ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
กินเหมิดแล้วภายลุนอย่าได้จ่ม บาดห่าลงฮอดท้องแสนสิฮ้องกะบ่คืนได้แล้ว แปลว่า กินหมดแล้ว อย่าได้บ่นถึงในภายหลัง เมื่อกินลงท้องไปแล้ว จะเอาคืน ย่อมไม่ได้ หมายถึง ไม่ควรอาลัยอาวรณ์กับสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ควรทำขณะปัจจุบันให้ดีที่สุด


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่295)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
" แม้ มีเฮือนซาน ลานแปนๆ
กะบ่อม้ม ยาดกันแห่น ธรรมชาติ "

....ตอนนี้พอปาน กระดูก หล่อนๆ แห่นได้ กะพอปานนั้นล่ะ อาวเอย.....

 
 
สาธุการบทความนี้ : 691 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  23 มิ.ย. 2556 เวลา 12:31:45  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่296)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณป้าหน่อย:
" แม้ มีเฮือนซาน ลานแปนๆ
กะบ่อม้ม ยาดกันแห่น ธรรมชาติ "

....ตอนนี้พอปาน กระดูก หล่อนๆ แห่นได้ กะพอปานนั้นล่ะ อาวเอย.....


แหม่นควมป้าหน่อยครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 290 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  23 มิ.ย. 2556 เวลา 15:39:51  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่297) แมงแคงจิก  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ชื่อพื้นบ้าน      แมงแคงจิก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pygoplatys auropunctatus และ Pygoplatys lunatus
class Insecta -
order Hemiptera
family Tesseratomidae

บางคนเข้าใจว่า แมงแคงจิก คือ แมงแคงค้อ ที่เคยเสนอไป
ความจริงแมลงชนิดนี้ เป็นคนละชนิดกัน แต่อยู่ในวงษ์เดียวกัน
ลักษณะทั่วไป

เป็นแมลงที่อยู่ในวงเดียวกัน กับ แมงแคงค้อ ( แมงแคงแดง) คือวงศ์ Tesseratomidae
แต่มีรูปร่างเล็กกว่า มีสีอมเขียวจนถึงน้ำตาลซีด ลำตัวกว้าง 1.5 ซม. ยาว 2 ซม
มีหนอกเล็ก ๆ ยื่นออกบนไหล่. ซึ่งต่างจากแมงแคงค้อ



พบในเขต อีสาน จนถึงประเทศลาว ( จากการบันทึกของฝรั่ง )
อาศัยตามป่าเบญจพรรณ ป่าแดง หรือป่าโคก ส่วนใหญ่อาศัยตามป่าโปร่ง
ไม่พบในป่าแบบป่าดงดิบ หรือป่าดิบชื้น
ตัวผู้มีลำตัวเรียวกว่าตัวเมีย ซึ่งตัวมีมีลักษณะแผ่แบน
ซึ่งที่ชาวอีสานเรียกรวมกันว่า "แมงแคงจิก"
ความจริงแล้ว เป็น แมลง 2 ชนิดรวมกันคือ
พันธุ์ที่มีสีแดง และพันธุ์ชนิดที่มีสีเขียว ได้แก่  


แมงแคงจิกแดง   Pygoplatys lunatus


แมงแคงจิกเขียว  ชนิด Pygoplatys auropunctatus


นับว่าเป็นแมลงที่มีเขตพื้นที่อยู่จำกัดและเป็นแมลงจำเพาะถิ่น
ในสมัยก่อนมีดาษดื่นตามป่าในภาคอีสาน
แต่ปัจจุบันแทบหาดูไม่ได้ มีคนรู้จัก  และมีโอกาสพบเห็นน้อยนิด




การดำรงชีพ
ดอนยังเล็ก อาศัยดูดน้ำเลี้ยง น้ำหวานจากยอดไม้ใบไม้ผลิใหม่
ในห้วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ห้วง เม.ย.- พ.ค. อาศัยตามพุ่มไม้ ประเภท
พุ่มจิก พุ่มรัง พุ่มกุง (ตองตึง) ต้นค้อ และพืชในป่าโคก ชอบอยู่เป็นกลุ่ม
ไม่ชอบที่สูง ตอนกลางวันมักหลบแดดใต้ใบไม้ ชอบดูดกินน้ำเลี้ยง
ตอนเช้าๆ เมื่อสายจะหลบพักใต้ใบบัง


