ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ชื่อว่าเป็นนายนี้ให้หวังดีดอมบ่าว คันหากบ่าวบ่พร้อมสิเสียหน้าบาดเดิน แปลว่า เป็นนาย ให้หวังดีต่อบ่าวไพร่ หากบ่าวไพร่ไม่ยินดีทำตาม อาจอับอายเมื่อเดิน หมายถึง เป็นนายคน ให้รักใคร่บ่าวไพร่บริวาร เพราะหากไม่มีพวกเขา งานจะสำเร็จไม่ได้


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่285)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณบ่าวหน่อ:
สมัยเด็กน้อย ==> เป็นตาย้าน
ตอนนี้ ==> มหัศจรรย์แห่งแมลง ครับ

ตอนเป็นหนอน รูปร่าง ดี


แมงบ้งนี่กะย้านคับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 404 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 พ.ค. 2556 เวลา 19:40:44  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวแก่นนคร    คห.ที่286)  
  ผู้เยี่ยมยุทธ์

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ก.ย. 2551
รวมโพสต์ : 317
ให้สาธุการ : 215
รับสาธุการ : 583,870
รวม: 584,085 สาธุการ

 
ทางบ้านน้องเอิ้นแมงบ้งแป่ม  สีสันสวยสดงดงาม  แต่ซุนคิงเผิ่นบ่ได้  ป้าบเข้าให้ปวดแสบปวดฮ้อนโลด
เห็นว่าตะน้อยๆ กะได้ไห้ย้อนอยู่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 331 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  18 พ.ค. 2556 เวลา 17:52:19  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่287)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
คุณบ่าวแก่นนคร:
ทางบ้านน้องเอิ้นแมงบ้งแป่ม  สีสันสวยสดงดงาม  แต่ซุนคิงเผิ่นบ่ได้  ป้าบเข้าให้ปวดแสบปวดฮ้อนโลด
เห็นว่าตะน้อยๆ กะได้ไห้ย้อนอยู่


บ่าวแก่นนคร กะขี้โยย คือ จั่งทิดรุทธิ์ คือกันตั๊วนี่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 425 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  20 พ.ค. 2556 เวลา 11:09:28  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่288)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณบ่าวหน่อ:
คุณบ่าวแก่นนคร:
ทางบ้านน้องเอิ้นแมงบ้งแป่ม  สีสันสวยสดงดงาม  แต่ซุนคิงเผิ่นบ่ได้  ป้าบเข้าให้ปวดแสบปวดฮ้อนโลด
เห็นว่าตะน้อยๆ กะได้ไห้ย้อนอยู่


บ่าวแก่นนคร กะขี้โยย คือ จั่งทิดรุทธิ์ คือกันตั๊วนี่


อั๊ยย๊ะ..เพินนี่แม๊ะ มาหาว่าเขา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 253 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  20 พ.ค. 2556 เวลา 18:43:53  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่289) แมงสะดิ้ง  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 



ชื่อพื้นบ้าน   แมงสะดิ้ง  
ชื่อภาษาไทย  จิ้งหรีดทองแดงลาย  จิ้งหรีดขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์  Acheta domesticus
Class   :  Insecta
Order   :  Orthoptera
Family :   Gryllidae
Species:  Acheta
Sub  Species  :   A. demestica

มีหลายท่านเข้าใจผิด คิดว่าแมงสะดิ้ง คือ แมงจินาย ( จิ๊ดนาย)   ความจริงแล้ว แมงสะดิ้ง( อีสาน)
เป็นคนละอย่างคนละสายพันพันธุ์กับ แมงจิดนาย ขอรับกะผม  บางท่านหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
อาจได้ข้อมูลที่ผิด ๆไป  เพราะความไม่รู้ "สัมพันธภาพวิถี" ทำให้การถ่ายทอดความรู้ โค้งงอ
เดิมที ชาวอีสานเรียกมันมาตั้งแต่โบราณว่า" จิดลออี๊ด..!  " เพิ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็น "สะดิ้ง ! "
เมื่อ 40 ปี มานี้  ในที่สุดลูกหลานอีสานก็ลืมชื่อนั้น เรียกแมงสะดิ้ง มาจนถึงปัจจุบัน
"สะดิ้ง" เป็น ภาษาภาคกลาง  แปลว่า ดัดจริตเกินงาม  ระเริงเกินวัย  ไม่ใช่ภาษาอีสาน

คำว่า "สะดิ้ง" เริ่มมีมาใช้ ในอีสาน เมื่อมีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่ประชาชน
จัดตั้งโรงเรียน เริ่มมีการเรียนภาษาไทย ภาษาราชการ หรือโรงเรียนวัดในสมัยก่อน ( เรียนกันตามวัด )
ชาวอีสานจึงเข้าใจในบริบทคำว่าสะดิ้ง และดัดแปลงมันมาเปรียบเคียงกิริยา
จนตั้งชื่อให้แมลงชนิดนี้ เป็น "แมงสะดิ้ง"  ในที่สุด เพราะตัวเล็ก ๆ ก็อุ้มท้องป่อง มีไข่มีลูกเสียแล้ว

จากคำว่า "สะดิ้ง" ที่มีพูดกันจนเป็น แฟชั่น  จากนั้นก็กำเนิดคำว่า "ซิ่ง" ขึ้นมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
แผลงมาจากคำว่า "Sing " ในภาษาอังกฤษ  รู้จักกันในนาม ยี่ห้อเครื่องสำอาง ทาหน้า
ยี่ห้อ  Sing Sing ทาแล้วจะผุดผ่องยองใย ประดุจสาวแรกแย้ม  จึงเกิดคำว่า โสด ซิง ซิง ขึ้นมา



