ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ทุกข์ยากฮ้ายกายก่ำผอมโซ ยากนำโตบ่มีเงิน เผิ่นบ่ถามเถิงจ้อย แปลว่า ยากจนข้นแค้น ตัวดำผอมโซ ไม่มีเงิน จึงไม่มีใครถามถึง หมายถึง ไม่พึงเลือกคบหาสหายเพียงเพราะทรัพย์สินเงินทองและรูปกาย


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่275)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
บ้านป้าหน่อยกะเอิ้นแมงงซ้าง คือกัน
หลายบักคัก ยามบักงิ้วพวมป่งใบอ่อน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 ก.พ. 2556 เวลา 12:54:30  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่276)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณปิ่นลม:


ชื่อพื้นบ้าน แมงซ้าง  แมงค่อม
ชื่อภาษาไทย  แมลงค่อมทอง
ชื่อสามัญ  Green weevil
วิทยาศาสตร์ Hypomeces  squamosus  Fab

Class           Insecta
Inflaclass     Neoptera
Superorder   Endopterygota
Order          Coleoptera
Suborder     Polyphaga
Family        Curculionidae
Genus         Hypomeces



ลักษณะทางกายภาพ
เป็นด้วงงวงสีสวย และเป็นสีเหลือง ลักษณะเป็นฝุ่น ตามตัวมีสีต่าง ๆ เช่น น้ำตาลปนเขียว
เขียวปนสีทอง เขียวปนทองแดงและสีเทาดำ มีผู้พบว่าแมลงค่อมทองมีสีดำ
เนื่องจากสีชั้นนอกสุดเป็นสีเขียว สีเหลือง หลุดออกง่าย เป็นขุยปีกชั้นในสุดเป็นสีดำ
ส่วนหัวยื่นยาวออกไปเพียงเล็กน้อย ลำตัวยาว 1 2 ซม.

แมงซ้างเป็นด้วงชนิดขนาดกลาง  สามารถพบเห็นได้ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จนถึงญี่ปุ่นและจีน    ปากมีลักษณะเป็นงวงยาวแบบ กัดกิน  
ส่วนหัวสั้นทู่ยื่นตรงไม่งุ้มเข้าใต้อก    มีหนวดแบบข้อศอก (geniculate)  
โดยปล้องปลายหนวดจะโป่งออก  ตั้งอยู่ที่กึ่งกลางของงวงปาก

ลำตัวมีหลายสีขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมเมื่อเป็นตัวเต็มวัย  
พบได้ตลอดทั้งปีและทุกภาคของประเทศไทย ช่วงที่พบเห็นได้มาก หากเป็นพื้นที่ภาคกลาง
ภาคเหนือคือช่วง กุมภาพันธ์ - มีนาคม ส่วนทางภาคอีสานจะเป็นช่วง มิถุนายน - สิงหาคม


การดำรงชีวิต
          ตัวหนอนของแมงซ้าง กัดกินรากของพืชหลายชนิดเป็นอาหาร  เช่น  ข้าว  ข้าวโพด  ยาสูบ  ฝ้าย
และพืชตระกูลส้ม  ตัวเต็มวัยกัดกินตั้งเเต่เนื้อเยื่อเจริญ  เช่น รากอ่อน  ตากิ่ง  ตาดอก เป็นต้น
ต้นอ่อน  ใบอ่อน จนถึงใบแก่ของต้นไม้   เช่น มะม่วง ลำไย เงาะ ส้มเขียวหวาน  ส้มโอ หม่อน สามสา ต้นคูน
สนประดิพัทธ์ ยูคาลิปตัส กะเลา ต้นสัก ต้นดูก ต้นก่อ มะค่าแต้ กะทกรก เหียง ต้นถ่อน กระถินณรงค์ ประดู่แดง ขี้เหล็ก
และพันธุ์ไม้ท้องถิ่นอื่น ๆ

