โคลง
คำว่า "โคลง" บางแห่งเขียนเป็น "โคง" บางแห่งเขียนเป็น "คระโลง" บางแห่งเขียนเป็น "ครรโลง"
"คำโคลง" ดัดแปลงมาจากกาพย์วิชชุมาลีบ้าง มหาวิชชุมาลีบ้าง และกาพย์มหาสินธุมาลีบ้าง
โคลง ๕ หรือ โคลงวิชชุมาลี
ที่เรียกว่าโคลง ๕ เพราะ้แต่ละวรรคมี๕คำ ที่เรียกว่าโคลงวิชชุมาลี เพราะโคลงนี้ใช้คำก่ายเหมือนกับกาพย์วิชชุมาลีหรือกลอนวิชชุมาลี
โดยหนึ่งบทมี ๔ วรรค วรรคละ ๕ คำ เอก โท ไม่ค่อยแน่นอนนัก โดยมากบทหนึ่งให้ใส่ เอก ๔ คำ โท ๒ คำ ส่วนคำก่าย กำหนดตามแผนผังข้างล่างนี้

ตัวอย่าง โคลง ๕ หรือโคลงวิชชุมาลี
๑) ลูกเพียงพ่อ แขงเมือง
อย่าจงใจ จากเหน้า
มีคำเหลือง ล้านซั่ง
เป็นเจ้าผ่าน นครขวาง
๒) ยั่งยั่งฟ้า หัวปี
ฝนฮำดวง ดอกหญ้า
จักหนีหนี บ่ได้
เจ้าฟ้าวั่ง เวใจ
โคลงสุภาพหรือมหาสินธุมาลี
หนึ่งบทมี ๔ วรรค วรรคที่ ๑ ๒ ๓ มีวรรคละ ๗ คำ วรรคที่ ๔ มี
๙ คำ วรรคที่๑ เพิ่มสร้อยหน้าวรรคได้ ๒ คำ และวรรคที่ ๓ เพิ่มสร้อยท้ายวรรคได้ ๒ คำ โคลงหนึ่งบท มีคำเอก ๗ คำ คำโท ๔ คำ และใช้คำก่ายตามแผนผังต่อไปนี้

ตัวอย่าง โคลงสุภาพหรือมหาสินธุมาลี
๑) มาลากองกิ่งก้าน งามตู
ดวงหนึ่งแลหลิงดู ชื่นช้อย
หอมฮสทั่วชุมพู ถนัดยิ่ง เฮียมเอย
ขอบพระคุณเจ้าข้อย ลื่นล้ำเสนโห ฯ
๒) จักทานทัดใส่เกล้า เกษา
หอมยิ่งกันนิกาสุด แหล่งหล้า
จักมีแห่งใดดา ดูยาก พระเอย
หกแห่งสวรรค์นครฟ้า บ่เปรียบได้เถิงสอง ฯ
๓) จักด่วนขึ้นฟ้าเล่า ยังฮัก
จักอยู่ดอมเฝือผัก เพื่อนน้อง
จักดีบ่ดีนัก สะเทินห่าง พระเอย
นานขึ้นเยียวความข้อง พากน้องหลายทาง ฯ