ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ชื่อว่าสงสารซังกงเกวียนกำฮอบ เวรหากมาคอบแล้ววอนไหว้ก็บ่ฟัง แปลว่า ขึ้นชื่อว่าวัฏฏสงสาร ย่อมหมุนวนดังล้อเกวียน เมื่อถึงคราวกรรมมาให้ผล ไม่มีใครทัดทานได้ หมายถึง ผลของกรรม ไม่มีใครบังคับได้ ไม่มีใครทัดทานได้ ดังนั้น พึงทำแต่กรรมดี


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ปิ่นลม    คห.ที่172) จิ๊ดโป่ม  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 



ชื่อพื้นเมือง จิดโป่ม จิ๊หล่อ (อีสาน)  จิ้งกุ่ง (เหนือ)  จิ้งโกร่ง (กลาง)
ชื่อสามัญ  Cricket
วิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus
ลำดับ(order )  Orthoptera
วงศ์  (Family)   Gyllidae

จิดโป่ม เป็นแมลงในวงศ์ จิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  แต่ครายังน้อย เคยเข้าใจว่า
เป็นสัตว์ในวงศ์ มดX supper one (พะนะ)  แต่นักวิทยาศาสตร์จัดมันอยู่ในประเภทเดียวกันกับ ตั๊กแตน
แรงดีดจากขาโต้ย (ต้นขา) แรงกว่าตั๊กแตน 2 เท่า ประมาณว่าหากมันเป็นมนุษย์
จะกระโดดไกลได้ 20 เมตร

ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตรไม่รวมรยางค์ที่ปลายท้องและปีกคู่หลังที่ยื่นยาวออกไป
ส่วนอกกว้างที่สุดประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว ทั้งสองเพศมีอวัยวะในการฟังเสียง
อยู่ที่โคน( tibia)ด้านนอกเป็นวงบุ๋มลงไป เพศผู้มีปีกคู่หน้าขรุขระซึ่งมีแผ่นที่ทำเสียงที่เรียกว่า ไฟล (file)
อยู่เกือบกึ่งกลางปีก และ สะแครบเปอร์ (scrapers) อยู่ที่มุมปีกด้านหลัง มีตุ่มทำเสียง (pegs)
เรียงตัวกันอยู่ที่ขอบของแผ่นทั้งสอง



จิ๊ดโป่ม มีจุดเด่นที่การร้องลำทำเพลง ทำให้เกิดเสียง เรียกว่าการ “ฮ้อง” แต่จริงๆ แล้ว

การเกิดเสียงจะเป็นการเสียดสีกันอย่างรวดเร็วโดยของปีกข้างหนึ่งเสียดสีกับ สะแครบเปอร์ของปีกอีกข้างหนึ่ง
อย่างรวดเร็ว เพศเมียไม่มีอวัยวะในการทำเสียงดังกล่าว ปีกจึงมีลักษณะเรียบ
แต่ปลายท้องมีอวัยวะในการวางไข่รูปเข็มค่อนข้างยาวยื่นออกมาซางไม่พบในเพศผู้
แมลงชนิดนี้จัดเป็นอาหารเสริมรสเลิศของบางคนในชนบท โดยเฉพาะในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



วงจรชีวิต
โดยปกติ จิดโป่มมีอายุโดยเฉลี่ย  330 วัน  ตัวเมียอายุยืนกว่าตัวผู้   ตัวเมียตัวหนึ่ง วางไข่ได้
โดยเฉลี่ย  120 ฟองจากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 87 วัน  หาอยู่หากิน 180 วัน ที่เหลือ
คือการ ทำรัง (ขุดรู) และสืบพันธุ์



การจับคู่ผสมพันธุ์
ตัวเต็มวัยอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน ( ฤดูหนาว ยามเกี่ยวข้าว )  โดยในช่วงนี้ จิดโป่ม
ตัวผู้จะทำฮัง หรือ ขุดรู เพื่อเตรียมวิมานน้อย ๆ  เมื่อเสร็จแล้ว ในตอนกลางคืน
จะทำเสียงเพื่อเรียกตัวเมีย
เมื่อตัวเมียมาหา ตัวผู้จะเดินวนเวียนไปมารอบ ๆ ตัวเมีย มักพบการต่อสู้ของตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมียอยู่เสมอ
พฤติกรรมการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในกลางคืน ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์จะตามหาตัวผู้จากนั้นจะซุกตัว
ที่ท้องตัวผู้ ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที จากนั้นตัวผู้จะอยู่นิ่งๆ และตัวเมียขึ้นไปอยู่บนหลัง