พุ่มจิก ผลิใบใหม่ ๆ แบบนี้หละ ที่มันชอบนัก

เมื่อเจริญเต็มวัย จะอาศัยอยู่บนที่สูง ตามใบไม้ต่างๆ คอยกินน้ำหวาน
จากดอกไม้ป่า หรือยอดไม้บนที่สูง เป็นเหตุผลให้เราไม่ค่อยเจอตัวมัน
ในช่วงเต็มวัย




วงจรชีวิต
ชอบวางไข่ตามใต้พุ่มไม้  กิ่งไม้ทีมีร่มเงา ไข่จะทนสภาพได้ถึง 3 เดือน
เมื่อวางไข่เสร็จมันจะตายลง  ไข่จะฟักตัวเมื่อเข้าสู่หน้าร้อน ปลายเดือน มี.ค.
จากนั้นจะอาศัยกินน้ำเลี้ยงตามยอดพืชของป่า จิกเต็งรัง และไม้พุ่มอื่นๆ
รวมกลุ่มกัน บางครั้งก็พบตาม ต้นเพ็ก ช่วงนี้ของชีวิตมีอายุ 15 วัน
จากนั้นใช้เวลา 7 - 9 วันก็จะงอกปีกโผบินได้ดังตัวเต็มวัย

แมงแคงจิก มีการเจริญเติบโตเป็นแบบไม่สมบูรณ์ (Incomplete metamorphosis)
ซึ่งเป็นการเจริญเติบโต มีการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปร่าง และขนาด
ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ
1. ไข่ (egg),  3  ( 3 เดือน )
2.ตัวอ่อนหรือตัวกลางวัย (nymph) 28 -30 วัน
3. ตัวเต็มวัย (adult)  5 - 6 เดือน


ตัวอ่อน ระยะที่ 2 นี่หละ ที่ชาวอีสานนำมาเป็นอาหาร


ภาพ ต้นจิก ตามป่าโคก ซึ่งเป็นป่าที่มีลักษณะจำเพาะ

ที่เรียกว่า "แมงแคงจิก" เพราะในช่วงวัยตัวอ่อน หรือ ตัวกลางวัย
(ช่วงยังไม่มีปีก) มันชอบดูดกินน้ำเลี้ยงของใบอ่อน ต้นจิกอีสาน
ต้นไม้ชนิดนี้เป็นอาหารและทางรอดของ แมลงสายพันธุ์นี้
มันจึงมีจำเพาะถิ่น ตามป่าโคก





อย่างไรก็ตาม การเผาป่าโคก เป็นการทำลายล้างไข่ของแมลงชนิดนี้
การเผา หรือถากถางป่าโคก เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ
คือการสูญพันธุ์ "แมงแคงจิก" ไปจากอีสาน
ปัจจุบันมันเป็น สัตว์เศรษฐกิจ ที่นำเข้ามาจาก สปป.ลาว
ประเทศที่ยังมีทรัพยากรสมบูรณ์



แมงแคงจิก เป็นอาหารราแพง พบตามตลาดนัด ตามจังหวัด ริมฝั่งโขง

ความเกี่ยวพันวิถีชีวิตอีสาน
เมื่อฝนแรกตก หอมไอดินกลิ่นลำเนา ใบไม้ผลิใหม่
เมื่อเดือนเมษายน ตามพุ่มจิกพุ่มฮัง  ใบสีตองอ่อน
จะพบแมงแคงจิก รวมกลุ่มกันเป็นกลุ่ม  เราก็เก็บเอามา
เพื่อคั่ว ตำทำน้ำพริก รสชาติอร่อย กินกันตอนเย็นๆ
กินแล้วนั่งฟังเสียง กะโหร่ง เขาะ ของวัวควายตามคอก
นั่งอยู่นอกชาน เพราะอากาศร้อน ฟังพ่อใหญ่เล่านิทาน
สูญเสีย แมงแคงจิก ไปเราจึงสูญเสีย "วิถี" ไปเฉกเช่นกัน
อะไรจะตามมานั้น........ สุดจะคาดเดา..............





