ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2567:: อ่านผญา 
คันได้ขึ้นเฮือแล้ว อย่าลืมแพป้องไม้ไผ่ คันได้เป็นใหญ่แล้ว อย่าลืมข้าผู้พลอย แปลว่า ได้ขึ้นเรือแล้ว อย่าลืมแพไม้ไผ่ ถ้าได้เป็นใหญ่แล้ว อย่าลืมข้าทาสบริวาร หมายถึง ได้ดีแล้วอย่าลืมตัว อย่าลืมผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

มูนมังอีสาน ฮีตสิบสิงคองสิบสี่  

ฮีต12 คลอง 14 --- heet12_clong14

ฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่

       ฮีตสิบสอง - คลองสิบสี่ เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสานที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และเจริญรุ่งเรืองมานาน เป็นเอกลักษณ์ของชาติและท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

       ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำ คือ ฮีต และ สิบสอง ฮีต มาจากคำว่า จารีต ซึ่งหมายถึง ความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และ สิบสอง มาจาคำว่า สิบสองเดือน ดังนั้นคำว่า ฮีตสิบสอง หมายถึง ประเพณีที่ประชาชนในภาคอีสานปฏิบัติกันมาในโอกาสต่าง ๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี

       คลองสิบสี่ บางทีเขียนหรือออกเสียงเป็น คองสิบสี่ เป็นคำและข้อปฏิบัติคู่กับฮีตสิบสอง คลองสิบสี่หรือคองสิบสี่ มาจากคำสองคำ คือ คลองหรือคอง ซึ่งหมายถึง ธรรมเนียมประเพณี ทางหรือแนวทาง และ สิบสี่ หมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางปฏิบัติ 14 ข้อ ดังนั้นคำว่า คลองสิบสี่ จึงหมายถึง ข้อวัตรหรือแนวทางที่ประชาชนทุกระดับ นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ ข้าราชการ ผู้มีหน้าที่ปกครองบ้านเมือง และคนธรรมดาสามัญพึงปฏิบัติ 14 ข้อ
 


รวบรวมและเรียบเรียงโดย :

วิบูลย์     คงดี และคณะ
ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากการศึกษาข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมอีสาน
ในโครงการศึกษาและสร้างจิตสำนึกในศิลปวัฒนธรรมอีสาน ปีการศึกษา 2539

หนังสืออ้างอิง

บัวศรี ศรีสูง. ฮีต-คองอีสาน และปกิณกะคดี. โรงพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ๊งกรุ๊ฟ. 2535.

ศิลปวัฒนธรรมอีสาน,สถาบันวิจัย,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม. สารสาระ-
ทัศนานันท์ "ฮีตสิบสอง-คลองสิบสี่ฉบับย่อ". เมืองเลยการพิมพ์. 2534


 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... มูนมังอีสาน ฮีตสิบสิงคองสิบสี่