ตัวเต็มวัยชอบอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม  เป็นปุ้ม ชอบอาศัยอยู่ตามใต้ใบไม้บนต้นไม้ เคลื่อนที่ช้า  ไม่ว่องไว  
เมื่อถูกรบกวนจะทิ้งตัวลงพื้น   โดยดึงส่วนขาและหนวด เข้าห่อตัวและหยุดเคลื่อนไหว  
มักพบเป็นคู่ ๆ หรือรวมกลุ่มอยู่บนต้นไม้ใบไม้


วงจรชีวิตและสืบพันธุ์
ในเดือน ธันวาคม-มีนาคม   เป็นระยะที่แมลงผสมพันธุ์และวางไข่    วางไข่ในดิน
ตัวเมีย 1 ตัว วางไข่ได้ 40 - 131 ฟอง โดยวางไข่ 5 - 10 ครั้ง
แต่ละครั้งห่างกัน 3 - 4 วัน จำนวนไข่ที่วางแต่ละครั้ง 3 - 27 ฟอง ระยะไข่ 7 - 8 วัน  
เมื่อไข่ฟักเป็นตัวหนอนจะกัดกินรากพืชในดิน  
หนอนมีการลอกคราบ 4 - 5 ครั้ง  
ระยะหนอน 22 - 23 วัน  จากนั้นจะเข้าดักแด้ในดิน ระยะดักแด้ 10 - 15 วัน
เพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย อายุตัวเต็มวัย เพศผู้ 8 เดือน เพศเมีย 12 เดือน    
  

ประโยชน์และความสำพันธ์ในธรรมชาติ
แมงซ้าง สามารถปรับตัวได้ดี กินใบไม้ได้หลายชนิด  รักษาสมดุลไม่ให้พืชชนิดใดชนิดหนึ่ง
ได้เปรียบ ครอบครองเป็นพืชเดี่ยว มันเป็นอาหารของ นกหลากชนิด รวมทั้งสัตว์ปีกที่หากินตามพื้นดิน
เป็นอาหารของ กิ้งก่า จิ้งเหลน กบ ต่อ แตน รวมทั้งค้างคาวบางชนิดด้วย
เหนือสิ่งอื่นใด มันอุทิศตัวให้เป็นอาหารให้ มนุษย์ผู้สันโดษ

เมื่อเราค้นหาข้อมูลของ แมงซ้าง หรือ แมลงค่อมทอง จะเห็นว่า "มันน่ากลัว"
เพราะเห็นว่าเป็นศัตรูพืช  ทำลายล้างทำให้เสียหาย และจะเห็นสูตรสารเคมีต่างๆ
เพื่อใช้ฉีดพ่นกำจัด โฆษณาขาย เคมีบันเทิง ไปในตัว



มนุษย์นี่เองเป็นตัวการที่ทำให้มันเกิดการ แพร่ระบาด ทำลายนิเวศน์พืชท้องถิ่น
ปลูกพืชเชิงเดี่ยวโดยไม่นึกถึง สายใยธรรมชาติ  ในพื้นที่ ที่มีพืชท้องถิ่นอยู่หลากกลาย
จะไม่พบการระบาดของมันทำลายพืชใดเลย  

เมื่อมันไม่มีอันใดกิน  มันก็ต้องกินพืชสวน ลองปลูกพืชท้องถิ่นอย่างอื่น
เช่น ขี้เหล็ก มะตูม  มะขาม  หรืออะไรก็ได้ที่เป็นพืชตามท้องถิ่นตน เสริมเป็นแนว
แมลงชนิดนี้ก็จะไม่ระบาด ทำลายพืชสวนให้เสียหาย ไม่ต้องใช้เคมีให้เกิดพิษภัย


แมงซ้าง นำมาเป็นอาหารได้  ลองรับประทานดู  รับรองลืมฟิซซ่าไปเลย



ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวอีสาน

เดิมทีชาวอีสานเป็นคนละเมียดละไม มีองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติมาก
ช่างสังเกตธรรมชาติ และเรียนรู้จากมัน นำมาใช้ประโยชน์ เช่นดูพฤติกรรมสัตว์
เพื่อทำนายฟ้าฝน ดูพืชติดดอกออกผล ก็คาดเดาสภาพอากาศได้ เพื่อจะวางแผนเพาะปลูก
ดูท้องฟ้า ดูก้อนเมฆ ดูแสงแรกอรุณ ดูแสงอัสดง ก็รู้สภาวะฟ้าฝน

