ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ติแต่คนเขาพุ้นภายโตบ่เตื้องต่อ ติแต่คออึ่งเพ้าคอเจ้าผัดแฮ่งจน แปลว่า ติแต่คนอื่น ไม่ดูตัวเอง ติแต่คออึ่ง แต่ไม่ดูคอตัวเอง หมายถึง ก่อนจะบอกสอนคนอื่น พึงบอกสอนตัวเองก่อน

การละเล่นพื้นบ้านอีสาน  

หิงอี.....การละเล่นพื้นบ้าน --- อีสานจุฬาฯ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๒๒หิงอี


ทำโทษไทตรงข้ามโดยการ “ อี ” เลยเอิ้นว่า “ หิงอี ”

 
จำนวนผู้เล่น : ๒ คนขึ้นไป

สถานที่ : เดิ่นขี้ดิน บริเวณกว้างๆ เช่นเดิ่นวัด ทุ่งนา หรือที่เป็นแนวยาวๆ เช่นถนนหนทาง


อุปกรณ์
: ไม้แม่หิง + ไม้ลูกหิง

ไม้แม่หิง เป็นลำไม้ใหญ่ประมาณหัวโป้ตีน ยาวประมาณสองศอก (หรือใหญ่ยาวพอประมาณ) สิเฮ็ดจากไม้เนื้อแข็ง ไม้อีหยังกะได้ แต่โดยมากนิยมใช้ไม้ไผ่บง เพราะหาง่าย ผิวเกลี้ยงดี... แม่หิงที่เฮ็ดจากไม้ไผ่บง มักใช้ทางเลาะๆ เหง้ามัน เพราะหัวโป ให้น้ำหนักในการตีดี ความยาวประมาณ ๔ ข้อ หรือ ๔ ปล้อง (หรือตามที่เห็นสมควร)

ไม้ลูกหิง เป็นลำไม้เล็กกว่าไม้แม่หิงลงมาจักหน่อย ขนาดประมาณนิ้วโป้มือ หรือใหญ่กว่าโป้มือจักหน่อย ยาวประมาณหนึ่งคืบ หรือคืบกว่าๆ (ใหญ่ยาวพอประมาณ) สิเฮ็ดจากไม้เนื้อแข็งไม้อีหยังกะได้ ที่สำคัญ ผิวต้องเหลาให้เกลี้ยง ต้องบ่มีเสี้ยน ซึ่งโดยมากนิยมใช้ไม้ไผ่บง เพราะว่าหาง่าย ผิวเกลี้ยงดี... ลูกหิงที่เฮ็ดจากไม้ไผ่บง มักใช้ความยาวประมาณ หนึ่งปล้อง และต้องตัดให้เหลือข้อหัวท้ายเทิงสองข้าง เพื่อป้องกันบ่ให้ลูกหิงแตกง่าย

*** ไม้ไผ่ที่แห้ง ทนกว่าไม้ไผ่สด ดังนั้น ถ้าให้ดี ควรสิใช้ไม้ไผ่แห้ง... กรณีหาไม้ไผ่แห้งบ่ได้ ควรสิเตรียมลูกหิงไว้สำรองหลายๆ ลูก เผื่อมันหักเคิงหรือแตก สิได้มีลูกหิงเปลี่ยน***


การเตรียมสถานที่
:

หลังจากได้สถานที่แล้ว มีแม่หิง และลูกหิงแล้ว ให้กวาดดินแห้งที่เป็นผงๆ ทางเทิงออก เหลือไว้แค่ดินที่แข็งๆ... จากนั้น ให้เอาแม่หิงทางหัว หรือทางกกของไม้ไผ่ (ทางกกไม้ไผ่หรือทางที่ใหญ่กว่า เอิ้นว่า หัวแม่หิง, ทางปลายไม้ไผ่หรือทางที่เล็กกว่า เอิ้นว่าหางแม่หิง) ขูดถูดินให้เป็นฮองลึกพอสมควร เอิ้นฮองนี้ว่า “ฮูพอก” ใช้เป็นจุดสำหรับเล่นหิง... กรณีเล่นไปเล่นมา ฮูพอก ลืง เสียหาย หรือว่าฝุ่นดินไหลลงไป กะให้ใช้หัวแม่หิงขูดค็วดซ่อมใหม่ ให้อยู่ในสภาพที่ดี

 

การจัดไท : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง

การเลือกไทเล่นก่อน : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง

 

หิงอี แบ่งออกเป็น ๔ ตา คือ

•  ตาชิด หรือ ตาชิ้น

•  ตาเต๋ (ตาเตะ)

