ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
บุญหัวบ่เคยได้สังวาลย์คำพระยานาค ขี้ดินดากติดหัวแต่น้อยหลงเอิ้นว่าหอน แปลว่า หัวไม่มีวาสนาจะได้สวมสังวาลย์ทองพญานาค แค่ขี้ดินติดหัวมาแต่เล็กๆ ก็เข้าใจไปเองว่าเป็นหงอน หมายถึง ไม่พึงถือตัว ถือดี เย่อหยิ่ง จองหอง ไม่พึงคุยโวโอ้อวด

ภาษาอีสาน วันละคำ  

ค้นหาคำศัพท์
ค้นหาภาษาอีสานความหมายภาษาไทย /ภาษาอีสาน::
เรียนรู้ภาษาอีสาน คำต่อคำ ทั้งหมด คลิ๊กที่นี่ || 10 ข้อมูลที่เข้ามาใหม่ || ดัชนีคำศัพท์

จากการค้นหาอันสุดยอดของเรา คำว่า ืด เราพบว่ามี 16 ข้อมูล ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำนี่
คำที่ 1 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ก่ำก่า

ภาษาอีสานคำว่า..ก่ำก่า
ความหมายตรงๆ ====>
นิดหน่อย , นิดเดียว , รู้นิดเดียว , รู้บ้างไม่รู้บ้าง, มีบ้างไม่บ้าง ,
อ้างอิงจังหวัด :: ศรีสะเกษ
จากคุณ:: หยัด พยุห์
เมื่อวันที่:: 08-04-2009 14:27:23

ตัวอย่าง

ประสาเฮ็นงานพอ ก่ำก่า กะบอกว่าจะของเก่ง เฮาเฮ็ดมาจักปีแล้ว เฮายังบ่ ปากเลย

เฮา คือ ตัวเราเอง , ตัวข่อยเอง ,

ข่อย คือ ตัวเราเอง, ฉัน , ตัวฉัน ,

ฉัน แปลว่า กิน ( ขั้นต่อมันกะยาว ขั้นสาวมันกะยืด ) สาว หมายถึง ดึง ได๋บาดนี้

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 2 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ขอด

ภาษาอีสานคำว่า..ขอด
ความหมายตรงๆ ====>
มัดให้เป็นปม
อ้างอิงจังหวัด :: มหาสารคาม
จากคุณ:: กระบี่โลหิต
เมื่อวันที่:: 26-08-2006 23:04:17

ตัวอย่าง

ขอด ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงแห้งขอดนะ แต่หมายถึงการม้วนเข้ามามัดให้เป็นปม เช่น

-ยามพ่อใหญ่บัติเป่าลูกโป่งให้ลูกเล่น ลาวหายางมามัดปากลูกโป่งบ่ได้ ลาวกะเลยใช้วิธีหยืดลูกโป่ง \"ขอด\" ปากเอาเลย ง่ายดี

แปลว่า

-เวลาที่คุณตาบัติแกเป่าลูกโป่งให้ลูกเล่น แกหายางสะติ๊กมามัดปากลูกโป่งไม่เจอ แกก็เลยใช้วิธียืดลูกโป่งออกแล้วก็ \"ผูกมัดให้เป็นปม\" เอาเลย ง่ายดี

พะนะ

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 3 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ขี้กะยือ

ภาษาอีสานคำว่า..ขี้กะยือ
ความหมายตรงๆ ====>
โรคหอบหืด
อ้างอิงจังหวัด :: ร้อยเอ็ด
จากคุณ:: แป้นปีก
เมื่อวันที่:: 13-07-2007 11:43:55

ตัวอย่าง

คำว่า ขี้กะยือ เป็นอาการของโรคหอบหืด หรือ โรคภูมิแพ้ ลักษณะคือ จะมีอาการจาม และมี ขี้กะเทอ (สะเหลด) ติดคอ

สาเหตุหลักๆ ที่บ้านผมจะมาจาก แมว คือ ขนแมวนั่นเอง

ตัวอย่างบทสนทนา
อย่าไปใกล้บักต๊อกเด้อ เลาเป็นขี้กะยือ ขี้กะเทอเลาสิมาติดเอา
แปลว่า
อย่าเข้าใกล้บักต๊อกนะ แกเป็นโรคหอบหืด เดี๋ยวสะเหลดจะมาติดเอา

