ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
เห็นว่าอีอีฮ้องอย่าวางใจว่าจักจั่น ลางเทื่อเสียงเห่าห้อมเขียวเกี้ยวก็หากมี แปลว่า ได้ยินเสียงร้อง อีอี อย่าวางใจว่าเป็นจักจั่น บางทีอาจเป็นเสียงงูเขียวหางไหม้ หมายถึง อย่าด่วนตัดสินใจโดยขาดความไตร่ตรองอย่างรอบคอบ

การละเล่นพื้นบ้านอีสาน  

หิงขี่.....การละเล่นพื้นบ้าน --- อีสานจุฬาฯ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๒๓.หิงขี่


ทำโทษไทตรงข้ามโดยการ “ ขี่ ” เลยเอิ้นว่า “ หิงขี่ ”

 
จำนวนผู้เล่น : ๒ คนขึ้นไป

สถานที่ : เดิ่นขี้ดิน บริเวณกว้างๆ เช่นเดิ่นวัด ทุ่งนา หรือที่เป็นแนวยาวๆ เช่นถนนหนทาง


อุปกรณ์
: ไม้แม่หิง + ไม้ลูกหิง

ไม้แม่หิง เป็นลำไม้ใหญ่ประมาณหัวโป้ตีน ยาวประมาณสองศอก (หรือใหญ่ยาวพอประมาณ) สิเฮ็ดจากไม้เนื้อแข็งไม้อีหยังกะได้ แต่โดยมากนิยมใช้ไม้ไผ่บง เพราะหาง่าย ผิวเกลี้ยงดี... แม่หิงที่เฮ็ดจากไม้ไผ่บง มักใช้ทางเลาะๆ เหง้ามัน เพราะหัวโป ให้น้ำหนักในการตีดี ความยาวประมาณ ๔ ข้อ หรือ ๔ ปล้อง (หรือตามที่เห็นสมควร)

ไม้ลูกหิง เป็นลำไม้เล็กกว่าไม้แม่หิงลงมาจักหน่อย ขนาดประมาณนิ้วโป้มือ หรือใหญ่กว่าโป้มือจักหน่อย ยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือคืบกว่าๆ (ใหญ่ยาวพอประมาณ) สิเฮ็ดจากไม้เนื้อแข็งไม้อีหยังกะได้ ที่สำคัญ ผิวต้องเหลาให้เกลี้ยง ต้องบ่มีเสี้ยน ซึ่งโดยมากนิยมใช้ไม้ไผ่บง เพราะว่าหาง่าย ผิวเกลี้ยงดี... ลูกหิงที่เฮ็ดจากไม้ไผ่บง มักใช้ความยาวประมาณ หนึ่งปล้อง และต้องตัดให้เหลือข้อหัวท้ายเทิงสองข้าง เพื่อป้องกันบ่ให้ลูกหิงแตกง่าย

*** ไม้ไผ่ที่แห้ง ทนกว่าไม้ไผ่สด ดังนั้น ถ้าให้ดี ควรสิใช้ไม้ไผ่แห้ง... กรณีหาไม้ไผ่แห้งบ่ได้ ควรสิเตรียมลูกหิงไว้สำรองหลายๆ ลูก เผื่อมันหักเคิงหรือแตก สิได้มีลูกหิงเปลี่ยน***

 
การเตรียมสถานที่ :

หลังจากได้สถานที่แล้ว มีแม่หิง และลูกหิงแล้ว ให้กวาดดินแห้งที่เป็นผงๆ ทางเทิงออก เหลือไว้แค่ดินที่แข็งๆ... จากนั้น ให้เอาลูกหิง ขูดถูดินให้เป็นฮองลึกพอสมควร เอิ้นฮองนี้ว่า “ฮูพอก” ใช้เป็นจุดสำหรับเล่นหิง... กรณีเล่นไปเล่นมา ฮูพอก ลืง เสียหาย หรือว่าฝุ่นดินไหลลงไป กะให้ใช้ลูกหิง ขูดค็วดซ่อมใหม่ ให้อยู่ในสภาพที่ดี


