ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
อย่าได้ติโทษท้วงปวงหมู่หมูหมา มันบ่เห็นแนวกินบ่แล่นวนเวียนอ้อม แปลว่า อย่าได้ป้ายความผิดให้หมูหมา หากมันไม่เห็นของกิน คงไม่วิ่งรุมล้อม หมายถึง ก่อนจะตำหนิ หรือให้ความผิดผู้อื่น ควรหันดูความผิดของตนก่อน


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12  
  โพสต์โดย   756) การประกวดฟ้อนลำแคนคอนเทส ๒๐๐๙ ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒  
  โหวดฟ้า    คห.ที่85)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
คุณวโรดม:
ภาพงานไหมขอนแก่นคับ

    
เท่าที่ดู ไม่ใช่ที่งานไหมขอนแก่นนะครับ น่าจะอยู่ที่ องค์พระธาตุพนมมากกว่า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 624 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 624 ครั้ง
 
 
  27 ม.ค. 2553 เวลา 19:40:04  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   633) ระบำที่เกี่ยวกับนางอัปสร  
  โหวดฟ้า    คห.ที่73)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
และการอ้างอิง ก็ต้องปรับปรุงให้เข้ากับหลักฐานหรือเอกสารต่างๆที่ค้นพบใหม่ๆ
ไม่ใช่ว่า กรมศิลป์ทำชุดโบราณคดีขึ้นครั้งแรก แต่งกายยังไง ก็ต้องคงไว้แบบนั้น ถ้าปรากฏทีหลังว่า มีหลักฐานเช่น รูปปั้นที่แสดงลักษณะการแต่งกายในสมันนั้น โดยค้นพบใหม่ และชุดเดิมนั้นผิดเพี้ยน ท่านจะแก้ไขหรือไม่

ประเด็นจึงอยู่ที่ การสร้างสรรค์ การปรับปรุงและพัฒนาตามยุคสมัย ถ้ายังไม่มีอะไรที่ชัดเจนขึ้น ก็คงต้องใช้อันเดิมไปก่อน แต่แบบอันเดิมนั้นก็ย่อมที่จะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าหากมันไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 622 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 622 ครั้ง
 
 
  02 มิ.ย. 2553 เวลา 02:24:19  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   86) รำสี่ภาค  
  โหวดฟ้า    คห.ที่7)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ส่วนตัวนั้น รำสี่ภาคของวิทยาลัย ผมก็ได้ชมหลายๆครั้ง

แต่ที่คุณ วิท นำมาให้ดูนั้น อันที่เป็นโชว์ ผมก็พอที่จะยอมรับได้ว่า มันเป้นการประยุกต์ซะมาก (ปัจจุบันนี้ นางโชว์ก็ได้มีการปรับปรุงให้เครื่องแต่งกายนั้นมีความถูกต้องตามยุคสมัยอย่างต่อเนื่อง)

แต่ขอติของสถาบันบันฑิตพัฒนศิลป์ ครับ (แสดงในงานเผยแพร่วัฒธรรมไทยที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามครับ...) ในชุของอีสานนั้น มั่ว

เอาอะไรก็ไม่รู้มาผสมกัน

ในฐานะที่ผมเป็นคนที่รักและหวงแหนในวัฒนธรรมอีสานนั้น ผมทนไม่ได้ จึงได้ติ (อาจจะเรียกว่าเห่าก็ได้) ในส่วนนี้ และสมควรที่จะต้องมีการแก้ไขให้ถูกต้อง

ถ้าไม่ติ มีแต่ชมว่า สวยๆ งามๆ มันก็คงจะวิบัติไปมากกว่านี้แน่สำหรับวัฒนธรรมอีสาน

ในฐานะที่สถาบันบันฑิตพัฒนศิลป์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบ ส่วนกลาง ในทางนาฏศิลป็นั้นได้กระทำเช่นนี้ ผมมองว่า จำเป็นที่จะต้องติติงกันบ้าง เพราะมันไม่ถูกต้อง และมั่วกันได้เนียนจริงๆ หนหวย

ทั้งๆที่น่าจะเป็นแบบอย่างอันถูกต้อง ตรงตามแบบแผน แต่อันนี้เสื่อมแน่ครับ สำหรับวัฒนธรรมอีสาน ทั้งเล็บ ไสบ ฝ้าย ถ้าบอกว่า ออกแนวประยุกต์ ก็น่าที่จะเขียนกำกับมาด้วย ผมจะรับได้มากกว่านี้

ในส่วนของภาคอื่นๆนั้น ท่านผู้รู้ ก็คงจะบอกได้ว่า มันถูกต้องหรือไม่อย่างไร

 
 
สาธุการบทความนี้ : 592 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 592 ครั้ง
 
 
  04 ก.ย. 2552 เวลา 06:20:07  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   55) สุดสะแนน  
  โหวดฟ้า    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
การเสี่ยงสายแนนนั้นจะใช้วิธีในการโยน กอน หรือมะกอนครับ (ขอบพระคุณพี่โอ๊ตที่ได้ช่วยอธิบายข้อมูลในส่วนนี้)
ซึ่งการโยนมะกอนนั้นก็คือการโยนลูกช่วงนั่นเอง ปัจจุบันนี้ยังเป็นการละเล่นของชาวไทยดำอยู่

ส่วนวิธีการเสี่ยงจะทำอย่างไรนั้น จะเล่าวันหลังนะครับ
เพราะหลักฐานที่จะนำมาให้ชมนั้น เป็นดั้นโบราณที่ต้องใช้เวลาพิมย์พอสมควร เนื่องจากผมเป็นคนพิมย์ช้าครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 589 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 589 ครั้ง
 
 
  07 มิ.ย. 2552 เวลา 20:20:01  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   643) ชุดการแต่งกายที่ไม่พึงควรและไม่ควรนำมาใช้สำหรับการแสดง  
  โหวดฟ้า    คห.ที่70)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ส่วนคุณเจ้านางน้อย ก่อนจะประชดประชัน ก็น่าจะถามถึงที่มาว่า รูปแบบการแต่งกาย หรือประเด็นต่างๆ นั้น ว่าเขาเอามาจากไหน อ้างอิงอย่างไร
มันจะหน้าแตก

และเน้นว่า ควรสุภาพด้วยนะครับ ในการใช้คำ การรู้จักขอบคุณ ขอโทษ ให้อภัย เป็นมารยาทที่เราควรกระทำต่อกันและกันนะครับ
ช่วยกันสร้างบรรยากาศให้เวปนี้เป็นเวปที่มีการถก การถามอย่างสร้างสรรค์ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 589 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 589 ครั้ง
 
 
  29 ส.ค. 2552 เวลา 02:00:44  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   84) ขอลายเพลงฟ้อนภูไทสกลนคร version ใหม่ ด้วยครับ  
  โหวดฟ้า    คห.ที่11)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ครับ คนละชุดกันจริงๆ

ไทยภูพานนั้นคนละอันกับผู้ไทสกลที่ว่าครับ ร้องขึ้นคล้ายๆกัน เรีกกชุดนี้เต็มๆว่า ฟ้อนรวมเผ่าไทยภูพาน ของมดกอสานนั้น ก็ผิดไปจากต้นฉบับมาก

มาจากราชภัฏสกลครับ (ข้อมูลนี้มาจากนางรำ นางฟ้อนยุคแรกของชุดนี้เลยครับ)

การร้องของชุดนี้ รวมไปถึงในผู้ไทสามเผ่า (เผ่าสกล)ของวิทยาลัย
ก็ได้แบบอย่างมาจาก ฟ้อนผู้ไทสกลนครนี้ทั้งสิ้น

ที่ผมแน่ใจมากนั้น เพราะหลักฐาน คำร้องนี้มีอายุมาก ก่อนที่จะมีการฟ้อนต่างๆที่ผมว่ามานั้นเกิดขึ้น

ซึ่งในเอกสารนั้น ได้บ่งบอกว่า คำร้องเหล่านี้ เป็นการขับลำที่มีอยู่ก่อนแล้วของแต่ละเผ่า เพียงแต่ ราชภัฏสกลนั้นด้นำมาเรียบเรียงใหม่ และวิทยาลัยก็ได้นำมาจากราชภัฏสกลมาเรียบเรียงอีกครั้ง

เดี๋ยวมาลงให้นะครับ ช่วงนี้ยังไม่ได้กลับไปที่สารคามเลยครับ รอซักพักครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 559 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 559 ครั้ง
 
 
  26 ส.ค. 2552 เวลา 02:18:08  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   70) ภาพการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่29)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ตอนนี้ วิทยาลัยกำลังทำอะไรอยู่ครับ

ส่งเสริม หรือว่า ทำลายวัฒนธรรมอีสาน

ถ้ากรมศิลป์แน่จริง  มาตอบคำถามเรื่องไทยพวนของผมสิครับ อย่ามั่ว


ถ้าไม่รู้ ก็อย่ามั่วสิครับ วัฒนธรรมอีสานมันเสื่อม

ใครที่เป็นคนคิดท่ารำ การแสดง ชุด ไทยพวนเนื่ย สมควรที่จะพิจารณาตัวเองนะครับว่า ท่านคือผู้ที่ มั่วนิ่มได้ดีเลิศจริงๆ

วิทยาลัยยังจะส่งเเสริมอีกหรือครับ ผมฦากถามถึงจริยธรรมทางด้านนาฏศิลป์และมาตรฐานทางจริยธรรมของการจัดการแสดงของกรมศืลป์หน่อย


โคตรมั่ว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 535 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 535 ครั้ง
 
 
  11 ก.ค. 2552 เวลา 00:14:58  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   70) ภาพการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่50)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
กว่าที่ผมจะกล้ามาวิจารณ์คนอื่นนั้น ผมก็ต้องพิจารณาตัวเองก่อนล้วว่า เราได้อาศัยองค์ความรู้อันใดมาใช้ในการวิจารณ์ เพราะถ้าเป็นการวิจารณ์แบบมั่วซั่วแ้ว ผลเสียที่สะท้อนกลับมานั้นมันมากมายมหาศาล แม้แต่ชีวิตของผมก็รับผิดชอบไม่ไหว ถ้าหากวัฒนธรรมอีสานนั้นมันเสื่อมเสียเพราะถ้อยคำติติงของผม

และข้อวิจารณ์ทั้งหลายนั้น เพื่อนสมาชิกทุกคน ก็ไม่ได้ถูกชักจูงและถูกบังคับให้เห็นด้วย ให้คล้อยตาม ใครมีความรู มีความคิดอย่างไร ก็อธิบายแลกเปลี่ยนกันด้วยความบริสุทธุ์ใจ ไร้อคติ และความอิจฉาริษยาใดๆ ใครเห็นอย่างไร ก็ว่าไปตามนั้น


ผมทำวงโปงลางมาแล้วกว่า สามสิบวง แต่ละวงนั้น ผมไม่ได้เป็นเจ้าของ ถ้าคำติติงของผมนั้นเป็นสิ่งที่โรงเรียนนั้นได้ให้การเชื่อถือ ก็คงที่จะได้มีการแก้ไขกันไปตามนั้น
แลัวแต่โอกาสและความพร้อมในด้านงบประมาณ

เช่น วงโปงลางโรงเรียนบ้านแท่น จ ชัยภูมิ ซึ่งในอดีตนั้น เนั้นการแต่งกายแบบโปงลางสะออน ซึ่งผมเห็นตอนแรกนั้น แทบจะเป็นลม ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาให้ถูกต้องเพิมมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นต้น

วงโปงลาง วงใหญ่ๆ ระดับมัธยมศึกษาในภาคอีสาน หรือวงที่กำลังมีชื่อเสียงทั้งหลายนั้น ผมจะรู้จักแทบทุกวง เพราะทั้งอาจารย์ และลูกศิษย์นั้น ส่วนมากก็เป็นคนที่รู้จักกัน