"ซิ่ง ในความหมายที่พูด เปรียบกิริยาที่ออกแนวกวนๆ ไม่เหมือนใคร  จึงกำเนิดเป็น "หมอลำซิ่ง"
ที่มีลีลาการ ร้องรำไม่เหมือนหมอลำตาม ครรลองอดีต ซึ่งสมัยนั้นถือว่าแปลก
เพราะฉะนั้น คำว่า ซิ่ง ของคนสมัยนั้นคือ แปลก กวนๆ ไม่เหมือนใคร นั่นเอง
มาในยุคปัจจุบัน คำว่า "ซิ่ง" ความเข้าใจในบริบทของคน คือ "เหยียบไม่ยั้ง  บิดจนสุด เร็วทะลุนรก
นั่นคือบริบทของสังคม ที่มีผลต่อภาษาและวิถีชีวิต ( สมัยก่อนไม่มีรถ เดี๋ยวนี้มีรถ )

แมงสะดิ้ง ก็เช่นกัน เมื่อใช้เรียก"  จิดลออี๊ด " จนติดปากเป็น"แฟชั่น จึงกลายเป็น แมงสะดิ้ง
มาจวบทุกวันนี้ แล


แมงสะดิ้ง คือแมลงในวงศ์เดียวกับจิ้งหรีด  แต่เป็นสายพันธุ์หนึ่ง ที่มีขนาดเล็ก
ถิ่นกำเนิด คือแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้กระจายพันธุ์เข้าสู่ยุโรป เมื่อประมาณ ศตวรรษที่ 18  ทางเรือสำเภาค้าขาย
โดยติดไปกับกระถางต้นไม้ ที่ชาวเรือนำไปด้วย มันแพร่พันธุ์เข้าสู่อเมริกา
และขยายพันธุ์เข้าสู่ประเทศ แคนาดา  พะนะ
ลักษณะทั่วไป
มีขนาดลำตัวกว้าง 0.4 ซม.  ยาว 2 ซม.  สีน้ำตาลอ่อน ปีกนอกมีลายเหลืองอ่อนเป็นทางยาว
ขนานไปกับลำตัว ปีกไม่ค่อยยาว เคลื่อนไหวไม่รวดเร็วเหมือนจิ้งหรีดชนิดอื่น
มีอัตราการขายพันธุ์ที่สูง อัตราการเลี้ยงรอดก็สูงกว่าแมลงชนิดเดียวกัน




วงจรชีวิต



การเจริญเติบโต มี 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะไข่
   มีสีขาวครีม วางไข่ในดินร่วน มีลักษณะ เรียวคล้ายเม็ดข้าวสาร ยาว 1.5 มม.
ตัวเมียตัวหนึ่ง วางไข่คราละประมาณ  500 ฟอง  มันจะวางไข่ 4 รุ่น ห่างกัน
คราวละ 10 - 15 วัน  ใช้เวลาฟัก 11 วัน เพื่อเป็นตัวอ่อน


  ภาพในระยะไข่
2. ระยะตัวอ่อน
  ลักษณะคล้ายมด ตัวขาวๆใสๆ  ไม่มีปีก  เมื่อฟักเป็นตัว มันจะพยามไปหาพื้นที่เบียกชื้น
เพื่อดื่มน้ำ และจะไม่กินอย่างอื่นไปอีก  2- 3 วัน จากนั้นค่อยหากินใบพืชใบหญ้าต่างๆ
เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ  มันต้องลอกคราบ ถึง 8 ครั้ง ถึงจะเป็นตัวเต็มวัย  ระยะนี้ มีอายุ 35- 40 วัน






3. ระยะเต็มวัย
  จะมีอวัยวะครบเหมือนดั่งพ่อแม่  เพศผู้จะมีปีกคู่หน้าย่น (หลังไม่เรียบ ) ส่วนตัวเมีย
จะมีปีกเรียบ มีอวัยวะยาวๆ ต่อท่อออกมาจากก้นเพื่อวางไข่ในดินได้ ตัวผู้มีส่วนของ
อวัยวะสั่นให้เกิดเสียง เพื่อสื่อสารหาคู่ ช่วงนี้ของชีวิตมีอายุ 60 วัน




การดำรงชีวิต
อาหารของมันคือ ใบไม้ใบหญ้า มันกินอาหารได้ลายหลาก  นับตั้งแต่ มอส ตระใคร่น้ำ
ไปจนถึงพืชใบกว้าง และต้นหญ้า  ไม่ชอบแดดร้อน มักจะหลบตามพุ่มไม้ ร่มไม้ พื้นดินตื้นๆ
ตามขอนไม้ผุ ใต้ซอกหิน ซอกดิน เพื่อหลบร้อน ในขณะที่ ตะวันบ่ายคล้อย และช่วงเช้าๆ
มันถึงจะออกมาในที่โล่งบ้าง  ส่วนใหญ่หากินในตอนกลางคืน



  ภาพ ต้นตำแยแมว หรือ หญ้าให้แมว ( อีสาน )

อาหารสุดโปรดคือ หญ้าตำแยแมว หรือหญ้าให้แมว(อีสาน)  และหญ้าแห้วหมู เป็นต้น
เมื่อถึงวัยสืบพันธุ์ ตัวผู้จะหาทำเลเหมาะ ๆ ร้องเพลง อี๊ด ๆ ( บางคนฟังเป็น กรี๊ก ) ยาวๆ
เรียกสาวๆ มาใกล้เพื่อขยายพงศ์วงศ์วาน

บทบาทและความสำคัญในธรรมชาติ
แมงสะดิ้ง ตามธรรมชาติแล้ว เป็นอาหารของ กบ เขียด ปู ปลา สัตว์เลื้อยคลาน เช่น
ขี้กะปอม ขี้โกะ  เป็นอาหารของสัตว์ปีก นกกินแมลง และ เป็นอาหารของไก่บ้าน ไก่ป่า
รวมทั้งมนุษย์เราด้วย นับว่าเกิดมาเพื่อปรุงแต่งโลก เลี้ยงโลกให้วิวัฒนาการหลากหลาย
โลกนั้นขาดมนุษย์ ก็ไม่เดือดร้อน  แต่หากขาดแมลงแล้วหละก็  เป็นอันวินาศทันที



