ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
หนักหนาโฮมแฮงพร้อมหลายคนหากเบาแบ่ง หนักคึดวางบ่ได้จมปิ้งหน่วงเลย แปลว่า ของหนัก หากหลายคนช่วยกันยก ย่อมเป็นของเบาได้ แต่หากยกคนเดียว ย่อมหนักอึ้งยกไม่ไหว หมายถึง พึงรู้รักสามัคคี พร้อมเพรียงกันทำ

ภาษาอีสาน วันละคำ  

แสดงทั้งหมดครับ
ค้นหาภาษาอีสานความหมายภาษาไทย /ภาษาอีสาน::
เรียนรู้ภาษาอีสาน คำต่อคำ ทั้งหมด คลิ๊กที่นี่ || 10 ข้อมูลที่เข้ามาใหม่ || ดัชนีคำศัพท์

ภาษาอีสาน 10 คำจากข้อมูลทั้งหมด 2151 คำ ดังรายการต่อไปนี้
previous next
คำที่ 1811 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลุยปุ๊ด

ภาษาอีสานคำว่า..หลุยปุ๊ด
ความหมายตรงๆ ====>
พลาด,เกือบ
อ้างอิงจังหวัด :: นครพนม
จากคุณ::น่ารัก
เมื่อวันที่:: 19-10-2006 09:21:14

ตัวอย่าง

ข่อยไปขุดเขียดกับผู้บ่าวพากันไล่คุบเขียด เขียดหลุยปุ๊ดเข่าฮูคือเก่า

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1812 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลุ่ย

ภาษาอีสานคำว่า..หลุ่ย
ความหมายตรงๆ ====>
หมดคม,ทื่อ
อ้างอิงจังหวัด :: ขอนแก่น
จากคุณ::มังกรเดียวดาย
เมื่อวันที่:: 04-09-2006 10:54:56

ตัวอย่าง

ใช้กับของมีคม เช่นมีด ขวาน จอบ เสียม เป็นต้น โดยของที่เคยมีคมดีๆ แล้วหมดคม เราเรียกอาการหมดคมนั้นว่า หลุ่ย เช่น

บ่าวหน่อ เพิ่นพ้อฮูแมงเงา แต่ว่าบ่มีเสียม กะเลยไปหล็อยมีดโต้พ่อมาก่นฮูแมงเงา จนมีดโต้พ่อหลุ่ยเหมิด

แปลว่า
บ่าวหน่อ แกเห็นรูแมงป่องยักษ์ แต่ว่าไม่มีเสียมขุด ก็เลยไปขโมยมีดอีโต้พ่อมาขุดรูแมงป่องยักษ์ จนมีดอีโต้พ่อหมดคม

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1813 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลุ่ย

ภาษาอีสานคำว่า..หลุ่ย
ความหมายตรงๆ ====>
ไม่คม , ไม่เข้า
อ้างอิงจังหวัด :: ร้อยเอ็ด
จากคุณ::ชัย
เมื่อวันที่:: 13-04-2010 02:37:49

ตัวอย่าง

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1814 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลู

ภาษาอีสานคำว่า..หลู
ความหมายตรงๆ ====>
ทะลุหลุดลง ทะลุร่วงลง รูดตก
อ้างอิงจังหวัด :: ขอนแก่น
จากคุณ::มังกรเดียวดาย
เมื่อวันที่:: 20-10-2006 11:19:50

ตัวอย่าง

หลู หมายถึงลักษณะที่สิ่งของ ทะลุอะไรบางอย่าง แล้วร่วง หลุด ตกลงมา เช่น
หลูลูก หมายถึง ลูกซึ่งอยู่ในท้องเสียชีวิตและหลุดออกจากท้อง หรือ แท้งลูก
หลังคาพาหลู หมายถึง หลังคาเมื่อโดนคนเหยียบ ขาดทะลุทำให้คนตกลงมา

