ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันว่ามีผืนผ้า บ่หาแพรพาดบ่า สินุ่งแต่ผืนผ้า ไปได้จั่งใด๋ แปลว่า มีผ้านุ่งแล้ว หากไม่มีผ้าแพรสไบประดับด้วย ก็ขัดตา ไม่น่าดู หมายถึง ควรคบหาคนอื่นไว้เป็นสหาย


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ปิ่นลม  
  อ้างอิงจังหวัด : -
 
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,600
รวม: 5,444,780 สาธุการ

 



ความเป็นมาและการดำรงชีวิตของแมลง

      เมื่อประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว  โลกเริ่มมีป่าไม้และหนองน้ำใหญ่บนแผ่นดิน ระยะนี้เองที่ได้เกิดมีแมลงขึ้นบนโลก  แมลงชนิดแรกได้แก่ แมลงปอและแมลงสาบ แมลงในสมัยนั้นมีขนาดใหญ่จนอาจเรียกได้ว่า “แมลงปอยักษ์” เพราะมีความยาววัดจากปลายปีกถึง 20 เซนติเมตร  ส่วนแมลงสาบก็อาจถือได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของแมลงสาบปัจจุบัน  เพราะมีรูปร่างและนิสัยเหมือนกันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย เนื่องจากแมลงเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง  เนื้ออ่อนนุ่มนิ่ม ปีกบางใส ฟอสซิลของแมลงโบราณ ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญจึงได้หายากยิ่ง  หลักฐานเกี่ยวกับแมลงโบราณที่พอจะหาได้ คือ ซากของแมลงในก้อนอำพันซึ่งมีอายุ  60 ล้านปี

จากจะพบแมลงในที่ต่าง ๆ ที่เราไปอาศัยอยู่แล้ว เรายังพบความหลากหลายของแมลงแต่ละชนิด ทั้งรูปร่างลักษณะ และนิสัยความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันมากมายจนกระทั่งเป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์ว่าในกระบวนสัตว์ทั้งหลายในโลก แมลงเป็น สัตว์ที่มีมากชนิดที่สุด คือ มีจำนวนมากกว่า50 ล้าน ชนิด ในขณะที่สัตว์อื่นมีจำนวน นับพัน หรืออย่างมากก็นับหมื่นชนิดเท่านั้น อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้แมลงประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกได้มากถึงเพียงนี้




แมงกุดจี่เบ้า ( dung beetle ) ราชาแมลงแห่งทุ่งอีสาน


  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heliocopris bucephalus Fabricius
เป็นแมลงสวยงาม มีลูกเบ้าขนาดใหญ่เกือบเท่า  ลูกเปตองและ   ลูกเทนนิส เส้นผ่าศูนย์กลาง
ลูกเบ้าประมาณ 6.5 - 8.5 เซนติเมตร ลำตัวแมลงเบ้ากุดจี่ส่วนอกกว้าง 2.2 - 3.0 เซนติเมตร
ลำตัวยาว 3.6 - 5.0 เซนติเมตร แหล่งที่พบมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในธรรมชาติจะพบในพื้นที่ป่าเต็งรังที่มีดินลักษณะเป็นดินทรายละเอียด พื้นที่ที่มีความสูงระดับน้ำทะเล  170 เมตร ที่มีหญ้าเป็นไม้พื้นล่าง ในบริเวณพื้นที่ ที่ชาวบ้านนำฝูงควายขึ้นมาเลี้ยงให้กินหญ้าบนดอนดิน


แมงกุดจี่ หรือ Dung Beetle สัตว์ตัวเล็กแต่ยิ่งใหญ่ มีวิวัฒนาการยาวนาน สันนิษฐานว่าอาจมีอยู่ตั้งแต่ 350 ล้านปีก่อน โดยกินมูลของไดโนเสาร์และสัตว์ในยุคนั้น และเมื่อ 5,000 ปีที่ผ่านมา ชาวอียิปต์โบราณได้ยกย่องบูชา แมงกุดจี่ เป็นตัวแทนของสุริยเทพ ที่เรียกว่า "เทพเจ้า Kherpri" ซึ่งมีการสร้างรูปปั้นหน้าสุสานและเขียนภาพแมงกุดจี่ไว้สักการะบูชา สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน เราสามารถพบได้ทั่วไปตามกองมูลควายในทุ่งนาชนบท ซึ่งพบว่าในมูลหนึ่งกองมีกุดจี่หลายชนิดและบางชนิด สามารถจับมาทำเป็นอาหารได้


ภาพ เทพกุดจี่ ของขาวอียิป โบราณ

ประโยชน์ของแมลงกุดจี่ยักษ์นั้นมีตั้งแต่ในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เนื่องมาจากแมลงกุ๊ดจี่จะเก็บมูลควายไปกินเป็นอาหาร ทำให้ช่วยกำจัดมูลควายให้ไม่เกิดการทับทมของมูลสัตว์จนส่งกลิ่นเหม็น และในระหว่างที่มันสร้างเบ้าด้วยมูลและดินนั้น แมลงกุ๊ดจี่จะกินมูลควายและย่อยสลายขับถ่ายออกมาทำให้ดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชเกษตร
ในด้านอาหารแมลงกุ๊ดจี่ขึ้นชื่อว่าเป็นแมลงกินได้ที่อร่อย กล่าวกันว่าอร่อยเสียยิ่งกว่าไข่มดแดง ชาวภาคอีสานและภาคเหนือนิยมบริโภคกันมาก เนื่องจากลำตัวใหญ่  เนื้อมาก สามารถประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น จี่  ย่าง   ต้ม  ทำแกงอ่อม  แกงป่า ตำน้ำพริก ห่อหมก แกงผักหวาน เป็นต้น มีคุณค่าอาหารและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

