ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 29 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
บ่มีฝอยหมาบ่ห่อนขี้ บ่เป็นหนี้เขาบ่ห่อนถาม แปลว่า ถ้าไม่มีขี้ฝอย หมาไม่มาขี้ใส่ ถ้าไม่เป็นหนี้ เขาจะไม่ทวงหนี้ หมายถึง เรื่องราวหรือสิ่งของต่างๆ ย่อมมีมูลเหตุ มีที่ไปที่มา ไม่ใช่เกิดขึ้นลอยๆ ได้


  ล็อกอินเข้าระบบ  
ชื่อ ::
รหัสผ่าน::
*จำสถานะ
 
  รวมมิตรปลาร้านอกไห  
  สวัสดีครับ

     แทบจะไม่มีใครล่วงรู้อย่างลึกซึ้งเลยว่า มีเรื่องราวที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า ในภาคอีสานของประเทศไทยนั้น หลายอย่างมีความเป็นมาอย่างไร หลายอย่างได้เกิดขึ้นแล้วและยังคงอยู่ หลายอย่างเกิดขึ้นแล้ว และได้เลือนลางหายไปแล้วในอดีต เราและทีมงานปลาร้านอกไห จะนำพาคุณผู้ชม จูงมือเดินไปเรียนรู้วิถีชีวิตพื้นบ้านอีสานในแง่มุมต่างๆ เพื่อเปิดโลกทัศน์และมุมมองว่า ทำไมคนภาคอีสานจึงเป็นอย่างนี้ ทำไมต้องใช้ชีวิตกันอย่างนี้ และสิ่งหนึ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ก็คือ การสร้างความเป็นไทยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลากหลายทางเชื้อชาติ หลากหลายประเพณี เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และอยู่ได้กันอย่างสันติ อย่างสงบ ไม่มีความดูถูกเหยียดหยามคนไทยด้วยกันเอง

     ทีมงานปลาร้านอกไห ขอขอบคุณทุกเสียงทุกแรงใจที่มอบให้เรา เราสัญญาว่า เราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสรรค์สังคมให้จรรโลงใจ
พร้อมเสมอ
ทีมงานปลาร้านอกไห

กระทู้ธรรมดา... มีข้อความโพสต์ใหม่

  หน้า: 1 2 3 4 5 ตอบกระทู้  
  โพสต์โดย   สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน  
  ปิ่นลม    คห.ที่138) แมงผักหม  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 


ชื่อพื้นบ้าน    แมงผักหม ,แมงผักโหม (ทรชนปล้นใบไม้)
ชื่ออื่นๆ                ด้วงน้ำมันแถบขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์      Mylabris phalerata Pall.
จำพวก(Species):    Epicauta waterhousei Haag-Rutenberg
วงศ์   :    Meloidae
อันดับ:    Anhui

ลักษณะทางกายภาพ


แมงอันนี้ มีหัวสีส้มแดง ส่วนอื่นของลำตัวมีสีเทาดำ ปีกมีแถบสีขาวปนเทา
พาดตามความยาวสองข้างของปีกและที่เส้นกลางปีก
เป็นตระกูลเดียวด้วง มีขนาดยาว 18-24 มิลลิเมตร
เพศเมียมีขนาดลำตัวใหญ่กว่า ยาวกว่าเพศผู้
ตรงส่วนท้าย มีต่อมเก็บสารเคมี สามารถพ่น สารพิษ ได้ ( เยี่ยวใส่ได้ )
เรียกว่าสารแคนทาริดิน (Cantharidin)
นับว่าเป็นกลไก ในการป้องกันตัวของแมงผักหม

ถิ่นอาศัย

พบทั่วไป ตามเดิ่นดอน เดิ่นหน้าบ้าน เดิ่นหน้าเถียงนา หรือ แม้กระทั่งหัวนา
อาศัยอยู่กิน ตาม ต้นผักหม ต้นมะเขือบ้า และมะเขือเคีย( มะเขือเทศ )
และผักขม เป็นต้น  มักอยู่กันเป็นจุ้ม(กลุ่ม) ไต่อยู่อะญะ เต็มต้นผักหม
กัดกินต้นผักหมจนเหลือแต่ก้าน