ผมเคยติติง โรงเรียอนุกูลนารี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยคุยกันกับอาจารย์ผู้สอนของเขา ในประเด็นที่ว่า
ทางโรงเรียนนั้น ได้นำเอาหมวกงอบมาประกอบในการแสดง ซึ่งผมก็ได้ติติงไปว่า มันเป็นวัฒนธรรมในแบบของภาคกลาง อาจารย์ของโรงเรียนนี้ ก็ได้กล่าวหาว่าผมนั้นเป็น เหลาเหย่ ซึ่งถือว่าเป็นการหลอกด่า เพราะตอนนั้นผมไม่ทราบว่า คำว่าเหลาเหย่แปลว่าอะไร จนเมื่อผมได้ชมการแสดงของ มมส (ทรีซิส) แล้ว ผมจึงเข้าใจว่า เหลาเหย่นั้นแปลว่าอะไร (วิสัยของครูบาอาจารย์ มันจะสืบไปถึงศิษย์ได้ น่าอนาถใจ) นั่นย่อมแสดงว่า ผมก็ไม่ได้มีความรู้ในทุกเรื่อง ขนาดมีคนหลอกด่าผม ผมยังไม่รู้เลยว่า เขาด่าผมเป็นภาษาคน หรือภาษาอะไร

 
 
สาธุการบทความนี้ : 531 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 531 ครั้ง
 
 
  27 ก.ค. 2552 เวลา 16:35:20  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   46) ฟ้อนภูไทกาฬสินธุ์ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่11)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
เท่าที่ทราบนั้น ระบำไดโนเสาร์ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยครูเสรี หวังในธรรม ซึ่งใช้ท่าทางการเดินและการฟ้อนของมวยโบราณจังหวัดสกลนครมาเป็นหลักในท่วงท่าทั้งหลายของการแสดงชุดนี้

จริงๆแล้ว การแสดงชุดระบำไดโนเสาร์นี้มีความจงใจในการจัดขึ้นก็เพื่อใช้ในการแสดงของทางกรมศิลปากรชุดหนึ่ง (ไม่ขอเอ่ย) ซึ่งการแสดงนั้นเป็นการแสดงออกไปในลักษณะของทางนาฏศิลป์ไทยมากกว่า ซึ่งครูเสรีนั้น ได้มองหาชุดการแสดงที่สามารถสื่อให้เห็นถึงท่วงท่าในการเดินของไดโนเสาร์ และปรากฏว่า ท่วงท่าเช่นนี้ ไม่มีความสอดคล้องกันกับท่วงท่าที่มีในนาฏศิลป์ไทย ฟ้อนมวยโบราณจึงได้เข้ามามีบทบาทในนาฏศิลป์ไทยในชุดนี้

เหตุนี้ ออนซอนนครภูไทยนั้น จะหมายถึงภูไทยเผ่าใด ถ้าเป็นเผ่าอื่นๆ ที่ไม่ใช่เผ่าสกลนครแล้ว ก็แสดงว่า ระบำชุดนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันกับชนชาติชาวภูไทยเลย เช่นเดียวกับเผ่าสกลนคร ถึงแม้ว่าจะมีท่วงท่าที่มาจากฟ้อนมวยสกลจริง หากแต่จุดประสงค์ในการจัดทำระบำชุดนี้ขึ้นมานั้นก็เพื่อการนำมาใช้ในการแสดงของนาฏศิลป์ที่เป็นของส่วนกลาง หรือที่หมายถึงการฟ้อนแบบไทยภาคกลางเสียมากกว่าที่จะเป็นแบบของอีสานแท้ ซึ่งการนำระบำชุดนี้มาแสดงร่วมกับการฟ้อนของชนเผ่าชาวภูไทยนั้น จึงมีความไม่เหมาะสม

ทั้ง ระบำไดโนเสาร์นั้น ก็ไม่น่าที่จะเกี่ยวข้องกันกับชนชาวภูไทยในทางมิตินิเวศน์วิทยาวัฒนธรรมในด้านใดๆ การจะกล่าวถึงชาวภูไทยนั้น ก็ควรที่จะกล่าวไว้แต่เพียงแค่ว่า ชนชาวภูไทยมีประวัติที่มาอย่างไร มีวัฒนธรรมประเพณีอย่างไร มีทั้งหมดกี่เผ่า เป็นต้น หากจะนำบทว่า ชนชาวภูไทยได้เคยอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ๆเคยมีไดโนเสาร์อาศัยอยู่นัั้น จึงถือว่า มันกว้างไป และชนเผ่าอื่นๆ ก็มีสิทธิในการนำการแสดงแบบนี้มาใช้เล่าถึงภูมิหลังของเผ่าพันธ์ตนได้เช่นเดียวกัน เช่น เผ่าไทยลาว เผ่าข่า เผ่าย้อ เป็นต้น เหตุนี้ การนำเสนอถึงอัตลักษณ์ของชนชาวภูไทยโดยการนำเอาไดโนเสาร์นี้มารร่วมด้วยนั้นจึงถือว่าไม่เหมาะสม และมันเป็นคนละเรื่องกัน เป็นเพียงแค่การรวมชุดการแสดงแบบตามมีตามเกิด หรือแบบมั่วๆ เท่านั้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 522 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 521 ครั้ง
 
 
  29 มิ.ย. 2552 เวลา 00:21:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   55) สุดสะแนน  
  โหวดฟ้า    คห.ที่0) สุดสะแนน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
พอดีเข้าไปอ่านในข้อมูลเรื่องดนตรีนะครับ
และพบกับการอธิบายศัพท์คำว่า สุดสะแนนอยู่

คำว่าสุดสะแนนนั้น มาจากคำว่า สุด ที่หมายถึงหมดสิ้นแล้วครับ
คำว่า สะแนนนั้น มีความหมายว่า โศกเศร้า ความทุกข์ ครับ
ซึ่งคำว่า สุดสะแนนนั้น จึงหมายถึง การหมดสิ้นแล้วซึ่งความทุกข์ยากทั้งหลาย
ส่วนคำว่า สะแน นั้นหมายถึงการแกว่งไกว
คำว่า สะไน นั้นแปลว่าเขาสัตว์

จริงๆแล้ว คำว่า สะแนนนั้นมีที่มาจากความเชื่อในเรื่อง สายมิ่งสายแนน ขององค์พระยาแถน
ที่ว่า มนุษย์ทุกคนนั้น ต่างก็ได้มีที่มาอันมาจากองค์พระยาแถนเป็นผู้ให้กำเหนิด
ซึ่งทุกคนนั้น จะมีมิ่ง หรือขวัญของชีวิตของตนนั้นอยู่บนสวรรค์ เรียกว่าเป็น กกมิ่ง (คำว่ามิ่งขวัญก็มีที่มาจากนี้) และกกมิ่งนั้นจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มบนสวรรค์ เรียกบริเวณนั้นว่า สวนแถน

มนุษย์แต่ละคนนั้น จะมีความสัมพันธุ์กันกับกกมิ่งของตน โดยผ่านทางสายแนนเป็นสิ่งเชื่อมต่อ ซึ่งด้านหนึ่งของสายแนนนั้น จะเชื่อมกันอยู่กับกกมิ่ง และปลายอีกด้านหนึ่งนั้น จะติดอยู่กับตัวมนุษย์คนนั้น ในบริเวณนิวก้อยทางด้าน ซ้ายมือ (ลูกสะแนนของแคนจึงอยู่ทางด้านซ้าย) และคนที่เป็นเนื้อคู่กันนั้น กกมิ่งแลัสายแนนนั้นก็จะเกี่ยวพันกัน ไม่มีวันแยกจากกัน

เมื่อมนุษย์ลงมาเกิดนั้น แม่จะกระทำพิธีกรรมอย่างหนึ่ง เรียกว่า การอยู่กรรม (ภาคกลางเรียกการอยู่ไฟ) ซึ่งคนที่อยู่กรรมนั้น ไม่ใช่แม่ครับ แต่เป็นลูก

เนื่องจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์นั้น ในอดีตต่างก็เคยเป็นดวงดาวบนสวรรค์ล้อมรอบองค์พระยาแถนอยู่ (ที่มาของฆ้องห้าจูมของชาวเราในอดีต และคำว่าลาว ก็มาจากคำว่า ดาวนี้ด้วย     สีลา วีระวงศ์ นักวิชาการลาว) และเมื่อสิ้นบุญแล้ว มนุษย์นั้นก็จะได้ลงมาก่อกรรมดีในโลกมนุษย์ เพื่อที่จะได้ขึ้นไปอยู่กับองค์พระยาแถนอีกครั้ง จึงเรียกเด็กที่มาเกิดนั้นว่า มาอยู่กรรม

และเมื่อตายไปแล้ว ฝูงมนุษย์ทั้งหลายก็จะพากันดีใจที่ ผู้ตายนั้นได้ไปกิดบนสวรรค์แล้ว
จึงได้มีการ งันเฮือนดี ให้ (ไม่เช่นนั้น จะงัน หรือฉลองไปทำไมถ้าคนตาย ถึงจะมีการวิจัยในปัจจุบันที่บอกว่า งันเพื่อไม่ให้งานดูเงียบเหงาก็ตาม แต่ทำไมยังใช้คำว่า งัน ที่แปลว่า ฉลองอยู่) และคำว่า เฮือนดีนั้นก็หมายถึง สถานที่อยู่อันเป็นสุข ซุ้งก็คือสวรรค์นั่นเอง เพราะในอดีต ยังไม่มีคำว่า สวรรค์ ซึ่งถือเป็นคำบาลีสันสกฏษ โดยที่เพิ่งได้รับเอาคำว่าสวรรค์นี้มาในสมัยพระเจ้าโพธิสารราช กษัตริย์ของลาวเมื่อครั้งที่พระองค์นั้นได้นำพระพุทธศาสนาเข้ามาจากล้านนา นั่นเอง ซึ่งอักษรที่เข้ามาใหม่นั้น จึงเรียกว่าเป็น อักษรธรรมหรือตัวธรรม

เมื่อคนตายแล้ว ก็ย่อมที่จะหมดทุกข์ทั้งหลาย นั่นก็คือการสิ้นสุดของสายแนนนั่นเอง
สุดสะแนน จึงหมายถึงความหมดสิ้นแล้วของทุกข์โศกทั้งปวง
เมื่อได้ฟังลายสุดสะแนนแล้ว แน่นอนว่า ทุกคนก็ย่อมที่จะมีความสุขสนุกสนาน ดังเห็นสวรรค์อยู่ตรงหน้านี้แล้ว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 506 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 504 ครั้ง
 
 
  07 มิ.ย. 2552 เวลา 06:58:28  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   581) ประชาสัมพันธ์แนะนำ "วงดนตรีพื้นเมืองอีสานโรงเรียนบ้านโพธิ์ฯ" จ.สุรินทร์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่31)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
จึงได้นำอธิบายมาพร้อมด้วยกันนี้
เท่าที่ดู การแต่งการของหมากกั๊บแก๊บนั้น ถูกต้องดีแล้ว และควรคงลักษณะการแต่งกายเช่นนี้ไว้

การแสดงในชุดเรือมอับสราสราญนั้น น่าที่จะมีที่มาอันมาจากระบำอับสรา ของประเทศเขมร ซึ่งหากจะถอดแบบการแสดงชุดนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการแสดงประจำชาติของเขมรแล้วแปลงมาให้เป็นระบำประจำจังหวัดแล้วนั้น ก็จำต้องที่จะหาความเกี่ยวของอเชื่อมโยงระหว่างกันนี้มาให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้น เราจะหลงวัฒนธรรมของเขมรว่านั่นคือวัฒนธรรมของตน เหตุนี้ จึงสมควรที่จะหาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของจังหวัดสุรินทร์าเป็นตัวผสมผสานกัน เช่น เราได้วัฒนธรรมความเชื่อและรูปแบบการแต่งกายมาจากเขมร เราก็ควรที่จะเสริมความเป็นวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่เป็นของสุรินทร์เข้าไว้ในระบำชุดนี้ด้วย เช่นการใช้ผ้าของจังหวัดสุรินทร์มาเป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น หรือการใช้อัตลักษณ์ของที่ฟ้อนในท้องถิ่นที่มีอยู่มาเพิ่มเติมในท่าฟ้อน เป็นต้น ระบำอับสรานี้ จึงจะเป็นระบำอับสราที่เป็นการแสดงของจังหวัดสุรินทร์โดยแท้จริง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 505 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 505 ครั้ง
 
