าย ยกเว้นศาลาพัก บ่ต้องโยน-เก็บ
- ลูกที่โยนไป ต้องตรงตามบ้านที่กำลังเล่นอยู่ ถ้ากลิ้งไปบ้านอื่น ถือว่าโยนผิดบ้าน ผู้เล่นผู้นั้น ต้อง ลุ่น ทันที หรือถ้าลูกโยน ไปทับเส้น กะ ลุ่น คือกัน
- การไปเก็บลูกโยน ต้องสักอีเลง หรือกระโดดขาเดียว ไป โดยห้ามเหยียบเส้น ถ้าผิดกติกา ลุ่น ทันที
- ผู้เล่น พอไปฮอดศาลาพัก ต้องเอาขาลงเหยียบพื้นเทิงสองขา
- ผู้ที่ ลุ่น การเล่นรอบนั้นเป็นอันยุติ
* กรณีเล่นจนมีบ้านเป็นของเจ้าของ
- บ้านที่มีเจ้าของแล้ว บ่ว่าสิเป็นบ้านเจ้าของหรือบ้านผู้อื่น บ่ต้องโยน-เก็บบ้านหลังนั้นอีก ให้ข้ามไปหลังต่อไปเลย
- การสักอีเลง... พอฮอดบ้านเจ้าของ ให้เอาขาลงเหยียบพื้นเทิงสองขา... แต่สำหรับบ้านของผู้อื่น ห้ามเหยียบเด็ดขาด ต้องกระโดดข้วม... ถ้ากระโดดบ่ข้วม บ่ว่าสิไปตกบ้านเขาหรือว่าเหยียบเส้น กะตาม ต้อง ลุ่น ทันที (บ้านเจ้าของต้องพัก บ้านผู้อื่นต้องข้วม)
๒. ตาค้างหม้อกะทะ
ผู้เล่นที่ผ่านตาโยน-เก็บแล้ว เอาลูกโยน ค้างไว้ตีนข้างที่บ่ได้ใช้เหยียบกระโดด... งอนิ้วตีนขึ้นป้องกันลูกโยนตก.. ยกตีนข้างที่บ่ได้ใช้กระโดดขึ้น เด่ไปข้างหน้าจักหน่อย โดยรักษาระดับความสมดุลไว้ให้ดี เพื่อบ่ให้ลูกโยนตกจากตีน (นี่..เอิ้นว่าค้างหม้อกะทะ) ... แล้วขาอีกข้างหนึ่ง กะสักอีเลงไป ตั๊บๆ ไปเรื่อยๆ พอไปฮอดศาลาพัก กะเอาขาที่ค้างหม้อกะทะลงพักได้ ซึ่งผู้เล่นสามารถจัดลูกโยนใส่ตีนใหม่ได้ จากนั้น กะเฮ็ดคือเก่า... สักอีเลง ต่อไปจนออกบ้านสุดท้าย.... เป็นอันเล่นผ่านตาค้างหม้อกะทะ
กรณีต่างคนต่างมีบ้านเป็นของเจ้าของแล้ว... สักอีเลงไปฮอดบ้านเจ้าของ ให้เซาพัก ซึ่งสามารถจัดลูกโยนใหม่ได้.. บ้านของผู้อื่นให้โดดข้วม ..หม่องนี่ล่ะ ลูกโยนมักสิตกจากตีน.. แต่ว่าถ้าบ้านเจ้าของ อยู่ถัดบ้านผู้อื่นไปพอดี ถึงลูกโยนสิตกจากตีน ถ้าตกลงในบ้านเจ้าของ กะบ่เป็นหยัง บ่ผิดกติกา...
