ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ชื่อว่าแนวความฮู้ศีลธรรมพระเจ้าใหญ่ คันแม่นเฮียนได้แล้วเป็นแก้วแก่นมโน แปลว่า ความรู้ในศีลธรรมพระพุทธองค์ หากเข้าใจดีแล้ว เหมือนเป็นแสงไฟสว่างส่องนำทาง หมายถึง ธรรมะของพระพุทธเจ้า คือแสงสว่างแห่งปัญญา

การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน  

ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์ (ฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน---อีสานจุฬาฯ)
การฟ้อนรำ..จังหวัดกาฬสินธุ์

  หน้าก่อน หน้าถัดไป
ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์

ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์

ผ้าไหมแพรวา เป็นผ้าแพรสไบที่ทอด้วยเทคนิคการทอคล้ายกับผ้าจก นิยมทอให้มีความยาวประมาณ 1 วากับอีก1 ศอกหรือ 1ช่วงแขน หรือยาวประมาณ 2-2.5 เมตร ตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งเป็นผ้าทอพื้นบ้านของชาวภูไทบ้านโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และนิยมทอกันอย่างแพร่หลายในหลายจังหวัด เพราะได้การสนับสนุนจากโครงการศูนย์ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และมีการพัฒนารูปแบบ สีสัน และลวดลายต่างๆมากขึ้น ทำให้ผ้าไหมแพรวาเป็นที่นิยม และนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์ ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการจากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ.2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระชนม์มายุครบ 60 พรรษา

และได้ออกนำเสนอผลงาน ในงานมหกรมการแสดงนาฏศิลป์ดนตรีและนิทรรศการงานศิลปะของสถาบันการศึกษา สังกัดกรมศิลปากรประจำปีการศึกษา2535 ณ โรงละครแห่งชาติ โดยผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆพันอก ท่าฟ้อนรำก็ได้ดัดแปลงมาจากท่วงท่าการทอผ้าไหมแพรวานั่นเอง


ผ้าแพรวากาฬสินธุ์

การแต่งกาย

หญิง พันอกด้วยสไบไหมแพรวา พับขึ้นเป็นสายพาดไหล่ด้านขวา แล้วพับเป็นแขนตุ๊กตาที่ไหล่ซ้าย นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน



ขอขอบคุณอ้ายโอ๊ต (อดิศักดิ์ สาศิริ) เอื้อเฟื้อข้อมูลและภาพ
  หน้าก่อน หน้าถัดไป
 
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... การฟ้อนรำพื้นบ้านอีสาน