ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ให้เจ้าเอาความฮู้ หากินในทางชอบ ความฮู้มีอยู่แล้ว กินได้ชั่วชีวัง แปลว่า ให้ใช้ความรู้ที่มีอยู่ ทำมาหากินในทางที่ชอบ เลี้ยงชีพชอบตลอดชีวิต หมายถึง พึงใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ถูกที่ควร


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ฮวก พเนจร    คห.ที่122)  
  ศิษย์น้อง

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 ต.ค. 2553
รวมโพสต์ : 36
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 79,020
รวม: 79,050 สาธุการ

 
ฮู้จักแต่ว่าแมงตุ้มแต่ว่าบ่ฮู้จักวงจรชีวิตของมัน
อ้ายบ่าวปิ่นนำเสนอใด้ละเอียดอิหลีครับ
ตะน้อยกะเคยเป่าจนดังดำคือกันครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 364 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  22 ธ.ค. 2553 เวลา 19:31:40  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  สาวส่า เมืองยโส    คห.ที่123)  
  เจ้ายุทธภพน้อยจ้า
ภูมิลำเนา : ยโสธร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 01 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 1,784
ให้สาธุการ : 155
รับสาธุการ : 3,349,420
รวม: 3,349,575 สาธุการ

 
คุณลุ่มดอนไข่:
คุณบ่าวหน่อ:

ซางมาเล่นคือกันแท้หล่ะฮึ
เห็นบวชแบบนี้ วิธีการจับตัวตุ้ทกะคือ การเอาปากเป่าขวยมันครับ เป่าแล้วให้เว้าว่าตุ้ม ตุ้ม นำ มันจั่งสิเห็นโตตุ้ม เพิ่นว่า


บ้านผู่ข้าเอิ้น แมงตูม คือกัน
การจับกะเฮ็ดคือบ่าวหน่อกับบ่าวรุทธิ์หว่าฮั่นหล่ะคับ
แต่หว่าได้มาแล้วกะเอามาอ้างกันซื่อๆหว่าผู่ได๋หาได้โตใหญ่คับ


บ้านน้องกะเอิ้น ตูม คือกัน สมัยก่อนเรียนประถม
อาคารเรียนแบบเก่าใต้ถุนสูง มีดินทรายอยู่ใต้ถุนแล้วกะมี ตูม
ซุมผู้ชายขี้ดื้อกะไปเล่นอยู่ใต้ถุนอาคาร......พอครูผู้หญิงจับได้
มันกะบอกว่า ไปหาตูม..

 
 
สาธุการบทความนี้ : 486 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  23 ธ.ค. 2553 เวลา 10:04:24  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่124) แมงหิ่งห้อย  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 



ชื่อสามัญ             Firefly หรือ Lightening  Bug
วงศ์                   Lampyridae ( แลมพายริดี้)

ส่วนชื่อสามัญภาษาไทย เรียกขานกันแตกต่างไปตามพื้นที่ อย่างเช่น

ภาคกลาง แมลงทิ้งถ่วง แมงดาเรือง แมงแสง หนอนกระสือ
อีสาน   แมงหิ่งห้อย , หิ่งห้อย  (เทพธิดาแห่งความหวัง)
ภาคใต้   ญิงห๊อย..

มีรายงานว่า หิ่งห้อยทั่วโลกมีมากกว่า 2,000 ชนิด กระจายอยู่ในทวีปเอเชีย ยุโรป ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ และอเมริกากลาง พบได้ตั้งแต่บริเวณภูเขาสูง
ไปจนถึงชายฝั่งทะเล

สำหรับในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการศึกษาชนิดของหิ่งห้อย
ในภาคกลางและภาคตะวันออก
ศึกษานิเวศวิทยา แหล่งที่อยู่อาศัย และพันธุ์พืชที่หิ่งห้อยชอบเกาะ รวมถึงวงจรชีวิตของหิ่งห้อยแต่ละชนิด
เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่าในประเทศไทยมีหิ่งห้อย
มากกว่า 8 สกุล คือ

Diphanes
Lamprigera
Luciola
Pteroptyx
Pyrocoelia
Pyrophanes
Rhagophthalmus
Stemoleadius
    