ข้อมูลภาพ จาก
http://www.heteroptera.fr/tessite/Pygoplatys/P.auropunctatus.html
http://jdmyeepa.wordpress.com/galleries/hemiptera-bugs/shield-and-red-bugs/
ต้องขอบพระคุณอย่างสูง เพราะถ้าไม่ได้ ข้อมูลภาพ กระผมเองคง
งมโข่ง หากจำแนกชนิดแมลงในเวป ฝรั่ง ปานงมเข็มในมหาสมุทร
น้องๆ หนู ๆ ที่ทำรายงานเรื่องแมลง สามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้ที่
http://jdmyeepa.wordpress.com/galleries/hemiptera-bugs/shield-and-red-bugs/
มีข้อมูลภาพ กับชื่อบันทึกไว้ มากมาย เกี่ยวกับแมลงไทย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 867 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  22 ก.ค. 2556 เวลา 14:51:51  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ลุ่มดอนไข่    คห.ที่298)  
  อนุเซียน

ภูมิลำเนา : บึงกาฬ - หนองคาย
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 15 มิ.ย. 2553
รวมโพสต์ : 1,601
ให้สาธุการ : 2,855
รับสาธุการ : 4,226,460
รวม: 4,229,315 สาธุการ

 
ตำแจ่ว
กินกับยอดผักกระถิน...
คือสิคักเนาะญาอ้าย
  

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  25 ก.ค. 2556 เวลา 20:50:05  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่299)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณลุ่มดอนไข่:
ตำแจ่ว
กินกับยอดผักกระถิน...
คือสิคักเนาะญาอ้าย
  


แจ่วแมงแคงหอมฮิ่นคักกว่าแจ่วแมงดาพุ้นแหล่วครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 498 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  26 ก.ค. 2556 เวลา 20:51:01  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่300) น้ำลายผีเป้า  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ชื่อพื้นบ้าน     น้ำลายผีเป้า
ชื่อภาษากลาง   มวนน้ำลาย
ชื่อภาษาอังกฤษ  : Spittle bug
ชื่อวิทยาศาสตร์  :Philaenus spumarius
ชื่อสามัญ  Cephisus siccifolius
Class:  Insecta
Order:  Hemiptera
Suborder: Auchenorrhyncha
Infraorder: Cicadomorpha
Superfamily: Cercopoidea
Family: Aphrophoridae



ลักษณะทางกายภาพ
ลำตัวยาว 6 - 10 มม. คล้ายมวนจั๊กจั่น ลำตัวทรงสามเหลี่ยม
มีหลังงุ้ม ปีกสั้น ขาคู่หลัง มีลักษณะแข็งแรงแปลกจากขา 2 คู่หน้า
มีสีขาวขุ่น ลายน้ำตาลไปจนถึงสีดำ หลากหลายสี ตามถิ่นที่อยู่
มันสามารถกระโดด ในแนวดิ่งได้ไกลถึง 50 - 70 ซม.

ภาพ แมงน้ำลายผีเป้า ระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัย

ถิ่นอาศัย
อยู่ตามทุ่งหญ้า เกาะตามต้นหญ้า ต้นไม้ระดับต่ำ
เป็นแมลงเล็ก ๆที่ดูดกินน้ำเลี้ยง ของกอหญ้า ต้นไม้เล็ก ๆเป็นอาหาร
พบเห็นได้ตาม กอหญ้า ยอดหญ้า หลากชนิด
เป็นแมลงสายพันธุ์ที่ปรับตัวได้เก่ง จนอยู่รอดได้แม้ใน ทวีปยุโรบ
และอเมริกากลาง



ลักษณะนิสัย
ชอบอยู่ตามทุ่งหญ้า ใบหญ้า  หรือพุ่มเตี้ยๆ ไม่เคยอยู่สูง
เกิน 50 ซม. จากพื้นดิน  ดูดกินน้ำเลี้ยงของต้นหญ้าในท้องถิ่น
โดยเฉพาะ ต้นหญ้าอวบน้ำ กลางวันมักหลบใต้กอหญ้า
เมื่อเข้าหน้าหนาว ฤดูแล้ง ประมาณ เดือน ต้นเดือน ต.ค. ไปจนถึง ธ.ค.
มันจะผลิตฟองน้ำลาย ทำเป็นรัง และเพื่อปกป้องตัวเอง
จากการเจอสภาพอากาศแห้ง สูญเสียความชื้น
ป้องกันตัวจาก มดและ แมลงมุมนักล่า ทั้งหลาย