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 4 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ไข

ภาษาอีสานคำว่า..ไข
ความหมายตรงๆ ====>
ถ้าเป็นคำกริยา หมายถึง การแกะออก หรือเปิดออก
อ้างอิงจังหวัด :: ศรีสะเกษ
จากคุณ:: หนหวย
เมื่อวันที่:: 21-08-2009 08:04:55

ตัวอย่าง

ถ้าเป็นคำนามก็หมายถึงไขสัตว์ต่างๆ ที่บางทีชอบเก็บไว้ถูเลื่อยเวลาเลื่อยไม้เพื่อให้ลื่น หรือทำเทียน

เช่น \"ได้ห่อยังลองไขออกมาเบิง่แน่\"
ความหมาย \"ได้ห่ออะไรแกะออกดูหน่อย\"
หรือ\" ไปหาไขมาถูเลื่อยแน่มันฝืน ถูให้มันมอนๆ\"
ความหมา\"ไปหาไขมาถูเลื่อยหน่อยมันฝืด ถูให้มันลื่นๆ\"

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 5 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ต่ง

ภาษาอีสานคำว่า..ต่ง
ความหมายตรงๆ ====>
1.การรอง 2.การดักสัตว์น้ำจากน้ำที่ไหลโดยใช้อวน 3.ใหญ่พอสมควร 4.ลักษณะนามของผ้าถุงหรือสะโหร่ง
อ้างอิงจังหวัด :: มหาสารคาม
จากคุณ:: กระบี่โลหิต
เมื่อวันที่:: 10-06-2006 11:12:45

ตัวอย่าง

1. ต่ง แปลว่า การรอง เช่น
-ฝนตกแฮงแล่ว อีหล่าเอาคุไป \"ต่ง\" น้ำฝน ไปใส่แอ่งไว่ถ่ากินแหน่
=ฝนตกหนักแล้ว หนูเอาถังไป \"รอง\" น้ำฝน ไปใส่หม้อดินไว้ดื่ม หน่อยนะ

-บ่าวหน่อเห็นรูปน้องกระแตตอนถ่ายแบบแล้ว น้ำลายเหยียยโหยดๆอยู่นั่น เอามือ \"ต่ง\" ไว่แหน่เด้อ เดี๋ยวน้ำลายสิย้อยลงถ่วยป่นเด้
=บ่าวหน่อมองเห็นรูปน้องกระแตตอนถ่ายแบบแล้ว น้ำลายไหลย้อยเลยนะนั่น เอามืด \"รอง\" ใว้หน่อยนะ เดี๋ยวน้ำลายจะหยดลงถ้วยป่นนะ

2.ต่ง แปลว่า การดักสัตว์น้ำ เช่น
-เวลาน้ำมาก ล้นท่างน้ำ ให้เอาดางไป \"ต่ง\" เอากุ้ง เอาซิว มาใว่เฮ็ดส้มปลาน้อยแหน่เด้อ
=เวลาน้ำหลาก น้ำล้นทางน้ำไหล ให้เอาอวนไป \"ดัก\" เอากุ้ง เอาปลาซิว มาใว้ทำปลาจ่อมหน่อยนะ
** การ ต่ง จะใช้กับน้ำที่ไหลเท่านั้น อาจจะใช้คำว่า ต่งดาง ต่งปลา ต่งกุ้ง แต่ถ้าเป็นการดักสัตว์น้ำในบริเวณน้ำนิ่ง จะไม่ใช่คำว่า ต่ง

3. ต่ง แปลว่า ใหญ่พอสมควร มักจะใช้กับวัตถุที่มีลักษณะกลม เช่น ผลไม้ต่างๆ ไข่ หรือ หำ เป็นต้น เช่น
-พ่อใหญ่บัติบอกเมียว่า บักสีดาอยู่ต้นหลังบ้าน มีตะหน่วย \"ต่งๆ\" แล้ว แมสูเก็บไปวัดแหน่เด้อ มื่ออื่น
=คุณตาบัติบอกแก่ภรรยาว่า ฝรั่งที่อยู่ต้นหลังบ้าน ลูกมัน \"โตพอสมควร\" แล้วนะ พรุ่งนี้ให้คุณเก็บไปใส่บาตรที่วัดหน่อยนะ

