ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2567:: อ่านผญา 
คันสิเทียวทางกว้างให้หาฮ่มบังหัว คันสิไปทางไกลไถ่ถงให้มีพร้อม แปลว่า ถ้าจะเดินทางในที่โล่ง ให้หาร่มมาบังหัว ถ้าจะเดินทางไกล เตรียมถุงสัมภาระให้พร้อม หมายถึง จะทำกิจการใดๆ ควรวางแผนเตรียมข้าวของอุปกรณ์ให้พร้อม


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  โสเหล่เฮฮาสภาไนบักขามคั่ว  
  สิทธิของท่าน
1. สามารถอ่านกระทู้ อ่านความคิดเห็นได้ทั้งหมด ยกเว้นห้องโสกันฉันพี่น้อง
2. ไม่สามารถตั้งกระทู้ ตอบกระทู้แสดงความคิดเห็นได้
3. ไม่สามารถแก้ไขกระทู้หลัก และความคิดเห็น ที่ท่านโพสต์เอง
4. ไม่สามารถลบความคิดเห็นและกระทู้หลัก ที่ท่านโพสต์เอง
5. ไม่สามารถส่งรูปภาพ(ไม่เกิน100kb)ประกอบความคิดเห็น และไม่สามารถอัพโหลดรูปภาพ(ไม่เกิน50kb)
6. ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของท่าน ไม่สามารถเลือกสไตล์เว็บไซต์ได้
7. ไม่มีรูปแทนตัว รวมถึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขรูปแทนตัว
8. ไม่นับสถิติจำนวนการโพสต์

กระทู้สำคัญ (เพื่อให้อยู่ด้านบน)... มีข้อความโพสต์ใหม่
กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย   501) ซิลิกอนคืออะไร ใครทราบ ได้โปรด บอกด้วย  
  คำนางน้อง    
  ปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 05 มิ.ย. 2550
รวมโพสต์ : 602
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 522,460
รวม: 522,460 สาธุการ

 


อยากทราบนะคะ

แบบว่าที่เกี่ยวกับร่างกาย เด๋ ประมาณว่า เอามาใช้เป็นประโยชน์อะไรได้บ้าง ถ้าเกี่ยวกับร่างกาย นะคะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 327 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  05 ก.พ. 2552 เวลา 10:18:47  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  Mr. Por    คห.ที่1)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : จันทบุรี
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 764
ให้สาธุการ : 360
รับสาธุการ : 984,340
รวม: 984,700 สาธุการ

 
ไอ้เราก็ความรู้ต่ำ อยากจะช่วยแต่ก็ไม่รู้ทำไงดี

....

ว่าแต่ คำนางน้องรู้จักเว็บนี้ไหมครับ www.google.co.th

 
 
สาธุการบทความนี้ : 299 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  05 ก.พ. 2552 เวลา 11:05:52  
    www  MySite  offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  ผู้บ่าวเฮิ่ม    คห.ที่2)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : นครพนม
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ส.ค. 2550
รวมโพสต์ : 783
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 818,640
รวม: 818,640 สาธุการ

 
นำมาผ่านกระบวนการ โด๊ปสาร
สารซิลิกอนจะนำมาผลิตเป็น สารกึ่งตัวนำ ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์

 
 
สาธุการบทความนี้ : 10 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  06 ก.พ. 2552 เวลา 19:16:36  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  ผู้บ่าวเฮิ่ม    คห.ที่3)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : นครพนม
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ส.ค. 2550
รวมโพสต์ : 783
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 818,640
รวม: 818,640 สาธุการ

 
การโด๊ปสารกึ่งตัวนำ

                การโด๊ปสารกึ่งตัวนำคือ การนำอะตอมของสารเจือปน(Impurity) ลงในผลึกสารซิลิกอนบริสุทธิ์ เมื่อถูกโด๊ปแล้วเราจะเรียกว่าสารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ การโด๊ปนั้นทำได้โดยการหลอมสารซิลิกอนบริสุทธิ์ให้ละลาย แล้วจึงเติมสารเจือปนผสมลงไป โดยที่สารเจือปนจะต้องมี วาเลนซ์อิเล็กตรอน 3 หรือ 5 ตัว คือ ถ้าเติมสารเจือปนที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 3 ตัว เมื่อผสมกันแล้วจะเกิดพันธะโควาเลนต์ (Covalant) แล้วทำให้ขาดอิเล็กตรอนไป 1 ตัว จึงเกิดช่องว่างที่เรียกว่า โฮล สารเจือปนนี้เรียกว่า “สารเจือปนผู้รับ” (Accepter Impurity)