ภาพผักหม อาหารสุดโปรดของมัน


มันเป็นแมลงมีพิษร้าย

แมลงชนิดนี้หากโดนรบกวน จะพ่นสาร แคนทาริดิน ซึ่งเป็นสารพิษ
หากโดนผิวหนังจะทำให้เป็นผื่นพองปวดแสบปวดร้อน ถ้าเข้าตาจะทำให้ตาอักเสบ
ที่สำคัญคือกินแล้วถึงตายได้ เพราะ 1 ตัวมีสารแคนทาริดินประมาณ 6 มิลลิกรัม
หากร่างกายได้รับสารแคนทาริดินประมาณ 1-2 ชั่วโมง จะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง
อาเจียนมีเลือดปนออกมา อุจจาระและปัสสาวะปนเลือด ความดันต่ำ หมดสติ
หากเกินกว่า 10 มิลลิกรัมขึ้นไปจะทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต
ดังนั้นถ้ารับประทานเพียง 2-3 ตัวก็ทำให้เสียชีวิตได้




ภาพแมงผักหม กำลังเล่น งัวเติ่งต่าง

ตัวอย่างอันตรายจากแมงอันนี้  สมัยเป็นเด็กน้อยเลี้ยงควาย กับบัก เคน ลูกทิดเดช
(ออกเสียงคล้ายๆ เคน ธีรเดช ) เคยจับมาเล่น เห็นมันสีขิวๆ ซั้นดอก
ก็เลยถืกมันเยี่ยวใส่  แสบฮ้อนปานไฟไหม้  ฟ้าวแล่นไปหนองบวกควาย
เอาน้ำล้างออก  เป็นแผลพองไปหลายมื้อ เป็นแป้ว พะนะ




จึงขอเตือนเด็กน้อยทั้งหลาย หากเห็นแมลงชนิดนี้ให้ฟ้าวแล่นหันๆ หนีโลด
หากผู้สาวเห็น บ่อยาก ค่าดองตก กะให้เว้นไกลๆ    

ช่วงที่สามารถพบเห็น คือ ช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. ( ยามผักหมกำลังป่ง )



วงจรชีวิต

แมงผักหม หรือ ด้วงน้ำมัน(ภาษากลาง)  เป็นแมลงที่มีอายุสั้น จึงมีวงจรชีวิตแบบไม่เต็มขั้น
เหมือนแมลงทั่วไป ซึ่งมี4 ชั้น (Complete Metamorphosis)
ได้แก่  1.ไข่
         2.ตัวอ่อน
         3.ดักแด้
         4.ตัวเต็มวัย

ส่วนแมลงชนิดนี้ มีแค่ 3 ขั้น  ได้แก่  1.ไข่ 2. ตัวอ่อน 3 .ตัวเต็มวัย
เรียกว่าการเจริญเติบโตแบบ (Gradual Metamorphosis)

ไข่จะฟักตัวเมื่อมีอถณหภูมิและความชื่นเหมาะสม ซึ่งเป็นห้วงเดือน ปลาย เม.ย. ถึง พ.ค.
จากนั้นก็ใช้เวลาแค่ 7 วัน ก็แปลงร่างมาเป็น แมงผักหม ตัวเต็มวัย
เมื่อเป็นตัวเต็มวัย จะมีหน้าที่อยู่ 2 อย่าง คือ กิน กับสืบพันธุ์ เท่านั้น
ช่วงโตเต็มวัย มีอายุเพียง 30 วัน

ศัตรูตามธรรมชาติ
เท่าที่เห็นด้วยสายตาตัวเอง มีแต่ ขี้กะตู่ หรือ คันคาก และ ขี้โกะ หรือ จิ้งเหลน
ที่สามารถกินแมงอันนี้ได้ นับว่าสัตว์ทั้ง 2 มีภูมิต้านทานพิษของแมลงนี้ น่าอัศจรรย์




