ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คำสอนพ่อแม่นี้ หนักเกิ่งธรณี ผู้ใดยำเยงนบ หากสิเฮืองเมื่อหน้า แปลว่า คำสอนพ่อแม่นี้ หนักเท่าแผ่นดิน ใครเคารพเชื่อฟัง จะรุ่งเรืองได้ หมายถึง ให้เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ อย่าได้เนรคุณ

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน  

แคน...แคนเก้า (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน---อีสานจุฬาฯ)
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน...แคน

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
ประเภทของแคน


แคนเก้า


แคนเก้า ประกอบด้วยลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ9ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค (Diatonic scale) ครบ 2 ช่วงทบเสียง กับมีเสียงเสพประสานยืนอีก 2 เสียงเหมือนแคนแปดทุกประการ แต่ได้เติมคู่เสพก้อยพิเศษเข้ามาอีก 1 คู่ เพื่อให้เสียงประสาน หนักแน่น กล่อมกันดียิ่งขึ้น ฟังดูคล้ายเป็นเสียงคอร์ดประสาน และยังช่วยให้ผู้บรรเลงเลือกใช้ให้เหมาะสมกับทำนองต่างบันไดเสียง หลายบันไดเสียงขึ้นไปอีก

แคนเก้า นิยมทำให้มีความยาวอย่างน้อย เกือบเป็น2เท่าของแคนเจ็ดแคนแปด เหตุผลก็คือ เพื่อให้มีระดับชุดเสียงอยู่ในแนวทุ้มต่ำ ซึ่งหากทำแคนเก้า ให้มีขนาดความยาวของลูกแคน เท่ากับแคนเจ็ดแคนแปด จะทำให้ระยะห่างระหว่างลิ้นแคนกับรูแพว ของลูกเสพก้อยที่เพิ่มเข้ามาใหม่นั้น มีระยะแคบมาก จนทำให้ผู้เป่าควบคุมลมผ่านลิ้นไม่ได้ ทำให้เสียงดังตลอดเวลา แม้ไม่ได้ปิดรูนับ ซึ่งอาการเช่นนี้ ช่างทำแคนเรียกว่า “ ลิ้นนอง ”

แคนเก้า เนื่องจากมีช่วงทบเสียงครบ 2 ช่วงทบ จึงสามารถใช้บรรเลงทำนองใน 6 บันไดเสียง คือ บันไดโทนิค (tonic) บันได dominant และบันได subdominant ทั้งทางเมเจอร์ และทางไมเนอร์ ตัวอย่างเช่น สมมติแคนเก้าเต้าหนึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นให้เสียงโป้ซ้าย (ซึ่งคือโด) ตรงกับ เสียง C ของเปียโน หรือคีย์บอร์ด แคนเก้าเต้านั้น สามารถบรรเลงทำนองได้ในบันไดเสียง ดังนี้

1.  บันได tonic ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major

2.  บันได tonic ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor

3.  บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major

4.  บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor

5.  บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ F Major

6.  บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ D Minor

 

แต่ถ้าเสียงโป้ซ้ายของแคนเก้า ตรงกับระดับของโน้ตเสียงอื่น ๆ ของเปียโน แคนเก้าเต้านั้นๆ ก็ยังคงบรรเลงได้ใน 6 บันไดเสียงเช่นเดิม แต่ชื่อบันไดเสียง ต้องเลื่อนไปตามเสียงโป้ซ้าย(ของแคนเต้านั้น) อันเป็นเสียงโทนิค เช่น ถ้าเสียงโป้ซ้าย(ของแคนเต้านั้น) ตรงกับ เสียง G ของเปียโน แคนเก้าเต้านั้น ก็จะบรรเลงทำนองในบันไดเสียง ดังนี้

1.  บันได tonic ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major

2.  บันได tonic ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor

3.  บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major

4.  บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor

5.  บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ D Major

6.  บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ B Minor

 

แคนลูกที่

1

2

3

4

5

6

7

8

9

แพซ้าย

ทฺ

รฺ

มฺ

ฟฺ

ซํ

ซํˆ

แพขวา

ลฺ

ลํ

ลํˆ

 

หมายเหตุ : ช่างทำแคนบางคนให้ลูกที่ 9 แพซ้าย เป็น ดํˆ แทน ซํˆ

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ดนตรีพื้นบ้านอีสาน