ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
บัวอาศัยเซิ่งน้ำปลาเพิ่งวังตม ไพร่กับนายเพิ่งกันโดยด้าม แปลว่า ไพร่กับนาย ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เหมือน บัว ปลา ตม และน้ำ ต่างอาศัยกันและกัน หมายถึง พึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันอยู่เสมอ


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  บ่าวน้อย    คห.ที่41)  
  สุดยอดฝีมือ

ภูมิลำเนา : นครพนม
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 01 ก.ค. 2553
รวมโพสต์ : 437
ให้สาธุการ : 285
รับสาธุการ : 509,070
รวม: 509,355 สาธุการ

 
บ่เคยเห็นคือกัน ฮู้จักแต่แมงกะเบื้อ (แมงกะเบี้ย กะเบ้อ )

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  30 ก.ย. 2553 เวลา 20:22:24  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่42)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
โตอ้วนๆ เลียนแบบนกมาเลยล่ะ ปากกะคือปากนก
แต่หากโต่นๆคือว่าฮั้นล่ะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  30 ก.ย. 2553 เวลา 20:23:30  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวน้อย    คห.ที่43)  
  สุดยอดฝีมือ

ภูมิลำเนา : นครพนม
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 01 ก.ค. 2553
รวมโพสต์ : 437
ให้สาธุการ : 285
รับสาธุการ : 509,070
รวม: 509,355 สาธุการ

 
บ่เคยเห็นเลยครับ สงสัยเกิดบ่ทัน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  30 ก.ย. 2553 เวลา 20:29:00  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวแก่นนคร    คห.ที่44)  
  ผู้เยี่ยมยุทธ์

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ก.ย. 2551
รวมโพสต์ : 317
ให้สาธุการ : 215
รับสาธุการ : 583,870
รวม: 584,085 สาธุการ

 
เห็นทรงมิดๆ เลยแวะมากระตุ้นครับ

สิ่งดีๆ บ่อยากให้หยุดชะงัก

แมงที่น้องพอจะนึกได้กะมีดังนี้

1. แมงแคงค้อ (ตัวสีส้มๆ อยู่นำต้นค้อ)
2.แมงแคงขาโป้ ( ตัวดำๆ ขาโปๆ จักหน่อย )
3.แมงที่อยู่นำต้นงิ้ว แหม นึกซื่อบ่ออก ไข่ขาวๆ ยาวๆ  ตัวแก่ สีเทาหนวดยาวๆ
4. อีกแมงนึง คล้ายๆ แมงในข้อ 3 แต่ตัวเล็กกว่ามาก  มีปีกสีเหลือง จุด สีดำ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 478 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  09 ต.ค. 2553 เวลา 21:01:47  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่45) แมงหัวแข็ง  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ชื่อพื้นเมือง         แมงหัวแข็ง  ( ด้วงหนวดยาว) แมงกอก  ( ชาวเหมืองแห่ง เหมันต์ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plocaederus obesus Gahan

ชื่อสามัญ : Stem-boring grub

ชื่ออันดับ : Coleoptera

วงศ์ : Cerambycidae


ลักษณะทางกายภาพ
ตัวเต็มวัยเป็นด้วงหนวดยาวสีน้ำตาลแก่ ขนาดหัวยาว 4 ซม.
เพศผู้มีหนวดยาวกว่าลำตัวมาก เพศเมียขนาดสั้น หรือยาวเท่าลำตัว
ปีกแข็งคู่หน้ามีจุดสีเหลืองและแดง กระจายกันอยู่ ดวงตาเป็นลักษณะ ตามรวม
สีดำแบนราบด้านหน้า มีเขี้ยวสองเขี้ยวไว้เจาะเปลือกไม้

วงจรชีวิต

วางไข่ในเปลือกไม้   เมื่อโตขึ้น 1 จะเจาะชอนไช หากินตามเปลือกไม้
ตัวหนอน ตัวอ่อนมีเขี้ยวไว้คอยเจาะต้นไม้ ชอบอยู่ตาม ต้นงิ้ว ( ต้นนุ่น ) ต้นมะเดื่อ
ต้นมะม่วงหิมะพานต์  รวมทั้งต้นมะม่วงบางชนิด  
เมื่อจะลอกคาบเป็นตัวโตเต็มวัย จะสร้างเปลือกไข่บางๆ สีขาวๆ  ในรูของต้นไม้
พอย่างเข้าเดือนที่  3 จะเป็นตัวอ่อนเจาะออกมา โบยบินหากินต่อไป

ตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝนราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่
  
