ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 25 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
หมากส้มมอ ไปคาคอมั่ง มั่งบ่ขี้ สามมื้อกระต่ายตาย แปลว่า ลูกสมอไปติดคอละมั่ง ละมั่งไม่ขี้สามวัน กระต่ายตาย หมายถึง เหตุหนึ่งอย่าง อาจนำไปสู่ผลหลายๆ อย่าง ดังนั้น พึงระมัดระวังการกระทำของเราเอง

ผญา กาพย์ กลอนอีสาน  

ผญาอีสาน --- อีสานจุฬาฯ
แต่งกลอนผญา


  หน้าก่อน หน้าถัดไป
ผญาแบบต่างๆ


๑. ผญาไม่มีก่าย

ผญาไม่มีก่าย หมายถึงคำกลอนผญาที่ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค แต่รูปแบบเอกโท ก็ยังคงมีอยู่ เช่น

แนวหลานหล่อนบ่ปูนปานเจ้าย่า      เด็กน้อยฮู้ตั้งล้านบ่ปานเถ้าผู้เดียวฯ

ไผสิเหลียวเห็นไส้ตับไตนกขี้ถี่        มันหากฮ้องพีบพิ้งใจเลี้ยวใส่กะปู ฯ

ทางหลายเส้นตามใจสิเลือกไต่       มักเส้นโค้งโงเงี้ยวก็หากมี ฯ

อย่าได้ติโทษท้วงปวงหมู่หมูหมา      มันบ่เห็นแนวกินบ่แล่นวนเวียนอ้อม ฯ

ในโลกนี้บ่ห่อนอยู่เดียวเป็น        อยู่แต่คนเดียวดาย บ่ห่อนเป็นเมืองบ้าน ฯ

แนวว่าทองคำนี้ ตกดินบ่หมองหม่น       เอาผ้าฮ้ายห่อไว้ กะยังเลื่อมดังเดิม ฯ

คันได้กินลาบก้อย อย่าลืมแจ่วแพวผัก     ได้กินภาช์เงินภาช์คำ อย่าสิลืมกะเบียนฮ้าง ฯ

-----------------------
มวลหมู่แมงปอน้อย โผโฉบ บินระเหิน
กะบี้บินโผผก ดอมดมชมดอกไม้
มวลภมรแตนเผิ่ง โฉบชิม แตะต้อยติ่ง
ดื่มดูดน้ำ หวานจ้อย จากเกษร
(มังกรเดียวดาย)

 

๒. ผญา ๒ ก่าย

ผญา ๒ ก่าย หมายถึงคำกลอนผญาหนึ่งบท ที่มีสัมผัสระหว่างวรรค(สัมผัสนอก) ทั้งหมด ๒ วรรค เช่น

พี่นี่เห็นศาลากว้าง     สำบายอยากมาแหว่
น้องบ่คึดแผ่กว้าง     เอากล้วยเข้าตื่มสวน (แหน่บ้อ)
หรือว่าแนวนามกล้วย    ตานีบ่อยากปลูก
สนแต่กล้วยตีบน้อย    แคมฮั้วจีกตอง  (ซั่นบ้อ)
(คำ "แหว่" ของวรรคที่๑ ก่ายกับคำ "แผ่" ของวรรคที่๒)

อ้ายนี้อยากถามข่าวน้ำ     ถามข่าวถึงปลา
อยากถามข่าวนา     ถามข่าวถึงข้าว
อ้ายอยากถามข่าวน้อง     ว่ามีผัวแล้วหรือบ่
หรือว่ามีแต่ชู้     ผัวสิซ้อนหากบ่มี
(คำ "ปลา" ของวรรคที่๑ ก่ายกับคำ "นา" ของวรรคที่๒)

 

๓. ผญา ๓ ก่าย

ผญา ๓ ก่าย หมายถึงคำกลอนผญาหนึ่งบท ที่มีสัมผัสระหว่างวรรค(สัมผัสนอก) ทั้งหมด ๓ วรรค เช่น

เซื้อซาติแฮ้ง     อย่าเหม็นสาบ กุยกัน
เกิดเป็นคนอีสาน     ให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดี ให้ซอยยู้     ซอยซู อย่าหย่านลืน
ไผเฮ็ดผิด ให้ซอยเว้า     ไขแก้ดอกซอยกัน

(คำ "กัน" ของวรรคที่๑ ก่ายกับคำ "สาน" ของวรรคที่๒   และคำ "ไว้" ของวรรคที่๒ ก่ายกับคำ "ไผ" ของวรรคที่๓)

คิดเบิ่ง ไก่บักโจ้น     ยืนเถิ่งโพนซิ่งตาเบิ่ง
ซาดว่าไก่ นมบ่มีแท้ๆ     ยังเลี้ยงลูก ได้ใหญ่โต
อย่ามาโสคำเว้า    กินข้าวเขา กะไคแหน่
กินข้าวเฮากะแด้    แวหาเว้า แต่เรื่องเขา

(คำ "โต" ของวรรคที่๒ ก่ายกับคำ "โส" ของวรรคที่๓   และคำ "แหน่" ของวรรคที่๓ ก่ายกับคำ "แด้" ของวรรคที่๔)

