ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ชื่อว่าจันทร์เพ็งแจ้งบ่ปานแสงสุริเยศ แสงกระบองหมื่นเล่มบ่ปานแจ้งแห่งเดือน แปลว่า แสงไฟจากกระบองหมื่นเล่ม ไม่เท่าแสงจันทร์ แสงจันทร์สว่าง ก็ไม่เท่าแสงอาทิตย์ หมายถึง แม้จะเก่ง ก็อย่าได้คิดว่าเลิศกว่าผู้อื่น พึงรู้จักเจียมตน อย่ายกตนข่มท่าน

ภาษาอีสาน วันละคำ  

ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาภาษาอีสานความหมายภาษาไทย /ภาษาอีสาน::
เรียนรู้ภาษาอีสาน คำต่อคำ ทั้งหมด คลิ๊กที่นี่ || 10 ข้อมูลที่เข้ามาใหม่ || ดัชนีคำศัพท์

จากการค้นหาอันสุดยอดของเรา คำว่า ็นตาก เราพบว่ามี 4 ข้อมูล ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำนี่
คำที่ 1 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ตื่ง

ภาษาอีสานคำว่า..ตื่ง
ความหมายตรงๆ ====>
เต่งตึง/บวมเป่ง/เป่งปลั่ง
อ้างอิงจังหวัด :: มุกดาหาร
จากคุณ:: จารย์ใหญ่
เมื่อวันที่:: 11-07-2010 04:16:43

ตัวอย่าง

หมากม่วงหน่วยนั้น สุกตื่งเป็นตากินแซบ

แปลว่า มะม่วงลูกนี้สุกปลั่งน่าจะกินอร่อย

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 2 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า บ่เป็นตาเบิ่ง

ภาษาอีสานคำว่า..บ่เป็นตาเบิ่ง
ความหมายตรงๆ ====>
ไม่น่าดู
อ้างอิงจังหวัด :: มุกดาหาร
จากคุณ:: จารย์ใหญ่
เมื่อวันที่:: 08-10-2010 21:32:27

ตัวอย่าง

หนังเรื่องนี้ บ่เป็นตาเบิ่ง

แปลว่า หนังเรื่องนี้ ไม่น่าดู

บ่เป็นตา หมายถึง ไม่ได้เรื่อง ไม่น่า เช่น บ่เป็นตาฟัง หมายถึง ไม่น่าฟัง บ่เป็นตากิน หมายถึง ไม่น่ากิน

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 3 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า เป็นตาอยากหัว

ภาษาอีสานคำว่า..เป็นตาอยากหัว
ความหมายตรงๆ ====>
น่าขำ
อ้างอิงจังหวัด :: อุดรธานี
จากคุณ:: บ่าวเดช
เมื่อวันที่:: 14-07-2007 16:53:10

ตัวอย่าง

เป็นตาอยากหัว คือ น่าขำ
มาจาก 2 คำ คือ คำว่า เป็นตา และคำว่า อยากหัว
เป็นตา คือ น่า เช่น เป็นตากิน คือ น่ากิน เป็นตางึด คือ น่าอัศจรรย์ใจ
อยากหัว แปลว่า อยากหัวเราะ ก็คือ ขำนั่นเอง

อ้ายบัติ เว้านิทานเป็นาอยากหัวแฮง แปลว่า พี่บัติ เล่านิทานน่าขำมาก

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 4 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ผักอีเตาะ

ภาษาอีสานคำว่า..ผักอีเตาะ
ความหมายตรงๆ ====>
ผักกระถิน
อ้างอิงจังหวัด :: ชัยภูมิ
จากคุณ:: บ่าวบ้านหลวง
เมื่อวันที่:: 02-07-2008 17:07:56

ตัวอย่าง

ผักอีเตาะป่งยอด เป็นตากินแท้หวา..

ผักกระถินออกยอด น่ากินจัง

แก้ไขข้อมูล


กลับไปยังหน้าหลัก


ใช้เวลาในการประมวลผล 0.0023 วินาที  
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ภาษาอีสาน วันละคำ