ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ไผผู้เฮียนฮ่ำฮู้ วิชาปราชญ์ทางใด ก็ให้มีใจจด เพิ่งวิชาที่ตนฮู้ แปลว่า ใคร ร่ำเรียนวิชาการใด ก็ให้มีใจจดจ่อ ต่อวิชาที่ตนร่ำเรียน หมายถึง ศึกษาให้ถ่องแท้แตกฉาน จะได้ใช้ประโยชน์

การละเล่นพื้นบ้านอีสาน  

จั๊บแจง...การละเล่นพื้นบ้าน --- อีสานจุฬาฯ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๑.จั๊บแจงหรือโป้งแปะ


จำนวนผู้เล่น : สามคนขึ้นไป

การคัดโต : ใช้วิธี จั๊บแจง

วิธีจั๊บแจง กะคือ ผู้เล่นคนนึง ที่เป็นหัวหน้าพาหมู่เล่น ยกมือขึ้นกลางอากาศ เอาหลังมือขึ้นทางเทิง คนที่เหลือ เด่นิ้วซี้เข้าไปใต้ฝ่ามือ หรืออุ้งมือ จากนั้น ผู้ที่เป็นหัวหน้า กะพาว่า

“ จั๊บแจง มะแลง แจงจั๊บ มะลับ จั๊บจี้ หมาน้อย สวบกั๊บ จระเข้ บางหรับ กัดคนเฒ่า ๆ คนเฒ่า ๆ วิ่งหนีไม่ทัน รถตำกัน ยิงปืนไม่ออก นายอำเภอมาบอก ยิงปืนแตกป้าง !”

แล้วกะฟ้าวกำมือเพื่อสิจับเอานิ้วซี้ผู้อื่น จับได้ นิ้วผู้ได๋ ผู้นั่นล่ะ เป็นผู้นับ หรือเป็นผู้หา หรือเป็นผู้ “ โป้ง ” ส่วนผู้อื่น เป็นผู้ไปลี้ หรือเป็นผู้ “ แปะ ”

อาจสิว่าสั้น ๆ แค่

“ จั๊บจี้ มะลี่ จี้ จั๊บ !”

“ จั๊บแจง มะแลง แจงจั๊บ !”

“ จั๊บแจง มะแลง แจงจั๊บ มะลับ จั๊บจี้ หมาน้อย สวบกั๊บ !”


สถานที่
: หม่องได๋กะได้ ที่มีหม่องลี้

วิธีการเล่น :

ผู้โป้ง หลับตา หรือเอามือปิดตา (ผู้อื่นกะพากันไปลี้) แล้วกะนับว่า

“ หนึ่ง .. สอง .. สาม .. สี่ .. ห้า .. หก .. เจ็ด .. แปด .. เก้า .. สิบ .. ปะดิบ .. ปะดับ .. หนอน .. จับ เหม็น .. ทืง ”

จากนั้นกะออกย่างหาเพื่อที่สิ “ โป้ง ” ซุมไปลี้ พ้อผู้ได๋ กะ “ โป้ง ” ผู้นั้น แล้วกะต้องพยายามหา “ โป้ง ” จนเหมิดซุคน พร้อมทั้งระวังผู้อื่นสิมา “ แปะ ” เจ้าของนำ

สำหรับซุมไปลี้ ต้องลี้ให้ดี เพื่อสิบ่ให้หาเจ้าของพ้อเป็นคนแรก หรือบ่ถืก “ โป้ง ” เป็นคนแรก ขณะลี้อยู่ หลังจากได้ยินเสียง “ โป้ง ” ผู้ได๋ผู้นึงแล้ว กะสามารถสิออกมา หาทาง “แปะ” ผู้นับได้ ถ้ามีคนมา “แปะ” ผู้นับได้ ผู้นับนั้น กะต้องนับใหม่ เป็นคนหาอีกรอบ

 

กติกา :

  • ผู้นับ ต้องหา “ โป้ง ” ผู้อื่นจนเหมิดทุกคน จั่งสิพ้นการเป็นผู้นับ
  • ผู้ที่ถืก “ โป้ง ” เป็นคนแรก สิกลายเป็นผู้นับ หรือผู้หา คนต่อไป ถ้าการเล่นรอบนั้น บ่เป็น โมฆะ (หรือผู้นับ บ่ถืกแปะ)
  • ผู้นับ ถ้าถืก “ แปะ ” รอบการเล่นนั้น ถือเป็นโมฆะ ต้องเริ่มนับใหม่ แล้วกะหา “โป้ง” ใหม่
  • ถ้าผู้นับ ยังบ่ทันได้ “ โป้ง ” ผู้ได๋เลย บ่สามารถสิ “แปะ” ผู้นับได้
  • ถ้าผู้ลี้ ออกมา “ แปะ ” ผู้นับ โดยที่ผู้นับยังบ่ทันได้ “โป้ง” ไผ ถือว่าผู้ลี้ผู้นั้น “ไข่เน่า” หรือผิดกติกา ต้องกลายเป็นผู้นับ หรือผู้หา ทันที
  • การ “ โป้ง ” แค่เหลียวเห็น กะสามารถ “โป้ง” ได้เลย แต่ต้อง “โป้ง” ออกเสียงดังๆ ท่วงซื่อให้ตรงกับผู้ถืกโป้งพร้อม
  • ถ้า “ โป้ง ” ท่วงชื่อผิด เช่น เห็นบัก ก. ไปท่วง “โป้ง บัก ข.” ผู้โป้ง กะ “ไข่เน่า” ต้องเริ่มต้นนับใหม่
  • การ “ แปะ ” ต้องเอามือ ไป “แปะ” ให้ถืกโตหรืออวัยวะ ส่วนได๋ส่วนนึงของผู้นับ

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... การละเล่นพื้นบ้านอีสาน