•  ตาเดาะ (เพื่อกำหนดจำนวนครั้งในการตี )

•  ตาตี

การเล่นหิง เป็นการเล่นที่ทุกคน ต้องเล่นให้ผ่านด่านที่กำหนด บ่แม่นการเล่นรวมกัน หรือเล่นต่อกันแบบหมากเก็บหอย เป็นการเล่นไผเล่นมัน แต่ว่าการเล่นหิง อนุญาตให้มีการเล่นเกี้ย หรือเล่นชดเชยได้ ซึ่ง ตาที่อนุญาตให้เล่นเกี้ยได้ กะคือ ตาชิ้น กับตาเต๋ เท่านั้น ส่วนตาเดาะ กับตาตี ต้องเล่นเอาเอง เพราะตาเดาะกับตาตี มันบ่แม่นด่าน แต่เป็นผลที่ทุกคน หลังจากเล่นผ่านตาเต๋แล้ว ควรสิได้รับ

การฮับโป้ง คือการฮับเอาลูกหิง กลางอากาศ โดยที่ลูกหิงบ่ทันได้ตกถืกดิน ผู้ที่ฮับได้แล้ว และเป็นคนที่เฮ็ดให้ลูกหิง ถืกดิน คือคนที่ได้โป้ง

การได้โป้ง อาจสิได้จาก การฮับเอาลูกหิงกลางอากาศเอง แล้วกะเป็นคนที่เฮ็ดให้ลูกหิงถืกดินเอง หรือผู้อื่นฮับได้ แต่ว่าเอาลูกหิงมาให้ (ให้โป้งผู้อื่น) แล้วผู้นั้น เป็นคนที่เฮ็ดให้ลูกหิงถืกดิน หรือลูกหิง ไปค้างอยู่หม่องใดหม่องหนึ่ง เช่น ต้นไม้ หลังคา ศาลา เฮือนคน เสาไม้ คันฮั้ว เป็นต้น ซึ่งสูงกว่าดินเกินความยาวของแม่หิง จากนั้น ผู้ใดก็ตาม เป็นคนไปเก็บเอาลูกหิงนั้น และเฮ็ดให้ลูกหิงนั้น ถืกดิน ผู้นั้น กะคือคนที่ได้โป้ง.... ยกเว้น ผู้นั้น เสียสละโป้ง เอาลูกหิง ไปแหย่ฮูพอก เพื่อเฮ็ดให้ผู้ที่กำลังเล่นอยู่นั้น “ลุน” หรือให้เหมิดสิทธิ์ในการเล่น

โป้ง ใช้สำหรับเป็นจำนวนครั้งในการตี โดยบวกเพิ่มจากที่เดาะได้

 

วิธีการเล่น :

๑. ตาชิดหรือตาชิ้น


ไทที่ได้เล่นก่อน ให้ผู้ใดผู้หนึ่งในไท เป็นผู้เล่นผู้แรก.... ผู้นั้น เอาลูกหิงวางไว้ประมาณกลางๆ ฮูพอก ในแนวขวาง จากนั้น เอาหัวแม่หิง (หรือสิเอาหางแม่หิง กะบ่ผิดกติกา) แหย่ยัดลงไปในฮูพอก ใต้ลูกหิง หาตำแหน่งที่พอเหมาะ สองมือจับหางหิงให้มั่นคง แล้วกะออกแฮงเหมิดแฮง ชิ้นลูกหิงให้กระเด็นไปไกลที่สุด... ทิศทางในการชิ้นไป ควรระวัง ไทตรงข้าม สิฮับโป้งได้.. ไทเดียวกันฮับโป้งได้ บ่เป็นหยัง ..แฮ่งดี..

ขณะที่ผู้เล่นนั้น กำลังสิชิ้น คนอื่นที่เหลือ กะพยายามไปรอท่าฮับเอาโป้ง โดยก๋าว่า ผู้นั้นสิชิ้นไปทางได๋... ซึ่งส่วนใหญ่มักสิชิ้น ไปให้ไทเดียวกัน... ดังนั้น ไทตรงข้าม กะมักสิเข้าประกบ กีดกันบ่ให้ไทที่กำลังเล่น ได้โป้งง่ายๆ หรือประกบเพื่อแย่งฮับโป้ง

