ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ชื่อว่าสงสารซังกงเกวียนกำฮอบ เวรหากมาคอบแล้ววอนไหว้ก็บ่ฟัง แปลว่า ขึ้นชื่อว่าวัฏฏสงสาร ย่อมหมุนวนดังล้อเกวียน เมื่อถึงคราวกรรมมาให้ผล ไม่มีใครทัดทานได้ หมายถึง ผลของกรรม ไม่มีใครบังคับได้ ไม่มีใครทัดทานได้ ดังนั้น พึงทำแต่กรรมดี

การละเล่นพื้นบ้านอีสาน  

กระต่าย-กระแต...การละเล่นพื้นบ้าน --- อีสานจุฬาฯ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
๒๕.กระต่าย-กระแต


เป็นการฝึกและทดสอบประสาท ทดสอบความเร็ว


จำนวนผู้เล่น
: ๓ คนขึ้นไป (๙ คนขึ้นไป จั่งม่วน)


สถานที่และการเตรียม
:

เดิ่นกว้าง ๆ พอสมควร... .ขีดเส้นขึ้นมาสองเส้น ระยะห่างกันประมาณหนึ่งก้าว ความยาวพอสมควรกับสถานที่หรือจำนวนคนที่มีอยู่ จากนั้น กะก้าวนับจากแต่ละเส้นนั้นออกไปประมาณ ๑๐ ก้าว (หรือระยะที่เห็นว่าพอเหมาะ) แล้วกะขีดเส้นแนวขนาน ขึ้นมาอีก ซึ่งเส้นนี้ กะคือ เส้นรอด นั่นเอง … แล้วกะให้หากรรมการมาผู้หนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ที่พาหมู่เล่นนั่นล่ะ เป็นกรรมการ

 

 

การจัดไท : วิธีการ ปาว ปิ่ง ป้ง ... แล้วกะกำหนดให้ไทหนึ่งเป็นกระแต อีกไทหนึ่งเป็นกระต่าย


กติกาการเล่น
:

  • กรรมการ เป็นผู้เว้าว่า “กระต่าย” หรือ “กระแต” สิเลือกเว้าอันได๋ กะตามที่กรรมการเห็นสมควร
  • กรรมการเว้าว่า “กระต่าย” ผู้เล่นทุกคนไทที่เป็นกระต่าย ให้แล่นไล่แต้มเอาไทตรงข้าม... ส่วนผู้เล่นทุกคนไทที่เป็นกระแต ให้ฟ้าวแล่นหนี จนพ้นเลยเส้นรอดของไทเจ้าของ
  • กรรมการเว้าว่า “กระแต” ผู้เล่นทุกคนไทที่เป็นกระแต ให้แล่นไล่แต้มเอาไทตรงข้าม... ส่วนผู้เล่นทุกคนไทที่เป็นกระต่าย ให้ฟ้าวแล่นหนี จนพ้นเลยเส้นรอดของไทเจ้าของ
  • ผู้เล่นที่ถืกแต้มได้ ก่อนสิพ้นเส้นรอดของไทเจ้าของ “ลุน” ทันที
  • ผู้เล่นที่แล่นหนี เลยพ้นเส้นรอด ของไทเจ้าของแล้ว ถือว่าปลอดภัย
  • ผู้เล่นที่ “ ลุน ” แล้ว ให้ออกไปยืน-นั่งท่าอยู่นอกวงเล่น
  • ไทที่ผู้เล่น “ ลุน ” เหมิดก่อน เป็นฝ่าย “ แพ้ ”


วิธีการเล่น
:

แต่ละไท ไปยืนเรียงแถว อยู่ทางไผทางมัน ห่างกัน ประมาณหนึ่งช่วงแขน หรือพอสมควร ยืนก้มๆ จักหน่อย เตรียมพร้อมที่สิแล่นไล่ เตรียมพร้อมที่สิแล่นหนี... จากนั้น กรรมการ กะเว้าว่า “กระแต” หรือ “กระต่าย” สลับไปมา หรือซ้ำๆ ไปมา

โดยมาก กรรมการ มักสิมีลีลา ในการว่า เช่น “กะ... กะ... กะ...”   ให้ผู้เล่น ระวัง หรือลุ้นในใจ.. แล้วจั่งค่อยว่า “...ต่าย” หรือ “...แต” ตามท้าย หรือฮาลังเทื่อ คำตามท้าย อาจสิเป็น “...ต่า”   “...บุง”    “...ลา” ฯลฯ ซึ่งคำเหล่านี้ เฮ็ดให้มันม่วนซื่อๆ ดอก ให้ไทสองไท โดดตำกัน ซื่อๆ ดอก บ่ได้เฮ็ดให้ฝ่ายได๋ฝ่ายนึง "ลุน” ดอก

ซึ่งคำที่มักเว้า นอกเหนือจาก “กะต่าย”   “กะแต” แล้ว กะสิมี “กะต่า”   “กะบุง”   “กะลา”   “กะบวย”   “กะทอ”   “กะซ่าง”   “กะพอล่ะ” เป็นต้น

ส่วนผู้เล่นทั้งสองฝ่าย กะยืนคอยฟังว่า กรรมการ สิว่าให้ไทเจ้าของแล่นหนี หรือแล่นไล่... แล้วกะปฏิบัติตามนั้น … กรณี “ลุน” แล้ว ให้ออกไปนั่ง-ยืนเซาพัก รอลุ้น รอเชียร์หมู่ที่เหลือที่กำลังเล่นอยู่... เล่นไปจนกว่า สิได้ไทชนะ ซึ่งไทชนะอาจสิได้เขกเข่า หรือขี่หลังไทแพ้ กะแล้วแต่สิกำหนดกันเอา... จากนั้น กะถือว่าจบหนึ่งรอบ...

  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... การละเล่นพื้นบ้านอีสาน