ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
อย่าได้แสนแพนหน้าวาจาเว้าอ่ง ฝูงพี่น้องพงษ์เชื้อสิบ่มี แปลว่า อย่าได้ทำเชิดหน้า พูดจาหยิ่งจองหอง เพราะญาติพี่น้องจะไม่เหลือ หมายถึง พึงอ่อนน้อมถ่อมตน อย่าโอ้อวด ยกตนข่มท่าน


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย  
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน (คลิกอ่านบทความต่อเนื่อง)
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่234)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
คุณต้องแล่ง:
คุณป้าหน่อย:
แมงหย่องหยอ ตั้วนี่น่ะ


แมงหย่องหยอ  คือแมงจิงโจ้ที่ปีโป้ว่า   แต่ว่าแมงมันเป็นคนละโตกับแมงหย่องหยอคะรับ  

ปล.  แมงจิงโจ้  นำเข้ามาจากออสเตรเลีย  บ่เซื่อถามกัปตันคุกเบิ่งโล้ด ...


ฮ่าๆๆๆ คะซั้นแหม่นคะน่อย เอิ้นผิด มาต๊ะมื้อเกิด ซั้นน่ะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 489 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  16 ส.ค. 2555 เวลา 19:54:44  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ต้องแล่ง    คห.ที่235)  
  ยอดปรมาจารย์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด + ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 17 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 787
ให้สาธุการ : 45
รับสาธุการ : 1,760,150
รวม: 1,760,195 สาธุการ

 
คุณป้าหน่อย:
คุณต้องแล่ง:
คุณป้าหน่อย:
แมงหย่องหยอ ตั้วนี่น่ะ


แมงหย่องหยอ  คือแมงจิงโจ้ที่ปีโป้ว่า   แต่ว่าแมงมันเป็นคนละโตกับแมงหย่องหยอคะรับ  

ปล.  แมงจิงโจ้  นำเข้ามาจากออสเตรเลีย  บ่เซื่อถามกัปตันคุกเบิ่งโล้ด ...


ฮ่าๆๆๆ คะซั้นแหม่นคะน่อย เอิ้นผิด มาต๊ะมื้อเกิด ซั้นน่ะ



แมงหย่องหยอโตใหญ่กั่วแมงมัน   ขี้หลายกั่ว   แมงมันบ่มีขี้  จับได้อยู่ป่าข้าวเด็ดปีกออก  หย่ำกินได้เลย  ...

 
 
สาธุการบทความนี้ : 445 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  17 ส.ค. 2555 เวลา 04:12:56  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  อีเกียแดง {แห่งรัตติกาล}    คห.ที่236)  
  อนุเซียนผู้อมตะ

ภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ @ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 07 เม.ย. 2552
รวมโพสต์ : 5,431
ให้สาธุการ : 4,145
รับสาธุการ : 12,652,790
รวม: 12,656,935 สาธุการ

 
คุณต้องแล่ง:
คุณป้าหน่อย:
คุณต้องแล่ง:
คุณป้าหน่อย:
แมงหย่องหยอ ตั้วนี่น่ะ


แมงหย่องหยอ  คือแมงจิงโจ้ที่ปีโป้ว่า   แต่ว่าแมงมันเป็นคนละโตกับแมงหย่องหยอคะรับ  

ปล.  แมงจิงโจ้  นำเข้ามาจากออสเตรเลีย  บ่เซื่อถามกัปตันคุกเบิ่งโล้ด ...


ฮ่าๆๆๆ คะซั้นแหม่นคะน่อย เอิ้นผิด มาต๊ะมื้อเกิด ซั้นน่ะ



แมงหย่องหยอโตใหญ่กั่วแมงมัน   ขี้หลายกั่ว   แมงมันบ่มีขี้  จับได้อยู่ป่าข้าวเด็ดปีกออก  หย่ำกินได้เลย  ...