แต่หิ่งห้อยส่วนใหญ่ที่พบได้ง่ายในประเทศไทย มี 2 สกุล คือ
สกุล Luciola Brahmina (ลูซิโอลา บราห์มิน่า) เป็นหิ่งห้อยที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่ในบริเวณ
น้ำจืด มีธรรมชาติเป็นคลองส่งน้ำที่มีผักตบชวา จอง แหน จำนวนมาก
และมีอยู่เป็นเวลานานแล้วเช่น  ดินงืม  หรือหนองน้ำเก่าแก่

และอีกสกุลคือ
Pteroptyx  Malacea
(เทอรอพติกซ์ มาแลคซี่) เป็นหิ่งห้อยที่มีตัวอ่อนอาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน และฝั่งแม่น้ำที่มีน้ำทะเลท่วมถึง ซึ่งเรียกกันว่า หิ่งห้อยน้ำกร่อย  ( เช่นที่อัมพวา )



ลักษณะทางกายภาพของหิ่งห้อย

รูปร่างและส่วนต่างๆ ของหิ่งห้อยนั้นประกอบด้วย
ส่วนหัว มีสีดำหรือสีเหลืองปนน้ำตาล มีตาโตสีดำ 1 คู่ หนวด 1 คู่ เป็นสีดำทั้งสองข้าง

ส่วนอก ส่วนใหญ่มีลักษณะกว้างออกทางด้านข้าง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บางชนิดอกขยายใหญ่คลุมส่วนหัวเอาไว้จนมองไม่เห็นส่วนหัว  เมื่อมองลงมาจากทางด้านบน ปีกคลุมท้องมิด  มองไม่เห็นอวัยวะส่วนท้อง ปีกของหิ่งห้อยมี 2 ปีก ปีกบนมีลักษณะทึบแสงไม่แข็งมาก ส่วนปีกล่างบางใส สีดำ หรือสีชา สีของปีกมีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของหิ่งห้อย

ส่วนท้อง ตัวผู้มีปล้องท้อง 6 ปล้อง ปล้องที่ 5 และ 6 เป็นที่ตั้งอวัยวะทำแสง ส่วน ตัวเมีย มีปล้องท้อง 7 ปล้อง และปล้องที่ 5 เป็นที่ตั้งอวัยวะทำแสงอวัยวะทำแสงนั้นมีสีขาว หรือขาวครีม

ส่วนขา ขาของหิ่งห้อยมี 3 คู่ ลักษณะเป็น 3 ข้อ มี 6 ขา ปลายขาของหิ่งห้อยมีของเหนียวเอาไว้ยึดเกาะกับต้นไม้และใบไม้





วงจรชีวิต


หิ่งห้อยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก อาศัยเกาะอยู่ตามกอหญ้า และใต้ใบไม้ เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ฟองเดี่ยวตามพื้นดินหรือที่ชื้นแฉะ หรือใบพืชน้ำ ไข่ใช้เวลา 4-5 วัน จึงฟักเป็นตัวหนอน เจริญเติบโตจนกระทั่งเข้าดักแด้ และออกเป็นตัวเต็มวัย หิ่งห้อยมีวงจรชีวิตอยู่ 3-12 เดือน แล้วแต่ชนิด โดยทั่วไปแล้ว หิ่งห้อยบก( หิ่งห้อยโคก) มีวงจรชีวิตนาน ถึง 1 ปี ในขณะที่หิ่งห้อยน้ำส่วนใหญ่มีวงจรชีวิตสั้นกว่า

ช่วงตัวอ่อน หิ่งห้อยอาศัยตามดินเลน ส่วนตัวเต็มวัย กลางวันหลบซ่อนอยู่ตามใบวัชพืชต้นเตี้ยๆ ใกล้พื้นดิน พอพลบค่ำจึงบินขึ้นไปเกาะตามต้นไม้สูงและกระพริบแสงพร้อมกัน เพื่อสื่อสารกัน  



การกำเนิดแสงหิ่งห้อย

แสงของหิ่งห้อยนั้น มีช่วงแสงที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ลักษณะเป็นแสงเย็น โดยมีพลังงานความร้อนเกิดขึ้นเพียง
10 เปอร์เซ็นต์ จึงแตกต่างจากหลอดไฟทั่วไป ที่ปล่อยพลังงานความร้อนออกมาถึง 95 เปอร์เซ็นต์