กรณีชิ้นไปแล้ว บ่มีไผฮับโป้งได้ ให้เอาแม่หิงวางไว้ประมาณกลางๆ ฮูพอก ในแนวขวางฮู... ในขณะเดียวกัน โตแทนไทตรงข้ามคนใดคนหนึ่ง กะไปเก็บเอาลูกหิงขึ้นมา ยืนอยู่ตรงจุดหรือตำแหน่งที่ลูกหิงตกอยู่ จากนั้น กะโยน หรือดึก(ปา) ลูกหิง เข้าใส่แม่หิงที่วางอยู่ ... ถ้าโยนถืกแม่หิงที่วางอยู่ ผู้ชิ้นคนนั้น กะ “ลุน” อยู่ตาชิ้นนั่นล่ะ (รอคอยผู้อื่นเล่นเกี้ย หรือรอรอบใหม่) ... ถ้าโยนบ่ถืกแม่หิง ผู้ชิ้นคนนั้น กะผ่านตาชิ้น แล้วกะ สิเล่นตาเต๋ ต่อไป

กรณีชิ้นไปแล้ว ไทเดียวกัน ผู้ใดผู้หนึ่งฮับโป้งได้ ...ผู้ที่ฮับโป้งได้นั้น ให้ดึก(ขว้าง) ลูกหิงไปไกลๆ เพื่อบ่ให้ไทตรงข้าม โยน หรือปาลูกหิงถืกแม่หิงที่วางอยู่

กรณีชิ้นไปแล้ว ไทตรงข้าม มีผู้ใดผู้หนึ่งฮับโป้งได้... ผู้ที่ฮับโป้งได้นั้น ให้ถือลูกหิงที่ฮับได้ย่างไปเลาะๆ ฮูพอก แล้วกะเอาลูกหิงจิ้ม หรือขีดลงดิน เลาะฮูพอก เพื่อกำหนดจุด ที่สิยืนเอาลูกหิงตีแม่หิงที่วางอยู่ จากนั้นกะเอาลูกหิง ตีแม่หิง เปาะ (เพราะว่าอยู่ใกล้ๆ บ่ต้องโยน ให้ยาก) ... พอลูกหิง ถืกแม่หิง กะเป็นอันว่า ผู้ชิ้นนั้น “ลุน” อยู่ตาชิ้น นั่นล่ะ

หลังจากผู้ชิ้นนั้น “ ลุน ” แล้ว กะให้คนอื่นในไทเดียวกันมาเล่น...

คนอื่นนั้น กะมาเริ่มเล่นตาชิ้น คือกันนั่นล่ะ....

กรณีผู้นั้น เล่นผ่านตาชิ้นได้... กะสิเข้าสู่ตาเต๋..

กรณี เล่นบ่ผ่าน กะให้ผู้ต่อไป ในไทเดียวกัน มาเล่น... จนครบทุกคน

กรณีเล่นจนครบเหมิดทุกคนแล้ว “ลุน” เหมิดทุกคน กะถึงทีของอีกไทหนึ่งเล่น... ซึ่งกะใช้วิธีการแบบเดียวกัน กับที่อธิบายไปแล้ว


กติกาสำหรับตาชิ้น :

  • กรณีไทตรงข้าม โยนลูกหิง ถืกแม่หิงที่วางอยู่ ผู้เล่นชิ้นผู้นั้น ถือว่า “ลุน” ถ้าโยนบ่ถืก ถือว่า ผ่าน

 


 

๒. ตาเต๋ (ตาเตะ)

ผู้ที่เล่นผ่านตาชิ้นแล้ว กะเข้าสู่ตาเต๋... การเต๋ นั่น บ่แม่นเอาขาเต๋ดอกเด้อ... คือการเอาแม่หิง เต๋ หรือตวัดตี ลูกหิง นั่นเอง

วิธีการเต๋ ... กรณีใช้หางแม่หิงเต๋ ให้เอามือข้างที่ถนัด กำคอแม่หิง (คำว่าคอแม่หิง กะคือ ตำแหน่งจากหัวแม่หิงลงมา ประมาณ เคิงคืบถึงคืบหนึ่ง) หรือกำแม่หิง ให้เหลือหัวแม่หิงโผล่ขึ้นมาจักหน่อย พอเอาลูกหิงวางค้างได้... กรณีใช้หัวแม่หิงเต๋ ให้จับกลับกัน กล่าวคือ ให้เอามือกำทางหางแม่หิง ให้เหลือหางแม่หิง โผล่ออกมาจักหน่อย พอให้ลูกหิงค้างได้... จากนั้น กะเอาลูกหิง วางค้างไว้เทิงหม่อง ที่มือกำแม่หิงอยู่นั่นล่ะ (วางไว้เทิงมือ โดยมีแม่หิงประคองค้ำไว้บ่ให้ลูกหิงตก) โดยการวางลูกหิง ต้องวางให้สมดุลกัน เพื่อลูกหิงสิได้บ่ตกก่อน