ขอบคุณทุกภาพจาก maleang.com และ เวบไซต์อื่น ๆ   ขอบคุณครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 989 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  12 พ.ค. 2554 เวลา 13:15:27  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่155) บึ้ง  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 
คุณจารย์ใหญ่:

                           ท่านปีโป้ เว้าเรื่องตัวที่อยู่ในภาพให้ฟังแหน่เด้อ


ตามคำขอครับ



ชื่อพื้นบ้าน  บึ้ง  . อีบึ้ง (มังกรดำแห่งลำเนา)
ชื่อสามัญ Thai land black tarantura
ชื่อวิทยาศาสตร์   Haplopelma minax
วงศ์ Theraphosidae
สกุล Haplopelma  

บึ้ง หรือ จัดเป็นแมงมุมที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในประเทศไทยมี 4 ชนิด อยู่ใน ได้แก่ บึ้งลายหรือบึ้งม้าลาย บึ้งดำพม่า
บึ้งน้ำเงิน และบึ้งดำ ซึ่งทั้งหมดเป็นสัตว์ห้ามการนำเข้าส่งออกในบัญชีว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า
และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)   ซึ่งเป็นสัตว์ป่าที่อยู่ในบัญชีที่ 2 ของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)




ลักษณะทางกายภาพ


เป็นแมงมุมขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  มีแปดขา ลำตัวสีดำ เพศเมีย
ขนาดตัวเต็มวัย อาจมีขนสีน้ำตาลดำปกคลุมส่วนท้อง
ขนาดโดยทั่วไป ประมาณ 2.5 – 10  ซม. เคลื่อนตัวช้า  ตามลำตัวและขามีขนปกคลุม บึ้งเพศผู้มีอายุเพียง 5 ปี
ส่วนเพศเมีย บางชนิดอาจมีอายุถึง 10 ปี
มีเขี้ยวคู่หน้าขนาดใหญ่สำหรับล่าเหยื่อ สามารถฉีดพิษใส่เหยื่อได้
พิษของบึ้ง อยู่ที่ขน และต่อมพิษบริเวณเขี้ยว  สำหรับต่อมพิษบริเวณเขี้ยวนั้น บึ้งจะกัดและปล่อยพิษซึ่งเชื่อมต่อ
กับต่อมพิษ (Poision gland)  เพื่อการป้องกันตัวเมื่อถูกคุกคามจากศัตรู บึ้งบางชนิดมีเขี้ยวยาวถึง 1 นิ้ว
แต่พิษของบึ้งมีเพียงเล็กน้อยแค่เพียงพอจะให้เหยื่อขนาดเล็ก เป็นอัมพาตเท่านั้น สำหรับผู้ที่แพ้พิษบึ้ง
เมื่อถูกกัดอาจเกิดบาดแผลบวมแดง เหมือนถูกผึ้งต่อย แต่บางคนอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง
ทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ผู้ที่เป็นโรคหัวใจอาจช็อกได้


ภาพแสดง รังบึ้ง หรือ ฮู บึ้ง

ถิ่นอาศัย และ พฤติกรรม ตามธรรมชาติ


พบอาศัยอยู่ในอีสาน ภาคเหนือ และภาคใต้   บึ้งเป็นแมงมุม ที่ไม่ชักใยเหมือน
แมงมุมทั่วไปชนิดอื่น แต่จะ ขุดรูทำรัง และชักใยไว้บริเวณปากรู
ชอบทำรู หรือ “ ฮูบึ้ง”  ไว้ตาม ลานหญ้า, ริมป่าหัวไร่ปลายนา หรือ ในป่ารก