อวัยวะที่ทำให้เกิดแสงของหิ่งห้อย อยู่ด้านใต้ของปล้องท้อง 2 ปล้องสุดท้ายในตัวผู้
และ 3 ปล้องสุดท้ายในตัวเมีย ภายในปล้องมีเซลล์ขนาดใหญ่เรียกว่า โฟโต้ไซต์ อยู่จำนวน
7,000-8,000 เซลส์ เรียงกันอยู่เป็นกลุ่มรูปทรงกระบอกหลายกลุ่มภายใต้ผนังลำไส้ใส โฟโต้ไซต์จะเป็นที่ทำให้เกิดแสง มีท่ออากาศและเส้นประสาทเข้าไปหล่อเลี้ยงจำนวนมาก
  
แสงของหิ่งห้อย เกิดจากปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกายเริ่มจากสมองหลั่งสารเคมีชื่อ ไนตริกออกไซด์
ส่งสัญญาณไปที่เซลล์ส่วนท้อง ให้กระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ โดยใช้ออกซิเจนร่วมด้วย แปลงสารเคมีในเซลล์เกิดเป็นพลังงานแสง โดยสารลูซิเฟอรีน (Luciferin) ทำปฏิกิริยากับออกซิเจน โดยมีสาร อดิโนซีน ไตรฟอสเฟต (Adenosine   Triphosphate) เป็นตัวให้พลังงานทำให้เกิดแสง ผลึก ยูเรตที่ใต้ผิวหนังด้านท้อง ทำหน้าที่สะท้อนแสง
แสงเป็นผลจากปฏิกิริยาชีวเคมีภายในเซลล์ มีการผลิตแสงโดยไม่ใช้พลังงานความร้อน หิ่งห้อยทั้งตัวอ่อนและตัวโตเต็มวัยสามารถทำแสงได้ แสงของหิ่งห้อยมีสีเขียว อมเหลือง



การกะพริบแสงของหิ่งห้อยแต่ละชนิดแตกต่างกันไป การกระพริบแสงของหิ่งห้อยมีทั้งบินไปกระพริบไป เกาะทำแสงพร้อมกันบนต้นไม้ เช่น หิ่งห้อยที่อาศัยอยู่ตามป่าชายเลนเกาะทำแสงเหมือนไฟต้นคริสต์มาส และเปิดแสงแช่เอาไว้ แล้วบินไปมาคล้ายกับผีกระสือ หิ่งห้อยยังสามารถบอกถึงฤดูกาลได้อีกด้วย โดยเฉพาะพบหิ่งห้อยจำนวนมากบินออกมาผสมพันธุ์กันในช่วงต้นฤดูฝน และมีปริมาณลดน้อยลงในฤดูแล้ง

หิ่งห้อยเริ่มทำแสงเมื่อพระอาทิตย์ตกดินประมาณ 30 นาที และสามารถเห็นแสงได้ชัดเจนในคืนข้างแรมเดือนมืด
หิ่งห้อยกระพริบแสงเพื่อการผสมพันธุ์ และสื่อสารกับเพศตรงข้าม โดยที่ตัวผู้จะเป็นฝ่ายกระพริบแสงก่อน หากตัวเมียเห็นลีลากระพริบแสงแล้วพึงพอใจก็จะกระพริบตอบให้ตัวผู้รู้ว่าอยู่ที่ไหน จะได้บินไปหาคู่ได้ถูก

หิ่งห้อยแต่ละชนิดนั้นมันจะมีลีลาในการกระพริบแสงที่แตกต่างกัน อาทิเช่น การกระพริบแสงช้าเร็วต่างกัน
และลีลาการเปล่งแสงของหิ่งห้อยอาจเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่มันอยู่    




ประโยชน์ของหิ่งห้อย


คือ เป็นตัวบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์หรือความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ และตัวอ่อนของหิ่งห้อยมักดำเนินชีวิตเป็นผู้ล่าเหยื่อ โดยกินไส้เดือนดิน หอย และทากเป็นอาหาร ในการล่าเหยื่อหิ่งห้อยใช้การตามรอยเหยื่อจากเมือกลื่นๆที่เหยื่อทิ้งไว้ตามรอยทางเดิน และเมื่อพบเหยื่อซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่า ตัวอ่อนหิ่งห้อยจะปล่อยสารเคมีบางอย่างออกมาจากเขี้ยว (ซึ่งในแมลงเรียกว่า mandible แต่ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง mandible หมายถึงขากรรไกรล่าง) ซึ่งจะมีฤทธิ์ทำให้เหยื่อเป็นอัมพาต หลังจากนั้นก็จะจับเหยื่อกินเป็นอาหาร

