ผญาที่ไพเราะ นอกจากมีก่ายนอก ก่ายใน แล้ว เสียงเอก โท ก็มีความสำคัญไม่น้อย แม้ว่าจะไม่มีข้อบังคับเชิงฉันทลักษณ์ แต่เมื่ออ่านหรือพูดเป็นกลอนผญาแล้ว ต้องสละสลวย ไหลลื่น ไม่ติดขัด จึงจะถือว่าเป็นคำผญาอีสานที่ไพเราะ
ลักษณะการลงเสียง เอก โท ของคำกลอนผญา

- คำสุดท้ายของยัติหน้า วรรคที่๑(คำ๓) เป็นเสียงเอก หรือโท ก็ได้ แต่ไม่นิยมเสียงสามัญและจัตวา
- คำสุดท้ายของยัติหลัง วรรคที่๑(คำ๗) เ็ป็นเสียงใดก็ได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคำด้านหน้าด้วย นั่นคือ ถ้าคำคำ๕ เป็นเสียงสามัญ คำ๗ ต้องเป็นเอกหรือโท แต่ถ้าคำ๕ เป็นเสียงเอกหรือโทแล้ว คำ๗ จะเป็นเสียงสามัญหรือจัตวา ก็ได้
- คำ๑๒ ควรเป็นเสียง เอกโท หรือสามัญ ตามเสียงของคำสุดท้ายของยัติหน้า วรรคที่๒(คำ๑๐)
- คำสุดท้ายของยัติหลัง วรรคที่๒(คำ๑๔) เ็ป็นเสียงใดก็ได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคำด้านหน้าด้วย นั่นคือ ถ้าคำสุดท้ายของยัติหลัง วรรคที่๒(คำ๑๐) เป็นเสียงสามัญ คำ๑๔ ต้องเป็นเอกหรือโท แต่ถ้าคำสุดท้ายของยัติหลัง วรรคที่๒(คำ๑๐) เป็นเสียงเอกหรือโทแล้ว คำ๑๔ จะเป็นเสียงสามัญหรือจัตวา ก็ได้
แม่แบบที่๑
(๐ ๐) ๑ ๒ ๓่ ๔ ๕ ๖ ๗
(๐ ๐) ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔้
(อย่าได้) เก็บดอกหว่าน บ้านเพิ่น มาชม
(ให้เจ้า) อดสาดม ดอกกระเจียว แคมฮั้ว ("กระ-" เสียงสั้น ไม่นับแยก แต่นับรวมเป็นคำเดียวกันกับ กระเจียว)
เมื่ออ่านตามสำเนียงอีสานแล้ว จะเห็นว่า
-
คำว่า "หว่าน"(หรือว่าน) เป็นเสียงเอก ตรงตามระบบการอ่านคำผญา (เสมือนหนึ่งข้อบังคับ)
- คำว่า"ชม" เป็นเสียงสามัญ เพราะคำ "เพิ่น" ซึ่งอยู่ด้านหน้า เป็นเสียงเอกแล้ว
-
คำว่า"เจียว" เป็นเสียงสามัญ เพราะคำ "ดม" ซึ่งอยู่ยัติหน้า เป็นเสียงสามัญ
-
คำว่า"ฮั้ว" เป็นเสียงโท เพราะคำ "ดม" ซึ่งอยู่ยัติหน้า และคำว่า "เจียว" ซึ่งอยู่ด้านหน้า เป็นเสียงสามัญ
แม่แบบที่๒
๑ ๒ ๓้ ๔ ๕ ๖ ๗่
๘ ๙ ๑๐้ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔
ทางหลายเส้น ตามใจสิเลือกไต่ ("สิ" เสียงสั้น ไม่นับแยก แต่นับรวมเป็นคำเดียบกับ สิเลือก)
มักเส้นโค้ง โงเงี้ยวก็หากมี ("ก็" เสียงสั้น ไม่นับแยก แต่นับรวมเป็นคำเดียบกับ ก็หาก)
เมื่ออ่านตามสำเนียงอีสานแล้ว จะเห็นว่า
-
คำว่า "เส้น" เป็นเสียงโท ตรงตามระบบการอ่านคำผญา (เสมือนหนึ่งข้อบังคับ)
- คำว่า"ไต่" เป็นเสียงเอก เพราะคำ "ใจ" ซึ่งอยู่ด้านหน้า เป็นเสียงสามัญ
-
คำว่า"เงี้ยว" เป็นเสียงโท เพราะคำ "โค้ง" ซึ่งอยู่ยัติหน้า เป็นเสียงโท
-
คำว่า"มี" เป็นเสียงสามัญ เพราะคำ "โค้ง" ซึ่งอยู่ยัติหน้า และคำว่า "เงี้ยว" ซึ่งอยู่ด้านหน้า เป็นเสียงโท