-พ่อใหญ่หน่อฮ่ายให่เด็กน้อยว่า เด็กน้อยหมู่นี่ หำ \"ต่ง\" ไป่หนิ สังมาดื้อแท่ เดี๋ยวสิจับไปตอนให่เหมิดเลย
=คุณตาหน่อดุให้เด็กๆว่า เด็กพวกนี้ อัณทะ \"โต\" หรือยัง ทำไมซุกซนจังเลย เดี๋ยวจับไปทำหมันให้หมดเลย

4.ต่ง เป็นคำลักษณะนามของ ผ้าถุง ผ้าสะโหร่ง เช่น
-สิ่นไหม 3 ต่ง
-ผ่าสะโหร่ง ต่ง หนึ่ง
สิ่นหมี่ 5 ต่ง

เป็นต้น เป็นตอ เป็นใบ เป็นหน่วย....

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 6 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ปลาฝา

ภาษาอีสานคำว่า..ปลาฝา
ความหมายตรงๆ ====>
ตะพาบน้ำ
อ้างอิงจังหวัด :: อุดรธานี
จากคุณ:: บ่าวเดช
เมื่อวันที่:: 14-07-2007 16:45:39

ตัวอย่าง

ปลาฝา ก็คือ ตะพาบน้ำนั่นเอง
เป็นตะพาบน้ำจืด

กินได้ 55

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 7 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ปืด

ภาษาอีสานคำว่า..ปืด
ความหมายตรงๆ ====>
แง้ม หรือ ค่อยๆเปิด
อ้างอิงจังหวัด :: สกลนคร
จากคุณ:: ปิ่นลม
เมื่อวันที่:: 06-12-2010 12:44:30

ตัวอย่าง

เป็นคำกิริยา ความหมาย คล้ายกับ คำว่า "เปิด" แง้ม
แต่ในทางอีสาน " ปืด" หมายถึงการ แง้ม หรือ ไข(เปิด)
การกระทำ ที่ใช้คำว้า "ปืด" คือการค่อยๆ แง้ม

ตัวอย่าง
เซียงน้อย กำลังหาเลาะ ปืดเขียด

คำแปล
เซียงน้อยกำลังเสาะหา แง้มเปิดหาเขียด

ตัวอย่าง
แม่ใหญ่สอง บอกให้จันเพ็ญ หาปืดเอากระเป๋าเงิน อยู่กองซิ่น

คำแปล
ยายสองให้จันเพ็ญ หาเปิดหากระเป๋าเงิน ที่กองผ้าถุง

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 8 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ผญา

ภาษาอีสานคำว่า..ผญา
ความหมายตรงๆ ====>
อ่านเบิ่ง
อ้างอิงจังหวัด :: เลย
จากคุณ:: จารุวรรณ ปัดภัย
เมื่อวันที่:: 11-05-2010 20:30:42

ตัวอย่าง

ผักหมเหี่ยน ไกล้เฮือนอย่าฟ้าวหย่ำยามมันมืดอ้ำล้ำยามนั้นได้เก็บกิน

อย่าเหยียดหยามคนบ้านไกล้ เวลามีปัญจะได้ช่วยเหลือกัน

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 9 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า พืช-ผัก-หมากไม้

ภาษาอีสานคำว่า..พืช-ผัก-หมากไม้
ความหมายตรงๆ ====>
พืช-ผัก-ผลไม้
อ้างอิงจังหวัด :: อีสานทั่วไป
จากคุณ:: มังกรเดียวดาย
เมื่อวันที่:: 12-09-2006 11:48:38

ตัวอย่าง

(บัก บางแห่งออกเสียงว่า หมาก)
(หน่วย หมายถึงผลหรือลูก เช่น หน่วยบักมี่ หมายถึง ลูกขนุน)