โดยในน้ำหนักแมลงสด 100 กรัม  จะประกอบด้วย

โปรตีน 17.2 กรัม
สารแป้งน้ำตาล 0.2 กรัม  
เส้นใย 7.0 กรัม ให้พลังงาน 108.3 กิโลแคลอรี่
นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุแคลเซียม 30.9. มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส  157. 9 มิลลิกรัม
โปรตัสเซียม 287.6  มิลลิกรัม
วิตามิน  บี1,บี2 และ   ไนอาซีน  3.44 มิลิลกรัม  



กุ๊ดจี่มีช่วงชีวิตอยู่ที่ประมาณ 1 ปี ตัวผู้มีหน้าที่จะช่วยกลิ้งขนอาหารเพื่อปั้นลูกเบ้า จะพบตัวผู้
ตั้งแต่ปลายเมษายนถึงเดือนธันวาคมและสามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานประมาณ 8 เดือน
ส่วนตัวเมียมีหน้าที่วางไข่และ  ดูแลตัวอ่อน ตัวเมียจะเริ่มปั้นลูกเบ้าจากมูลควายและวางไข่
ใส่ในลูกเบ้าลูกละ 1 ฟอง หลังจากนั้นจะปั้นลูกเบ้าพอกใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นอาหารของตัวอ่อน
ใช้ในการเจริญเติบโตอยู่ในลูกเบ้าและพอกปิดทับด้วยดินทราย ในธรรมชาติสามารถขุดพบ
ลูกเบ้ากุดจี่อยู่ในโพรงมีจำนวน 5, 7, 9 และ 11 ลูกต่อโพรง  


ในแง่วิถีชีวิตอีสาน

กุดจี่เบ้า หรือ จุดจี่เบ้า ช่วงเดือน พฤศจิกา – กุมภาพันธ์  เด็กน้อยอีสานสมัยก่อน ตอนเช้าๆ
จะถือเสียม สะพายกะต่า หรือหิ้วคุ เดินตามท่งนา เลาะตีนบ้าน หรือ เลาะไปตาม เดิ่นนาดินทราย
หัวป่า เนินทรายเพื่อเสาะหา ขวยจุดจี่  ส่วนมาก หาตามกองขี้ วัวขี้ควาย  เพื่อขุดจุดจี่  ส่วนมากสิได้
กุดจี่คุ่ม  กดจี่หวาย กุดจี่แดง  ต่างเลาะหาแมลงเหล่านี้มาเป็นอาหาร  ส่วนกุดจี่เป้า หากเจอ
ถือว่าเป็นโชค ดีใจจนเนื้อเต้น เนื่องจากหากยาก มักทำรัง หรือ ทำขวย หลบสายตา  
พบส่วนมาก ตามหัวป่า หัวบะ เดิ่นนาดินทราย

บางขวย ก็เป็น ขวยฮ้างต้องอาศัย ช่างสังเกต  การขุดก็ไม่ง่าย เพราะค่อนข้างอยู่ลึก
บางขวย ลึกเป็นวา  ทั้งนี้การขุดต้องหารู หรือ”แปว” มันให้พบ ขุดไม่ดี ดินถม “ แปว”
หาไม่เจอ เรียกว่า “ แปวตัน “
การได้ กุดจี่เบ้า ขวยเดียว ก็พอแล้ว เพราะ อย่างน้อยก็  5 ลูกขึ้นไป  โชคดีก็ได้  11 ลูก  แบกกลับบ้าน
หัวร่อเอิกอาก อารมณ์ดี  ส่วนมาก เบ้า จะมีจำนวนคี่ ไม่พบเป้าในขวยเดียวกัน จำนวนคู่
อันนี้ ผู้ตั้งกระทู้ไม่ทราบสาเหตุ  รวมทั้งยังไม่มีการวิจัย “ ทำไมเบ้าถึงมีคี่ “
การขุดเบ้าต้องไปขุด 2  คนขึ้นไป เพราะคนหนึ่ง เป็นคนขุด คนหนึ่งเป็นคน “ขวัก” หรือ โกยดิน

จากสาเหตุเบ้ามีจำนวนคี่  จึงต้องแบ่งปันกัน ระหว่าง  2 คน เช่น คนขุด มักจะได้มากกว่า “คนขวัก”
ซึ่งต้องมีอีกคนเสียสละ นั่นจึงเป็น สมการแห่งการเรียนรู้การแบ่งปัน ของลูกอีสานโดยแท้
เมื่อเด็กได้ทำกิจกรรมกลางแจ้งด้วยกัน ที่สำคัญได้เหนื่อยยากร่วมกัน แบ่งปันกัน ย่อมมีความผูกพัน
แม้เบาบางแต่ ค่อยๆ ซึมซับเข้าในหัวใจ ที่ธรรมชาติเป็นผู้สอน  