บึ้งเป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน มักจะพบบึ้งขุดรูอยู่ในดินบริเวณลานหญ้าและนาข้าว  รูลึกประมาณ 45 ซม.
โดยจะชักใยสีขาวออกมาปิดปากรู  ซึ่งเส้นใยสีขาวทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัว เป็นตัวรับสัญญาณสั่นสะเทือน
ให้รู้ว่าศัตรูหรือเหยื่อเดินผ่านมา  เมื่อเหยื่อเข้ามาใกล้บึ้งจะจู่โจมและใช้เขี้ยวกัดฝังลงไปในเนื้อ ปล่อยพิษผ่านเขี้ยว
จนทำให้เหยื่อชาเป็นอัมพาตจากนั้นจะใช้เขี้ยวฉีกเหยื่อและดูดกินของเหลวในตัวเหยื่อจนแห้งเหลือแต่ซาก

โดยทั่วไปพฤติกรรมการหาอาหารของบึ้งมักใช้วิธีล่าเหยื่อ  ไม่ใช่การสร้างใยให้เหยื่อมาติดกับ
และการฝังเขี้ยวลงในเนื้อของเหยื่อจะเป็นลักษณะแนวลึกตรงซึ่งต่างกับแมงมุมจะเป็นการกัดแบบรอยหยิก
บึ้งไม่ชอบพื้นที่ชุมแฉะ น้ำท่วมขัง หรือมีน้ำมาก จึงไม่น่าแปลก ที่ไม่ค่อยพบเห็น ในทางภาคกลาง
บึ้งมีนิสัย ขี้ตกใจ ขี้ระแวง คอยระวังภัยอยู่เสมอ เมื่อเจอผู้รุกราน จะยกขาหน้า 2 ขาขึ้นสูง
ทำท่าเตรียมพร้อมจู่โจม  เหมือนจะประกาศว่า “ อย่าเด้อสู!
“
อาหารของบึ้ง คือ แมลงต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง ตั๊กแตน จิ้งจก หรือ จิ้งเหลนขนาดเล็ก
จิ้งหรีด และแมลงอื่นๆ


วงจรชีวิต





บึ้งเป็นสัตว์ที่มีการเจริญเติบโตคล้ายกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ
การเจริญเติบโตแบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (ametabola, non-metamorphosis)
ตัวอ่อนจะมีลักษณะเหมือนตัวเต็มวัยทุกประการ เพียงแต่มีขนาดของร่างกายเล็กกว่าเท่านั้น
ตัวอ่อนจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ จนมีขนาดเท่าตัวเต็มวัย
วงจรเริ่มจากไข่ โยตัวเมียจะวางไข่ในหลุม ในรู หรือ รังของมัน โยการชักใย มัดไว้เป็นก้อน  
เริ่มวางไข่ เดือน พ.ค.- มิ.ย.
จะฟักเป็นตัวอ่อน ที่เกิดมามีรูปร่างเหมือนพ่อแม่ ทุกประการ แต่มีสีขาวคล้ายวุ้น
ช่วงนี้วงจรมีอายุประมาณ 1 เดือน
จากนั้นจะเจริญเติบโต เป็นแมงมุมขนาดเล็ก แยกออกจากรัง ไปใช้ชีวิตตามลำพัง  
เจริญเติบโตโดยลำดับ
จนกระทั่งมีอายุได้ 1 ปี จึงมีสำน้ำตาล    เมื่อเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย มีอายุได้ 3  ปี  จึงมีสีดำ และ สามารถทำรังได้




ความสัมพันธ์ ในแง่ วิถีชีวิตอีสาน

ชาวอีสานนับตั้งแต่ “ เด็กน้อยหัวถ่อหมากแข้ง”  จนถึงเฒ่าหัวหงอก  รู้จัก “ตัวบึ้ง” ดี  บางที่ เรียก “ อีบึ้ง”
เนื่องจาก ตามหัวไร่ปลายนามักจะพบเห็น รูบึ้ง อยู่เสมอ  มักจะหักเอากิ่งไม้เล็ก ๆ ล่อให้มันโผล่ออกมาจากรู
แล้วจับเอาไปทำเป็นอาหาร  เช่น ลาบบึ้ง, ป่นบึ้ง, จี่บึ้ง    
ตัวไหนที่ดื้อด้าน ไม่ยอมออกมา ก็จะขุดเอา แต่การจับต้องระวังหากถืก บึ้งกัด  อาจเจ็บปวดแสนสาหัส