บักอึ = ฟักทอง
บักแค่ง = มะเขือพวง
บักเขือเคือ (ขอนแก่นออกเสียง บักเฉียเชีย) = มะเขือเทศ
บักโป้งเล็น = มะเขือเทศ
ผักหอมเป, ผักหอมแป = ผักชีฝรั่ง
ผักซี = ผักชีลาว
ผักซีจีน = ผักชี
ผักอีหล่า = สะระแหน่
ผักตำนิน = ผักตำลึง
ผักหม = ผักโขม
บักลิ้นฟ้า = เพกา
ผักกะเดา = สะเดา
ผักไส่, ผักไซ = มะระขี้นก
ผักขา = ชะอม
หัวสิงไค = ตะไคร้
บักบก = จะบก
บักอีเว่อ, บักหูด = มะกรูด
ถั่วดิน = ถั่วลิสง
บักน้ำ = บักน้ำเต้า
บักโต่น = ฟักเขียว
บักหุ่ง = มะละกอ
แตงซ้าง = แตงร้าน
แตงจิง = แตงไทย
มันแกว = มัน (เช่นมันผิวสีแดง เป็นต้น)
มันแกวตะเภา = มันแกว
ผักตินโตก, ผักตบ = ผักตบชวา
ผักอีฮุม = มะรุม
ผักแป้น = คึ่นช่าย
ผักบั่ว = ต้นหอม
ผักอีตู่ = แมงลัก
ผักหนอก = ใบบัวบก
ยานาง = หญ้านาง
เครือหมาน้อย (ขอนแก่นออกเสียง เชียหมาน้อย) = เครือพระพาย, กรุงเขมา
เครือตดหมา (ขอนแก่นออกเสียง เชียตดหมา) = เครือตูดหมูตูดหมา
ผักกะเสด, ผักกะถิน = กระถินบ้าน, กระถินไทย
ผักปัง, ผักหมื่น = ผักปลัง
ผักอีฮีน = ผักขาเขียด
ผักก่าม = ผักกุ่มบก
ผักกุ่ม = ผักกุ่มน้ำ
ผักกูด = ผักกูดขาว
ผักกาดนาด, ขะเม็กหมอ = ผักกาดนา
ผักกาดดง = ผักกาดกบ
ผักเสี้ยนขาว = ผักเสี้ยนผี
ตำลึง, ตำลึงทอง = กะทกรก, เงาะป่า
ผักกาดย่า = ช้าเสือด
ขี้มิ่น, ข้าวมิ่น = ขมิ้น
มันปา = กันเกรา
อือทือ (ดอกแดง) = กระทือ
อือทือ (ดอกเหลือง) = ไพล
ผักลิ้นปี่ = หูปลาช่อน
ผักปอด = แพงพวยน้ำ

บักมี่,บักมี้ = ขนุน
บักเขียบ (ขอนแก่น ออกเสียงว่า บักเฉียบ) = น้อยหน่า
บักทัน = พุทรา
บักเล็บแมว = ผลเล็บเหยี่ยว
บักเฟียง = มะเฟือง
บักข้าวเม่า = มะเม่า
บักสีดา = ฝรั่ง
ตังบี้ = ต่ายควาย, ก้อม
บักต้องแล่ง = นมน้อย
บักก้นคก = ตับเต่าน้อย, กล้วยเต่า
บักสิลา, บักพิลา = ทับทิม
บักขามแป = มะขามเทศ
บักค้อ = สะคร้อ
บักเหลื่อม (ขอนแก่นออกเสียง บักเหลี่ยม) = หนำเลี๊ยบ
บักนัด = สัปปะรด
บักโก = ตะโก
บักหวดข่า, บักหวดคา = มะหวด
บักผีพวน, ผีพ่วน = นมควาย
บักสัง = กะสัง
บักส้มมอ = สมอไทย
หมากต้อง = กระท้อน
บักเค็ง = เขลง