กติกาสำหรับตาค้างหม้อกะทะ :
- ในบ้านผู้อื่น และในบ้านที่บ่มีเจ้าของ ลูกโยน ต้องบ่หลุดจากตีน
- ในบ้านเจ้าของ กับศาลาพัก ลูกโยนหลุดจากตีนได้ แต่ต้องบ่กลิ้งไปนอกบ้าน หรือทับเส้น แล้วกะต้องเอาขาลงสองขา พักเซาเมื่อย
- บ้านที่บ่มีเจ้าของ ต้องสักอีเลงขาเดียวไป บ้านของผู้อื่น ต้องโดดข้วม
- ห้ามเหยียบเส้น บ่ว่าสิเป็นเส้นได๋กะตาม
- ลูกโยน ต้องเอาค้างไว้ตีน ห้ามเอานิ้วตีนคีบหรือหนีบ
- ผิดกติกา ลุ่น ทันที, ผู้ที่ ลุ่น การเล่นรอบนั้นเป็นอันยุติ
๓. ตาเตะ
ผู้เล่นที่ผ่านตาค้างหม้อกะทะแล้ว เอาลูกโยน วางไว้ทางนอกช่อง หน้าบ้านหลังที่ ๑ จากนั้น กะยกขาข้างหนึ่งขึ้น สักอีเลง คือเก่านั่นล่ะ เอาตีนข้างที่ใช้กะโดด ค่อยๆ เตะลูกโยนไปตามแนวยาวของช่อง สิเตะให้เข้าทุกบ้านกะได้ เตะให้กลิ้งไปไกลๆ ข้วมหลายๆ บ้านกะได้ แต่ต้องบ่กลิ้งออกนอกกรอบ
หลักการเก่า ศาลา กับบ้านเจ้าของ ต้องพัก บ้านผู้อื่นต้องข้วม ดังนั้น สิเตะลูกโยนเลยบ้านเจ้าของไปบ่ได้ เลยศาลาไปกะบ่ได้ แล้วกะลูกโยนกลิ้งเข้าบ้านผู้อื่นกะบ่ได้ อันนี้ ต้องก๋าให้ดี สักอีเลงเตะไปเรื่อยๆ จนวนออกบ้านสุดท้าย กะถือว่าผ่านตาเตะ
กติกาสำหรับตาเตะ :
- บ้านที่บ่มีเจ้าของ สิเตะลูกโยนเข้าไป กะได้ เตะข้วมไป กะได้ แต่ผู้เล่น ต้องสักอีเลงผ่านไปตามปกติ
- บ้านเจ้าของ กับศาลาพัก ต้องเตะลูกโยนเข้าไป เพื่อพักเซา เตะข้วมหรือเลยไปบ่ได้ แล้วกะต้องเอาขาลงสองขา พักเซาเมื่อย
- ลูกโยนที่ถืกเตะไป ต้องบ่ไปหยุดทับเส้น หรือหยุดอยู่บ้านผู้อื่น
- ลูกโยนที่ถืกเตะไป ต้องบ่ออกนอกกรอบหรือขอบเขตที่ขีดเส้นไว้
- ห้ามเหยียบเส้น บ่ว่าสิเป็นเส้นได๋กะตาม
- บ้านที่บ่มีเจ้าของ ต้องสักอีเลงขาเดียวไป บ้านของผู้อื่น ต้องโดดข้วม
- ผิดกติกา ลุ่น ทันที, ผู้ที่ ลุ่น การเล่นรอบนั้นเป็นอันยุติ
๔. ตาเบิด
ผู้เล่นที่ผ่านตาเตะแล้ว ไปยืนอยู่ทางหน้าบ้านที่๑ เงยหน้าขึ้นฟ้า (สิหลับตานำกะได้) เฮ็ดหน้าเบิดๆ นั่นล่ะ จากนั้น กะค่อยๆ ก้าวย่าง ไปตามบ้านหลังต่างๆ โดยระวังบ่ให้เจ้าของเหยียบเส้น หรือย่างเป๋ออกนอกกรอบ (ตานี้บ่ต้องสักอีเลง)