ภาพตัวอ่อนของ แมงหัวแข็งในเปลือกไม้
    

ประโยชน์
ตัวอ่อนของ แมงหัวแข็ง สามารถนำมาเป็นอาหารได้ เนื่องจากมีรสชาติ อร่อย แซบ
ส่วนมากนำมา จี่ใส่ขี้เถ้ากองไฟ ตอนหน้าหนาว  อีกทั้งตัวโตเต็มวัย ก็กินได้
อย่างไรก็ตาม แมงหัวแข็ง จัดว่าเป็นศัตรูพืช เนื่องจาก ชอบเจาะ ต้นงิ้ว  ต้นมะม่วง
และต้นไม้เนื้ออ่อนอย่างอื่น

ภาพต้นงิ้ว ที่แมงหัวแข็ง ชอบเจาะฝังตัวอยู่


ในแง่วิถีชีวิตอีสาน

สมัยเก่า คนอีสานทำเครื่องนอน เครื่องนุ่งห่มเอง เช่น ผ้าห่ม  หมอน อาสนะ ( ฟูกที่นอน )
ซึ่งต้องอาศัย ต้นงิ้ว หรือ ต้นนุ่น เอาใยนุ่น มาทำ จึงต้องปลูกต้นงิ้ว ไว้ตามบ้านแทบทุกบ้าน
นี่เองคือสวรรค์ ของ แมงหัวแข็ง  มีอาหารอันอุดมสมบูรณ์ ได้เจาะกินชอนไช



เมื่อถึงคราวหน้าหนาว เสร็จนาแล้ว  ตอนเช้าๆ  ผู้เฒ่าผู่แก่ ก็จะมาก่อไฟผิง ใต้ต้นงิ้วหน้าบ้าน
หรือหลังบ้าน ลูกหลานก็จะมา "ตุ้มโฮม" กันผิงไฟ แก้หนาว  นั่ง "จี่ข้าวจี่ทาไข่ "
อยู่ข้างกองไฟ ฟังปู่ย่าเล่าเรื่องสนุก ๆ  ระว่างนั้น เด็ก ๆ ก็จะเดินเลาะหา หนอนแมงหัวแข็ง
หรือ ด้วงงิ้ว หาเจาะงัดแงะเอาตามเปลือกต้นงิ้ว ตามรูของต้นไม้ ก็จะได้ แมงอันนี้ มา จี่กิน
เป็นที่สนุกสนาน  บ้างก็ได้ แมงหัวแข็งตัวโตเต็มวัยมาอ้างกัน  

เวลาจับมันจะร้อง เสียงดังเหมือนพลาสติกสีกัน ดังออด แอด.. ออด แอด  ด้วยการเอาหัว
ยกขึ้นลงทำให้ปล้องช่วงลำคอของมันสีกัน จนเกิดเป็นเสียงร้อง บางครั้งเด็ก ๆ ก็โดนผู้ใหญ่อำ
บอกว่า "แมงหัวแข็ง เอิ๊กมันหอม"  พลางให้เด็กน้อยดม อกแมงหัวแข็ง
แล้วก็โดน "แมงหัวแข็ง หยุมดัง "

ปัจจุบัน ต้นงิ้วเหลือน้อย เพราะงานหัตถกรรม ผ่าห่ม ฟูกที่นอน ที่ทำด้วยมือ หายไป
ยกหน้าที่ให้เป็นของ โรงงานต่างๆแทน  ลูกหลานต่างแยกย้ายจากถิ่นฐาน หาอยู่หากิน
ตามจำนวนต้นงิ้วที่หายไปจาก เฮือนอีสาน   การ"ตุ้มโฮม" หาได้ยาก
บางคนไม่รู้จัก แมงหัวแข็ง  รู้จักแต่ การหัวแข็งแทน

บางครั้งแมลงเล็ก ๆ นี้ ก็เป็นดัชนีวัด ความสุขในครอบครัว วิถีอีสานก็เป็นได้.......

ขอบคุณทุกภาพ จากที่มาหลายแห่งตามอินเตอร์เน็ต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 968 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  10 ต.ค. 2553 เวลา 14:56:38  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่46)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
อ้ายปิ่นครับ มันสิมีแมงหัวแข็งอีกแบบบ่อ้ายที่มันบ่มีหนวด
เวลาเฮาจับหางมันแล้วบีบ หัวมันสิกระดกขึ้นแหม่ะอ้าย
เอิ้นแมงหัวแข็งคือกันบ่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 411 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  10 ต.ค. 2553 เวลา 16:01:16  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวแก่นนคร    คห.ที่47)  
  ผู้เยี่ยมยุทธ์

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ก.ย. 2551
รวมโพสต์ : 317
ให้สาธุการ : 215
รับสาธุการ : 583,870
รวม: 584,085 สาธุการ

 
คุณรุทธิ์  (อีเกียแดง):
อ้ายปิ่นครับ มันสิมีแมงหัวแข็งอีกแบบบ่อ้ายที่มันบ่มีหนวด
เวลาเฮาจับหางมันแล้วบีบ หัวมันสิกระดกขึ้นแหม่ะอ้าย
เอิ้นแมงหัวแข็งคือกันบ่