ความเกี่ยวพันกับวิถีชาวอีสาน
แมงสะดิ้ง พบได้ตาม คันแทนา ริมห้วยหนอง ในป่า หรือตามเดิ่นดอนทั่วไป
ชาวอีสานจึงนำมาเป็นอาหารรสแซบอีกเมนูหนึ่ง  แหล่งโปรตีนที่หาได้แทบทุกฤดู
บางครั้งก็นำเอาแมงสะดิ้งเป็นเหยื่อในการ ตกปลา เช่น ปลาค่อ ปลาโด ปลาค้าว
ชาวอีสาน มีรสนิยมในการกินแมลง แซงหน้าของคนในภูมิภาคนี้ โดดเด่น
นั่นคือการเล็งเห็น คุณค่าของสิ่งเล็ก ๆ น้อย  ไม่ทอดทิ้งเปล่าประโยชน์



ปัจจุบัน แมงสะดิ้งกลายเป็นแมลงเศรษฐกิจ สามารถนำมาเพาะเลี้ยงขายเป็นอาชีพได้
ต้องยกย่อง นักวิชาการเกษตร และเกษตรกรผู้หัวหลักแหลม  ของไทยแลนด์แสตนอัพ
นั่นคือแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน นำธรรมชาติมาประยุกต์ เพื่อสร้างมูลค่า

อย่างไรก็ตาม แมงสะดิ้งตามธรรมชาติบ้านเรา ลดจำนวนลงมาก เพราะมัน
เปราะบางต่อสารเคมีต่างๆ ที่เราใช้ถ่ายเทลงสู่ระบบนิเวศน์  ส่งผลต่อทุกชีวิตเป็นลูกโซ่  
แมงสะดิ้งลดลง ปลาก็ลดลง กบเขียดอึ่งอ่างคางลาย "กะปอม" ก็ลดลง
คนก็เป็นสุขน้อยลง นั่นคือสายสัมพันธ์ที่เรามักจะมองข้าม จนภัยมาถึงตัว
จึงโอดครวญประท้วงคิดแตกแยก สาเหตุเล็ก ๆ เพราะแมงสะดิ้งสูญหาย ก็เป็นได้

* ข้อมูลอ้างอิงจาก "จิ้งหรีดและการเพาะเลี้ยง"
ของ รศ.ดร.ศิวิลัย  ศิริมังคลารัตน์
สาขา กีฏวิทยา  คณะเกษตรศาสตร์ มหาลัยขอนแก่น

* ข้อมูลภาพและอื่นๆ จาก
http://bugguide.net/
http://commons.wikimedia.org
www.herpcenter.com  
www.oknation.net

 
 
สาธุการบทความนี้ : 627 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  06 มิ.ย. 2556 เวลา 08:46:59  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่290)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณปิ่นลม:







กับแกล้มชั้นยอดอ้ายเอ๋ย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 366 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  07 มิ.ย. 2556 เวลา 21:32:30  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวคนโก้    คห.ที่291)  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 30 พ.ย. 2554
รวมโพสต์ : 35
ให้สาธุการ : 405
รับสาธุการ : 89,680
รวม: 90,085 สาธุการ

 
คุณอีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}:
คุณปิ่นลม:







กับแกล้มชั้นยอดอ้ายเอ๋ย

หลายๆแบบนี้ หยิบเทื่อละโตมันบ่แซบ  รุ่นนี้ต้องหยุมเลย เต็มปากเต็มคำดีขนาด  
   แต่เดี๋ยวนี้เพิ่นขายอยุตลาดแพงคักโพดกินหลายบ่ได้ ต้องหยอมๆกินเอา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 420 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  20 มิ.ย. 2556 เวลา 13:55:25  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่292) มดแดง ( แม่ทัพแห่งโคกป่า )  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 



ชื่อภาษาไทย           มดแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์   Oecophylla smaragdina Fabricius
ชื่อสามัญ   Red Ant, Green Tree Ant
อันดับ Hymenoptera
วงศ์ Formicidae
มดที่พบและรายงานบันทึกแล้ว ในประเทศไทยมี 247 ชนิดใน 9 วงศ์ย่อย
แต่มดชนิดนี้ โด่งดังรู้จักกันถ้วนหน้า ส่วนหนึ่งมาจาก รสนิยมการกิน "แมลง"
ของพี่น้องบ้านเรา "อีซาเนีย"  คือ อีสานบ้านหมู่เฮา นี่หละ

"ไข่มดแดง" คือ อาหารชั้นสูงบนยอดไม้ เพราะมันเป็นมด ที่ทำรังบนต้นไม้
ซึ่งมีเพียง 3 สายพันธุ์เท่านั้น มดส่วนใหญ่ ทำรังบนดิน , ใต้ดิน และโพรงไม้ ขอรับ




มดแดง โดดเด่นที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ที่ทำรังบนต้นไม้  มันเป็น"ฮีโร่" ของคนหลายคน
ในประเทศ ญี่ปุ่น ฮีโร่ สายพันธุ์ ไอ้มดแดง กลายเป็นขวัญใจเด็ก ๆ  ในฐานะผู้พิทักษ์โลก
ผู้ผดุงคุณธรรม ต่อกรกับความชั่วร้าย มีท่าไม้ตายคือ"ท่ามอญยันหลัก" SUPER KICK "
นั่นคือการ ออกแบบของศิลปิน โดยอาศัยโครงสร้างจาก มดแดงแมลงตัวเล็ก ๆ




ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น มดแดง เป็นสัตว์ที่ประสบผลสำเร็จในด้านการปกครอง
เหนือชั้นกว่าทุกลัทธิ ทุกระบอบ ที่ปัญญาของมนุษย์คิดค้นขึ้นมาใช้ในโลกา
มดแดงในรังไม่ต้องมีหัวหน้าคอยสั่งการ ไม่เอาเปรียบกัน ต่างทุ่มเทเสียสละทำงาน
ทำตามหน้าที่ของตนไม่เกี่ยงงอน ไม่อิจฉาริษยา ไม่รังแกทำร้ายกัน ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน
ไม่ต้องมีศาลหรือ ออกกฎหมายปกครอง บ้านเมืองของมดแดง ก็สงบสุข   ต่างเสียสละ
เพื่อรังของมัน ที่ยึดมั่นคือ" ความสามัคคี"   นั่นคือเหตุผลที่มี อยู่รอดมาได้
เป็นเวลา 30 ล้านปี ก่อนจะปรากฏ มนุษย์ผู้เลิศด้วยปัญญา  
มดแดง คือมดที่ วิวัฒนาการขั้นสูงสุดในบรรดามดทั้งมวล
ทั้งด้านกลยุทธ การปกครอง จริยธรรม ขาดอย่างเดียว คือ ปัญญาประดิษฐ์
นั่นเพราะสัจธรรม ธรรมชาติใด ๆ ทั้งปวง ล้วนไม่สมบูรณ์แบบ
ธรรมชาตินั้น ชิงชังความสมบูรณ์แบบ