เป้า ชัดๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 512 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  18 ส.ค. 2555 เวลา 20:34:29  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่237)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 


เป้าใหญ่บ่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  19 ส.ค. 2555 เวลา 13:50:59  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ลุ่มดอนไข่    คห.ที่238)  
  อนุเซียน

ภูมิลำเนา : บึงกาฬ - หนองคาย
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 15 มิ.ย. 2553
รวมโพสต์ : 1,601
ให้สาธุการ : 2,855
รับสาธุการ : 4,226,470
รวม: 4,229,325 สาธุการ

 
คุณปิ่นลม:


เป้าใหญ่บ่


เอาใหญ่ๆโลดอ้าย...จั่งสิยิงถืก
น้องยิงบ่แหม่น...แหมะ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 452 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  19 ส.ค. 2555 เวลา 16:17:06  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่239) แมงง่วง (นักร้องอัสดง)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,640
รวม: 5,444,820 สาธุการ

 

เครดิตตามเจ้าของภาพ ที่ปรากฏ ครับ

ชื่อพื้นเมือง  แมงง่วง  แมงน้ำฝน
ชื่อภาษาไทย      ตั๊กแตนใบโศก  ตั๊กแตนหมู  ตั๊กแตนใบไม้เทียมยักษ์
ชื่อสามัญ  giant leaf katydid
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pseudophyllus titan
Class    Insecta
Oder   Orthoptera
family  Tettigonioidea

หากเราเป็นลูกอีสาน หรือชอบศึกษาศิลปวัฒนธรรม ต่างๆ ของชาวอีสาน  เราจะได้ยิน ได้ฟัง
กวีเก่า ๆ หรือ หมอลำกลอน หมอลำหมู่  เกี่ยวกับแมลงชนิดนี้อยู่มากโข   บางคนเคยได้ยิน
แต่ไม่เคยเห็นตัวตนของมัน เลย   มื้อนี้วันนี้ บ่าวปิ่นลม จึงขอเสนอ “แมงง่วง”  ให้ทุกท่านได้
อิ่มเอมกับ แมลงแห่งอีสานชนิดหาได้ชมยากอีกชนิดหนึ่ง



“แมงง่วง”  นักวิทยาศาสตร์ จัดเข้าในกลุ่ม แมลงในวงศ์ ตั๊กแตนหนวดยาว
เป็นตั๊กแตนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในตั๊กแตนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
นั่นคือ มันมีขนาดลำตัว ยาวได้ถึง 15 ซม. วงปีกกว้าง 20 ซม.
เพศผู้สามารถทำเสียงได้ดังโหยหวนมากในเวลากลางคืน หรือ พลบค่ำ
โดยมีอวัยวะในการทำเสียง ที่โคนปีกคู่หน้าซึ่งใช้ในการเสียดสีกันจนเกิดเป็น เสียงดัง


เครดิตภาพ จาก www.malaeng.com

รูปร่างของปีกคล้ายใบไม้เขียว เพื่อการพรางตาศัตรู  ขาหลังมีขนาดยาวและมีปลายหนาม
แมงอันนี้ นี้มีนิสัยการกินอาหารในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันมักจะเกาะนิ่งๆ แทบไม่เคลื่อนที่
และไม่กินอาหารเลย   อาหารของมันคือ ใบอ่อน และเปลือกอ่อนของพืช ในตระกูล ต้นไทร
หรือ “หมากไฮ” ในภาษาอีสาน  พบว่าที่มันโปรดปรานมากที่สุด คือ ต้นมะเดื่อ
จึงไม่แปลกที่ ปัจจุบันหาเบิ่ง แมงอันนี้ได้ยากยิ่ง เพราะ ต้นบักเดื่อ หรือมะเดื่อตามธรรมชาติ
แทบจะกู้เงิน IMF  มาจ้างเบิ่ง