คนอีสานโบราณมีความรู้เรื่อง สัตว์และพืชในท้องถิ่นตนมาก รู้จักใช้ประโยชน์
แม้แต่ "แมงซ้าง" ก็เอามันมาเป็นอาหารได้  หาเก็บเอาแมลงชนิดนี้มาคั่วกิน
เป็นอาหารเสริมตามฤดูกาล ไม่ต้องซื้อหาเสียเงินทอง

เวลาลัดเลาะเลี้ยงวัวควาย เด็กน้อยชาวอีสาน ชอบเลาะหา "แมงซ้าง" ที่กำลังหลบแดด
ใต้ใบไม้มากิน บางคนกินดิบเลย แค่เด็ดปีกออก "โม่ม" ใส่ปาก แซบเข้าท่า
ไม่แพ้ของขบเคี้ยวชนิดอื่น บางคนก็เก็บสะสมในถุง เพื่อเก็บเอาไปคั่วที่บ้านกินเป็นอาหาร


ขอบคุณ ศิลปินผู้แต้มฮูป   สุนัขในภาพ คือหมาบักแดงขะน้อยฮ้าย

ระหว่างที่เลาะหาแมงซ้าง พบมุมสงบใต้ต้นไม้เย็นๆ อาศัยงีบหลับสบายอารมณ์
ปีไหนที่พบแมงซ้างเยอะ ตามต้นขี้เหล็ก ต้นส้มเสี่ยว ต้นถ่อน ปีนั้น "ข้าวงัน" จะได้ผลดี
ฝนจะไม่ทิ้งช่วง  

ปีไหนพบเยอะตามต้นมะม่วง ต้นบักค้อ ต้นส้มมอ ปีนั้นน้ำจะมากหลากท่วม
ปีไหนพบตามไม้เถาเยอะ ๆ ปีนั้นจะแล้ง ข้าวกล้าไม่งาม
หากเราละเลย สายใยธรรมชาติ มีแต่จะทำให้เราไม่เหลือบแล "คุณค่าของกันและกัน"


-ขอบคุณ ข้อมูล และภาพบางส่วนจาก
http://www.biogang.net
http://www.malaeng.com/
http://www.photonovice.com/
http://www.oknation.net/
http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/HO416/html/pa0089.htm
http://noknoi.com/newboard.php?b=2964





ลากมาไว้หน้านี่ให้ก่อนครับอ้ายปิ่น..แมงซ้างคือกันครับ เอิ้นแบบเดียวกัน แต่อี๊แม่เพินเอิ้นแมงคอมซ้าง(ทางเมืองพล ขอนแก่น)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 442 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 ก.พ. 2556 เวลา 13:51:04  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่277)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 6,184,200
รวม: 6,192,345 สาธุการ

 
บ้านผมเอิ้น แมงหม่น (สีหม่นๆ) ครับ

ส่วนแมงซ้าง โตกุ้มๆกว่านี้ สิมีจะงอยปากยาวๆออกมาคล้ายๆงวงซ้าง มักพ้อตามใบทัน(พุทรา) ยามเฮาเอามือไปต่งทางใต้มัน มันสิบ่บินหนี แต่หั่งสิถิ่มโตลงมา ตกลงมือเฮา แล้วกะเอาโมมเข้าปากหย่ำกินเสย 555

 
 
สาธุการบทความนี้ : 342 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 ก.พ. 2556 เวลา 19:51:24  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่278)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณมังกรเดียวดาย:
บ้านผมเอิ้น แมงหม่น (สีหม่นๆ) ครับ