อาหารของหิ่งห้อย


ระยะที่เป็นตัวหนอน หิ่งห้อยกินหอยขนาดเล็กเป็นอาหาร ซึ่งหอยหลายชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์และสัตว์ เช่น โรคพยาธิใบไม้ในลำไส้ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น และหอยบางชนิดเป็นศัตรูที่สำคัญของเกษตรกร เช่น ลูกหอยเชอรี่ เป็นศัตรูสำคัญที่กัดกินต้นข้าวในระยะลงกล้าและปักดำใหม่ๆ
ตัวอ่อนของหิ่งห้อยจะทำหน้าที่เป็นตัวห้ำกัดกินหอยเชอรี่ ทั้งที่เป็นลูกหอยและโตเต็มวัย นอกจากหอยต่างๆ แล้ว พวกกิ้งกือ ไส้เดือน และแมลงตัวเล็ก ก็ยังเป็นอาหารของหิ่งห้อยอีกด้วย
ใครจะรู้เล่า แมลงเล็กๆนี้ ช่วยรักษา ระบบนิเวศแห่งท้องทุ่งนาเฮา


            นอกจากนี้ยังมีการพบว่า ตัวอ่อนหิ่งห้อยสามารถกินอาหารที่เป็นซากสัตว์ที่ตายแล้วได้ และเมื่อหิ่งห้อยโตเต็มวัยโดยทั่วไปมันจะกินนำหวานจากดอกไม้เพื่อใช้สร้าง พลังงานในการดำรงชีวิต ในระยะนี้หิ่งห้อยจะยังมีเขี้ยวอยู่ หิ่งห้อยบางชนิดใช้การพรางตัวเพื่อทำทีว่า "อยากจะผสมพันธุ์กับหิ่งห้อยอีกชนิดหนึ่ง" แต่จริงๆ แล้วก็เข้าไปเพื่อจับหิ่งห้อยอีกชนิดหนึ่งกินเป็นอาหาร


ส่วนในระยะโตเต็มวัย หิ่งห้อยจะอาศัยกินเฉพาะน้ำค้างเป็นอาหารเท่านั้น
  


ขอบคุณ ทุกภาพทุกข้อมูล จาก อินเตอร์เน็ต  มิได้มีเจตนาละเมิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
หวังเพียงเป็น วิทยาทานแด่ มวลหมู่สมาชิก ได้เรียนรู้ แมลงตัวเล็ก ๆ ที่ไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 702 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  14 มี.ค. 2554 เวลา 17:34:29  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  จารย์ใหญ่    คห.ที่125)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : มุกดาหาร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 13 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,168
ให้สาธุการ : 3,230
รับสาธุการ : 9,881,800
รวม: 9,885,030 สาธุการ

 
                 บ่มีแมงหิ่งห้อยช้างติ...

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  14 มี.ค. 2554 เวลา 18:42:04  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่126)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
ตะกี้เห็นแมง นำใบไม้ หาหัวบ่อเห็น โตเป็นไบไม้ มีขา ติงหน่าวๆ
จั๊กแม่นแมงอิหยัง คั้นมีกล้อง ถ่ายคลิบได้ คือคุมื้อ สิถ่ายมาไว้เบิ่ง
แต่คุมื้อนี้จั๊กไปไสเบิ๊ด บ่อเห็นโตมันล่ะ
อีกแมงอันหนึ่ง โตปานงู นำยอดหญ้าคา แมะ
เสียดาย เดียวนี้กะบ่อมีให้เห็น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 349 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  14 มี.ค. 2554 เวลา 20:21:30  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ชมพู่ ลูกสาวหล่า    คห.ที่127)  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ยโสธร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 18 มี.ค. 2554
รวมโพสต์ : 1
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 3,730
รวม: 3,730 สาธุการ

 
คุณรุทธิ์  (อีเกียแดง):



แมงโตนี้บ้านผมเอิ้นแมงตูมครับ อยู่นำดินทรายแบบในรูปนี้หล่ะ
ตอนน้อยๆพากันเหล่นแหม่ะครับ  (ขออภัยครับที่โพสต์บ่สมควร)
เอามากัดนมเจ้าของให่มันใหญ่แหม่ะครับ (เหล่นแปลกๆเนาะเด็กน้อยทางพี้แหม่ะ)