และเมื่อเติมสารเจือปนที่มีจำนวนวาเลนซ์อิเล็กตรอน 5 ตัว อะตอมตัวหนึ่งจะยึดเกาะกับอะตอมข้างเคียง แต่ในกรณีนี้จะทำให้อิเล็กตรอนเหลืออยู่ไม่สามารถเข้ารวมกันได้ อิเล็กตรอนที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า “อิเล็กตรอนอิสระ” อะตอมของสารเจือปนที่เติมให้ เรียกว่า “สารเจือปนผู้ให้” (Donor Impurity)



จาก semiconductor

 
 
สาธุการบทความนี้ : 285 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  06 ก.พ. 2552 เวลา 19:28:08  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  ผู้บ่าวเฮิ่ม    คห.ที่4)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : นครพนม
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ส.ค. 2550
รวมโพสต์ : 783
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 818,640
รวม: 818,640 สาธุการ

 
1.  โครงสร้างพื้นฐานของอะตอม

                สสารต่างๆ ที่เราพบอยู่ทั่วไปนั้น  ถ้าพิจารณาลงไปถึงส่วนประกอบขนาดเล็กที่ประกอบกันเป็นสสารนั้นแล้ว จะพบว่าประกอบด้วยโมเลกุล ซึ่งโมเลกุลเป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสารและยังแสดงสมบัติของธาตุนั้นอยู่ได้ ในแต่โมเลกุลจะประกอบด้วยส่วนที่เล็กลงไปอีกเรียกว่าอะตอม จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบว่าอะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่อยู่เป็นแกนกลางของอะตอม และมีอิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียสนั้น  ภายในนิวเคลียสยังประกอบไปด้วยอนุภาคของโปรตรอนและนิวตรอนอยู่รวมกัน อิเล็กตรอนที่โคจรอยู่รอบนิวเคลียสนั้นเป็นลบ ส่วนโปรตรอนมีประจุเป็นบวก  นิวตรอนที่อยู่ในนิวเคลียสมีประจุเป็นกลางทางไฟฟ้า โดยปกติแล้วอะตอมของธาตุต่างๆ จะเป็นกลางทางไฟฟ้า ในธาตุเดียวกันอะตอมของธาตุนั้นจะมีจำนวนโปรตรอนและอิเล็กตรอนเท่ากัน






รูปที่ 1 แสดงแบบจำลองโครงสร้างอะตอม





2. วงโคจรของอิเล็กตรอน

                จำนวนอิเล็กตรอนที่วิ่งรอบนิวเคลียสจะวิ่งเป็นวงๆ โดยแต่ละวงโคจรจะมีอิเล็กตรอนบรรจุอยู่ไม่เท่ากัน เรียงลำดับจากน้อยไปหามาก  แต่ละวงจะสามารถบรรจุอิเล็กตรอนได้จำนวนเท่าใดนั้นคำนวณได้จากสูตร 2N2 โดย N คือลำดับวงโคจรที่ห่างจากนิวเคลียส  วงโคจรอิเล็กตรอนที่อยู่ห่างจากนิวเคลียสจะบอกกำกับไว้เป็นตัวอักษร  ซึ่งในวงในสุดที่ติดกับนิวเคลียสจะนับเป็นวงแรกคือวง K และวงที่อยู่ออกห่างไปเรื่อยๆ ก็จะเป็น L,M,N,O,P,Q ตามลำดับ แต่ละวงจะมีอิเล็กตรอนได้สูงสุดตามสูตร 2N2 ดังนั้นวง K ซึ่งเป็นวงที่ 1 จะมีอิเล็กตรอนสูงสุดเท่ากับ 2N2 = 2(1)2 =  2 ตัว,วงที่ 2 L = 8 ตัว , วงที่ 3 M = 18 ตัว ,วงที่ 4 N = 32 ตัว ,วงที่ 5 O = 50 ตัว โดยตั้งแต่วง O เป็นต้นไป จำนวนอิเล็กตรอนที่บรรจุลงไปจะไม่เต็มจำนวนตามสูตรที่ คำนวณได้






รูปที่ 2 แสดงวงโคจรของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส

                

            อะตอมของธาตุแต่ละชนิดมีจำนวนอิเล็กตรอนมากน้อยแตกต่างกัน ซึ่งจะทำให้การบรรจุอิเล็กตรอนลงในแต่ละวงโคจรไม่เต็มจำนวน และมีข้อจำกัดในการบรรจุอิเล็กตรอนลงวงโคจรอย่างหนึ่งคือ อิเล็กตรอนที่โคจรอยู่วงนอกสุดจะมีอิเล็กตรอนได้มากสุดไม่เกิน 8 ตัว อิเล็กตรอนวงนอกสุดจะอยู่ที่วงใดก็ได้ไม่จำเป็นจะอยู่วง Q เท่านั้น วงที่ถูกบรรจุอิเล็กตรอนเป็นวงสุดท้ายของธาตุเรียกอิเล็กตรอนวงนอกสุดนี้ว่า วาเลนซ์อิเล็กตรอน ( Valence  Electron ) วาเลนซ์อิเล็กตรอนในธาตุแต่ละชนิดจะมีจำนวนไม่เท่ากัน