ในแง่ความเกี่ยวพันทางลึก

จะเห็นได้ว่าวงจรชีวิตของแมงกุดจี่ กับควาย กับ วัว ชาวบ้าน มีความเชื่อมโยงกัน ถ้าขาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไป
จะทำให้ขาดความสมดุล เช่น ในปัจจุบัน จำนวนควายลดลง ส่งผลให้แมงกุดจี่หายากขึ้นและลดจำนวนลง เพราะขยายพันธุ์ได้น้อยลง และหากไม่มีแมงกุดจี่คอยกินมูล ก็จะส่งผลให้เกิด ความไม่สมดุล  ทางนิเวศน์
หน้าดิน ขาดความอุดม วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง  เมื่อใดที่ ชาวนาขาด วัวควาย พื้นดินขาดแมงกุดจี่
นั่นย่อมหมายถึงผืนดิน ที่ใช้ปลูกข้าวในอีสาน ขาดแร่ธาตุอันเป็นประโยชน์ ในการเติบโตของพืช
จำต้องพึ่งสารเคมีสูงขึ้น ทุกปี   ต้นทุนสูงขึ้น ทำนาด้วยความยากลำบาก


สถานการณ์ปัจจุบัน

กุดจี่เบ้า หายากยิ่งขึ้น ยังคงมากมีตาม จังหวัดที่ยังรักษา วิถีชาวนาอีสานไว้อย่างแน่นแฟ้น
ยังมี วัวควายจำนวนมากในพื้นที่ เช่น บุรีรัมย์( บางอำเภอ)  ศรีษะเกษ   อุบล ฯ
มุกดาหาร  อุดร ขอนแก่นตอนบน และ หนองบัวลำภู

กุดจี่เบ้าเข้าขั้น วิกฤต ใกล้สูญพันธ์จากพื้นที่ ได้แก่ สุรินทร์ ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม สกลนคร หนองคาย
เด็กน้อยอีสานบางคน สมัยนี้  ไม่เคยไปขุด กุดจี่เบ้า หรือ รู้จักกุดจี่เบ้า  ซึ่งน่าเศร้าในแนวลึกวิถีอีสาน

แมลงที่เป็นอัตลักษณ์ เชิงจิตวิญญาณลูกอีสาน ผู้เป็นราชาแมลงแห่งท้องทุ่ง กำลังสูญหาย
เข้าสู่ยุค
  ESANIEA
ขอบคุณข้อมูลบางส่วน จาก
www.junjaowka.com   www.krusmart.com   ww.gotoknow.org/

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1300 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 12:26:33  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  จารย์ใหญ่    คห.ที่1)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : มุกดาหาร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 13 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,168
ให้สาธุการ : 3,230
รับสาธุการ : 9,881,800
รวม: 9,885,030 สาธุการ

 

จ๊วดด ให้ท่านฤาษีหลายๆ
บ่แหม่นแต่เด็กน้อยสู่มื้อนี้ที่บ่รู้ว่า เบ้าเป็นจั่งใด๋ เซียนบางคนอยู่นี้บางคนกะบ่ฮู้คือกัน

ว่าต่อไป เว้าเรื่องแมงขะนูน แมงตับเต่า แมงบ้ง บ่ต้องเว้าเด้อ มีคนย้าน....    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 794 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 12:35:05  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่2) แมงจินูน  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,600
รวม: 5,444,780 สาธุการ

 



ชื่อ แมงกินูน ( ราชินีแห่งท่งตีนบ้าน )

ชื่อสามัญ scarab beetlc
ชื่อวิทยาศาสตร์ Holotricheasp.
Order colcoptera
FAMILY Searabaeidae

ลักษณะ

แมงกินูนเป็นแมลงปีกแข็งขนาดกลางรูปร่างป้อมหนวดเป็นรูปใบไม้มีขนปกคลุมเล็กน้อย ส่วนหัว อก ขา มีสีน้ำตาลเข้ม ปีกสีน้ำตาลอ่อนกว่าไม่ค่อยเป็นมัน ปีกคลุม ส่วนท้องแต่ไม่ถึงท้องปล่องสุดท้าย อกปล้องที่สองมีขนยาวปกคลุม ขนาดลำตัวยาวประมาณ 22-25 มิลลิเมตร

ที่อยู่อาศัย


ขุดรูอยู่ตามดิน ตามรากไม้ รูมีขุย แต่ขุยไม่กลบปากรู ขุยวางรอบ ๆ ปากรู กลางวันจะหลบแดดอยู่ในรู กลางคืนจะออกหากินโดยบินขึ้นไปเกาะกินใบอ่อนของต้นไม้ ชอบกินใบมะขามอ่อน ใบติ้ว ใบส้มเสี้ยว และใบอ่อนต้นไม้อื่น ๆ ทั่วไป

การจับแมงกินูน


ชาวบ้านจะหารูแมงกินูนตามดินตามใต้ต้นไม้ พบแล้วใช้เสียมขุดลักษณะถากตัดขวาง แล้วใช้นิ้วแหย่รูเข้าไปทางปากรูว่าไปทางทิศใดพบตัวก็จะใช้มือจับ

หากล่าในเวลากลางคืน ชาวบ้านจะใช้คบหรือไฟฉาย หรือโคมแบตเตอรี่ ส่องหาตัวแมงกินูนจากนั้นใช้กระป๋อง ขวดน้ำหรือกระบอกไม้ไผ่พันกับปลายไม้ยาว ๆ ไปจ่อที่ตัวแมลง ๆ จะปล่อยตัวลงในกระป๋อง ขวด หรือกระบอกไม้ไผ่ หรือใช้วิธีเขย่าต้นไม้ กิ่งไม้ให้แมงกินูนตกลงมา เพราะมันอิ่มมันจะไปไม่เป็น หรือใช้วิธีเอาเสื่อไปปูใต้ต้นไม้ที่แมงกินูนเกาะอยู่ เขย่ากิ่งไม้แมงกินูนก็จะตกลงมาเราก็เก็บเอาใส่ถังและกระป๋องน้ำที่เตรียมมาด้วย