วงจรชีวิต
แมงง่วง ผสมพันธุ์ ช่วงเดือน มิ.ย.  คือ ฤดุฝน  ตัวผู้จะส่งเสียงร้องโหยหวนจากยอดไม้
ในเวลาพลบค่ำ หรือตอนหัวค่ำ ช่วงเวลาตั้งแต่ 1800 – 2100 น. ตัวเมียจะบินตามหาตัวผู้
และจะทำการผสมพันธุ์กัน  จากนั้นจะวางไข่ตามรากไม้  และในดินใกล้แหล่งอาหาร
ไข่ของมันสามารถ ทนทานอยู่ได้ ถึง 3 ปี  เพื่อรอสภาวะเหมาะสม เช่น ฝนฟ้าและ ภูมิอากาศ
อุณหภูมิ ที่เหมาะแก่การฟักออกมาเป็นตัว  ระยะเวลาจากตัวอ่อน ลอกคาบ 3 ครั้ง
เพื่อเป็นตัวโตเต็มวัย ใช้เวลา 3 เดือน


ภาพจากอินเตอร์เน็ต

ตัวอ่อนระยะแรก ปีกยังไม่งอก มันมีหนวดยาว และลู่ไปด้านหน้าคู่กัน มองคล้ายๆว่า
มันมี “งวง”  ที่คือที่มาของชื่อมัน แมงงวง  และ เป็น “แมงง่วง “ในที่สุด
เมื่อลอกคราบจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เมื่อโตเต็มวัย จะหากินบนยอดไม้
หรือตามต้นไม้สูง ไม่ลงมาเหยียบพื้นอีกเลย


ภาพเปรียบเทียบ ตัวอ่อน และ ตัวเต็มวัย



ขอบคุณเจ้าของภาพครับ

ความเกี่ยวพันกับวิถีอีสาน

เมื่อฤดูทำนา ชาวนาเริ่ม “ดำนา”  ฝนเริ่มตก ตอนตะเว็นพลบค่ำ เขียดจะนา
ฮ้องอ๊อบแอ๊บ  ตามราวป่า และต้นไม้สูง แมงง่วง ฮ้องเสียงดัง ก้องกังวาน
คืนนี้ฝนตกแน่นอน พ่อใหญ่สี บอกหลานน้อย


พวกพุสาวซ่ำน้อย ย้านเสียงแมงง่วง บ่กล้าไปตักน้ำส่าง  ต้องหาหมู่ไปนำ
แม่บอกลูกน้อย ว่าแมงง่วงมันฮ้องหากินตับเด็กน้อยขี้ดื้อ  
หากบ่กินข้าว  แมงง่วงสิมาเอาไป

แมงง่วง บ่งบอกถึงระบบนิเวศน์ที่เหมาะสม แก่การดำรงชีพของมนุษย์เกษตรกรรม
ชาวอีสานโบราณใช้ทำนายการตกของฝนในฤดูกาล  นั่นแสดงว่าชาวอีสาน
แต่กาลก่อน เป็นยอดนักธรรมชาติวิทยา สังเกตและสนใจธรรมชาติ
ช่วยกลมกล่อมจิตใจให้ ละมุนละไม ซื่อตรง และโอบอ้อม แบ่งปัน
“นั่นคือของขวัญล้ำค่า ที่บรรพบุรุษเฮาทิ้งไว้ให้ลูกหลานสืบต่อ”

จึงอยากให้หน่ออ่อน ต้นกล้า ของชาวอีสานรุ่นใหม่ ได้สนใจธรรมชาติท้องถิ่น
สนใจวัฒนธรรมตนเอง  สืบต่อสิ่งดีงาม นำพาสังคมสงบสุข


  ภาพจากอินเตอร์เน็ต

การขาดหายไปของพันธุ์ไม้ท้องถิ่น สัตว์ท้องถิ่น  ย่อมกระเทือนต่อบริบทของมนุษย์
ที่อาศัย ณ ถิ่นนั้น  เมื่อแมลง และพืชพันธุ์ถิ่นหายไป  ความเป็นมนุษย์ ในถิ่นนั้นย่อมลดลง
คือที่มาของ อาชญากรรม  คดโกง รังแก ข่มเหง ภัยธรรมชาติ และความถืออัตตาสูงลิบ
หากเราไม่บริหารการดำรงอยู่ของธรรมชาติ ให้สมดุลกับจำนวนประชากร
ยากยิ่งที่ประเทศจะก้าวข้ามไปเป็น เมือง ศิวิไล
เป็นได้แค่เพียง เหยื่อ ของระบบกลไกโลกิยะ ที่พร้อมหมุนไปสู่ความพินาศ ตามไตรลักษณ์


