|
ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: |
อ่านผญา |
ไฟไหม้ป่าจั่งเห็นหน้าหนู น้ำท่วมฮูจั่งเห็นจิหล่อ แปลว่า ไฟไหม้ป่า ค่อยเห็นหน้าหนู น้ำท่วมรู ค่อยเห็นจิ้งโคร่ง หมายถึง "ถ้าไม่ประสบปัญหาก็ไม่โผล่หน้ามา |
|
ประเพณีอีสาน |
|
บุญบั้งไฟ...ประเพณีอีสาน --- โดยอีสานจุฬาฯ
|
 |
 |
การนำรอยไฟ
การนำรอยไฟ (การนำฮอยไฟ) หมายถึง การเล่นสนุกหลังจากจุดบั้งไฟแล้ว มีการตาม ช่างและชาวบ้านที่เป็นเจ้าบ้านไปดื่มเหล้าและเล่นสนุกสนานกันอีก การตามรอยไฟจะสูตรขวัญให้ช่างทำบั้งไฟด้วย คือ เริ่มแรกอาราธนาสูตรขวัญเพื่อทำขวัญช่าง เมื่ออาราธนาเสร็จแล้วหมอก็เริ่มการสูตรขวัญ บ้านที่ทำการสูตรขวัญเป็นบ้านช่างทำบั้งไฟ ทุกคนในบ้านจะออกมานั่งรับการสูตรขวัญ หมอสูตรขวัญนำคำสูตรขวัญที่ดีๆมาสูตร เสร็จแล้วมีการผูกแขนเพื่อเป็นมงคล หลังจากสูตรขวัญและผูกแขนช่างทำบั้งไฟแล้ว ก็รับประทานอาหารกันอย่างสนุกสนาน การนำรอยไฟปฏิบัติกันทั่วไป ปัจจุบันปฏิบัติกันน้อยลง การเซิ้งตามรอยไฟเป็นการเซิ้งเพื่อเยี่ยมเยียนตามบ้านเรือนชาวบ้านจนถึงค่ำจึงเลิกรากันไป เนื้อความของกาพย์เซิ้ง ในตอนนี้เป็นการขอเหล้าสาโทดื่มฉลอง มีการกล่าวขอบคุณและให้ศีลให้พร
ประเพณีบุญบั้งไฟกับชีวิตของชาวอีสานจึงมีความผูกพันกันอย่างเหนียวแน่น ชาวอีสาน จะจัดทำบุญบั้งไฟกันอย่างเอิกเกริก ยิ่งปีใดฝนแล้งจะต้องทำเป็นกรณีพิเศษ นอกจากนี้ยังถือเป็นการทำบุญ ประกอบคุณงามความดีตามความเชื่อถือที่มีมาแต่โบราณกาล เช่น มีงานบวชนาค งานสรงน้ำพระพุทธรูป งานถือน้ำพิพัฒน์ต่อหน้าพระพุทธรูป กล่าวได้ว่าชาวอีสานใช้บั้งไฟเป็นสื่อในการให้ประชาชนทำบุญ เป็นสื่อในการติดต่อระหว่างมนุษย์กับพญาแถน บั้งไฟจึงมีความเกี่ยวพันกับชีวิตของคนอีสาน ในฐานะเป็น เครื่องมือของพิธีขอฝนเพื่อให้ตกต้องตามฤดูกาล นอกจากนี้ประเพณีบุญบั้งไฟยังเปิดโอกาสให้ชาวบ้านจาก หมู่บ้านและตำบลต่างๆ ได้มาช่วยกันทำบุญบั้งไฟ มาร่วมกันสนุกสนานเป็นการรวมพลังประชาชนให้มาทำ กิจกรรมร่วมกัน ฝึกให้รักและสามัคคีกันได้เป็นอย่างดี
|
เอกสารอ้างอิง : ปรีชา พิณทอง, อร่ามจิต ชิณช่าง, ๒๕๓๗ : ๓๔-๔๔,
พจน์ ธัญญาพันธ์, วิทยาลัยครูสกลนคร : ๑-๕,
นิธิ เอียวศรีวงศ์, ๒๕๓๖ : ๓-๙๖ |
|