ความสัมพันธ์กับชุมชน


แมงกินูนนำมาเป็นอาหาร ให้โปรตีนสูง ทำให้ชาวบ้านประหยัดค่าใช้จ่ายในการบริโภคสัตว์อื่น ๆ นอกจากโปรตีนแล้วแมงกินูนยังให้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัสด้วย

การประกอบอาหารบางประเภทจะมีผักพื้นบ้านผสมอยู่ด้วย หลายชนิดซึ่งช่วยเพิ่มสารอาหาร และมีคุณค่าทางสมุนไพร นับเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในการบริโภคและกลวิธีการแสวงหาแมลงมาเป็นอาหารด้วย



ความสำคัญทางเศรษฐกิจ


นำแมงกินูนมาล้างให้สะอาด แล้วนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง เช่น คั่ว ทอด จี่ (ย่างไฟ) ทำป่น (ตำน้ำพริก) ก้อย ลาบ แกงใส่หน่อไม้ ฯลฯ และยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านได้ ขายในราคาขีดละ 10 กว่าบาท กิโลกรัมเป็นร้อย

ประเภทและวิธีการหาแมงจินูนแต่ละอย่างกะสิพอสรุปได้ ดังนี้

1.แมงจินูนแดงน้อย ลักษณะตัวสีแดงขนาดปานกลานไม่ใหญ่มาก ชนิดนี้จะมีปริมาณมาก หาได้โดยการส่องไฟหาตอนกลางคืนใต้ต้นมะขาม ต้นโก มะม่วง เป็นต้น

2. แมงจินูนหม่น หรือ แมงจินูนแดง ชนิดนี้เวลาส่องไฟหาตอนกลางคืนจะเห็นแป้งสีขาวๆปกคลุมตามปีกมันเอาไว้ ทำให้เรามองเห็นเป็นสีเทาๆหม่นๆแต่เมื่อมันไปขุดรูทำรังแป้งบนปีกมันก็จะลบออกทำให้เราเห็นปีกมันมีสีแดง


3.แมงจินูนแดงใหญ่ ชนิดนี้จะมีเป็นบางท้องที่ คือมีลักษณะคล้ายๆกับแมงจินูนแดงหม่นแต่จะตัวโตกว่า

4.แมงจินูนทอง หรือแมงจินูนเหลี่ยม จะมีลักษณะเป็นสีเขียวมรกตแวววานสวยงาม ตัวขนาดกลาง

5.แมงจินูน อื่นๆ เช่น แมงจินูนดำ ตามต้นยอ ต้นคูน แมงจินูนดำน้อย ตามต้นมะขาม หรือแมงจินูนอื่นๆอีกแล้วแต่ แต่ละท้องที่จะมี
แต่ที่เด่นๆคือ จินูนแดง


ความสัมพันธเชิงลึก

เป็นแมลงที่มีบทบาทสำคัญ ในระบบนิเวศ ช่วยให้ผืนดิน ร่วยซุย เป็นอาหารของ
สัตว์เลื้อยคลานประเภทต่างๆ ในระบบนิเวศ รวมทั้งเป็นอาหารของชาวอีสาน
ปัจจุบันยังมีจำนวนมาก เนื่องจาก ออกลูกคราละมาก ตัว กินอาหารใบไม้ได้หลายชนิด

ซึ่งต่างจาก กุดจี่เบ้า ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กินแต่ขี้งัวขี้ควาย ออกลูกคราละไม่เกิน 11 ตัว
เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

แมงจินูน ในแง่ธรรมชาติ สอนคนอีสานให้รู้ว่า  ตราบใดที่ ยังมีต้นไม้พื้นเมือง
ชีวิตคนอีสานย่อมมีหนทางดำเนิน ตามวิถีตน
ข้อควรระวังคือ  แมงจินูน บ่กินใบยาง บ่กินใบยูคา บ่กินใบปาล์ม  บ่กินใบสบู่ดำ บ่กินใบอ้อย

ตามป่าเต็งรัง แมงจินนูนกินใบอ่อนของพืชในป่าประเภทนี้ เกือบทุกชนิด  
เมื่อแมงจินนูน ราชินีแห่งตีนท่ง หายไปจากอีสาน
นั่นคือ เริ่มยุค ESANIA

ปล.คำเตือน

ในการกินคั่วแมงจินูน กะคือ เวลาเฮาเข้าห้องส้วมยามมื่อเช้า เฮาสิล้างส้วมยากจักหน่อย เพราะว่า
ปีกแมงจินูน มันสิบ่ถืกย่อย มันสิฟูอ่องล่อง อยู่ ต้องใช้น้ำราดหลายๆ

วิธีการแก้ไข กะคือ ก่อนกินคั่วแมงจินูน เฮาควร เด็ดปีกมันออก สาก่อน...แล้วกะเคี้ยวให้มันแหลกๆ..