บักหุ่งเทพ, บักหุ่งเทศ = ละหุ่ง
สำสา, ฉำฉา = จามจุรี, ก้ามปู
เสี้ยว = ชงโค
ก้วยน้อย = นมแมว
ส้มโมง = ชะมวง
ไข่เน่า = คำมอกหลวง
ท่ม = กระทุ่มโคก
บักแตก = กระทงลาย
ช้างน้าว = กระแจะ
ค้อแลน = กรวยป่า
หมากเขือบ้า = ลำโพง, ลำโพงกาสลัก
ว่านขี้ = อุตพิต
กากะเลา, อาเลา = อินทนิลบก
สะเลเต = มหาหงส์
บักแต้ = มะค่าแต้
บักงิ้ว = ต้นนุ่น
งิ้วผา = ต้นงิ้ว (มีหนาม และดอกสีแดง)
ก้านของ = ปีบ, กาซะลอง
ผือ = กก
ผักอีตู่ไทย = กระเพรา
ผักอีตู่แหล่, โหระพา = โหระพา
ผักอีเลิด = ชะพลู
เทา = สาหร่ายน้ำจืด (สไปโรไจร่า)
ไข่ผำ, หมากไข่ผำ = ผำ, ไข่ขำ, ไข่น้ำ
คันจอง = ก้านจอง
แคท่ง = แคนา, แคป่า
ผักกะเสดน้ำ = ผักกระเฉด

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 10 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ฟ้าว

ภาษาอีสานคำว่า..ฟ้าว
ความหมายตรงๆ ====>
รีบ
อ้างอิงจังหวัด :: กาฬสินธุ์
จากคุณ:: เดียร์ศิลปินเด็กเทพถิ่นแดนอิสาน
เมื่อวันที่:: 06-10-2010 23:30:52

ตัวอย่าง

..โอ้ยนอ ..สูๆ ฟ้าวแหน่อย่าอืดอาดยืดยาดหลายเวลามันบ่ถ่าไผเด้

แปลว่า : โถ่ พวกนั้นน่ะ รีบๆหน่อยชักช้าอยู่ได้เวลาไม่รอใครนะ

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 11 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า มอน

ภาษาอีสานคำว่า..มอน
ความหมายตรงๆ ====>
ลื่น ไม่ฝืด ไม่มีแรงต้าน ไม่มีแรงเสียดทาน
อ้างอิงจังหวัด :: ร้อยเอ็ด
จากคุณ:: บ่าวหน่อ เมืองพลาญ
เมื่อวันที่:: 14-02-2006 16:30:05

ตัวอย่าง

จักรยานเจ้ามาคือปั่นมอนแท้
แปลว่า
จักรยานคุณทำไมปั่นง่ายจัง คือปั่นแบบไม่ฝืดเลย

ลาววา

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 12 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า ยืง

ภาษาอีสานคำว่า..ยืง
ความหมายตรงๆ ====>
ท้องอืด, ท้องเฟ้อ
อ้างอิงจังหวัด :: ร้อยเอ็ด
จากคุณ:: แป้นปีก
เมื่อวันที่:: 21-09-2007 11:13:42

ตัวอย่าง

ยืง แปลว่า ท้องอืด, ท้องเฟ้อ



สาวนางเลากินบักบกบ่ได้คั่ว เลายืงหมดมื้อเหมิดเวน

แปลว่า

สาวนางแกกินมะบก (ภาษาไทยมันอะไรหว่า) ที่ไม่ได้ทำการคั่วก่อน แกเลยท้องอืดทั้งวัน



ปล. วิธีกินบักบกให้อร่อยมีขั้นตอนดังนี้

1. รอเอาในบักบกจากงัวที่ไปหล่อนให้ก่อน

2. นำบักบกที่งัวหล่อนแล้ว ไปไปคั่ว

3. นำบักบกที่ได้ไปผ่าอาแต่เนื้อมัน



หากไม่นำไปคั่ว อาจยืงได้....

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 13 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า สีซิ่ว (สีสิ่ว)

ภาษาอีสานคำว่า..สีซิ่ว (สีสิ่ว)
ความหมายตรงๆ ====>
สีเขียว ,สีเขียวเข้ม
อ้างอิงจังหวัด :: ยโสธร
จากคุณ:: สาวส่า เมืองยโส
เมื่อวันที่:: 22-10-2009 12:42:37

ตัวอย่าง

เวลาต่ำสาดลาย คันเอาสีซิ่วกับสีแหล่มาสลับกัน บ่งาม
มันสิมืดไปนำกันเบิด

เวลาทอเสื่อ(กก)แบบมีสีมีลาย ถ้าเอาสีเขียวกับสีน้ำเงินมาปนกัน
มันไม่สวย เพราะสีมันไม่ตัดกัน มืดไปด้วยกันเลย