 
  19 มิ.ย. 2552 เวลา 15:53:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   86) รำสี่ภาค  
  โหวดฟ้า    คห.ที่6)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 

อืม ผมว่า การวิพากย์วิจารณ์นั้นเป็นธรรมดาของมนุษย์นะครับ

ใครเห็นว่าดี ไม่ดีอย่างไร ก็ติชมไปตามความรู้ ความคิด

ผมเชื่อว่า จุดประสงค์ของท่าผู้เอาภาพมาลงให้ชมนั้น ก็คงต้องการให้ท่านอื่นๆ ได้ติชม เพื่อนำข้อดีข้อเสียนั้นไปปรับปรุง หรือเป็นการแลกเปลี่ยนทรรศนะ ความรุ้ในด้านต่างๆ

ของแบบนี้ ติชม ยังดีกว่านั่งเป่าสากกะเบือนะครับ

เป่าสากกะเบือ ยังดีกว่า พ่นเสลด พ่นขี้ ออกจากปาก



นี่ละผมเลยนึกถึงผญาบทหนึ่งที่ว่า

สอนควยบ่ให้กินกล้า สอนหมาบ่ให้มันเห่า สอนคนบ่ให้เว้า แนวข่องนั้นบ่มี


ผมเลยมองว่า ของบางอย่างมันเป็นนิสัยของคน มันก็คงแก้กันได้ยาก
เช่นนิสัยที่ผมนั้น ชอบติติงคนอื่น

มันก็คงเหมือนกับการห้ามหมาไม่ให้มันเห่านั่นละครับ มันคงห้ามไม่ได้จริงๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 499 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 499 ครั้ง
 
 
  04 ก.ย. 2552 เวลา 06:05:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   775) การประกวดวงดนตรีพื้นเมือง(โปงลาง)ระดับมัธยมศึกษา ชิงแชมป์ภาคอีสาน ครั้งที่ 2  
  โหวดฟ้า    คห.ที่21)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
การตัดสินของคณะกรรมการชุดนี้ บริสุทธิ์ ยุติธรรมจริงครับ

ชื่นชมในผลงานของ กพส และวงที่เข้าแข่งทุกวงครับ

มาตรฐานของวงโปงลางเริ่มที่จะมีการพัฒนามากขึ้นแล้ว

ปีหน้า คงสนุกกว่านี้แน่ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 497 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 497 ครั้ง
 
 
  09 ม.ค. 2553 เวลา 12:07:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   643) ชุดการแต่งกายที่ไม่พึงควรและไม่ควรนำมาใช้สำหรับการแสดง  
  โหวดฟ้า    คห.ที่64)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ครับ มโนราเล่นนำ้นั้นได้แบบอย่างวงหมอลำ
การใส่มงกุฏนั้นจึงน่าที่จะเกี่ยวข้องกันในประเด็นนี้ (แต่ก่อนแม่หวีก็ลำเป็นนางเอก เสียงดีมากๆ ผมชอบการพรรณาการบินของนางมโนราห์ที่ใช้คำว่า  เจิดจิเลยอยู่เทิงฟ้า  ซึ่งน่างที่จะแปลว่า บินอย่างฉวัดเฉวียนไปมา)

ชุดฟ้อนแม่บทนั้น ก็มีหลายๆท่าที่ได้มาจากหมอลำ วิทยาลัยอาจมองในส่วนนี้

แต่ผมว่า แต่งแบบกลางๆกว่านี้ก็น่าจะดี (ทรรศนะส่วตัว)

การใส่ปิ่นจ้องละครับ พี่โอตอธิบายด้วย ในฐานะของคนที่นำมา

(ถ้าผมพูด มันจะยาววววววว)

ส่วนคุณเจ้านางน้อย ก็ถามแบบน่ารักๆ หน่อยนะครับ ผมอ่านคำถามและการโพสของท่านหลายๆกระทู้แล้ว รู้สึกมีอารมณ์บางอย่างทุกที

ขออภัย ที่อ้างความรู้สึกเข้ามาด้วย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 492 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 492 ครั้ง
 
 
  27 ส.ค. 2552 เวลา 18:41:04  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   61) อะไรคือที่มาของชื่อ "ปู่ ป๋า หลาน"  
  โหวดฟ้า    คห.ที่7)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ส่วนการเต้ยในตอนท้ายนั้น เป็นแบบขนบของหมอลำที่มักจะมีการเต้ยลาก่อนที่จะจบการแสดง (ลำทำนองเต้ย) ซึ่ง มมส โดยวิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์นั้นได้ริเริ่มนำมาใช้บรรเลงต่อท้ายจากการบรรเลงลายปู่ป๋าหลาน (ได้แบบอย่างมาจากศิลปินพื้นบ้านหลายท่าน) การเต้ยลาในตอนท้ายนั้นจึงไม่เกี่ยวข้องกันกับลายปู่ป๋าหลานดังกล่าว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 489 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 489 ครั้ง
 
 
  29 มิ.ย. 2552 เวลา 21:07:44  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1003) ภูโอบชัยภูมิ  
  โหวดฟ้า    คห.ที่52)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
เป็นกำลังใจให้วงภูโอบ วงนางแดด และวงพนมไพรครับ  วงโปงลางเหล่านี้ ระดับแนวหน้าของภาคอีสานทั้งนั้น พัฒนาต่อไปครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 481 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 481 ครั้ง
 
 
  21 พ.ย. 2553 เวลา 01:04:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   633) ระบำที่เกี่ยวกับนางอัปสร  
  โหวดฟ้า    คห.ที่9)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
เครื่องประดับบางประเภทเนี่ย ไม่ใช่ของอีสานนะครับ เช่น ปิ่นไหว เป็นต้น

และพวงสีขาวที่ติดอยู่กับเครื่องประดับศรีษะนั้น ไม่ใช่ลักษณะของขนสีขาวแบบนี้ เนื่องจากพวงสีขาวนั้นก็คือ พวงดอกไม้ เช่นดอกมะ หรือดอกรัก ที่มีการร้อยประดับผม โดยมีภาพปรากฏอยู่ในภาพจำหลักของนางอัปสรที่ปราสาทนครวัดของเขมรครับ

ในฐานะที่ผมเป็นผู้ที่รักวัฒนธรรมอีสาน จึงได้อยากนำเสนอถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ เพื่อช่วยกันพัฒนาปรับปรุงการแสดงของอีสานนั้นให้กาวเข้าสู่ควมเป็นสากลโดยความถูกต้องครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 479 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 477 ครั้ง
 
 
  12 ก.ค. 2552 เวลา 11:51:36  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   55) สุดสะแนน  
  โหวดฟ้า    คห.ที่3)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
เสี่ยงสายมิ่งสายแนน หรือเสี่ยงสายแนนนั้น เป็นพิธีกรรมโบราณของชาวอีสานและชาวลาว ซึ่งมีไว้ใช้สำหรับการดูว่า บุคคลสองคนนั้นเป็นเนื้อคู่กันหรือไม่ โดยที่ในปัจจุบันนี้ พิธีกรรมเสี่ยงสายแนนนี้ได้สูญหายไปหมดแล้ว

วรรณกรรมอีสานเรืื่องขูลูนางอั้วนั้นก็ยังได้กล่าวถึงพิธีกรรมการเสี่ยงสายแนนไว้อย่างชัดเจน ว่า

                บัดนี้เฮาจักมาขอเหล้น สายแนนเต้าข่วง
ใช้แม่หม้อน เมือสิ้งเบิ่งแนน
คันว่าแนนสองเกี้ยว ขอแปลงเป็นคู่
คันบ่ได้ แสนมื้อสิค่อยโอม ฮักเอย
มื่อนั้นสองจาแล้ว ลากันหาที่
วันหน่าเข้า เตินตั้งแต่งดี
แล้วจิ่งจัดแจ่งเต้า ลงข่วงสนามชัย
เสนาโฮม ข่วงเพียงดีแล้ว
เขาจิ่งเอากันห้าง คูณทางทังสี่
ฮ่มก่งกั้ง เป็นถ้านแสดเหลือง
จัดเอาไว้ บวยคำวงแวด
น้ำใส่ไว้ ไหเหล้าเฮื่อคำ
มีทั้งหัวหมูพร้อม หัวควายทั้งคู่
คำและแก้ว กองขึ้นมากมูล
ตกแต่งแล้ว เชิญแม่นางเมือง
ลงสนามชัย ช่วงเพียงตระการกว้าง
ดีแก่นางเมืองย้าย เทียบข้างแกว่งวี
พุ่งพุ่งพร้อม เสียงเสบนนตรี พุ้นเยอ
หลายแดนโฮม นี่นันเนืองก้อง
แต่นั้น นางเมืองก้ำ กาสีแวนฮีบ
ให้แม่หม้อน มาตั้งแต่งตัว
ถกถ่ายชิ้น ผืนใหม่ทรงโฉม
โจมคำสุบ คาบมณีดวงเข้ม

แต่นั้นหมอปี่เจ้า ชมกล่อมเสียงระบำ
เขาก็พากันเตาะ ต่อยกลองทังฆ้อง
บายเอาได้ จันมันโลมลูบ
เชิญที่อั้ว ลงถ้อนอย่านาน
เคืองใจเจ้า พระบาทเมืองเฟีย
ชุมนางสูญ อย่านานพลันเข้า
แต่นั้นเชิญนางอั้ว ลงสูญแวนฮีบ
เชิญที่เท้า เพียพร้อมด่วนลง
แต่นั้นนางเมืองก้ำ กาสีแถลงตอบ
เชิญท่านเต้า ลงเหล้นข่วงเพียง
อันหนึ่งยังขัดด้วย ขูลูบาบ่าว  ภายพี้
คิดใคร่ได้ นางอั้วมิ่งเมือง
ญิงยอดล้ำ ทันท่านมาพลัน
เอากันเมือ เมืองแถนภายฟ้า
เอาทังขาหมูพร้อม ขาควายเมือฮีบ
ถวายแก่เจ้า แถนเถ้าเบิ่งแนน  ท่านเอย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 477 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 476 ครั้ง
 
 
  07 มิ.ย. 2552 เวลา 17:50:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1007) การประกวดวงโปงลาง ฟ้อนลำแคน คอนเทสต์ 2010 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
  โหวดฟ้า    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ผมไม่รู้เลยครับว่าใครตัดสินบ้าง แก้ข่าวนะครับ

ที่สำคัญ งานยังไมได้ตกลงรายละเอียดอะไรกันเลยครับ แต่การแข่งคงมีแน่ แต่ที่ไหน เมื่อไร ใครเป็นกรรมการ ต้องสรุปอีกที่ครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 464 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 464 ครั้ง
 
 
  09 ก.ย. 2553 เวลา 03:21:38  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   10) ลายฟ้อนโหวด วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด  
  โหวดฟ้า    คห.ที่2)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ชอบการแสดงชุดนี้ครับ
โดยเฉพาะท่าทางที่กำลังลองเป่าโหวดนะครับ
เห็น รร ในร้อยเอ็ดนำไปแสดงหลายวง ก็ยังเพี้ยนอยู่
อยากให้ วิทยาลัยได้ไปต่อท่าที่ถูกต้องให้ด้วยครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 460 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 458 ครั้ง
 
 
  10 พ.ค. 2552 เวลา 23:08:15  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   17) ฟ้อนสรวงสาพญาแล  
  โหวดฟ้า    คห.ที่61)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ผมขอยืนยืนยันว่า ขันกระห่องทำหน้าที่เป็นดังเช่นพานครับ จะเอาหมากเบ็งไปวาง เอาก้อนข้าวไปวาง เอาดอกไม้ไปวาง ก็มีค่าเท่ากับการถวายทั้งสิ้น

