ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
หลีกลิงให้ไกลสามศอก หลีกวอกให้ไกลสามวา หลีกคนพาลาให้ไกลสามโยชน์ แปลว่า หลีกลิงให้ไกลสามวา หลีกคนพาล ให้ไกลสามโยชน์ หมายถึง ไม่พึงคบหา เสวนากับคนพาล


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  จารย์ใหญ่    คห.ที่61)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : มุกดาหาร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 13 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,168
ให้สาธุการ : 3,230
รับสาธุการ : 9,881,800
รวม: 9,885,030 สาธุการ

 
คุณบ่าวหน่อ:


ตั๊กแตน + แรด

ผู้เชี่ยวชาญคำสมาด คำสนธิ มาอธิบายเลย บาดทีนี้
บ่าวหน่อบ่กล้าอธิบาย ย้านอธิบายผิดอธิบายถืก


อธิบายพอได้อยู่ แต่ชื่อนี้ติ ตั๊กแตน+แรด จักสิเอิ้นชื่อว่าจั่งใด๋

 
 
สาธุการบทความนี้ : 420 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  19 ต.ค. 2553 เวลา 15:15:55  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่62)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 6,184,200
รวม: 6,192,345 สาธุการ

 
บ่าวหน่อ อย่าพาหมู่คิดไปทั่วหลาย 555



คันบ่ฮู้ว่าสิเอิ้นแนวได๋ กะจ่งไว้ เหมิดทุกโตอักษรนั่นล่ะ กะสิเป็น

ตั๊กแตรนด์  (TakTrand )

 
 
สาธุการบทความนี้ : 400 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  19 ต.ค. 2553 เวลา 15:21:31  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  จารย์ใหญ่    คห.ที่63)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : มุกดาหาร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 13 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,168
ให้สาธุการ : 3,230
รับสาธุการ : 9,881,800
รวม: 9,885,030 สาธุการ

 
5555555+

นับถือๆๆๆ ครับ ผมล่ะคึดยากนำสิเอิ้นซื่อแหมะ รอดไปอย่างหวุดหวิด

เป็นอันว่า เฮาได้ชื่อของสัตว์สายพันธุ์ใหม่เนาะ..เรียกว่า

ตั๊กแตรนด์ (TakTrand )    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 445 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  19 ต.ค. 2553 เวลา 15:26:17  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่64)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 
คุณมังกรเดียวดาย:
บ่าวหน่อ อย่าพาหมู่คิดไปทั่วหลาย 555



คันบ่ฮู้ว่าสิเอิ้นแนวได๋ กะจ่งไว้ เหมิดทุกโตอักษรนั่นล่ะ กะสิเป็น

ตั๊กแตรนด์  (TakTrand )




น่าจะ ลบ   ร.เรือ และ น.หนู ท้ายคำ ออก น้อ... สายพันธุ์นี้   
กลายเป็น ตั๊กแตด์  

ห้ามออกเสียง ด.เด็ก  เพราะลงสังฆาตไว้..

 
 
สาธุการบทความนี้ : 639 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ต.ค. 2553 เวลา 10:17:36  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่65) แมงจิซอน  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 

ขอบคุณภาพจาก google


ชื่อวิทยาศาสตร์    Gryllotalpa orientalis
อันดับ                ORTHOPTERA
วงศ์                   Gryllotalpidae
ชื่อสามัญ            Mole Crickets
ชื่อพื้นบ้าน           แมงซอน  แมงจิซอน แมงกระซอน (นักธรณีวิทยาแห่งชายบึง)