สำหรับผู้ป่วยเป็นริดสีดวงควรงดเว้น กินคั่วแมงจินูน


ขอบคุณข้อมูล บางส่วนจาก
http://animal-of-the-world.blogspot.com/    
www.infoforthai.com

 
 
สาธุการบทความนี้ : 886 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 12:55:16  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่3)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
จักแม่นดีหลาย  ย่าวต่อเลยครับอาจารย์ปีโป้ปิ่น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 13:39:10  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  จารย์ใหญ่    คห.ที่4)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : มุกดาหาร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 13 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,168
ให้สาธุการ : 3,230
รับสาธุการ : 9,881,800
รวม: 9,885,030 สาธุการ

 
ยังมีแมงจินูนใหญ่ตัวแดง ชนิดนี้ขุดรูอยู่ในดิน ตามโคกตามป่า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 14:25:08  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่5)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 6,184,200
รวม: 6,192,345 สาธุการ

 
เป็นบทความที่ดีมีประโยชน์ แท้ๆ

ปีโป้ปิ่น สมเป็นปีโป้ปิ่น เนาะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 14:48:59  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่6) แมงคาม  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,600
รวม: 5,444,780 สาธุการ

 


ชื่อ  แมงคาม   ( อัศวินนักสู้แห่งวสันต์ฤดู )

ชื่อภาษาไทย  ด้วงกว่าง
ชื่อวิทยาศาสตร์
Xylotrupes Gideon Linneaus
อันดับ      Coleoptera
ชื่อวงศ์     Scarabaeidia
ชื่อสามัญ  Scarab beetle

ลักษณะทางกายภาพ


             แมงคาม หรือด้วงกว่างเป็น แมลงปีกแข็ง ตัวค่อนข้างใหญ่ ลักษณะคล้ายด้วงแรดมะพร้าว ลำตัวแข็ง
และนูน สีดำเป็นมัน  รูปร่างรูปไข่  ขามีปล้องเล็กๆ  5  ปล้อง  หนวดเป็นแบบแผ่นใบไม้ มี 3-4  ปล้อง  ปล้องสุดท้ายมีลักษณะคล้ายใบไม้  3-4  แผ่น รวม กันกลายเป็นลูกกลม  จำนวนปล้องหนวดมีทั้งหมด 8 – 11 ปล้อง  และตามผิวมีส่วนที่เป็นหนามใหญ่   ตัวผู้มีเขาใหญ่ยื่นตรงออกมาจากหัว ใช้สำหรับต่อสู้ศัตรู เมื่อพบศัต
ซึ่งมักเป็นแมงคามตัวผู้ด้วยกัน ก็จะเดินเข้าหากันใช้เขาดันกันไปมา ตัวไหนสู้ไม่ได้ก็ถอยไป ถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ตัวอ่อน หรือตัวหนอน สีขาวตัวอ้วน ตัวงอเป็นรูปเหมือนตาขอ  

แหล่งที่พบ


อาศัยอยู่ในดิน  กินมูลของซากพืชหรือซากสัตว์  ตัวหนอนด้วงอาศัยอยู่ในดิน  ระยะแรกก็อยู่ตามเศษซากพืชทับถมในบริเวณที่ร่มที่มีความชื้นสูง  ระยะถัดมาขุดดินฝังตัวอยู่ลึกประมาณ  7.5 – 15.0 เซนติเมตร  ระยะหนอนด้วงใช้เวลาประมาณ  58 – 95 วัน  มี 3 ระยะ  คือ  ระยะก่อนเข้าดักแด้  3 – 6  วัน  แล้วจึงลอกคราบเปลี่ยนเป็นดักแด้ ซึ่งในระยะนี้ใช้เวลา 11 – 14  วัน  ต่อมาก็ออกเป็นตัวเต็มวัย  ออกหากินในเวลาตั้งพลบค่ำเป็นต้นไป
และพบมากในเวลากลางคืน  ส่วนในเวลากลางวันก็หลบซ่อนตัวอยู่ในดินมากกว่าที่อื่น  ระยะตัวเต็มวัยเพศผู้และเพศเมียประมาณ 18 และ 28 วัน  ตามลำดับ
มักอยู่ตามต้นคาม ( ต้นคราม )  ต้นถ่อน และต้นไม้หลายชนิด ในป่าเบญจพรรณ


ภาพต้นคาม ( ต้นคราม) ที่มาของชื่อ เจ้าอัศวินแห่งวสันต์ฤดู


ที่มาของชื่อ แมงคาม
เนื่องจากพบมาก ตาม “ต้นคาม” หรือ ต้นคราม ที่ คนอีสานสมัยเก่า
ปลูกเป็นสวน หรือ พื้นที่ว่างเปล่าปลูกไว้เพื่อ นำมาหมัก “คาม” ( ออกเสียงสำเนียงอีสาน )  
หมักในหม้อดิน เมื่อได้ที่ก็ นำมาย้อมผ้า
ซึ่งสมัยนั้น คือ ผ้าฝ้าย ที่ทอด้วยมือนั่นเอง เพื่อให้ผ้ามีสีสัน  และคงทน
แมลงชนิดนี้ จึงได้ชื่อตาม ต้นคาม   ต้นไม้ที่มันโปรดปราน นั่นเอง


ภาพการ " ย้อมคราม " ในอดีต



ประโยชน์และความสำคัญ


ส่วน มากชาวบ้านนิยมนำด้วงกว่างมารับประทานโดยการจี่  ให้ด้วงกว่างมีความกรอบ  
แล้วนำมารับประทานกับข้าวเหนียว  จ้ำแจ่วปลาแดก  และสามารถนำมา
“ ซนกัน “ เป็นกีฬาพื้นบ้านชนิดหนึ่ง

