ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
มีเกวียนบ่มีงัวพร้อมสิเอาหยังมาแก่ เกวียนบ่มีไม้ค้ำหัวสิจ้ำใส่ดิน แปลว่า มีเกวียน แต่ไม่มีวัวด้วย จะใช้อะไรลาก หากเกวียนไม่มีไม้ค้ำ หัวเกวียนจะคะมำลงพื้น หมายถึง กิจบางอย่าง ไม่สามารถทำสำเร็จได้ด้วยคนคนเดียว พึงรู้รักสามัคคี


  ค้นหากระทู้ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   89) ลายดนตรี (อีสาน)  
  มิสเตอร์จี    คห.ที่31)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : หนองคาย
เข้าร่วม : 04 ม.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 2270
รวม: 2270 สาธุการ

 
คุณคนกอดแผ่นดิน  ศิลปินรากหญ้า:
การขับงึมนั้นได้วิวัฒนาการมาจากการอ่านหนังสือเทศน์ หรือ การอ่านหนังสือวรรณกรรมพื้นบ้าน จนกลายมาเป็นขับงึมในปัจจุบัน เนื่องจากขับงึมมีพื้นฐานมาจากพระพุทธศาสนา จึงทำให้เนื้อหาของบทกลอนขับงึมไม่สลับซับซ้อนมากนัก เพราะเนื้อหาของบทเพลงขับงึมมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสอดแทรกอยู่ด้วยจึงทำให้เข้าใจง่ายสามารถนำมาปฏิบัติได้

ประเพณีการขับงึมถือว่าเกี่ยวข้องกับการทำบุญอุทิศส่วนบุญไปให้ผู้ล่วงลับ ตามคติความเชื่อของประชาชนลาวถือได้ว่า การทำบุญไปให้ผู้ล่วงลับไปนั้น จะต้องเอาขับงึมมาฉลองในงานด้วย เพื่อแสดงถึงความรักสามัคคีซึ่งกันและกัน ระหว่างญาติพี่น้องกับผู้ล่วงลับไปแล้ว จะทำให้ผู้ล่วงลับได้รับความสุข สมหวังในภพที่ตนเองอาศัยอยู่ อีกอย่างหนึ่ง นับเป็นประเพณีที่ได้ยึดถือและปฏิบัติสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ โดยเฉพาะแขวงเวียงจันทน์จนแพร่หลายในปัจจุบัน

จุดมุ่งหมายของชาวแขวงเวียงจันทน์ ใน“การขับงึม” เพื่อให้ความบันเทิงสนุกสนานแก่ประชาชน ซึ่งไม่เคยเหือดหายไปจากแขวงเวียงจันทน์ การขับงึมเป็นเพลงพื้นบ้านในด้านศิลปะการแสดงที่ได้รับความนิยมสูงสุดของประชาชนชาวแขวงเวียงจันทน์อยู่ในขณะนี้ ไม่ว่างานประเพณีใดๆที่เกิดขึ้นในเขตแขวงเวียงจันทน์ จะต้องมีการขับงึมมาขบกล่อมถ้าหากขาดการขับงึมไป ดูเหมือนว่าในงานนั้นจะอยู่ในความเงียบเหงาไม่มีชีวิตชีวา ดังนั้น การขับงึมจึงเป็นพื้นฐานแห่งความบันเทิงใจของประชนชน และโดดเด่นกว่าการขับลำอื่นๆ ที่มีอยู่ในแขวงเวียงจันทน์ขณะนี้ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาในการประยุกต์หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาโดยผ่านขบวนการขัดเกลาคนในสังคมโดยใช้ความบันเทิงเป็นสื่อ ในการสั่งสอนจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ถ่ายทอดจริยธรรมทางพระพุทธศาสนาให้กับคนในสังคมได้เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ที่ได้ยินได้ฟังการขับงึม ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นบทเพลงมีความสนุกสนาน แต่แฝงไปด้วยคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น สอนให้รู้จักให้ทาน รักษาศีล ความกตัญญู บาปบุญ และความสามัคคี เป็นต้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 227 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 227 ครั้ง
 
 
  05 ม.ค. 2553 เวลา 20:56:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   89) ลายดนตรี (อีสาน)  
  มิสเตอร์จี    คห.ที่32)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : หนองคาย
เข้าร่วม : 04 ม.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 2270
รวม: 2270 สาธุการ

 
การขับงึม วรรณกรรมของชาวลาวเวียง น่าสนใจ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 0 ครั้ง
 
 
  05 ม.ค. 2553 เวลา 21:01:37  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
ลายดนตรี (อีสาน) --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