ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 3 มิถุนายน 2567:: อ่านผญา 
บัวอาศัยเซิ่งน้ำปลาเพิ่งวังตม ไพร่กับนายเพิ่งกันโดยด้าม แปลว่า ไพร่กับนาย ต่างก็ต้องพึ่งพาอาศัยกัน เหมือน บัว ปลา ตม และน้ำ ต่างอาศัยกันและกัน หมายถึง พึงช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันอยู่เสมอ


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  จังหวัดในอีสาน  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย   ขอนแก่น  
  มังกรเดียวดาย  
  อ้างอิงจังหวัด : ขอนแก่น
 
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 5,694,060
รวม: 5,702,205 สาธุการ

 
ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 209 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนไปเข้าภาคเหนือที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทั้งทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของลาว

การปกครอง แบ่งออกเป็น 26 อำเภอ ดังนี้
1. อำเภอเมืองขอนแก่น   2. อำเภอบ้านฝาง     3. อำเภอพระยืน
4. อำเภอหนองเรือ        5. อำเภอชุมแพ        6. อำเภอสีชมพู
7. อำเภอน้ำพอง           8. อำเภออุบลรัตน์     9. อำเภอกระนวน
10.อำเภอบ้านไผ่         11.อำเภอเปือยน้อย   12.อำเภอพล
13.อำเภอแวงใหญ่       14. อำเภอแวงน้อย    15.อำเภอหนองสองห้อง
16.อำเภอภูเวียง          17.อำเภอมัญจาคีรี    18.อำเภอชนบท
19.อำเภอเขาสวนกวาง  20.อำเภอภูผาม่าน     21.อำเภอซำสูง
22.อำเภอโคกโพธิ์ไชย  23.อำเภอหนองนาคำ  24.อำเภอบ้านแฮด
25.อำเภอโนนศิลา       26.อำเภอเวียงเก่า

อาณาเขตติดต่อ
     ทิศเหนือ   ติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
     ทิศตะวันออก  ติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์
     ทิศใต้  ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา
     ทิศตะวันตก  ติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์


ค้นข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 478 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  15 เม.ย. 2551 เวลา 11:09:03  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่1) ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขอนแก่น  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 5,694,060
รวม: 5,702,205 สาธุการ

 
สมัยก่อนประวัติศาสตร์

จากหลักฐานการสำรวจบริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง ของ วิลเฮล์ม จิโซลไฮม์ เรื่อง เออร์ลี่บรอนซ์ อิน นอร์ธอิสเทริน์ ไทยแลนด์ ได้ค้นพบเครื่องสำริดและเหล็กมีเครื่องมือเครื่องใช้เป็นขวาน รวมทั้งแบบแม่พิมพ์ที่ใช้หล่อ มีกำไลแขนสำริดคล้องอยู่ที่โครงกระดูกท่อนแขน ซ้อนกันหลาย วง พบกำไรทำด้วยเปลือกหอย รวมทั้งพบแหวนเหล็กไน แสดงว่ามีการปั่นด้ายทอผ้าใช้ในยุคนั้นแล้ว นอกจากนี้ ยังพบขวานทองแดง อายุ 4,600-4,800 ปี เป็นหัวขวานหัวเดียวที่พบในประเทศไทย ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ในชั้นดินที่ 20 การกำหนดอายุโดยคาร์บอนด์ 14 จากชั้นดินที่ 19 ปรากฏว่าอายุ 4,275 ปี จากหลักฐานข้างต้นพิสูจน์ให้เห็นว่าอาณาเขตบริเวณจังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรม วัฒนธรรมอันสูงสุดมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี


สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา

บริเวณบ้านโนนเมือง วัดป่าพระนอน ตำบลชุมแพ ได้พบเสมาหินปักอยู่เป็นระยะและล้มจมดิน มีรอยสลักกลีบบัว กลีบเดียวหรือสองกลีบ แท่งหินที่สำคัญที่ชาวบ้านเรียกว่าเสาหลักเมืองเป็นรูปทรงกลมมีรอยจารึก ซึ่งเข้าใจว่าเป็นตัวอักษรมอญโบราณ ได้นำเอามาทำเป็นหลักเมืองขอนแก่น

เมืองโบราณ แห่งนี้กรมศิลปากรได้ขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ ฝังอยู่อย่างเป็นระเบียบ มีโบราณวัตถุหลายอย่าง ฝังรวมอยู่ด้วย สันนิษฐานว่าเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่มาหลายยุคหลายสมัย

บริเวณยอดเขาภูเวียงเป็นวงกลมซึ่ง โอบล้อมพื้นที่ 3 ตำบล มีพระพุทธรูปแบบทวารวดี จากภาพถ่ายทางอากาศ พบเมืองโบราณหลายแห่งอยู่ใกล้ ลำน้ำพอง ซึ่งเป็นลำน้ำสำคัญ คือเมืองโบราณที่วัดดงเมืองแอม ในเขตอำเภอน้ำพองเมืองมีขนาด 2900X3000 เมตร ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่ ที่สุดในภาคอีสานเท่าที่ได้พบเห็นในประเทศไทยจะเป็นรองอยู่ก็เฉพาะเมืองนครชัยศรี (นครปฐมโบราณ)