จากนั้น กะซิดลูกหิงขึ้น หรือเฮ็ดลูกหิงให้เด็นขึ้น แล้วกะตวัดหางหิง หรือส่วนปลายที่อยู่ด้านล่างขึ้น เต๋ ฟาด ลูกหิง ให้กระเด็นไปให้ไกลที่สุด

สำหรับผู้ที่เต๋ ด้วยวิธีการข้างต้นบ่เป็น อาจสิใช้วิธีการดังต่อไปนี้ แทนกะได้ นั่นคือ... แทนที่สิ เอาแม่หิงส่วนทางล่าง ตวัดขึ้นมาเต๋ ให้ใช้แม่หิงส่วนทางเทิง เด๋อ ฟาด แทน... ซึ่งวิธีการแบบนี้ ให้จับแม่หิง ให้เหลือส่วนทางเทิงโผล่ออกมาหลายๆ (อาจสิกำแม่หิง อยู่ประมาณตำแหน่งเคิง ๆ) ... ขอให้ทำความเข้าใจว่า อยากเต๋แบบได๋ อยากใช้ทางได๋เต๋ ให้เหลือทางนั้นไว้ หลายๆ ...

หลังจากเต๋ลูกหิงกระเด็นไปแล้ว ผู้เล่นคนอื่นๆ ที่รอฮับโป้ง กะแล่นหาฮับเอาโป้งคือเก่านั่นล่ะ...

กรณีเต๋ไปแล้ว บ่มีผู้ได๋ฮับโป้งได้ ... กะให้นั่งยองๆ หรือยืนก้มๆ ถือแม่หิงเตรียมโต รอจังหวะตีลูกหิง ที่ไทตรงข้ามสิโยนเข้ามาหาฮูพอก... หรืออาจสิถือแม่หิง วี ควง ไปมา เหนือบริเวณฮูพอก เตรียมโตตีลูกหิง กะแล้วแต่เทคนิคของไผของมัน

ฝ่ายไทตรงข้าม ให้โตแทนผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นผู้โยนลูกหิงเข้าหาฮูพอก... โดยให้ยืนอยู่จุดตำแหน่ง ที่ลูกหิงกระเด็นไปตกหยุดนิ่งอยู่... จากนั้น กะโยน หรือดึก ปา ลูกหิง เข้าหาฮูพอก โดยให้โยนเผื่อว่า ผู้เล่นเต๋นั้น สิตีหลุย ตีบ่ถืก ตียากที่สุด ซึ่งมีเป้าหมายกะคือ ให้ลูกหิงที่โยนไป เข้าไปตกหยุดอยู่ใกล้ฮูพอก ให้ได้มากที่สุด (จากฮูพอก บ่ไกลเกินความยาวของแม่หิง)

ฝ่ายผู้เล่นเต๋ ซึ่งเตรียมโตอยู่แล้ว พอเห็นลูกหิงลอยมา ให้เล็งฟาดตีลูกหิง ให้กระเด็นไปไกลที่สุดเท่าที่สิเฮ็ดได้

หลังจากนั้น ผู้เล่นเต๋ สิตีถืก หรือตีหลุย กะซ่าง... ลูกหิงตกหยุดอยู่หม่องได๋ กะให้เอาแม่หิงไปแทก หรือวัดนับ จากตำแหน่งที่ปลายลูกหิงอยู่ใกล้ฮูพอกที่สุด เข้ามาหาฮูพอก โดยวัดนับมาตรงๆ (ห้ามแทกโค้งๆ) ว่า เต๋เทื่อนี้ ได้จักแม่

ซึ่งคำว่า “แม่” หมายถึง ความยาวของแม่หิง... อย่างเช่น เต๋ได้สามแม่ หมายความว่า วัดจากลูกหิง (จุดที่ลูกหิงอยู่ใกล้ฮูพอกที่สุด) ไปหาฮูพอก (จุดที่ยังบ่ทันถึงฮูพอก แต่ว่าใกล้ๆ ฮูพอก) มีระยะเท่ากับความยาวของแม่หิงรวมกัน ๓ เทื่อ

วัดระยะเรียบร้อยแล้ว ถ้ายังบ่ทันครบสิบแม่ กะให้เล่นเต๋ต่อ... จนได้ครบสิบแม่...ถ้าได้ครบสิบแม่แล้ว ถือว่าเล่นผ่านด่านแล้ว ให้เซาพักรอก่อน แล้วกะให้ผู้อื่นในไทเดียวกันคนต่อไป มาเล่นตาชิ้น...