การจัดไท : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง

การเลือกไทเล่นก่อน : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง

 

หิงขี่ แบ่งออกเป็น ๒ ตา คือ

•  ตาเต๋ (หรือ ตาเด๋อ)

•  ตาโยน

การเล่นหิงขี่ เป็นการเล่นที่ทุกคน ต้องเล่นให้ผ่านด่านที่กำหนด ซึ่งกะคือตาเต๋ บ่แม่นการเล่นรวมกัน หรือเล่นต่อกันแบบหมากเก็บหอย เป็นการเล่นไผเล่นมัน แต่ว่าการเล่นหิง อนุญาตให้มีการเล่นเกี้ย หรือเล่นชดเชยได้ ซึ่ง ตาที่อนุญาตให้เล่นเกี้ยได้ กะคือ ตาเต๋ หรือตาเด๋อ เท่านั้น ส่วนตาโยน ต้องเล่นเอาเอง เพราะตาโยน มันบ่แม่นด่าน เป็นเพียงการทำโทษไทตรงข้าม (สิบ่เล่นกะบ่ว่ากัน ไทตรงข้ามแฮ่งมัก)

*** หิงขี่ บ่มีการการฮับโป้ง ***


การเล่นเกี้ย หมายถึง การเล่นชดเชย หรือเล่นเพื่อซ่อยให้ผู้เล่นคนอื่นในไทเดียวกันซึ่ง ”ลุน” ไปแล้ว ให้ผ่าน...

ตาที่อนุญาตให้เล่นเกี้ย กะคือ ตาเต๋ เท่านั้น

ผู้ที่มีสิทธิ์เล่นเกี้ยผู้อื่นได้ กะคือผู้ที่เล่นผ่านตาเต๋เอง ผู้ที่ผ่านตาเต๋โดยถืกผู้อื่นเล่นเกี้ย ของรอบนั้น บ่มีสิทธิ์เล่นเกี้ย ยกเว้น ขึ้นรอบใหม่

เช่น ... สมมติ ผู้แรกเล่นบ่ผ่านตาเต๋ เล่นบ่ได้จักแม่ ... ผู้ที่สอง เล่นบ่ผ่านตาเต๋ เล่นได้แค่สี่แม่... ผู้เล่นที่เล่นผ่านตาเต๋แล้ว กะต้องเล่นเกี้ย ผู้แรกนั้น ตั้งแต่แม่แรก จนครบสิบแม่... จากนั้น กะเล่นเกี้ยผู้ที่สอง โดยนับต่อจากของเก่า ที่ผู้ที่สองเล่นผ่านแล้ว คือนับเป็น ห้า หก ...จนครบสิบแม่

กรณี ผู้มีสิทธิ์เล่นเกี้ยเทิงเหมิด ซ่อยกันเล่นเกี้ยแล้ว แต่ว่าผู้เล่นเกี้ย กะเล่นบ่ผ่าน อยู่ตาได๋ตาหนึ่ง... หรือไทนั้น บ่สามารถสิผ่านตาเต๋ ได้เหมิดทุกคน “ลุน” เหมิดทุกคนแล้ว เล่นฮอดไส เล่นได้ซ่ำได๋ กะให้หยุดไว้แค่นั้น ต้องเปลี่ยนให้ไทตรงข้ามเล่น จนกว่าไทตรงข้ามสิ “ลุน” เหมิดทุกคน หรือไทตรงข้าม เล่นจบตาโยนแล้ว จนไทเจ้าของถืกทำโทษโดยกุ่ง (ให้เขาขี่หลัง) แล้วแล้ว... จั่งค่อยมีสิทธิ์เล่นอีก โดยการเล่นอีกนี้ ให้เล่นต่อจากครั้งที่แล้ว เช่น เหลืออยู่คนหนึ่ง ยังบ่ผ่านตาเต๋ กะให้คนนั้น เล่นตาเต๋ นับต่อจากที่เล่นได้แล้ว ถ้าเล่นอีก ยังบ่ผ่านตาเต๋ ... บัดทีนี้ ผู้เล่นที่เหลือทุกคนในไทเดียวกันนั้น กะมีสิทธิ์เล่นเกี้ยได้ เพราะเริ่มรอบใหม่แล้ว