รังที่ทำจากฟองน้ำลายของมันที่เอง เป็นที่มาของชื่อของมัน
รังน้ำลาย มีลักษณะเหมือนคน ถ่มน้ำลายทิ้งไว้
ทางภาคอีสานบ้านเฮา เรียกมันว่า " น้ำลายผีเป้า"
ซึ่งจะมีให้เห็นตาม ทุ่งนา ท้องทุ่ง ลานหญ้าทั่วไป



วงจรชีวิต
แมงน้ำลายผีเป้า มีการเจริญเติบโตแบบ เมทามอร์โฟซิส (metamorphosis)
แบบค่อยเป็นค่อยไป (gradual metamorphosis) ตัวอ่อนที่ฟักออกมาจากไข่
มีรูปร่างคล้ายพ่อแม่ แต่มีอวัยวะบางอย่างไม่ครบ เช่น ไม่มีปีก
เมื่อโตขึ้นและลอกคราบปีกจะเริ่มงอกขึ้นเรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า นิมฟ์ (nymph)
ต่อจากนั้นก็จะมีการลอกคราบหลายครั้งและเจริญเป็นตัวเต็มวัยต่อไป
เริ่มจากตัวเต็มวัย วางไข่ ตามเปลือกไม้ ในเดือน ม.ค. - ก.พ.
แล้วหมดอายุขัย ไข่จะฟักตัวเมื่อ เดือน พ.ค. - มิ.ย.  เติบตัวเป็น nymph
หรือตัวอ่อน หากินตามพุ่มหญ้า พงหญ้า ลอกคราบโตขึ้นเรื่อยๆ



จนถึงต้นเดือน ต.ค. ตัวอ่อน เจริญถึงขีดสุด ประกอบกับช่วงฤดูแล้ง
ฝนขาด ลมแล้ง ลมหนาวเริ่มกลายย่าง ตัวอ่อน จึงผลิต "น้ำลาย"
โดยการ พ่นน้ำลายผสมฟองอากาศ เป็นสารละลายข้น คล้ายน้ำลายมนุษย์
ทำเป็นรัง เพื่อปกป้องตัวเอง โดยจะค่อยๆ ก่อเป็นรูปร่าง ตามต้นหญ้า
เพื่อหลบเร้นจากจาก สูญเสียความชื้น และหลบภัย จากมด ง่าม มดตะนอย
มดแดง แมงมุมกระโดด แมงมุมใบข้าว แตนเบียน
และนกที่หากินตามพื้นดิน ชนิดต่างๆ
ที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติของมัน




เมื่อเดือน พ.ย. -ธ.ค. มันจะลอกคราบ ในเวลากลางคืน กลายมาเป็น
"ตัวเต็มวัย" มีปีกและอวัยวะครบเหมือนพ่อแม่ แล้วเริ่มโบยบินสู่ราวป่า
เมื่อต้นหญ้าเริ่มเหี่ยวแห้งไปตามฤดูกาล จึงเข้าไปอาศัยร่มไม้พุ่มไม้
ที่ยังไม่ผลัดใบเป็นที่อาศัย และสืบพันธุ์ต่อไป  

บทบาทและความสำคัญในธรรมชาติ
เนื่องจากเป็นแมลงที่มีขนาดเล็ก จนเราแทบไม่ทันสังเกตเห็น
โลกของแมลง จึงไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด ในมิติของมนุษย์
แต่ "แมงน้ำลายผีเป้า" คือ อาหารของ แมลง , สัตว์ชนิดอื่นในท้องถิ่น
เช่น นกคุ่ม นกเอี้ยง นกจิบเฟียง นกเขา ซึ่งสัมพันธ์กันตามห่วงโซ่
ทั้งหมดทั้งมวล ล้วนเกิดมาเพื่อสมดุล ในความหลากหลายของกันและกัน
สายใยของธรรมชาติ ที่ยึดโยงกัน เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง และแสนเปราะบาง
แมงน้ำลายผีเบ้า บ่งบอกถึง สภาพระบบนิเวศน์ ที่บริสุทธิ์ไร้สารพิษตกค้าง
ทั้งนี้คือดัชนีแห่งความ สมดุลของห่วงโซ่อาหาร ที่ยังพอมีอุ้มชูสัตว์ทั้งหลาย


ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตอีสาน
ในช่วงเกี่ยวข้าว เมื่อลมหนาว พัดผ่านบอกถึงการผันเปลี่ยนของฤดูกาล
มักจะเห็น ฟองน้ำลาย ประหลาดตามกอหญ้า กอผักกะแยง หรือตามลานหญ้า
ที่ยังพอมีความชุ่มชื้น  พ่อบอกว่า นั้นหละ "น้ำลายผีเป้า"
ผีเป้ามันหากินกลางคืน  หากินกบกินเขียดดิบ ๆ พูดซะจนน่ากลัว
บ่ต้องย้าน(กลัว) ดอก มันเป็น"แมงไม้" ว่าพลางเอาฟางแห้ง เขี่ยฟองน้ำลายออก
เผยให้เห็น แมลงเล็ก ๆ ที่สร้างสิ่ง มหัศจรรย์
ที่คนโบราณบอกว่า "ผีเป้า" คือให้มีความหวั่นเกรงธรรมชาติ
มิให้ทำลายล้างสิ้น เอาเปรียบธรรมชาติจนเกินเลย นั่นเพราะเรา
ดำรงอยู่ ด้วยธรรมชาติ ด้วยฟ้าด้วยฝน ด้วยต้นไม้ใบหญ้า

พวก"ผีเป้า" หากินดิบเถื่อนทำลายล้าง ทุกสิ่งเพื่อเอาเปรียบคดโกง
พวกนี้ ชอบถ่มน้ำลาย ดูถูกธรรมชาติ ดูถูกต้นไม้ใบหญ้าและผืนดิน
ไม่เยินยอใคร นอกจากตัวเอง


ว่าแล้วก็ คว้าเอาเคียว และตอกมัดข้าว ก้าวลงทุ่งรวงทองที่กำลังสุกอร่าม
ลมหวิวรวงข้าว โอนไปมา นกเขา และนกกาเหว่า ร้องก้องกังวานกล่อมทุ่ง

-ภาพประกอบจาก
http://photography-on-the.net

 
 
สาธุการบทความนี้ : 785 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  25 ส.ค. 2556 เวลา 13:04:10  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่301)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
ฮ่วยแมงอันนี้กะกินได้ตี้ มาซ่างว่าแท้
อันนี้ ป้าหน่อยบ่อเคยกิน....
อ่านเบิ่งคักๆ  จั่งฮู้จั๊ก หล่อนๆ  ตาลายฮึๆได๋ ว่าแหม่นเมนู อาหารแห่งอีสาน
โอ๊ย แม่ป้า ลำผิด ซะมัวถืกวิถี กระสุน ผู้ถ่ายิง เนาะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 404 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  25 ส.ค. 2556 เวลา 13:11:42  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่302)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณป้าหน่อย:
ฮ่วยแมงอันนี้กะกินได้ตี้ มาซ่างว่าแท้
อันนี้ ป้าหน่อยบ่อเคยกิน....
อ่านเบิ่งคักๆ  จั่งฮู้จั๊ก หล่อนๆ  ตาลายฮึๆได๋ ว่าแหม่นเมนู อาหารแห่งอีสาน
โอ๊ย แม่ป้า ลำผิด ซะมัวถืกวิถี กระสุน ผู้ถ่ายิง เนาะ


ผมเคยเห็นแต่น้ำลาย..พึ่งสิได้เห็นโตกะมื้อนี่หล่ะครับ..ขอบคุณอ้ายปิ่นหลายๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 333 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  25 ส.ค. 2556 เวลา 14:58:14  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่303) แมงแคงกุง  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