กรณีเต๋ไปแล้ว ไทเดียวกันฮับโป้งได้ ... กะให้ผู้ฮับได้นั้น ดึก ขว้างไปไกลๆ ...จากนั้น ไทตรงข้าม กะไปโยนลูกหิงเข้าหาฮูพอก คือจั่งที่อธิบายไปแล้ว

กรณีเต๋ไปแล้ว ไทตรงข้ามฮับโป้งได้ ... กะให้ผู้ฮับได้นั้น ถือลูกหิง ย่างไปเลาะๆ ฮูพอก แล้วกะพยายามทิ้งวางลูกหิงลง ตรงตำแหน่งใกล้ฮูพอก ระยะบ่ไกลเกินความยาวของแม่หิง พร้อมทั้งเอาตีนเหยียบไว้ บ่ให้ผู้เล่นตาเต๋ ตีลูกหิงกระเด็นไปได้ หรือสิหาทางโยนทิ่มลงฮูพอก หรือโยนลงทางข้อมือผู้เล่นเต๋ ให้ผู้เล่นเต๋ตีบ่ถืก สิได้ “ลุน” … ในขณะเดียวกัน ผู้เล่นเต๋ กะให้ วี กวาด แม่หิงเหนือบริเวณฮูพอก เผื่อว่า สิตีถืกลูกหิง กระเด็นไปไกลพอสิแทกวัดได้อย่างหน่อยหนึ่งแม่ ... ซึ่งถ้าแทกวัดแล้ว มีระยะห่างบ่พอหนึ่งแม่ ผู้เล่นเต๋นั้น กะ “ลุน” อยู่ตาเต๋ นั่นล่ะ เล่นผ่านแล้วจักแม่ กะให้จำไว้ เพื่อสิเล่นต่อจนครบสิบแม่ในรอบต่อไป หรือ ให้ผู้อื่นในไทเดียวกัน เล่นเกี้ย จนครบสิบแม่...


กติกาสำหรับตาเต๋
:

  • หนึ่งแม่ หมายถึง ความยาวของแม่หิงหนึ่งช่วงความยาว
  • การแทกวัด ว่าได้จักแม่ ให้วัดจากจุดที่ใกล้ฮูพอกที่สุด ของลูกหิงซึ่งถูกตีไปตกหยุดอยู่ วัดเข้ามาหาฮูพอก
  • กรณีแทกวัดแล้ว ระยะห่างบ่พอหนึ่งแม่ ผู้เล่นเต๋นั้น “ลุน” ทันที นั่นคือ ระยะห่างของการตีฟาดแต่ละเทื่อ ต้องเกินหนึ่งแม่ขึ้นไป
  • กรณีการตีฟาดหนึ่งเทื่อ ได้ระยะห่าง เกินสิบแม่ขึ้นไป กะถือว่าได้สิบแม่ หรือตัดสินแค่ว่า เล่นผ่านตาเต๋ บ่สามารถเอาไปชดเชยให้ผู้เล่นคนอื่นได้


การเล่นเกี้ย หมายถึง การเล่นชดเชย หรือเล่นเพื่อช่อยให้ผู้เล่นคนอื่นในไทเดียวกันซึ่ง ”ลุน” ไปแล้ว ให้ผ่าน...

ตาที่อนุญาตให้เล่นเกี้ย กะคือ ตาชิ้น กับตาเต๋ เท่านั้น

ผู้ที่มีสิทธิ์เล่นเกี้ยผู้อื่นได้ กะคือผู้ที่เล่นผ่านตาเต๋เอง ผู้ที่ผ่านตาเต๋โดยถืกผู้อื่นเล่นเกี้ย ของรอบนั้น บ่มีสิทธิ์เล่นเกี้ย ยกเว้น ขึ้นรอบใหม่

เช่น ... สมมติ ผู้แรกเล่นบ่ผ่านตาชิ้น ผู้ที่สอง เล่นบ่ผ่านตาเต๋ เล่นได้แค่สี่แม่... ผู้เล่นที่เล่นผ่านตาเต๋แล้ว กะต้องเล่นเกี้ย ผู้แรกนั้น ตั้งแต่ตาชิ้น จนผ่านตาเต๋... จากนั้น กะเล่นเกี้ยผู้ที่สอง จากตาเต๋ โดยนับต่อจากของเก่า ที่ผู้ที่สองเล่นผ่านแล้ว คือนับเป็น ห้า หก ...จนครบสิบแม่