กรณี ทุกคนในไทเดียวกัน ผ่านตาเต๋เหมิดแล้ว (สิโดยเล่นเอง หรือโดยถูกเล่นเกี้ย ก็ดี) ถือว่าไทนั้น ผ่านด่านได้สำเร็จ กะสิเข้าสู่ขั้นตอนการทำโทษไทตรงข้าม โดยผ่านตาโยน

 

วิธีการเล่น :

๑. ตาเต๋

ตาเต๋ของหิงขี่ มีวิธีการเล่นแตกต่าง จากตาเต๋ของหิงอี แต่วิธีการนับแม่ กะคือกัน คือ หนึ่งแม่ เท่ากับ ความยาวทั้งเหมิดของแม่หิง แล้วกะต้องเล่นให้ได้สิบแม่ขึ้นไป จั่งสิถือว่าผ่านตาเต๋

ไทที่ได้เล่นก่อน ให้ผู้ใดผู้หนึ่งในไท เป็นผู้เล่นผู้แรก.... ผู้นั้น เอาลูกหิงเสียบตั้ง ชันไว้ฮูพอก ให้ลูกหิงอยู่ลักษณะเนิ้งๆ หรือเอียงๆ ...กรณีเสียบตั้งแล้ว ยังตั้งบ่อยู่ ล้มนอนลง กะให้เอาลูกหิง ขุดค็วดดินขึ้น จนพอดี (ของเจ้าของ)... จากนั้น กะเสียบตั้งลูกหิงใหม่ จนลูกหิงเอียงในระดับพอเหมาะ (ตามถนัดเจ้าของ) แล้ว กะเอาปลายแม่หิงฟาดตี ปลายลูกหิงด้านที่ซันขึ้นมา ในแนว เฉียงๆ จักหน่อย ให้ลูกหิง เด้งกระเด็นขึ้น ในระดับความสูงพอเหมาะ แล้วกะใช้แม่หิงฟาดตีลูกหิงอีกอย่างแฮงๆ เลย เพื่อให้ลูกหิงกระเด็นไปไกลที่สุด

จากนั้น กะไปแทกวัด จากจุดที่ลูกหิงตกหยุดอยู่ มาหาฮูพอก ตามวิธีการเดียวกันกับหิงอีที่อธิบายไปแล้ว

กรณียังบ่ครบสิบแม่ กะให้เล่นต่อจน นับได้ครบสิบแม่... ถ้าครบสิบแม่แล้ว หรือยังบ่ครบสิบแม่ แต่ “ลุน” ก่อน กะให้ผู้อื่นคนต่อไป มาเล่น

กรณี ไทนั้น เล่น “ลุน” โดยยังมีผู้ใดผู้หนึ่ง บ่ผ่านตาเต๋ แม้จะเล่นเกี้ยแล้ว กะถึงทีของอีกไทหนึ่งเล่น

กรณี ไทนั้น เล่นผ่านตาเต๋ เหมิดทุกคนแล้ว โดยสิผ่านเอง หรือถืกเล่นเกี้ย ก็ดี ถือว่าไทนั้น เล่นผ่านด่านแล้ว กะสิเข้าสู่การกำหนดระยะทาง ที่สิลงโทษไทตรงข้าม ซึ่งระยะทางนี้ คือระยะที่ไทตรงข้าม ต้องกุ่ง หรือให้ไทที่ผ่านด่านขี่หลัง ... กุ่งย่างกลับมาจากจุดนั้น จนฮอดฮูพอก