มดแดง คือมดที่น่าสนใจเอามาก ๆ  เพราะเป็นราชันย์แห่งมวลมด
การศึกษาวิจัย ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมัน อาจนำมาซึ่งประโยชน์
แก่มวลมนุษย์มหาศาล เกินจินตนาการของเราโดยสิ้นเชิง


ลักษณะทางกายภาพ


มดแดง มีลำตัวสีแดง บางครั้ง "แม่เป้ง" (นางพญา) ก็มีสีเขียว แต่โดยทั่วไปนั้น
มีขนาดลำตัว 9 - 11 มม. มีรูปร่างยาวเรียว เอวคอดกิ่ว ปากเป็นแบบปากกัด บ่มีเหล็กไน
รูปร่างยาวเรียว เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว มีสีแดงส้ม บางแห่ง อาจมีสีเขียว
เพราะอยู่ในเขตป่าฝนชื้น แต่ที่พบในเมืองไทย มีสีแดงส้ม  
นั่นคือมดแดงที่เราเห็นจนชินตา

ภายในตัวมดงาน ( อีสานเรียกว่า มดส้ม)  จะมีกรด ฟอร์มิค ซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน แสบร้อน
มันเอาไว้ป้องกันตัว และล่าเหยื่อ ทดแทนการไม่มีเหล็กไน
มันเป็นนักสงครามเคมีขั้นเทพ >


นักวิจัยจากสถาบันแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมัน วิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา สกัดเอาไฮโดรเจน
จากกรดมด (Formic acid, HCOOH) โดยไม่ต้องอาศัยอุณหภูมิที่สูงในการแยกเอาไฮโดรเจนออกมา
ซึ่งจำเป็นในการแยกไฮโดรเจนในปฏิกิริยาอื่น และสามารถนำไปใช้ในเซลล์เชื้อเพลิง


นักวิจัยได้พัฒนาวิธีแยกไฮโดรเจนจากกรดมดโดย ในสภาวะที่ปรากฏ เอมีน(เช่น N,N-dimethylhexylamine)
และตัวเร่งที่เหมาะสม (เช่นตัวเร่งที่ขายตัวไป ruthenium phosphine complex [RuCl2(PPH3)2])
กรดมด จะถูกเปลี่ยนไปเป็น คาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรเจนในทันที (HCOOH = H2 + CO2)
การเร่งที่ง่าย ๆ โดยใช้ตัวถ่าน Charcoal  เป็นตัวกรองจับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ ซึ่งทำให้ไฮโดรเจน
ที่ออกมามีความบริสุทธิ์จนใช้ในเซลล์เชื้อเพลิงได้

ไม่แน่ในอนาคต เชื้อเพลิงบริสุทธิ์ ที่ใช้เติมยานพาหนะล้ำสมัย อาจมาจาก "ฮังมดแดง" พะนะ




มดแดงแต่ละประเภทในรังของมัน
1. มดนางพญา (ราชินีมด )  มีลำตัวยาว 15 มม. มีสีชมพู หรือสีเขียวอ่อนจางๆ ท้องใหญ่
   คือผู้ให้กำเนิดอาณาจักร มีหน้าที่ออกไข่ รับข่าวสารจากมดงาน ประมวลผลว่า
    จะออกไข่ชนิดใด กำหนดจำนวนและชนิดของประชากรในรัง ให้เหมาะกับแต่ละฤดูกาล
2. มดนาง ในภาษาอีสาน  คือมดตัวเมีย ซึ่งจะทำหน้าที่สืบพันธุ์ เตรียมตัวเป็น
     นางพญามด ในวันข้างหน้า มีลักษณะเหมือนกับ  มดนางพญา แต่มีปีก อาจมีสีแดง
      สีชมพู หรือสีเขียว ก้นใหญ่อวบอิ่ม อาจมีเฉพาะฤดูกาลผสมพันธุ์ ห้วงเดือน เม.ย.-พ.ค.
3. มดตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าบรรดามดในรั้งทั้งหมด มีขนาด 6- 8 มม .ลำตัวเรียวเล็ก
     มีสีน้ำตาลแก่ แดง  จนถึงสีดำ  มีปีกเหมือน แม่เป้ง (มดนาง) มีหน้าที่บินไปผสมพันธุ์กับ
     มดนางแม่เป้ง   เมื่อฤดูผสมพันธุ์ มาถึง มักจะมีเฉพาะฤดูกาล
4. มดงาน คือมดแดง ที่เราเห็นกันบ่อยๆ มีหน้าที่หาอาหาร สร้างรัง สะสมเสบียง
   เลี้ยงดูสมาชิกอื่นในรัง ทำหน้าที่ทหารเมื่อรังถูกคุกคาม เรียกได้ว่าเป็น เครื่องจักรสีแดง
   ทำงานหามรุ่งหามค่ำ เพื่ออาณาจักรอย่างแท้จริง


5. มดทาส หรือ มดสายลับ คือ มดชนิดอื่น ๆ ภายในรังของมดแดง เช่น มดดำตะลาน มดดำขน
    มดดำฉุน  เกิดจากการ ขโมยไข่มดชนิดอื่นมาเลี้ยงในรัง เพื่อประโยชน์ในการศึกษาพฤติกรรม
   และปลอมตัวเข้าไปล้วงความลับ ของแหล่งอาหารในมดต่างชนิด อีกทั้งมดแดงนั้น
   ไม่มีมีสัญชาตญาณในการทำนายสภาพอากาศ จึงอาศัยมดต่างชนิด ที่มีความสามารถด้านนี้
   ช่วยในการทำหน้าที่เป็น "กรมอุตุนิยมวิทยา"