กัดแล้วมันนมใหญ่อิหลีบ่ ห้าๆๆๆ ตอบแหน่ๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 373 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  18 มี.ค. 2554 เวลา 11:00:58  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวหน่อ    คห.ที่128)  
  อภิมหาเซียน

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 4,207
ให้สาธุการ : 185
รับสาธุการ : 7,268,330
รวม: 7,268,515 สาธุการ

 
คุณอิเหี่ยน:
คุณรุทธิ์  (อีเกียแดง):



แมงโตนี้บ้านผมเอิ้นแมงตูมครับ อยู่นำดินทรายแบบในรูปนี้หล่ะ
ตอนน้อยๆพากันเหล่นแหม่ะครับ  (ขออภัยครับที่โพสต์บ่สมควร)
เอามากัดนมเจ้าของให่มันใหญ่แหม่ะครับ (เหล่นแปลกๆเนาะเด็กน้อยทางพี้แหม่ะ)


กัดแล้วมันนมใหญ่อิหลีบ่ ห้าๆๆๆ ตอบแหน่ๆ


อีหลีครับ บ่าวรุทธิ์ลองมาแล้ว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 682 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  18 มี.ค. 2554 เวลา 17:04:20  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่129)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
คุณบ่าวหน่อ:
คุณอิเหี่ยน:
คุณรุทธิ์  (อีเกียแดง):



แมงโตนี้บ้านผมเอิ้นแมงตูมครับ อยู่นำดินทรายแบบในรูปนี้หล่ะ
ตอนน้อยๆพากันเหล่นแหม่ะครับ  (ขออภัยครับที่โพสต์บ่สมควร)
เอามากัดนมเจ้าของให่มันใหญ่แหม่ะครับ (เหล่นแปลกๆเนาะเด็กน้อยทางพี้แหม่ะ)


กัดแล้วมันนมใหญ่อิหลีบ่ ห้าๆๆๆ ตอบแหน่ๆ


อีหลีครับ บ่าวรุทธิ์ลองมาแล้ว
แม่นเป็นย้อนมันอักเสบ ซั้นบ้อ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 511 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  18 มี.ค. 2554 เวลา 17:26:34  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่130)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
เหลียวกลาย..พึ่งสิเข้ามาเห็นครับ
ตอบสาก่อนเนาะ..(ตามความเป็นจริงอย่าสะว่ากันขี้ดื้อเด้อครับ แห่ะๆ)
แมงตูมนี่เอามากัดนมอีหลีครับ สิเป็นการเหล่นในหมู่เด็กน้อยผู้ซาย กัดแล้วมันสิเกิดอาการเจ็บนิดๆผสมคันหน่อยๆ ได้ผลอยู่เด้หล่ะครับโดยเฉพาะ หัว.. โปขึ้นทันตาเห็น

               ( ผ่านเซ็นเซอร์บ่น้อหนิ )
    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 347 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  21 มี.ค. 2554 เวลา 18:02:36  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่131) แมงเลี้ยงน้อง  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 



ชื่อพื้นบ้าน
  แมงเลี้ยงน้อง (กวีขี้อาย)
ชื่อสามัญ              ด้วงดินขอบทองแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์     Mouhotia batesi Lewis
วงศ์ Carabidae


ลักษณะทางกายภาพ


เป็นด้วงดินที่มีขนาดใหญ่สีดำ ลำตัวยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
ส่วนหัวมีลักษณะแบน ใต้เขี้ยวมีขนสีน้ำตาล
หรือดำบริเวณขอบของส่วนอกและขอบปีกมีสีทองแดง  
มีกระดองที่สวยงาม ไม่มีปีก มีแต่กระดอง
พื้นลายกระดอง เป็นร่องเล็ก ๆ ถี่ๆ
ส่วนใหญ่ มีสีที่ขอบกระดอง และ ขอบคอ เป็นสีทองแดง หรือ สีเหลี่ยมๆ
บ้างก็มี สี สิ่วๆ ( เขียวอมม่วง) ที่สวยงามที่สุด คือมีขอบสีเหลืองทองคำ