พระธาตุบ้านขาม อำเภอน้ำพอง มีประวัติว่า เดิมมีตอมะขามใหญ่ซึ่งตายไปนานแล้ว กลับงอกเงย ขึ้นอีกคนเจ็บป่วยเมื่อได้กินใบซึ่งงอกขึ้นใหม่นี้จะหาย หากผู้ใดไปทำมิดีมิร้ายหรือดูถูก ไม่เคารพก็จะมีอันเป็นไปโดย ปัจจุบันทันด่วนชาวบ้านจึงพร้อมใจกันก่อพระเจดีย์ครอบตอมะขามนี้ ไว้โดยสลักบรรจุคำสอนของ พระพุทธเจ้า เข้าไว้ในตอมะขามเหตุนี้จึงเรียกว่าพระธาตุบ้านขามมาแต่โบราณ


สมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี

เมื่ออิทธิพลของขอมเสื่อมลงหลังพุทธศวรรษที่ 16 จนกระทั่งถึงสมัยอยุธยา บ้านเมืองทางภาค อีสานโดนกระทบจากภัยสงคราม หรือภัยอื่นๆ จนกลายเป็นเมืองร้าง ผู้คนระส่ำระสาย
ในการประชุมพงศาวดารภาค 70 ของกรมศิลปากร เรื่องพงศาวดารย่อนครเวียงจันทร์ปรากฏ ข้อความตอนหนึ่งว่า "ศักราชได้ 76 ปี กาบสะง้าเจ้าบ้านท่านกวาดครัวภูเวียงลง "คำว่าศักราชได้ 76 เทียบได้กับ พ.ศ.2257 คือ 16 ปี ก่อนพระเจ้าศิริบุญสารขึ้นครองราชสมบัติ หรือปลายสมัยอยุธยาและว่าภูเวียงมีฐานะเป็น ชุมชนเมืองสำคัญแล้ว มีฐานะเป็นเมืองป้อมหรือเมืองหน้าด่าน ของเวียงจันทร์ ตั้งอยู่ในเส้นทางมาติดต่อกับนครเวียงจันทร์ กับกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงเทพฯ การเดินทัพเดินทางโดยทั่วไปของทั้งสองนครต้องผ่านโคราช ช่องสามหมอ ภูเวียง หนองบัวลำภู เพราะเป็นทางตรงและมีน้ำท่วมอุดมสมบูรณ์ ต่อมาภายหลังเพื่อหลีกเลี่ยงทางลุ่ม จึงมีทางรถไฟ ทางรถยนต์ ระยะแรกไปตามที่ดอนผ่านเมืองพล บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรฯลฯ


สมัยรัตนโกสินทร์

พงศาวดารภาคอีสานฉบับของ พระยาขัตติวงษา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) มีความสำคัญตอนหนึ่งว่า (พ.ศ.2325) ทราบข่าวว่าเมืองแสนกลัวความผิดหลบตัวหนีลงไป พึ่งพระยาโคราช บอกให้เมืองแสนลงไปเมืองเจ้าเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระจันทรประเทศ ขึ้นมาตั้งบ้านกองแก้ว เป็น เมืองชลบถ มีไพร่พลสมัครไปด้วย 340 คน ในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พ.ศ. 2340 ฝ่ายเพียเมือง แพนบ้านชีโหล่น เมืองสุวรรณภูมิเห็นว่าเมืองแสนได้เมืองชลบถก็อยากจะได้บ้าง จึงเกลี่ยกล่อมคน ได้ สามร้อยคนเศษจึงสมัครขึ้นอยู่กับพระยานครราชสีมาแล้วขอตั้งบ้านบึงบอนเป็นเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกมายัง กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเพียเมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมือง โดยยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมือง ขอนแก่น

พ.ศ.2352 ท่านราชานนท์ ย้ายเมืองไปตั้งที่ริมหนองเหล็กพันชาติหรือคงพันชาด (หมู่บ้านแพง อ.โกสุมพิสัย )
พ.ศ.2381 ย้ายเมืองขอนแก่นกลับมาตั้งอยู่ริมบึงบอน (ตะวันตกเฉียงใต้ ของบ้านโนนทัน ต.ในเมือง อ.เมือง ปัจจุบันนี้)
พ.ศ. 2410 ย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งบ้านดอนบมริมแม่น้ำชี
พ.ศ. 2434 โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงต่างพระองค์และ โปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายเมืองขอนแก่นมาตั้งที่บ้านทุ่ม อ.เมืองขอนแก่น)
พ.ศ.2442 โปรดให้ย้ายกลับไปตั้งที่บ้านบึงบอนดังเดิม (เมืองเก่า)
พ.ศ. 2447 โปรดให้เรียกตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นว่าข้าหลวงประจำบริเวณพาชี
พ.ศ. 2451 ย้ายศาลากลางเมืองขอนแก่นมาตั้งที่บ้านพระลับ ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น (ศาลากลางหลังเก่า)
และเปลี่ยนตำแหน่งข้าหลวงประจำบริเวณเป็นผู้ว่าราชการเมือง
พ.ศ.2459 โปรดให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัด
พ.ศ. 2507 ได้สร้างศาลากลางใหม่ที่สนามบินเก่า ห่างจากที่เดิม 2,000 เมตร ปัจจุบันเรียกว่า "ศูนย์ราชการ"
ในสมัยนายสมชาย กลิ่นแก้ว เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งในระหว่าง พ.ศ. 2503 - 2511

