ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 25 เมษายน 2568:: |
อ่านผญา |
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา แปลว่า ถ้าเราทำดีแล้ว เขาจะชังก็ช่าง ถ้าเราทำถูกต้องแล้ว เขาจะถากถางก็ช่างเขา หมายถึง หากเราทำสิ่งถูกต้องแล้ว ใครจะนินทาหรือสรรเสริญ ก็ช่าง |
|
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน |
|
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน --- ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสานจุฬาฯ
ดนตรีอีสาน
เป็นดนตรีระดับพื้นบ้าน เข้าถึงชีวิตชาวบ้าน สืบทอดพัฒนาโดยชาวบ้าน จนได้ชื่อว่าเป็นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่เข้าถึงชีวิต จิตใจ กล่อมเกลาจิตใจ ตลอดถึง ให้ความสนุกสนาน บันเทิง แก่ชาวอีสาน มาช้านาน เครื่องดนตรีบางอย่าง ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้น และกำเนิดขึ้นในยุคสมัยไหน แต่เครื่องดนตรีทั้งหลาย ก็ยังมีการสืบทอด ปรับปรุง พัฒนา และเผยแพร่ให้คงอยู่ตราบปัจจุบัน
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำแนกเป็นหมวดหมู่ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
จำแนกตามลักษณะวิธีเล่น
๑ ประเภทเครื่องดีด
- พิณ
- หึน หรือ หืน
๒ ประเภทเครื่องเป่า
- แคน
- โหวด
- ปี่กูแคน หรือ ปี่ภูไท
๓ ประเภทเครื่องตี หรือ เคาะ
- โปงลาง
- กลอง
- กั๊บแก๊บ
- ฆ้องโหม่ง
- ฉิ่ง
- ฉาบ
๔ ประเภทเครื่องสี
- ซอ
๕ ประเภทเครื่องดึง
- ไหซอง
จำแนกตามวัตถุประสงค์การบรรเลง
๑ ประเภทบรรเลงทำนอง
- แคน
- พิณ
- ซอ
- โหวด
- โปงลาง
- ปี่กู่แคน หรือ ปี่ภูไท
- หึน หรือ หืน
๒ ประเภทให้จังหวะ
- กลอง
- กั๊บแก๊บ
- ฆ้องโหม่ง
- ฉิ่ง
- ฉาบ
- ไหซอง
บทความเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านอีสาน ที่ผู้เขียนนำเสนอในที่นี้ เขียนจากสิ่งที่ทราบมา และจากความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง และเนื่องจากผู้เขียนเอง ไม่ได้ศึกษาวิจัยด้านนี้โดยตรง ดังนั้น อาจจะมีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่ไม่ตรงกับเอกสารทางวิชาการ หรือไม่ตรงกับที่นักวิชาการท่านอื่น เขียนขึ้นมา
แต่อย่างไรก็ตาม บทความเหล่านี้ จัดเป็นความรู้เบื้องต้น หรือพื้นฐานความรู้ทางด้านดนตรีอีสาน ซึ่งผู้สนใจศึกษา สามารถใช้เป็นพื้นฐาน เพื่อนำไปสู่การศึกษาระดับสูงต่อไป
|
|
|
สมบัติ |
ศรีสิงห์ |
|
กันยายน |
๒๕๔๙ |
|