ลักษณะทั่วไป

           แมลงจิซอน มีลำตัวกลมลักษณะคล้ายจิ้งหรีด แต่มีปีกสั้นมาก ขนาดความยาวลำตัวประมาณ
3 - 4 เชนติเมตร  หนวดสั้น ขาหน้ากว้างมีลักษณะคล้ายอุ้งมือของตัวตุ่น มีเล็บแข็ง
ใช้ในการขุดดิน ชอบอาศัยตามที่ชื้นขุดรูอยู่ใต้ดินกินรากพืชและพืชต่างๆ  เป็นอาหาร
แมลงชอนมีขาคู่หน้าดัดแปลงไปเป็นขาขุด เพื่อใช้ประโยชน์ในการขุดดินและมุดตัวอยู่ในดิน
ตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียแตกต่างกัน
จากการดูอวัยวะเพศที่ปลายท้องได้ ทั้งสองเพศมีรูปร่างลักษณะเหมือนกันมาก
ตัวผู้ท้องยาวเรียว แต่ที่แตกต่างคือเพศผู้สามารถทำเสียงได้เช่นเดียวกับจิ้งหรีดและตั๊กแตน
แต่เสียงค่อยกว่ามาก โดยเพศผู้มีอวัยวะในการทำเสียงอยู่ที่ปีกคู่หน้า เป็นตุ่มทำเสียงที่เรียกว่าไฟล์ และสะแครปเปอร์
และมีพื้นที่เล็กๆ บนแผ่นปีกที่ใช้ในการทำเสียงซึ่งเพศเมียไม่มี
ตัวเมีย ท้องป้อมๆ ลำตัวสั้นกว่าตัวผู้เล็กน้อย



แหล่งที่พบ  

           ขุดรูอาศัยในดินที่แฉะมากๆ โดยเฉพาะดินบริเวณรอบๆ แหล่งน้ำ ริมหนองน้ำ ริมห้วย ริมบึง
อาหารธรรมชาติ   คือ หญ้าสด มีหญ้าต่าง ๆ เช่น หญ้าขน หญ้าน้ำ หรือวัชพืช


ริมบึงน้ำแบบนี้ และครับ สวรรค์ของ แมงจิซอน


วงจรชีวิต  

แมลงกระชอน วางไข่เป็นแท่งไข่แข็งซึ่งมี 30-50 ฟองอยู่ในดิน ไข่ใช้เวลาฟักตัว
25-40 วัน ตัวอ่อนที่ฟักใหม่ๆมีสีขาว ส่วนอกและขาสีฟ้าอ่อน ตัวอ่อนเมื่อเติบโตขึ้น
เปลี่ยนเป็นสีเทาถึงดำ มีแต้มสีขาว ตัวอ่อนวัยสุดท้ายลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยแต่มีปีกสั้นกว่า
ระยะตัวอ่อนนาน 3-4 เดือน  ผสมพันธุ์และวางไข่ช่วงต้นฤดูฝน ช่วงฝนตกใหม่ๆ คือช่วงที่
กระจายพันธุ์ โดยจะออกท่องเที่ยว บินหาแหล่งน้ำในตอนกลางคืน

แมงจิซอน ในโลกจำแนก เป็น 2 ชนิด ใหญ่ๆ   คือ ชนิดที่พบทางซีกโลกตะวันออก
และ ชนิดที่พบในแอฟริกา
ในประเทศไทยมีแมลงชนิดนี้ สายพันพันธุ์ตะวันออกชนิดเดียวเท่านั้น
ส่วนแมลงกระจิซอนที่พบในแอฟริกามีหนาม 3-4 อัน
(มักมี 4 อันดูจากตัวอย่างแมลงกระชอนจากอียิปต์ 2 ตัว)
เขตแพร่กระจายพบในเอเชียและฮาวาย พืชที่พบแมลงกระชอนทำความเสียหาย เช่นข้าวไร่ อ้อย ยาสูบ หอม
ทานตะวัน ผักกะหล่ำ ชา และมันเทศ เป็นต้น

ส่วนแมงจิซอนสายพันธุ์ไทย ไม่ปรากฏว่า ทำลายพืชไร่ ของเกษตรกรแต่อย่างใด  เนื่องจากมันไม่กินพืชไร่


ในภาพคือ แมงจิซอน สายพันธุ์ แอฟริกา ต่างจากสายพันธุ์ไทย มาก



หน้าที่ตามธรรมชาติ  ของแมงซอน

เนื่องจากมีขาหน้าที่ทรงพลัง บางคนเรียกแมงจิซอน ว่า ราชคึ  หรือ ราชคฤกษ์ ราชาแห่งการ “คึ “