ค้นข้อมูลจาก : เว็บไซต์จังหวัดขอนแก่น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 568 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 เม.ย. 2551 เวลา 11:41:46  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่2) ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขอนแก่น  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 5,694,060
รวม: 5,702,205 สาธุการ

 
การตั้งถิ่นฐาน

แม้ขอนแก่นจะเป็นบ้านเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่เมื่อราวสองร้อยกว่าปีมานี้ก็ตาม แต่ในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบริเวณเขตจังหวัดขอนแก่น เคยมีชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ได้เข้ามาอาศัยก่อนแล้ว เช่น การค้นพบแหล่งโบราณคดีที่บ้านโนนนกทา อำเภอภูเวียง พบว่ามีเครื่องปั้นดินเผาที่มีอายุใกล้เคียงกับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง คือมีอายุราว 5,500 ปีมาแล้ว ต่อมาชุมชนเหล่านี้ก็ได้วิวัฒนาการมาสู่ชุมชนแห่งรัฐ และกลายเป็นบ้านเมืองขึ้นในสมัยทวาราวดี ก่อนที่ขอมจะมามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้ เช่น พบแหล่งโบราณคดีที่วัดศรีเมืองแอม อำเภอเขาสวนกวาง ซึ่งปรากฏจารึกศรีเมืองแอมที่ขอมได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนส่วนนี้หรือที่ปรากฏเป็นปรางค์กู่ต่าง ๆ ในเขตจังหวัดขอนแก่น เป็นต้น

ประวัติศาสตร์การสร้างเมืองขอนแก่น ได้เริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2322 ขณะนั้นเมืองเวียงจันทน์ได้เกิดเหตุพิพาทกับกลุ่มของเจ้าพระวอจนถึงกับยกทัพไปตีค่ายของเจ้าพระวอแตกที่บ้านดอนมดแดง (อุบลราชธานีปัจจุบัน) และจับเจ้าพระวอประหารชีวิต สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถือว่าฝ่ายเจ้าพระวอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพขึ้นไปตีเวียงจันทน์ จากนั้นจึงได้ยกทัพกลับมายังกรุงเทพมหานคร พร้อมกับได้อัญเชิญพระแก้วมรกต พระพุทธปฏิมากร และพระบางกลับมาถวายแต่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีด้วย

เจ้าแก้วบุฮม (แก้วบรม) กับพระยาเมืองแพน (หรือเพี้ยเมืองแพน) สองพี่น้อง ซึ่งเป็นโอรสของเจ้าแสนปัจจุทุม (ท้าวแสนแก้วบุฮม) ได้ยกกองทัพจากบ้านเพี้ยปู่ เขตแขวงเมืองทุละคม (ธุระคม) ซึ่งขึ้นกับเมืองเวียงจันทน์ในทุกวันนี้ ข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่บ้านโพธิ์ตาก (บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านกง อำเภอเมืองขอนแก่น) และบ้านยางเดี่ยว บ้านโพธิ์ศรี (บ้านโพธิ์ศรี ตำบลบ้านโนน อำเภอกระนวน) บ้านโพธิ์ชัย (บ้านโพธิ์ชัย อำเภอมัญจาคีรี) บ้านสร้าง บ้านชีโหล่น (อยู่ในเขตเมืองสุวรรณภูมิ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดปัจจุบัน)

ในปัจจุบัน บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภอน้ำพอง บางบ้านก็อยู่ในเขตอำเภออาจสามารถ (จังหวัดร้อยเอ็ด) บางบ้านก็อยู่ในเขตจังหวัดยโสธร บางบ้านก็อยู่ที่อำเภอมัญจาคีรี และบางบ้านก็อยู่ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว (จังหวัดยโสธร) เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะได้มีการเปลี่ยนแปลงเขตเมืองในสมัยหลัง ๆ ต่อมานั่นเอง

