ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
หมากบ่เคี้ยวปากเปล่าบ่มีแดง แม่นสิมีเต็มพาบ่ห่อนแดงเองได้ แปลว่า ไม่กินหมาก ปากไม่แดง ถึงจะมีหมากพลูอยู่เต็มถาด ก็แดงเองไม่ได้ หมายถึง มีของ แต่ไม่นำมาใช้ ย่อมไม่เกิดประโยชน์

ดนตรีพื้นบ้านอีสาน  

แคน...แคนแปด (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน---อีสานจุฬาฯ)
ดนตรีพื้นบ้านอีสาน...แคน

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
ประเภทของแคน


แคนแปด


แคนแปด ประกอบด้วยลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ8ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค (Diatonic scale) ครบ2ช่วงทบเสียงอย่างสมบูรณ์ แคนแปดวางตำแหน่งเสียงของลูกแคนเหมือนกับแคนเจ็ดทุกประการ เพียงแต่เพิ่มลูกแคนเข้ามาอีก 1 คู่ ( 2ลูก แพละลูก) ที่ด้านปลายนอกสุดของเต้าแคน คู่ที่เพิ่มเข้ามานี้ ใช้เป็นเสียงประสานยืน (drone) เรียกเสียงนี้ว่า “ เสียงเสพ ” หรือเรียกว่า “ เสพก้อย ” เพราะเวลาบรรเลง มักใช้นิ้วก้อยของผู้บรรเลงปิดรูนับ แต่หมอแคนผู้มีทักษะน้อย มักใช้ขี้สูดก้อนเล็กๆ ปิดรูนับเสียงเสพนี้ เพื่อให้ดังไปตลอดการบรรเลง เสียงเสพขวา เป็นเสียงลา(สูง) ใช้สำหรับประสานให้กับทำนองเพลงทางไมเนอร์ ส่วนเสียงเสพซ้าย เป็นเสียงซอล(สูง) ใช้สำหรับประสานให้กับทำนองเพลงทางเมเจอร์

แคนแปด เป็นแคนที่หมอแคนนิยมใช้มากที่สุด มีวางขายทั่วไปในปัจจุบัน และถือว่าเป็นแคนมาตรฐาน เพราะมีช่วงทบเสียง ครบ 2 ช่วงทบเสียง แถมยังมีคู่เสียงเสพ ใช้เป็นเสียงประสานยืนร่วมคอร์ดได้อีก 2 ทาง (2โหมด) คือทางไมเนอร์และทางเมเจอร์ อีกด้วย

แคนแปด มีเสียงโน้ตครบทั้ง 7 เสียง ไล่จากต่ำไปสูงคือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล แต่ละเสียงมีคู่เสียงเป็นคู่ 8 เฟอร์เฟคท์ หรือคู่เสียงอ็อคเทฟ ส่วนเสียงซอล นอกจากมีคู่เสียงอ็อคเทฟแล้ว ยังมีเสียงคู่ 1เปอร์เฟคท์ หรือเสียงคู่ยูนิซัน (unison) คือเป็นเสียงคู่ในระดับเสียงเดียวกัน หนึ่งคู่ ด้วย แคนแปด จึงมีสองช่วงทบเสียง ( 2 octaves) เรียงระดับจากต่ำไปสูงได้ 15 เสียง คือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ทำให้แคนแปดเหมาะสำหรับใช้บรรเลงทำนองใน 6 บันไดเสียง คือ บันไดโทนิค (tonic) บันได dominant และบันได subdominant ทั้งทางเมเจอร์ และทางไมเนอร์ ตัวอย่างเช่น สมมติแคนแปดเต้าหนึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นให้เสียงโป้ซ้าย (ซึ่งคือโด) ตรงกับ เสียง C ของเปียโน หรือคีย์บอร์ด แคนแปดเต้านั้น สามารถบรรเลงทำนองได้ในบันไดเสียง ดังนี้

1.  บันได tonic ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major

2.  บันได tonic ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor

3.  บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major

4.  บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor

5.  บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ F Major

6.  บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ D Minor

 

แต่ถ้าเสียงโป้ซ้ายของแคนแปด ตรงกับระดับของโน้ตเสียงอื่น ๆ ของเปียโน แคนแปดเต้านั้นๆ ก็ยังคงบรรเลงได้ใน 6 บันไดเสียงเช่นเดิม แต่ชื่อบันไดเสียง ต้องเลื่อนไปตามเสียงโป้ซ้าย(ของแคนเต้านั้น) อันเป็นเสียงโทนิค เช่น ถ้าเสียงโป้ซ้าย(ของแคนเต้านั้น) ตรงกับ เสียง G ของเปียโน แคนแปดเต้านั้น ก็จะบรรเลงทำนองในบันไดเสียง ดังนี้

1.  บันได tonic ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major

2.  บันได tonic ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor

3.  บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major

4.  บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor

5.  บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ D Major

6.  บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ B Minor

 

แคนลูกที่

1

2

3

4

5

6

7

8

แพซ้าย

ทฺ

รฺ

มฺ

ฟฺ

ซํ

แพขวา

ลฺ

ลํ

 

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ดนตรีพื้นบ้านอีสาน