ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2567:: อ่านผญา 
กาบ่มักท่าน้ำสมุทรหลวงกะบ่ว่า กาบ่มักท่าน้ำกะตามถ่อนช่างกา แปลว่า กาไม่ชอบท่าน้ำมหาสมุทรก็ช่าง จะไม่ชอบท่าน้ำใดๆ เลย ก็ช่างกา หมายถึง ต่างคน ย่อมต่างจิตต่างใจ ไม่ควรบังคับข่มเหง


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117 118 119 120 121 122 123 124 125 126 127 128 129 130 131 132 133 134 135 136 137 138 139 140 141 142 143 144 145 146 147 148 149 150 151 152 153 154 155 156 157 158 159 160 161 162 163 164 165 166 167 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
นิยายชีวิตอีสาน เรื่อง โสกฮัง - ตาดไฮ ( โดย บ่าวปิ่นลม พรหมจรรย์ ) (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ปิ่นลม    คห.ที่985)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 4,969,640
รวม: 4,969,820 สาธุการ

 


ขอบคุณเจ้าของภาพ

ดอกกระดังงา ( พันธุ์สีเหลือง )
อันนี้ นิยมปลูกตาม รั้วบ้าน หรือ รั้ววัดครับ
ส่วนมาจะปลูกตามข้างทาง เวลาสิไปวัด บ่มีดอกไม้
ก็เด็ดเอาใบ ต้นไม้ชนิดนี้แทนโลด
อนึ่ง ใช้ใบกระดังงา ในการ แต่งขันธ์ 5 ประกอบพิธีทางศาสนา

แทบจะบอกได้ว่า เป็นต้นไม้ คู่บ้านคู่เฮือน ของชาวอีสานครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 571 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 14:07:34  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่986) ตอน บุญข้าวสาก ( 2 )  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 4,969,640
รวม: 4,969,820 สาธุการ

 


ขอบคุณเจ้าของภาพ ครับ

แสงแดดยามเช้าส่องลอด ใบพร้าว และยอดต้นหมาก  ควันไฟจากการหุงหาอาหาร โรยเป็นสายต่ำ
แสงอุเทนกระทบ ทำให้เห็นเลาลำแสงแดด เป็นเส้นตรงยาวๆ ทอทอดคำนับผืนดิน เสียงฮ้องถามกัน
ของชาวบ้านผู้เฮือนใกล้  ดังได้ยินเป็นระยะ เสียงเตรียมถ้วยชาม เตรียมบ่วง( ช้อน )  ดังจากคิงไฟ
ปลุกวิถีของหมู่บ้านห้วยแฝกให้ ครึกครื้นขึ้นอีกครา


เช้านี้เป็นมื้อทำบุญถวาย ข้าวสาก หรือถวาย ฉลากภัตร ชาวบ้านทุกครัวเฮือนตามตระเตรียมข้าวของ
เรียบร้อย ต่างหาเสื้อผ้าชุดงามๆ ของตน นุ่งห่ม  พ่อใหญ่ค้ำนุ่งเสื้อผ้าฝ้ายสีขาว  และนุ่งผ้าสะโหร่ง
ผ้าขาวม้าผูกแอว หวีผมเป้ย ทาน้ำมัน มะกอก   จันแรมได้นุ่งซิ่นผืนใหม่ และเสื้อย้อมครามตัวใหม่
หากไม่ใช่ วันทำบุญตามประเพณี หรือวันสำคัญจริง ๆ แล้ว เสื้อผ้าชุดนี้จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี
ไม่ได้เอามานุ่งใส่เล่น เรียกได้ว่า เสื้อผ้าชุดนี้เป็น “ ชุดเอาบุญ”

    ส่วนสาวจันเพ็ญ แต่งชุดงาม ซิ่นผ้าไหมมัดหมี่  ตีนซิ่น ทอปักลายสตางค์ สีชมพู  ส่วนเสื้อเป็น
ผ้าไหมย้อมสีน้ำเงิน เสื้อตัดเข้ารูป ด้วยผ้าไหมเช่นเดียวกัน ผ้าพาดบ่า เป็นด้ายพรม ที่จันเพ็ญถักเอาด้วยมือ
เป็นลายประดิษฐ์  มวยผมมัดเกล้า เสียบแซมด้วยดอกพุดสีขาว  จันแรมมองเบิ่งเอื้อยแล้ว อิจฉาในความงาม
พลางวาดฝัน จะมีโอกาสใส่ชุดงามแบบนี้