ในแง่ความเชื่อ
  
หากพบเห็นบึ้ง ขึ้นเรือน ขึ้นเถียงนา หรือ ขึ้นคิงไฟ  ถือว่าเป็นรางบอกเหตุร้าย คนในบ้านอาจเจ็บไข้ได้ป่วย
เสียเงินเสียทอง คนในครอบครัวมีอันเป็นไป  ที่ร้ายแรงที่สุด  คือ “ บึ้งไต่หม้อนึ่ง”   คือ พบเห็นบึ้งไต่ตาม
หม้อนึ่งข้าวเหนียว ในครัว หรือ “คิงไฟ” ถือว่าเป็นรางร้ายสุด ๆ   ต้องรีบ ทำพิธี เสียเคราะห์ แต่งแก้

ในแง่แห่งโชคลาภ


แม้จะดูเหมือนเป็นสัตว์ที่นำไปสู่หนทางแห่งโชคร้าย  แต่ ในทางที่นำไปสู่โชคดีก็มีเช่นกัน
เช่นหากพบเห็น รูบึ้ง หันปากรูไปทางทิศตะวันออก  บึ้งตัวนั้นคือบึ้งนำโชค  สามารถขอหวยได้ พะนะ
การขอหวยจากบึ้ง  ที่ทำรังหันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ตอนเย็นให้ เขียน เลข 0 – 9 พร้อมเทียน 2 เล่ม
ดอกไม้ 1 คู่ ไปบอกกล่าวแก่บึ้ง จากนั้นวางม้วนกระดาษตัวเลขเล็ก ๆ ไว้รอบ รูบึ้ง
กลับมาดูอีกทีในตอนเช้า หากบึ้งคาบเลขตัวไหนเข้ารู  ก็ไปเสี่ยงดวงได้เลย  ถ้าถูก ก็เลี้ยงด้วย กระทงหวาน
หากไม่ถูก  ก็ ฟ้าวไปขุดบึ้งมาลาบใส่ก้านกล้วยได้เลย

ในแง่การพยากรณ์อากาศ

บึ้งมีประสาทสัมผัสที่แม่นยำ ในเรื่อง ความชื้นและ อุณหภูมิในอากาศ  จึงแม่นยำมากในการ ทำนายฟ้าฝน
วันไหนแดดจ้า..แต่บึ้งกลับ หาใบไม้มาถักปิดปากรู    วันนั้น หรือ คืนนั้นฝนตก ล้านเปอร์เซ็นต์
คนโบราณมักจะสังเกตธรรมชาติรอบตัว เพื่อรู้เท่าทันถึง  บึ้งไม่เคยทำนายพลาดสักครั้ง



ก้นบึ้ง

เมื่อพิจารณาแล้ว จะเห็นว่า"ตัวบึ้ง" เกี่ยวพันกับชีวิตลูกอีสานอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะ วิถีท้องนา
ยามหิวเป็นอาหารได้  ตามอับโชค ก็เป็นที่พึ่งได้ แม้ยามไม่มั่นใจในลมฟ้าอากาศ ตัวบึ้ง ยังให้คำตอบ
ยามมีภัยเล่า บึ้ง ยังเป็นลางสังหรณ์ เตือนล่วงหน้า ถึงเภทภัย