ภาพแสดง ลักษณะทางกายภาพของ แมงเลี้ยงน้อง



แมงเลี้ยงน้อง
หรือ ด้วงดินขอบทองแดง
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ที่ได้ประกาศอยู่ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง
ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
และประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับกฤษฎีกาเล่ม 111
ตอนที่ 31ก ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537



การดำรงชีวิต

ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นดิน ตามป่าโคก ที่มีเศษซากพืชทับถม
และมีความชื้นค่อนข้างมาก กินกิ้งกือและตะขาบเป็นอาหาร
จึงจัดว่าเป็นตัวห้ำ(predator) อีกชนิดหนึ่งในระบบนิเวศ ฯ
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีรายงาน
ว่าพบที่ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีสานบ้านเฮา




ความเกี่ยวพันกับ วิถีชาวอีสาน

  เมื่อถึงฤดูลงนา หรือ ฤดูทำนา ชาวนาอีสานส่วนมาก
มักจะขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ลงไป " นอนนา"
พ่อและแม่มักจะมีงานยุ่ง จนไม่มีเวลาดูแลลูกน้อย เพราะฉะนั้น หน้าที่ในการ
ดูแลน้องๆ จึงตกเป็นของ ผู้เกิดก่อน หรือ พี่ผู้โตกว่า ดูแลป้อนข้าวป้อนน้ำ
เอาลงนอนอู่ แกว่งไกวสายเปล "ทั้งอุ้มทั้งพาย"

แมงเลี้ยงน้อง เป็นแมลงที่มี กระดองแข็งสวยงาม
เมื่อมันตายลง จะทิ่งกระดองแข็งพร้อมสีสรร ไว้ยลโลก
ตามความเชื่อของคนอีสานแล้ว หากนำกระดองของแมลงชนิดนี้ มาร้อยเชือก
แล้วทำเป็นสายสร้อย คล้องคอ" น้องเล็ก "  จะทำให้ เลี้ยงง่าย ไม่โยเย
ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย




ผู้เป็นพี่ ( เอื้อย , อ้าย ) มักจะอุ้มกระเตงน้อง ( เจ๊ะ )
เดินดุ่มๆ เลี้ยงวัวควาย ตามหัวไร่ปลายนา ต่างสอดส่ายสายตาตาม พุ่มไม้
เนินทรายหัวดอน มองหา " แมงเลี้ยงน้อง" ,มองหากระดองฮ้าง
ถ้าพบตัวเป็น จะไม่ฆ่า เพื่อเอากระดอง เพราะถือว่า จะลดทอนอายุน้อง
จะมองหาเฉพาะซาก หรือ ตัวแมงที่ตายแล้ว ทิ้งเพียงกระดองสีสวยไว้ข้างพุ่มไม้
ยิ่งถ้าพบ กระดองเหลืองทองคำแล้ว ถือว่าเป็นโชค รีบนำมาล้างน้ำแล้วร้อยเชือก
คล้องคอรับขวัญน้อง ให้ " อยู่ดีมีแฮง"




ของขวัญล้ำค่า หาใช่ เพชรนิลจินดา แต่เป็นเพียงเปลือกของแมลงตัวจ้อย
ผู้คลานคลำ ตามป่านาดอน ซุกซ่อนตามขี้ขอนดอก แต่เป็นความผูกพัน และห่วงใย
ของสถาบันครอบครัว "คือสายสร้อยแมงเลี้ยงน้อง"  

แมลงชนิดนี้นับวันจะสูญหาย เนื่องจากป่าไม้ ส่วนใหญ่ถูกทำลาย
และผืนดินขาดความสมดุลย์ชีวภาพ หลงเหลือเพียงให้เห็นตาม
วนอุทยาน หรือ อุทยานแห่งชาติบางแห่งเท่านั้น   จึงไม่แปลกที่ ลูกหลานชาวอีสาน
ไม่รู้จักแมลงชนิดนี้  เมื่อ 20 ปีก่อน พบได้ตาม ป่าหัวดอน หัวนา ทั่วไป
เพราะดินดี มีความหลากหลายทางชีวภาพ
ปัจจุบันประกาศให้เป็น สัตว์สงวนแล้วครับ


ขอบคุณทุกภาพ จากอินเตอร์เน็ต ครับขะน้อย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 774 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  06 พ.ค. 2554 เวลา 17:42:01  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)