รูปที่ 3 แสดงการจัดอิเล็กตรอนของอะตอมโซเดียมและคลอรีน



                จากรูปที่ 3 เป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอนของโซเดียม  (Na) ซึ่งมีอิเล็กตรอนทั้งหมด 11 ตัว อิเล็กตรอนจะถูกบรรจุอยู่ชั้นที่ 1 จำนวน 2 ตัว ชั้นที่ 2 จำนวน 8 ตัว ชั้นที่ 3 จำนวน 1 ตัว ส่วนคลอรีนมีอิเล็กตรอนทั้งหมด 17 ตัว การเรียงตัวของอิเล็กตรอนเป็น 2, 8, 7 ตามลำดับวาเลนซ์อิเล็กตรอนหรืออิเล็กตรอนวงนอกสุดจะเป็นตัวบ่งบอกถึงคุณสมบัติทางไฟฟ้าของสสารหรือธาตุต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ  ตัวนำไฟฟ้า , สารกึ่งตัวนำ และฉนวนไฟฟ้า โดยจะกำหนดจากสสารหรือธาตุที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอนดังนี้

ตัวนำไฟฟ้า จะมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนจำนวน 1 -  3 ตัว

สารกึ่งตัวนำ จะมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนจำนวน 4 ตัว

ฉนวนไฟฟ้าจะมีวาเลนซ์อิเล็กตรอนจำนวน 5 -  8 ตัว

     2.1 ตัวนำไฟฟ้า ( Conductor )

                ตัวนำไฟฟ้าคือธาตุที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 1 - 3 ตัว ซึ่งอิเล็กตรอนสามารถหลุดออกจากอะตอมได้โดยง่ายเมื่อมีพลังงานหรือแรงมากระทำเพียงเล็กน้อย นำกระแสไฟฟ้าได้ดี ธาตุเหล่านี้เช่น ทองคำ, เงิน , ทองแดง, อลูมิเนียม, เหล็ก, สังกะสี เป็นต้น

    2.2 สารกึ่งตัวนำไฟฟ้า ( Semi – Conductor )

                ธาตุที่จัดเป็นจำพวกสารกึ่งตัวนำไฟฟ้า คือธาตุที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 4 ตัว  ซึ่งมีคุณสมบัติอยู่กึ่งกลางระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า ธาตุกึ่งตัวนำไฟฟ้านี้จะนิยมนำไปใช้ผลิตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ธาตุที่จัดว่าเป็นสารกึ่งตัวนำได้แก่ คาร์บอน ซิลิคอน เยอรมันเนียม ดีบุก ตะกั่ว แต่ที่นิยมนำไปผลิตเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มี 2 ชนิด คือ ซิลิคอน( Si)  และเยอรมันเนียม (Ge)

     2.3 ฉนวนไฟฟ้า ( Insulator )

                ธาตุที่จัดเป็นจำพวกฉนวนไฟฟ้า คือธาตุที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 5 - 8 ตัว ซึ่งอิเล็กตรอนไม่สามารถหลุดออกจากอะตอมได้โดยง่าย จะต้องใช้พลังงานสูงมากๆ มากระทำอิเล็กตรอนจึงหลุดออกได้ กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยาก มีค่าความต้านทานไฟฟ้าสูงมาก ฉนวนเหล่านั้น เช่น ไมก้า, แก้ว,พลาสติก,ไม้แห้ง เป็นต้น



3.  สารกึ่งตัวนำบริสุทธิ์

                สารกึ่งตัวนำบริสุทธิ์ คือ ธาตุกึ่งตัวนำที่ยังไม่ได้เติมสารเจือปน (Doping )ใดๆ ลงไป ธาตุกึ่งตัวนำที่นิยมนำไปทำเป็นสารกึ่งตัวนำในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก็คือ ธาตุกึ่งตัวนำซิลิกอน และธาตุกึ่งตัวนำเยอรมันเนียม ธาตุทั้งสองชนิดนี้จะมีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 4 ตัว แต่อิเล็กตรอนทั้งหมดจะไม่เท่ากัน โดยซิลิคอนจะมีอิเล็กตรอนทั้งหมด 14 ตัว ส่วนเยอรมันเนียมจะมีอิเล็กตรอนทั้งหมด 32 ตัว ต่อหนึ่งอะตอม






