ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันได้ขึ้นนั่งบ้านเป็นเอกสูงศักดิ์ อย่าได้โวๆ เสียงลื่นคนทั้งค่าย แปลว่า หากได้เป็นใหญ่ปกครองคน อย่าได้หลงอำนาจ ไม่ฟังความเห็นคนอื่น หมายถึง เป็นผู้นำ ควรรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน  

โหวด...ขั้นตอนการทำโหวด (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน---อีสานจุฬาฯ)
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน...โหวด

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
ขั้นตอนการทำโหวด

โหวด มีขั้นตอนการทำคร่าวๆ ดังนี้

  • คัดเลือกไม้กู่แคน เรียงลำดับจากใหญ่ไปหาเล็ก (เลือกขนาดที่เหมาะสม)

  • ลูกที่ใหญ่ที่สุดตัดให้ยาวที่สุด ประมาณ 25 ซ.ม. ลูกถัดไป ให้สั้นลดหลั่นกันไปเรื่อยๆ เพื่อความสวยงาม

  • เฉือนด้านหัวแต่ละลูกเป็นรูปปากฉลาม เฉียงประมาณ 45 องศา

  • นำขี้สูดปั้นเป็นก้อนพอใส่ในรูลูกโหวดได้ ใส่ลงไปในรู และใช้ไม้จูนเสียง แหย่ปรับให้ขี้สูดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม... ขณะที่จูนเสียง ก็ลองเป่าดู เทียบเสียงดูจนได้เสียงที่ถูกต้อง... ปรับจูนเสียงจนครบทุกลูก (ขั้นตอนการปรับจูนเสียง ระวังอย่าให้ตรงปากฉลามเสียหาย)

  • เตรียมแกนโหวด โดยนำลำไม้ไผ่มาเหลา ให้ได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เหมาะสม สำหรับติดลูกโหวดรอบแกน ให้ได้ทั้งหมดที่เตรียมไว้ (13-15ลูก) ด้านหัวของแกน เป็นปล้องไม้ไผ่ที่ไม่ทะลุปล้อง ด้านท้ายปาดให้มีลักษณะเวียน เหลาทำเป็นหางโหวด โดยส่วนหางโหวดต้องยาวกว่าลูกโหวดที่ยาวที่สุด

  • นำลูกโหวดมาติดเข้ากับแกน ด้วยขี้สูด โดยติดเริ่มจากลูกที่ยาวที่สุด เรียงลำดับไปเรื่อยๆ จนครบทุกลูก

  • นำขี้สูดซึ่งผสมขี้ซีแล้ว มาติดตกแต่งหัวโหวด ให้มีลักษณะสอบแหลม ปลายมน ตกแต่งขี้สูดตรงปากฉลามลูกโหวด ให้ได้องศาที่รับกัน เพื่อให้เป่าดังง่าย.... ทดสอบเป่าเป็นเพลง หากเสียงเพี้ยน ให้ปรับจูนเสียงใหม่ ตกแต่งขอบปากใหม่ จนเสร็จเรียบร้อย

  • หากต้องการให้ลูกโหวดติดกับแกนอย่างมั่นคงถาวร ให้หยอดกาวติดซ้ำเข้าไป

  • นำแผ่นพลาสติกอ่อนบาง มาแปะติดที่หัวโหวด เพื่อป้องกันขี้สูดติดคางเวลาเป่า

 

การเรียงลูกโหวดมาตรฐาน 13 ลูก การเรียงลูกโหวดแบบเพิ่มเสียงฟาเข้าไป

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ดนตรีพื้นบ้านอีสาน