เสียงพระถั่งโปง ดังมา ทั้งเสียงเอิ้นกันลงวัดแว่วมาตามริมทางในหมู่บ้าน ดูดั่งทุกครัวเรือน
กระวีกระวาดในการทำบุญเป็นแม่นมั่น    เสียงแม่เฒ่าเฮือนใกล้ เอิ้นให้หลานหยิบเอากระเช้าหมากพลู
ทั้งเสียงเอิ้นสั่งลูกอย่าลืม เงิกหัวคันได ย้านไก่ ย้านหมา ลักขึ้นเฮือนซอกค้นแนวกิน
“ แล้วละๆไป๋ อีหล่า  มา ๆ ยกพาโตกห่อข้าวสากมา พระถั่งโปงแล้ว “
พ่อใหญ่ค้ำเร่งให้ลูกสาวเตรียมของ เพราะเห็นว่าได้เวลาแล้ว
“ เอื้อย มาให้ข่อถือข่อข้าวสากซ่อย “  จันแรมอาสา
“ เอาห่อน้อยไปถือ ซุมหมู่นี้พ่อเลาถือใส่พาโตกไปดอก”
จันเพ็ญแบ่งห่อข้าวสากห่อน้อย ของจันแรมให้น้องถือ ส่วนที่เหลือยกใส่พาโตกให้พ่อใหญ่ค้ำ
ส่วนกระซ่า ( ตระกร้า ) อาหารของคาวหวาน จันเพ็ญเป็นคนหิ้ว เมื่อทุกอย่างตระเตรียมแล้ว
ทุกคนก็บ่ายหน้าไปตามถนน ไปสู่วัดอันเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน

หอแจก หรือ ศาลาโรงธรรม ทำด้วยไม้ทั้งหลัง ยกใต้ถุนสูงพอลอดได้  สร้างขึ้นคล้ายๆ บ้านทรงปั้นหยา
แต่ไม่ได้แอ้มฝา มีเพียงพนักกั้นรอบด้าน ยกเว้น ด้านหัวหอแจก ด้านองค์พระประธานตั้งอยู่ และพระสงฆ์
นั่งฉันภัตาหาร  ฝั่งนั้นแอ้มไม้แป้น มองจากน้าประตูโขงจะเห็นตั้งอยู่กลางเดิ่นวัด มีกกต้อง และกกม่วงแก้ว
ขนาบข้าง  แลน่าเลื่อมใสนักแล


ถัดไปทางตะเว็นตก มีโบสถ์น้อย ก่ออิฐถือปูนหลังเก่าๆ   มีร่องรอยการแตกร้าว ให้เห็นอิฐแดง ตัดกับสีขาว
ของปูนขาวที่ฉาบผนัง บ่งบอกถึงผ่านกาลเวลามานานโข  รั้ววัดเป็นเสาไม้เจาะรู สามรู เอาเหล็กแท่งกลม
คล้ายท่อแป๊บ สอดลอดรู ทำเป็นราวรั้ว  สามราว เสาเรียงรายตามความยาวของเหล็ก ห่างกันไม่เกิน 5 เมตร
จุดประสงค์มิได้มีไว้ป้องกันคน เพียงป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ,ควาย เข้ามาระราน วุ่นวายในเขตธรณีสงฆ์
ริมรั้วด้านในมีเจดีย์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ธาตุ”  เป็นที่บรรจุกระดูกเปตชน เรียงรายกันตามแนวรั้ววัด
ต้นดอกกระดังงา และต้นจำปาที่ปลูกไว้ประดับ “ ธาตุ”  มองดูเป็นซุ้มไม้ดอก สวยงาม

บรรยากาศเทิงหอแจก จอแจไปด้วยผู้คน เสียงโสกันอลอึง  ต่างแต่งตัวประดับประดางดงาม
ด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่  มองดูดั่งเทวบุตร เทวธิดากำลังชุมนุมกัน   ทั้งสามล้างเท้าก่อนขึ้นบันไดหอแจก
แล้วก็ก้าวขึ้นศาลาโรงธรรมด้วยสีหน้าอิ่มเอิบ
“  คืองามแท้น้อ.มื้อนี่.ผู้สาวเอ้ย..”