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 14 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า สื้อ(ออกเสียงซือ)

ภาษาอีสานคำว่า..สื้อ(ออกเสียงซือ)
ความหมายตรงๆ ====>
ตรง,เฉยๆ,ไม่มีรสชาติ
อ้างอิงจังหวัด :: อีสานทั่วไป
จากคุณ:: นันทา
เมื่อวันที่:: 10-11-2007 02:58:30

ตัวอย่าง

1 ยูซือๆ คือ อยู่เฉยๆ,อยู่ว่างๆ
2 ไม่ล้ำซือ คือ ไม้ลำตรง
3 แก่งนี่ซือๆยู บ จ่าง บ เค้ม คือแกงนี้จืดืดไร้รสชาติ

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 15 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หมากหือหืด

ภาษาอีสานคำว่า..หมากหือหืด
ความหมายตรงๆ ====>
โรคหอบหืด/เป็นหืด
อ้างอิงจังหวัด :: มุกดาหาร
จากคุณ:: จารย์ใหญ่
เมื่อวันที่:: 18-12-2009 06:20:41

ตัวอย่าง

ลุงทาเผิ่นเป็นหมากหือหืด
แปลว่า ลุงทาแกเป็นโรคหอบหืด
เป็นคำเก่า ปัจจุบันใช้ หอบหืด

แก้ไขข้อมูล
คำที่ 16 ภาษาอีสานวันนี้ขอเสนอคำว่า หวานเย็น

ภาษาอีสานคำว่า..หวานเย็น
ความหมายตรงๆ ====>
ช้า อืดอาด เอื่อยเฉื่อย
อ้างอิงจังหวัด :: ขอนแก่น
จากคุณ:: มังกรเดียวดาย
เมื่อวันที่:: 25-10-2006 11:28:52

ตัวอย่าง

หวานเย็น เป็นคำเปรียบเทียบ ซึ่งมีที่มาจากรถจักรยานขายหวานเย็น ค่อยๆ ถีบไปเรื่อยๆ ขายไปเรื่อยๆ ไม่ทันใจคนกิน ไม่ทันใจ ก็คือ ช้า อืดอาด เช่น
รถหวานเย็น หมายถึงรถขายหวานเย็นจริงๆ และอีกความหมายหนึ่งหมายถึง รถที่วิ่งช้ามากๆ เช่นรถโดยสารบางสาย บางคัน
คนหวานเย็น หมายถึง คนที่ชักช้า อืดอาด เอื่อยเฉื่อย

บ่าวซิ่ง : นั่นๆ เสียงรถหวานเย็นมาแล้ว ไป ไป บักเจ้ย ไปซื้อหวานเย็นมาแจกผู้สาวไป
(หายไปดนเติบ ยังบ่กลับมา)
บ่าวบั้งไฟ : โฮย ใช้ไผบ่ใช้ ไปใช้บักเจ้ย หวานเย็น ซัวสิได้กิน สงสัย หวานเย็นละลายเหมิดก่อนล่ะมั้ง

แปลว่า
บ่าวซิ่ง : นั่น รถขายหวานเย็นมาแล้ว ไป ไป น้องเจ้ย ไปซื้อหวานเย็นมาแจกสาวๆ ไป
(หายไปนานพอสมควร ยังไม่กลับมา)
บ่าวบั้งไฟ : เฮ้ย ใช้ใครไม่ใช้ ไปใช้น้องเจ้ย อืดอาด กว่าจะได้กิน สงสัยหวานเย็นละลายหมดก่อนซะล่ะมั้ง

ปล. หวานเย็น ทำจากน้ำหวานใส่สีบ้าง ไม่ใส่บ้าง ใส่ลอดช่องด้วยก็มี แล้วบรรจุถุงมัดปากถุงให้แน่น แช่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง เด็กๆ ชอบกิน โดยกัดก้นถุง ค่อยๆ ดูดกินน้ำหวาน หวานๆ เย็นๆ อร่อยดีสำหรับเด็กๆ

แก้ไขข้อมูล


กลับไปยังหน้าหลัก


ใช้เวลาในการประมวลผล 0.0022 วินาที  
Creative Commons License

ชมรมอีสานจุฬาฯ... ภาษาอีสาน วันละคำ