รูปที่ 4 แสดงการใช้อิเล็กตรอนวงนอสุดร่วมกันครบ 8 ตัวของอะตอมซิลิคอนและเยอรมันเนียม



                โครงสร้างอะตอมของธาตุซิลิกอนและโครงสร้างอะตอมของธาตุเยอรมันเนียมเมื่ออยู่รวมกันหลายๆ อะตอมจะจับกันเป็นผลึกในรูปของพันธะโควาเลนซ์ (Covalence Bond) ดังนั้นหนึ่งอะตอมจะต้องใช้อิเล็กตรอนร่วมกันกับอะตอมข้างเคียง 4 อะตอม จึงจะมีอิเล็กตรอนวงนอกสุดครบ 8 ตัว เพื่อให้อะตอมอยู่ในสภาพเสถียร






รูปที่ 5 แสดงการใช้อิเล็กตรอนวงนอกสุดร่วมกันครบ 8 ตัว ของอะตอมซิลิกอนและเยอรมันเนียม



4.  สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์

                สารกึ่งตัวนำไม่บริสุทธิ์ คือการนำเอาธาตุซิลิคอนหรือธาตุเยอรมันเนียมบริสุทธิ์มาเติมเจือปนลงไป โดยใช้ธาตุเจือปนที่มีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 3 ตัว หรือธาตุเจือปนที่มีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 5 ตัว ลงไปในอัตราส่วน 108: 1 คือธาตุกึ่งตัวนำบริสุทธิ์ 108 ส่วนต่อสารเจือปน 1 ส่วน ซึ่งจะทำให้ได้สารกึ่งตัวนำใหม่ขึ้นมา คือถ้าเติมธาตุเจือปนที่วาเลนซ์อิเล็กตรอน 5 ตัวลงไป ตัวนำชนิดเอ็น แต่ถ้าเติมธาตุเจือปนที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 3 ตัว ลงไปจะได้สารกึ่งตัวนำชนิดพี ธาตุที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 3 ตัว ที่นำมาใช้เป็นธาตุเจือปนเช่นโบรอน อินเดียม แกลเลียม และอลูมิเนียม ส่วนธาตุที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน 5 ตัวที่นำมาใช้เป็นธาตุเจือปน เช่น ฟอสฟอรัส อาเซนิค

     4.1 สารกึ่งตัวนำชนิด N ( N – Type  Semiconductor )

                สารกึ่งตัวนำชนิดเอ็นเป็นสารกึ่งตัวนำที่ได้จากการเติมสารเจือปนที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน  5 ตัว เช่น ฟอสฟอรัส  อาเซนิค  อย่างใดอย่างหนึ่งลงไปในธาตุซิลิคอนหรือเยอรมันเนียมบริสุทธิ์ จะทำให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดของแต่ละอะตอมแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนซึ่งกันและกัน หรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกันได้ครบ 8 ตัว ทำให้เหลืออิเล็กตรอน 1 ตัว ที่ไม่สามารถจับตัวกับอะตอมข้างเคียง เรียกอิเล็กตรอนตัวนี้ว่า อิเล็กตรอนอิสระ ซึ่งจะแสดงประจุลบออกมา






รูปที่ 6 แสดงโครงสร้างการจับตัวกันของอิเล็กตรอนวงนอกสุดระหว่าง Si กับ P ในสารกึ่งตัวนำชนิด N – Type



     4.2 สารกึ่งตัวนำชนิดพี (P-Type)

สารกึ่งตัวนำชนิดพีเป็นสารกึ่งตัวนำที่ได้จากการเติมธาตุเจือปนที่มีวาเลนซ์อิเล็กตรอน  3 ตัว เช่น โบรอน อินเดียม แกลเลียม อย่างใดอย่างหนึ่งลงไปในธาตุซิลิคอนหรือธาตุเยอรมันเนียมบริสุทธิ์ จะทำให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดของแต่ละอะตอมแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอนซึ่งกันและกันหรือใช้อิเล็กตรอนร่วมกันได้ครบ 8 ตัว ส่วนอะตอมของธาตุเจือปนจะขาดอิเล็กตรอนอีก  1  ตัว เพราะธาตุเจือปนมีอิเล็กตรอนวงนอกสุด 3 ตัว เรียกส่วนที่ขาดอิเล็กตรอนนี้ว่าโฮล ซึ่งแปลว่า หลุม หรือ รู โฮลนี้จะแสดงประจุบวกออกมา