ภาพมดดำชนิดที่ มดแดงชอบเอามาเลี้ยงในรัง เป็นมดทาส



การดำรงชีวิตและการสร้างรัง
มดแดงจะผสมพันธุ์กันในช่วงต้นฤดูฝน แม่เป้งกับมดผู้จะบินขึ้นไปผสมพันธุ์
บนกลางอากาศ แล้วมดแม่เป้ง ก็จะหาทำเลเหมาะ ๆ ในการออกไข่บนใบไม้


ภาพ แม่งเป้ง กำลังร่อนเร่ หาที่เหมาะในการสร้างรัง


ภาพแม่เป้ง กำลังออกไข่ชุดแรกบนใบไม้ ถนุถนอม เพิ่มจำนวนมดเพื่อสร้างรัง

เมื่อมีจำนวนมดงานมากพอแล้ว มดแดงจะช่วยกันทำรังบนต้นไม้
โดยใช้เส้นใยจากตัวอ่อนของมดแดง เป็นกาวเชื่อมต่อใบไม้ให้เป็นรัง
มดงานจะเกาะตัวกันเป็นลูกโซ่ เพื่อดึงใบไม้มาชิดกัน
แล้วเส้นใยเชื่อมให้ใบแต่ใบติดกัน ห่อหุ้มเป็นรังมดแดง  
ต้องอาศัยความสามัคคีอย่างยิ่งยวด


มันกินอาหารได้หลายหลาก ทั้งเมล็ดพืช แมลง และซากของสัตว์ชนิดอื่นที่ตายลง
แม้แต่เศษอาหารของมนุษย์ก็เป็นอาหารของมันได้เช่นกัน




สังคมของมดแดงภายในรังคล้ายกับมนุษย์ มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน
มดงานในรัง เป็นแบบ polymorphic  มีรูปร่างต่างแบบกัน
เช่น มดงาน แบบ major worker ส่วนใหญ่หน้าที่คือออกไปนอกรังหาอาหาร
มดงาน แบบ minor worker ทำหน้าที่ดูแลไข่ และเลี้ยงดูนางพญา
มดงาน แบบ ect. worker คือมดต่างสายพันธุ์ ที่มดแดงเก็บไข่มาเลี้ยง
ส่วนใหญ่เป็นมดดำ ที่ทำรังใต้ดิน หรือตามขอนไม้ผุ
มดจำพวก ect. worker ในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
ซึ่งมดจำพวกนี้ จะมีเฉพาะรังที่มีอาณาจักรใหญ่แล้วเท่านั้น

( รังอาจไม่มีมดจำพวก ect. worker เพราะพื้นที่ ขาดความหลากหลายทางชีวภาพ )



รังของมันมีอยู่ 3 ประเภท คือ รังที่พักของมดนักล่า รังฉุกเฉิน และรังใหญ่
หากเราสังเกตดีๆ ตามต้นไม้ที่มีรังมดแดง จะมีหลายรัง บ้างก็รังเล็ก ๆ บ้างก็รังที่อยู่ต่ำ ๆ
กระจายกันอยู่รอบบริเวณรังใหญ่ของนางพญา ( รังที่เราไปเอาไข่มัน )
ซึ่งแต่ละรังใช้ประโยชน์ต่างกัน



คิดเอาเองหรือเปล่า พะนะ (ลังคนสงสัย)  เด็กบ้านนอกอย่างผม อาศัยเวลาว่าง
ในขณะที่เลี้ยงควาย รอดาวเทียมไทยคมหมดอายุ  สังเกตสังกา รังมดแดง
พบว่ามดแดงนั้นหากินไกลได้ถึง 1 ตารางกิโลเมตร  การขนย้ายอาหารเป็นเรื่องลำบาก
บ้างครั้งขนทั้งวันยังไม่ถึงรังแม่ มันจึงสร้างรังพักระหว่างทางในการหาอาหาร
เมื่อล่าแมลงอื่นมาได้ 4 ตัวหาม 3 ตัวแห่ จะลำเลียงมาพักคอยไว้ก่อน ในรังเล็ก
จากนั้นจะมีพวกมารับช่วงต่อ หาบคลอนขึ้นไปหารังใหญ่ (รังที่มีไข่)
รังกระเปาะเล็ก ๆ ต่ำ ๆ ที่อยู่ห่างจากรังแม่ ประมาณ 300 เมตร หรือน้อยกว่านั้น
เรียกว่า "รังนักล่า"


ภาพตัวอย่าง รังนักล่าของมดแดง

ประโยชน์ก็คือ เป็นที่พักชั่วคราวของมดงาน และพักซ่อนอาหาร จากสายตาสัตว์อื่น
ก่อนจะลำเลียงสู่รังใหญ่  เพราะหาก ขนย้ายระยะทางไกล เป็นจุดเด่น
มักจะถูก นกเอี้ยงสาริกา นกเอี้ยงโหม่ง หรือนกอื่นๆ แย่งอาหารไปได้


รังฉุกเฉิน  คือรังใหญ่ขึ้นมาหน่อย ในไม้ต้นเดียวกัน แต่ไม่ใช่รังของราชินี (แม่เป้ง)
ใช้สำหรับเมื่อห้วงราชินีออกไข่ ทำให้รังแออัด รองรับจำนวนมดทั้งหมดไม่ได้
จำต้องสร้างรังอีกประเภท ไว้เป็นที่พักของบรรดามดงาน และเก็บอาหาร
บางประเภทไว้ฉุกเฉิน   กรณีที่รังใหญ่ ประสบภัยพิบัติ


วงจรชีวิต


มดแดง มีการเจริญเติบโตแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ (complete metamorphosis)
โดยในวงจรชีวิตจะประกอบด้วย  4 ระยะ ได้แก่  ไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย

มดงานมีอายุ 1 ปี  มดตัวผู้ มีอายุ 6 เดือน  ส่วนมดนางพญา มีอายุยืนยาวได้ถึง 10 ปีทีเดียว




บทบาทตามหน้าที่ในธรรมชาติ
มดแดงทำหน้าที่ นักเก็บขยะ หรือเทศบาลในธรรมชาติ ทำหน้าที่ควบคุมแมลง และหนอน
ที่จะกัดกินต้นพืชให้เสียหาย จัดการแมลงชนิดอื่น ถ่วงสมดุลให้ธรรมชาติ
ให้ไม้ผล ออกผลสมบูรณ์ดี ผลไม้ไม่เน่าเสีย ป้องกันแมลงวางไข่ หนอนเจาะผลไม้
และหน้าที่เป็นแบบไม่ได้ตั้งใจคือ เป็นอาหารของมนุษย์ และเครื่องปรุงอาหาร
ประเภท "ก้อย"  "ต้ม"  "ตำเมี่ยง" แกง พร้อมเป็นกับแกล้มชั้นดี



ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตอีสาน
คนอีสานกินไข่มดแดง เป็นอาหารมาตั้งแต่ โคลัมบัส ยังไม่เกิด  เป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยม
ก่อนนี้ 30 ปี ยังเป็นแค่อาหารของ ผู้ใช้แรงงาน อาหารบ้านนอก ผู้ด้อยโอกาส
เมื่อยุค แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4 มาถึง  การอพยพแรงงานจากภาคอีสาน ได้ตะลุย
บุกที่ถิ่นที่ แม้กระทั่งเป็นแม่บ้านฝรั่งดังโม ได้นำเอาเทคนิคการกินไข่มดแดงเผยแพร่
หาแหย่ หาซั๊วรังมดแดง มาทำเป็นอาหารหลากหลาย  จนกลายเป็น อาหารภัตตาคาร



บันทึกไว้ตรงนี้ก็ได้ ชาวอีสานและ ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง เป็นชนชาติแรกที่คิดค้น
การกินไข่มดแดงเป็นอาหาร  หรือจะนิยามใหม่ให้เป็น "ไข่โคกเวียร์" เทียบชั้น
ไข่ปลาคาเวียร์ ที่แพงยังกะทองคำในซีกยุโรป



ปัจจุบันไข่มดแดง เป็นสินค้าเศรษฐกิจ ที่สร้างได้งามแก่ผู้คิดดัดแปลงเพาะเลี้ยง
เพราะสภาพป่าโคก ป่าท้องถิ่น ถูกแนวคิด "พัฒนาเหี้ยนเต้" ครอบงำ
จนพี่น้องชาวอีสานเข้าถึงมดแดงได้ยากขึ้น จำนวนลดลง ตามสภาพป่าโคกอีสาน



ในอนาคตอาจมี ไข่มดแดงอัดกระป๋อง เป็นสินค้าส่งออก สร้างรายได้ให้ประเทศ
ในอนาคตอีก อาจใช้แมลงชนิดนี้ในการ ผลิตเชื้อเพลิงบริสุทธิ์ เติมยานพาหนะ
ใครจะไปรู้ถึงตอนนั้น "มดแดง "  อาจเป็นผู้ครองโลกแทนเราก็ได้



ขอบคุณภาพประกอบ และข้อมูลทั่วไปจาก

www.malaeng.com
www.oknation.net
www.wellcome-hi.com
www.blognone.com
www.enn.co.th

 
 
สาธุการบทความนี้ : 933 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  21 มิ.ย. 2556 เวลา 11:10:02  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่293)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
บรรยายได้ตึ้น ลึก หนา บาง ชัดเจนขนาดครับ
ยอมรับการสังเกตุแฮง 1กิโลเมตรบ่แหม่นใกล้เนาะ มดนี่ขึ้นซือว่าจอมขยันอีหลี
คนเฮาน่าสิเอาโตอย่างแบบมดแนกะดี..โดยเฉพาะความสามัคคี
..

 
 
สาธุการบทความนี้ : 504 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  21 มิ.ย. 2556 เวลา 19:59:46  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่294) จักจั่น  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ชื่อภาษาไทย : จักจั่น
ชื่อภาษาอีสาน : จั๊กกะจั่น
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cicada
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pompania sp.
Order : Homoptera
Family : Cicadidae
species :  Platylomia

ดังที่ ญาอ้าย มังกรเดียวดาย ญ่างกายมาพันโพน ปราชญ์ศรีกวีแคน ได้แนะนำว่า
** ทุกสิ่งอย่างในโลกนี้ ล้วนมีหน้าที่ตามธรรมชาติ ( ฟังก์ชั่น)  และความสำคัญของตัวมันเอง ***

การศึกษาแมลง หรือ "แมงไม้" ในภาษาอีสาน ถือว่าเป็นเรื่องดี มีคุณประโยชน์
เพราะทุกสิ่งล้วนมีความสำคัญ ตามหน้าที่บทบาทในตัว


หลายๆ คนที่เติบโตมาจาก วัฒนธรรมแบบไทย ๆ คุ้นเคยกับจักจั่นดี  พ่อแม่มักจะซื้อให้เล่น
เมื่อมี "งานวัด " หากมี "ขนมสายไหม"  ก็ต้องมี "จักจั่น"  ของเล่นที่เลียนแบบเสียงแมลง
นั่นคือความนัย สอนให้ลูกหลาน " สนใจแมลง "

ตอนเมื่อเรายังเด็กนั้น เด็กทุกคนจะสนในธรรมชาติและสิ่งรอบตัว สนใจสัตว์เล็ก ๆ  
มีความใคร่รู้ และสนุกกับเพื่อนสัตว์โลกรอบตัวเรา  เด็กบางคนสนใจผีเสื้อ
บางคนสนใจปลา บางคนสนใจแมลงต่างๆ  บางคนชอบดอกไม้  เป็นต้น