ขอบคุณเจ้าของภาพครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1001 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  31 ส.ค. 2555 เวลา 16:35:02  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  สาวส่า เมืองยโส    คห.ที่240)  
  เจ้ายุทธภพน้อยจ้า
ภูมิลำเนา : ยโสธร
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 01 ก.ย. 2552
รวมโพสต์ : 1,784
ให้สาธุการ : 155
รับสาธุการ : 3,349,420
รวม: 3,349,575 สาธุการ

 
คุณต้องแล่ง:


แมงหย่องหยอโตใหญ่กั่วแมงมัน   ขี้หลายกั่ว   แมงมันบ่มีขี้  จับได้อยู่ป่าข้าวเด็ดปีกออก  หย่ำกินได้เลย  ...


คุมื้อนี้ ถ้าคิดสิกินแบบนี้ ต้องระวังแน่จักหน่อยเด้อจ้า
ยาฆ่าหญ้าหลาย ถึงบ่ไปทันทีกะอาจสิเป็นแบบผ่อนส่ง

ด้วยความปรารถนาดีจากสาวยโส ^^

 
 
สาธุการบทความนี้ : 442 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  05 ก.ย. 2555 เวลา 17:38:40  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ป้าหน่อย    คห.ที่241)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : อุบลราชธานี
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 05 ธ.ค. 2552
รวมโพสต์ : 2,169
ให้สาธุการ : 3,415
รับสาธุการ : 5,166,840
รวม: 5,170,255 สาธุการ

 
คุณสาวส่า เมืองยโส:
คุณต้องแล่ง:


แมงหย่องหยอโตใหญ่กั่วแมงมัน   ขี้หลายกั่ว   แมงมันบ่มีขี้  จับได้อยู่ป่าข้าวเด็ดปีกออก  หย่ำกินได้เลย  ...


คุมื้อนี้ ถ้าคิดสิกินแบบนี้ ต้องระวังแน่จักหน่อยเด้อจ้า
ยาฆ่ายาหลาย ถึงบ่ไปทันทีกะอาจสิเป็นแบบผ่อนส่ง

ด้วยความปรารถนาดีจากสาวยโส ^^


ญาคู ต้องแล่ง โหม่มดิบ ดู๋ๆ ซะพอ
ได้ไปให้ อาหารกบ  ดึงยาดกัน อยู่แถวป่าข้าว ล่ะเนาะ ฮิ้วๆๆๆ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 436 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  05 ก.ย. 2555 เวลา 19:20:37  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  สายลมเลยเลย    คห.ที่242) แมงก้องแขน แมงตับเต่า  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 28 ต.ค. 2555
รวมโพสต์ : 1
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 3,740
รวม: 3,740 สาธุการ

 
คุณปิ่นลม:

ชื่อ      แมงโกก, แมงน้ำแก่ง, แมงคันโซ่ ,แมงปอ (เจ้าผู้ครองเวหาศ )
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhyothemis sp.
อันดับ         ODONATA
ชื่อวงศ์        Libellulidae
ชื่อสามัญ  Dragonfly Nymphs


ฝรั่งเรียก Dragonfly เป็นแมลงมีปีก 4 ปีก บางชนิดกินเกสรดอกไม้ บางชนิดกินแมลงด้วยกันเป็นอาหาร บางคนเรียกว่า นักล่าแห่งเวหา เพราะมีความสามารถใน
การบินสูงมาก

แมลงปอสามารถบินได้ไกลถึง 100 ก.ม. การขยับปีกขึ้น-ลง จะใช้ความเร็วเฉลี่ยประมาณ 500 ครั้งต่อวินาที  ในที่นี่ขอเรียกว่า แมลงปอ เพื่อความเข้าใจ เพราะต่างถิ่น ต่างเรียกชื่อไม่เหมือนกัน