รูปที่ 7 แสดงโครงสร้างการจับตัวกันของอิเล็กตรอนวงนอกสุดระหว่าง Si  กับ Br ใน

สารกึ่งตัวนำชนิด P – Type





5. ไดโอด

ไดโอด เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ที่ได้จาการนำเอาสารกึ่งตัวนำชนิดพี และสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น มาต่อชนกัน ได้เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำหนึ่งรอยต่อ  ในการต่อสารกึ่งตัวนำชนิดพี และเอ็นนั้น มิใช่เพียงการนำมาติดกันเท่านั้น แต่จะต้องใช้วิธีปลูกผลึก หรือวิธีการแพร่สารเจือปนลงไปในสารกึ่งตัวนำบริสุทธ์ ไดโอดจะมีลักษณะโครงสร้างดังรูปที่ 8




รูปที่ 8 แสดงโครงสร้างไดโอด



             สารกึ่งตัวนำชนิดพี  ซึ่งมีโฮลเป็นพาหะส่วนใหญ่มาเชื่อมต่อกับสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น ซึ่งมีอิเล็กตรอนเป็นพาหะส่วนใหญ่ ( พาหะ คืออิเล็กตรอนหรือโฮลที่เคลื่อนที่ ) จะทำให้อิเล็กตรอนของสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อเข้าไปหาโฮลในสารกึ่งตัวนำชนิดพี และก็เสมือนกับว่าโฮลในสารกึ่งตัวนำชนิดพี เคลื่อนที่ข้ามรอยต่อเข้าไปหาสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น การเคลื่อนที่ของพาหะส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณใกล้รอยต่อพีเอ็น  ในบริเวณใกล้รอยต่อนี้จะเป็นบริเวณปลอดพาหะเพราะมีแต่โฮลกับอิเล็กตรอนเท่านั้น ทำให้เกิดสนามไฟฟ้าขึ้น สนามไฟฟ้านี้จะต้านการเคลื่อนที่ของพาหะส่วนใหญ่ของสารกึ่งตัวนำทั้งสองไม่ให้เคลื่อนที่ผ่านรอยต่อ  เรียกสภาวะนี้ว่าสภาวะสมดุล ในสภาวะสมดุลนี้ที่รอยต่อสารกึ่งตัวนำชนิดซิลิคอน จะมีความต่างศักย์ที่บริเวณปลอดพาหะประมาณ 0.2 โวลต์ ศักย์ไฟฟ้านี้จะมีค่าลดลงเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น

     5.1 สัญลักษณ์ของไดโอด

สัญลักษณ์ของไดโอดประกอบด้วยหัวลูกศรเป็นขาแอโนด ใช้อักษรย่อ A และอีกด้านหนึ่งเป็นแคโทด ใช้อักษรย่อ K หัวลูกศรนั้นแสดงให้เห็นว่ากระแสโฮลจะไหลจากขาแอโนดไปสู่ขาแคโทด (ในสภาวะได้รับไบอัสตรง ) ดังแสดงในรูปที่  9





รูปที่ 9 แสดงสัญลักษณ์ของไดโอดและการให้ไบอัสไดโอด



             การจะนำไดโอดไปใช้งานจะต้องมีการจ่ายไบอัสหรือจัดแรงไฟให้ตัวไดโอด เพื่อให้ไดโอดนำกระแสและหยุดนำกระแส สามารถจ่ายไบอัสทั้งสองวิธีคือ ไบอัสตรง และไบอัสกลับ

     5.2 ไบอัสตรง ( Forward  Bias )

            การให้ไบอัสตรงกับไดโอดก็คือ การจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้ตัวไดโอดแบบตรงกับสารกึ่งตัวนำคือจ่ายแรงไฟที่มีศักย์บวกให้สารกึ่งตัวนำชนิดพี (สารพีมีศักย์เป็นบวก ) และจ่ายแรงไฟที่มีศักย์เป็นลบให้กับสารกึ่งตัวนำชนิดเอ็น (สารเอ็นมีศักย์เป็นลบ )






รูปที่ 10 แสดงการจ่ายไบอัสตรงให้ไดโอด



              เมื่อไดโอดได้รับไบอัสตรง โดยต่อศักย์บวกของแหล่งจ่ายไฟฟ้าเข้ากับขา A และศักย์ลบกับขา K ไฟลบจะไปผลักอิเล็กตรอนอิสระในสารชนิดเอ็นให้เคลื่อนที่ได้ ในเวลาเดียวกันไฟบวกที่จ่ายให้สารชนิดพีดึงดูดอิเล็กตรอนให้เคลื่อนที่เข้ามาหา และจะผลักโฮลให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ผ่านสารชนิดพีเข้าศักย์ไฟบวกของแหล่งจ่าย และเคลื่อนที่ผ่านแหล่งจ่ายไปยังขา K ของสารชนิดเอ็นเกิดกระแสไหลผ่านไดโอด  แรงดันไบอัสตรงที่จ่ายให้ไดโอดจะต้องจ่ายแรงดันไบอัสมากกว่า ศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมอยู่ตรงรอยต่อ ค่าแรงดันนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของสารที่ใช้ผลิตไดโอด ไดโอดที่ผลิตจากสารเยอรมันเนียมจะมีแรงดัน 0.2 V ส่วนไดโอดที่ผลิตจากสารซิลิคอนจะมีแรงดัน 0.6 V ดังนั้นการจ่ายแรงดันไบอัสตรงจะต้องจ่ายให้มากกว่าศักย์ไฟฟ้าที่ตกคร่อมรอยต่อ  ซึ่งเมื่อไดโอดนำกระแสแล้วก็จะมีแรงดันตกคร่อมรอยต่อไดโอดเท่ากับ 0.2 V ในไดโอดชนิดเยอรมันเนียม และเท่ากับ 0.6 V ในไดโอดชนิดซิลิคอน