หลักการเก่าคือ ศาลา กับบ้านเจ้าของ ให้เซาพัก บ้านผู้อื่นให้ข้วม... ดังนั้น บ้านที่บ่มีเจ้าของ ให้ย่างเหยียบได้ขาเดียว... พอย่างเบิดไปฮอดบ้านเจ้าของ กะให้หยุดยืนอยู่ในบ้านเทิงสองขา พร้อมเทิงเอาหน้าลงมาแบบปกติ (เซาเบิด) ...พอสิฮอดบ้านผู้อื่น ให้ก้าวขาข้วม หรือกะโดดข้วมไป ...พอฮอดศาลา กะหยุดพักคือบ้านเจ้าของ นั่นล่ะ... ย่างเบิดไปตามกติกา จนวนออกบ้านสุดท้าย กะถือว่าผ่านตาเบิด
เคล็ด สำหรับตาเบิด.... ส่วนใหญ่ผู้เล่น ก่อนสิเบิดอีหลี หรือเอาจริง มักสิขอลองย่างแบบปกติ โดยบ่เงยหน้าขึ้นฟ้า พร้อมทั้งกำหนดหมายว่า ย่างไปจักบ้าน สิฮอดบ้านเจ้าของ ย่างไปจักบ้าน สิฮอดบ้านผู้อื่น ย่างไปจักบ้าน สิฮอดศาลา.. กำหนดระยะความห่างของก้าวนำนั่นล่ะ ประมาณว่า น่าสิได้แล้ว กะจั่งค่อยเบิดอีหลี แล้วกะ เวลาเบิด มักสิเขย่งตีนขึ้น เอาเฉพาะปลายนิ้วจิกย่าง เพื่อบ่ให้เหยียบเส้นง่าย
กติกาสำหรับตาเบิด :
- การเบิดคือ เงยหน้าขึ้นเทิงฟ้า เพื่อบ่ให้เห็นทางย่าง โดยผู้เบิดย่างเอา บ่ต้องสักอีเลง
- บ้านที่บ่มีเจ้าของ ต้องเหยียบขาเดียว บ้านผู้อื่น ต้องก้าวหรือโดดข้วม โดยที่ยังเบิดอยู่
- บ้านเจ้าของ กับศาลาพัก ต้องหยุดยืนสองขา เอาหน้าลงเซาพัก
- ต้องบ่ย่างเหยียบเส้น บ่เป๋ออกนอกกรอบหรือขอบเขตที่ขีดเส้นไว้
- ผิดกติกา ลุ่น ทันที, ผู้ที่ ลุ่น การเล่นรอบนั้นเป็นอันยุติ
๕. ตาเลือกบ้าน
ผู้เล่นที่ผ่านตาเบิดแล้ว ถือว่าผ่านด่านทั้งหลายมาได้เหมิดแล้ว กะมีสิทธิ์เลือกบ้าน.... ผู้เล่นถือลูกโยน สักอีเลง จากบ้านหลังที่๑ ไปจนฮอดศาลา โดยใช้กติกาทั่วไป คือ บ้านที่บ่มีเจ้าของ ให้สักอีเลงขาเดียว บ้านของเจ้าของกับศาลา ให้เอาขาลงพักเซา บ้านผู้อื่น ให้โดดข้วม... พอฮอดศาลาแล้ว ให้ออกนอกกรอบ ไปทางเทิง ยืนสองขาเหลียวเบิ่งว่า สิเอาบ้านหลังได๋ จากนั้น หันหลังให้บ้าน สิยืนกะได้ นั่งกะได้ แล้วกะโยนลูกโยนข้วมหัว กลับหลัง ก๋าประมาณให้ตกหรือหยุด อยู่บ้านหลังที่เจ้าของอยากได้...
ลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านหลังได๋ที่บ่มีเจ้าของ บ้านหลังนั้น กะเป็นของผู้นั่นทันที พอเลือกบ้านได้แล้ว กะย่างมาเอาลูกโยน ขีดเป็นเครื่องหมายว่า นี่บ้านของข้าพะเติ๊ด
เป็นอันจบครบรอบ จากนั้น กะให้ผู้อื่นเล่น จน ลุ่น ... เจ้าของ กะเริ่มเล่นใหม่ตั้งแต่ตาโยน-เก็บ อีกเทือ วนไปวนมา
กติกาสำหรับการเลือกบ้าน :
- ผู้เลือกบ้าน ต้องหันหลังให้บ้าน บ่เหยียบเส้น สิยืนกะได้ นั่งกะได้ แล้วกะโยนลูกโยน กลับหลังข้วมหัว
- ถ้าลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านผู้อื่น หรือศาลา หรือถืกเส้น หรือออกนอกกรอบ ถือว่า ลุ่น การเล่นรอบนั้น เป็นอันยุติ แต่ว่าสิทธิ์เลือกบ้านยังมีอยู่... ต้องรอให้ ผู้อื่นเล่นจน ลุ่น สาก่อน จั่งค่อย สิได้เลือกบ้านอีก
- ถ้าลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านเจ้าของ เอิ้นว่า ไฟไหม้บ้าน ผู้นั้น ต้องเสียบ้านหลังนั้น พร้อมกับเหมิดสิทธิ์ในการเลือกบ้าน และถือว่าเล่นผ่านตาเลือกบ้านแล้ว บ้านหลังนั้น กะกลายเป็นบ้านที่บ่มีเจ้าของ ไปโดยปริยาย
- ถ้าลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านหลังที่บ่มีเจ้าของ บ้านหลังนั้น กะเป็นของผู้เลือกนั่น ทันที... แล้วกะถือว่าผู้นั้น เล่นผ่านตาเลือกบ้าน
- ผู้ที่ผ่านตาเลือกบ้านแล้ว ให้หยุดเซาพัก ๑ รอบ นั่นคือรอให้ผู้อื่นเล่นจน ลุ่น กะจั่งค่อยเริ่มเล่นรอบใหม่ ตั้งแต่ตาโยน เก็บ ไปเรื่อยๆ
ตาตุ๊บแบบหัวกะโหลก
สถานที่และการเตรียม :
เดิ่นหรือบริเวณ โดยมากมักใช้เดิ่นขี้ดิน (สิเป็นพะลานปูน กะได้) ขีดสนามเล่นขึ้นเป็นตาๆ โดย ขีดเส้นแนวตั้งสองเส้น ก่อน แล้วกะเส้นแนวนอนหรือแนวขวาง อีกประมาณ หกเส้นขึ้นไป สิเป็นแปดเส้น สิบเส้น สิบสองเส้น กะได้ แล้วแต่สิอยากเล่นกันจักช่อง หรือว่าจักบ้านนั่นล่ะ แต่ว่า ช่องทางยาว ต้องเป็นเลขคี่ เท่านั้น ...กะสิได้ช่องแบบยาวๆ ขึ้นมา จากนั้น ให้เว้นช่องนับจากทางล่างไว้สองช่อง ช่องที่สามให้ขีดเส้นแบ่งเคิ่ง ช่องที่สี่ ให้เว้นไว้ ช่องที่ห้าขีดแบ่งเคิ่ง ช่องที่หกเว้นไว้ ช่องที่เจ็ดขีดแบ่งเคิ่ง.... ขีด-เว้น..ขีด-เว้น ...ไปเรื่อยๆ โดยช่องสุดท้าย ต้องเป็นช่องที่ขีดแบ่งเคิ่งเท่านั้น... บ้านที่บ่แบ่งเคิง เอิ้นว่า บ้านใหญ่ บ้านที่แบ่งเคิง เอิ้นว่า บ้านน้อย