ประเภทและชนิด

แมลงปอในโลกนี้มีอยู่มากกว่า 5,000 ชนิด(species) จัดอยู่ประมาณ 500 สกุล
ซึ่งศาสตราจารย์ G.H.Carpenter ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยแมน
เชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ แบ่งแมลงปอออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ โดยดูจากลักษณะของเส้นปีก รูปร่างปีก และลักษณะการวางปีกขณะเกาะอยู่ แบ่งเป็น

1.  กลุ่มแมลงปอบ้าน มีลักษณะตัวใหญ่ สีเข้ม หัวโต ตากว้างแต่ไม่โปน ปีกคู่หลัง
      ใหญ่กว่าปีกคู่หน้า เวลาเกาะจะกางปีกในแนวราบ
2.กลุ่มแมลงปอเข็ม มีตัวเล็กเรียว หรือสั้น ตาโปน ปีกคู่หลังมีขนาดเท่ากับปีก
    คู่หน้า เวลาเกาะจะหุบปีก

ในประเทศไทยมีการค้นพบแมลงปอมากกว่า 295 ชนิด



ในภาพ คือ แมงก้องแขน  แมงระงำ  และ ฮวก



ตัวอ่อนแมลงปอ ( Naiad )


ทางภาคอีสาน กินตัวอ่อนของแมลง ชนิดนี้เป็นอาหาร ซึ่งต่างชนิด ต่างมีลักษณะลูกอ่อน ไม่เหมือนกัน
จึงเป็นที่มา ของความสับสน เรียกชื่อผิด ๆ ถูก ๆ   ผู้ตั้งกระทู้ จึงขอสรุป ตัวอ่อน
ของแมลงปอ ที่ทางภาคอีสาน
นำมาเป็นอาหารปะเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ หวังว่าคงให้ความกระจ่างกันบ้าง
เห็น ถกเถียงกันเหลือเกิน

1 แมงก้องแขน

     คือลูกแมงปอนักล่า ในสายพันธุ์แมงปอบ้าน ที่มีขนาดใหญ่ตาโปนสีเขียว  มีปีกขนาดใหญ่
ตัวอ่อนของแมงปอสายพันธุ์นี้ มีลักษณะคล้ายตัวหนอนซะมากว่า เรียวยาวกว่า
บรรดา ตัวอ่อนแมงปอทั้งหมด แปลกว่าเขาก็คือไม่มีขา  ที่ที่ร้ายกาจคือ มีเขี้ยวที่
สามรถกัดได้ กัดเจ็บเหมือนกัน  เรียกว่า" แมงก้องแขน"
ด้วยลักษณะเรียวยาว ไม่มีขา ลำตัวมีสีขุ่น เวลาโค้งเข้าหากันจากหัวกับหาง คล้าย “ กำไล “ หรือ ภาษาอีสานเรียกว่า “ ก้องแขน “
ทั้งตัวยาว 5- 6 ซม.   ส่วนมากอยู่ในแม่น้ำใหญ่ ๆ  ตามห้วยต้องเป็นห้วยใหญ่
น้ำไม่ขาดทั้งปี หากตามหนอง หรือแหล่งน้ำ เล็ก ๆ  ไม่ค่อยพบ


ภาพแมงก้องแขน ( ตัวอ่อนของแมงปอ อีกชนิดหนึ่ง )


2.แมงระงำ

มีลักษณะตัวป้อมๆ ตาโปน ก้นใหญ่  อาจมีกระบังหน้าคล้ายพาย ใช้สำหรับช่วยในการกินอาหาร
มีขา6 ขา เวลาโดนจับ จะใช้กระบังหน้าปิดตาอาไว้ เหมือนอาการคนงุ้ม หรือ ง้ำหน้าหลบ
จึงได้ชื่อว่า“แมงหน้างำ “ และ เพี้ยนมาเป็น “แมงระงำ” ดังที่เรียกขานกัน  บางชิดรูปร่างแบน ก้นเรียว
ต่างกันไปบ้าง ตามสายพันธุ์  บางชนิดไม่มีกะบังหน้า  ตัวอ่อนชนิดนี้ เป็นตัวอ่อนของแมงปอ ทั่วไป
เช่น แมงปอแดง แมงปอนา ตัวไม่ใหญ่และยาวเท่าใดนัก  ประเภทนี้มีมากที่สุด มีตามแหล่งน้ำทั่วไป