     5.3 ไบอัสกลับ ( Reverse Bias )

           ไบอัสกลับเรียกว่า รีเวิร์สไบอัส เป็นการจ่ายแรงดันไฟฟ้าให้กับไดโอดแบบกลับขั้วคือจ่ายศักย์ไฟบวกให้สารชนิดเอ็นจ่ายศักย์ไฟลบให้สารชนิดพีจะมีผลให้เกิดการทำงานดังนี้






รูปที่ 11 แสดงการจ่ายไบอัสกลับให้ไดโอด

                

            ศักย์ไฟบวกที่จ่ายให้ขา K  จะดึงดูดอิเล็กตรอนอิสระในสารชนิดเอ็นเคลื่อนตัวออกห่างรอยต่อส่วนศักย์ไฟลบที่จ่ายให้ขา A  จะดึงโฮลจากสารชนิดพีเคลื่อนตัวออกห่างรอยต่อเช่นกันทำให้รอยต่อกว้างมากขึ้นอิเล็กตรอนวิ่งไม่ครบวงจร ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในตัวไดโอด  แต่อาจจะมีกระแสรั่วไหล ( Leakage  Current ) บ้างเล็กน้อย โดยค่ากระแสรั่วไหลในไดโอดที่ผลิตจากสารเยอรมันเนียมจะมากกว่าไดโอดที่ผลิตจากสารซิลิคอน

     5.4 ลักษณะสมบัติของไดโอด

           แม้ว่าไดโอดในอุดมคติจะมีลักษณะคล้ายดังสวิตซ์ทางไฟฟ้า คือเมื่อเราให้ไบอัสตรงจะเหมือนกับสวิตซ์ปิดวงจร ( ON ) แต่ถ้าให้ไบอัสกลับจะเหมือนกับสวิตซ์เปิดวงจร  ( OFF ) ซึ่งไดโอดเมื่อได้ไบอัสตรงจะมีกระแสไหลผ่านไดโอดได้สูง และมีแรงดันตกคร่อมไดโอดอยู่เล็กน้อยประมาณ 0.2 หรือ 0.6 โวลต์ ส่วนขณะที่ไบอัสกลับจะมีกระแสไหลผ่านน้อยมากเพียงไม่กี่ไมโครแอมป์ แสดงดังกราฟรูปที่ 12






รูปที่ 12 แสดงกราฟลักษณะสมบัติของไดโอดชนิดรอยต่อ



    5.5  กราฟแสดงลักษณะสมบัติของไดโอด

          สามารถหาได้จากการจ่ายไบอัสตรงและไบอัสกลับให้กับไดโอด     เมื่อไดโอดได้รับไบอัสตรงจะเกิดกระแสไหลผ่านไดโอดได้ในทิศทางจากสารชนิดพีไปยังสารชนิดเอ็น(กระแสนิยม)กระแสดังกล่าวเรียกว่า   กระแสไบอัสตรง   ดังรูปที่ 12

           จากกราฟแสดงคุณสมบัติของไดโอดเมื่อจ่ายไบอัสตรงกับไดโอดในช่วงเริ่มแรกไดโอดจะยังไม่นำกระแสเพราะแรงดันไบอัสตรงยังไม่สามารถทำลายโพเทนเชี่ยล ( Potentail ) ( ศักย์ไฟฟ้าตรงรอยต่อ PN )  เราต้องให้แรงดันไฟฟ้าไบอัสตรงกับไดโอดจนถึงค่าแรงดันคัทอิน ( Cutin Voltage )  จึงจะทำให้โพเทนเชี่ยลลดลง   อันจะทำให้ไดโอดนำกระแสได้  เช่น   เยอรมันเนียมไดโอดจะต้องให้แรงดันคัทอินประมาณ 0.2 โวลต์    และซิลิกอนไดโอดต้องให้แรงดันคัทอินประมาณ  0.6  โวลต์   ดังนั้นถ้าจ่ายแรงดันไบอัสตรงให้กับไดโอดมากกว่าแรงดันคัทอินขึ้นไปแล้วไดโอดจะสามารถนำกระแสได้    โดยมรีกระแส  IF  ไหลผ่านไดโอด