กติกาสำหรับตาเต๋
:

  • หนึ่งแม่ หมายถึง ความยาวของแม่หิงหนึ่งช่วงความยาว
  • การแทกวัด ว่าได้จักแม่ ให้วัดจากจุดที่ใกล้ฮูพอกที่สุด ของลูกหิงซึ่งถูกตีไป ตกหยุดอยู่ วัดเข้ามาหาฮูพอก
  • กรณีแทกวัดแล้ว ระยะห่างบ่พอหนึ่งแม่ ผู้เล่นเต๋นั้น “ลุน” ทันที นั่นคือ ระยะห่างของการตีฟาดแต่ละเทื่อ ต้องเกินหนึ่งแม่ขึ้นไป
  • กรณีการตีฟาดหนึ่งเทื่อ ได้ระยะห่าง เกินสิบแม่ขึ้นไป กะถือว่าได้สิบแม่ หรือตัดสินแค่ว่า เล่นผ่านตาเต๋ บ่สามารถเอาไปชดเชยให้ผู้เล่นคนอื่นได้

 


 

๒. ตาโยน

ตาโยน คือตาที่สิกำหนดระยะทาง สำหรับลงโทษไทตรงข้าม ซึ่งระยะทางนี้ คือระยะที่ไทตรงข้าม ต้องกุ่ง หรือให้ไทที่โยนขี่หลัง ... กุ่งย่างกลับมาจากจุดนั้น จนฮอดฮูพอก

ผู้เล่นของไทที่สิโยน คนใดคนหนึ่ง เป็นคนโยนคนแรก... โดยผู้นั้น ยืนอยู่จุดเริ่มต้น คือฮูพอก หันหน้าไปทางที่สิโยนไป จากนั้น โยนลูกหิงไปในระยะที่พอเหมาะ ... ซึ่งคำว่าพอเหมาะนี้กะคือ บ่ใกล้เกินไป บ่ไกลเกินไป... เพราะว่า ถ้าใกล้เกินไป ไทตรงข้าม สามารถสินอนเหมบลง เหยียดแขนยื้อบายเอาลูกหิงได้... ถ้าไกลเกินไป ไทตรงข้าม ยื้อเอาบ่เถิง กะจริงอยู่ แต่ว่า อาจสิโยนแม่หิงบ่ถืกลูกหิงกะได้ ซึ่ง กะมีค่าเท่ากัน คือ “ลุน” คือกัน...

... พอโยนลูกหิง ไปแล้ว ไทตรงข้าม ที่รอจังหวะอยู่ ถ้าเห็นว่า พอสิยื้อถึง ผู้ใดผู้หนึ่ง (ซึ่งโดยมากมักสิเป็นผู้สูงๆ) กะนอนเหมบลง เอาทางขาอยู่ตำแหน่งระดับเดียว กับที่คนโยนยืนอยู่ แล้วกะยื้อแขนออกไปแตะลูกหิง... กรณีแตะได้ก่อนที่คนโยน โยนแม่หิงมาถืกลูกหิง คนโยนผู้นั้น กะ “ลุน” ทันที กรณีแตะบ่เถิง กะถือว่าแล้วๆ ไป บ่มีหยังเกิดขึ้น สำหรับการยื้อแตะ

… พอโยนลูกหิงไปแล้ว คนโยน ถ้าเห็นว่า ลูกหิงอยู่ในระยะจวนเจียน ที่ไทตรงข้ามสิเหมบยื้อแตะได้ กะให้ฟ้าวโยนแม่หิงไปใส่ลูกหิง ให้แม่หิงถืกลูกหิง ก่อนที่ไทตรงข้าม สิแตะบายลูกหิง

