ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 20 พฤษภาคม 2567:: อ่านผญา 
นกบ่ยินดีด้วยรุกโขบ่มีฮ่ม สาบ่มีดอกไม้คณาเนื้อบ่สงวน แปลว่า ต้นไม้ไม่มีร่มเงา นกย่อมไม่ยินดี สระไม่มีดอกไม้ สัตว์ย่อมไม่มาอาศัย หมายถึง คนดีมีศีลธรรม มีเมตตา ย่อมเป็นที่รักของคนทั้งหลาย


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  โสเหล่เฮฮาสภาไนบักขามคั่ว  
  สิทธิของท่าน
1. สามารถอ่านกระทู้ อ่านความคิดเห็นได้ทั้งหมด ยกเว้นห้องโสกันฉันพี่น้อง
2. ไม่สามารถตั้งกระทู้ ตอบกระทู้แสดงความคิดเห็นได้
3. ไม่สามารถแก้ไขกระทู้หลัก และความคิดเห็น ที่ท่านโพสต์เอง
4. ไม่สามารถลบความคิดเห็นและกระทู้หลัก ที่ท่านโพสต์เอง
5. ไม่สามารถส่งรูปภาพ(ไม่เกิน100kb)ประกอบความคิดเห็น และไม่สามารถอัพโหลดรูปภาพ(ไม่เกิน50kb)
6. ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของท่าน ไม่สามารถเลือกสไตล์เว็บไซต์ได้
7. ไม่มีรูปแทนตัว รวมถึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แก้ไขรูปแทนตัว
8. ไม่นับสถิติจำนวนการโพสต์

กระทู้สำคัญ (เพื่อให้อยู่ด้านบน)... มีข้อความโพสต์ใหม่
กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย   1458) เพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี  
  miniming    
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 13 พ.ค. 2563
รวมโพสต์ : 10
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 8,010
รวม: 8,010 สาธุการ

 
เพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

  การเทียนพรรษาเป็นประเพณีวันเข้าพรรษาของชาวพุทธที่ได้กระทำต่อเนื่องกันมาแต่พุทธกาลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา ก่อนสมัยของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลในสมัยนั้น ในการทำเทียนพรรษาและการแห่เทียนของชาวเมืองอุบลยังไม่มี ซึ่งเมื่อสมัยนั้นเมื่อถึงวันเทศกาลเข้าพรรษา ชาวบ้านจะฟั่นเทียนพันรอบศรีษะนำไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษาพร้อมทั้งหาน้ำมัน เครืองไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝน ไปถวายพระ

     ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่เมืองอุบลซึ่งในครั้งนั้นได้มีการจัดขบวนแห่บั้งไฟขึ้นที่วัดกลาง โดยมีชาวบ้านเข้าร่วมขบวนแห่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการจัดขบวนแห่ในครั้งนั้นได้มีการทำร้ายร่างกายกันจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ดังนั้นเมื่อทราบถึงเสด็จในกรมจึงทรงเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดีจึงขอให้เลิกการแห่บั้งไฟตั้งแต่บัดนั้นโดยให้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

    การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้ใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนแล้วนำเทียน มาติดกับลำไม้ไผ่ ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อ หากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาติดปิด รอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียน ไปมัดติด กับปี๊บ น้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป็น ชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการ แห่นำไปถวายวัด ซึ่งพาหนะที่ใช้ในสมัยนั้นนิยมใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง ในสมัยแรกๆนั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษาแต่ชาวบ้านจะกล่าวร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวยต่อมาผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อนแล้วแห่รอบเมืองก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด

อ่านเพิ่มเติม >> สล็อต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 71 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 พ.ค. 2563 เวลา 14:20:29  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง ขึ้นบน ลงล่าง  
 
  สภาไนบักขามคั่ว   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1

  Quick Reply  
       
 
รายละเอียด*: 

ใช้ html ได้ 
(เฉพาะที่กำหนดให้) 

ใช้ bbcode ได้  
ใช้ space bar ได้  
(เฉพาะรายละเอียด) 


   กรุณาล็อกอินเข้าระบบก่อนครับ
 
   
 
     กฏกติกา มารยาท
 1. ขอความกรุณา ไม่โพสต์ข้อความประกาศโฆษณาขายของ หรือชักนำในเชิงธุรกิจ
 2. ขอความกรุณา ไม่โพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ขัดแย้งต่อศีลธรรมอันดี หรือนำไปสู่การทะเลาะวิวาท
 3. ขอความกรุณาไม่โพสต์ข้อความหรือรูปภาพที่ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงบุคคลอื่น หรือหมิ่นสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
 4. การคัดลอกบทความของบุคคลอื่นมาโพสต์ กรุณาอ้างอิงที่มา เพื่อเป็นการให้เกีียรติ และเคารพในภูมิปัญญาของเจ้าของบทความ

 
       
   

Creative Commons License
เพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