แม่แบบที่๓
(๐ ๐) ๑ ๒ ๓้ (๐)๔ ๕ (๐) ๖ ๗่
(๐ ๐) ๘ ๙ ๑๐้ (๐)๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔
(คันได้) ขึ้นเฮือแล้ว (อย่า)ลืมแพ ป้องไม้ไผ่
(คันได้) เป็นใหญ่แล้ว (อย่า)ลืมข้า ผู้พลอย
เมื่ออ่านตามสำเนียงอีสานแล้ว จะเห็นว่า
-
คำว่า "แล้ว" เป็นเสียงโท ตรงตามระบบการอ่านคำผญา (เสมือนหนึ่งข้อบังคับ)
- คำว่า"ไผ่" เป็นเสียงเอก เพราะคำ "แพ" ซึ่งอยู่ด้านหน้า เป็นเสียงสามัญ
-
คำว่า"ข้า" เป็นเสียงโท เพราะคำ "แล้ว" ซึ่งอยู่ยัติหน้า เป็นเสียงโท
-
คำว่า"พลอย" เป็นเสียงสามัญ เพราะคำ "แล้ว" ซึ่งอยู่ยัติหน้า และคำว่า "ข้า" ซึ่งอยู่ด้านหน้า เป็นเสียงโท
ผญาหนึ่งบท
ผญาหนึ่งบทเต็ม จะประกอบด้วย ๔ วรรค (กรณีไม่มีท่อนเสริม) ซึ่งมีลักษณะการจัดวาง เอกโท ดังนี้
(๐ ๐) ๑ ๒ ๓้ (๐)๔ ๕ (๐) ๖ ๗ ...วรรคที่๑
(๐ ๐) ๘ ๙ ๑๐ (๐)๑๑ ๑๒ (๐) ๑๓ ๑๔้ ... วรรคที่๒
(๐ ๐) ๑ ๒ ๓้ (๐)๔ ๕ (๐) ๖ ๗่ ... วรรคที่๓
(๐ ๐) ๘ ๙ ๑๐้ (๐)๑๑ ๑๒ (๐) ๑๓ ๑๔ (๐ ๐) ... วรรคที่๔
- คำสุดท้ายของยัติหน้า วรรค๑(คำ๓) เป็นเสียงเอก หรือโท ก็ได้ แต่ไม่นิยมเสียงสามัญและจัตวา
- คำสุดท้ายของยัติหลัง วรรค๑(คำ๗) เ็ป็นเสียงใดก็ได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับคำด้านหน้าด้วย นั่นคือ ถ้าคำคำ๕ เป็นเสียงสามัญ คำ๗ ต้องเป็นเอกหรือโท แต่ถ้าคำ๕ เป็นเสียงเอกหรือโทแล้ว คำ๗ จะเป็นเสียงสามัญหรือจัตวา ก็ได้
- คำสุดท้ายของวรรค๒(คำ๑๔) เนื่องจากเป็นคำส่งต่อ จึงต้องการเสียงเอกหรือโท ดังนั้น คำ๑๐ และ คำ๑๒ วรรค๒ ควรเป็นเสียงสามัญหรือจัตวา
- วรรคที่๓ : คำสุดท้ายของยัติหน้า วรรค๓(คำ๓) เนื่องจากเป็นคำรับ จึงต้องการเสียงเอก หรือโท ตามคำ๑๔ วรรคที่๒ (คำส่ง)
คำ๗ วรรค๓ ใช้เอก โท เหมือน คำ๗ วรรค๑
- คำสุดท้ายของยัติหลัง วรรค๔(คำ๑๔) เนื่องจากเป็นคำลงหรือคำจบ จึงต้องการเสียงสามัญหรือเสียงจัตวา ดังนั้น คำ๑๐ และ คำ๑๒ วรรค๔ ควรเป็นเสียงเอกหรือโท
ตัวอย่าง
คนเพิ่นญ้อง เถิงถิ่น (แดน)อีสาน
(ว่ามี)ของโบฮาน อยู่เต็ม ภายพื้น
(เฮามา)พากันสร้าง ฮักษา สืบต่อ
(ของดี)มีอยู่แล้ว (อย่า)ไลถิ่ม เปล่าดาย ฯ
----------------
(อ้ายคือ)นกเจ่าดั้ง เรียบฝั่งแคมสระ
(ผัดแต่)เห็นปลามา (กะ)อยากกิน(จน)แดดิ้น
(เห็นแต่)นกเต็นเต้น บินลงกินก่อน
(นกเจ่า)แหงนเบิ่งฟ้า (น้ำ)ตาย้อย(อาบ)ขี้ดิน (ซั่นแล้ว) ฯ
หมายเหตุ : การลงเสียงเอกโท ในกลอนผญา นี้ ไม่ได้หมายถึงวรรณยุกต์ เอก โท (ไม้เอก ไม้โท) จริงๆ แต่หมายถึงเสียงเอกหรือเสียงโท เพราะการออกเสียงคำอีสานนั้น ไม้เอก ไม้โท ไม่ตรงกับภาษาไทยกลาง ดังนั้น ในการเขียน อาจเป็นไม้เอก หรือไม้โท ก็ได้