เวลาจับใส่มือไว้ แมงจิซอน จะใช้ขาหน้า “คึ” ง่ามมือออก พลังในการแหวกน่าอัศจรรย์
หน้าที่หลักคือการพรวนดิน ในริมน้ำทำให้ดินริมแหล่งน้ำมีอากาศ  ให้บักเตรี
ทำการย่อยสลายซากอินทรีย์
ในดินกลายเป็นแร่ธาตุที่อุดม เหมาะสำหรับพืชริมน้ำและ แมลงสัตว์น้ำอื่นๆดำรงชีพ  
แมงจิซอนยังกินซากพืช รากพืชน้ำที่เน่าสลายในดิน เป็นอาหาร และเป็นอาหารของปลาหลากหลายสายพันธุ์
บางครั้งความสัมพันธ์ ในระบบนิเวศน์ ก็ซับซ้อนและอ่อนไหว ในการดำรงสภาพอันเอื้อต่อสิ่งมีชีวิต
หลายๆอย่าง เมื่อพิจารณาแล้ว ล้วนเกี่ยวพันกันเป็นสายใย ห่วงโซ่อาหารและความสมดุล



การเกี่ยวพันในวิถีชีวิตอีสาน

เมื่อย่างเข้าหน้าแล้ง ช่วงเดือน ธันวาคม ถึง กุมภาพันธุ์  น้ำตามแหล่งน้ำเหลือเพียงแหล่งน้ำใหญ่ๆ
บริเวณริมแหล่งน้ำเหล่านั้นยังชุ่มชื้น บางแห่งยังมีตม พื้นดินนิ่มชาวบ้านต่างแบกจอบ ถือคุ ลงไปหากิน
ตามแหล่งน้ำที่ยังหลงเหลือ ต่างลงไปหา “ย่ำแมงซอน “   ตามพื้นดินริมแหล่งน้ำที่ยังอ่อนนิ่ม

ขั้นตอนแรก คือ ทำคันกั้นน้ำเล็ก ๆ  เป็นแนวยาว  บางแห่ง ก็ ทำเป็นรูปครึ่งวงกลม เพื่อกั้นน้ำ
จากนั้นก็ ขุดหน้าดินขึ้นมา ตักน้ำมาราด ดินที่ขุดขึ้น แล้วก็ลงมือ ย่ำดินให้กลายเป็นดินเหนียว
เมื่อน้ำเข้าไปแทนอากาศที่อยู่ในดิน และน้ำท่วมดิน บริเวณที่แมงซอน อาศัยอยู่ แมงซอนก็จะออกมาจากดิน
ชาวบ้านต่างเก็บเอาแมงซอน เพื่อเป็นอาหาร  ไล่คุบแมงซอน เป็นที่สนุกสนาน
แมงซอน หรือ แมงจิซอน เป็นอาหารของชาวอีสานในหน้าแล้ง นำไปทำอาหารได้หลายอย่าง
ห้วงเดือนดังที่กล่าวมาเท่านั้น ที่ชาวบ้านหากินแมลงชนิดนี้  ส่วนห้วงเดือนอื่น ก็หากินอย่างอื่น
ชีวิตชาวอีสาน ยากจนค้นแค้น อึดอยากปากหมอง  หากินแมลงต่าง ตามฤดูกาล เป็นแหล่งโปรตีน
จึงมีความสัมพันธ์ กับแมลงมากกว่าภาคอื่น ๆ  ซึ่งทางภาคอื่น มีแหล่งอาหารหลากหลายกว่า อุดมกว่า
แมลงจึงเป็นตัวเลือกลำดับสุดท้ายในการนำมาเป็นอาหาร  ต่างจากภาคอีสาน ซึ่งกินแมลงตามฤดูกาล



สิ่งที่น่าเป็นห่วง

เนื่องจากปัจจุบันการทำเกษตร มีการใช้สารเคมีในปริมาณที่มากขึ้นทุกปี  เกินขีดความสามารถของธรรมชาติ
ในการกำจัดสารตกค้าง ตามแม่น้ำลำคลอง ห้วยหนอง ให้เจือจางลงตาม วิถีธรรมชาติ จึงเป็นผลกระทบ
ในวงกว้างในระบบนิเวศน์  สารเคมีตกค้างในดินจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ แมงจิซอนเป็นจำพวกต้นๆ
ในการได้รับผลกระทบ  ลดจำนวนลง  ส่วนผลกระทบในด้านอื่นๆ  ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ขอกล่าว
เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนา  ส่วนใหญ่ไม่สนใจ ระบบนิเวศน์และธรรมชาติ เท่าไหร่
ข้าวของผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจ ราคาสูงขึ้น  ที่ราคาถูกลงคือ ชีวิตพลเมือง