จะมีมิตรที่ไหน เอื้อเฟื้อวิถีชีวิตลูกอีสานไดเท่านี้  บึ้งจึงไม่ใช่แค่ แมลง หรือ แมง ร่วมโลก
หากแต่หยั่งรากฝังลึก ในความทรงจำของ ลูกอีสานหลายคน ดั่งตกลงใน ก้นบึ้งแห่งสำนึก
เมื่อใดที่บึ้ง หายไปจาก ท้องทุ่ง  เมื่อนั้นวิถีเราก็อาจเปลี่ยนก็ได้
จึงอยากขอให้ ละเว้น บึ้ง บ้าง  เพื่อดำรงค์อยู่ ชั่วลูกหลาน
อย่าให้ความอยาก มีอำนาจเหนือ จริตสำนึก  จนหลงลืมว่า
เฮาก็คือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ  จนทำลายมารดาแห่งชีวิตผู้โอบอ้อม
เฮาคือคนอีสาน  ที่เติบโตจากผืนดิน ทุ่งนา ป่าโคก แมลง และ สัตว์อื่นๆ ในวิถี  

ขอขอบคุณ ทุกภาพ และ ข้อมูลที่จำเป็น บางอย่าง จาก อินเตอร์เน็ต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1156 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  30 พ.ค. 2554 เวลา 11:43:00  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่165) แมงเงา (อำมาตย์ดำดิน)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 




ชื่อพื้นบ้าน แมงเงา(อีสาน) แมงเวา( เหนือ)  แมงป่องช้าง(กลาง)  ( อำมาตย์ดำ)
ชื่อสามัญ:Giant scorpion
ชื่อวิทยาศาสตร์: Heterometrus sp.
ชื่อวงศ์: Scorpionidae
ลักษณะทั่วไป  
          แมงเงาเป็นสัตว์มี ลำตัวเป็นปล้อง มีขาจำนวน 8 ขาอวัยวะที่โดดเด่น คือ "ก้ามใหญ่" (pedipalps)
ลำตัวประกอบด้วยปล้อง 7 ปล้อง    สีดำตับหมัด  แมงเงามีตา แต่มีประสิทธิภาพการมองเห็นต่ำมาก
ไม่ไวต่อแสง แม้มีข้อด้อย เรื่อง”สายตาบ่ค่อยเห็นหุ่ง” แต่ก็มีสิ่งทดแทนนั่นคือ “ขน” ทั่วตัวแมงป่อง
ปกคลุมด้วยเส้นขนนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะบริเวณปล้องพิษ หรือปล้อง “ไล”
ขนเหล่านี้รับความรู้สึกจากเสียงมาก รับรู้จึงเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ รอบตัว เมื่อมีเหยื่อหรือศัตรูเข้ามาใกล้



ภาพจาก อินเตอร์เน็ต

อาหารของแมงเงา
         ได้แก่ พวกสัตว์ตัวเล็กๆ เช่น แมงมุม กิ้งกือ หนอน และแมลงอื่นๆ โดยจะกินขณะที่เหยื่อยังไม่ตาย
แมงเงาจะใช้ก้ามจับเหยื่อก่อนแล้วใช้หางที่มีเหล็กไนต่อยเหยื่ออย่างรวดเร็ว
ซ้ำหลายๆ ครั้ง จนกระทั่งเหยื่อตายแมงเงาจึงจะใช้ก้าม ตัดอาหารออกเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนที่จะกิน

ชีววิทยาของแมงเงา
        แมงเงาจะตั้งท้องนานประมาณ 7 เดือน จากนั้นจะออกลูกออกมาเป็นตัวในช่วงเดือนพฤษภาคม
ถึงสิงหาคม ช่วงฤดูฝนที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์
         ก่อนตกลูก แม่แมงป่องจะซ่อนตัวในที่ปลอดภัย ลูกแมงป่องเกิดใหม่จะคลานไปมาบริเวณ
ใต้ท้องแม่   แมงเงาตกลูกครั้งละประมาณ 7-28 ตัว
ลูกแมงป่องเกิดใหม่จะปีนขึ้นไปเกาะกลุ่มเป็นก้อนสีขาวยั้วเยี้ยบนหลังแม่แมงป่อง
ซึ่งระยะนี้แม่แมงป่องจะกินอาหารและน้ำน้อยมาก และไม่เคลื่อนย้ายไปไหนหากไม่จำเป็น        
ลูกแมงป่องช้างแรกเกิดมีสีขาวล้วน ยกเว้นตาที่เป็นจุดดำสองจุด  ใช้เวลา 2 สัปดาห์
จึงออกจากหลังแม่ลงสู่พื้นดิน
หลังจากที่ลงสู่พื้นดิน ลูกแมงป่องช้างแต่ละตัวมีอัตราการเจริญเติบโตไม่เท่ากัน
มีการลอกคราบเพื่อการเจริญเติบโต 7 ครั้ง ช่วงนี้เป็นช่วงที่อ่อนแอ
และมีโอกาสถูกจับกินได้ง่ายทั้งจากผู้ล่าอื่น  และจากการกินพวกเดียวกันเอง