จากนั้น ....กะสร้างหัวกะโหลกขึ้นทางเทิง โดยขีดจากปลายเส้นขอบสองข้าง ให้เป็นรูปเคิ่งวงกลม ระยะจากเส้นทางเทิง ถึงจุดที่ไกลที่สุดของเส้นเคิ่งวงกลม ต้องบ่ไกลเกินไป เดี๋ยวสิหยิบลูกโยนบ่ถึง นั่นหนา ..ระยะ กะประมาณวาหนึ่งของผู้เล่น นั่นล่ะ
จากนั้น กะสร้างฮองอันตราย เอิ้นว่า ดากหมา (อีหลีแล้ว เด็กน้อย บ่เอิ้นจั่งซี้ดอกหวา ..เอิ้นว่า ...หมา หรืออั่นนั่นหมา) โดยเอาไม้หรือลูกโยนวาด หรือวงเป็นรูปวงกลม หรือสามเหลี่ยมกะได้ ถ้าเป็นเดิ่นขี้ดิน กะค็วดขี้ดินขึ้นจักหน่อย พอเป็นฮอง นั่นล่ะ
อุปกรณ์ : ลูกโยน
ลูกโยน เฮ็ดจากของแปๆ แบนๆ เช่น เศษถ้วยกาไก่แตก เศษกระเบื้องแตก เปลือกหอย เปลือกบักบก ฯลฯ แล้วแต่สิเลือกใช้น้อ... แต่ว่า ต้องถู หรือฮุลบคม ออกดีๆ เพื่อป้องกันบ่ให้บาดตีน
วิธีการเล่น :
สมมติให้ช่องแต่ละช่อง คือบ้านที่ว่างอยู่ บ่มีไผเป็นเจ้าของ ...บาดทีนี่ ผู้เล่น กะสิเล่นเพื่อเอาบ้าน ที่บ่มีเจ้าของนั้น มาเป็นบ้านเจ้าของ โดยผ่านด่านต่างๆ เทิงเหมิด สามด่าน หรือ สามตา คือ
๑ ตาโยน-เก็บ
๒ ตาหัวกะโหลก
๓ ตาเลือกบ้าน
๑. ตาโยน เก็บ
ผู้เล่น ใช้ลูกโยน เริ่มโยนไปตั้งแต่บ้านที่๑ (ช่องที่อยู่ล่างสุด).... แล้วกะเข้าไปเก็บลูกโยน
วิธีการโยนและเก็บลูกโยน
สมมติโยนไปบ้านที่๑ ลูกโยนตกอยู่บ้านที่๑ เรียบร้อย จากนั้น ให้ผู้เล่น สักอีเลงข้ามบ้านหลังที่มีลูกโยนอยู่... นั่นกะคือ โยนเล่นบ้านหลังได๋ ห้ามเหยียบบ้านหลังนั้นเป็นอันขาด มิฉะนั้น สิ ลุ่น ทันที... สำหรับบ้านใหญ่ ให้สักอีเลงเหยียบขาเดียว สำหรับบ้านน้อยหรือบ้านที่แบ่งเคิ่งไว้ ให้เหยียบพร้อมกันสองขา นั่นกะคือ เหยียบบ้านละขานั่นเอง (แต่ว่า กรณีที่บ้านน้อยหลังข้างใดข้างหนึ่ง มีเจ้าของแล้ว ผู้ที่บ่แม่นเจ้าของ สิไปเหยียบบ่ได้เด้ล่ะ ต้องสักอีเลงขาเดียว เหยียบบ้านที่บ่มีเจ้าของเด้อ...) ....การโยน-เก็บในช่วงแรกๆ กะสิเป็นแบบ สักอีเลง ตุ๊บ สักอีเลง ตุ๊บ...ไปเรื่อยๆ (สักอีเลง หมายถึงเหยียบขาเดียว, ตุ๊บ หมายถึงเหยียบสองขา)
พอไปฮอดบ้านสุดท้ายสองหลังทางเทิงสุด หลังจากตุ๊บแล้ว ให้กระโดดหมุนโตกลับหลังหัน ตุ๊บ แล้วกะ สักอีเลง ตุ๊บ สักอีเลงตุ๊บ กลับออกมา พอฮอดบ้านหลังติดกับบ้านที่มีลูกโยนวางอยู่ ให้ก้มลงเก็บลูกโยน แล้วกะกระโดดข้ามบ้านหลังนั้นออกไป