 

๔. ผญา ๔ ก่าย

ผญา ๔ ก่าย หมายถึงคำกลอนผญาหนึ่งบท ที่มีสัมผัสระหว่างวรรค(สัมผัสนอก) ทั้งหมด ๔ วรรค เช่น

พี่น้องเอย...
เพิ่นว่า เมืองอีสานนี่     ดินดำน้ำซุ่ม
ปลากุ่มบ้อน     คือแข้แกว่งหาง
ปลานางบ้อน     คือขางฟ้าลั่น
จั๊กจั่นฮ้อง     คือฆ้องลั่นยาม
(คำ "ซุ่ม" ของวรรคที่๑ ก่ายกับคำ "กุ่ม" ของวรรคที่๒   และคำ "หาง" ของวรรคที่๒ ก่ายกับคำ "นาง" ของวรรคที่๓    และคำ "ลั่น" ของวรรคที่๓ ก่ายกับคำ "จั่น" ของวรรคที่๔)

คันเจ้าได้ขี่ซ้าง     อย่าลืมหมู่ หมูหมา
ห่าขโมยมาลัก     สิเห่าหอน ให้มันย้าน
ลางเทื่อกวงฟานเต้น     นำดงสิได้ไล่
ลางเทือได้ต่อนซิ้น     ยังสิได้ อ่าวคุณ
(คำ "หมา" ของวรรคที่๑ ก่ายกับคำ "ห่า" ของวรรคที่๒   และคำ "ย้าน" ของวรรคที่๒ ก่ายกับคำ "ฟาน" ของวรรคที่๓    และคำ "ไล่" ของวรรคที่๓ ก่ายกับคำ "ได้" ของวรรคที่๔)

หล้าน้องสาวเอ้ย..
ไกลขอให้ไกลแต่บ้าน     ฮั่วไฮ่ นาสวน
ไกลขอให้ไกลแต่มวล     หมู่เฮือน กับเล้า
ส่วนว่าวาจาเว้า     สองเฮา อย่าได้ห่าง
แม้นสิอยู่ต่างบ้าน     ความเว้า อย่าห่างกัน

(คำ "สวน" ของวรรคที่๑ ก่ายกับคำ "มวล" ของวรรคที่๒   และคำ "เล้า" ของวรรคที่๒ ก่ายกับคำ "เว้า" ของวรรคที่๓    และคำ "ห่าง" ของวรรคที่๓ ก่ายกับคำ "ต่าง" ของวรรคที่๔)

 

๕. ผญาเสริม ๑ ยัติ (ครึ่งวรรค)

ผญาเสริมหนึ่งยัติ นี้ นิยมใช้ตอนจะจบผญาหรือช่วงส่งท้ายผญา และนิยมเสริมเพื่อเพิ่มความไพเราะในการเล่าเรื่อง เช่นในคณะหมอลำ เป็นต้น

(ฝ่ายบักเจ็ดไหท้าว) บาคานคองคอยท่า บ่เห็นน้องกลับต่าวมา คึดห่วงน้องอยู่อ่ำล่ำ
หรือว่าภัยในดงด้าว เกิดกับท้าวน้องร้อยเกวียน (ซั่นบ้อ) (เจ็ดหวดเจ็ดไห)
(ยัติ "บ่เห็นน้องกลับต่าวมา" ของวรรคที่๑ คือท่อนที่เสริมเข้ามา)

สามพี่น้อง เดินดั้นดงดิบ
(ตามทิศทาง)นางยักษ์สอน พเนจรไปเรื่อย
(ค่ำหม่องได๋) นอนหม่องฮั่น ล่วงลุเข้าหลายวัน จ้อจั้นใกล้ม่อ
(ฮอดเลาะ)ฮิมดงด้าว บาคานท้าวใกล้โล่งใจ (เจ็ดหวดเจ็ดไห)
(ยัติ "ลุล่วงเข้าหลายวัน" ของวรรคที่๓ คือท่อนที่เสริมเข้ามา)

ตกมายุคต้นไม้ ใบบ่ป่งยามฝน
ตกยามคนจัญไร ได้ก่อกวนเมืองบ้าน
ตกหว่างธารบ่มีน้ำ คนผิดธรรมบ้านเมืองแป่
ธรรมชาติปรวนแปร คันบ่แลบ่ฮู้ บ่ดูแล้วฮ่ำบ่เห็น
(จ. เขมจิตต์)
(ยัติ "ธรรมชาติปรวนแปร" ของวรรคที่๔ คือท่อนที่เสริมเข้ามา)

คันสินั่งเบิดเจ้ย เฉยอยู่ในมุมอับ
มัวนั่งหลับตามอง ส่องบ่เห็นการณ์บ้าน
แนวได้ฉันข้าวแล้ว เสียดายแนวข้าวเพิ่นใส่
บ่เว้าหน่อยกะเว้าหลาย วัดด้วยใจ ความถืกต้อง อย่ามองเพี้ยนเป็นอื่นไป
(จ. เขมจิตต์)
(ยัติ "บ่เว้าหน่อยกะเว้าหลาย" ของวรรคที่๔ คือท่อนที่เสริมเข้ามา)

