ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2568:: อ่านผญา 
เทียวทางพ้อพอใจจอดแว่ คือสิหายโศกฮ้อนสบายบ้างแบ่งเบา แปลว่า เดินทาง พบเจอที่เป็นที่น่ารื่นรมย์ แวะพักผ่อน อาจช่วยให้คลายทุกข์ได้ หมายถึง พึงรู้จักปล่อยวาง คลายความยึดมั่นถือมั่น

ประเพณีอีสาน  

บุญบั้งไฟ...ประเพณีอีสาน --- โดยอีสานจุฬาฯ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
บุญบั้งไฟ


การกระทุ้งบั้งไฟ (บรรจุหมื่อลงบั้งไฟ)

- เตรียมฐานรองสำหรับกระทุ้ง ซึ่งฐานรองนี้ ต้องใช้ไม้เนื้อแข็ง หนาประมาณ2ศอก เซาะรูขนาดให้หัวบั้งไฟเข้าได้ ลึกประมาณ1ศอก

- เตรียมไม้ตำบั้งไฟ(ไม้กระทุ้ง) ใหญ่พอเข้ากระบอกบั้งไฟได้ และยาวมากกว่ากระบอกบั้งไฟประมาณครึ่งศอก

- ฝังเสาสำหรับยึดบั้งไฟ นำฐานรองไปวางแนบเสา ใส่กระบอกบั้งไฟด้านหัวลงไปในรูฐานรอง มัดยึดติดกับเสาให้แน่น โดยกระบอกบั้งไฟ ต้องใช้ลวดหรือปลอกรัด กันกระบอกแตก

- ใส่ดินเหนียวลงในกระบอก กระทุ้งตำให้แน่น ให้ได้ความหนาดินเหนียวประมาณ 2-3 นิ้ว หรือตามความเหมาะสมกับขนาดกระบอกบั้งไฟ เพื่อใช้เป็นชั้นรองรับหมื่อ

- ใช้เครื่องตวง (เช่นกระป๋องนม) ตักหมื่อ ใส่ลงในกระบอกทีละนิด แล้วตำให้แน่น เมื่อเห็นว่าแน่นดีแล้ว ค่อยเติมลงไปอีก และตำให้แน่น ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ

- การกระทุ้งบั้งไฟนี้ ให้ใส่หมื่อโดยเรียงลำดับจากหมื่ออ่อนมาก ไปหาหมื่อแรงมาก นั่นคือ เริ่มจากหมื่อดินถ่าน6 ไปหาหมื่อดินถ่าน3 เมื่อจบหมื่อแต่ละสูตร ให้ทำเครื่องหมายไว้ว่า หมื่อสูตรนี้เริ่มจากจุดนี้ถึงจุดนี้ (สำหรับไขรู)... ขั้นตอนนี้ ต้องกระทุ้งด้วยแรงพอเหมาะ เพราะหากแรงไป กระบอกอาจแตกได้ หากเบาไป หมื่ออาจไม่แน่นพอ

- เมื่อกระทุ้งจนเกือบเต็มกระบอกแล้ว ให้ใส่ดินเหนียวลงไปและกระทุ้งต่อ ความหนาของดินเหนียวนี้ ให้คำนวณโดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางกระบอกว่าเท่าไหร่ เช่นวัดได้ 4 นิ้ว ก็ให้ดินเหนียวหนา 4 นิ้ว และเมื่อกระทุ้งดินเหนียวปิดปากกระบอกแล้ว ก็นำ “เถือด” มาตอกอุดปากกระบอกอีกที ใส่สลักกันหลุดด้วย



เอกสารอ้างอิง : สุจิตต์ วงษ์เทศ, ประเพณีการเซิ้งบั้งไฟ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป

 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ประเพณีอีสาน