ตัวผู้จะกระดกปลายส่วนท้องขึ้น ในขณะที่ตัวเมียโน้มอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ต่ำกว่าอวัยวะวางไข่เล็กน้อย
ให้แนบกับถุงน้ำเชื้อของตัวผู้ ถุงน้ำเชื้อนี้มีลักษณะเป็นถุงใสๆ ถุงนี้จะมาติดอยู่ที่ปลายส่วนท้องของตัวเมีย
ช่วงนี้ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที จากนั้นตัวผู้จะพักอยู่นิ่งประมาณ 5 - 10 นาที  แล้วพาตัวเมียเข้ารู
การผสมพันธ์ของ จิดโป่ม ตัวเมียจะอยู่ด้านบน
เพราะฉะนั้น ภรรยาที่ชอบ ข่มเหง สามี แสดงว่า ชาติแต่ก่อนเคยเป็นจิ๊ดโป่ม



ภาพจิดโป่มที่หาลักขุดนำคันนาพ่อใหญ่สี


การกินอาหาร

จิดโป่ม กินหญ้าและใบไม้และผลไม้พื้นเมืองเป็นอาหาร เช่นในทางภาคอีสาน จิโป่มจะกิน หญ้าปล้อง
ผักโขมผักกะแยง และหญ้าวัชพืชอื่นๆ เป็นอาหาร ในฤดูทำรัง วางไข่มักจะ สะสม ผลไม้ ดอกหญ้าอื่นๆ
ไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารในหน้าฝน จะสะสมลูกหว้า และผลไม้ลูกเล็ก ๆ ในรัง


ภาพ "ขวย" หรือ รังของ จิโป่ม

ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์

จิดโป่มถือว่าเป็นตัวแปรในการ หมุนเวียนแหล่งธาตุอาหารในดิน และเป็นอาหารให้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
สัตว์เลื้อยคลานและ นก เป็นอาหารให้ กบเขียดอึ่งอ่าง ให้ ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์  
โบราณอีสานว่า หากถิ่นไหนจิดโป่ม สมบูรณ์ครอบครัวจะเป็นปึกแผ่น พี่น้องฮักกันสามัคคี  
ปลูกพืชระยะสั้นได้ผลดีแล  อีกทั้งยังเป็นอาหารของคนในท้องถิ่น
ที่ไม่ต้องเสียภาษี ร้อยละ  7  หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่หวังกำไรไปเป็นทุนเล่นการเมือง






ความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตคนอีสาน

จิดโป่ม หรือ จิ้งโกร่ง เป็นอาหารของชาวอีสานในฤดูเก็บเกี่ยว น้ำในหนองคลองบึงเหลือน้อย แหล่งโปรตีนหายาก
อาศัยแมลงชนิดนี้ เติมเต็มในส่วนที่พร่อง  เมื่อพ่อและแม่ ยากเวียกยากงาน เอื้อยและพี่น้องวัยไล่เลี่ยกัน
พากันถือเสียม และ คุ ลงท่ง ไปตามคันนา ท่งกว้าง ที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เพื่อ “ขุดจิโป่ม”
บ้างก็ถือ ขวดใส่น้ำ หรือ “กะตุง” เตรียมตัวไป ฮ่ายจิ๊ดโป่ม เป็นที่สนุกสนาน
คราจันทร์ทอแสงอับเฉา ในคืนเดือนแรม ก็ถือเอา ตะเกียงหรือ โคมไฟ  ไปไต้ จิ๊ดโป่ม คนธรรพ์แห่งทุ่ง
ทุ่งนาเถาลำเนาไพร อลอึงด้วยเสียงเพรียกแห่งรัก ข้าวเหนียวจี่  กับ จิดโป่ม “จ่าม” ช่างโอชะ
เอื้อยป้อนจิ๊ดโป่มกับข้าวเหนียวให้น้อง พร้อมเช็ดขี้มูกให้   นั่งฟังนิทานที่พ่อเล่าเคล้ากลิ่นจำปาโรยร่ำ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 947 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  03 มิ.ย. 2555 เวลา 17:33:43  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่173)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
เป็นตาคั่ว ตำแจ่วแซ่บๆ
ลวกผักก้านจอง ลวกข่าอ่อน
ลวกผักหนามอ่อนป่งใหม่ยามฝน กินกับ
บุ้ย แซ่บบ่ออยากพากษ์

 
 
สาธุการบทความนี้ : 434 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  03 มิ.ย. 2555 เวลา 19:03:48  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่174) แตนขี้หมา  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 



ชื่อพื้นเมือง  แตนขี้หมา  , แตนกระดิ่ง
ชื่อสามัญ Wasp  nest
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucospis japonica
วงศ์  colletidae
อันดับ  Hymenoptera

แมลงชนิดนี้เป็นสายพันธุ์เดียวกันกับ มด ต่อ และผึ้ง  มีหลากหลายชนิด  เราเข้าใจว่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Hymenoptera ซึ่งผิด Hymenoptera มีหลากหลายชนิด
นับตั้งแต่มด ไปจนถึง ตัวต่อ จริงๆแล้ว คือชื่ออันดับ หรือ order ของมัน
แมลงชนิดนี้ ( แตนขี้หมา) พบมากได้ในเขตร้อน แถบเส้นศูนย์สูตร