ส่วนแมงซ้าง โตกุ้มๆกว่านี้ สิมีจะงอยปากยาวๆออกมาคล้ายๆงวงซ้าง มักพ้อตามใบทัน(พุทรา) ยามเฮาเอามือไปต่งทางใต้มัน มันสิบ่บินหนี แต่หั่งสิถิ่มโตลงมา ตกลงมือเฮา แล้วกะเอาโมมเข้าปากหย่ำกินเสย 555


ซ่างบ่เป็นเป้าเนาะ กินไปเหมิดทุกอย่างเอาโล้ด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 432 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  18 ก.พ. 2556 เวลา 11:20:30  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่279) เหลียก  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ชื่อพื้นบ้าน       เหลียก
ชื่อสามัญ buffalo-flies
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabanus sulcifrons
อันดับ       Diptera
อันดับย่อย   Brachycera
วงศ์ Tabanidae

" ควายแม่ค้ำเล็มหญ้า พลางแสวเหลียกไปด้วย "  วลีที่ปรากฏใน นิยายชีวิตอีสาน
เรื่อง โสกฮัง - ตาดไฮบางคนไม่เข้าใจ อะไรเกาะฮึ  ?  "แสวเหลียก"  


เหลียก เป็นแมลงดูดเลือด ลักษณะคล้ายแมลงวัน แต่ตัวใหญ่กว่ามาก
แมลงใน วงศ์ ( family ) นี้พบได้ทั่วโลก มีการพบแล้วประมาณ 4000 species ส่วนมากแล้ว
พบในทวีป แอฟริกา  ประเทศขี้บ่ก่น ทางการแพทย์ถือว่าเป็น สัตว์พาหะนำโรคชนิดหนึ่ง

สำหรับในภาคอีสาน คำว่า "เหลียก" เป็นคำนาม หมายถึง แมงอันนี้ ดูดกินเลือดวัวเลือดควาย
หากใช้เป็นคำกิริยา หมายถึงอาการ ชำเรืองมองแบบเจาะจงโจ่งแจ้ง  หรือ ตาถลึง เพราะกลัว
หากชำเรืองมองแบบไม่โจ่งแจ้ง เรียกว่า " สิ่งตาน้อย"  พะนะ



ลักษณะทั่วไป
คล้ายกันกับ แมลงวัน แต่ตัวใหญ่กว่า บินเสียงดัง  ตัวมีมี งวงเจาะ ไว้แทรกรูขน
เพื่อดูดกินเลือด ตัวผู้ส่วนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ของปากลดรูป  จึงไม่มี งวงเจาะ
ตัวเหลียก ที่หาดูดเลือดนั้นเป็นตัวเมีย ที่เข้าสู่ระยะขยายพันธุ์
มันต้องกินเลือดเพื่อที่จะวางไข่ได้
ตัวเมียส่วนมากกินเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
หรือสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อื่นๆ

เรียกได้ว่า เหลียกเป็นแมลงรำคาญ  ส่วนคนอีสาน ชอบลำเดิน ลำล่อง ลำเพลิน ลำแพน
เป็นแมลงที่คอยดูดกินเลือดสัตว์เลี้ยง เช่น วัวควาย ซ้างม้า  ส่วนใหญ่ระบาดในหน้าฝน


ที่อยู่อาศัย
เมื่อครั้งวัยเยาว์ แมลงจำพวกนี้ อยู่ตามใต้ดินชื้น ๆ  ดินใต้พุ่มไม้ใบหญ้า  
เมื่อฝนตกในฤดูฝนแรก  จะออกมาจากใต้ดินเมื่อเป็นตัวเต็มวัย
จะอาศัยหลบตาม ใต้ใบไม้หนาๆ เกาะใบไม้นอนหลับพักผ่อน
เช้ามาก็ออกหากินน้ำหวานจากดอกไม้ ดอกหญ้า และหาสืบพันธ์


ภาพเหลียก กำลังกินแมงเม่า ไม่ต้องหลกขน

การสืบพันธุ์
ผสมพันธุ์กันในห้วง เดือน พ.ค. - มิ.ย ของทุกปี
วางไข่บนก้อนหิน หรือ ใบพืช ที่ใกล้น้ำ ตามรากไม้ เป็นต้น
วางไข่คราละ  1000 - 500 ฟอง เมื่อฟัก ตัวอ่อนจะตกลงในน้ำหรือดินที่ชื้นๆ
กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอยทาก ไส้เดือน และ แมลงอื่นเป็นอาหาร


