๑. กลอนลำวชิรปันตี
กลอนวชิรปันตี มีลักษณะคล้ายกาพย์ คือไม่มีจำกัดเป็นบท แต่งเป็นวรรคไปเรื่อยๆ จนกว่าจะจบเรื่อง โดยมีข้อกำหนดดังนี้
- คณะ : บุรพบท ๒ หรือ ๔ พยางค์, ยัติหน้า ๓ หลัง ๔ (รวมยัติ ๗ พยางค์)
- สัมผัส : สัมผัสระหว่างวรรค (หรือสัมผัสนอก) พยางค์สุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับพยางค์ที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ของวรรคถัดไป ด้วยเสียงโทนเดียวกัน (นิยมให้สัมผัสกับยัติหน้า พยางค์ที่3 เพราะว่าให้ความไพเราะมากกว่า)
- ต่างจากกาพย์ที่คำบุรพบท นั่นคือ กลอนแบบวชิรปันตีนี้สามารถมีคำบุรพบทได้ ๒ ถึง ๔ พยางค์ ขณะที่กาพย์ไม่มีคำบุรพบท

ตัวอย่าง กลอนลำวชิรปันตี
ฟังเด้อน้อง ป้องเลี่ยนอินทร์เขียน
พี่มาเวียน จนทางเป็นโสก
เทียวข้ามโคก จนหัวเข่าคอน
ย้อนอยาก ได้บังอร มานอนซ้อนคู่
ใจพี่ ไกวคืออู่ โต้นเต้นไปมา
น้องซิ บ่โสดา ส่าลือส่ำอ้าย
เห็นว่า พี่ผู้ฮ้าย กายก่ำดำผอม
ซิบ่ อยากถนอม เคียงกายหมายฮ่วม...
--------------------------------------------------------------------
๒. กลอนลำวิชชุมาลี
กลอนวิชชุมาลี มีลักษณะคล้ายกลอนวชิรปันตี แต่มีกำหนดบท และเอกโท ด้วย
- คณะ : หนึ่งบทมี ๔ วรรค(บาท) หนึ่งวรรคประกอบด้วย บุรพบท ๒ หรือ ๔ พยางค์, ยัติหน้า ๓ หลัง ๔(รวมยัติ ๗ พยางค์)
- สัมผัส : สัมผัสระหว่างวรรค (หรือสัมผัสนอก) พยางค์สุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสกับพยางค์ที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 ของวรรคถัดไป โดยอนุโลมให้สัมผัสกับคำบุรพบทได้ (นิยมให้สัมผัสกับยัติหน้า พยางค์ที่3 เพราะว่าให้ความไพเราะมากกว่า)
- ต่างจากกาพย์ที่คำบุรพบท นั่นคือ กลอนแบบวชิรปันตีนี้สามารถมีคำบุรพบทได้ ๒ ถึง ๔ พยางค์ ขณะที่กาพย์ไม่มีคำบุรพบท

ตัวอย่าง กลอนลำวิชชุมาลีแบบไม่มีบุรพบทและสร้อย (กลอนครู มีเอก โท วางตามตำแหน่งอย่างถูกต้อง)
บาบ่าวท้าว บาบ่าวบาคาน
บาบาคาน บ่าวบาคานท้าว
บาคานท้าว บาคานบาบ่าว
บาบ่าวท้าว บาท้าวบ่าวบา ฯ
ตัวอย่าง กลอนลำแบบวิชชุมาลี
มาจัก จาระไนเรื่อง เวียงจันทน์ชั้นเก่า
สมัยแต่เค้า คนเถ้าเล่ามา ฯ
ปางแต่กี้ แต่ที่คืนหลัง
ปางเมื่อ พระมหา ราชวังยัง อยู่ดีมีเจ้า
อันว่า สาลีข้าว ในนาฟ้าท่อง
มีข้าว ของก็บ่ มีผู่ฮ้าย กายหน้าฝ่าฝืน ฯ
นับแต่พื้น ทีปถิ่นดินลาว
ฝูงหมู่ ซาวลาวกาว ซ่าวนาตาก้า
อันว่า งัวควายม้า แนวใดก็ได้ป่อย
ชุมผู้ สาวส่ำน้อย นมโต้นส่ำหัว