เด็ก ๆ นั้น วิญาณของพวกเขายังบริสุทธิ์  ยังคุยกับโลกใบนี้ได้
ทุกชีวิตในโลก ล้วนเชื่อมโยงกัน ทำให้เด็ก ๆ เหล่านั้น "สนใจชีวิต"
ในฐานะสิ่งมีชีวิตด้วยกัน นั่นคือ "ฟังก์ชั่นของชีวิตมนุษย์ "




เมื่อเวลาผ่านไปเราเติบใหญ่ หลาย ๆ คน สุญเสีย "ฟังก์ชั่น" นี้ไป
จึงเปลี่ยนบทบาทมาเป็น "ไวรัส ล้างโลก"  ทำร้ายทุกอย่างที่ห่างกายา วาเดียว
ป่าไม้เอย. สัตว์อื่นเอย วัฒนธรรมเอย คนที่ไม่เชื่อเหมือนตนเอย
คนที่เขารักเราเอย ครอบครัวเอย สถาบันเอย ประเทศชาติเอย  โลกเอย
อันนี้ก็เล่าสู่กันฟังซือ ๆ เด้อขะรับ


กล่าวทั่วไป:
ว่ากันว่า จักจั่นถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว 230 ล้านปีก่อน
จักจั่นเป็นแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร  ชีวิตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใต้ดิน
เวลากลางคืน ดูดน้ำเลี้ยงจากใบพืช  รวมกระทั่งเห็ดบางชนิดในป่า  
โดยทั่วไปจะอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงจาก รากพืช หัวพืชตระกูลว่าน เป็นต้น
ห้วงสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น จึงแปลงกายเป็น จักจั่น โผบินให้เราเห็น ชินตา


ภาพรังของจักจั่น

จักจั่นนั้นทำรังใต้ดิน มักเจาะรูเพื่อใช้เข้าออก  ในฤดูฝนมันจะขนดินขึ้นมาก่อ
เป็นรูปแท่ง เพื่อป้องกันน้ำท่วมรู  คล้ายกับ "ขวยขี้ไก่เดียน" ( รังไส้เดือน)
จักจั่นที่ มีหลายสายพันธุ์  แต่ละสายพันธุ์ มีอายุต่างกัน
จักจั่นดง ตัวใหญ่สีดำ  อายุ 15 ปี
จักจั่นช้าง ตัวใหญ่สีเขียว อายุ 10 ปี
จักจั่นโคก สีเหลืองเปลือกไม้ ตัวเล็กมีอายุ 6-7 ปี  
จักจั่นเรไร  ตัวขนาดเล็กสุด สีน้ำตาลอมเขียว   2 ปี


จักจั่นฝรั่ง (จักจั่นเมืองหนาว ) ตัวใหญ่สีดำลายแดง มีอายุได้ถึง 17 ปี


ที่กล่าวถึง ในบทความนี้ เน้น "จักจั่นโคก" สายพันธุ์อีสาน เป็นหลักครับ

ลักษณะทางกายภาพ


ลักษณะที่เด่นชัด ปีกคู่หน้าหนาตลอดทั้งแผ่นปีก เหมือนกัน, เท่ากัน  ปีกบางใสเหมือนกันทั้งแผ่นปีก
ลำตัวของเพศเมีย มีก้นแหลม มีระยางค์สำหรับวางไข่ ยื่นออกมาเล็กน้อย
ทั้งลำตัวยาวเฉลี่ย 3 ซม.  ส่วนตัวผู้ก้นเสมอกันกับลำตัว รูปทรงกระบอก ยาวเฉลี่ย 4 ซม.
ตัวผู้มีครีบบาง ๆ ปิดช่วงท้อง  ป้องกันอวัยวะกำเนิดเสียง
จักจั่นนั้นมีปากแบบดูด มีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม



จักจั่น คือเพศผู้สามารถทำเสียงได้ แหล่งกำเนิดเสียงมาจากบริเวณด้านในลำตัว
ในส่วนของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก  เมื่อแหวะออกดู จะเห็นกลีบของกล้ามเนื้อ
ลักษณะคล้ายกับ " ฮีตท์ซิ่งค์" (ตัวระบายความร้อนของ CPU )  ขุมพลังของเสียง 200 เดซิเบล
จักจั่นแต่ละชนิดมีเสียงจำเฉพาะ  เพื่อให้เสียงร้องของมัน มี"เมโลดี้" แทรก แตกต่างจาก
เสียงร้องของสัตว์อื่น ให้พวกเดียวกันฟังออก และหาตำแหน่งเจอ
ช่วงท้ายของลำตัว(ตัวผู้) จะมีลักษณะกลวง "โบ๋เบ๋" เพื่อกำเนิดเสียงสะท้อน

วงจรชีวิตของจักจั่น


ช่วงชีวิตของจักจั่น มี 3 ระยะ คือ

ระยะไข่ -อยู่ตามใต้เปลือกไม้ ขอนไม้ รากไม้ต่างๆ  รอฝนมาเยือน



ตัวอ่อน  - ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากไม้ บางทีอาจขึ้นมาดูดน้ำเลี้ยงจากต้นไม้
             หรือเห็ดรา ที่ขึ้นตามฤดู ทำรังอยู่ในใต้ดิน ส่วนใหญ่ตามพงไม้ ที่ยังชุ่มชื้น
               บางทีก็ย้ายรังตามหาอาหาร  ช่วงนี้คือช่วงที่ยาวนานที่สุดของมัน
             มีอายุ 4- 6 ปี  และเป็นช่วงที่เราพบเห็นมันได้ยากที่สุด พะนะ


  ภาพ ระยะตัวอ่อน อาศัยอยู่ใต้ดิน


ตัวอ่อนระยะ อาศัยใต้ดิน บางครั้งกลางคืนก็ออกมาหากินบนพื้น หลบอยู่ตามพื้นดินชุ่มชื้น