วงจรชีวิต
• ไข่จะฟักภายในเวลา 5 – 7 วัน เพื่อเป็นตัวอ่อน จากนั้นจะพัฒนาเป็น ตัวอ่อนเต็มวัย
ภายใน  2 เดือน และอยู่ใต้ดิน ช่วง เดือน ก.ค. -ต.ค.
• เหลียกจะอาศัยอยู่ ในช่วงฤดูหนาวโดยจะเข้าดักแด้ ห้วง พ.ย. - มี.ค.
• ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ และช่วงต้นของฤดูร้อน ( เม.ย.-พ.ค.) จะลอกคราบเป็นตัวเหลียก
• วงจรชีวิตของตัวโตเต็มวัย ( ตัวเหลียก ) อยู่ที่ 30 ถึง 60 วัน
จากนั้นมันก็ลาโลก โดยไม่เคยทำบุญใส่บาตร รักษาศีล  ฟังเทศน์ อนิจจา




บทบาทและหน้าที่ตามธรรมชาติ
ตัวเหลียก ตัวอ่อนเมื่ออยู่ใต้ดิน จะเป็นอาหารของสัตว์อื่น เช่น ไก่ป่า ไก่บ้าน
นกที่หากินตามพื้น  กบ เขียด และแมลงตัวห้ำชนิดอื่น ๆ  
เมื่อโตมา มันจะทำหน้าที่ผสมเกสรให้พืช
หน้าที่อย่างหนึ่ง คือสร้างความรำคาญให้สัตว์ ให้ต้องคิดค้นวิวัฒนาการ
เพื่อป้องกันเช่น ต้องมีหางยาวขนเป็นพวง เพื่อเป็นเครื่องมือขับไล่  
หรือ ควายก็ต้อง แช่ปลัก ทางอีสานเรียกว่า "ควายนอนบวก"



ความเกี่ยวพันกับวิถีอีสาน
ครั้งฝนตกใหม่ ๆ น้ำในนาเริ่มขัง ถึงเวลาที่ชาวอีสานต้อง "ลงนา"
ไล่ควายวัวไปนา ย่อมหลีกหนีแมลงเหล่านี้ไม่พ้น  
บางครั้งก็สงสารงัวน้อย โดนเจาะจนพรุน
บางครา "สูน" หรือ โกรธ จับตัวมันมา เอาก้านดอกหญ้าเจ้าชู้
เจาะเสียบก้นมัน แล้วปล่อยให้บิน อิหลักอิเหลื่อ

กองไฟที่สุมฟืนตามคอก เพื่อขับไล่แมลงดูดเลือด ให้ห่างไกล
แสงวาบ แวมไหว ในทิวทุ่งเมื่อราตรี  เสียงสะบัด กะโหล่ง
ของควายบักตู้ ที่ "แสวเหลียก" (สะบัดหัวกระทบสีข้าง เพื่อไล่แมลง)
กล่อมเกลาเถียงนาน้อยให้คลายเหงา
มันคือสุขและทุกข์ ที่เจือปนกันในรสชาติชีวิต เพราะเราคือมนุษยชน

ขอขอบคุณ ภาพประกอบทุกภาพ จาก GOOGLE

 
 
สาธุการบทความนี้ : 508 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  16 พ.ค. 2556 เวลา 11:34:46  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่280)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
ไปเลี้ยงควาย ต้องถือ ฝากระแต๋ไปนำครับ นอกจากสิเอาไว้ตบตักกะแตนแล้ว ยังสามารถเอามาตีเหลือกนำ
หลูโตนควายน้อย ถูกเหลือกดูดเลือด    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 657 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  16 พ.ค. 2556 เวลา 17:02:41  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่281)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณบ่าวหน่อ:
ไปเลี้ยงควาย ต้องถือ ฝากระแต๋ไปนำครับ นอกจากสิเอาไว้ตบตักกะแตนแล้ว ยังสามารถเอามาตีเหลือกนำ
หลูโตนควายน้อย ถูกเหลือกดูดเลือด    