เจ้าแก้วบุฮมได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโพธิ์ชัย พระยาเมืองแพนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชีโหล่น คุมไพร่พลคนละ 500 คน ขึ้นกับเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ ครั้นต่อมาอีกราว 9 ปี ในปี พ.ศ. 2331 เพี้ยเมืองแพนก็ได้พาราษฎรและไพร่พลประมาณ 330 คน ขอแยกตัวออกจากเมืองสุวรรณภูมิไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งบึงบอน ยกขึ้นเป็นเมืองที่บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ย (ปัจจุบันคือ บ้านเมืองเพี้ย ตำบลเมืองเพี้ย อำเภอบ้านไผ่)

บึงบอนหรือดอนพยอมในปัจจุบันได้ตื้นเขินเป็นที่นาไปหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฏเป็นรูปของบึงซึ่งมีต้นบอนขึ้นอยู่มากมาย ต่อมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่น ดังปรากฏข้อความในพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตรว่า

“ลุจุลศักราช 1159 ปีมเสง นพศก (พ.ศ. 2340) ฝ่ายเพี้ยเมืองแพน บ้านชีโล่น เมืองสุวรรณภูมิ เห็นว่าเมืองแสนได้เป็นเจ้าเมืองชนบท ก็อยากจะได้เป็นบ้าง จึงเกลี้ยกล่อมผู้คนให้อยู่ในบังคับสามร้อยคนเศษ จึงสมัครขึ้นอยู่ในเจ้าพระยานครราชสีมา แล้วขอตั้งบ้านบึงบอนเป็นเมือง เจ้าพระยานครราชสีมาได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เมืองแพนเป็นที่พระยานครศรีบริรักษ์ เจ้าเมือง ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็นเมืองขอนแก่น ขึ้นเมืองนครราชสีมา...”

เอกสารพงศาวดารอีสานฉบับพระยาขัติยวงศา (เหลา ณ ร้อยเอ็ด) ได้กล่าวถึงการตั้งเมืองขอนแก่นว่า

“...ได้ทราบข่าวว่าเมืองแพน บ้านชีโล่น แขวงเมืองสุวรรณภูมิ พาราษฎร ไพร่พลประมาณ 330 คน แยกจากเมืองสุวรรณภูมิไปขอตั้งฝั่งบึงบอนเป็นเมือง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เมืองแพนเป็นพระนครศรีบริรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น...”

ค้นข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 456 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 เม.ย. 2551 เวลา 11:54:13  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่3) ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับขอนแก่น  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 5,694,060
รวม: 5,702,205 สาธุการ

 
การย้ายถิ่นฐานเมืองขอนแก่น

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. 2339 ได้มีการย้ายเมืองขอนแก่นไปตั้งอยู่ที่บ้านหนองเหล็ก (ตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปัจจุบัน) โดยได้ขอขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร คือจะขอส่งส่วยต่อกรุงเทพมหานครโดยตรง ไม่ผ่านเมืองสุวรรณภูมิ เพราะให้เหตุผลว่า บ้านดอนพยอมเมืองเพี้ยอยู่ใกล้กับแขวงเมืองนครราชสีมา ซึ่งก็เป็นจริง เพราะอยู่ใกล้กับเมืองชนบท อันเป็นแขวงเมืองนครราชสีมาอยู่ขณะนั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว เข้าใจว่าเจ้าเมืองในขณะนั้นอยากจะแยกตัวออกเป็นอิสระ คืออยากจะแยกออกมาเป็นเมืองใหญ่อีกต่างหาก การย้ายเมืองครั้งนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบัง (บุตรเจ้าแก้วบุฮม) เป็นพระนครศรีบริรักษ์ เจ้าเมืองขอนแก่นต่อมา

ในปี พ.ศ. 2352 ได้ย้ายเมืองจากบ้านหนองเหล็กไปตั้งเมืองอยู่ที่บ้านดอนพันชาด (เขตตำบลบ้านแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) พระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ได้ถึงแก่กรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตร (ท้าวคำยวง) น้องชายของพระนครศรีบริรักษ์ (คำบ้ง) ซึ่งมีความดีความชอบจากการไปราชการสงคราม ขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น เป็นที่ “พระนครศรีบริรักษ์ บรมราชภักดี ศรีศุภสุนทร” เจ้าเมืองขอนแก่น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2381 เมืองขอนแก่นก็ได้ย้ายจากบ้านดอนพันชาดไปตั้งอยู่ที่ริมฝั่งบึงพระลับโนนทอง คือบ้านเมืองเก่า ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนเรียกว่า "บ้านโนนทอง" ต่อมาเมื่อย้ายเมืองไปอยู่ที่นั่น จึงเรียกว่าบ้านเมืองเก่า สาเหตุที่ย้ายเมืองนั้นเล่ากันว่า เกิดการแย่งราษฎรไพร่พลขึ้น และเกิดแผ่นดินแยกที่ถนนกลางเมือง มีโรคภัยไข้เจ็บผู้คนล้มป่วยกันมาก จึงถือว่าที่ตรงนั้นไม่เป็นมงคลต่อการอยู่อาศัย จึงย้ายเมืองอีกครั้งหนึ่ง จากบึงพระลับโนนทองไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกที่บ้านโนนทัน (อยู่ในตำบลพระลับ อำเภอเมืองขอนแก่นปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2398 พอดีพระนครศรีบริรักษ์ (คำยวง) ได้ถึงแก่อนิจกรรม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอินธิวงษ์ บุตรคนเล็กของพระยานครศรีบริรักษ์ เป็นเจ้าเมืองขอนแก่น เพราะมีวิชาความรู้ดีกว่าพี่ชายคนอื่น ๆ โดยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาในราชทินนามเดิมของบิดาสืบมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2407 ท้าวอินธิวงษ์เจ้าเมืองขอนแก่นได้ถึงแก่อนิจกรรมลงอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวคำบุ่ง (พี่ชายท้าวอินธิวงษ์) ผู้เป็นอุปฮาดแต่เดิมให้เป็นเจ้าเมืองขอนแก่นสืบแทนน้องชายต่อมาอีก 3 ปี เพราะชราภาพมากแล้ว