ในแต่ละท้องถิ่นก็คงจะมีความแตกต่างกันไป ผมคิดว่า บางบ้านไม่มีขันกระหย่อง ก็สามารถที่จะนำขันหมากเบ็งไปวางไว้บนแท่นบูชพระได้เลย ่วนบ้านไหนมีขนกระหย่อง อยากวางสิ่งต่างๆไว้บนนั้นเพือการบูชา และทำให้รู้สึกว่า มันสูงค่าขึ้น เช่นดังการวางบนพาน ก็ไม่น่าที่จะผิดอะไร เช่นเดียวกับที่อ้างว่า ขันหมากเบ็ง ใ้วัสดุใดๆที่หมาะสมเพื่อวางรองก็ได้

ท่านบอกว่า ที่ร้อยเอ็ดไม่มี แต่ที่สารคามบ้านผม เขาก็วางกันทั่วไป มีขันกระหย่อง ก็วางบนขันกระหย่อง ไม่มี ก็วางบนแท่นพระเลย มันแปลกตรงไหนครับ บ้านนาทอง ต นาทอง อ เชียงยืน จ มหาสารคาม ใช้วางพุ่มข้าวพันก้อนด้วย

ส่วนขันกระหย่องที่ว่า ทำเพื่อการแสดงนั้น ไม่จริงครับ ขันแบบนี้ซื้อหากันทั่วไปตามร้านขายของงานฝีมือข้างทาง เช่น ขายไม้ยูคา ขายตับหญ้าคา ขายเครื่องจักสาน
ถ้าร้อยเอ็ดไม่เคยพบเคยเจอ ขี่รถมาสารคามขอนแก่น มีมากกว่า ยี่สิบร้าน

คาดว่า ขันกระหย่องที่ใช้สอบนี้คงซื้อมาจากร้านแถบบ้านดินดำ ใกล้ๆ มมส นั่นละครับ ไม่มีพิเศษอันใด

ขนาดขันกระหย่องอันเท่ากะละมัง เท่าสี่ห้าคนโอบ ยังมีขายเลยครับ เชิญเลือกซื้อหาได้ มีทุกขนาด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 453 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 453 ครั้ง
 
 
  09 พ.ย. 2552 เวลา 16:26:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   70) ภาพการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่25)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ไทยพวนก็ยังรำกันอีกอยู่นะครับ

ตกลงว่า วิทยาลัยจะนำการแสดงที่เพี้ยนๆนี้มาข่มขืนให้เป็นวัฒนธรรมของอีสานอยู่อีกหรือครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 447 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 447 ครั้ง
 
 
  10 ก.ค. 2552 เวลา 07:59:33  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   718) โฮมตุ้มผลงานของอ้ายโอ๊ต  
  โหวดฟ้า    คห.ที่43)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ครับ ดังเพิ่นว่า อึดผมให้ตื่มซ้อง อึดพี่อึดน้องให้ตื่มเสี่ยว

น่าจะมีการรวมเล่ม เป็นภาพวาดระบายสี ในแบบวัฒนธรรมอีสานนะครับ คงจะขายดีน่าดู

 
 
สาธุการบทความนี้ : 442 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 442 ครั้ง
 
 
  03 ม.ค. 2553 เวลา 00:37:55  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   70) ภาพการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่26)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ผ้าขาวม้าแบบนี้มีขายทั่วไปครับตามร้านขายผ้าในตลาดสดบ้านเรามีทุกที่ครับ
และที่บ้านหนองเขื่อนช้าง จ มหาสารคาม โทรไปหายายไลเลยครับ (01 9747667   และ 017681649)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 439 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 439 ครั้ง
 
 
  10 ก.ค. 2552 เวลา 08:03:48  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   581) ประชาสัมพันธ์แนะนำ "วงดนตรีพื้นเมืองอีสานโรงเรียนบ้านโพธิ์ฯ" จ.สุรินทร์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่34)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 


ที่ถูกต้องนั้น จึงน่าที่จะมีแบบเดียวกันกับภาพที่ได้นำมาให้ชม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 438 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 438 ครั้ง
 
 
  19 มิ.ย. 2552 เวลา 16:29:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   61) อะไรคือที่มาของชื่อ "ปู่ ป๋า หลาน"  
  โหวดฟ้า    คห.ที่9)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ท่อนอ่านหนังสือ กะคือท่อนจ่ม หรือท่อนที่เป็นคำทำนองลำนั่นละครับ
แต่ว่าใช้พิณเป็นตัวอ่าน หรือตัวจ่มบรรยายแทนการลำโดยปาก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 434 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 433 ครั้ง
 
 
  01 ก.ค. 2552 เวลา 15:39:29  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   551) วงโปงลางเลยพิทยาคม โรงเรียนเลยพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดเลย  
  โหวดฟ้า    คห.ที่357)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
คุณเด็กนาฎ>>คนเบื้องหลัง:

      นาฏศิลป์เป็นศิลปะการแสดงด้านวิจิตรศิลป์โดยรวมเอาศาสตร์แขนงต่างๆ ผสมกลมกลืนเข้าด้วยกัน นับว่าเป็นสารที่สื่อให้เห็นสุทรียะด้วยการมองและการได้ยินเสียงประเภทหนึ่ง


     ดังนั้น หากต้องการวิจารณ์ผลงานนาฏศิลป์ ผู้วิจารณ์จำเป็นต้องมีความรู้ในศิลปะสาขาที่วิจารณ์ มีประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะ และมีความสามารถในการสื่อสารเป็นอย่างดี จึงจะส่งผลให้การวิจารณ์ผลงานนาฏศิลป์ออกมาตรงวัตถุประสงค์และมีคุณค่า

     โดยขั้นตอนการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ตามทฤษฎีการวิจารณ์อย่างสุนทรีย์ของราล์ฟ  สมิธ มีดังนี้


    ๑. การบรรยาย


        ผู้วิจารณ์ต้องสามารถพูดหรือเขียนในสิ่งที่รับรู้ด้วยการฟัง ดู รู้สึก รวมทั้งการรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของการแสดง โดยสามารถบรรยายหรือแจกแจงส่วนประกอบต่างๆ ทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงหลักเกณฑ์ศิลปะสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือแยกแยะเป็นส่วนๆ

    ๒. การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ในผลงานการแสดงนาฏศิลป์ของไทย ประกอบด้วย

๒.๑  รูปแบบของนาฏศิลป์ไทย เช่น ระบำ รำ ร้องและโขน เป็นต้น
๒.๒  ความเป็นเอกภาพของนาฏศิลป์ไทย โดยผู้แสดงต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๒.๓  ความงดงามของการร่ายรำและองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ความถูกต้องของแบบแผน
        การรำ ความงดงามของลีลาท่ารำ ความงดงามด้านวรรณกรรม ความงามของตัวละคร
        ลักษณะพิเศษในท่วงท่าลีลา เทคนิคเฉพาะตัวผู้แสดง บทร้องและทำนองเพลง
        เป็นต้น

    ๓. การตีความและการประเมินผล

        ผู้วิจารณ์จะต้องพัฒนาความคิดเห็นส่วนตัวประกอบกับความรู้ หลักเกณฑ์ต่างๆ มารองรับสนับสนุนความคิดเห็นของตนในการตีความ  ผู้วิจารณ์ต้องกล่าวถึงผลงานนาฏศิลป์โดยรวมว่าผู้เสนอผลงานพยายามจะสื่อความหมายหรือเสนอแนะเรื่องใด โดยต้องตีความการแสดงผลงานนาฏศิลป์นั้นให้เข้าใจ

        ส่วนการประเมินนั้นเป็นการตีค่าของการแสดงโดยต้องครอบคลุมประเด็น ดังนี้ แสดงได้ถูกต้องตามแบบแผน ผู้แสดงมีทักษะ สุนทรียะ มีความสามารถ และมีเทคนิคต่างๆ นอกจากนี้ ต้องประเมินรูปแบบลักษณะของงานนาฏศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์  เป็นต้น




ในบางกรณี ของคำว่า สุนทรียะ ที่ใช้ ก็มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปมากอยู่ครับ

ศาสตร์แขนงต่างๆ 6 จำพวก คือ

จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ศิลปการแสดง และ ดนตรี ทั้งหมดนั้นรวมเรียกว่า วิจิตรศิลป์ ซึ่งหมายถึง ศิลปะบริสุทธิ์

เนื่องจาก วิจิตรศิลป์เป็นศิลปะที่มุ่งเน้นความงาม มิได้มุ่งอรรถประโยชน์โดยตรง

การมีประสปการและความรู้ก่อนชมการแสดง กับการไม่มีประสปการเลย ผมถามว่า อันไหนที่ทำให้ความงามทางศิลปะนั้นมันสูงค่าขึ้นหรือต่ำค่าลง

สุนทรียะ ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากการมีความรู้ในสิ่งที่กำลังดูหรือชมอยู่ก่อน หากแต่สุนทรียะคือการเสพสมศิลปะซึ่งมีความหมายถึง สิ่งแทนอารมณ์ เท่านั้น
เรามีความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรากำลังชม หรือมีพื้นฐานในสิ่งนั้นๆมาก่อน แน่นอนว่า เราย่อมที่จะมีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังชมมากยิ่งขึ้น ทว่า คุณค่าในสิ่งที่ชมนั้น มันก็มิได้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นคือ อารมณ์ภายใน ซึ่งหมายถึง ความรู้สึก + ความรู้ แล้วมันจึงกลายมาเป็น คำวิจารณ์

สิ่งที่เรียกว่า ตีความและประเมินผลนั้น มันก็ยังคงเกี่ยวข้องกับคำว่า อารมณ์ หรืออคติส่วนตัวอยู่ดี ถึงแม้มันจะมี วิชาการหรือความรู้มาแทรกอยู่ก็ตาม


เหตุนี้ การวิจารณ์ศิลปะดังที่ยกมา  จึงน่าที่จะหมายถึง การหาเหตุผลมาสนับสนุนความรู้สึกของตนมากกว่าการแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า ความงามสัมบูรณ์
การวิจารณ์ความงามตามที่ยกอ้างมา ถือว่าเป็น ความงามแบบปัจจเจกบุคคล

ประเด็นในเรื่อการกระทำตามแบบแผน ถามว่า ถ้าจะยึดตามแบบแผนจริงๆ นั้นย่อมหมายถึงท่วงท่า จังหวะ เป็นต้น ถ้ามีการฟ้อนที่มีท่วงท่าเหมือนกัน แต่มีความอ่อนช้อยต่างกัน
ก็ต้องตัดสินที่ ความรู้สึก

ประสปการณ์ คือสิ่งเคยชิน ถ้าพบเห็นสิ่งใดมามากๆ ไปเจอในสิ่งที่แปลกๆ สิ่งนั้น ก็ย่อมที่จะกลายเป็น สิ่งที่ผิด หากยึดหลักประสปการณ์นิยม (Pragmaticnism)    

สุนทรียศาสตร์ ในดนตรีนาฏศิลป์ จึงมีความหมายแฝงอยู่ทั้งอารมณ์และความรู้
ความงามภายในจึงเป็น ทรรศนะของคนๆหนึ่งเท่านั้น

ทว่า สิ่งที่เป็นวัตถุสื่ออารมณ์ เช่น ผู้ฟ้อน ภาพเขียน เหล่านี้ล้วนเป็น สิ่งที่งาม

การแสดงทรรศนะใดๆถึงสิ่งที่งามนั้น ผมจึงมองว่า มันเป็น ทรรศนะส่วนตัวที่สามารที่จะวิจารณ์ได้อย่างอิสระ ถึงแม้คำวิจารณ์บางคำมันจะไม่สละสลวยก็ตาม ทว่า ผู้ปฏิบัติต้องเลือกกระทำ หรือปรับปรุงตามข้อวิจารณ์ที่ตนเห็นคล้อยตาม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 427 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 427 ครั้ง
 