จากนั้น กะโยนลูกโยน ไปบ้านที่๒...๓...๔... แล้วกะสักอีเลง ตุ๊บ ไปแบบเดียวกับบ้านหลังที่๑... วกกลับออกมาเก็บลูกโยน โดดข้ามบ้านหลังนั้น... จนออกบ้านสุดท้าย
พอโยนพร้อมทั้งสักอีเลงเก็บลูกโยน จนครบเหมิดทุกบ้าน กะเป็นอันผ่านตาโยน-เก็บ แล้วกะเข้าสู่ตาที่ ๒ คือตาหัวกะโหลก
แต่ว่า ถ้าผู้เล่น ลุ่น ก่อนครบบ้านสุดท้าย เพราะผิดกติกา เช่น โยนผิดบ้าน ลูกโยนวางถืกเส้น หรือผู้เล่นเหยียบเส้น เป็นต้น ...กะต้องเถิงทีของผู้อื่น.... ผู้อื่นเล่นจน ลุ่น พุ่นล่ะ เจ้าของจั่งค่อยมาโยน-เก็บต่อจากบ้านที่ ลุ่น
กติกาสำหรับตาโยน-เก็บ :
- ต้องโยนลูกโยน ตามลำดับบ้านไปเรื่อยๆ ตั้งแต่บ้านที่๑ จนถึงบ้านสุดท้าย ยกเว้นบ้านที่มีเจ้าของ บ่ต้องโยน-เก็บ
- การโยนลูกโยน สำหรับบ้านน้อยที่อยู่คู่กันสองหลัง สิเลือกเล่นบ้านหลังได๋ก่อนกะได้
- การเก็บลูกโยน ต้องเก็บขากลับออกมา
- ลูกที่โยนไป ต้องตรงตามบ้านที่กำลังเล่นอยู่ ถ้ากลิ้งไปบ้านอื่น ถือว่าโยนผิดบ้าน ผู้เล่นผู้นั้น ต้อง ลุ่น ทันที หรือถ้าลูกโยน ไปทับเส้น กะ ลุ่น คือกัน
- การไปเก็บลูกโยน บ้านทุกหลัง ที่ยังบ่มีเจ้าของ ห้ามเหยียบสองขา ให้เหยียบได้แค่ขาเดียวเท่านั้น ...บ้านของผู้อื่น ห้ามเหยียบ ต้องโดดข้าม ...บ้านของเจ้าของ ต้องเซาพัก หรือเหยียบเทิงสองขา
บ้านที่โยนลูกโยนไว้ ห้ามเหยียบ ต้องโดดข้าม
- การไปเก็บลูกโยน สำหรับบ้านใหญ่ และบ้านน้อยที่บ่มีคู่ (หลังคู่กันมีเจ้าของแล้ว) ต้องสักอีเลง หรือกระโดดขาเดียวไป โดยห้ามเหยียบเส้น ถ้าผิดกติกา ลุ่น ทันที
- การไปเก็บลูกโยน สำหรับบ้านน้อยที่ยังเป็นคู่กันอยู่ (หลังคู่กันยังบ่มีเจ้าของ) สามารถเหยียบสองบ้านพร้อมกันได้ (ขาละบ้าน) โดยห้ามเหยียบเส้น ถ้าผิดกติกา ลุ่น ทันที
- ผู้เล่น พอไปฮอดบ้านสุดท้ายที่อยู่ทางเทิงสุด ให้กระโดดกลับหลังหัน แล้วกะสักอีเลง ตุ๊บ... กลับออกมา
- ผู้ที่ ลุ่น การเล่นรอบนั้นเป็นอันยุติ
๒. ตาหัวกะโหลก
ตาหัวกะโหลก กะคือ ตาโยน-เก็บนั่นล่ะ แต่ว่า มันพิสดารกว่าตาโยน-เก็บแบบธรรมดา เลยเอิ้นเป็นชื่อต่างหากว่า ตาหัวกะโหลก
ผู้เล่นที่ผ่านตาโยน-เก็บแบบธรรมดาแล้ว ให้โยนลูกโยน ไปบ้านหัวกะโหลก (ควรสิโยนให้อยู่หม่องเป็นตาเก็บเอาง่ายๆ) จากนั้น ให้สักอีเลง ตุ๊บ ไปจนฮอดบ้านหลังทางเทิงสุด...