            ในทำนองเดียวกันเมื่อจ่ายแรงดันไบอัสกลับให้ไดโอด    จะไม่มีกระแสไหลผ่านในวงจร   มีเพียงกระแสรั่วไหลเพียงเล็กน้อยไหลผ่านไดโอด ซึ่งกระแสดังกล่าวมีจำนวนน้อยมากเป็นไมโครแอมป์    เปรียบได้ว่าขณะไดโอดได้รับไบอัสกลับ   จะไม่มีกระแสไหลผ่านไดโอดหรือไม่มีกระแสนั่นเอง    แต่ถ้าเพิ่มแรงดันไบอัสกลับให้สูงมากขึ้นจนถึงค่าแรงดันหนึ่งเรียกว่า  แรงดันพังทลาย     ( Breakdown  Voltage )   ซึ่งไดโอดจะนำกระแสได้     ในสภาวะนี้รอยต่อพีเอ็นของไดโอดจะทะลุและมีกระแสไหลผ่านรอยต่อพีเอ็นจำนวนมาก  ในการใช้งานทั่วไปจะไม่ยอมให้แรงดันไบอัสกลับแก่ไดโอดเกินค่าแรงดันพังทลายของไดโอด

     5.6  การทดสอบไดโอดด้วยโอห์มมิเตอร์

             การตรวจหาขาของไดโอดหรือการตรวจสอบว่าไดโอดนั้นใช้งานได้หรือไม่    ทำได้อย่างง่ายโดยการใช้โอห์มิเตอร์    เนื่องจากไดโอดนั้นเมื่อได้รับแรงไฟไบอัสตรงจะยอมให้กระแสไหลผ่าน   แสดงว่าค่าความต้านทานของไดโอดมีค่าต่ำ ( โดยทั่วไปค่าความต้านทานนี้เรียกว่า  ความต้านทานด้านไบอัสตรง   ปกติมีค่าประมาณ 70 )    แต่เมื่อไดโอดได้รับแรงไฟไบอัสกลับจะไม่มีกระแสไหลผ่านไดโอดเหมือนกับว่าความต้านทานของไดโอดมีค่าสูงมาก  ( โดยทั่วไปค่าความต้านทานของไดโอดเมื่อได้รับไบอัสกลับ  จะมีค่าอยู่ระหว่าง 500 K  ถึง
             การทดสอบไดโอดด้วยมัลติมิเตอร์แบบแอนะลอก      กระทำได้โดยการตั้งย่านวัดความต้านทานในย่าน R x 10   เพื่อวัดความต้านทานไบอัสตรง    โดยต่อขั้วไฟบวก ( มิเตอร์ตระกูล Sanwa ไฟบวกจะออกจากขั้วลบของมิเตอร์ )  ของมิเตอร์เข้ากับขาแอโนด   และต่อขั้วไฟลบของมัลติมิเตอร์เข้ากับขาแคโถด   จะเห็นว่าเข็มของมิเตอร์ชี้ไปที่ค่าความต้านทานต่ำประมาณ 70   จากนั้นให้ปรับย่านวัดไปย่าน R x 10K   เพื่อวัดความต้านทานไบอัสกลับของไดโอด   โดยต่อขั้วมัลติมิเตอร์กลับจากเดิม  คือ  ต่อไฟบวกของมัลติมิเตอร์เข้ากับขาแคโถดและต่อขั้วไฟลบของมัลติมิเตอร์เข้ากับขาแอโนด   เข็มมัลติมิเตอร์จะชี้ที่ค่าความต้านทานสูงมาก ( เข็มมิเตอร์ไม่กระดิก ) หรือค่าอนันต์ ( Infinity , )  ในไดโอดชนิดซิลิกอน   และประมาณ 500 K  ในไดโอดชนิดเยอรมันเนียม  

              การทดสอบไดโอดด้วยมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล     ให้ตั้งย่านวัดไดโอด  โดยวัดขั้วทั้งสองของไดโอดด้วยไบอัสตรง  คือ  ให้ขั้วไฟลบ ( มิเตอร์ดิจิตอล   ขั้วไฟลบออกจากขั้วลบของมิเตอร์ ) ของมิเตอร์ต่อกับแคโถดและขั้วไฟบวกของมิเตอร์ต่อกับขาแอโนด    มิเตอร์จะแสดงค่าแรงดันตกคร่อมรอยต่อของไดโอด ( แรงดันคัทอิน )   โดยแสดงค่าแรงดัน 0.6 ในไดโอดชนิดซิลิกอนและแสดงค่า 0.2 ในไดโอดชนิดเยอรมันเนียม