บ่าวบั้งไฟ ปีนกอไผ่บง สิไปโพนเอามิ้มขวางตาเว็น โพนไปโพนมา มิ้มยังบ่ทันเมาจ้อย เจ้าของเมายาก่อน มิ้มกะบินมาตอดเลา วีปั่ง วะนึง.. เลาตกใจเทิงเมายา คะลาดหลบ หลูตกกอบง ก้นขี้ทั่ง จุกน้อยเลยแหล่วเว่ย

แปลว่า
ชายหนุ่มนามว่าบ่าวบั้งไฟ ปีนขึ้นกอไผ่ที่ไม่มีหนาม เพื่อจะเอารังผึ้งชนิดขวางดวงอาทิตย์โดยการใช้ยาฉุนพ่น พ่นไปพ่นมา ผึ้งยังไม่เมาเลย ตัวเองเมายาก่อน ผึ้งก็เลยบินมาต่อยแก ตั๊บ เลย.. แกตกใจ ทั้งเมายา รีบหลบ เลยพลัดตกเสียดสีกิ่งไผ่ ก้นกระแทกพื้น จุกพอสมควร เลยน่ะนะ

หมายเหตุ: ผึ้งชนิดรังขวางดวงอาทิตย์ เป็นผึ้งที่ค่อยข้างดุร้าย

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1815 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลู

ภาษาอีสานคำว่า..หลู
ความหมายตรงๆ ====>
ทะลุ/ยุบตัวลงมา
อ้างอิงจังหวัด :: ร้อยเอ็ด
จากคุณ::ตัวโน้ต
เมื่อวันที่:: 10-09-2010 14:35:13

ตัวอย่าง

ตอนฝนตกแฮง หลังคาเฮือนข่อยมันหลูลงมา
ตอนฝนตกหนัง หลังคาบ้านของฉันมันพังยุบลงมา

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1816 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลู

ภาษาอีสานคำว่า..หลู
ความหมายตรงๆ ====>
หลุดลงมา/ถล่มลงมา
อ้างอิงจังหวัด :: หนองคาย
จากคุณ::อ่อนดี
เมื่อวันที่:: 04-11-2013 20:26:28

ตัวอย่าง

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1817 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลู , หลููลูก

ภาษาอีสานคำว่า..หลู , หลููลูก
ความหมายตรงๆ ====>
เป็น กริยา หลู = ทะลุ หลูลูก = แท้งลูก
อ้างอิงจังหวัด :: อุดรธานี
จากคุณ::krating105@yahoo.co.th
เมื่อวันที่:: 19-05-2008 16:20:22

ตัวอย่าง

สาวท้องใหม่ ไม่ค่อยระมัดระวังในการเคลื่อนไหว เธออจึงหลูลูก

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1818 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลูด

ภาษาอีสานคำว่า..หลูด
ความหมายตรงๆ ====>
หลุด คลายออก
อ้างอิงจังหวัด :: อีสานทั่วไป
จากคุณ::มังกรเดียวดาย
เมื่อวันที่:: 17-10-2006 17:00:49

ตัวอย่าง

หลูด หมายถึง ลักษณะที่เชือกซึ่งมัดไว้ คลายออกจนหลุด หรือ สิ่งที่ถูกล่ามไว้ หลุดจากการลามไปได้

พ่อใหญ่ดล เอาควายไปล่ามไว้เทิงโนน จากนั้น กะมานั่งโอ่นโหล่นซาเล่นกับน้องพอลล่าอยู่ใต้ต้นบักขาม เลาผูกเชือกบ่ดี เชือกกะเลยหลูด น้องพอลล่า กะเลยตกโอ่นโหล่นซา ก้นขี้ทั่ง... ขณะที่พ่อใหญ่ดลกำลังออยน้องพอลล่าอยู่นั้น ควายที่เลาล่ามไว้ กะหลูดไปกินกล้าขาเจ้า แค้นเกือบตาย กะยังว่า