ภาพแสดงเผ่าพันธุ์ของ  Hymenoptera โดยสังเขป

ลักษณะโดยทั่วไป
ลำตัวยาว 1.5 ซม. เอวคอด ลำตัวสีน้ำตาลหรือดำ  มีลาย ขาวหรือเหลืองพาด  ทำรังไม่ใหญ่นัก
ต่างจากพวกแตนชนิดอื่นคือ ทำรังอยู่กันแบบครอบครัว มากว่าฝูงใหญ่
ขนาดของรังเล็ก มีจำนวนช่องในรังไม่เกิน 20 ช่อง  ชอบอาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ . ใต้ใบไม้
ที่ไม่สูงเท่าใดนัก พบเห็นได้ง่าย ตามป่าละเมาะ หรือสุมทุมพุ่มไม้ ตามท้องไร่ท้องนา
วรรณะในรัง ประกอบด้วย แม่รัง(นางพญา)  แตนตัวผู้ และ แตนงานไร้เพศ
แตนขี้หมาตัวผู้ ไม่มีเหล็กใน เอวคอดผอมบางร่างน้อย แตนงานลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย
ก้นต่ง หรือ Big ass   ตามศัพท์แสลงของ เมืองผู้ดี ภาษาอีสานเรียกว่า “ท้ายเป”




วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของต่อและแตนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
            1. ไข่  (Egg) หลังจากต่อนางพญา (Queen) เลือกหาสถานที่สร้างรังแล้วจะสร้างหลอดรวง (Cells) ขึ้นมา
และ วางไข่ในนั้น ไข่จะใช้เวลาประมาณ 5-8 วันก็จะฟักเป็นตัวอ่อน
            2. ตัวอ่อน (Larva) หลังออกจากไข่นางพญาจะทำหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อน หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์
ตัวอ่อนจะสร้างสารปิดหลอดรวง เพื่อจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นต่อแตนตัวเต็มวัย
            3. ดักแด้ (Pupa) หลังจากที่ตัวอ่อนสร้างสารปิดหลอดรวงแล้ว จะมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลง
รูปร่างอยู่ภายในหลอดรวง เรียกว่าดักแด้ และจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะกลายเป็นต่อแตนตัวเต็มวัย
            4. ต่อแตนตัวเต็มวัย (Adult) ตัวต่อที่เพิ่งเกิดใหม่นี้จะเป็นเพศเมีย เรียกว่า ต่อวรรณะกรรมกร (Workers)
นับจากตัวอ่อนไปจนถึงวันละสังขาร ศิริอายุได้ 6 เดือน อนุโมทามิ ขี้ซีทาคุ


ภาพแสดงวงจรชีวิตแตนชนิดนี้


ภาพตัวอ่อนภายในรังของแตนขี้หมา

ลักษณะเด่นของ แตนขี้หมา
การทำรังที่ซ่อนเร้นสายตาดีนัก ในประเทศญี่ปุ่น (บ้านมิยาบิ)  แมลงชนิดนี้
ทำรังในป่าไผ่ แม้แต่ซามูไร นักดาบชั้นยอดเยี่ยมกระเทียมดองยัง”วิ่งหูหลูบ”
เพราะพิษของเหล็กในแมงอันนี้  แม้แต่ท่านเซียนมังกรเดียวก่อน !  ยังหลบหลีก
เหล็กในของแตนขี้หมามีปลายแหลมคมประดุจวาจาของ “ขงจื้อ” ทิ่มแทงเข้าไปในเนื้อของเหยื่อ
แล้วฉีดสารพิษออกมาทางท่อน้ำพิษราวกับเข็มฉีดยา สารพิษดังกล่าวเป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเดียว
กันกับพิษของแมงมุมและ แมงงอด (แมงเงา ไม่รวมแมงง่องแง่ง)
เด็กน้อยเลี้ยงควาย และสาวส่ำน้อยไปหาฟืน   ควรระวัง

ภาพแผลการการถูกแตนชนิดนี้สั่งสอน

ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์

แมลงประเภทแตนและต่อ แม้จะมีพิษร้าย แต่ก็มีประโยชน์อนันต์ เป็นตัวห้ำที่คอยกำจัด
หนอนเพี้ย และศัตรูพืชต่างๆ และยังคอยผสมเกสรพืชให้ออกดอกผลดี คอยจัดการ
เพี้ยกระโดด และตัวเบียนพืชนิดอื่น

