ลายใหญ่ หมายถึงทำนองที่อยู่ในบันไดเสียงทุ้มต่ำ ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงทุ้มต่ำว่า เสียงใหญ่... เสียง ลา เป็นเสียงทุ้มต่ำที่สุดในแคนแต่ละเต้า เมื่อลายใหญ่มีเสียง ลา เป็นศูนย์กลางของทำนอง จึงมีชื่อเรียกว่า ลายใหญ่....
ลายใหญ่ มีเสียงลาต่ำ (เสียง A เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนองได้เพียง 6 โน้ต คือ ล ท ด ร ม ซ
เสียงฟา เป็นเสียงส้มของลายใหญ่ ... ส้ม หมายถึง เปรี้ยว เสียงส้ม หมายถึง เสียงที่ไม่เข้าพวกกับเสียงอื่นเมื่อบรรเลงทำนอง หากนำเสียงนี้มาใช้ร่วมทำนอง จะฟังดูแปร่งๆ หู เปรี้ยวหู ก็เลยเรียกว่าเสียงส้ม
เสียงฟา เมื่อนำมาใช้ในคีย์ลายใหญ่ จะไม่เข้าพวกเขา.... หากจะให้เข้าพวกจริงๆ ต้องเป็นเสียงฟาชาร์ป (F#)
อีกอย่างหนึ่ง ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายใหญ่คือ ล ด ร ม ซ ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ท) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ท และ ฟ) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทำนองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกำเนิดใหม่
มาตราเสียงของลายใหญ่ จัดอยู่ใน A Mode (คือเพลงจบลงด้วยเสียง ลา ... เมื่อเทียบลา = A) ออกสำเนียงไมเนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดเอไมเนอร์ ก็ไม่ผิด
ลองดูตัวอย่างเพลงพม่ารำขวาน เมื่อใช้บันไดลายใหญ่
พม่ารำขวานคีย์ลายใหญ่
- - - - |
- - - - |
- - - - |
- - - - |
- - - - |
- ล - ร |
- ซ ล ท |
ร - ล ล |
- ท ล ซ |
ล ท ล ด |
- ซ ล ท |
ร ล ล |
- - - - |
ซ ม ซ ซ |
ล ท ล ซ |
ฟ# ม ร ม |
- - - - |
ซ ม ซ ซ |
ล ท ล ซ |
ฟ# ม ร ม |
- ม ซ ร |
- ม - ร |
- ด ล ด |
ร ม ร ด |
- ด ล ด |
- ด ร ม |
ซ ล ซ ม |
ซ ม ร ด |
- ท ล ซ |
- ซ ล ท |
ล ซ ล ท |
ร ด ท ล |
*** แคน ไม่มีเสียง ฟ# มีเฉพาะเสียง ฟ ซึ่งเป็นเสียงส้มของลายใหญ่
|