ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
งัวบ่กินหญ้าแสนสิข่มก็เขาหัก หมูบ่กินฮำแสนสิตีก็ดังเว้อ แปลว่า วัวจะไม่กินหญ้า ถึงจะกดเขาบังคับ เขาก็หักเปล่า หมูจะไม่กินรำ ถึงจะตี ก็จมูกบานเปล่าๆ หมายถึง ไม่ควรบังคับใจใครให้ทำตามใจตน

การละเล่นพื้นบ้านอีสาน  

บักอี.....การละเล่นพื้นบ้าน --- อีสานจุฬาฯ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๑๙.บักอี


เป็นการดึงลากคนของฝ่ายตรงข้ามที่ออกมาล่อ ซึ่งกลั้นหายใจอยู่ ให้เลยเส้นตาย หรือ จับไว้ จนใจขาด(หายใจ หรือเสียงอีขาดหาย)


จำนวนผู้เล่น
: ๔ คนขึ้นไป


สถานที่และการเตรียม
:

เดิ่นกว้าง ๆ พอสมควร.... ขีดเส้นขึ้นมาหนึ่งเส้น เป็นเส้นกลาง หรือเส้นแบ่งเขต ซึ่งเส้นนี้ กะคือ เส้นช่วยชีวิต จากนั้น กะก้าวนับจากเส้นกลางนั้นออกไปทั้งสองฟาก ฟากละประมาณ ๑๐ ก้าว (หรือระยะที่เห็นว่าพอเหมาะ) แล้วกะขีดเส้นแนวขนาน ขึ้นมาอีก ซึ่งเส้นนี้ กะคือ เส้นตาย นั่นเอง

 

 

การจัดไท : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง

การเลือกไทเล่นก่อน : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง


วิธีการเล่น
:

ผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ไปยืนอยู่ด้านหลังเส้นตาย ของฝั่งไผฝั่งมัน ไทที่ได้เล่นก่อน ส่งโตแทนไปผู้หนึ่ง เป็นผู้ได๋กะได้ ออกไปล่อแต้มเอาฝ่ายตรงข้าม ซึ่งผู้ที่ออกไปล่อนี้ พอเลยเส้นแบ่งเขตหรือเส้นช่วยชีวิต ไป ถือว่าได้เข้าเขตฝ่ายตรงข้ามแล้ว ต้องกลั้นหายใจไว้ และเพื่อให้ผู้อื่นฮู้ว่ายังกลั้นหายใจอยู่ เลยใช้วิธีการฮ้องออกเสียงว่า “ อี ”

ขณะ “ อี ” อยู่นั้น ต้องพยายาม ไปล่อแต้มเอาฝ่ายตรงข้ามให้ได้ ซึ่งฝ่ายตรงข้าม กะต้องหลบ โดยการหนีไปอยู่หลังเส้นตาย.. เพราะว่าผู้ “อี” เลยเส้นตายไปบ่ได้... พร้อมกันนั้น กะต้องพยายามหาทาง จับเอาผู้ “อี” ให้ได้

ผู้ “ อี ” ถ้าแต้มเอาไผบ่ได้เลย เทิงเจ้าของ ใกล้สิใจขาดแล้ว กะต้องกลับเข้าเขตของเจ้าของ เพื่อรักษาชีวิตของเจ้าของไว้

จากนั้น กะถึงทีของอีกไทหนึ่ง เป็นฝ่ายออกมา “อี” บ้าง ...ไทนั้น กะส่งโตแทน ออกมาหนึ่งคนคือกัน.. อีออกไปไล่แต้มเอา คือกัน

รณีที่ผู้ “ อี ” แต้มได้ฝ่ายตรงข้ามผู้ได๋กะตาม สิเป็นหนึ่งคน สองคน สามคน กะดี แล้วกะผู้ “อี” สามารถกลับเข้าเขต แตะเส้นช่วยชีวิตได้ โดยที่ยังบ่ทันใจขาด ผู้ที่ถืกแต้มได้เทิงเหมิด ต้อง “ตาย”