ขอบคุณทุกภาพ จาก oknation.net และ จาก google

 
 
สาธุการบทความนี้ : 849 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ต.ค. 2553 เวลา 10:24:05  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่66)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
เคยไปย่ำอยู่ แมงจีซอนนี้ ม่วนหลาย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ต.ค. 2553 เวลา 11:03:46  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  เก่ง ญาติระอา    คห.ที่67)  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ต.ค. 2553
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 10
รับสาธุการ : 29,070
รวม: 29,080 สาธุการ

 
แล้วแมงขี้นาก อนอัว เป็นโตจังได๋น้อท่านอาจารย์

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ต.ค. 2553 เวลา 12:50:33  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่68) แมงแคง  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ชื่อพื้นบ้าน              แมงแคง  แมงแคงค้อ  แมงขิว (จอมยุทธใบไม้ผลิ)
ชื่อวิทยาศาสตร์        Tessaratoma papillosa  , Homoeocerus sp.
อันดับ         Hemiptera
ชื่อวงศ์        Coreidae
ชื่อสามัญ  Stink  Bugs


ลักษณะทางกายภาพ


ตัวเต็มวัยมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่ มีขนาดยาวประมาณ 25 - 31 มม. และส่วนกว้างตอนอก กว้างประมาณ 15 - 17 มม. ตัวเต็มวัยตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มตามใบหรือเรียงตามก้านดอก ไข่กลุ่มหนึ่งจะมีจำนวนโดยเฉลี่ย 14 ฟอง ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ประมาณ 7 - 14 วัน ตัวอ่อนจะมีสีแดงมีการลอกคราบ 5 ครั้ง ระยะตัวอ่อนกินเวลาประมาณ 61 - 74 วัน จึงจะเจริญออกมาเป็นตัวเต็มวัย แมงแคงมีสีน้ำตาลปนเหลือง รูปร่างลักษณะคล้ายโล่  มีขนาดยาวประมาณ 25 – 31  มิลลิเมตร  ส่วนอกกว้างประมาณ  15 – 17  มิลลิเมตร


ภาพ ตัวอ่อนยังไม่เต็มวัยของ แมงแคง


แหล่งที่พบ

ตามต้นค้อ ( ตะคร้อ)  ต้นจิก ต้นฮัง และป่าเต็งรังทั่วไป  ส่วนมากพบตามต้นค้อ  แมงแคงอันนี้
กินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อนต้นค้อ จึงพบได้ตามต้นค้อเป็นหลัก แต่ทางภาคเหนือ พบตามต้นลำไย
ช่วงที่พบได้ง่าย ช่วงเดือน เม.ย – มิ.ย. ตามต้นค้อ ที่กำลัง งอกใบใหม่

วงจรชีวิต

แมงแคง มีอายุขัย นับตั้งแต่ไข่ – ตัวเต็มวัย – ตาย  ศิริอายุได้ 1 ปี  วงจรชีวิตเริ่มจาก
           เม.ย. – พ.ค.ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มอยู่ตามใบและก้านดอกของต้นค้อ  หรือพืชอื่นๆ  
มักวางไข่เป็นกลุ่ม ๆ ละ 5 – 28 ฟอง  ระยะเวลาโดยประมาณ  ระยะไข่ใช้เวลา  7 – 14  วัน
ระยะตัวไม่เต็มวัย 105 – 107 วัน  ระยะตัวเต็มวัยอาจมีอายุมากถึง  90  วัน  หรือเกินกว่านี้


ศัตรูธรรมชาติ ศัตรูธรรมชาติของแมงอันนี้ เท่าที่ บ่าวปิ่นลม คนรูปหล่อ บ่ปรึกษาหมู่ บ่ปรึกษากอง
สังเกตพบ ได้แก่  นกกะปูด นกกระลาง นกไก่นา  กะปอม และ เด็กน้อยเล้ยงควายขี้ดื้อ