 
  12 มี.ค. 2553 เวลา 01:13:05  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   55) สุดสะแนน  
  โหวดฟ้า    คห.ที่4)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
เมื่อถอดความออกมาแล้วจะพบว่าเครื่องบูชาที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมการเสี่ยงสายแนนนั้นจะประกอบไปด้วยการตั้งฮ้านหรือปะรำทั้ง 4 ทิศ, ร่มสีแสดและสีเหลือง, กระบวย, ไหใส่น้ำ, ไหเหล้า, หัวหมู, หัวควาย, ทองคำ, แก้วแหวนเงินทอง, ซิ่นและเสื้อผ้าชุดใหม่, น้ำมันหอม, ขาหมู, ขาควายทั้งยังมีดนตรีประโคมอันมี ปี่, กลอง, ฆ้อง, ซอ, และมีระบำ รำ ฟ้อนต่างๆประกอบตลอดในระหว่างพิธี นอกจากนี้ในวรรณกรรมเรื่องท้าวขูลูนางอั้วนี้ยังได้กล่าวถึงการรับเอาเครื่องสังเวยบูชาเหล่านั้นโดยองค์พระยาแถน ทั้งยังได้มีการแบ่งเครื่องบูชาเหล่านั้นให้แก่เหล่าแถนทั้งหลายโดยทั่วถึงด้วย ซึ่งได้มีถ้อยความกล่าวเอาไว้ดังนี้

แต่นั้นแถนหลวงได้ ยินคำถวายมอบ
จัดแจกชิ้น ปันให้คู่แถน

พระยาแถนจึงนำนางใย(นางทรง)เข้าไปในสวนแถน หรือสวนแนนเพื่อที่จะดูชะตาชีวิตของขูลูและนางอั้วว่าได้เกิดมาเป็นเนื้อคู่กันหรือไม่

แล้วจึงพาเขาเข้า สวนแนนหลิงล่ำ
เห็นถี่ถ้วน กระบวณเบื้องบ่เผย
กกแนนเกี้ยว พันหนึ่งจำจ่อง
ปลายหากเนิ้ง หนีเว้นจากกัน
มียอดด้วน กุดขาดตายใบ
หนองวังบก ขาดลงเขินท้าง
อันหนึ่งนำ้บ่อแก้ว แหนือตลิ่งหนองหลวง
กลายเกิดเป็นแหนหนาม จอกขาวตันท้าง
ตนบาท้าว ทั้งนางอั้วเคี่ยม
ตั้งช่อไว้ ดูแห้งเหี่ยวตาย

นีคือที่มาของคำว่า เสี่ยงสายแนนครับ และในวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้กล่าวไว้ถึงการตายของนางอั้วในตอนท้ายที่ว่า เมื่อนางอั้วได้ผูกคอตายยแล้วนั้นก็ได้เิดมาเป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง เรียกว่า ดอกนางอั้ว ซึ่งมีลักษณะของดอกไม้นั้นเหมือนกันกับคนผูกคอตาย และเมื่อขูลูเห็นนางอั้วตายแล้ว ขูลูก็ได้กล้นใจตายตาม เมื่อตายไปแล้วก็ได้กลายมาเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเหมือนคนนอนหมอบราบอยู่กับพื้นดินอยู่ เรียกว่า ต้นขูลู
และดอกนางอั้วนั้นจะพบอยู่ใกล้กันกับต้นขูลูนี้เสมอ
บางท่านอาจได้พบเห็นต้นไม้ทั้งสองนี้เวลาไปเก็บเห็ด หรือไปป่า ไปโคก
ซึ่งทางวิทยาศาสตร์นั้นบอกว่า พืชทั้งสองนั้น เป็น Symbiosis คือ แยกจากกันไม่ได้ครับ ต้องอยู่ร่วมกันตลอด ถ้าต้นใดตายไป อีกต้นก็จะต้องตายตามไปด้วย

ยิ่งกว่า โรมิโอ จูเลียดอีกครับ

(ข้อมูลส่วนนี้ อยู่ในงานวิทยานิพนธุ์ของผมเองครับ ยังมีอีกหลายเรื่องที่น่าอัศจรรย์ใจในวัฒนธรรมอีสานครับ)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 421 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 420 ครั้ง
 
 
  07 มิ.ย. 2552 เวลา 18:09:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   79) รายการคุณพระช่วย "รำบายศรีสู่ขวัญ"  
  โหวดฟ้า    คห.ที่7)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
จริงๆแล้วชุดฟ้อนบายศรีก็ไม่ได้แต่งเช่นนี้หรอกครับ เพราะฟ้อนในพิธีกรรมของชาวอีสานนั้นจะเน้นการใส่สีขาวนะครับ และต้องมีการใส่ฝ้ายด้วยนะครับ

ปัจจุบันนี้ นาฏยศิลป์ส่วนมากจะเน้นที่การฟ้อนสวยครับ แต่สื่อความหมายได้ไม่ถูกต้องนัก

เรียกว่า สวนแต่รุป จูบไม่หอมก็ได้

แต่ภาพรวมก็สวยดีนะครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 419 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 418 ครั้ง
 
 
  30 ก.ค. 2552 เวลา 01:58:45  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   55) สุดสะแนน  
  โหวดฟ้า    คห.ที่17)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
สรุปก็คือ การเสี่ยงสายมิ่งสายแนนั้น มีพิธีกรรมอยู่สองวันครับ
วันแรกจะเป็นการเบิ่งแนน วันที่สองจะเป็นการเสี่ยงสายแนนโดยการโยนกอน

ซึ่ง ขูลูนางอั้วนั้น ต่างก็มีสัมพันะ์กันมาแต่ชาติที่แล้ว หากแต่ทั้งสองนั้น ก้ไม่ใช่เนื้อคู่ต่อกัน
เอินว่า บ่เม่นแนนกัน

ใครที่ยังไม่มีคู่ ก็อาจแสดงว่า ยังไม่ได้พบกันกับแนนของตน หรือ แนนของตนนั้นยังไม่ได้ลงมาเกิดยังโลกมนุษย์ จึงปรากฏว่ามีคนโสดอยู่มากมายดังเช่นในปัจจุบัน
ถ้าแนนยังไม่มาเกิด ก็ต้องรอ  ชาติหน้านะครับ

วันหลังผมจะมาเล่าวรรณกรรมอีสานประเภทนี้อีก ถ้าพี่น้องไม่รังเกียจครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 416 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 415 ครั้ง
 
 
  11 มิ.ย. 2552 เวลา 11:43:43  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   564) เซไล เมืองเก่าของชาวไทเลย  
  โหวดฟ้า    คห.ที่15)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ระบำหรือฟ้อนโบราณคดีนั้น จำเป็นอยู่ที่ความถูกต้องของหลักฐานที่ได้ไปศึกษาค้นคว้ามา

ถ้าจะทำเป็นชุดฟ้อนรำประจำถิ่น ซึ่งสื่อถึงความเจริญรุ่งเรืองของบรรพบุรุษตนนั้น
เสื้อผ้า ดนตรี มีความสำคัญอย่างยิ่ง

อย่าทำลวกๆ นะครับ
เสียชื่อคนเลย   ฝากด้วยครับ วัฒนธรรมจะได้วัฒนา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 410 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 410 ครั้ง
 
 
  15 พ.ค. 2552 เวลา 01:34:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   192) สักลาย หรือ ลายสัก ของอีสาน  
  โหวดฟ้า    คห.ที่17)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
"แบ้นบ่บ่อง บ่ให้จ่องขางเฮือน"


แบ้นบ่อง หมายถึง อวัยวะเพศของชายสักลาย ถ้าไม่เห็นอย่างว่าอย่ามาชะโงกหน้าอยู่ข้างเรือนฉันเลย เวลามีงานบุญบั้งไฟผู้ชายมักเปลือยกายไปคุยกับอีสาว และโชว์อวัยวะเพศที่สักลายให้อีสาวดูว่าสวยปานใด โดยไม่มีใครอับอายขายหน้า อีสาวกับแม่เห็นแล้วก็พูดจ๊ะจ๊ะ จ๋าจ๋า หน้าบานเป็นกระด้งเลยแหละ

...................................................................................


แบ้นบ่บ้อง หมายถึง  การเจาะอวุยวะเพศชายครับ

การบ่อง  คือ การเจาะอวัยวะ ต่างๆ  ให้เป็นรู เช่น  บ่องแก้ม  บ่องแบ้น

การบ่องนี้ผมพอจะมีข้อมูลอยู่บ้าง  นี่เป็นเอกสารส่วนหนึ่งของงานวิจัยของผมตอนผมเรียน  ป โท  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การบ่องเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อแถนและเป็นการช่วยในการกระตุ้นการเจริญพันธุ์  ความมีดังนี้

การบ่องของกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว คือการเจาะรูในบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเรียกกรรมวิธีในการบ่องนี้ว่าเป็น         การถวยแถน (สิริวัฒน์ คำวันสา, 2524: 25) อันมีความหมายถึงการถวายบูชาแด่องค์พระยาแถนนั่นเอง ในอดีตนั้นวัฒนธรรมการบ่องถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมที่ได้รับการนิยมโดยทั่วไปในหมู่ชนชาวอีสานและชนชาวลาวโดยที่ผู้ชายจะนิยมบ่องในบริเวณใบหูทางด้านซ้าย ซึ่งนอกจากจะเป็นวัฒนธรรมนิยมแล้วการบ่องใบหูนั้นยังสามารถใช้ประโยชน์เพื่อการสอดมวนบุหรี่และสามารถใช้ทัดดอกไม้ได้ส่วนในเพศหญิงนั้นจะนิยมบ่องใบหูทั้งสองด้านเพื่อใช้ใส่กระจอนหู ซึ่งกระจอนหู   ก็คือเครื่องประดับหูโบราณของชาวอีสานและของชาวลาวนั่นเอง การบ่องโดยทั่วไปนั้นจะไม่เรียกว่าเป็นการถวยแถน หากแต่การถวยแถนนั้นก็คือการบ่องในบริเวณปลายอวัยวะเพศของเพศชายซึ่งกรรมวิธีเริ่มจากการรูดหนังหุ้มปลายองคชาติแล้วดึงชั้นหนังบางๆที่อยู่ใต้บริเวณปลายองคชาติให้ยืดออก แล้วจึงใช้ไม้ฝางแหลมแทงให้เป็นรู ซึ่งถ้าหากใช้โลหะแหลมมาแทงแล้วก็อาจที่จะก่อให้เกิดอาการอักเสบได้ง่าย เสร็จแล้วจึงใช้สโนติดไว้ในรูจนกว่าแผลจะหายสนิท ซึ่งการติด  สโนจะทำให้การบ่องเกิดเป็นรูที่คงถาวรได้ (สิริวัฒน์ คำวันสา, 2524: 25) การบ่องนี้ผู้รู้บางท่านก็ได้ให้ความคิดเห็นว่า อาจเป็นกรรมวิธีที่เกิดขึ้นมาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ฮินดูในเรื่องการบูชาศิวลึงค์ (สิริวัฒน์ คำวันสา, 2524: 25) หากแต่พิธีการบ่องนั้นก็ได้มีผู้สันนิฐานเอาไว้เช่นกันว่าอาจเป็นพิธีกรรมที่ช่วยก่อให้เกิดการเจริญพันธุ์เพิ่มมากขึ้นก็ได้ ซึ่งในประเพณีการจุดบั้งไฟถวายองค์พระยาแถนในสมัยโบราณนั้นก็ยังได้มีการอวดอ้างการบ่องของเพศชายแก่ฝ่ายหญิงโดยการเปลือยท่อนล่างแล้วนำดอกไม้มาสอดเอาไว้ในรูบ่องนั้น (สิริวัฒน์ คำวันสา, 2524: 25) จึงปรากฏว่าในประเพณีบุญบั้งไฟนั้นจึงมักที่จะได้มีการนำเอาสัญลักษณ์ในทางเพศต่างๆเหล่านี้มาปรากฏอยู่ในขบวนหามแห่บั้งไฟอยู่อย่างเปิดเผย ซึ่งนั่นก็คือกุศโลบายอันแยบยลของชนในสมัยโบราณอันมีความประสงค์ก็เพื่อที่จะให้หนุ่มสาวนั้นได้เกิดมีการเรียนรู้พบเห็นในเรื่องเพศศึกษา และได้มีการรักใคร่ชอบพอตกลงปลงใจแต่งงานกันในช่วงเดือนหกนั้น ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนแห่งความอุดมสมบูรณ์เพราะได้เริ่มย่างเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และเมื่อได้เกิดมีบุตรแล้ว บุตรนั้นก็จะได้เกิดขึ้นมาในช่วงฤดูฝนอันเป็นฤดูที่มีอาหารการกินอันอุดมสมบูรณ์ เหตุนี้ กรรมวิธีในการถวยแถนนั้นจึงน่าที่จะมีที่มาอันสอดคล้องตรงกันกับความเชื่อในเรื่องบุญบั้งไฟที่เชื่อกันว่าองค์พระยาแถนนั้นก็คือเทพเจ้าผู้ซึ่งได้ประทานน้ำฝนและความอุดมสมบูรณ์ทั้งหลายให้แก่เหล่ามนุษย์นั่นเอง ซึ่งเมื่อได้มีการจุดบั้งไฟและการถวยแถนเพื่อบูชาต่อองค์พระยาแถนแล้ว ความอุดมสมบูรณ์เหล่านั้นก็จะมีอยู่อย่างมั่นคงบริบูรณ์สืบไป

