ลายน้อย หมายถึงทำนองที่อยู่ในบันไดแหลมสูง ภาษาไทย-ลาว เรียกเสียงแหลมว่า เสียงน้อย... เสียง เร ซึ่งเป็นเสียงศูนย์กลางของทำนองลายน้อย แหลมกว่าเสียงลา ของทำนองลายใหญ่ จึงได้ชื่อว่า ลายน้อย เพราะมีเสียงแหลมกว่าลายใหญ่
ลายน้อย ก็คือทำนองลายใหญ่ ที่เลื่อนบันไดเสียง จาก เอโหมด มาเป็น ดีโหมด นั่นเอง และออกสำเนียงไมเนอร์เหมือนกัน
ลายน้อย มีเสียงเรต่ำ (เสียง D เมื่ออยู่บันไดเนเจอรัล) เป็นเสียงศูนย์กลางของทำนอง ใช้โน้ตในทำนองได้ครบทั้ง 7 โน้ต คือ ร ม ฟ ซ ล ท ด
อย่างไรก็ตาม ทำนองลายเพลงอีสาน โดยมาก เป็นทำนองโน้ตกระโดด ใช้โน้ตในแต่ละลายเพลง 5 โน้ต ซึ่งโน้ตหลัก 5 โน้ตของลายน้อยคือ ร ฟ ซ ล ด ส่วนลายเพลงที่มี 6 โน้ต (เพิ่มเสียง ม) และ 7 โน้ต (เพิ่มเสียง ม และ ท) จะมีน้อย ถ้ามีบรรเลง ก็เป็นเพลงที่ยืมทำนองมาจากถิ่นอื่น หรือเป็นลายเพลงกำเนิดใหม่
มาตราเสียงของลายน้อย จัดอยู่ใน D Mode (คือเพลงจบลงด้วยเสียงเร ... เมื่อเทียบเร = D) ออกสำเนียงไมเนอร์ หรือจะว่าเป็นบันไดดีไมเนอร์ ก็ไม่ผิด
ดูตัวอย่างเพลงพม่ารำขวาน เมื่อใช้บันไดลายน้อย
พม่ารำขวานคีย์ลายน้อย
- - - - |
- - - - |
- - - - |
- - - - |
- - - - |
- ร - ซ |
- ด ร ม |
ซ - ร ร |
- ม ร ด |
ร ม ร ซ |
- ด ร ม |
ซ ร ร |
- - - - |
ด ล ด ด |
ร ม ร ด |
ท ล ซ ล |
- - - - |
ด ล ด ด |
ร ม ร ด |
ท ล ซ ล |
- ล ด ซ |
- ล - ซ |
- ฟ ร ฟ |
ซ ล ซ ฟ |
- ฟ ร ฟ |
- ฟ ซ ล |
ด ร ด ล |
ด ล ซ ฟ |
- ม ร ด |
- ด ร ม |
ร ด ร ม |
ซ ฟ ม ร |
|