ประโยชน์และความสำคัญ

  นำไปรับประทานเป็นอาหาร ได้แก่

    1.กินดิบ เพียงแค่เด็ดปีกทิ้ง และบีบตรงส่วนท้องเพื่อให้ฉี่ที่มีกลิ่นฉุนๆ ออก  
       แล้วก็ใส่ปากหย่ำ
      หากอยากให้แซบ ต้องมีข้าวเหนียวกระติบน้อย และ แจ่วปลาแดกใส่ หมากเผ็ดหลอ
     จ้ำปลาแดก แล้วก็ แกล้มด้วยแมงแคงดิบ  แซบอีหลี ระวังฉี่ หรือ เยี่ยวมัน ลวกลิ้นเด้อ
   2.เอาไปคั่วหรือ เอาไปจ่าม ( เสียบไม้ย่างไฟ )
      นำไปคั่วไฟอ่อนๆ จนสุก โรยเกลือเล็กน้อย แค่นี้ก็อร่อยทั้งกินเล่นๆ และกินเป็นกับแกล้ม
      หรือจะเสียบไม้ ย่างไฟพอสุก ก็แซบพอกัน หอมฮ๋วย ๆ
   3.นำไปตำทำน้ำพริก หรือ แจ่วแมงแคง
    4. เอาไปหมกไฟ รวมกันกับ กะปอมแม่ไข่ ใส่ใบตอง ( อันนี้แซบบ่มีแนวคือ )





ข้อควรระวัง
แมงอันนี้ มีกลไกป้องกันตัว คือ เยี่ยว ( ฉี่ )  เป็นกรดมีพิษ แสบร้อน  เวลาจับ
ต้องระวัง อย่าให้มัน เยี่ยวใส่ตา  บ่ซั้น จะให้ดี ต้องใส่แว่น คือบ่าวหน่อ ไปจับมันเอา
เทคนิคการจับ คือหันดากมันออกไปจากตัว เป็นต้นว่า หันดากไปทาง สาวส่าเมืองยโส
หรือทางจารย์ใหญ่ กะได้  
อันหนึ่ง เวลาเยี่ยวมันถูกมือ ,แขน,ขา  เมื่อแห้งแล้ว จะมีรอยคราบสีเหลือง, ดำ
ติดตามมือ ตามตัว ล้างออกยาก มือเหลืองอ่อยฮ่อย  ส่วนนิ้วมือเหลือง ย้อนว่า
พันลำยาสูบ อันนี้บ่เกี่ยว เด้อ ( ผู้ลังคนดอกหวา )



วิธีการหาแมงแคง

1.“ตบแมงแคง”
ไม่ใช่การ ตบ แบบนางร้ายในละครเด้อ  อุปกรณ์ในการตบ ต้องมีดังนี้
ไม้แส่  , ถุงดางเขียว, ถุงพลาสติก มัดทำเป็นถุงปลายไม้  ไปหา “ตบ”เอาตามต้นค้อ  

2 “เลวแมงแคง”
      ไม่ใช่ เลวระยำตามความหมายในภาษากลางเด้อ “เลว” ในที่นี้ เป็นภาษาอีสานแปลว่า ขว้าง เขวี้ยง  
อุปกรณ์ ไม่ต้องมีอะไรมาก ค้อนไม้แกนหล่อน ขนาด
พอเหมาะมือ ก็พอ ขว้างแล้วก็ วิไล่เอาโลด ส่วนมาก นิยมทำตอน ฝนตกเซาใหม่
ปีกแมงแคงยังเปียก บินไม่ได้ไกล  หรือ ตอนเช้าๆ  ตอน”ฝนเอี้ยน” จะดีมาก จ๊วด...

ในแง่วิถีชีวิตอีสาน


เมื่อฝนแรก โรยรินถิ่นอีสาน กลิ่นดินระเหิด อบอวน ใบไม้ที่ผลัดใบ เริ่มผลิใบอ่อน
ต้นค้อ( ตะคร้อ) กำลังออกใบสีแดงอ่อนๆ เต็มต้น  เด็กน้อยชาวอีสาน ต่างออกจาก
หมู่บ้านตั้งแต่เช้า ไปหาเอาแมงแคง  บ้างก็ถือไม้แส่ ไม้ส่าว มีถุงพลาสติก ทำเป็น
ถุงมัดคล้องไว้ตรงปลาย ไปหาจับเอาแมงแคง  บ้างที่ไม่มีอุปกรณ์ ก็อาศัย ขึ้นจับเอา
หรือ สั่นกิ่งไม้ให้ แมงแคงบิน แล้วก็ วิ่งไล่ไปตามทุ่งนากว้าง  บางครั้งวิ่งไล่
ตามองแต่แมลงที่บิน ลืมดูที่พื้น “ตำ” คันนา  ล้มคุบดิน เป็นที่สนุกสนาน
เมื่อได้มาแล้ว ก็แบ่งกัน  การไล่ล่าแมงแคง จึงเป็นกิจกรรม ที่ลูกอีสานแทบทุกคน
เคยผ่าน จะรู้ว่า ทั้งเหนื่อยและสนุก เท่าใด