ภาพ แมงระงำ ตัวอ่อนแมงปอ อีกชนิด



ภาพด้านหน้า  แมงระงำ  สังเกต กะบังหน้า โดนแกะออก


3.แมงเหนี่ยง , หรือ แมงเหนี่ยว

ลูกของแมงปอเข็ม แตกต่างจากทั้ง 2 ชนิด มีขนาด เล็ก ลำตัวเรียวหรือแบน แต่ยาวกว่า
แมงระงำ อาจมีสีดำ หรือสีใสขุ่นตามสภาพน้ำที่อาศัย ขบางชนิดลำตัวกลม
สังเกต ชนิดนี้ ไม่มีกะบังหน้า  


ภาพแมงเหนี่ยง



ภาพแมงเหนี่ยงอีกชนิด

เบิ่งเอาโลด ในกาละมัง มีแมงหยังแน



ทุกชนิดที่กล่าวมา ทั้งหมดล้วน โตขึ้นเป็น แมงปอ ขะน้อย


วงจรชีวิต

แมงปอ มีชีวิตส่วนใหญ่ในน้ำ   อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป  ตัวอ่อนแมลงปอใช้ชีวิตนานอยู่ในน้ำนาน
1-3ปีเมื่อถึงวัยหนึ่ง จะขึ้นมาลอกคราบ กลายเป็นแมงปอ  และจะลอกคราบ ประมาณ
5 – 6 ครั้ง เจริญพันธุ์เป็นตัวเต็มวัยกินลูกน้ำ สัตว์น้ำเล็ก ๆ และลูกอ๊อดเป็นอาหาร
บางครั้งก็กินพวกเดียวกันเอง บางสายพันธุ์กินพืช

แมลงปอมักผึ่งปีกในเวลาแดดตอนสาย  เมื่อปีกแห้งจึงบินได้ ไปล่าเหยื่อ  ผสมพันธุ์ใน
หน้าฝน ช่วงเดือน มิ.ย. ก.ค. วางไข่ตามแอ่งน้ำ  แล้วก็ สิ้นอายุขัย


ประโยชน์และความสำคัญ

แมงน้ำแก่ง ,แมงโกก , แมงคันโซ่  หรือ แมลงปอ  ตามแต่จะเรียก กินลูกของสัตว์น้ำ และ ตัวอ่อนของแมลงเบียนพืชทั้งหลายเป็นอาหาร  ตลอดจนลูกน้ำ ตัวอ่อนของยุงเป็นของโปรด  
อีกทั้งช่วงอายุตอนอาศัยในน้ำยังเป็นอาหารของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ทั้งกบ เขียด ปู ปลา
ประดุจดัง “แพลงตอน” ผู้โบยบินจากฟ้า
ชุบเลี้ยงผืนน้ำ ในอีสาน  อีกทั้งยังสามารถแปลงโฉมจาก ผู้ถูกล่า มาเป็นนักล่าได้ ในช่วงท้ายของวงจรชีวิต
นับว่าเป็นแมลงที่มีประโยชน์ยิ่ง ต่อระบบนิเวศน์โดยแท้  ความสามารถในการปรับตัวของมัน ทำให้
อยู่รอดมาได้จนทุกวันนี้ เรารู้หรือไม่ แมลงปอ กำเนิดและอยู่มานานก่อนจะมีมนุษย์   ไดโนเสาร์ล้มตาย
สูญพันธุ์ แต่ แมลงปอ ยืนหยัดได้  จึงไม่แปลกที่ เทคนิคการบิน ของแมลงปอ ถือว่าเป็นสุดยอด
เป็นจ้าวเวหา   ที่มาแห่งความอร่อยล้น เลี้ยงดูชาวอีสานให้มีอาหารการกิน ไม่ว่าแล้ง หรือ ฝน


แมงก้องแขน เมื่อลอกคราบแล้ว โตขึ้นมาจะกลายเป็น แมงปอพิฆาต หากินหมู่ ตั๊วะ


ส่วนแมงระงำ เมื่อลอกคราบมาแล้ว ส่วนมากเป็นแมงปอ แบบนี้ ซั่นเด้..