 
 
สาธุการบทความนี้ : 405 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 404 ครั้ง
 
 
  02 ธ.ค. 2553 เวลา 22:12:25  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   675) การฟ้อนรำบวงสรวงองค์พระธาตุพนม  
  โหวดฟ้า    คห.ที่18)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ครับ ประเพณีในบริเวณพระธาตุนี้ เป็นแหล่งกำเหนิดของดนตรีและการฟ้อนการรำของอีสานในหลายๆชุด ดนตรีก็เช่น ศรีโคตรบูรณ์(ลมพัดไผ่) ผ้ไทเลาะตูบ ลมพัดพร้าว ฟ้อนหางนกยุง แห่ดอกไม้ ลมพัดพร้าว เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า นอกจากวัฒนธรรมของการฟ้อนแล้ว วัฒนธรรมทางด้านดนตรีของอีสานนั้นก็มีที่มาอันมีความเกี่ยวข้องกันยู่กับองค์พระธาตุพนมนี้อยู่อย่างหลากหลาย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 405 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 405 ครั้ง
 
 
  23 ส.ค. 2552 เวลา 19:14:23  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   111) วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่320)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ผมคิดว่า ส่วนหนึ่งของข้อมูลน่าจะอ้างมาจากงานของ อ วีณา ที่ มมส นะครับ เพราะข้อมูลตรงกันแบบทุกบรรทัด (ไม่ทราบว่ามีการอ้างจากแหล่งอื่นหรือไม่)

ส่วนประเด็น ชื่อ ศรีโคตรบูรร์ นั้น ผมอยากให้ลองไปศึกษาศัพท์คำว่า มรุกขนคร เพิ่มด้วย เพราะในเชิงประวัตินั้น ไม่ได้กล่าวไว้ ทั้งที่ มีความสำคัญมาก เพราะไม่งั้น คำว่า นครพนมจะมาจากไหน น่าจะกล่าวถึงบ้างว่า ศรีโคตรบูรณ์ มรุกขนคร และนครพนมเกี่ยวข้องอย่างไร แบบย่อๆนะครับ จะได้สืบเรื่องราวได้ถูก
เสนอแนะนะครับ

ส่วนประวัติว่า แบบฉบับของ วนศ ไหน มาจากที่ใด ฟ้อนแบบใด ความแตกต่างอย่างไร อันนี้น่าสนใจครับ

และการที่ ศรีโคตรบูรณ์ ใส่ชุดสีดำขริบแดง อันนี้มีที่มาอย่างไร ไม่ทราบว่าได้ศึกษาหรือไม่ น่าสงสัยครับ(ว่ามันจะตรงกับที่ผมเคยได้ยินหรือไม่ ฮา) ว่ามันเกี่ยวกับอาณาจักรศรีโคตรบูรร์อย่างไร

 
 
สาธุการบทความนี้ : 401 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 401 ครั้ง
 
 
  23 เม.ย. 2554 เวลา 02:24:33  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1129) ผ้าไหมแพรวาราชินีแห่งไหม มรดกชาวภูไทในกาฬสินธุ์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่26)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
คุณมือโปงลาง:โปงลางกาฬสินธุ์:
คุณกระบี่หรรษา:
คนที่ใส่ชุดสีฟ้า  สวยสุดคะ  ที่ใส่กางเกงนะคะ

   กด สาธุการ ล้านรอบ


    
ปีนี้ทิฟฟานี่มาแรงครับ อิอิ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 401 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 401 ครั้ง
 
 
  23 เม.ย. 2554 เวลา 02:30:14  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   70) ภาพการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์  
  โหวดฟ้า    คห.ที่51)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
การที่ท่านผู้ถามอยากชมภาพ เพื่อที่จะได้วิจารรทนั้น ผมไม่ทราบว่า เจตนาของท่านนั้น เป็นแบบใด จะเหลาเหย่แบบหลอกด่าผมรึเปล่า

แต่ผมก็จะบอกให้อาจารย์ ท่านผู้ที่มีภาพ ได้นำมาลงให้ท่านดู และติชม นะครับ

เพราะถ้าท่านติติงอย่างไร ผมก็มอบให้โรงเรียนนั้นได้นำไปพิจารณาและปรับปรุงดังท่านว่า

แต่ถ้าหากว่า ท่านติติงแบบมิจฉาทิฐฐิ ท่าก็จะได้รับคำคอมเม้นของผมคืน ในคำติติงของท่านนั้น

ซึ่งท่านต้องโต้แย้งผมด้วยหลักฐาน และข้อเท็จจริงอย่างสร้างสรรค์

ไม่เช่นนั้น หากวันธรรมอีสานนั้นได้เกิดความเสื่อมเสียด้วยถ้อยคำของท่านแล้วนั้น

ตายสิบชาติก็รับผิดชอบได้ไม่หมดครับ ผีบรรพบุรุษตามสาบแช่ง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 398 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 398 ครั้ง
 
 
  27 ก.ค. 2552 เวลา 16:41:06  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   48) ฟ้อนมหาชัย  
  โหวดฟ้า    คห.ที่3) ฟ้อนมหาชัย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ฟ้อนมหาชัยนั้นมีกำเหนิดมาจากประเทศลาวในแขวงมหาชัยครับ และยังเป็นชื่อของทำนองลำมหาชัยอีกด้วย คณะผู้แสดงของประเทศลาวนั้นได้เข้ามาแสดงการฟ้อนและการขับลำทำนองนี้ในจังหวัดมหาสารคามเมื่อครั้งสมัยที่ยังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ์มหาสารคาม อาจารย์ชัชวาลย์และคณะจึงได้รวบรวมท่าฟ้อนของชาวลาวและประดิษฐ์ท่าขึ้นมาเป็นฟ้อนมหาชัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นการฟ้อนบวงสรวงท้าวมหาชัยซึ่งเป็นเจ้าเมืองมหาสารคามคนแรกเนื่องจากชื่อนั้นพ้องกัน ทั้งยังเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและลาวอีกด้วย ครั้งหนึ่งนั้นฟ้อนมหาชัยนี้เกือบได้เป็นชุดฟ้อนประจำจังหวัดมหาสารคาม แต่เนื่องจากความไม่เหมาะสมสอดคล้องในหลายประการ อีกทั้งยังได้มีการประดิษฐ์ระบำจัมปาศรีขึ้นมา ระบำจัมปาศรีจึงได้กลายเป็นการแสดงประจำจังหวัดมหาสารคามแทน
ฟ้อนมหาชัยในยุคหลังนั้นจึงได้แบบอย่างหรือได้แนวคิดในทางนาฏศิลป์มาจากฟ้อนมหาชัยของจังหวัดมหาสารคามแทบทั้งสิ้น ซึ่งเนื้อร้องหรือทำนองลำอีกทั้งดนตรีที่ถูกต้องนั้น ปัจจุบันก็ยังคงหลงเหลืออยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งได้มีการนำไปเสนอต่อสาธารณะชนอยู่บ่อยครั้ง
ปัจจุบันการแสดงชุดนี้ได้ถูกถ่ายทอดส่งต่อไปยังโรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพลจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งกำลังดำเนินการถ่ายทำวิดิทัศน์เพื่อเผยแพร่ชุดฟ้อนนี้

 
 
สาธุการบทความนี้ : 393 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 391 ครั้ง
 
 
  18 เม.ย. 2552 เวลา 13:57:50  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   564) เซไล เมืองเก่าของชาวไทเลย  
  โหวดฟ้า    คห.ที่23)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
การแสดงชุด "ฟ้อนเมืองเลยศรีนาฏย

มีแนวคิดในการจัดทำชุดฟ้อนนี้อย่างไรครับ
มีประวัติที่มาอย่างไรครับ

เท่าที่ดู ซิ่นบ่มีตีนเด้นั่น

และครื่องประดับผมและดอกไม้นั้น รู้สึกว่า จะเยอะไปนิดนึงนะครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 391 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 391 ครั้ง
 
 
  15 พ.ค. 2552 เวลา 20:18:19  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   17) ฟ้อนสรวงสาพญาแล  
  โหวดฟ้า    คห.ที่13)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ข้อมูลของพี่โอ๊ตนั้นถูกต้องแล้ว ผมเป็นคนทำดนตรีทั้งสองเวอร์ชั่นครับ

จริ่งๆแล้วก็เป็นลักษณะของการจัดทำชุดการแสดงตามข้อกำหนดของระยะเวลา กฏ กติกาในการแข่งขนตามโอกาสเท่านั้น ไม่ใช่เวอร์ชั่นที่ต้องการจัดทำขึ้นเพื่อการบวงสรวงองค์เจ้าพ่อพระยาแลโดยตรง ซึ่งน่าที่จะพัฒนาจนกลายมาเป็นชุดฟ้อนประจำจังหวัดได้ ซึ่งต้องมีการพัฒนาต่อไป

 
 
สาธุการบทความนี้ : 385 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 385 ครั้ง
 
 
  29 มิ.ย. 2552 เวลา 00:31:59  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   79) รายการคุณพระช่วย "รำบายศรีสู่ขวัญ"  
  โหวดฟ้า    คห.ที่37)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ครับ
ฟ้อนบายศรีของกาฬสินธิ์ มีการใส่ชุดฟ้อนเป็นสีขาว ใส่ฝ้าย และมีนำผ้าแพรวามาประกอบ แบบนี้ ถูกต้อง เหมาะสมกับความเป็น ฟ้อนบายศรีในแบบ วนศ กาฬสินธิ์ครับ แบบสร้อยและเข็มขัดนั้นเท่าที่ดูก็ไม่ขัดกับความเป็นอีสานดีครับ

ซึ่ง ต้นฉบับของการแต่งกายในการฟ้อนบายศรีนี้ ก็มีแบบอย่างดังที่เห็น สามารถสื่อความหมายถึงพิธีกรรม และความเชื่อในการบายศรีนี้ได้อย่างชัดเจน ถูกต้องเหมาะสม ถือเป็นการสร้างสรรค์การฟ้อนโดยการอาศัยพื้นฐานดั้งเดิมของวัฒนธรรมและความเชื่อของชาวอีสานมาเป็นแบบอย่างได้อย่างสมบูรณ์

แต่มีคนหนึ่ง ใส่สไบแปลกๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 382 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 382 ครั้ง
 
 
  03 ส.ค. 2552 เวลา 00:05:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   555) ช่างฟ้อนวงโปงลางเลยพิทยาคม ในคาบต่างๆ ในงานกาชาดจังหวัดเลย  
  โหวดฟ้า    คห.ที่54)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
ครับ ไม่มีปัญหา เด็กๆนั้นก็ได้นำรูปของผมมาลงหลายๆครั้งแล้ว

อามาลงอีก ก็คงจะไม่เห็นเป็นไร เพราะผมไม่มีชนัฏติดหลังนี่ครับ

ไม่เหมือนใครบางคน ทำอะไรไว้ แสดงนิสัยอย่างไร

ถ้าคนอื่นเห็นหน้าค่าตาแล้ว

เขาจะวิจาร์อย่างไร เห็นหลายๆท่านบ่น อยากเห็นหน้า

ผมรออยู่นะครับ รูปของท่าน และของคุณน้องนู๋ด้วย

กล้าเอารูปตัวเองมาลงรึเปล่าละครับ

อิอิ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 381 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 381 ครั้ง
 
 
  28 ก.ย. 2552 เวลา 03:20:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   721) ลายเพลงของสาขาวิชาดนตรีและการแสดงพื้นเมือง คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น  
  โหวดฟ้า    คห.ที่38)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
บางชุดที่ดูแปลกๆ เป็นการแสดงประกอบการร้องเพลงครับ

ส่วนการฟ้อน และชุดที่ใช้บางส่วนนั้น กำลังดำเนินการแก้ไขให้มีความถูกต้องตามแบบของอีสานครับ

แบบเดิม ยังเพี้ยนๆอยู่มาก ต้องพัฒนาอีกมากครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 379 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 379 ครั้ง
 
 
  29 ต.ค. 2552 เวลา 03:18:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   602) การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552  
  โหวดฟ้า    คห.ที่0) การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552


สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
......................................



สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ โดย สำนักส่งเสริมและพัฒนานันทนาการ ได้จัดการประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552 โดยแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 อายุไม่เกิน 15 ปี และ ประเภทที่ 2 อายุไม่เกิน 25 ปี


ประกอบไปด้วย
1 เปิดวง
2 เพลงพื้นเมืองอีสาน เพลงลูกทุ่งหมอลำที่มีเนื้อหาเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. เดี่ยวเครื่องดนตรี ตามลายเพลงที่กำหนด
4. การแสดงที่สื่อถึงวิถีชีวิตชาวอีสาน 1 ชุด

ลายบังคับ
ประเภทที่ 1 อายุไม่เกิน 15 ปี
โหวด         ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก
พิณ           ลายสาวลงทุ่ง
แคน          ลายแมงภู่ตอมดอก
โปงลาง      ลายนำโตนตาด

ประเภทที่ 2 อายุไม่เกิน 25 ปี
โหวด        ลายสาวน้อยหยิกแม่
พิณ           ลายปู่ป๋าหลาน
แคน          ลายสร้อย
โปงลาง      ลายกาเต้นก้อนหรือลายไล่วัวขึ้นภู

ผู้แสดงไม่เกิน 25 คน เวลาไม่เกิน 30 นาที

ส่งใบสมัครและวีซีดีภายในวันที่ 17 กรกฏาคม 2552
ตัดสินรอบคัดเลือก 25-26 กรกฎาคม 2552
ร้อบชิงชนะเลิศ คัดเหลือรุ่นละ 7 วง ทำการแข่งขันรอบชิงในวันที่ 8 (รุ่นเล็ก) และวันที่ 9 (รุ่นใหญ่) สิงหาคม 2552 ณ เวทีอุทยานการกีฬาและนันทนาการ สนามกีฬาแห่งชาติ





- รายละเอียดเพิ่มเติม

- ระเบียบสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ ว่าด้วยการประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552

- ใบสมัครการประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552



ขยายเวลาส่งใบสมัครถึง 30 กรกฎาคม 2552
รอบคัดเลือก พิจารณาจาก VCD วันที่ 1-2 สิงหาคม 2552







ประกาศผลการตัดสิน รอบคัดเลือก
การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552

ในวันอาทิตย์ที่  2  สิงหาคม 2552
ณ  เดอะกรีนเนอรี่ รีสอร์ท   อ.เมือง  จ.ขอนแก่น


รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี
จำนวน 7 วง ดังรายชื่อต่อไปนี้

1.  วงผดุงนารี โรงเรียนผดุงนารี จ. มหาสารคาม
2.  วงโปงลางทศพรวิทยา  โรงเรียนทศพรวิทยา จ.บุรีรัมย์
3.  วงอนุรักษ์ศิลป์ถิ่นอีสาน โรงเรียนบ้านสวองหนองไผ่ล้อม  จ.ขอนแก่น
4.  วงโปงลางสระดอกเกศ โรงเรียนบ้านสระดอกเกษ  จ.อุบลราชธานี
5.  วงสืบศิลป์ถิ่นอีสาน   โรงเรียนสตรีสิริเกศ จ.ศรีสะเกษ
6.  วงเฉลียงพิทยาคม   โรงเรียนเฉลียงพิทยาคม จ.นครราชสีมา
7.  วงโปงลางรำเพย   โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่มเกล้า จ.กรุงเทพมหานคร



รุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี
จำนวน 8 วง ดังรายชื่อต่อไปนี้

1.  วงแคนคำค้ำคูน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม จ. ขอนแก่น
2.  วงไตรคามวิทยา   โรงเรียนไตรคามวิทยา   จ.ขอนแก่น
3.  วงศิลป์อีสาน   วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จ.มหาสารคาม
4.  วงแกนอีสาน   มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  จ.มหาสารคาม
5.  วงอนุกูลนารีโปงลาง   จ.กาฬสินธุ์
6.  วงมูลมังฝั่งน้ำโขง โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร จ.หนองคาย
7.  วงผดุงนารีโปงลาง   จ.มหาสารคาม
8.  วงบัวบาน โรงเรียนปทุมพิทยาคม จ.อุบลราชธานี
    


ผลการการประกวดรอบชิงชนะเลิศ
การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลางชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย
ครั้งที่ 4 ประจำปี 2552



รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี
วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม 2552
ณ เวทีใหญ่อุทยานการกีฬาและนันทนาการ ด้านอาคารจันทนยิ่งยง
สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

รางวัลชนะเลิศ
วงสืบศิลป์ถิ่นอีสาน   โรงเรียนสตรีสิริเกศ จ.ศรีสะเกษ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
วงอนุรักษ์ศิลป์ถิ่นอีสาน โรงเรียนบ้านสวองหนองไผ่ล้อม  จ.ขอนแก่น

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
วงผดุงนารี โรงเรียนผดุงนารี  จ.มหาสารคาม

รางวัลชมเชย 4 รางวัล
1. วงโปงลางทศพรวิทยา  โรงเรียนทศพรวิทยา จ.บุรีรัมย์
2. วงโปงลางสระดอกเกศ โรงเรียนบ้านสระดอกเกษ  จ.อุบลราชธานี
3. วงโปงลางรำเพย   โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่มเกล้า จ.กรุงเทพมหานคร
4. วงเฉลียงพิทยาคม   โรงเรียนเฉลียงพิทยาคม จ.นครราชสีมา

รางวัลบรรเลงโปงลางยอดเยี่ยม
วงอนุรักษ์ศิลป์ถิ่นอีสาน โรงเรียนบ้านสวองหนองไผ่ล้อม  จ.ขอนแก่น

รางวัลบรรเลงแคนยอดเยี่ยม
วงโปงลางทศพรวิทยา  โรงเรียนทศพรวิทยา จ.บุรีรัมย์

รางวัลบรรเลงพิณยอดเยี่ยม
วงสืบศิลป์ถิ่นอีสาน   โรงเรียนสตรีสิริเกศ จ.ศรีสะเกษ

รางวัลบรรเลงโหวดยอดเยี่ยม
วงโปงลางสระดอกเกศ โรงเรียนบ้านสระดอกเกษ  จ.อุบลราชธานี

รางวัลบรรเลงกลองยอดเยี่ยม
วงอนุรักษ์ศิลป์ถิ่นอีสาน โรงเรียนบ้านสวองหนองไผ่ล้อม  จ.ขอนแก่น

รางวัลนางไหยอดเยี่ยม
วงโปงลางรำเพย   โรงเรียนเทพศิรินทร์ ร่มเกล้า จ.กรุงเทพมหานคร

รางวัลขับร้องยอดเยี่ยม
วงสืบศิลป์ถิ่นอีสาน   โรงเรียนสตรีสิริเกศ จ.ศรีสะเกษ

รางวัลการแสดงวิถีชีวิตท้องถิ่นอีสานยอดเยี่ยม
วงผดุงนารี โรงเรียนผดุงนารี  จ.มหาสารคาม    



รุ่นอายุไม่เกิน 25 ปี
วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม 2552
ณ เวทีใหญ่อุทยานการกีฬาและนันทนาการ ด้านอาคารจันทนยิ่งยง
สนามกีฬาแห่งชาติ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

รางวัลชนะเลิศ
วงอนุกูลนารีโปงลาง   จ.กาฬสินธุ์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
วงมูลมังฝั่งน้ำโขง โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร จ.หนองคาย

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
วงศิลป์อีสาน   วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จ.มหาสารคาม

รางวัลชมเชย 5 รางวัล
1. วงไตรคามวิทยา   โรงเรียนไตรคามวิทยา   จ.ขอนแก่น
2. วงบัวบาน โรงเรียนปทุมพิทยาคม จ.อุบลราชธานี  
3. วงแกนอีสาน   มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  จ.มหาสารคาม
4. วงแคนคำค้ำคูน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม  จ.ขอนแก่น
5. วงผดุงนารีโปงลาง   จ.มหาสารคาม

รางวัลบรรเลงโปงลางยอดเยี่ยม
วงมูลมังฝั่งน้ำโขง โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร จ.หนองคาย

รางวัลบรรเลงแคนยอดเยี่ยม
วงศิลป์อีสาน   วิทยาลัยดุริยางคศิลป์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จ.มหาสารคาม

รางวัลบรรเลงพิณยอดเยี่ยม
วงบัวบาน โรงเรียนปทุมพิทยาคม จ.อุบลราชธานี  

รางวัลบรรเลงโหวดยอดเยี่ยม
วงอนุกูลนารีโปงลาง   จ.กาฬสินธุ์

รางวัลบรรเลงกลองยอดเยี่ยม
วงแกนอีสาน   มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม  จ.มหาสารคาม

รางวัลนางไหยอดเยี่ยม
วงแคนคำค้ำคูน โรงเรียนแวงใหญ่วิทยาคม  จ.ขอนแก่น

รางวัลขับร้องยอดเยี่ยม
วงมูลมังฝั่งน้ำโขง โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร จ.หนองคาย

รางวัลการแสดงวิถีชีวิตท้องถิ่นอีสานยอดเยี่ยม
วงผดุงนารี โรงเรียนผดุงนารี  จ.มหาสารคาม


..........................................