ในปี พ.ศ. 2410 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอุ (ราชบุตร) ซึ่งเป็นหลานท้าวอินธิวงษ์ (พระยานครศรีบริรักษ์) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองขอนแก่น และได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านโนนทันกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าอีก (บ้านโนนทองเดิม) พอถึงปี พ.ศ. 2413 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านเมืองเก่าไปตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม (บ้านดอนบม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น) แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวอุ (ราชบุตร) เจ้าเมืองขอนแก่นในขณะนั้น เป็นพระนครศรีบริรักษ์ และให้ท้าวหนูหล้า บุตรคนเล็กของท้าวอินธิวงษ์ เป็นปลัดเมืองขอนแก่น (หรืออุปฮาด)

ในปี พ.ศ. 2434 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนการปกครองหัวเมืองไกลใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ ให้เป็นหัวเมืองไกลใหม่ โดยเปลี่ยนเป็นบริเวณหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือให้เป็นหัวเมืองลาวพวน ดังนั้น เมืองขอนแก่นจึงกับขึ้นกับเมืองลาวพวน ในสมัยนั้นได้มีสายโทรเลข ที่เดินจากเมืองนครราชสีมา ผ่านเมืองชนบท เข้าเขตเมืองขอนแก่นข้ามลำน้ำชีที่ท่าหมากทัน ตรงไปท่าพระ บ้านทุ่ม โดยไม่เข้าเมืองขอนแก่น และตรงไปข้ามลำน้ำพองไปบ้านหมากแข้งเมืองอุดรธานี กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พระยศในขณะนั้น) ซึ่งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลทรงดำริว่า ที่ว่าการเมืองขอนแก่นที่ตั้งอยู่ที่บ้านดอนบม ไม่สะดวกแก่ราชการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระนครศรีบริรักษ์ (อุ) ย้ายเมืองไปตั้งอยู่ที่บ้านทุ่ม (อำเภอเมืองขอนแก่นในปัจจุบัน) ในปลาย พ.ศ. 2434 และเปลี่ยนนามตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง

ในปี พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานบรรดาศักดิ์ท้าวหนูหล้าปลัดเมืองขอนแก่นเป็นพระพิทักษ์สารนิคม และในปี พ.ศ. 2441 ก็ได้ย้ายเมืองขอนแก่นจากบ้านทุ่มกลับไปตั้งอยู่ที่บ้านเมืองเก่าตามเดิม โดยตั้งศาลากลางขึ้นที่ริมบึงเมืองเก่าทางด้านเหนือ (หน้าสถานีโทรทัศน์ในปัจจุบัน) ด้วยเหตุผลที่ว่า บ้านทุ่มนั้นกันดารน้ำในฤดูแล้ง

ในปี พ.ศ. 2444 ทางราชการได้เกณฑ์แรงงานของราษฎรที่เคยหลงผิดไปเชื่อผีบุญ-ผีบาป ที่เขตแขวงเมืองอุบลราชธานีในตอนนั้น โดยให้พากันมาช่วยสร้างทำนบกั้นน้ำขึ้นเป็นถนนรอบบึงเมืองเก่า เพื่อกักน้ำไว้ใช้สอยในฤดูแล้ง เพราะบึงนี้เป็นแหล่งน้ำที่สำคัญของชาวเมืองขอนแก่น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2447 พระนครบริรักษ์ (อุ นครศรี) เจ้าเมืองขอนแก่น ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ เหตุเพราะชราภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนตำแหน่งพระพิทักษ์สารนิคม (หนูหล้า สุนทรพิทักษ์) ปลัดเมืองขอนแก่นขึ้นเป็นผู้ว่าราชการเมืองขอนแก่น และในปีนั้นเอง ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามตำแหน่งข้าหลวงประจำเมืองขอนแก่นเป็นข้าหลวงประจำบริเวณพาชี ส่วนเมืองต่าง ๆ ที่ขึ้นต่อนั้น ก็ให้เปลี่ยนเป็นอำเภอ และผู้เป็นเจ้าเมืองนั้น ๆ ก็ให้เปลี่ยนเป็นนายอำเภอ ตำแหน่งอุปฮาดก็เป็นปลัดอำเภอไป