ชื่อพื้นบ้าน  แมงแคงกุง
ชื่อวิทยาศษสตร์  Mattiphus splendidus
class Insecta -
order Hemiptera
family Tesseratomidae
ในบรรดาแมงแคง ในภาคอีสาน “แมงแคงกุง” เป็นแมงแคงที่ตัวใหญ่ที่สุด และหายาก
เนื่องจากมีลักษณะจำเพาะ ชอบอยู่ตาม ต้นกุง (ต้นพลวง) อาศัยดูน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน
ใบอ่อนของต้นกุงเป็นอาหาร  บางท่านเพิ่งเข้ามาหาความรู้เรื่องแมลงแมงไม้ ในอีสาน
ขอเรียงลำดับจากความใหญ่ของแมลงจำพวก”แมงแคง”ดังนี้ ขะรับ
1.แมงแคงกุง
2.แมงแคงค้อ
3.แมงแคงจิก
4.แมงแคงขาโป

แมงแคงกุงนั้นดำรงสายพันธ์อยู่ได้เพราะต้นกุง (ต้นตองตึง)  หากไม่มีต้นกุง เขาก็สูญพันธุ์ครับ


ต้นกุง (ต้นตองตึง)
เป็นต้นไม้ประจำถิ่นอีสานประจำป่าโคก มนุษย์ในถิ่นนี้ใช้ประโยชน์ต้นไม้ชนิดนี้
มาตั้งแต่โบราณกาล เช่น ใบ นำมาตากแห้ง ทำวัสดุมุงหลังคา “แอ้มฝา” ทำผนังกั้น
เรียกว่า “ฝาแถบตอง”
ใช้ห่อของกิน( นึกไม่ออกว่าสำคัญขนาดไหน ให้คิดถึงถุงพลาสติกในปัจจุบัน)
ยางของไม้กุง นำมาทำ”ขี้กะบอง” หรือ”ขี้ไต้” เพื่อให้แสงสว่างในเวลาค่ำคืน
(นึกไม่ออกว่าสำคัญขนาดไหน คิดถึง หลอดฟูออเรสเซนต์ ในปัจจุบัน )



ลำต้น นำมาทำไม้แปร ในการสร้างบ้าน  กิ่งก้านเปลือก นำมาทำเชื้อเพลิงในครัว
(คิดไม่ออกว่าสำคัญขนาดไหน ให้คิดถึงแก๊สหุงต้ม)
แถมยังเป็นที่อาศัยของสัตว์ต่างๆ ในระบบนิเวศน์ “ป่าโคก” คุณค่าแห่งแผ่นดิน
คิดไปตามประสาคนช่างคิด  ว่าจะมีสิ่งมีชีวิตใดเอื้อประโยชน์ให้มนุษย์ได้มากมาย
และสำคัญขนาดนี้  นอกเสียจาก “อ้อย” และ “ยางพารา”


ลักษณะทางกายภาพ
แมงแคงกุง มีลักษณะ   รูปทรงคล้ายโล่  ก้นไม่เพรียวเหมือนแมงแคงประเภทอื่นๆ
ลำตัวโตได้ถึง 30 ซม. – 40 ซม. นับว่ามีขนาดใหญ่ ปีกมีสีน้ำตาล – ดำ มีขา 6 ขา สีอมเขียว

แหล่งที่พบ
ตามยอดต้นกุง(ต้นตองตึง ต้นพลวง) )  ในป่าโคก (ป่าแดง) ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ – อีสาน
ไปจนถึง ลาว และ จีนตอนใต้ โดยพบมากที่สุดในเขตประเทศลาว เป็นแมลงที่ถิ่นอาศัยจำเพาะ



วงจรชีวิต
เดือน มี.ค. – เม.ย. คือฤดูผสมพันธุ์และวางไข่ ตามใบไม้พุ่มไม้ในป่าโคก วางไข่ 15- 30 ฟอง
เพื่อผสมพันธุ์ และวางไข่แล้ว มันจะตายลงไ ข่มีอายุได้ 15 วัน ก็จะฟักเป็นตัวอ่อน
มีอายุ 60 วัน และจะเจริญวัยเป็นตัวเต็มวัย มีปีกหางครบ โบยบินเสรี
ศัตรูในธรรมชาติของมันคือ  นก กิ้งก่า แมงม้า กระรอก และคนเรานี่หละครับ