เสียงเอิ้นแซวมาของ อ้ายต้าง บรรดาแหล่ง ผู้ติดสอยห้อยตาม มองมาทางสาวจันเพ็ญ ตาเป็นมัน
“ งามสุมื้ออยู่แล้ว  บ่งามแต่มื้อนี้ดอก เอื้อยข่อย “
จันแรมตอบคำก่อนเอื้อย พร้อมเบ้ปากใส่  พลพรรคอ้ายต้างรถจก
พ่อใหญ่ค้ำเดินถือพาโตกห่อข้าวสาก เลยไปทางด้านหน้า พระประธาน  ส่วนจันเพ็ญกับน้องเลือกหาหม่องนั่ง
ใกล้กับพวกแม่ออก (อุบาสิกา ) ตรงกลาง ๆ ศาลา    โดยมากแล้วด้านหน้าใกล้ๆกับพระสงฆ์องค์เณร
จะเป็นที่ของพวกพ่อออก ( อุบาสก )  และคนเฒ่าคนแก่นั่งกัน ส่วนพวกซุมผู้บ่าว ผู้สาว สินั่งทางด้านท้าย
เพราะจะได้ สิ่งตาน้อยใส่กันได้  ส่วนพวกเมาๆ แน ก็จะนั่งท้ายสุดใกล้บันไดทางขึ้น หลอยลงได้ง่าย

“  เอ๋า..บาดนี่  ให้พากันเซาโสกันเด้อ ได้เวลา ไหว้พระรับศีล แล้ว “
เสียงพ่อใหญ่จารย์บุญผู้เป็น มกทายกวัด  ( ทางอีสานเรียก สาระวัด ) บอกเตือนคนในศาลา ทำให้
ทุกคนเงียบเสียงลง  
“  เอ้ากราบ .....”
เสียงพ่อใหญ่จารย์บุญ ให้สัญญาณ พร้อมใจกันกราบพระโดยพร้อมเพรียง  เมื่อกราบครบ  3 ทีแล้ว
ก็ ว่าบทไหว้พระต่อไป
“ อิมินา สะกาเรนะ  ตังพุทธัง อภิปูชะยามะ  กราบ “

ระว่างที่ทุกคนกราบ บ่าวเซียงน้อย เฮ็ดพิติ กราบช้ากว่าคนอื่น เพื่อมองหาสาวจันเพ็ญ เมื่อเห็นแล้วก็ยิ้มใส่
จันเพ็ญเหลือบไปเห็น ก็หลับตาซังใส่ บ่าวเซียงน้อย

เมื่อไหว้พระรับศีลเสร็จ ก็เป็นการใส่บาตรพระ  ซึ่งชาวบ้านพากัน ปูผ้ากลางศาลา เอาบาตรพระมาตั้งเรียงไว้
หลวงพ่อและพระเณร พากันสวดบทพาหุง ( บทพุทธมงคลชัยคาถา )  ชาวบ้านทั้งหมดก็พากันคุกเข่าเข้าแถว
ใส่บาตรพระ ทั้งข้าวเหนียว ข้าวต้ม ขนม ถวายทาน  เมื่อเสร็จแล้ว พวกผู้ชายก็พากันยกบาตร ไปประเคน
พระสงฆ์องค์เณร
“ เอ๋า เทือนี่  ได้เวลา เขียนฉลากแล้ว ให้พากันเขียนชื่อเจ้าของใส่กระดาษ มวนเป็นลำน้อย ๆ มาไว้ในบาตร
แล้วสิ นิมนต์ ยาคูเพิ่น จับฉลาก ผู้ได๋สิได้สิทธิ์ถวาย ข้าวสาก  ในปีนี้ “
พ่อใหญ่จารย์บุญ กล่าวเสร็จ เสียงจอแจก็เริ่มดังขึ้นอีกหน ต่างฉีกเจี้ย ( กระดาษ )  ปันกัน เพื่อเขียนชื่อตัวเอง
แล้วก็มวน ส่งไปใส่บาตร   แม่ใหญ่ที ผู้เฒ่าอายุร่วม 80 ปี สะกิดจันแรม  
“ อีหล่า  เขียนให้แม่ใหญ่แน “

