ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
แนวกำพร้ามหาชนดูหมิ่น ชื่อว่าลูกกำพร้าเขาย้านแก่มกิน แปลว่า คนกำพร้า มหาชนเขาดูหมิ่น เขากลัวว่าลูกกำพร้าจะไปแย่งกิน หมายถึง คนที่ไม่เคารพเชื่อฟังพ่อแม่ อกตัญญู อยู่ที่ไหน ก็ไม่มีใครสรรเสริญ

ภาษาอีสาน วันละคำ  

ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาภาษาอีสานความหมายภาษาไทย /ภาษาอีสาน::
เรียนรู้ภาษาอีสาน คำต่อคำ ทั้งหมด คลิ๊กที่นี่ || 10 ข้อมูลที่เข้ามาใหม่ || ดัชนีคำศัพท์

จากการค้นหาอันสุดยอดของเรา คำว่า ่งดอก เราพบว่ามี 2 ข้อมูล ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำนี่
คำที่ 1 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ดอกจาน

ภาษาอีสานคำว่า..ดอกจาน
ความหมายตรงๆ ====>
ดอกทองกวาว
อ้างอิงจังหวัด :: อุดรธานี
จากคุณ:: บ่าวเดช
เมื่อวันที่:: 14-07-2007 16:48:34

ตัวอย่าง

ดอกจาน เป็นดอกไม้ที่แสดงถึงความงดงามของหมู่มวลพฤกษาของภาคอีสาน เนื่องจากน้อยนักน้อยหนาที่จะมีดอกไม้บาน และออกดอกในหน้าแล้ง จนเปรียบหน้าแล้ง หรือฤดูกาลที่แห้งแล้วดั่งดอกจาน เห็นดอกจานทีไร ความแห้งแล้ง อันเป็นทุกยากของคนอีสาน ได้ทันที

มีคนเขียนเพลงเกี่ยวกับดอกจานได้ไพเราะเพราะพริ้งมาก เลยเอาเนื้อเพลงมาฝากกัน

ดอกจานบานสะพรั่งหน้าแล้ง สีแดงแต้มแต่งพื้นดินอีสาน ลมร้อนโชยพริ้วพัดปลิวโชยผ่าน แย้มเยือนพื้นถิ่นอีสานแดนกันดารสุดแสนไกล
เสียงแคนโหยแผ่วแว่วมา พื้นนาร้องครวญดินแตกระแหง ทุกผู้คนหม่นหมองสิ้นเรี่ยวแรง ดอกจานเจ้าบานหน้าแล้ง กลีบดอกสีแดงยังหมองไหม้

ท้องทุ่งนานี้ขาดนาง น้องนางหนีบางเข้าสู่เมืองกรุงสวรรค์ ทิ้งทุ่งนาเปลี่ยวร้างลงกลางคัน มุ่งไปด้วยจิตใฝ่ฝัน หาเงินหางานเลี้ยงกาย

เฝ้ารอคอยน้องจนสองปีกว่า ย่างเข้าเดือนเมษางานสงกรานต์เคยสัญญา คอยแล้วเงียบหายสูญไปดังสายลมพา หรือลืมสิ้นแล้วบ้านนา ลืมดอกจานเสียงแคน
วอนวอนฝากสายลมโชยผ่าน ด้วยจิตอธิษฐานโปรดได้สงสารและเมตตา กระหน่ำเมฆฝนฝูงคนกลับคืนบ้านนา อีสานกันดารหนักหนา ลมเอ๋ยช่วยพาความสุขมาเยือน

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 2 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า บ่เป็นหยั่งดอก

ภาษาอีสานคำว่า..บ่เป็นหยั่งดอก
ความหมายตรงๆ ====>
ไม่เป็นไรหรอก
อ้างอิงจังหวัด :: อุดรธานี
จากคุณ:: ผู้สาวอีสาน
เมื่อวันที่:: 12-11-2007 19:28:37

ตัวอย่าง

พรุ่งนี้เราไปบ่ได้นะ บ่เป็นหยั่งดอก
พรุ่งนี้เราไปไม่ได้นะ ไม่เนไรหรอก

แก้ไขข้อมูล


กลับไปยังหน้าหลัก


ใช้เวลาในการประมวลผล 0.0018 วินาที  
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ภาษาอีสาน วันละคำ