การเสาะแมงคาม


เมื่อฤดูการชนแมงคามของชาวชนบททางภาคอีสานมาถึง ซึ่งเป็นเวลาที่ทุกคนเริ่มว่างจาก
การทำไร่ทำนา เพียงรอให้ผลผลิตของตนสุกงอมและเก็บเกี่ยว ประจวบกับเป็นช่วงที่แมงคาม
เติบโตเข้าสู่ตัวเต็มวัยและขึ้นจากดิน เที่ยวบินหากินและผสมพันธุ์ อาหารของว่างมียอดพืชผัก
ยอดหน่อไม้ และกล้วยต่าง ๆ  ในอดีตเด็กน้อยในหมู่บ้าน ที่ชื่นชอบการชนกว่างทั้งหลาย
มักจะจับกลุ่มออก “หาแมงคาม” ตัวเก่งด้วยตนเอง  ตามสุมทุมพุ่ม ไม้หรือป่าของหมู่บ้าน
หรือตามที่ต่างๆ เช่น วัดร้างที่มีต้นไม้เครือเถาขึ้นปกคลุมตามต้นถ่อน ที่มีมากที่สุด เห็นจะเป็น
“ ป่าสวนคาม “  ที่ปู่ย่า ปลูกไว้ เพื่อนำมาหมักเป็น สีย้อมผ้าฝ้าย
ต้องไปหาในเวลาเช้า เมื่อพบจะใช้ไม้แหย่ไปที่ตัวกว่างหรือเขย่ากิ่งไม้ กว่างจะทิ้งตัวลงดิน
หรือพื้นหญ้าและจะอำพรางตัว ตามสัญชาติญาณของมัน ทำให้สามารถจับกว่างได้ไม่ยากนัก

บางครั้งจะใช้การดักจับ ที่เรียกว่า “การล่อ” โดยใช้ “
แมงคามตัวเมีย”  ที่มีขนาดเล็ก เขาสั้นผูกด้วยเชือกฝ้ายเส้นเล็กโยงกับไม้ขอที่เสียบไว้กับ
ส่วนบนท่อนอ้อยที่ปอกเปลือกแล้ว หรืออาจดักด้วย “กล้วยทะนีออง”
หรือ อ้อย ในกะลาหรือ” กะโป๋ะ” ผูกแมงคามตัวเมียไว้ข้างใน

พอพลบค่ำ จึงนำไปแขวนไว้กับกิ่งไม้ในที่ที่คาดว่าจะมีแมงคามอยู่
เช่น “ต้นคาม”  ช่วงกลางคืน แมงคามตัวเมียจะบินทำให้มีเสียงดัง
ประกอบกับมีอ้อยหรือกล้วยที่เป็นอาหารที่โปรดล่ออยู่  จึงดึงดูดให้ตัวอื่นๆที่บินอยู่
ในบริเวณนั้นเข้ามาหา  แมงคามก็เป็นเช่นเดียวกับแมลงที่หากิน
กลางคืนหลายชนิด ที่โดยธรรมชาติของมันมามาถึงแหล่งอาหารก็มักจะอยู่บริเวณนั้นจนฟ้า
สาง
  ดังนั้น ผู้ที่วางกับดัก จึงสามารถจับมันได้ง่าย  อย่างไรก็ตาม ผู้ที่หลงใหลในแมงคาม  มักจะเฝ้ากันทั้งคืน เพื่อหวังจะได้แมงคามตัวสวย ๆ ก่อนที่มันจะบินไปที่อื่น
ปัจจุบันการ “ ปลูกสวนคาม “ หรือ ย้อมคราม อาจสูญหายไปแล้ว เนื่องจากโลกเจริญขึ้น เด็กน้อยอีสานบางคน
ไม่รู้จักต้นคามเสียด้วยซ้ำ  กลิ่นอายแห่งภาพในบรรยากาศเก่าๆ ที่เป็นเสน่ห์แห่งชนบทบ้านนอก ค่อยๆจางหายไป    
          



เลี้ยงดูฟูมฟัก

เมื่อได้แมงคามตัวเก่งมาแล้ว ผู้เลี้ยงก็มักจะหาอาหารการกิน มาบำรุง เช่น น้ำอ้อยคั้นสดมาให้กว่างกินเสริมจากอ้อยท่อนที่ผูกกว่างไว้
ส่วนผู้ที่รักการ “ เอาแมงคามซนกัน “ จะทำการฝึกซ้อมให้ อัศวินของตัวเองมีความอดทน เช่น ซ้อมบิน  
ว่ายน้ำ เพื่อฝึกกำลัง หรือเดินบนพื้นทรายร่อนละเอียดเพื่อให้เล็บกว่างคมแข็งแรงเวลาชนจะเกาะ “คอน” ได้แน่นขึ้น  เป็นต้น
และที่จะขาดไม่ได้คือการฝึกฝนทักษะการต่อสู้ ตามวิธีการต่างๆที่ได้รับการบอกกล่าวมา หรือตามที่ตัวเองเชื่อว่าจะทำให้
แมงคามของตนเก่งเป็นผู้ชนะตลอดกาล  เช่น ใช้”ไม้ผั่น” สอดระหว่างเขาทั้งคู่แล้วปั่น ซ้ายบ้าง ขวาบ้าง เพื่อฝึกปฏิกิริยาในการต่อสู้บางครั้งก็ใช้ กว่างตัวอื่นๆ ที่มีกำลังด้อยกว่าเป็นคู่ซ้อม ให้เกิดความฮึกเหิม


