ก่าย หมายถึงสัมผัส ก่ายใน หมายถึงสัมผัสใน ก่ายนอก หมายถึงสัมผัสนอก
คำกลอนผญา ไม่มีข้อบังคับว่าต้องมีสัมผัส แต่หากจะให้ไพเราะ ควรมีทั้งสัมผัสใน สัมผัสนอก
ทั้งสระและพยัญชนะ
ในที่นี้ จะไม่อธิบายถึงสัมผัสใน เพราะไม่ใช่ข้อบังคับหลักของกลอน แต่จะพูดถึงสัมผัสนอก เท่านั้น
สัมผัสนอก หมายถึง สัมผัสสระ ระหว่างวรรค คือ การที่คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสสระกันกับคำถัดมาของวรรคต่อไป
โครงสร้างการก่ายของผญา (สัมผัสนอก) ภายใน ๑บท

นั่นคือ
-
คำที่๗ ของวรรคที่๑ ให้สัมผัสกับคำที่ ๘ หรือ ๙ หรือ ๑๐ หรือบุรพบท ก็ได้ ของวรรคที่๒
-
คำที่๑๔ ของวรรคที่๒ ให้สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือบุรพบท ก็ได้ ของวรรคที่๓
-
คำที่๗ ของวรรคที่๓ ให้สัมผัสกับคำที่ ๘ หรือ ๙ หรือ ๑๐ หรือบุรพบท ก็ได้ ของวรรคที่๔
โครงสร้างการก่ายของผญา (สัมผัสนอก) บทต่อบท

นั่นคือ
-
คำที่๑๔ ของวรรคที่๔ ให้สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือบุรพบท ก็ได้ ของวรรคที่๑ บทถัดไป