ตัวเต็มวัย -  เมื่อใบไม้เริ่มผลิ มันจะคลานออกมาจากรังใต้ดิน ปีนขึ้นไปบนที่สูง
               แล้วลอกคราบ เป็นตัว จักจั่น ก่อนรุ่งสางอรุโณทัย
               เมื่อลอกคราบใหม่ๆ มีสีขาว หรือเหลือง เมื่อปรับตัวได้ ก็จะเป็นตัวจักจั่น
               เกาะอยู่ตามต้นไม้ช่วงนี้ มันแทบจะไม่กินอาหารเลย
               มีชีวิตเพื่อจับคู่ สืบพันธุ์และวางไข่ ในเปลือกไม้
     ช่วงชีวิตนี้เองที่เราได้ยินเสียงร้องของมัน  ห้วงนี้มีอายุได้ 2 เดือนเท่านั้น


ภาพการวางไข่ ของจักจั่น

แหล่งที่อยู่อาศัย


พบได้ตามป่าโคก ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ  ที่มีต้นกุง (ตองตึง) พลวง และสะแบง
มันอาศัยพื้นดินที่มีอินทรีย์สารสูง ในการอยู่รอด ส่วนใหญ่อยู่ใต้ดินเป็นหลัก
ชอบพื้นที่ชุ่มชื้น  ดินร่วน และดินที่มีความสามารถแลกเปลี่ยนธาตุอาหารได้ดี
ตัวเต็มวัย ระยะสุดท้ายนั้น ชอบเกาะตามต้นไม้กิ่งไม้ต่างๆ เพื่อร้องหาคู่
เสียงร้อง " จั่น..จั่น  จั่น ๆๆๆๆ " คือที่มาของชื่อมัน


บทบาทและหน้าที่ตามธรรมชาติ
ช่วยให้ดินสมบูรณ์แลกเปลี่ยนแร่ธาตุ  เป็นอาหรของสัตว์อื่น ระบบนิเวศน์
ร่างไร้วิญญาณของมัน เป็นปุ๋ยชั้นเยี่ยมคืนสู่แผ่นดิน ช่วยให้ป่าร่าเริงมีชีวิต
กล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้ อ่อนโยน สันติ
โลกของมันยังลึกลับพอสมควร แต่บทบาทหน้าที่ของมันคาดเดาง่าย



ว่านจั๊กจั่น คืออะไร
คือกลไกของธรรมชาติอย่างหนึ่ง ในการควบคุมแมลง เพราะธรรมชาตินั้น
ชิงชังความเหมือน และความสมบูรณ์แบบ ธรรมชาติจะไม่ยอมให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีจำนวนมากพ้นทวี เอาเปรียบและ ช่วงชิงทำลายสมดุล
จึงเกิดมี เชื้อราทำลายแมลง เชื้อราสายพันธุ์ Cordyceps sobolifer
เป็นเชื้อราที่กินแมลงเป็นอาหาร และยึดร่างของแมลงเป็นที่อาศัยเติบโต
พูดง่ายๆ ให้เข้าใจก็คือ "เชื้อรากินจั๊กจั่น"
หรือ ตัวอ่อนของแมลง จั๊กจั่นถูกเชื้อรายึดร่าง นั้นเอง
ไม่ใช้พืช ที่มีหัวเป็นตัวจั๊กจั่น นะครับ


ภาพ เชื้อราชนิดกินตั๊กแตน

ดังนิยายวิทยาศาสตร์อันน่าขนลุก สัตว์ประหลาดต่างดาวต่างดาวางไข่ในตัวคน
แล้วยึดร่างเติบใหญ่ กัดกินไส้พุง จนละทุท้องออกมา กลายเป็น "เอเลี่ยน"  


ภาพ เชื้อราชนิดกินมด

"เชื้อรา" ที่กล่าวมา มีหลายสายพันธุ์ แต่ละชนิด ต่างกัดกินแมลงต่างประเภทกัน
เพื่อควบคุมจำนวนแมลง ไม่ให้ชนิดใดชนิดหนึ่งได้เปรียบชนิดอื่นในนิเวศน์
ไม่ใช่เรื่องเหลือเชื่อแต่ประการใด หากเราเข้าใจธรรมชาติ



ภาพ เชื้อราชนิดกินแมงกะเบี้ย

หลักการทำงานของเชื้อรา ชนิดที่กินแมลงคือ  เมื่อสัมผัสเชื้อราชนิดนี้แล้ว
มันจะค่อยๆ เข้าเติบโตบนส่วนหัวของแมลง เข้าคุมระบบประสาท
แม้แมลงจะมีชีวิตต่อไปสักพัก มันก็ควบคุมตัวเองไม่ได้  จนในที่สุดก็หยุดเคลื่อนไหว
ปล่อยให้เชื้อรา งอกเจริญเติบโต  ยึดร่างไปสิ้น เมื่อยึดร่างได้แล้ว
มันจะดูดกินสารอาหารในตัวแมลง เติบโตลงอกลำต้น เพื่อแผ่ "สปอร์" มรณะต่อไป
จนมีสภาพเป็น "ว่านจั๊กจั่น"


ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวอีสาน
ทางอีสาน เมื่อปลายเดือน มีนาคม - เมษายน ตามป่าโคกทั่วไป จะมีจักจั่นร้อง
สนั่นป่าโคก  เป็นแหล่งอาหารในยามยากของผู้คน จักจั่นเลี้ยงดู สัตว์ทั้งหลาย
เพื่อให้อิ่มท้องและอยู่รอด รอพระพิรุณโปรดปราน  
จนกลายเป็นวิถีชาวบ้าน อันเรียบง่าย
หากชาวอีสานได้ยินเสียงจักจั่นฮ้อง จิตใจก็สงบ ฮักถิ่นขึ้นมาทันที
น่าเสียดาย หากเราทำลายถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของมัน จนมันลดจำนวนลง
อยากให้มีเสียง"จักจั่น" ไว้กล่อมเกลาจิตใจคน ชั่วลูกชั่วหลาน
"แม้มีเฮือนมีซานลานแปน ๆ  ก็บ่พ้นญาดกันแห่น ธรรมชาติ"




ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
http://jdmyeepa.wordpress.com/galleries/hemiptera-bugs/cicadas/#
http://www.thaiwildlife.org/main/news/cordyceps

 
 
สาธุการบทความนี้ : 625 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  23 มิ.ย. 2556 เวลา 07:14:33  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)