แคนเจ็ด
แคนเจ็ด ประกอบด้วยลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) จัดเรียงเข้าอยู่ในเต้าเป็นสองแพ ซ้ายขวา แพละ7ลูก มีระบบเสียงอยู่ในมาตราไดอะโทนิค (Diatonic scale) เรียงระดับจากต่ำไปสูง 7 เสียง คือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล แต่ละเสียงมีคู่เสียงเป็นคู่แปดเฟอร์เฟคท์ หรือคู่เสียงอ็อคเทฟ ยกเว้นเสียง ซอล เป็นเสียงคู่ 1เปอร์เฟคท์ หรือเสียงคู่ยูนิซัน (unison) คือเป็นเสียงคู่ในระดับเสียงเดียวกัน แคนเจ็ด จึงมีสองช่วงทบเสียง ( 2 octaves) เรียงระดับจากต่ำไปสูงได้ 13 เสียง คือ ลา ที โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ฟา (และซอลระดับเดิม) ทำให้แคนเจ็ดเหมาะสำหรับใช้บรรเลงทำนองใน 6 บันไดเสียง คือ บันไดโทนิค (tonic) บันได dominant และบันได subdominant ทั้งทางเมเจอร์ และทางไมเนอร์ ตัวอย่างเช่น สมมติแคนเจ็ดเต้าหนึ่งถูกประดิษฐ์ขึ้นให้เสียงโป้ซ้าย (ซึ่งคือโด) ตรงกับ เสียง C ของเปียโน หรือคีย์บอร์ด แคนเจ็ดเต้านั้น สามารถบรรเลงทำนองได้ในบันไดเสียง ดังนี้
1. บันได tonic ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major
2. บันได tonic ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor
3. บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major
4. บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor
5. บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ F Major
6. บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ D Minor
แต่ถ้าเสียงโป้ซ้ายของแคนเจ็ด ตรงกับระดับของโน้ตเสียงอื่น ๆ ของเปียโน แคนเจ็ดเต้านั้นๆ ก็ยังคงบรรเลงได้ใน 6 บันไดเสียงเช่นเดิม แต่ชื่อบันไดเสียง ต้องเลื่อนไปตามเสียงโป้ซ้าย (ของแคนเต้านั้น) อันเป็นเสียงโทนิค เช่น ถ้าเสียงโป้ซ้าย (ของแคนเต้านั้น) ตรงกับ เสียง G ของเปียโน แคนเจ็ดเต้านั้น ก็จะบรรเลงทำนองในบันไดเสียง ดังนี้
1. บันได tonic ทาง Major ซึ่งก็คือ G Major
2. บันได tonic ทาง Minor ซึ่งก็คือ E Minor
3. บันได dominant ทาง Major ซึ่งก็คือ C Major
4. บันได dominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ A Minor
5. บันได subdominant ทาง Major ซึ่งก็คือ D Major
6. บันได subdominant ทาง Minor ซึ่งก็คือ B Minor

แคนลูกที่ |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
แพซ้าย |
ด |
ทฺ |
รฺ |
มฺ |
ฟฺ |
ซ |
ฟ |
แพขวา |
ลฺ |
ด |
ซ |
ล |
ท |
ร |
ม |
ดังนั้น เมื่อผู้ใช้แคนจะซื้อแคนเจ็ด ต้องเลือกซื้อเอาแคนเจ็ด ที่มีบันไดเสียงตรงตามที่ตนต้องการใช้งาน และต้องนำเครื่องดนตรีที่มีเสียงระดับเสียงมาตรฐาน ไปเทียบเสียงกับแคนด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้แคนลูกที่1แพซ้ายมือ หรือเสียงโป้ซ้าย จะตรงกับเสียงอื่นที่ไม่ใช่เสียง โด ช่างทำแคนหรือหมอแคน ก็ยังเรียกลูกนั้นว่า โด อยู่เหมือนเดิม (แม้จะเป็นเสียงโดที่ไม่ตรงกับโดของเปียโนก็ตาม)
|