ว่าพลางเช็ดน้ำหมากที่มุมปาก
“ ชื่อจริงเจ้าว่าจั่งใดหละ แม่ใหญ่ “  จันแรมถาม
“ มีชื่อเดียว นั่นหละ “ ที “   ทอ ทหาร นั่นแหมะ “  
“ เจ้าเขียนบ่เป็น บ้อ “  จันแรมส่อ
“  บ่ เล้ว.!  แม่ใหญ่บ่ได้เฮียนหนังสือ สมัยแต่กี้ บ่มีโรงสอนดอกอีหล่า “  .
เว้าแล้วก็หัวยุ่ม ๆ

เมื่อใส่ชื่อทุกคนในบาตรเสร็จแล้ว  พ่อใหญ่จารย์บุญ ก็ ยกบาตรไปให้ พระเณรจับฉลาก  ตามจำนวน
ของพระเณรในวัด  รวมแล้วนับได้  7 รูป พอดี  พระ  3   เณร  4  
” เอ๋าเด้อ บาดนี่  ไผสิมีวาสนาดี ได้ถวายข้าวสาก ปีนี้  เพิ่นว่า ปรารถนา สิ่งได๋ กะได้ตามประสงค์ เด้อ
นิมนต์ หลวงพ่อ อ่านเป็นองค์แรก ขะน้อย “
พ่อใหญ่จารย์บุญประกาศเสียงดัง พร้อมนิมนต์หลวงพ่อ อ่านฉลากในมือ
ทุกคนในศาลานิ่งเงียบรอลุ้น ผล  ต่างหัวใจเต้นระทึกตึกตั๊ก
หลวงพ่อค่อย ๆ คลายมวนกระดาษออกอ่าน...ช้า ๆ................
...............
“ ฮ้วย.......หลวงพ่อคืออ่านช้าแถะ..แม่นอ่านลายมือ บ่อออก บ้อ..ขะน้อย”  
ลุงคำผู้ฮ้อนฮน โพล่งขึ้นท่ามกลางความเงียบ
“ เสย ๆ แน บ่เป็น บ้อ..ฮ้วย..เฒ่าอันนี้ “ แม่ใหญ่คอนเมียพ่อใหญ่ค้ำปรามผัว
“  ผู้ที่ได้ถวายฉลากภัตร คนแรก ปีนี้..ได้แก่..............................”

หลวงพ่อสิม พระชรา สิ่งตาเบิ่งตัวหนังสือในฉลากที่จับได้ ทำหน้างงๆ .นิดหนึ่งก่อนอ่านดังๆ
“  แม่ใหญ่ ที..ทอ ทหาร “
สิ้นเสียง หลวงพ่อ ทุกคนในศาลาต่างหัวเราะกันแตกซวด ๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 333 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 14:09:09  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่987)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,206
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 6,596,530
รวม: 6,596,715 สาธุการ

 
ฮิ้ววววววววววววว....

ในที่สุด แม่ใหญ่ที ท ทหาร กะได้ถวายสลากภัตร ข้าวสากเป็นคนแรก
แม่ใหญ่ทีเลาบ่กล้าเขียนเอง สงสัยเลาย้านเขียนแล้วมันสิเป็นเป็น แม่ใหญ่ที ห หีบ    


ช่วงนี้ต้องยกความดีความชอบให้จันแรม ที่มีความรอบคอบเสมอ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 611 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 14:21:40  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่988)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 5,694,070
รวม: 5,702,215 สาธุการ

 
ป้าด... จันแรม คือซงประสาซื่อลังเทื่อแท้หวา  


ขนาดหลวงพ่อ ยังบ่แน่ใจ ว่าเป็น ห หีบ หรือ ท ทหาร 555

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 14:27:31  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่989)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 4,969,640
รวม: 4,969,820 สาธุการ

 

ว่าสิเขียน  ให้หลวงพ่ออ่านว่า แม่ใหญ่  หอหีบ สระ อี อยู่
แต่ว่า  ย้านบาป   กะเลย  ออกมาลาย นี้  
ปานนั้นกะยังมีคน  อ่านสถานการณ์ออก อยู่  ฮิ้วว....