กรณี ผู้มีสิทธิ์เล่นเกี้ยเทิงเหมิด ซ่อยกันเล่นเกี้ยแล้ว แต่ว่าผู้เล่นเกี้ย กะเล่นบ่ผ่าน อยู่ตาได๋ตาหนึ่ง... หรือไทนั้น บ่สามารถสิผ่านตาเต๋ ได้เหมิดทุกคน “ลุน” เหมิดทุกคนแล้ว เล่นฮอดไส เล่นได้ซ่ำได๋ กะให้หยุดไว้แค่นั้น ต้องเปลี่ยนให้ไทตรงข้ามเล่น จนกว่าไทตรงข้ามสิ “ลุน” เหมิดทุกคน หรือไทตรงข้าม เล่นจบตาตีแล้ว จนไทเจ้าของถืกทำโทษให้อีแล้วแล้ว... จั่งค่อยมีสิทธิ์เล่นอีก โดยการเล่นอีกนี้ ให้เล่นต่อจากครั้งที่แล้ว เช่น เหลืออยู่คนหนึ่ง ยังบ่ผ่านตาเต๋ กะให้คนนั้น เล่นตาเต๋ นับต่อจากที่เล่นได้แล้ว ถ้าเล่นอีก ยังบ่ผ่านตาเต๋ ... บัดทีนี้ ผู้เล่นที่เหลือทุกคนในไทเดียวกันนั้น กะมีสิทธิ์เล่นเกี้ยได้ เพราะเริ่มรอบใหม่แล้ว

กรณี ทุกคนในไทเดียวกัน ผ่านตาเต๋เหมิดแล้ว (สิโดยเล่นเอง หรือโดยถูกเล่นเกี้ย ก็ดี) ถือว่าไทนั้น ผ่านด่านได้สำเร็จ กะสิเข้าสู่ขั้นตอนการทำโทษไทตรงข้าม โดยผ่านตาเดาะ กับตาตี

 


 

๓. ตาเดาะ

การเดาะ คือการตีประคองลูกหิง บ่ให้ตกลงพื้น เดาะได้หลายเทื่อ แฮ่งดี ซึ่งการเดาะ เป็นการกำหนดจำนวนครั้ง ว่าผู้ได๋สิได้ตีลูกหิงจักเทื่อ โดยผลัดกันเดาะรอบละคน จนครบทุกคน... ซึ่งวิธีการเดาะ คือ... ผู้เล่น ถือแม่หิงไวในมือข้างที่ถนัด สิจับแบบแนบแขนอย่างมั่นคงกะได้ จับถือธรรมดากะได้ แล้วแต่เทคนิคไผมัน... มืออีกข้างหนึ่ง ถือลูกหิงไว้ เหนือแม่หิงที่ถือเตรียมอยู่ ในตำแหน่งและระยะที่พอเหมาะ จากนั้น กะวางลูกหิงลง แล้วกะใช้แม่หิงเดาะตีค่อยๆ เดาะประคอง บ่ให้ลูกหิงตกลงพื้น ไล่คุมเดาะ ไล่คุมตี จนกว่าลูกหิงสิตกพื้น พุ่นล่ะ จั่งสิเหมิดสิทธิ์เดาะ

สมมติเดาะได้ ๔ เทื่อ + ฮับโป้งได้เทิงเหมิด ๒ โป้ง.... ผู้นั้น กะสิได้ตีรวมเป็น ๖ เทื่อ

สมมติเดาะได้ ๓ เทื่อ + ฮับโป้งบ่ได้จักโป้ง.... ผู้นั้น กะสิได้ตีรวมเป็น ๓ เทื่อ

แต่ว่า จำนวนครั้งในการตี อาจสิมีเพิ่มขึ้นอีก กะได้ เพราะว่า ในขณะตีนั้น กะสามารถสิฮับโป้งได้อีก ถ้าฮับโป้งได้จำนวนเท่าใด กะบวกรวมจำนวนครั้งการตีเข้าไปอีก เท่านั้น

 

*** ตั้งแต่ตาเดาะ เป็นต้นไป ข้อควรระวังสำหรับไทที่เดาะกะคือ ต้องระวังรักษาแม่หิงให้ดี ห้ามวาง หรือให้ไทตรงข้ามยาดไปได้ เพราะว่า ถ้าไทตรงข้ามได้แม่หิงไป แล้วเอาแม่หิง ไปแหย่ฮูพอก การเล่นเทิงเหมิดของไทนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ “ลุน” ทั้งทีม แล้วกะไทตรงข้าม บ่ต้อง “อี”