ต่อมาในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเป็นจังหวัดแทน ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองจึงกลายเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด และศาลาว่าการเมืองก็เปลี่ยนมาเป็นศาลากลางจังหวัด นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ค้นข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 519 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 เม.ย. 2551 เวลา 11:58:04  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  มังกรเดียวดาย    คห.ที่4)  
  มหาเซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 03 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 3,640
ให้สาธุการ : 8,145
รับสาธุการ : 5,694,060
รวม: 5,702,205 สาธุการ

 
ที่มาของชื่อขอนแก่น

เหตุที่เมืองนี้มีนามว่า เมืองขอนแก่น นั้นได้มีตำนานแต่โบราณเล่าขานสืบต่อกันมาว่า แต่เดิมท้องถิ่น บ้านขาม ( ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นในปัจจุบัน) มีดอน(เนินดิน)อยู่ตรงกลางทุ่ง ในฤดูฝนมีน้ำล้อมรอบเนินนี้ และบนเนินนี้มีต้นมะขามต้นหนึ่งตายไปนานแล้ว เหลือแต่ตอที่เป็นแก่น เมื่อครั้งมีการสร้างพระธาตุพนม พระยาหลังเขียวและพระอรหันต์ทั้ง 9 พร้อมด้วยข้าราชบริพาร จะนำพระอังคาร(ขี้เถ้า)ของพระพุทธเจ้าไปบรรจุที่พระธาตุพนม แต่การเดินทางมาค่ำมืดที่ตรงเนินที่มีน้ำล้อมรอบ จึงหยุดและวางสัมภาระตลอดจนพระอังคารไว้บนตอมะขาม แล้วพักผ่อนหลับนอน

พอรุ่งขึ้นจึงเดินทางต่อไป เมื่อไปถึงพระธาตุพนมปรากฏว่าได้สร้างเสร็จแล้ว จะเอาอะไรเข้าบรรจุอีกไม่ได้ จึงพากันนมัสการพระธาตุพนม แล้วเดินทางกลับมาตามทางเดิม เมื่อมาถึงเนินดินที่เคยพักผ่อน ต้นมะขามที่ตายไปเหลือแต่แก่นต้นนั้น กลับผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พระอรหันต์ทั้ง 9 พร้อมด้วยพระยาหลังเขียว จึงตกลงสร้างเจดีย์คร่อมต้นมะขามไว้
แล้วบรรจุพระอังคารของพระพุทธเจ้าลงไว้ ชาวบ้านเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า "พระธาตุขามแก่น"


พระธาตุขามแก่นที่สร้างในครั้งแรก เป็นรูปปรางค์ และเมื่อทำการบูรณะใหม่เมื่อราว 50 ปีที่ผ่านมานี้ ได้เปลี่ยนเป็นรูปทรงเจดีย์ ปัจจุบัน อยู่ในเขตวัดเจติยภูมิ บ้านขาม ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น พระเจดีย์ขามแก่น ถือว่าเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะมีงานพิธีบวงสรวง เคารพสักการะกันในวันเพ็ญเดือน 6 ทุกปี

เมื่อท้าวเพียเมืองแพนอพยพมาจากบ้านชีโหล่น มาตั้งอยู่ที่บ้านบึงบอน จึงได้ถือเอาปูชนียสถานแห่งนี้ เป็นนิมิตมาตั้งนามเมืองว่าขามแก่น แต่ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนมาเป็นเมืองขอนแก่น จนกระทั่งทุกวันนี้

(แต่บางตำนาน ก็บอกว่า ท้าวเพียเมืองแพน ได้ตั้งชื่อว่า เมืองขอนแก่น แต่แรก)

เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว ท้าวเพียเมืองแพน ได้สร้างวัดขึ้น 3 วัด คือ วัดเหนือ (ปัจจุบันคือ
วัดธาตุพระอารามหลวง) วัดกลาง (ปัจจุบันคือ วัดกลางเมืองเก่า) และวัดใต้ (ปัจจุบันคือ
วัดหนองแวงพระอารามหลวง)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 632 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 เม.ย. 2551 เวลา 12:41:18  
  www    offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บักต๊อก    คห.ที่5)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 22 มี.ค. 2550
รวมโพสต์ : 2,153
ให้สาธุการ : 2,845
รับสาธุการ : 1,925,160
รวม: 1,928,005 สาธุการ

 
คนขอนแก่นบ่ธรรมดาเนาะ  ประวัติยาวนานเติบ
เป็นคนขอนแก่นแท้ๆ กะหหัวก้อฮู้ประวัติบ้านเจ้าของ
คั่กๆละเทือนี่ละเด้อครับ ขอบคุณหลาย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 388 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 เม.ย. 2551 เวลา 17:21:31  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ผู้บ่าวเฮิ่ม    คห.ที่6)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : นครพนม
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ส.ค. 2550
รวมโพสต์ : 783
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 823,400
รวม: 823,400 สาธุการ