แปลว่า
พ่อใหญ่ดล เอาควายไปล่ามไว้ที่ดอน จากนั้น ก็มานั่งชิงช้าเล่นกับน้องพอลล่าอยู่ใต้ต้นมะขาม แกผูกเชือกไม่ดี เชือกก็เลยหลุด ทำให้น้องพอลล่าตกชิงช้า ก้นกระแทกพื้น... ขณะที่พ่อใหญ่ดลกำลังโอ๋น้องพอลล่าอยู่นั้น ควายที่แกล่ามไว้ ก็หลุดไปกินข้าวกล้าคนอื่น ข้าวกล้าติดคอ เกือบตาย น้อ...

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1819 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลูด หลุด

ภาษาอีสานคำว่า..หลูด หลุด
ความหมายตรงๆ ====>
หลูด หรือ หลุด
อ้างอิงจังหวัด :: อำนาจเจริญ
จากคุณ::มาร์ค
เมื่อวันที่:: 31-12-2007 07:33:59

ตัวอย่าง

หลูดหรือหลุด นอกจากสิแปลว่าคลายออก กะยังแปลว่าลด
โตอย่างเช่นการลดราคา เวลาไปซื้อของ แม่ใหญ่มักเว้าว่าหลูดอีกจักหน่อยบ่ได้บ่?
แต่ว่าเด็กน้อยสุ่มื้อนี้ใช้คำว่าลดกันเบิดแล้ว

อีกอย่างนึงขอแนะว่า คำที่ออกเสียงสระเอียทั้งหลาย บ้านผู้ข้าออกเป็นสระเอือเบิ๊ดเลย
แต่ว่าบ้านแถวใกล้เพิ่นกะออกเสียงสระเอียหลายคือกันเช่นคำว่า บักเขีย บักเขือ เฮีย เฮือ เป็นต้น

หวังว่าสิเป็นประโยชน์เด้อคับ

แก้ไขข้อความ
คำที่ 1820 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หลูโตน

ภาษาอีสานคำว่า..หลูโตน
ความหมายตรงๆ ====>
สงสาร
อ้างอิงจังหวัด :: ร้อยเอ็ด
จากคุณ::บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
เมื่อวันที่:: 9/27/2001 4:49:58 AM

ตัวอย่าง

ผู้บ่าวผู้นี้มาคือเป็นตาหลูโตนแท้น้อ บ่มีผู้สาวมาเป็นคู่
แปลว่า
น่าสงสารผู้ชายคนนี้จังเลย ไม่มีสาวมาเคียงคู่
วาสั่นดอก

แก้ไขข้อความ
แสดงผลหน้า [1][2][3][4][5][6][7][8][9][10][11][12][13][14][15][16][17][18][19][20][21][22][23][24][25][26][27][28][29][30][31][32][33][34][35][36][37][38][39][40][41][42][43][44][45][46][47][48][49][50][51][52][53][54][55][56][57][58][59][60][61][62][63][64][65][66][67][68][69][70][71][72][73][74][75][76][77][78][79][80][81][82][83][84][85][86][87][88][89][90][91][92][93][94][95][96][97][98][99][100][101][102][103][104][105][106][107][108][109][110][111][112][113][114][115][116][117][118][119][120][121][122][123][124][125][126][127][128][129][130][131][132][133][134][135][136][137][138][139][140][141][142][143][144][145][146][147][148][149][150][151][152][153][154][155][156][157][158][159][160][161][162][163][164][165][166][167][168][169][170][171][172][173][174][175][176][177][178][179][180][181][182][183][184][185][186][187][188][189][190][191][192][193][194][195][196][197][198][199][200][201][202][203][204][205][206][207][208][209][210][211][212][213][214][215][216] เหมิดแล้วเด้อ


ใช้เวลาในการประมวลผล 0.0274 วินาที
เขียนภาษาอีสานมื้อละคำเพิ่มหม่องนี่เด้อ
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ภาษาอีสาน วันละคำ