ความเกี่ยวพันธ์ในแง่วิถีชีวิตชาวอีสาน

แม้จะต่อยให้มนุษย์ได้รับความเจ็บปวด  แต่แตนขี้หมาถือว่าเป็นแตนที่มีพิษน้อยที่สุด
การทำร้ายมนุษย์เพียงแค่สั่งสอน อย่าละเมิดบุกรุก บ้านคนอื่น  เด็กน้อยเลี้ยงควาย
มักจะโดนประจำ แต่โดยมากแมลงชนิดนี้จะโดน เด็กน้อยเอาไฟเผา   เอาลูกน้อย
หรือตัวอ่อนมา เปิบ ถือคติว่า ”ตอดกูติ มึงตาย” บางราย นุ่งเสื้อยีนลีวาย หนาเตอะ
ย่างเข้าไป “ซาวเอาฮังมาเฉย  ประสาแตนอันนี้ เรื่องขี้หมาพะนะ
ที่คนโบราณตั้งชื่อว่าแตนขี้หมา เพราะในชีวิตจริงของคนเรา ต้องเจ็บปวด กับเรื่องเล็ก ๆน้อย ๆ
เป็นอาจิณ ยึดถือเป็นสาระ ตีโพยตีพาย ท้อถอยไม่ได้  นั่นคือการสั่งสอนให้ลูกอีสานเป็นนักสู้  
  

 
 
สาธุการบทความนี้ : 613 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  03 มิ.ย. 2555 เวลา 22:06:10  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ต้องแล่ง    คห.ที่175)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด + ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 17 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 787
ให้สาธุการ : 45
รับสาธุการ : 1,760,150
รวม: 1,760,195 สาธุการ

 
ในยุคที่การ "สาธารณสุข" ยังไม่ก้าวหน้า ราษฎรส่วนใหญ่นิยมเปิบในแบบ "สาธารณดิบ"  ก่อนยุคสงครามเวียดนามเล็กน้อย  เป็นช่วงที่ข้าพเจ้ายังไม่ประสีประสาใน "โลกียธรรม"  การปลดปล่อยของหนักประจำวันนั้น  บรรดา "คามวาสี" ทั้งหลายต่างมุ่งหน้าสู่ราวป่าหัวบ้านท้ายบ้านเป็นที่หมาย  ใครไปช้าหรือซุ่มซ่ามอาจเหยียบ "กับระเบิด" ได้โดยง่าย  ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบกิจวัตรนี้นอกเหนือการปลดปล่อยทุกข์ประจำวันก็คือการได้มีโอกาส "ก้างก้าย" ไปซอกหากิน "หมากต้องแล่งสุก" ตามสุมทุมพุ่มไม้ในราวป่าเป็นอาจิณ  เป็นการทำหน้าที่ผู้บริโภคที่ดีในห่วงโซ่อาหาร  แต่ความอภิรมย์สำราญนี้มักเปลี่ยนเป็นความเจ็บปวดทุกครั้งที่ไปเจอ  "แตนขี้หมา"    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 552 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  04 มิ.ย. 2555 เวลา 12:03:30  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่176)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 6,184,200
รวม: 6,192,345 สาธุการ

 
คันแม่นมักไปหาปีนต้นขาม คือสิเจอแตนราม เนาะ    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  05 มิ.ย. 2555 เวลา 14:30:14  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่177)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
คุณมังกรเดียวดาย:
คันแม่นมักไปหาปีนต้นขาม คือสิเจอแตนราม เนาะ    


แตนลามนำต้นบักค้อ กะบ่อค่อยเด้อญาคู
ถืกหว่างสามแม่ ไข้ไปสามมื้อพู้นล่ะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 803 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  05 มิ.ย. 2555 เวลา 20:05:50  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ลุ่มดอนไข่    คห.ที่178)  
  อนุเซียน

ภูมิลำเนา : บึงกาฬ - หนองคาย
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 15 มิ.ย. 2553
รวมโพสต์ : 1,601
ให้สาธุการ : 2,855
รับสาธุการ : 4,226,470
รวม: 4,229,325 สาธุการ

 
คุณป้าหน่อย:
คุณมังกรเดียวดาย:
คันแม่นมักไปหาปีนต้นขาม คือสิเจอแตนราม เนาะ    


แตนลามนำต้นบักค้อ กะบ่อค่อยเด้อญาคู
ถืกหว่างสามแม่ ไข้ไปสามมื้อพู้นล่ะ


ยามปีนเก็บแมงแคงเถิงต้นหมากค้อ
ระวังคัก...แหม่นแตนลามหนิหล่ะ
ถืกตอดแล้วลามเป็นปื้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 420 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  07 มิ.ย. 2555 เวลา 16:00:33  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่179) แมงหยอด แมงไหย๋ แมงขี้กะตอด  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ขอบคุณเจ้าของภาพ  (ภาพจากอินเตอร์เน็ต )



ชื่อพื้นเมือง (อีสาน) แมงหยอด  แมงไหย๋  แมงขี้กะตอด ( ศิลปินนักปั้นแต่ง แห่งเสาเถียง )
ชื่อภาษาไทย  หมาร่า
ชื่อสามัญ Ceriana wasp  , Wasp-mimic Hoverfly
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenoptera Ceriana sp.
วงศ์ Sphecidae
ลำดับ   insecta