เอิ้นคือทางบ้านน้องอยู่ แต่บ่รุ้ว่าแม่นตัวเดียวกันบ่อ้าย

ปีกคือกันกับแมงทับ สีเขียวมันเงา คือกัน

ตะน้อยๆ มักเล่นอยู่ มักมันดีดหัวตับๆ คือว่านั่นล่ะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 397 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  10 ต.ค. 2553 เวลา 18:59:13  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่48) แมงสำลี  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ขอบคุณภาพจาก OKNATION.NET

ชื่อ                    แมงสำลี, แมงหนวดโค้ง  (อีสาน )  ด้วงหนวดปม ( ภาคกลาง)

ชื่อวิทยาศาสตร์  Aristobia approximator
วงค์              Beetles  
อันดับ        OLEOPTERA

ลักษณะทางกายภาพ

เป็นด้วงที่มีขนาด  สัดส่วน ความยาวลำตัว 20-36 มิลลิเมตร
ลำตัวมีสีเหลือง ลายดำ สวยงาม
หนวดยาวกว่าลำตัวเล็กน้อย ปีปมสีดำ อยู่ตรงหนวด เป็นจุดเด่น

สถานที่นัดพบ

ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณ  พบได้ทุกภาค  ในภาคอีสานจะพบตัวมันได้ตอนหน้าฝน ตามต้น ส้มเสี้ยว
หรือต้น ชงโฆ  ต้นแก  ต้นถ่อน และต้นยูง ต้นยาง ต้นกะทัน   หรือแม้กระทั่ง ป่าละเมาะทั่วไป



วงจรชีวิต

วงจรชีวิตนานประมาณ 1 ปี ช่วงระยะตัวแก่จะมีตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงตุลาคม แต่ช่วงพบตัวแก่สูงสุดคือช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึง กรกฏาคม ระยะตัวอ่อนจะพบตลอดทุกเดือนตลอดปี และในแต่ละเดือน
ก็พบตัวหนอนขนาดต่างๆ ทั้งขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ เดือนที่พบตัวหนอนมากและเห็นชัดคือช่วงปลายฤดู ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน
ตอนช่วงเป็นตัวนอน จะอยู่ตามใต้เปลือกไม้ ในโพรงเยื่อไม้  กินเปลือกและเยื่อไม้เป็นหลัก เมื่อโตเป็น
แมงสำลีเต็มวัย จะกินดอกไม้  ยอดอ่อนแทน

แมงสำลีนำมากินเป็นอาหารไม่ได้ เนื่องจาก ขิว มีกลิ่นฉุน และมีสารที่เป็นพิษ อย่างไรก็ตาม
แมงสำลีเป็นแมลงที่มีสีสัน สวยงาม ตัวอ่อนของมันเป็นอาหารของนก และสัตว์เลื้อยคลานตามธรรมชาติ
ส่วนมากนำปีกมันมา ประดับกระติบข้าว คู่กันกับปีกแมงทับ




เนื่องจากเป็นแมลงที่สวยงาม จึงเคยแสดงแบบบนแสตมป์ไทย ปี พ.ศ. 2532 (แสตมป์ราคา 3 บาท)

แมงสำลี หมายถึงความ หลากหลายทางชีวภาพ ที่สมบูรณ์  แม้จะเป็นศัตรูพืช แต่มันก็มีศัตรูตามธรรมชาติ
ไม่น้อย เพื่อเติมเต็มในห่วงโซ่อาหาร

 
 
สาธุการบทความนี้ : 714 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  11 ต.ค. 2553 เวลา 00:09:10  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  สาวส่า เมืองยโส    คห.ที่49)  
  เจ้ายุทธภพน้อยจ้า
ภูมิลำเนา : ยโสธร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 01 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 1,784
ให้สาธุการ : 155
รับสาธุการ : 3,349,420
รวม: 3,349,575 สาธุการ

 
อ้ายปิ่นกระทู้นี้ ดูดีมีเนื้อหาสาระขนาดเลย
น้องอยากอ่านนำ เลยมีเรื่องสิขอร้อง
ได้โปรด กรุณาอย่าเอารูปแมงตอนมันเป็นโตอ่อนมาลงนำได้บ่
เอาเป็นลิงค์ให้ขะเจ้าจิ้มเบิ่งเอง ถ้าอยากเบิ่งแหมะ
หลูโตนน้องแน่ อยากอ่านกะอยากอ่าน ย้านกะย้าน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 396 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  11 ต.ค. 2553 เวลา 08:12:28  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่50)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 6,184,200
รวม: 6,192,345 สาธุการ

 
แมงหัวแข็ง (คห.54)... บ้านผมเอิ้น แมงกอก

แมงสำลี (คห.48) ... บ้านผมเอิ้น แมงหนวดโค้ง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  11 ต.ค. 2553 เวลา 11:32:49  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)