เหลือก บ่ค่อยถืกธาตุกันครับ เห็นแล้วแซ่ฟาดโล้ด ไคแนต๊ะผู้สาว แห่ะๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 483 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  16 พ.ค. 2556 เวลา 18:58:06  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่282)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
คุณอีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}:
คุณบ่าวหน่อ:
ไปเลี้ยงควาย ต้องถือ ฝากระแต๋ไปนำครับ นอกจากสิเอาไว้ตบตักกะแตนแล้ว ยังสามารถเอามาตีเหลือกนำ
หลูโตนควายน้อย ถูกเหลือกดูดเลือด    


เหลือก บ่ค่อยถืกธาตุกันครับ เห็นแล้วแซ่ฟาดโล้ด ไคแนต๊ะผู้สาว แห่ะๆ


ฟาดผู้สาว อย่าให้พ่อแม่เขาฮุ้เด้อ ทิด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 357 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 พ.ค. 2556 เวลา 10:24:40  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่283) แมงบ้งหาน  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 



ชื่อพื้นบ้าน แมงบ้งหาน
ชื่อสามัญ   Nettle Caterpillar
ชื่อวิทยาศาสตร์  Parasa lepida
Order: Lepidoptera
Family: Limacodidae
Genus: Parasa
Species: P. lepida

แมงบ้งหาน เป็นหนอนตัวอ่อนของผีเสื้อกลางคืน
ในตระกูล Limacodidae ซึ่งอยู่ในระยะ Larva
หรือ ระยะการเป็นตัวบุ้ง  ก่อนจะกลายเป็นดักแด้ และลอกคราบกลายเป็นผีเสื้อกลางคืน

เพราะฉะนั้นตัวเต็มวัยซึ่งเป็นแมลงผีเสื้อกลางคืน เฮาส่วนมากจะไม่ค่อยพบเห็นเท่าไหร่
แต่ส่วนใหญ่พี่น้องชาวอีสาน จะพบเจอ " แมงบ้งหาน" ตามที่ กระผมนำเสนอนี้เป็นส่วนมาก



ลักษณะทั่วไป
บ้งหาน (อีสาน) บุ้งร่าน (กลาง)  เป็นตัวหนอนสีเขียวแพรวพราว มีขนาดตั้งแต่  2 ซม. - 5 ซม.
มีขนแข็งสีเขียวสด มีจุดม่วงแดง หรือน้ำเงินสลับอยู่บนตัว  มีลายสีขาวหม่นพาดยาว
พบได้ทั่วไปในประเทศไทย และเขตอบอุ่น
ขนของมันมีพิษร้าย โดนทิ่มเข้า เป็นต้องปวดแสบร้อน กล้ามเนื้อเกร็ง เป็นผื่นแดง น้ำตาเล็ด วิ่งพล่าน
บางรายมีอาการแพ้พิษของ แมงบ้งหาน จนกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตไปชั่วขณะ
ในบรรดาแมงบ้ง หรือตัวบุ้ง ชนิดนี้หละครับ โหดสุด โดนเข้าหละก็  "บัดกับหม่อง" แน่นอน





ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ
ตอนโตเต็มวัย มันเป็นแมลงที่ปราศจากพิษภัยใด ๆ  รักสงบ และหากินน้ำหวานจากดอกไม้
ในเวลากลางคืน แต่ตอนเป็นตัวหนอนนี่ร้ายกาจ มักหลบตามใบไม้ พุ่มไม้ อาศัยกินใบไม้
ตามป่าเป็นอาหาร ที่อยู่ทั่วไปคือ ป่าโปร่ง ป่าแดง ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ

วงจรชีวิต
ผสมพันธุ์กันในช่วง เดือน พ.ค. - มิ.ย. ในช่วงที่เป็น "แมงกะเบี้ย" (ผีเสื้อ) และจะวางไข่ใต้ใบไม้
หรือตามเปลือกไม้ ลักษณะเป็นกระเปราะกลม ๆ ขนาด 5 - 10  มม.