ประโยชน์และความสำคัญ
แมงแคงกุง เป็นส่วนหนึ่งของวงจรห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติ เติมเต็มระบบนิเวศน์
และเป็นอาหารของ สัตว์ต่างๆ ในฤดูแล้ง และมนุษย์ผู้พึ่งพิงธรรมชาติ เป็นสินค้าสร้างรายได้ ในฤดูกาล
ชาวอีสาน มักหาจับมากินในช่วง มี.ค. –เม.ย. (ในช่วงอื่นไม่นิยมกิน หาจับยาก)
นำมาประกอบอาหารรวมกับแหล่งโปรตีนอื่น เช่นทำน้ำพริกแมงแคง กินเพื่อดำรงชีวิต



ข้อควรระวัง
แมงแคงกุง สามารถผลิตสารเคมีที่เป็นกรด เพื่อป้องกันตัวเองจากนักล่า
มีผลแสบร้อน หากเข้าตาเป็นอันตราย หากเราจับตัวมันถูกมันพ่นสารถูกมือ
ก็จะเกิดอาการ “มือเหลียงอ่อยห่อย” กว่าจะล้างออกก็ประมาณ 7 วันเด้อ

ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตคนอีสาน
ช่วงเดือน มี.ค. – เม.ย อีสานจะเข้าสู่ฤดูแล้งร้อน “ฮ้อนตับสิแตก” น้ำท่าแห้งขอด
แต่ป่าโคกก็ไดประทาน แมงแคงกุง  มาเพื่อเป็นอาหารของ สัตว์ต่างๆ รวมทั้ง
ผู้คนที่ยังรักษาป่าโคกไว้ เป็นทรัพยากรท้องถิ่นที่สำคัญ ให้คนมีอยู่มีกิน
ในภาคอีสานบ้านเฮา นำมาทำ “แจ่วแมงแคงกุง” หรือ น้ำพริกแมงแคง แซบหลายเด้อ
กลิ่นหอมนัว กว่าแมงแคงค้อ  รสชาติถูกปาก หรือ ”คั่วกิน” ก็หอมยิ่งนัก


ภาพการคั่วแมงแคงกุง



ภาพ ป่นแมงแคง , แจ่วแมงแคงกุง พร้อมเครื่องเคียง

การล่ามันเพื่อเป็นอาหารแค่กิน ไม่ทำให้มันสูญสิ้นเผ่าพงษ์ เนื่องจากกินเป็นฤดูกาล
แต่”การทำลายป่าโคก” ต้นกุงให้หายไปจากท้องถิ่น คือการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์
ไปตลอดกาล ไม่อาจสร้างทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ เมื่อไม่มีป่าโคกและทรัพยากรเหล่านี้
ท้องถิ่นจะประสบความขาดดุลเป็นลูกโซ่ ส่งผลถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์ร้อนรน
ขาดความเชื่อมโยงกันระหว่างธรรมชาติกับชีวิต ละคลายความสนใจในท้องถิ่นตนลงทีละนิด
จนกระทั่งขาด”อัตตลักษณ์” ขาดสิ่งยึดเหนี่ยวเหลียวแล ขามความอุดมสมบูรณ์ไปตลอดกาล

เมื่อขาดสิ่งยึดเกี่ยวจิตวิญญาณต่อวิถีชีวิต จึงไร้หลักลอย ไม่สนในแผ่นดิน ไม่สนในผู้คน
ไม่สนใจกันและกัน ไม่สนใจประเทศชาติ  สนใจแต่ตัวเอง และทำลายศีลธรรมลงในที่สุด


ปัจจุบัน”แมงแคงกุง” หาดูได้ยากครับ  เพราะป่าต้นกุงใกล้หายไปจากแผ่นดินแล้ว
ทำให้ลูกหลานชาวเรา ไม่ค่อยรู้จัก “แมงคงกุง”



-ขอบพระคุณ  ส.ภูเพียง ฯ  เจ้าของภาพถ่ายประกอบเรื่องครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 283 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  11 มี.ค. 2557 เวลา 16:54:27  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่304)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คักหลายอ้ายเอย ทั้งภาพทั้งคำประกอบ คิดฮอดวิถีแต่น้อย ย้อนถอยหลังกลับไปจัก25ปี โอ๊ยเนาะ เหลือใจหลายที่ภาพแบบนี้บ่อยู่ให้ผมได้สัมผัสอีกแล้ว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 149 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  11 มี.ค. 2557 เวลา 21:37:59  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)