สู้เพื่อนาง


ผู้เลี้ยงแมงคาม  เมื่อได้ฟูมฟักเลี้ยงจนเป็นอัศวินที่  สมบูรณ์  มีความแข็งแรง ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดีแล้ว
จะชักชวนเพื่อนเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย หามุมสบายของตัวเองตามหมู่บ้าน ใต้ถุนบ้าน ไม่จำกัดสถานที่ เพื่อนำมาประกวด
หรืออวดกัน  และมักจะสิ้นสุดการ “ ขี้โม้ “ และด้วยการ “ ท้าซน กัน”  
เจ้าของแมงคาม ที่อย่างจะประลองความสามารถจะประกบหาคู่แข่งขันกันตามความสมัครใจ
โดยนิสัยผู้ชายทั่วๆไปที่มักจะรับไม่ได้กับความพ่ายแพ้  จึงพยายามสรรหาวิธีให้แมงคาม
ของตัวเองอยู่ได้เปรียบเสมอ เช่น ใช้ยาหม่องทาที่”ไม้ผั่น” และไปปั่น แมงคามฝ่ายตรงข้ามตอนเปรียบกว่าง  บางครั้งพบว่าใช้น้ำจากพริกขี้หนู ยาหม่อง ขี้ยาจากอีพ่อใหญ่
หรือพิษของยางคางคก มาป้ายไว้ที่เขาของแมงคามตัวเอง เพื่อให้กว่างฝ่ายตรงข้ามได้กลิ่น หรือถูกตำ จะทำให้แมงคามหมดแรง
หันหนี และแพ้ไปในที่สุด ดังนั้นเมื่อตกลงจะให้กว่างของตนชนกันจริง ๆ แล้ว  เจ้าของกว่างมักจะขอกว่างของฝ่ายตรงกันข้ามมาตรวจดูเสียก่อนว่าไม่มีกลโกง หรืออาจจะต้องเช็ดปลายเขากว่างคู่ต่อสู้หรือเอาน้ำอ้อยบีบรดเขาแมงคาม

ซึ่งถ้าหากมีการเอายาฆ่าแมลงทาไว้ น้ำอ้อยจะล้างไหลเข้าปากกว่างตัวที่ถูกทาไว้ ทำให้
อาจจะถึงตายหรือหมดแรงไปได้  การซนแมงคาม ต้องทำคอนให้มันไต่
เอาตัวเมียไว้ตรงกลางล่อให้มัน หวงตัวเมีย และคอยเอาไม้ฟั่น ปั่นท้องแมงคามเพื่อให้มันฉุน
เร่งเข้าฟาดฟันกัน
บางรายเขาหัก  ตกคอน  ส่วนมากเมื่อแพ้ มันมักจะถอยหนี ไม่มีการสู้กันถึงตาย


กีฬาประเพณีพื้นบ้านกับวิถีชีวิต


จากวิถีชีวิตพื้นบ้านเพื่อการพักผ่อน ของนักนิยม ซนแมงคาม เริ่มจากชักชวนเพื่อนบ้านหามุมสบาย
ของตัวเองอย่างไม่จำกัดสถานที่ ร่วมกับการซนเพื่อประลองกำลัง  ซึ่งมักหนีไม่พ้นกับ
การพนันขันต่อเล็กๆน้อยๆ ตามวิถีชีวิตของหมู่ชายชาวชนบท  
สร้างความสนุกสนานลืมความทุกข์ยาก จากการงานได้เป็นครั้งคราว


วิถีชีวิตชุมชน ธรรมชาติ และ การคงอยู่ของแมงคาม


ในมุมมองของคนท้องถิ่นแล้ว “การซนแมงคาม” เป็นการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตชุมชน
เข้ากับความเป็นธรรมชาติ การต่อสู้แย่งชิงตัวเมียของสัตว์เป็นหนึ่งในวิธีการที่ธรรมชาติ
เลือกใช้  “ตัวผู้ที่เก่งและ แข็งแรงที่สุด” จะเป็นผู้ที่มีโอกาสสืบต่อพันธุ์มากกว่าตัวผู้ที่
อ่อนแอ ทั้งนี้เพื่อการดำรงคงอยู่ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ  กรณีการชนกันของแมงคามตัวผู้ก็เช่นกัน
แทบไม่เคยพบว่ามันชนกันถึงบาดเจ็บและตาย ไม่เหมือนการชนไก่ หรือชนวัว  เนื่องจาก
การแพ้ชนะของแมงคาม คือตัวที่สู้ไม่ได้จะถอยหนีไปเอง “มันรู้จักแพ้”


จากนั้นเจ้าของแมงคาม มักจะปล่อยแมงคาม โดยเฉพาะตัวที่มีลักษณะดี แข็งแรง ซึ่งมักจะ
เป็นกว่างตัวตัวโปรดกลับคืนสู่ธรรมชาติในที่ที่เหมาะสม ให้มันมีโอกาสผสมพันธุ์และ
แพร่ขยายดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ที่ดีต่อไป

ปัจจุบันการปลูกสวนคาม เพื่อย้อมผ้า เหลือน้อยเต็มที มีเพียงบางพื้นที่ ที่อนุรักษ์ภูมิปัญญา
แบบเก่าไว้  
แมงคามจึงเหลือน้อย แต่แมงคาม ก็ปรับตัว กินพืชได้หลายชนิดเพื่อความอยู่รอด  แม้ว่าทางภาคอีสาน
การซนแมงคามจะมีให้เห็นน้อยนักแต่ทางภาคเหนือกลับ ยังมีให้เห็นได้ชม ถึงขนาดเป็น
“ บ่อน “ โดยถูกกฎหมาย  แมงคามตัวเก่งๆ ราคา เป็นหมื่น

วิถีแมงคาม เปลี่ยนไป วิถีสังคมก็เปลี่ยนแปลง แต่ วิถีแห่งการต่อสู้ของมันยังคงอยู่  เฉกเช่นมนุษย์ ผู้ยังคงดิ้นรนในกาลสมัย


ขอบคุณภาพ และ ข้อมูล ส่วนหนึ่ง จากอินเตอร์เน็ต ( กระผมลืม URL )

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1024 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 16:41:10  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่7)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
แมงคาบ้านผมสามารถพบได้ตามกกแก และกกหางนกยูงครับ