 
หมอแคนยังคอย
        จากขอนแก่น ดินแดนแก่นขอน เหลียวมองบึงแก่นนครเศร้าอาวรณ์ไม่เคยลืม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 32 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  19 เม.ย. 2551 เวลา 11:53:01  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บักแหมบ    คห.ที่7)  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 21 เม.ย. 2551
รวมโพสต์ : 19
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 61,580
รวม: 61,580 สาธุการ

 
ดีใจครับที่ได๊เกิดเป็นคนขอนแก่น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 32 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  21 เม.ย. 2551 เวลา 15:18:19  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บักแหมบ    คห.ที่8) ประวัติความเป็นมา ของอำเภอภูเวียง  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 21 เม.ย. 2551
รวมโพสต์ : 19
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 61,580
รวม: 61,580 สาธุการ

 

ประวัติความเป็นมา ภูเวียงเป็นเมืองเก่ามาแต่โบราณกาล โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อแรกตั้ง จังหวัดขอนแก่น มีเพียง 3 เมืองเท่านั้น คือ เมือง ชนบท เมืองภูเวียง และเมืองขอนแก่น โดยที่เมืองภูเวียงเป็นเมืองที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก คนทั้งหลายมักจะเรียกเมืองภูเวียงว่าเป็น "หัวเมืองเอกฝ่ายตะวันตก"
ตามประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค ของอำเภอภูเวียง ปรากฎว่าเมืองประมาณ พ.ศ.2300 มีพรานป่าคนหนึ่งชื่อสิงห์ ภายลังได้รับแต่งตั้งเป็น "กวนทิพย์มนตรี" ได้เข้าไปล่าเนื้อในเขาภูเวียง กวนทิพย์มนตรีเดิมอยู่บ้าข่าเชียงพิณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้เห็นในวงภูเวียงเป็นทีราบน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เป็นทำเลที่เหมาะสมแก่การทำมาหากิน จึงชักชวนพี่น้องเข้าไปตั้งหลักฐานบ้านเรือนครั้งแรก อพยพไปประมาณ 10 ครอบครัว ไปตั้งบ้านบริเวณบริเวณ"ด่านช้างชุม" เพราะที่ตรงนั้นมีโขลงข้างป่ามารวมกันมาก คือ บ้านเมืองเก่าในปัจจุบัน
ขณะนั้นพื้นแผ่นดินภูเวียงขึ้นกับประเทศลาว ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชขอประเทศไทย เมื่อกวนทิพย์มนตรีไปตั้งบ้านเรือน ณ ดังกล่าวและต่อมามีประชาชนเมืองยโสธร นครจำปาศักดิ์ และนครเวียงจันทร์ เข้าไปอยู่จำนวนมาก บ้านเมืองก็ขยายออกไปหลายหมู่บ้าน ทางเจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้แต่ตั้งให้กวนทิพย์มนตรีเป็นเจ้าเมืองภูเวียง ส่งผ้าขาวเป็นเครื่องบรรณาการ แก่เมืองเวียงจันทร์
ต่อมากวนทิพย์มนตรีถึงแก่กรรม จึงตั้งท้าวศรีสุธอน้องชาย เป็นเจ้าเมืองแทน ในระหว่างนั้น พระวอพระตาเป็นกบฎต่อเมืองผู้ครองนครเวียงจันทร์ และได้หลบตัวมาอยู่ในเมืองโกมุทไสย์ (จังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาเจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้ทหารจับพระวอพระตา เมื่อพระวอพระตารู้ตัวจึงหลบหนีไปอยู่ดอนมดแดงแขวงเมืองอุบลราชธานี เจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้แม่ทัพคุมทหาร ติดตามไปจับพระวอพระตาประหารชีวิต ความทราบถึงพระเจ้าตากสินทราบพิโรธ เห็นเจ้านครเวียงจันทร์ดูหมิ่นพระเดชานุภาพ และรุกล้ำแดนไทย จึงส่งให้เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสิห์ (สมเดชกรมพระราชวังบวร) สองพี่น้องยกทัพไปปราบเจ้านครเวียงจันทร์ ปรากฎว่าพระยาจักรีตีนครเวียงจันทร์แตก และเข้ายึดเมืองนครเวียงจันทร์ และหลวงพระบางไว้ได้ ต่อมาท้าวศรีสุธอเจ้าเมืองภูเวียง ซึ่งอยู่ในความปกครองของเจ้าผู้ปกครองนครเวียงจันทร์ไหวตัวทัน จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระยาจักรี และพระยาจักรีจึงสั่งให้ท้าวศรีสุธอกลับไปเป็นเจ้าเมืองภูเวียงดังเดิม และให้ขึ้นกับเจ้าเมืองหนองคายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ท้าวศรีสุธอถึงแก่กรรม ทางราชการได้แต่งตั้งเจ้าเมืองต่อจากท้าวศรีสุธอต่อมาอีก 2 คน เมื่อท้าวสุธอที่ 3 ถึงแก่กรรม พระศรีธงชัยเป็นเจ้าเมืองแทนเมื่องพระศรีธงชัยถึงแก่กรรม ข้าหลวงจันทร์มาซึ่งส่งมาจากหนองคายเป็นเจ้าเมืองแทน แล้วจึงยุบภูเวียงเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดขอนแก่น เมื่อประมาณปี พ.ศ.2369