รณีที่ผู้ “ อี ” แต้มได้ฝ่ายตรงข้ามผู้ได๋ผู้หนึ่ง แล้ว ขณะที่กำลังสิแล่นกลับเข้าเส้นช่วยชีวิต ถืกจับไว้ โดยฝ่ายตรงข้ามคนเดียว หรือหลายคนก็ดี ถึงแม้ผู้ “อี” พยายามดิ้นรนหนีกลับเส้นช่วยชีวิต แต่ว่า ยังบ่ทันได้แตะเส้นช่วยชีวิต ใจขาดก่อน (เสียง อี ขาดหาย) ผู้ที่ “อี” นั้น ต้อง “ตาย” ...ส่วนผู้ที่สัมผัสกับผู้ “อี” นั้น ทุกคน กะรอดชีวิต แล้วกะสามารถฆ่า ผู้ “อี” ซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้าม ได้หนึ่งคน... ในทางกลับกัน ถ้าผู้ “อี” ดิ้นหนีไปแตะเส้นช่วยชีวิตได้ทัน ก่อนสิใจขาด ผู้ “อี” นั้น กะบ่ “ตาย” แต่ผู้ที่ “ตาย” กะคือ ฝ่ายตรงข้ามทุกคน ที่มาสัมผัสกับผู้ “อี” นั้น

ผู้ “ อี ”    “ ตาย ” ก็ดี   ผู้ “ อี ” กลับเข้าเขต ก็ดี ถือว่าจบรอบนั้นๆ ต้องเปลี่ยนให้อีกฝ่ายหนึ่งออกมา “อี” .....ผลัดกันไป ผลัดกันมา อยู่จั่งซี้ล่ะ จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สิตายเหมิดทุกคน... ฝ่ายที่ตายเหมิดทุกคนก่อน เป็นฝ่ายที่แพ้ ต้องถืกทำโทษโดยการถืกเขกเข่า หรือกุ่ง(กระเตง) อีกฝ่ายหนึ่ง

 

กติกา :

  • การ “ อี ” คือการกลั้นหายใจ โดยการฮ้องออกเสียงว่า “อี” หรือ “อือ” หรือ “อืม”
  • ผู้ “ อี ” ขณะอยู่ในเขตของฝ่ายตรงข้าม ต้องบ่ใจขาด หรือเสียง “อี” ต้องบ่ขาดหาย บ่จั่งซั้น "ตาย”
  • ผู้ “ อี ” ต้องบ่เลยเส้นตาย ที่อยู่ในเขตฝ่ายตรงข้าม บ่จั่งซั้น “ตาย”
  • ผู้ที่ถืกผู้ “ อี ” แต้มได้ โดยที่ผู้ “ อี ” สามารถกลับไปแตะเส้นช่วยชีวิตได้ทัน ก่อนใจสิขาด ต้อง “ตาย”
  • ผู้ใด๋ถืกผู้ “ อี ” แต้มได้ แต่ว่าผู้ “ อี ” ใจขาดก่อนสิแตะเส้นช่วยชีวิต ผู้นั้นยังบ่ “ตาย” ยังมีสิทธิ์เล่นต่อได้ (ผู้ตาย กะคือ ผู้ “ อี ”)
  • การจับผู้ “ อี ” สามารถช่วยกันจับหลายๆ คนกะได้ ช่วยกันจักคน กะได้
  • ผู้ที่ “ ตาย ” ถือว่าเหมิดสิทธิ์ในการเล่น ต้องรอจนกว่าไทได๋ไทหนึ่ง สิตายเหมิด แล้วเริ่มต้นเล่นใหม่ จั่งค่อยสิมีสิทธิ์เล่นอีก
  • ฝ่ายที่ “ ตาย ” เหมิดก่อน ถือว่า แพ้

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... การละเล่นพื้นบ้านอีสาน