ส่วนท่านที่  search ในกูเกิลว่า หมาร่า ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphex viduatus Christ
ไม่มีในสารบัญแมลงครับ มั่วที่สุด หากใครที่จบด้าน กีฏวิทยา ช่วยให้ความกระจ่างด้วย อย่าปล่อยให้เข้าใจผิด
ฝรั่งเขาจัดมันอยู่ในวงศ์ของต่อแตน  และอยู่ในประเภท แตนดอกไม้ เด้อคูบา
ลักษณะโดยทั่วไป
แมงอันนี้ เป็นสายพันธุ์เดียวกับแตน และต่อ เนื่องจาก มีเหล็กใน  หรือ ภาษาอีสาน เรียกว่า “ ไล”
สามารถ “ ตอด” ได้ อย่าไรก็ตาม แมงอันนี้ นิสัยไม่ก้าว ความระกำ ช้ำชอกใจ ที่เธอทำไว้นั้น  
ส่วนใหญ่มีนิสัย รักสงบ ไม่ทำร้ายมนุษย์ง่ายๆ  ดูเผิน ๆ มันชอบที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์มากกว่า
ผิดกับเรา ที่เห็นรังมันเมื่อไหร่ ต้องรังเกียจ  หาไม้ไป “ ถั่ง “ หรือ “ซุ “ ให้มันพินาศ
แมงหยอด แมงไหย๋  ทำรังด้วยดินเหนียว บรรจง ปั้นแต่งให้เป็นรัง หรือที่เรียกว่า “ บ้านดิน “ ที่
กำลังฮิตกัน

ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาวประมาณ  2- 4 ซม.  ที่พบในประเทศ ไทย มี 2 สายพันธุ์ คือ พวกที่มีลำตัว สีน้ำตาลคาดเหลือง
กับสายพันธ์ สีดำคาดขาวและดำเหลือง ล้วน มีลำตัวปราดเปรียว เป็นนักล่า อาหารคือ หนอน ไข่เพี้ยและแมลง
ที่เป็นศัตรูพืชขนาดเล็ก อื่นๆ  นับเป็นยาฆ่าแมลงชีวภาพ ตามธรรมชาติ  ยังพบว่าแมลงชนิดนี้ช่วยในการผสมเกสร
ช่วยให้พืชผล ติดผลได้ดี   ช่วงท้อง มีท่อเพรียวเล็ก เชื่อมต่อกับก้นที่มีขนาดใหญ่กว่า เหมาะสำหรับการบินที่
ปราดเปรียว  มี รยางค์ เช่นเดียวกับแมลง ประเภท ต่อแตน



วงจรชีวิต
แมลงชนิดนี้ มีอายุเฉลี่ย 220 วัน นับจากวันที่ ออกจากรัง  การผสมพันธ์ ไม่เลือกฤดู เช่นเดียวกับมนุษย์
ขึ้นอยู่กับอายุโตเต็มวัย ซึงจะอยู่ที่ 90 วัน  เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะ หาที่ทำรัง ก่อด้วยดินเหนียว
ด้วยความพากเพียร ปกติจะปั้นรัง อยู่ที่ 3 ช่อง นั่นคือวางไข่ ประมาณ 1 ตัวต่อช่อง เมื่อทำรังเสร็จ
และหาตัวหนอน หรือแมลงเป็น ๆ มาไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารของลูกที่เกิดมา
ระยะเวลาการทำรัง “ โอดโปด วิมาน “ จะอยู่ที่ 1 สัปดาห์
ใช้เวลาในการในการวิวัฒนาการ จากไข่ เป็นตัวอ่อน 3 สัปดาห์   เมื่อแม่ทำรังเสร็จ ปิดรังให้มิดชิด จะตายลง
เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ออกมาจะกินอาหารที่แม่เตรียมให้ จนปีกงอกสมบูรณ์ จึงออกมาจากรัง นับว่ามัน กำพร้าตั้งแต่เด็กเลย


ภาพการวิวัฒนาการภายในรังของตัวอ่อน

**จากการทดลอง ของกระผมเอง พบว่า แมงหยอด แมงใหย๋   ไม่มีปฏิกิริยา บินเข้าหาแสงสว่าง ดังแมลงชนิดอื่น
แม้จะส่องไฟใส่มัน มันก็ยังบินไปทำภารกิจของมันเป็นปกติ  ****


ภาพการปั้นรังของแมงอันนี้

ประโยชน์ของแมลงชนิดนี้  
หน้าที่สำคัญทางธรรมชาติก็คือ การควบคุมจำนวนแมลงศัตรูพืช เพราะมันเป็นนักล่าตัวหนอน และแมลงอื่นเป็นอาหาร
บทบาทหน้าที่ของธรรมชาตินั้น ละเอียดอ่อนนัก  ยากที่เราจะลากเส้นความสัมพันธ์ และเป็นผู้ตัดสิน   ชาวสวนมะพร้าว
ในประเทศอินโดนิเซีย ประสบปัญหาด้วงมะพร้าวเจาะกินยอดมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวตายลง เป็นเนื้อที่หลายพันไร่
แม้จะใช้สารเคมีในการกำจัดก็ไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรค ยอดเน่าได้  

