ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ดงหลวงนี้พึ่งคณาเนื้อแก่น นกหากชมชื่นด้วยลำไม้ฮ่มงาม แปลว่า ป่าดงกว้าง พึ่งพาอาศัยหมู่สัตว์ หมู่สัตว์พึ่งพาอาศัยแมกไม้ในป่าดง หมายถึง หมู่คณะ สังคม ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นสุข

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน  

แคน...เทียบบันไดเสียงแคนกับคีย์ดนตรีสากล (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน---อีสานจุฬาฯ)
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน...แคน

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
เทียบบันไดเสียงแคนกับคีย์ดนตรีสากล


แม้ว่าสมัยก่อน ช่างแคนและหมอแคน จะจัดบันไดเสียง(คีย์) โดยเรียกตามโป้ เช่นแคนหกโป้ แคนเจ็ดโป้ แคนแปดโป้ เป็นต้น แต่สมัยปัจจุบันการเรียนดนตรี นิยมใช้โน้ตดนตรีสากล ดังนั้น จึงมักจะได้ยินว่า แคนเต้านี้ คีย์เอไมเนอร์ แคนเต้านี้คีย์อีไมเนอร์ เป็นต้น ซึ่งการจะบอกว่าแคนเต้านั้นๆ เป็นแคนคีย์อะไร ต้องเทียบเสียงหลัก (โทนิค) ของแคน กับเสียงมาตรฐาน

เสียงหลัก (โทนิค) ของแคน ทางไมเนอร์ คือเสียง ลา (ลาแบบตายตัว)

เสียงหลัก (โทนิค) ของแคน ทางเมเจอร์ คือเสียง โด (โดแบบตายตัว)

** คำว่า “ลาแบบตายตัว” หมายถึง ไม่ว่าแคนลูกที่ 1 กับลูกที่ 4 แพขวามือ เสียงจะตรงกับโน้ตมาตรฐานอะไรก็ตาม ก็ยังเรียกลูกแคนนั้นว่า ลา อยู่เหมือนเดิม**

 

ยกตัวอย่างเช่น

แคนเต้าหนึ่ง เสียง ลา ของแคน ตรงกับ เสียงมาตรฐานสากล A ... เนื่องจาก เสียงลา เป็นเสียงหลักทางไมเนอร์... แคนเต้านั้น เมื่อเรียกคีย์ทางไมเนอร์ ก็คือ แคนคีย์เอไมเนอร์... แคนที่เสียงลาตรงกับ A เสียงโด ก็จะตรงกับ C ด้วย.... เนื่องจากเสียงโด เป็นเสียงหลักทางเมเจอร์... แคนเต้านั้น เมื่อเรียกคีย์ทางเมเจอร์ ก็คือ แคนคีย์ซีเมเจอร์... ดังนี้เป็นต้น

แคนคีย์เอไมเนอร์ กับ แคนคีย์ซีเมเจอร์ คือแคนคีย์เดียวกัน ซึ่งหมายถึงแคนที่เสียงลาตางกับ A และเสียงโด ตรงกับ C

แคนคีย์อีไมเนอร์ กับ แคนคีย์จีเมเจอร์ คือแคนคีย์เดียวกัน ซึ่งหมายถึงแคนที่เสียงลาตรงกับ E และเสียงโด ตรงกับ G

ลองเทียบเสียงโดยใช้ตารางด้านล่าง

 

ตารางเทียบคีย์แคนกับเสียงมาตรฐาน

เสียงมาตรฐาน

เทียบแคน

เทียบแคน

เทียบแคน

เทียบแคน

เทียบแคน

เทียบแคน

เทียบแคน

C

D

E

F

G

A

B

 

อธิบายเสริม ดังนี้

เสียงทางเมเจอร์ของแคน คือ โด ฟา และ ซอล โดยมีเสียงโดเป็นเสียงศูนย์กลาง หรือโทนิค

เสียงทางไมเนอร์ของแคน คือ ลา เร และ มี โดยมีเสียง ลา เป็นเสียงศูนย์กลาง หรือโทนิค

ถ้าเสียงโดของแคนเต้าใดตรงกับเสียงโด หรือ C มาตรฐาน แคนเต้านั้น ก็จะเล่นได้ในทางเมเจอร์ คือ C, F, และ G…… เล่นได้ในทางไมเนอร์ คือ Am, Dm และ Em และเรียกแคนเต้านั้นว่าแคนคีย์ ซีเมเจอร์ หรือ คีย์เอไมเนอร์

ถ้าเสียงโดของแคนเต้าใดตรงกับเสียงลา หรือ A มาตรฐาน แคนเต้านั้น ก็จะเล่นได้ในทางเมเจอร์ คือ A, D, และ E…… เล่นได้ในทางไมเนอร์ คือ Fm, Bm และ Cm และเรียกแคนเต้านั้นว่า แคนคีย์เอเมเจอร์ หรือคีย์เอฟไมเนอร์

การเทียบคีย์อื่นๆ ก็ให้ดูในลักษณะเดียวกันนี้

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ดนตรีพื้นบ้านอีสาน