               การวัดและตรวจสอบไดโอด    จะมีพิจารณากันอยู่ 3 ลักษณะ  คือ

                   1. ไดโอดขาด ( Open )   หมายถึง  รอยต่อระหว่างสารพี-เอ็นเปิดออกจากกัน    ทำให้ไดโอดไม่สามารถนำกระแสได้   ทั้งในกรณีไบอัสตรงและไบอัสกลับ ( เข็มมิเตอร์ไม่กระดิกทั้งสองครั้ง )

                   2. ไดโอดลัดวงจร ( Shot )   หมายถึง  รอยต่อระหว่างสารพี-เอ็นเกิดการพังทลายเข้าหากัน    ไดโอดจะนำกระแสทั้งในกรณีไบอัสตรงและไบอัสกลับ ( เข็มมิเตอร์ขึ้นทั้งสองครั้ง )

                  3. ไดโอดรั่วไหล ( Leakage )   หมายถึง  การวัดไดโอดในลักษณะไบอัสกลับ    โดยใช้ค่าแรงดันจากโอห์มมิเตอร์ซึ่งมีค่าแรงดันต่ำกว่าค่าแรงดันพังทลายของไดโอด   ก็มีกระแสไหลแล้ว ไดโอดชนิดเยอรมันเนียมเมื่อถูกไบอัสกลับจะมีค่าความต้านทานประมาณ 400 K  - 500 K   ซึ่งมีกระแสรั่วไหลมากกว่าไดโอดชนิดซิลิกอน    โดยไดโอดชนิดซิลิกอนเมื่อถูกไบอัสกลับจะมีค่าความต้านทานเป็นอนันต์ ( เข็มมิเตอร์ไม่กระดิก )

 
 
สาธุการบทความนี้ : 408 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  06 ก.พ. 2552 เวลา 19:36:09  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  Mr. Por    คห.ที่5)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : จันทบุรี
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 764
ให้สาธุการ : 360
รับสาธุการ : 984,340
รวม: 984,700 สาธุการ

 
คุณคำนางน้อง:
อยากทราบนะคะ

แบบว่าที่เกี่ยวกับร่างกาย เด๋ ประมาณว่า เอามาใช้เป็นประโยชน์อะไรได้บ้าง ถ้าเกี่ยวกับร่างกาย นะคะ


http://th.wikipedia.org/wiki/ซิลิกอนวัสดุทางการแพทย์ - ซิลิโคนเป็นสารประกอบที่ยืดหยุ่น มีพันธะซิลิคอน-ออกซิเจน และ ซิลิคอน-คาร์บอน และใช้ในวงกว้างขวางเช่น ซิลิโคนเสริมหน้าอก และ คอนแทกต์เลนส์ รวมถึงการประยุกต์อื่น ๆ ด้วย


คำนางน้องอยากเอาซิลิกอนไปทำอะไรล่ะคะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 583 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  06 ก.พ. 2552 เวลา 22:20:04  
    www  MySite  offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  คำนางน้อง    คห.ที่6)  
  ปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 05 มิ.ย. 2550
รวมโพสต์ : 602
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 522,460
รวม: 522,460 สาธุการ

 
เอามา ทำอะไรกะได้ ที่สามารถ กินเข้าไปในร่างกายแล้ว เกิดประโยชน์กับร่างกาย

ขอบพระคุณทุกท่านมากนะคะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 10 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  09 ก.พ. 2552 เวลา 14:00:55  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  สภาไนบักขามคั่ว   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1

  Quick Reply  
       
 
รายละเอียด*: 

ใช้ html ได้ 
(เฉพาะที่กำหนดให้) 

ใช้ bbcode ได้  
ใช้ space bar ได้  
(เฉพาะรายละเอียด) 


   กรุณาล็อกอินเข้าระบบก่อนครับ
 
   
 
     กฏกติกา มารยาท
 1. ขอความกรุณา ไม่โพสต์ข้อความประกาศโฆษณาขายของ หรือชักนำในเชิงธุรกิจ
 2. ขอความกรุณา ไม่โพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ขัดแย้งต่อศีลธรรมอันดี หรือนำไปสู่การทะเลาะวิวาท
 3. ขอความกรุณาไม่โพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงบุคคลอื่น หรือหมิ่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
 4. การคัดลอกบทความของบุคคลอื่นมาโพสต์ กรุณาอ้างอิงที่มา เพื่อเป็นการให้เกีียรติ และเคารพในภูมิปัญญาของเจ้าของบทความ

 
       
   

Creative Commons License
ซิลิกอนคืออะไร ใครทราบ ได้โปรด บอกด้วย --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