  เมื่อฝนเริ่มแรกตกลงสู่ผืนดิน ชาวไฮ่ชาวนาต่างเตรียมตัว ลงไฮ่ ลงนา
ซึ่งบางหมู่บ้านต้องลงไปนอนนา หมายถึง ยกครัวเรือนไปอยู่กินที่ โรงนาตลอดฤดู
จึงต้องมีการ วางแผนปลูกพืชไว้กิน ในฤดูทำนา   มีการ” เฮ็ดไฮ่ “ ปลูกแตงจิง
ปลูกถั่ว ปลูกงา  เพื่อเป็นอาหารในฤดูทำนา  การเฮ็ดไฮ่  ต้องมีการ “ เกียกไฮ่ “
คือถากถางต้นไม้ เผาตอไม้ เพื่อเอาเถ้าถ่าน เป็นฝุ่นปุ๋ย  ต้องเผาให้เหลือแต่เถ้าถ่าน
เกลี่ยให้เถ้านั้นกระจายเต็มพื้นที่การทำไฮ่  เรียกว่าการ”เกียกไฮ่”
พ่อกับลูกชาย พากันไปโคกนา ทำการ”เกียกไฮ่  “  ติบข้าว ห่อปลาแดก  น้ำเต้า
ห้อยไว้บนกิ่งไม้   ลุยเกลี่ยเถ้าถ่านที่ร้อนระอุ ไม่แพ้แดดกลางเดือนเมษา
เมื่อเสร็จแล้ว ต้องมีการล้อมรั้ว ทำเสาและราวรั้ว ซึ่งต้องตรากตรำ ใช้แรงงาน
เหงื่อท่วมตัว    เมื่อตะวันเที่ยง  ก็เดินไปที่ต้นค้อ หาเอาแมงแคง ทั้งตัวอ่อนของมัน
มาหมกใส่ใบตอง รวมกับ กระปอมแดงแม่ไข่ ที่จับได้ สับให้เป็นชิ้น ๆ คละเคล้ากัน
ใส่น้ำปลาแดก ใส่พริก แล้วก็ห่อใบตอง ไปหมกขี้เถ้าไฟ  
ความหิว ความเหนื่อย คือ ความโอชะอันเป็นทิพย์ ประกอบกับ ความหอม
ของกลิ่นแมงแคง และเนื้ออันพอเหมาะของกะปอมแดงฮาวฮั้ว  จึงเป็นอาหาร
อันสุดยอดแห่งความอร่อย  ผู้ตั้งกระทู้ ยังจดจำรสชาติ แห่งโอชา อาหารมื้อนั้นได้
ทุกครั้งที่มองทุ่งนาเวิ้งว้าง ที่มีต้นค้อยืนเด่น  รสชาติโอชะและรสชาติความเหนื่อยล้า
ระคนกันมากับความทรงจำดีๆ ในสายลม



ขอบคุณภาพทุกภาพจากอินเตอร์เน็ต บ้านมหาดอทคอม  แมลงดอทคอม  และ อื่นๆ ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1253 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ต.ค. 2553 เวลา 13:49:54  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่69)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
อั่นนี้แมวแคง


* แมวนอนตะแคง เอิ้นสั้นๆว่า แมวแคง
ขอบคุณภาพจาก ku.ac.th

อั่นนี้แมวหงาย



* ขอบคุณภาพ mthai.com
ฮ่วย... เขาเว้าเรื่องแมงแคง ตั๊วนี่แหมะ เป็นแมวแคงได้จั่งใด๋

 
 
สาธุการบทความนี้ : 469 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ต.ค. 2553 เวลา 15:49:14  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  จารย์ใหญ่    คห.ที่70)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : มุกดาหาร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 13 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,168
ให้สาธุการ : 3,230
รับสาธุการ : 9,881,800
รวม: 9,885,030 สาธุการ

 
ฮู้บ่ว่าแมวย้านหยัง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ต.ค. 2553 เวลา 16:03:08  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)