ระยะไข่ 3-5 วัน จะฟักตัวเป็นหนอน ออกมาในวันแรก ๆ จะอยู่กันเป็นกลุ่มๆ
หลังจาก  1 อาทิตย์ พอมีขนปกป้องตัวแล้ว มันจะแยกกันอยู่ตามใบไม้ เพื่อหากิน
ระยะหนอนมี 7 วัย เพศเมียมักมี 8 วัย ระยะอยู่ในสภาพตัวหนอน  ราว 35-42 วัน
จากนั้นจะเข้าสู่ระยะดักแด้  สายพันธุ์ที่พบบ่อย ช่วงนี้จะมีขนยาวปกคลุม ยึดเกาะกับใบไม้
มักจะยึดอยู่ตามใต้ใบไม้ หลบอยู่นิ่งๆ เพื่อรอลอกคราบ เป็นผีเสื้อ


ภาพแมงบ้งหาน ( ชนิดตัวใหญ่ ) ระยะดักแด้  
ช่วงนี้อันตรายสุด ๆ อย่าได้กลายใกล้  เด็กน้อยขี้ดื้อ พึงระวัง


ภาพ กระเปาะดักแด้ แมงบ้งหาน อีกประเภท ในระยะดักแด้


อีกสายพันธุ์หนึ่งที่ตัวเล็กกว่า ดักแด้มีปลอกดักแด้คล้ายฝาชีครึ่งวงกลมครอบอยู่
มีขนาดยาว 15 มิลลิเมตร ระยะดักแด้ 21-24 วัน  จึงทะลุปลอกออกมาเป็นตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัยมีปีกกว้าง 30-32 มิลลิเมตร ตลอดวงจรชีวิตใช้เวลา 65-70 วัน


อันนี้ภาพ กระเปาะที่มันทิ้งร้าง เพราะลอกคราบออกมาหมดแล้ว


นี่ไงตัวเต็มวัยของแมลงชนิดนี้ เด้อพี่น้อง  เคยเห็นบ่


บทบาทตามหน้าที่ในธรรมชาติ
ช่วยผสมพันธุ์เกสร ให้กับพืชที่ออกดอกกลางคืน
เป็นอาหารของ ค้างคาว , บ่าง  นก กิ้งก่า
และเป็นอาหารของแตนเบียนหลายชนิด ในระบบนิเวศน์


กับเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตอีสาน
เมื่อเราเข้าป่าหาเห็ด หรือเลี้ยงวัวควายตามป่าโปร่ง บางครั้งไม่ระวัง
เดินไปโดนตัวของมันเข้า เป็นอันน้ำตาแตก ร้องฟูมฟาย วิ่งหนีตาเหลือก
เมื่อวิ่งไปหาผู้เฒ่าผู้แก่ ก็จะถ่มน้ำลายเป่าพร้อมเล่าคาถา
" อมสะหม สะหี นกขี้ถี่ ถืดถึ่ง เพี้ยง !  เซา ๆ "
พร้อมบอกกล่าวสั่งสอนว่า
"ไปไสมาไส ให้ระวังดังนี้  1.คน 2. อุบัติเหตุ 3. สัตว์ฮ้าย "
คนไร้ศีลธรรม จริยธรรมนั้น ร้ายยิ่งกว่าสัตว์ใด ๆ ในโลกา
หล่าเอ้ย.....    

ขอบพระคุณภาพประกอบ จาก อินเตอร์เน็ต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 940 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 พ.ค. 2556 เวลา 15:44:38  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่284)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
สมัยเด็กน้อย ==> เป็นตาย้าน
ตอนนี้ ==> มหัศจรรย์แห่งแมลง ครับ

ตอนเป็นหนอน รูปร่าง ดี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 พ.ค. 2556 เวลา 16:58:51  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)