กรณี บ้านหลังทางเทิงสุดทั้งสอง ยังบ่มีเจ้าของ ...ให้ให้กลับหลังหัน หรือหันหลังหาหัวกะโหลก ขาหนึ่งเหยียบบ้านหนึ่ง ขาอีกข้างหนึ่งเหยียบอีกบ้านหนึ่ง.. จากนั้น เบิดหน้าขึ้นฟ้า หรือหลับตา แล้วกะเด่มือไปทางหลัง ซาวหา คลำหา ลูกโยนที่เจ้าของโยนไว้ พร้อมทั้งระวังบ่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ไปถืกเส้นที่ขีดไว้ บ่ให้ไปถืกฮองอันตราย...
กรณี บ้านหลังทางเทิงสุดสองหลัง หลังใดหลังหนึ่ง มีเจ้าของแล้ว ...ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น สามารถสิใช้บ้านเจ้าของ เป็นฐานเหยียบสองขา คลำหาลูกโยนกะได้... หรือสิใช้บ้านอีกหลังหนึ่ง ที่ยังบ่มีเจ้าของ เป็นฐานเหยียบขาเดียว คลำหาลูกโยนกะได้... ขึ้นอยู่กับว่าลูกโยนไปตกอยู่ฟากได๋.. ผู้เล่นตัดสินใจเอาเอง
กรณี บ้านหลังทางเทิงสุดสองหลัง หลังใดหลังหนึ่ง มีเจ้าของแล้ว ...ผู้เล่นที่บ่ได้เป็นเจ้าของบ้านหลังนั้น ต้องใช้บ้านหลังที่ยังบ่มีเจ้าของ เป็นฐานเหยียบขาเดียว คลำหาลูกโยน เท่านั้น
หลังจาก คลำพ้อ แล้วกะเก็บลูกโยนได้แล้ว กะให้สักอีเลง ตุ๊บ กลับออกมา... (ห้ามเหยียบเส้นเด้อล่ะ เดี๋ยวสิตกม้าตายตอนจบ กลายเป็น ลุ่น ต้อง เล่นตาหัวกะโหกซ้ำอีกเด้) กะถือว่าผ่านตาหัวกะโหลกแล้ว
กติกาสำหรับตาหัวกะโหลก :
- ลูกโยน ต้องอยู่ในกรอบของหัวกะโหลก ถืกเส้นกะบ่ได้ อยู่ในวงหรือฮองอันตราย กะบ่ได้ ผิดกติกา
- การไปเก็บลูกโยน กะยึดตามกติกาทั่วไปคือกันกับตาโยน-เก็บ เช่น บ้านที่บ่มีเจ้าของต้องเหยียบขาเดียว บ้านผู้อื่น ต้องข้าม บ้านเจ้าของต้องพัก ห้ามเหยียบเส้น...