 
 
สาธุการบทความนี้ : 223 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 14:36:09  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่990)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 4,682,310
รวม: 4,685,725 สาธุการ

 
คุณปิ่นลม:
ขอบคุณเจ้าของภาพ

ดอกกระดังงา ( พันธุ์สีเหลือง )
อันนี้ นิยมปลูกตาม รั้วบ้าน หรือ รั้ววัดครับ
ส่วนมาจะปลูกตามข้างทาง เวลาสิไปวัด บ่มีดอกไม้
ก็เด็ดเอาใบ ต้นไม้ชนิดนี้แทนโลด
อนึ่ง ใช้ใบกระดังงา ในการ แต่งขันธ์ 5 ประกอบพิธีทางศาสนา

แทบจะบอกได้ว่า เป็นต้นไม้ คู่บ้านคู่เฮือน ของชาวอีสานครับ


บ้านป้าหน่อยบ่อได้เอิ้นกระดังงา แต่เอิ้นว่าหยัง กะลืมแล้ว
แต่อันกะดังงาสิเป็นต้น ดอกคล้ายๆการเวก คล้ายๆสายหยุด ฮั้นนา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 206 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 14:37:50  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่991)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,206
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 6,596,530
รวม: 6,596,715 สาธุการ

 
คุณป้าหน่อย:
คุณปิ่นลม:
ขอบคุณเจ้าของภาพ

ดอกกระดังงา ( พันธุ์สีเหลือง )
อันนี้ นิยมปลูกตาม รั้วบ้าน หรือ รั้ววัดครับ
ส่วนมาจะปลูกตามข้างทาง เวลาสิไปวัด บ่มีดอกไม้
ก็เด็ดเอาใบ ต้นไม้ชนิดนี้แทนโลด
อนึ่ง ใช้ใบกระดังงา ในการ แต่งขันธ์ 5 ประกอบพิธีทางศาสนา

แทบจะบอกได้ว่า เป็นต้นไม้ คู่บ้านคู่เฮือน ของชาวอีสานครับ


บ้านป้าหน่อยบ่อได้เอิ้นกระดังงา แต่เอิ้นว่าหยัง กะลืมแล้ว
แต่อันกะดังงาสิเป็นต้น ดอกคล้ายๆการเวก คล้ายๆสายหยุด ฮั้นนา


บ้านผมกะคาดว่าสิเอิ้นคือป้าหน่อยนั่นหล่ะ แต่หั่งจำซือมันบ่มี ดอกไม้อั่นนี้มีหน่วยพร้อม เขาเอิ้นดอกอันนึงอันนอ ..จำบ่ได้คือกัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 238 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 14:59:05  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่992)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 4,682,310
รวม: 4,685,725 สาธุการ

 


+++555 ขณาดจื่อซื่อบ่อได้กะยังฮู้ว่าเอิ้นคือกันเนาะ
ฮึแหม่นซื่อ ว่าจื่อบ่อได้นี่หวา เหอๆๆ
ฮู้แต่ว่าทางภาคกลางเขาเอิ้น ยี่โถ ฮั้นล่ะ

อีกอันหนึ่งสีคือกันแต่เป็นเครือ เอิ้นบานบุรี    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 231 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 16:10:02  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่993)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 4,682,310
รวม: 4,685,725 สาธุการ

 


หมากกะโบก ฮึ กระบอก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 196 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 17:08:30  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่994)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 4,682,310
รวม: 4,685,725 สาธุการ

 


กระดังงา
ภาพจากhttp://www.maemaiplengthai.com  

เอามาฝากบ่าวปิ่น เอาไปลนไฟเด้อ หอมดีขณาด  

ส่วนกะดังงาบ่าวปิ่น บ้านป้าหน่อยเอิ้นดอกกะบอก
หรือ ดอกโบก ย้อนว่ารูปร่างมันคล้ายกะบอก
แต่ก่อนกะเข้าใจว่า ดอกเดียวกับยี่โถ
หาก่อเปิดเข้าไปอ่าน เลยฮู้ว่า เขาเอิ้นว่า ดอกรำเพย
มีหมากคือบ่าวหน่อว่าฮั้นล่ะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 193 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  02 ส.ค. 2553 เวลา 17:27:38  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปลาร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78 79 80 81 82 83 84 85 86 87 88 89 90 91 92 93 94 95 96 97 98 99 100 101 102 103 104 105 106 107 108 109 110 111 112 113 114 115 116 117 118 119 120 121 122 123 124 125 126 127 128 129 130 131 132 133 134 135 136 137 138 139 140 141 142 143 144 145 146 147 148 149 150 151 152 153 154 155 156 157 158 159 160 161 162 163 164 165 166 167

   

Creative Commons License
นิยายชีวิตอีสาน เรื่อง โสกฮัง - ตาดไฮ ( โดย บ่าวปิ่นลม พรหมจรรย์ ) --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)