การประกวดครั้งที่ผ่านมา

| ครั้งที่ 3   | ครั้งที่ 2 |

 
 
สาธุการบทความนี้ : 377 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 376 ครั้ง
 
 
  25 มิ.ย. 2552 เวลา 01:47:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   564) เซไล เมืองเก่าของชาวไทเลย  
  โหวดฟ้า    คห.ที่12)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
เห็นด้วยกับมังกรเดียวดายครับ

นคร หมายถึงเมืองอยู่แล้วครับ
นคเรศ น่าจะหมายถึง เมือง หรือนครของพระอิศวรมากกว่าครับ ซึ่งอาจอนุมานได้ว่าเป็น นครแห่งสวรรค์ก็เป็นได้
แต่น่าจะเป็น เซไลนคร ครับ (แนะนำ)  เพราะจะตรงจุดที่สุด ซึ่งจะหมายถึง      มหานครแห่งลำนำ้เลย ครับ

ดนตรีนั้น เท่าที่ฟัง ควรที่จะปรับปรุงครับ
ท่อนแรก มาจากระบำนาคี ของจังหวัดหนองคายครับ ชัดเจน
ท่อนหลังๆ น่าจะมาจาก เอ้ดอกคูณครับ
ซึ่งขอบอกว่า การต่อดนตรีนั้น ไม่ถูกต้องตามหลักการของการแต่งลายเพลงพื้นบ้านอีสานครับ
เพราะ ดนตรีอีสานนั้น มีลักษณะของทั่วงทำนองอยู่สามแบบ คือ

แบบการพูดคุยกัน เป็นท่อนต่อท่อน (ไม่ขอเอ่ยเป็นศัพท์วิชาการครับ) เช่น ลายนกไซร เป็นต้น

แบบการไล่ระดับขั้นบันไดของโนต

แบบการด้นทำนอง


ซึ่ง ข้อบังคับหรือตัวบทกลอนของโนตอีสานนั้น จะเป็นแบบ การแต่งโคลงอีสานครับ เช่น วิชชุมาลีดั้น หรือมหาสินธุมาลี เป็นต้น

พูดง่ายๆก็คือ ลายเพลงนี้จัดอยู่ในกลอนประเภท กลอนดั้น ที่โนตนั้น ไม่สัมพันธุ์กันครับ
หลักง่ายๆ เช่น ขึ้น มี ต้องลง ลา ชึ้น เร  ต้องลง ซอล หรือขึ้น ลา ต้องลง โด
เป็นต้น นี่คือปัญหาอย่างหนึ่งของการแต่งโนตเพลงอีสานครับ


ส่วนการฟ้อนนั้น ได้รวบรวมท่าฟ้อนมาหลากหลายแบบ เช่น ล้านนา พม่า (ฟ้อนตั้งต่อศอก) และแบบอีสานเช่นท่า ภูไท เป็นต้น ซึ่งยังได้ปรากฏมีการประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นใหม่อีกประมาณ 4 ท่า ขอสนับสนุนครับ มาถูกทางแล้ว
แต่อยากให้ไปเรียบเรียงท่าฟ้อน เพื่อทำให้งายต่อการรับชมอีกสักนิด เพราะว่าท่านั้นมีความซับซ้อนอยู่บ้าง ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมนั้น รู้สึก รกท่า ได้ครับ
การแปรแถวทำได้สวยงามดีครับ

การแต่งกาย ถ้าเป็นแบบฉบับของชาวเลยดั้งเดิมได้ จะดีที่สุดครับ
และถ้าจะใส่เครื่องเงิน หรือเครื่องทอง ก็ควรเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้เข้ากันกับชุดที่มีลายดิ้นทองเดินอยู่นะครับ ผมว่า ใช้เคราืองทองไปเลยก็จะดี ซึ่งนอกจากจะสวยงามแล้ว ยังสอดคล้องกันกับ แนวคิดและที่มาของการแสดงครับ

ข้อสำคัญที่สุด คำว่า เซไลนั้น ได้สื่อออกมาในตอนใดบ้างของการแสดงในชุดนี้
ซึ่งนี่ก็คือ จุดไคลแม๊กของการแสดงครับ ซึ่งทุกชุดการแสดงนั้น จำเป็นต้องมี

ขอให้ตั้งใจต่อไปนะครับ พี่น้องไทเลย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 375 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 375 ครั้ง
 
 
  14 พ.ค. 2552 เวลา 17:00:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   633) ระบำที่เกี่ยวกับนางอัปสร  
  โหวดฟ้า    คห.ที่11)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
เยี่ยมมากครับ น้องปัง

ก็ระบำลพบุรีนี่ละที่เริ่มพาเพื่อนเป็นครับ(สมควรพิจารณาเรื่องเครื่องแต่งกายเสียใหม่)

ของจริงนั้น มาจากภาพจำหลักที่นครวัดดังว่าครับ


และติดใจตรงชุดรำฟ้าหยาดเนี่ยครับ ตามตำนานนั้น นางฟ้าหยาดเป็นธิดาของชาวขอมครับ ไม่เกี่ยวข้องกันกับการแสดงที่มีนางอัปสราเลย ควรจำแนกให้ถูกต้องครับ
และเมื่อดูชุดของฟ้าหยาดแล้ว เหลือที่จะรับครับ เอาที่ไหนมารำมาฟ้อนเนี่ยครับ
ชุดฟ้อนนั้น เฮ้อ....  สลดจริงๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 374 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 373 ครั้ง
 
 
  13 ก.ค. 2552 เวลา 00:00:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   550) ภาพถ่ายอีสาน(และลาว)เมื่อร้อยกว่าปีก่อน  
  โหวดฟ้า    คห.ที่200)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
อืม คำว่า ช่างฟ้อนนี้ พ่อทรงศักดิ์ได้กล่าวว่า แต่เดิมไม่นิยมใช้  แต่จะใช้ความว่า หมอ แทน เช่น หมอลำ หมอเสพ หมอแคน  ส่วน ช่าง  จะนิยมใช้เรียกผู้มีความสามารถทางการฝีมือมากกว่า

 
 
สาธุการบทความนี้ : 370 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 370 ครั้ง
 
 
  25 ธ.ค. 2553 เวลา 00:15:14  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   904) การประกวดวงโปงลางในพื้นที่เขตการศึกษา เขต1 จังหวัดชัยภูมิ 11 มิถุนายน 2553  
  โหวดฟ้า    คห.ที่49)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
วันนั้นการตัดสินได้ยึดแนวทางดังนี้ครับ

การแสดงโดยทั่วไป วงพ่อแล จะเด่นที่ลำเพลินมาก ส่วนการแสดงวิถีชีวิต ของภูโอบเล่นได้เด่นมากเช่นกัน จุดนี้เลยหักล้างกันไป

การแสดงเทิดพระเกียรติ วงพ่อแลได้เปรียบที่คอนเซบและรูปแบบการแสดงที่เป็นมาตรฐาน วงภูโอบได้เปรียบที่นักร้องที่เสียงดีมากๆๆ และการแสดงเป็นแบบสร้างสรรค์ ซึ่งทางกติกาก็ได้เปิดกว้างไว้ให้สามารถนำเสนอได้หลากหลายรูปแบบ และไม่ถือว่า ผิดกติกาใดๆ

การแสดงโดยทั่วไป มีคะแนนใกล้เคียงกัน เด่นคนละแบบ คนละชุดครับ

การแต่งกาย วงพ่อแลเลือกใช้ผ้าได้ดี เพราะเป็นผ้าพื้นเมืองของชัยภูมิทั้งสิ้น ยกเว้นแต่เพียงชุดฟ้อน ม หินขาว ที่ผ้าเป็นผ้าแบบผิดประเภท
ของภูโอบ ใช้ผ้าซิ่นพิมพ์ลาย ซึ่งส่วนนี้ควรแก้ไข แต่ในส่วนเสื้อ ไสบ หน้า ผม เครื่องประดับ ถือว่าเลือกใช้ได้เหมาะสม วงพ่อแลจะหนักไปทางเครื่องประดับที่มองแล้วดู มากเกินไป และบางชิ้น เช่น เข็มขัด มันชัดเจนว่า เป็นของทางล้านนา
เช่น เข็มขัดที่เป็นแผ่นเกล็ดหลายๆแผ่น มันทำให้การมองภาพของคำว่า พื้นบ้าน มันเสียไป ความมากเกินไปของเครื่องประดับและการใช้ผ้าพิมยืลาย สองอันนี้จึงทำให้ทั้งสองมีคะแนนในส่วนนี้เท่ากัน (คือ เสียทั้งคู่)

วงพ่อแลต้องกลับมาคิดว่า ความพอดี ความเป็นพื้นบ้านแบบบอีสานในการแต่งกายนั้น อยู่ที่ตรงไหน อันนี้จะเป็นประโยชน์มาก ถ้าปรับปรุงได้

จุดที่ชนะกันจริงๆ อยู่ที่ ความสมบูรณ์ของการนำเสนอ และการสื่ออารมณ์ของผู้แสดง นักดนตรี และความแม่นยำ โดยผมมองไปถึง ประสบการร์ในการถ่ายทอดอารมณณ์ของนักแสดง ความผิดพลาดและรายละเอียดในการแสดง ซึ่งจุดนี้ ต้องยอมรับว่า ภูโอบทำได้ดีกว่า และในวันนั้น การแสดงของภูโอบ สามารถสะกดคณะกรรมการได้ (ฟิวในการแสดงเยี่ยมมาก)

สาวนวงพ่อแล ถือว่าอสดงผลงานได้ยอดเยี่ยม ทั้งที่ในวงขณะนี้ส่วนใหญ่ เป็นเด็ก ม ต้น ทั้งนั้น อีกสองสามปี สนุกแน่ เร่งพัฒนาฝีมือต่อไป

ส่วนวงอื่นๆ เช่น นางแดด สตรี ชย นั้น ถือว่า มีข้อที่น่ชื่นชมอยู่หลายประการ แต่ก็มีข้อบกพร่องด้วยหลายจุด ซึ่งส่วนมากจะผิดพลาดคล้ายๆกัน คือ จังหวะของดนตรี การฟ้อน และการนำเสนอที่ไม่เด่นชัด

พัฒนาต่อไป วงโปงลางลูกเจ้าพ่อพญาแล ชาวจังหวัดชัยภูมิ ทุกวง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 367 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 367 ครั้ง
 
 
  12 ก.ค. 2553 เวลา 23:35:48  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   698) การเลือกคู่ของสาวผู้ไทยสามเผ่า  
  โหวดฟ้า    คห.ที่7)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
คงเป็นทรรศนะของการเลือกคู่ในเชิงการมองที่ความสามารถนะครับ

ซึ่งผู้หญิงโบราณ ก็ต้องชอบผู้ชายที่มีความแข็งแรง และมีความโดดเด่นในด้านต่างๆ ซึ่งก็คงประมาณว่า ใครจ่ายผญาเก่ง ก็หมายถึงคนที่มีคารมดี มีความรู้ความจำดี มีปฏิภาณไหวพริบดี สาวๆก็ชอบ เป็นต้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 362 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 362 ครั้ง
 
 
  14 ก.ย. 2552 เวลา 23:44:47  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   76) อยากทราบครับ ว่าการแสดงชุดนี้ชื่ออะไร  
  โหวดฟ้า    คห.ที่4)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
อันที่มีดอกไม้นะครับ แสดงประกอบลายแมงภู่ตอมดอกครับ ซึ่งเป็นลายบังคับในการประกวดในงานมหัศจรรย์สิ่งทออีสาน จังหวัด ชย ครับ
โดย โรงเรียนกาญจนาดังว่า กำกับโดย อ ชัยสิทธิ์ สนสุนัน และออกแบบการแสดงโดย อ วัชระ สวัศรี (ครูโจ้ ชย)

รู้สึกว่าจะตกรอบคัดเลือกนะครับ แต่ก็ถือว่า แสดงได้พร้อมเพรียงและสวยงามดี โดยมีที่มาอันมาจากการแสดงของหมอลำศิริพร อำไพพงศ์ครับ (เรื่องจริง)

คือก็อย่างที่ว่าละครับ กรรมการได้ติติงในเรื่องของการนำเสนอนะครับ
แต่นาฏศิลป์วงนี้ หน้าตาและรูปร่างดีทุกคนครับ เนื่องจากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ และเป็นโรงเรียนประจำด้วย จึงคัดตัวและฝึกซ้อมได้ง่ายครับ
ผลงานของวงนี้ ก็เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายใน ชย ครับ

เป็นกำลังใจให้มีการพัฒนาอยู่เสมอครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 361 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 361 ครั้ง
 
 
  21 ก.ค. 2552 เวลา 00:52:24  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   61) อะไรคือที่มาของชื่อ "ปู่ ป๋า หลาน"  
  โหวดฟ้า    คห.ที่5)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  สุดยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ชัยภูมิ
เข้าร่วม : 16 ธ.ค. 2551
รวมโพสต์ : 910
ให้สาธุการ : 30
รับสาธุการ : 1235020
รวม: 1235050 สาธุการ

 
แม่นแล้วคับ ถืกผิดจั่งใด๋ กะสิได้แลกเปลี่ยนกัน บ่มีไผฮู้คับฟ้าดอกครับ

ที่มาที่หลากหลายนั้นกะสิเป็นประโยชน์ต่อวัฒนธรรมเฮาในที่สุด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 360 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 359 ครั้ง
 
 
  29 มิ.ย. 2552 เวลา 03:00:40  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12

   

Creative Commons License
อะไรคือที่มาของชื่อ "ปู่ ป๋า หลาน" --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