- การเก็บลูกโยนในหัวกะโหลก ต้องหันหลังให้หัวกะโหลก ห้ามเหลียวเบิ่ง
- การเก็บลูกโยนในหัวกะโหลก อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย สิไปถืกเส้น หรือไปถืกฮองอันตราย บ่ได้
- ผิดกติกา ลุ่น ทันที, ผู้ที่ ลุ่น การเล่นรอบนั้นเป็นอันยุติ
๓. ตาเลือกบ้าน
ผู้เล่นที่ผ่านตาหัวกะโหลกแล้ว ถือว่าผ่านด่านทั้งหลายมาได้เหมิดแล้ว กะมีสิทธิ์เลือกบ้าน.... ผู้เล่นถือลูกโยน สักอีเลง ตุ๊บ จากบ้านหลังที่๑ ไปจนฮอดบ้านหลังเทิงสุด โดยใช้กติกาทั่วไป คือ บ้านที่บ่มีเจ้าของ ให้เหยียบขาเดียว บ้านของเจ้าของให้พักเซา บ้านผู้อื่น ให้ข้าม... พอฮอดบ้านหลังเทิงสุดแล้ว ให้ออกนอกบ้าน ย่างผ่านหัวกะโหลก ไปทางเทิงหัวกะโหลกขึ้นไปอีก ยืนสองขาเหลียวเบิ่งว่า สิเอาบ้านหลังได๋ จากนั้น หันหลังให้บ้าน สิยืนกะได้ นั่งกะได้ แล้วกะโยนลูกโยนข้วมหัว กลับหลัง ก๋าประมาณให้ตกหรือหยุด อยู่บ้านหลังที่เจ้าของอยากได้...
ลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านหลังได๋ที่บ่มีเจ้าของ บ้านหลังนั้น กะเป็นของผู้นั่นทันที พอเลือกบ้านได้แล้ว กะย่างมาเอาลูกโยน ขีดเป็นเครื่องหมายว่า นี่บ้านของข้าพะเติ๊ด
เป็นอันจบครบรอบ จากนั้น กะให้ผู้อื่นเล่น จน ลุ่น ... เจ้าของ กะเริ่มเล่นใหม่ตั้งแต่ตาโยน-เก็บ อีกเทือ วนไปวนมา
กติกาสำหรับการเลือกบ้าน :
- ผู้เลือกบ้าน ต้องหันหลังให้บ้าน บ่เหยียบเส้น สิยืนกะได้ นั่งกะได้ แล้วกะโยนลูกโยน กลับหลังข้วมหัว
- ถ้าลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านผู้อื่น หรือถืกเส้น หรือออกนอกกรอบ ถือว่า ลุ่น การเล่นรอบนั้น เป็นอันยุติ แต่ว่าสิทธิ์เลือกบ้านยังมีอยู่...ต้องรอให้ ผู้อื่นเล่นจน ลุ่น สาก่อน จั่งค่อย สิได้เลือกบ้านอีก
- ถ้าลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านเจ้าของ เอิ้นว่า ไฟไหม้บ้าน ผู้นั้น ต้องเสียบ้านหลังนั้น พร้อมกับเหมิดสิทธิ์ในการเลือกบ้าน และถือว่าเล่นผ่านตาเลือกบ้านแล้ว บ้านหลังนั้น กะกลายเป็นบ้านที่บ่มีเจ้าของไปโดยปริยาย
- ถ้าลูกโยน ไปหยุดอยู่บ้านหลังที่บ่มีเจ้าของ บ้านหลังนั้น กะเป็นของผู้เลือกนั่น ทันที... แล้วกะถือว่าผู้นั้น เล่นผ่านตาเลือกบ้านแล้ว
- ผู้ที่ผ่านตาเลือกบ้านแล้ว ให้หยุดเซาพัก ๑ รอบ นั่นคือรอให้ผู้อื่นเล่นจน ลุ่น กะจั่งค่อยเริ่มเล่นรอบใหม่ ตั้งแต่ตาโยน เก็บ ไปเรื่อยๆ
กลับด้านบน |