... พอโยนลูกหิงไปแล้ว คนโยน ถ้าเห็นว่า ลูกหิงอยู่ไกลพอแล้ว ไทตรงข้ามเหมบยื้อจั่งได๋ กะบ่เถิง... กรณีนี้บ่ต้องฟ้าวกะได้ ให้เล็งดีๆ โยนให้แม่นๆ ให้ถืกลูกหิง

พอโยนแม่หิงใส่ลูกหิง แม่หิงถืกลูกหิงแล้ว ผู้โยน กะไปเก็บลูกหิงขึ้นมา แล้วกะไปเก็บแม่หิงขึ้นมา โดยใช้ปลายแม่หิง ด้านที่อยู่ใกล้ฮูพอกที่สุด ขีดเส้นกำหนดจุดเป็นสัญลักษณ์บอกว่า เทื่อนี้ โยนได้ไกลฮอดหม่องนี้... แล้วใช้ตำแหน่งนั้น เป็นจุดยืนสำหรับโยนเทื่อต่อไป

ผู้โยน กะโยน ไปเรื่อยๆ ผู้เหมบแตะ กะเหมบแตะไปเรื่อยๆ ... จนกว่า ผู้โยนผู้นั้น “ลุน” พอ “ลุน” แล้ว กะให้ผู้อื่นคนต่อไป มาเล่นโยน ด้วยวิธีการตามที่อธิบายไปแล้ว... จนครบเหมิดทุกคน

ระยะทางที่ทุกคน โยนสะสมไปทั้งเหมิด คือระยะทางที่สิได้ขี่ไทตรงข้าม... พอโยน เหมิดทุกคนแล้ว กะขี่ไทตรงข้าม คู่ไผคู่มัน กลับฮูพอก... จากนั้น กะถึงทีไทตรงข้ามเล่น โดยเล่นต่อ จากตาที่เล่นค้างไว้ นั่นล่ะ (กรณี ยังบ่ได้เล่นเลย กะเริ่มแรกแต่ตาเต๋ นับหนึ่ง)

วิธีการโยน เพื่อให้แม่หิงถูกลูกหิง หรือเพื่อให้แม่หิงที่กระทบถืกลูกหิงแล้ว กระเด็นไปไกลๆ ซึ่งผู้เล่นมักใช้ กะคือ ... ถ้าลูกหิงวางอยู่ในแนวตั้ง ให้โยนแม่หิงไปในแนวขวาง ถ้าลูกหิงวางอยู่ในแนวขวาง ให้โยนแม่หิงไปในแนวตั้ง... หรือกรณีต้องการให้แม่หิงกระเด็นไปไกลๆ ถ้ามั่นใจในความแม่นของเจ้าของ กะให้ดึก ขว้างแม่หิง ใส่ลูกหิง ไปโลด

การโยน บ่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรง... หมายถึงว่า กรณี พื้นที่เล่น บ่ยาวพอ เช่นบ่แม่นหนทางยาวๆ ... กะสามารถสิโยนอ้อมไปไปอ้อมมา กะได้ เช่นโยนในทิศทางรอบสนาม... เป็นต้น


กติกาสำหรับตาโยน :

  • ฮูพอก คือจุดที่เริ่ม “โยน” และเป็นจุดที่ต้อง “ขี่หลัง” กลับมาฮอด
  • ผู้โยน โยนแม่หิง บ่ถืกลูกหิง “ ลุน ”
  • ไทตรงข้าม เหมบแตะลูกหิงได้ ก่อนที่ผู้โยนสิโยนแม่หิงถืกลูกหิง ผู้โยน คนนั้น “ลุน”
  • ผู้โยน มีสิทธิ์โยนไปเรื่อยๆ ไกลเท่าใดก็ได้ จนกว่าสิ “ลุน”
  • จุดที่คนสุดท้าย โยนไปฮอดก่อนสิ “ลุน” คือจุดที่เริ่ม “ขี่หลัง” กลับมา

กลับด้านบน

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... การละเล่นพื้นบ้านอีสาน