จนในที่สุดได้มีการนำแมลง สายพันธุ์ แมงหยอด แมงใหย๋ นี้ มาเพาะเลี้ยงในสวน  ปรากกฎว่า แมงอันนี้
ไล่กินตับ หนอนด้วงมะพร้าว จนการแพร่ละบาดลดลง ร้อยละ 90 ของพื้นที่  นี่คือความอัศจรรย์ของธรรมชาติ
เกือบเอาจรวดนิวเคลีย ยิงสวนมะพร้าว เพื่อทำลายโรคแมลงด้วงระบาดเสียแล้ว ดีนะที่มีคนศึกษาด้านแมลง



ภาพการล่าของ แมงหยอด แมงไหย๋

ในประเทศแถบตะวันออกกลาง อย่าง ประเทศซาอุ  ไม่เกี่ยวกับ ซาอุดร เด้อ การเกษตรกรรมทำได้ยาก
มีการลงทุนมหาศาล เพื่อการเพาะปลูก   ทั้งที่ประเทศเขา มีท่อน้ำมันฟรี ตามรายทาง เปิดเติมฟรีได้เลย
ยังหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง ในการเกษตร ( สารเคมี และ ยาฆ่าแมลง คือ ผลิตภัณฑ์จากการปิโตเลี่ยม)
ลงทุนซื้อ กิ่งก่า หรือ กะป้อมแดง กะปอมก่า ม้างโลก ไปปล่อยใน สวนผักของเขา เพื่อช่วยในการกำจัดแมลง


ลุงสี ( ลุงของผู้เขียน) คนอีสาน แกไปทำงานที่ซาอุ  ในตำแหน่งคนงานดูแลสวนมะเขือ
แกไปทำงานได้ 2 อาทิตย์  ถูกทางการซาอุ ส่งกลับ  ทางอีสานเรียกว่า “ หลุบ”  เนื่องจากแกกู้เงินมากมายเพื่อไปนอก
ทำงานยังไม่ได้เงินเลย ถูกส่งกลับแล้ว  
“ลุง ๆ เป็นหยังเขาคือส่งเจ้ากลับ “ กระผมถาม
“ กูไป ค้องกะปอมเขามาก้อยกิน เบิ๊ดสวน ซั่นแหล่ว “ แกตอบแบบ ขำไม่ออก
สรุปแล้ว แกไป โซ้ย.. !  กะปอมก่าม้างโลก ที่ทางบริษัท ฯ จัดซื้อมาจากเมืองไทย และ แอฟฟริกา ปล่อยไว้ในสวน
เพื่อการป้องกันแมลงที่มากินผักนี่เอง ถึงถูกส่งกลับ  



ความเกี่ยวเนื่องกับชาวอีสาน
ตามเถียงนาทุ่งลำเนาไพร มักจะพบ รังของแมงอันนี้ “โตดโปด” ตาม เสาเถียงนา คาขื่อ
ตง และ สะยัวชาวอีสานตั้งชื่อตาม การสังเกตกิจกรรมของมัน  โดยมันจะบินมาหาที่หลบฝน หรือ ความชื้น
ตามเถียงนาเมื่อพบรูเล็ก ๆ ตามไม้ ก็จะวางไข่ และหาอาหารมาเตรียมการไว้ให้ลูก ก่อนจะปั้นดินปิดปากรู
หรือหากหารูไม่ได้ มันก็หาหาทำเลเหมาะ ๆ ปั้นรังเลย มันจะค่อยๆ ขนดินเหนียวที่ผสมกับน้ำลายของมัน
มาปั้นทีละก้อนๆ  เมื่อทำรังเสร็จ จะหาหนอนมาบรรจุไว้ ก่อดินทับ เพื่อเป็นการถนอมอาหารไว้สำหรับลูกน้อย


ภาพพฤติกรรมหยอดอาหารในรัง และ ค่อยๆ ปั้นดินปิดทับรู ( กรณีที่มันหารูเจอ )

แมงหยอด ไม่ทำร้ายมนุษย์ หากมนุษย์ไม่ไปทำร้ายมันก่อน  แต่รังของมันเป็นที่รำคาญสายตา
คนเฒ่าคนแก่ชาวอีสานบอกว่า หากจะไปเอารังมันออก ให้รอจนลูกมันออกมาจากรังก่อน ค่อยไป”ซุ”ออก
มันเป็น ปาบเป็นกรรม  ในบางครั้งเมื่อเรานอนดูทิวข้าวเขียวขจี เถาฟักแฟงกำลังออกดอก ตาม “ ฮ้าน”
เสียงลมพัดหวิว แว่วเสียงกริ่งเกราะ วัวควาย  
เมื่อนอนแหงนไปมอง ขื่อเถียงนา จะเห็น ฮังแมงหยอด แมงไหย๋ มันกำลังคาบหนอนมาหยอดใส่รังดิน  
เราเป็นมนุษย์ ก็ควร  หมั่นหยอดความดีงาม และปัญญาอันสร้างสรรค์   เติมเต็มความเป็นคน