ส่วนแมงหนี่ยง ลอกคราบออกมา จะเป็นแมงปอ สีแปลก ๆ  พ่อตู้เลาเว่าให้ฟัง พะนะ


ในแง่วิถีชาวอีสาน

เมื่อฤดูแล้งย่างกราย แผ่นดินอีสาน  อาหารการกินหายาก  แหล่งน้ำประจำหมู่บ้าน เช่น ห้วยหนอง , บึง
พ่อแม่ พาลูกเต้า ไปหา “ส่อน” ( ช้อนเอา ) ตัวอ่อนแมลงเหล่านี้เป็นอาหาร ทั้ง แมงระงำ แมงก้องแขน
แมงเหนี่ยว  แกง หรือหมกใส่ใบตอง รวมกับแมลงน้ำชนิดอื่น กินเพื่อยังชีพ  อยู่อย่างพอเพียง
เอาตัวรอดจากฤดูกาล  


เมื่อถึงคราวเข้าหน้าฝน สังเกตแมลงชนิดนี้ โบยบินเป็นกลุ่ม บินวนท้องฟ้า ดาษดา  
เพิ่นว่า ไม่เกิน 2  วัน ฝนใหญ่สิตก  วางแผนหาแช่เข้าปลูก  หรือ หาป้านคันนาไว้ เก็บกักน้ำ
ยามนั่งเผ้าตากล้า อยู่เถียงนาน้อย แมงปอ บินจับปลายไม้แห้ง ริมหนอง ดวงตาเกลือกกลิ้งแนมฟ้า
ชวนให้จิตใจ ใสเย็นสงบ  ดังสายลมที่พาพัด แมงปอน้อยลอยล่อง   อนึ่ง จำนวนของแมลงปอแต่ละปี
คนอีสานโบราณใช้ทำนาย น้ำมาก หรือน้อยได้  นั่นแสดงว่า สายตาแห่งชาวอีสาน  เมื่อมองทอดสู่ทุ่ง
ย่อมเห็นแมงปอ กับยอดต้นข้าว ล้อลิ่วกับสายลม  เสมอ




ขอบคุณภาพจากเวปต่างๆ ( ตามที่ปรากฎในภาพ ) และ google
ส่วนข้อมูลดิบ หายากพอสมควร ส่วนมากเป็นรูปภาพ ครับ
อันอื่นมีแต่ภาษาฝรั่ง แปลบ่ออก  

สำหรับผู้มีข้อมูลแตกต่างจากนี้ ขอให้แจ้งเด้อครับ สิได้ปรับปรุงให้ถูกต้อง ตามชื่อเรียก


.... แมงก้องแขน (แมงงดอดน้ำ)  เป็นตัวอ่อน ของด้วงดิ่ง ( แมงตับเต่าครับ  ไม่ใช่แมงปอ)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 374 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  28 ต.ค. 2555 เวลา 14:13:38  
    MySite  offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  บ่าวแก่นนคร    คห.ที่243)  
  ผู้เยี่ยมยุทธ์

ภูมิลำเนา : ขอนแก่น
สมาชิกภาพ : สมาชิกทั่วไป
เข้าร่วม : 23 ก.ย. 2551
รวมโพสต์ : 317
ให้สาธุการ : 215
รับสาธุการ : 583,870
รวม: 584,085 สาธุการ

 
มีข้อมูลมาโต้แย้งแล้ว ญาคูหาหลักฐานมาอ้างอิงโดยด่วนครับ
เพื่อระงับซึ่งอธิกรณ์ นี้ ^ ^

 
 
สาธุการบทความนี้ : 0 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  12 พ.ย. 2555 เวลา 04:55:28  
      offline ติดต่อหลังเวที ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)