กติกาสำหรับตาเดาะ
:

  • แต่ละคน มีสิทธิ์แค่รอบเดียว เดาะหลุย กะเป็น ๐ เทื่อ พลาดแล้วพลาดเลย
  • ขณะเดาะอยู่ ห้ามผู้อื่นมาท่าฮับโป้ง (แล้วแต่สิกำหนดหรือบ่กะได้)
  • ห้ามไทตรงข้าม ไปดึงยาดเอาแม่หิง ด้วยกำลังหักหาญ.... ยกเว้น มีผู้ได๋ผู้นึง เผลอวางไว้ หรือเผลอเด่ให้

 

๔. ตาตี

ตาตี เป็นการกำหนดระยะทาง ในการทำโทษไทตรงข้าม โดยเริ่มตีจากตำแหน่งฮูพอก ซึ่งการทำโทษ กะคือการให้กลั้นหายใจฮ้องว่า “อี” แล่นกลับมา จากจุดที่ตีรวมไปได้ไกลที่สุด กลับมาหาจุดเริ่มตี ซึ่งกะคือฮูพอก

การตีที่มักพบเห็น สิมีอยู่สามลักษณะ คือ ตีแบบแนวขวาง , ตีแบบฟาดลงแนวตั้ง กับ ตีแบบเสยขึ้นแนวตั้ง

การตีแบบแนวขวาง ผู้ที่สิตี ถือแม่หิงไว้ในมือที่ถนัด ถือลูกหิงในในมืออีกข้างหนึ่ง หันข้างที่ถือลูกไปในทิศทางที่สิตีไป ถือลูกหิงไว้ในแนวตั้ง จากนั้น โยนลูกขึ้นจักหน่อย (หรือถ้าถือลูกไว้สูงๆ อยู่แล้ว กะปล่อยลูกลง) ....แล้วกะใช้แม่หิง ตีเข้าจุดกึ่งกลางของลูก เหมิดแฮง ให้ลูกกระเด็นลอยไปไกลที่สุด... ซึ่งการตีวิธีนี้ ผู้ชาย มักใช้

การตีแบบฟาดลงแนวตั้ง คล้ายๆ กับผ่าฟืน ผู้ที่สิตี ถือแม่หิงไว้ในมือที่ถนัด ถือลูกหิงในในมืออีกข้างหนึ่ง หันหน้าไปในทิศทางที่สิตีไป ถือลูกหิงไว้ในแนวนอน จากนั้น ยกมือที่ถือลูกหิงขึ้นทางหน้า เหนือหัว ในระดับพอเหมาะ แล้วกะปล่อยวางลูกลง ขณะเดียวกันนั้น กะฟ้าวใช้แม่หิงตีเข้าจุดกึ่งกลางของลูก เหมิดแฮง ให้ลูกกระเด็นลอยไปไกลที่สุด... ซึ่งการตีวิธีนี้ ผู้ญิง มักใช้

การตีแบบเสยขึ้นแนวตั้ง ผู้ที่สิตี ถือแม่หิงไว้ในมือที่ถนัด ถือลูกหิงในในมืออีกข้างหนึ่ง หันหน้าไปในทิศทางที่สิตีไป ถือลูกหิงไว้ในแนวนอน ในระดับประมาณเข้า หรือเอว กะได้ ตามที่เห็นว่าพอเหมาะ แล้วกะปล่อยวางลูกลง ขณะเดียวกันนั้น กะฟ้าวใช้แม่หิงตีเสยขึ้น เข้าจุดกึ่งกลางของลูก เหมิดแฮง ให้ลูกกระเด็นลอยไปไกลที่สุด... ซึ่งการตีวิธีนี้ ผู้ญิง มักใช้

ในขณะที่สิตีนั้น ผู้อื่นที่ต้องการฮับโป้ง (ผู้ที่บ่ย่านลูกหิง) กะสามารถไปยืนรอฮับโป้งได้ โดยก๋าระยะเอาว่า ผู้ตีผู้นั้น สิตีไปไกลประมาณได๋ เผื่อฟลุก ได้โป้ง ซั่นดอกหวา...