สภาพรัง ที่ถูกคน “ซุ” ลงมา จะเห็นว่ามีหนอน ชิมีโจได๋  อยู่ด้านใน นั่น ไม่ใช่ตัวอ่อนมันครับ
แต่เป็นอาหาร ที่ถูกถนอมไว้ให้ตัวอ่อน หรือลูกของมันนั่นเอง


นี่ต่างหากที่ตัวอ่อนของ แมงหยอด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 454 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  22 มิ.ย. 2555 เวลา 12:20:17  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่180)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 6,184,200
รวม: 6,192,345 สาธุการ

 
คักขนาด เนาะ บทความสาระเพิ่นกะดาย

บ้านผมเอิ้นแมงขี้กะตอด ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  22 มิ.ย. 2555 เวลา 18:00:12  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่181) แมงอี  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 




ชื่อพื้นเมือง  : แมงอี ,   แมงอี่
ชื่อสามัญ : Chorus cicada
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptatylomia radha
ชั้น : Insecta
ลำดับ : Hemiptera
วงศ์ : Cicadidae
( วงศ์เดียวกัน กับจักจั่น)

บางคนบางท่านเห็นภาพแล้ว “ นี่มันจักจั่นนี่นา “  ครับผม ไม่ผิดเท่าใดนัก แมงอี เป็นแมลง วงศ์เดียวกันกับจักจั่น
แต่เป็นคนละพันธุ์กัน  แมงอี มีขนาดเล็กกว่า สั้นกว่า ลักษณะทั่วไปจากหัวจรดหาง มีรูปร่างเป็น สามเหลี่ยม
ซึ่งต่างจากจักจั่น ที่มีลักษณะเรียว   สีสัน ของแมงอี เท่าที่พบมีสีสวยงานั่นคือ มีสีเขียว และสีใบไม้แห้ง
เสียงร้องของมัน ร้อง “ อี  อีๆๆๆๆๆ “  ก้องกังวานป่า  นั่นคือที่มาของชื่อ  “ แมงอี”
ส่วนมากพบในประเทศเขตร้อน ครับ



ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาว  2- 3 ซม.  มีหนวดเป็นรูปขน มีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนหัว ลำตัว และท้อง
จะเชื่อมต่อเป็นส่วนเดียวกัน มีปีกบางใสและยาวกว่าลำตัว เวลาเกาะอยู่กับที่ ปีกจะหุบชิดกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
มองคล้าย เครื่องบิน “สเตลท์” ของอเมริกา ใครจะรู้ แรงบันดาลใจของวิศวกรการบิน ที่ผลิต
อาจได้จากการเดินเที่ยว ป่าโคก บ้านเรา แล้วได้ยินแต่เสียง “ อี ๆๆ “  มองหาตัวแมงอี ไม่เห็น  
พอจับตัวได้ แอบไปเพ่งพิจ แล้ว คิดออกแบบออกมา
กลายเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัย ตั้งชื่อว่า “ล่องหน”    


ตัวอ่อนมีลักษณะรูปร่างเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลอ่อน ตาโต ขาหน้ามีขนาดใหญ่ไว้สำหรับขุดดิน

เสียงที่เกิดจากแมงอี  ไพเราะจนฝรั่งตั้งชื่อให้มันว่า ” แมลงแห่งเสียงประสาน”


เสียงของจักจั่น
ตัวผู้สามารถทำเสียงได้ดังมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 100 เดซิเบล  เสียงของมันมีความถี่สูง แตกต่างจาก
จักจั่นชนิดอื่น จนเราสามารถได้ยินเป็นเสียงแหลมเล็ก ส่งเสียงร้องในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน และร้องมากที่สุด
เมื่อมีอุณหภูมิประมาณ 32-33 องศาเซลเซียส  ช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน
ในภาคอีสานเรียกว่า “ฤดู ฝนฮวย”
ส่วนตัวเมีย หรือ อีสานเรียกว่า “โตแม่” ไม่สามารถทำเสียงได้
แหล่งกำเนิดเสียงมาจากบริเวณใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก  เกิดจากการสั่นถี่ยิบ
ของกล้ามเนื้อส่วนปล้องอก  เรียกว่า กล้ามเนื้อ Tymbal ดูดีๆ จะคล้าย “ ฮีทซิงค์ “  ของเครื่องคอมพิวเตอร์
จากนั้นเสียงที่มีความถี่ เฉลี่ย 120 เฮิรตซ์ จะถูกส่งผ่าน ถุงลม  และจะผ่านการปิด-เปิดของแผ่น opercula
ที่จะปรับแต่งเสียงเป็นครั้งสุดท้าย    ป๊าด..มี.ขั้นมีตอน ปานไส้กรอก นครพนม  พะนะ