๖. ผญาเสริม ๑ วรรค

ผญาหนึ่งบท ปกติจะมี ๔ วรรค เมื่อเสริมอีก๑วรรค จึงมี๕วรรค เช่น

ไกลมื้อนี้ มื้ออื่นสิมาหา
คันแม้นซีวายัง สิด่วนมาหาเจ้า
ไกลกันยามมื้อเซ้า ไกลกันท่อข้อมือ ไกลกันยามมื้อฮือ ไกลกันท่อนิ้วก้อย
ไกลมื้อเล็กมื้อน้อย กะเลยซ้ำล่ำบ่เห็น ฯ

--------------------------------

มื้อนี่วาระเริ่ม ขอเสริมส่งดำรงศิลป์
โหวดโปงลางแคนพิณ เสียงศาสตร์ศิลป์ ทำนองเค้า
เอิ้นบ้านเฮามาโฮมตุ้ม มาชุมนุมกันพวกหมู่
มาฮ่วมทางสร้างสรรค์ มาฮ่วมกันเชิดชู
ประเพณีพี่และน้อง ของเจ้าเผ่าอีสาน ฯ
(สินธุ์โปงลาง)

๗. ผญาเสริม ๒ วรรค

ผญาหนึ่งบท ปกติจะมี ๔ วรรค เมื่อเสริมอีก๒วรรค จึงมี๖วรรค เช่น

บ่อยากพลัดพรากเว้น เวรหากจ่องจำหนี
บ่อยากไกลสายคอ แม่เวรหากพาเว้น
อยากเห็นโตแม่เวรเด้ สิเป็นโตจังใด๋หน่อ
คันเป็นโตคือจังหอย คันมีฮอยคือจังซ้าง
อ้ายสิไปว่าจ้าง พรานหลวงเพิ่นล่าไล่
แม้นสิสิงอยู่ต้นไม้ เอาไฟไหม้อูดเผา


๘. ผญาห่อโคลง

ผญาห่อโคลง เพิ่งจะมีขึ้นในยุคหลังนี่เอง หมายถึง คำผญาเป็นภาษาอีสาน และมีคำแปลแต่งเป็นโคลงดั้นหรือโคลงสุภาพ ต่อท้าย

ลมวอยวอย เดิกมาแล้ว หนาวในในใจสว่าง
สาโทเก่า ขวดเปล่าค้าง คือมาฮ้าง ดอกห่างไกล
ไกลกะขอให้ไกลแต่บ้าน ฮั้วไฮ่เฮือนคีง
สายตาเฮา ให้จอดกันเทิงฟ้า
ยามเมื่อดาราแจ้ง จันทราเพ็ง แสงกระจ่าง
ใจพระนางใจบักอ้าย ประสานมั่นเป็นแก่นเดียว ฯ


ดึกดื่นลมพัดโชย                เหน็บหนาว
จำพรากแล้วสองเรา            ไกลห่าง
ดังสาโทขวดเก่า                ไร้น้ำ ร่วมเรียง
ใจเราบ่อ้างว้าง                  ห่างเว้น เพียงกายฯ

ยามเมื่อดาวเกลื่อนฟ้า         พรายพร่าง
เดือนเพ็ญแสงกระจ่าง         ส่องหล้า
ตาสบตาผ่านทาง              ดาวเดือน
ใจประสานผ่านฟ้า              แน่นแฟ้น กลมเกลียวฯ
(มังกรเดียวดาย)

----------------------------------

ฝนตกลินฮำย้อย โฮยฮวงข้าวถอกใหม่
ปูปลาในนาน้ำ ลอยเล่นร่าระเริง
น้ำเจิ่งนองหนองห้วย บวกควายนอนหลบฮ้อนแดด
โผยเผาแผดระอุฮ้อน ไอน้ำ ระเหยลอย ฯ

มวลหมู่แมงปอน้อย โผโฉบ บินระเหิน
กะบี้บินโผผก ดอมดมชมดอกไม้
มวลภมรแตนเผิ่ง โฉบชิม แตะต้อยติ่ง
ดื่มดูดน้ำ หวานจ้อย จากเกษร
ลมวีวอนพัดยอดข้าว ระบำเอน ปานฟ้อนแอ่น
นกแจนแวน แจ๊กแจ๊กฮ้อง กู่ก้องทั่วท่งนา ฯ


ฝนโปรยปรายรินรด         รวงข้าว
ปูปลาระเริงเร้า              ว่ายเล่น
น้ำนองหนองห้วยเคล้า     ควายนอน แช่ปลัก
แดดเผาระอุเร้น              ไอน้ำ ระเหยลอยฯ

แมลงปอโผโฉบผิน          บินว่อน
ผีเสื้อมวลภมรชม             ดอกไม้
ลมโชยพัดวีวอน             ยอดข้าว ระบำเอน
สกุณาแผดเสียงได้          ยินทั่ว ท้องนาฯ
(มังกรเดียวดาย)


  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ผญา กาพย์ กลอนอีสาน