 
 
สาธุการบทความนี้ : 514 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  21 เม.ย. 2551 เวลา 15:23:06  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บักแหมบ    คห.ที่9) ของดี ของเมืองภูเวียง (ไดโนเสาร์)  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 21 เม.ย. 2551
รวมโพสต์ : 19
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 61,580
รวม: 61,580 สาธุการ

 
ขอนแก่นเมื่อพูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยวก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน ว่าบริเวณที่ ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน นั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อน จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูก หัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจ ก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบันบนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1 ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง มีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของ สมเด็จพระเทพฯ มาตั้งชื่อไดโนเสาร์พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (Phuwianggosaurus Sirindhornae) และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟัน ของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า 10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า โซโรพอดตัวนี้อาจเป็นอาหาร ของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ในกลุ่มฟันเหล่านั้นมีอยู่หนึ่งซี่ที่มีลักษณะ แตกต่างออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฏ ว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ไม่เคย ค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (Siamosaurus Suteethorni) ผู้สนใจสามารถเดิน ทางไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจาก ที่ทำการอุทยาน และยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วยฟอสซิลของ "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (Siamotyrannus Isanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่า ไดโนเสาร์ จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯบริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอย อายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้า เหล่านั้นมี ขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วย รถขับเคลื่อน 4 ล้อใช้ เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กม.

ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่นๆที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะ อยู่กระจัดกระจายกันตามหลุมต่างๆ

ความน่าสนใจของที่นี่ไม่ได้มีแต่เพียงไดโนเสาร์เท่านั้น ยังมีการพบร่องรอยอารยธรรมโบราณด้วย โดยพบ "พระพุทธรูปปางไสยาสน์" ประติมากรรมนูนสูงสลักบนหน้าผาของยอดเขาภูเวียง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะท่านอนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระเศียรหนุนแนบกับต้นแขนขวา แขนซ้าย ทอดไปตามลำพระองค์ นอกจากนี้"ถ้ำฝ่ามือแดง" ที่บ้านหินร่องมีงานศิลปะของมนุษย์ถ้ำโบราณ ลักษณะ ของภาพเกิดจากการพ่นสีแแดงลงไปในขณะที่มือทาบกับผนังถ้ำก่อให้เกิดเป็นรูปฝ่ามือขึ้น

ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในบริเวณอุทยานฯจะมีน้ำตกอยู่สองสามแห่ง "น้ำตกทับพญาเสือ" เป็น น้ำตกเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำฝ่ามือแดง "น้ำตกตาดฟ้า" เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร สามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์ อยู่ห่างจากอำเภอภูเวียง 18 กม.และขึ้นเขาไปอีก 6 กม. ตรงต่อไป จาก น้ำตกตาดฟ้าอีก 5 กม. จะถึง "น้ำตกตาดกลาง" สูงประมาณ 8 กม. นอกจากน้ำตก ก็ยังมีแหล่งท่อง เที่ยวประเภท ทุ่งหญ้าและลานหิน ซึ่งจะมีดอกไม้ป่านานาพันธุ์บานในช่วงหลังฤดูฝน ได้แก่ "ทุ่งใหญ่เสา อาราม" "หินลาดวัดถ้ำกวาง" และ "หินลาดอ่างกบ"

พื้นที่อุทยานฯครอบคลุมอำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ มีพื้นที่ 380 ตรกม. การเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่นใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เป็นระยะทาง 48 กม. แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 เป็นระยะทาง 18 กม. ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้ เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกม.ที่ 23 จะเป็นบริเวณที่เรียกว่า "ปากช่องภูเวียง" ซึ่งมี หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่ เดินทางต่อไปจนถึงกม.ที่ 30 เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บ น้ำบ้านโพธิ์ เป็นระยะทาง 7.7 กม. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ภูเวียงที่ "ภูประตูตีหมา" ภายใน อาคารมีการจัดแสดงนิทรรศการและซากกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่ขุดพบบริเวณภูเวียง โดยมีคำ อธิบายลักษณะและการเกิดซากต่างๆ เหล่านี้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 428 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  21 เม.ย. 2551 เวลา 15:43:58  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5

   

Creative Commons License
ขอนแก่น --- อีสาน19จังหวัด (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)