บ่ฮุ้ว่าบ้านอื่นพ้อได้อยู่กกหยัง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 825 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 17:54:13  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่8)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 6,184,200
รวม: 6,192,345 สาธุการ

 
แมงคาม แถวบ้านผม พบได้ตาม ต้นหางนกยูง กับ ต้นอาลาง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 18:32:50  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่9) แมงข้าวสาร  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,600
รวม: 5,444,780 สาธุการ

 

ชื่อ  แมงข้าวสาร ( ยามเผ้าตรวจแห่งผืนน้ำ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cybister limbatus   Fabricius
อันดับ         Coleoptera
ชื่อวงศ์        Dytistidae
ชื่อสามัญ  True water beetle และ Predaceous diving beetle
ชื่ออื่น  แมงข้าวสาร
ประเภทสัตว์  แมลง , สัตว์น้ำ

ลักษณะทางกายภาพ

             แมลงขนาดเล็กลำตัวป้อมเท่าเม็ดข้าวสาร มีสีเทาสลับดำ  แมลงปีกแข็งขนาดเล็กอยู่ในน้ำจับได้โดยใช้สวิงช้อน ชอบบินมาเล่นแสงไฟเวลากลางคืน นำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น คั่ว ทอด แกงใส่หน่อไม้ส้ม  หมก หรือตำเป็นน้ำพริก ขนาดโตเต็มวัยมีขนาดเท่ากับเล็บหัวนิ้วโป้ ( เล็บหัวแม่มือ ) มีเส้นสีเหลืองรอบๆ ลำตัว

แหล่งที่พบ


             ด้วงน้ำมักอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่ง บางครั้งสามารถพบได้ในน้ำหลาก แต่พบไม่มากนัก เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง นาข้าว แม่น้ำลำธารทั่วๆ ไป อาศัยตามหัวหญ้า  แพจอก แพแหน  ริมหนองน้ำ  ไม่ชอบอยู่น้ำลึก
บางคนแยกไม่ออก ระหว่าง แมงตับเต่า  กับ แมงข้าวสาร   จริงๆ แล้ว
เป็น แมลงใน สปีชีย์ เดียวกัน  ข้อสังเกตคือ
แมงข้าวสาร มีขอบเส้นสีเหลืองรอบลำตัว ขนาดเล็กกว่าแมงตับเต่า  และ ไม่มีหนอกแหลมที่ใต้ท้อง
เหมือนแมงตับเต่าลำตัวเรียวบางกว่า ไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนแมงตับเต่า

ประโยชน์และความสำคัญ


            ชาวบ้านนิยมนำแมงข้าวสาร มาแกงใส่รวมกับแมลงกินได้ที่อาศัยอยู่ในน้ำชนิดอื่นๆ เช่น แมงหน้างำ
แมงเหนี่ยว แมงก้องแขน  แมงตับเต่า  แกงใส่ผักอีตู่ อาจจะใส่หน่อไม้ส้ม ( หน่อไม้ดอง )
หรือ อุ  ใส่ผักอีตู่    หรือ หมกใส่ใบตอง รวมกับแมลงที่กล่าวมา  แซบอีหลี

การหาเอาแมงข้าวสาร
ช่วงเดือน พฤศจิกายน  - กุมภาพันธ์  น้ำแห้งขอด  ชาวอีสาน มักไปหา “ส่อน” โดยใช้ “เขิง”  หรือ ใช้วิธี
“ ล่องแหย่ง “ หรือ ลาก “ดางเขียว”  ตาม ห้วยหนองคลอง บึงที่น้ำน้ำเหลือน้อย  ซึ่งมักจะมี แมงอันนี้ติดมาด้วย
หากเป็นฤดู น้ำหลาก จะใช้วิธี “ ตึกสะดุ้ง” หรือ “ยกยอ” เพื่อหาเอาแมลงชนิดนี้
วงจรชีวิต และ ความสัมพันธ์ในระบบนิเวศ
ไม่มีการศึกษา วิจัย อันเป็น องค์ความรู้ เนื่องจาก บัณฑิต ในปัจจุบัน  จบสาขากฎหมาย เยอะที่สุด  ต่างมุ่งเน้น บัญญัติ
กฎให้คนอื่นทำตาม  หาได้สนใจกฎแห่งธรรมชาติไม่  จึงเป็นการมุ่งความสนใจไปที่กฎหมายและกฎหมู่  ฟาดฟันกัน
ดังเห็นได้จาก บ้านเมืองเฮา ในยุคเริ่มก้าว สู่  ESANIA  

อย่างไรก็ตาม ก็มีการศึกษา เกี่ยวกับเรื่องราวของ แมลงชนิดนี้ อยู่บ้าง แต่เป็นเพียง ข้อมูลเชิงระนาบ
มิได้เป็นฐานข้อมูล อันจะเป็น แบบแผน เพื่อพัฒนาการดำรงชีวิต ให้สอดคล้องกับ
วิถีห้วยหนอง คลองบึงเท่าใดนัก
การพัฒนาแหล่งน้ำ ตามที่เพิ่นเข้าใจกัน ก็ คือ จกให้ลึก  ขอบให้แปน  กักน้ำได้นาน
ไม่มีอะไรอาศัยอยู่ในนั้นก็ช่าง  นอกจากปลาซิว ( ขอให้บริหารงบก็พอ )

   ระบบนิเวศ จึงเป็นองค์ความรู้ เฉกเช่นแมลง  เล็กน้อยไม่น่าสนใจ แต่ ครอบครองโลกใบนี้อยู่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1045 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ก.ย. 2553 เวลา 19:14:55  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)