ผู้แรกที่ตี... ตีลูกแรกไปตกอยู่ไส กะให้ไปตีลูกที่สองต่อจากจุดนั้น ตีลูกที่สองไปตกอยู่หม่องได๋ กะให้ไปตีลูกที่สามต่อจากหม่องนั้น.. จนครบจำนวนครั้งของเจ้าของ.. จากนั้นกะให้ผู้อื่นคนต่อไป มาตีต่อจากจุดที่ผู้แรกตีฮอด.. ตีต่อกันไปเรื่อยๆ ...

ไทที่ตี ผลัดกันตีตามจำนวนที่เดาะได้ บวกกับโป้งของไผของมัน ตีจนครบเหมิดทุกคนแล้ว... ตีลูกหิงไปฮอดไส นั่นคือจุดที่ไทตรงข้าม ต้องกลั้นหายใจ ฮ้อง “อี” แล่นคืนมาหาฮูพอก

ไทตรงข้ามที่สิ “อี” ... ให้ผู้สิ “อี” คนแรก ไปเก็บลูกหิงขึ้นมา แล้วกะแล่นฮ้อง “อี” จากจุดนั้น บ่ายหน้ากลับมาทางฮูพอก... ผู้ “อี” คนแรก ใจขาด (เสียง “อี” เงียบหาย) อยู่หม่องได๋ กะให้ผู้สิ “อี” คนต่อมา เริ่ม “อี” จากหม่องนั้น... “อี” ต่อไปมาเรื่อยๆ

ในกรณีที่ “ อี ” ต่อกันมา จนครบเหมิดทุกคน ของไทที่ “อี” แล้ว กะยังกับบ่ฮอดฮูพอก... กะให้ไทที่ “ตี” คนได๋คนนึง ไปตีลูกหิง จากจุดที่ไทที่ “อี” ใจขาด ตีไปไกลๆ อีกหนึ่งเทื่อ (เป็นการลงโทษเพิ่ม) หลังจากนั้น ไทที่ “อี” กะเริ่ม “อี” ใหม่ จากจุดที่ลูกหิงไปตกอยู่ กลับหาฮูพอก ซึ่งมีสิทธิ์ “อี” เหมิดทุกคน

กรณีที่ “ อี ” ต่อกันมา ครบเหมิดทุกคน หรือบ่ครบเหมิดทุกคน กะซาง แต่ว่า “อี” กลับมาฮอดฮูพอกแล้ว... ถือว่า การเล่นรอบนั้น สิ้นสุดลงหนึ่งเทื่อ... กะถึงที่ของไทที่ “อี” เป็นฝ่ายเล่น โดยเล่นต่อจากตาต่างๆ ที่เล่นค้างไว้ (ถ้ายังบ่ทันได้เล่นเลย กะเริ่มเล่นจากตาชิ้น)


*** ข้อควรระวังสำหรับไทที่ตีลูกหิงกะคือ ต้องระวังรักษาแม่หิงให้ดี ห้ามวาง หรือให้ไทตรงข้ามยาดไปได้ เพราะว่า ถ้าไทตรงข้ามได้แม่หิงไป แล้วเอาแม่หิง ไปแหย่ฮูพอก การเล่นเทิงเหมิดของไทนั้น ถือว่าเป็นโมฆะ “ลุน” ทั้งทีม แล้วกะไทตรงข้าม บ่ต้อง “อี”

 

กติกาสำหรับตาตี-อี :

  • จำนวนครั้งในการตี กำหนดโดย จำนวนครั้งที่เดาะได้ บวกกับโป้งที่สะสม ของไผของมัน
  • ฮูพอก คือจุดที่เริ่ม “ตี” และเป็นจุดที่ต้อง “อี” กลับมาให้ฮอด
  • ลูกที่ตีไป ตกหยุดอยู่หม่องได๋ ให้ไปตีลูกต่อไป ต่อจากหม่องนั้น
  • จุดที่คนสุดท้าย ตีลูกหิงลูกสุดท้ายไปตกหยุดอยู่ คือจุดที่เริ่ม “อี”
  • การ “ อี ” คือการ กลั้นหายใจ ฮ้องดังๆ ว่า “..อี.... ” พร้อมกับแล่นกลับหาฮูพอก
  • “ อี ” ไปใจขาดอยู่หม่องได๋ ให้ผู้อื่น “อี” ต่อจากหม่องนั้น
  • ห้ามไทตรงข้าม ไปดึงยาดเอาแม่หิง ด้วยกำลังหักหาญ.... ยกเว้น มีผู้ได๋ผู้นึง เผลอวางไว้ หรือเผลอเด่ให้

กลับด้านบน

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... การละเล่นพื้นบ้านอีสาน