การส่งเสียงของแมงอีตัว ผู้ไม่ต่างไป จากการส่งกลิ่นฟีโรโมนของแมลงชนิดอื่น ๆ
เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม  แปลเป็นภาษามนุษย์ได้ว่า  “มาเอากับข่อยเด้อ”

วงจรชีวิต

การเจริญเติบโตของจักจั่นเป็นแบบไม่สมบูรณ์ คือ ระยะตัวอ่อนมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย
ต่างกันที่ตัวอ่อนในระยะแรกไม่มีปีก เมื่อลอกคราบปีกจะค่อย ๆ ยาวออก  
                ระยะไข่   ตัวเมียจะอาศัยเปลือกไม้ เพื่อวางไข่ เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อน
จะร่วงลงสู่พื้นดิน โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 4 เดือน



                ระยะตัวอ่อน อาศัยในดินที่ความลึกตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ถึงมากกว่า  2.5 เมตร
ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืช ตัวอ่อนมีขาหน้าขนาดใหญ่สำหรับขุดดิน
บางครั้งจะเห็นดินเป็นแท่งทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
บิดเป็นเกลียวโผล่ขึ้นมาจากดินสูงประมาณ 5-7 เซนติเมตร คล้ายกับดินที่เกิดจากไส้เดือน หรือ “ ขี้ไก่เดียน”
ในภาษาอีสาน  แต่มีขนาดใหญ่กว่า   นั่นคือ “ ฮังของแมงอี “  หรือรังของจักจั่นชนิดนี้ละครับ
ตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน ในใต้ดิน



                 ตัวเต็มวัย  เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่ จะไต่ขึ้นมาบนลำต้นเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย
ในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะประมาณ 1-2 เดือน
วงจรชีวิตโดยรวมประมาณ 2 ปี  ส่วนใหญ่มันใช้ชีวิตใต้ดิน ช่วงเวลาที่เราเห็นมัน ร้องรำ คือ วงจรสุดท้าย
ของชีวิตแมงอี  เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ  วางไข่  แล้วมันก็จะอำลาวงการเพลง กลับคืนสู่ผืนดิน



ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวอีสาน
ในฤดู”ฝนฮวย” ต้นเดือน มี.ค – ปลายเดือน เม.ย. เมื่อฝนแรก โรยรินแผ่นดินอีสาน ใบไม้ไปไหล่ ออกบ่งใหม่
ฟื้นคืนชีพให้แดนดินอีสานบ้านเฮา  ต้นจิก ต้นฮัง ต้นตะแบก ต้นยางนา และต้นไม้ถิ่นหลากหลายชนิด
ผลิใบเพื่อต้อนรับฤดูฝนที่จะมาถึง  เมื่อดินชุ่มพอควร แมงอี และ จักจั่น ต่าง โผล่ออกมาจากดินดอน
ไต่ขึ้นกกไม้ เพื่อลอกคราบกลายเป็น ตัวโตเต็มวัย ส่งเสียง แซ่ซ้องสรรเสริญใบเขียวแห่งโคกป่า




เมื่อผ่านพ้นความยากลำบากในห้วงฤดูแล้งมาแล้ว ดังเพลงของ พ่อใหญ่ เทพพร เพชรอุบล ว่า
“ ฝนตกมา มีของกิน “  แมงอี และจักจั่น คืออาหารของชาวอีสาน ที่ฟ้าประทานมาให้
ต่างถือข่องและไม้ส่าว และ ปั้งตั๋ง หรือ กระบอกบรรจุยางไม้เหนียวๆ  เพื่อไปหา” ติดจักจั่น”  
โคกได๋หละ แมงอี กับจักจั่นหลาย  ก็พากันออกหากิน และ บ่ลืมห่อหมกปลาแดก และ ติ๊บข้าวเหนียวห้อยไปด้วย
การหาแมงอันนี้ ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว  ภาคอื่นมีผลไม้ตามฤดู แต่ อีสานเฮามี แมลงตามฤดู ละครับพี่น้อง
ฤดูนี้ มีทั้ง ไข่มดแดง  จักจั่น และ แมงอี   สำหรับหมู่บ้านไหน ไม่มีโคกป่า  กิจกรรมนี้ อาจทดแทนด้วยการหาแมงจินูน



  เสียงก้องกังวานของแมลงชนิดนี้ บ่งบอกถึง ความร่มเย็น และพูนสุขในวิถีชีวิต การอุดมสมบูรณ์ด้วย ธรรมชาติ

ได้นอนอิงต้นไม้ใหญ่ร่มครึ้ม หลับตา ฟังเสียงเพลงคอรัส แห่งแมงอีและจักจั่น
พริ้มหลับไปให้เมโลดี้เจือลมเย็น เห่กล่อม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 833 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  25 มิ.ย. 2555 เวลา 14:55:51  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)