ภาพแสดง การลอกคราบของแมงเงา จนถึงเติบโตเต็มวัย  ( ภาพจาก กูลเกิล)

การเจริญเติบโตตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นตัวเต็มวัยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี จึงจับคู่ผสมพันธุ์ ออกลูกปีละครั้ง
และในช่วงชีวิตหนึ่งมีลูกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง แมงป่องช้างเป็นพวกที่ชอบขุดรูอยู่ใต้ดินหรือตามใต้ขอนไม้
โดยในโพรงพบว่ามีการเลี้ยงดูลูกในแต่ละรุ่นเป็นระยะเวลายาวนาน 1-2 ปี ในโพรงจึงพบลูกหลายๆ รุ่นอยู่ด้วยกัน
เรียกว่าพฤติกรรมการอยู่รวมกันแบบกึ่งสังคม (Advanced sub social behavior)
พฤติกรรมที่น่าสนใจของแมงป่องคือการเลี้ยงดูลูก เช่นพบพฤติกรรมการป้อนน้ำให้ลูกของแมงเงาภายนอกโพรง
ใกล้ๆบริเวณปากรู แม่ช่วยจับเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ให้ลูก อีกทั้งป้องกันอันตรายให้ลูก



ภาพลูกแมงเงา อยู่บนหลังแม่ (ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
ศัตรูตามธรรมชาติ ได้แก่   

ไก่แม่ลูกอ่อน   นกกด (นกกระปูด)  แหลวหอน ( เหยี่ยวนกเค้า)  คันคาก (คางคก)
        แมงเงาพวกเดียวกันเอง   อีเห็น  พังพอน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแมงป่อง
• แมงป่องทุกชนิดมีพิษ เป็นสารประกอบพวกโปรตีน แต่ละชนิดมีความรุนแรงของพิษแตกต่างกัน
• แมงป่องใช้พิษเพื่อทำให้เหยื่อมีอาการเป็นอัมพาต แล้วจึงค่อยๆ กินเหยื่อเป็นอาหาร
แมงป่องจึงเป็นผู้ล่าที่สำคัญต่อระบบนิเวศ ช่วยควบคุมจำนวนของเหยื่อได้แก่ แมลง
และสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กๆ
• ปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับพิษของแมงป่องเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น
ใช้พิษแมงป่องฆ่าเซลล์มะเร็ง
• แมงป่องบางชนิด เช่น แมงป่องช้าง ถูกนำมาบริโภคเป็นอาหารและด้วยความเชื่อในเรื่องสรรพคุณทางยา
เช่น ยาโด๊บ  การรักษาโรคอัมพาต เป็นต้น


ภาพแมงเงายักษ์ ที่พระธาตุดอยเวา ( ดอยแมงเวา)  ภาคเหนือ เขาเรียกว่า แมงเวาเด้อ

ภาพจาก กูลเกิล

อื่นๆ
แมงเงาเป็นเงา เป็นแมลงที่มีพิษ หาถูกรุกราน   จะตอดเอาได้ อาการเมื่อถูก “ตอด”
คือ  เจ็บแสบ  มึนชา บวมแดงรู้สึก มึน ยาบๆ  มึนฮอด “ฝีสบ”  
บางรายแพ้พิษ ไข้แตกออก  ร้อนๆหนาวๆ  

 
 
สาธุการบทความนี้ : 668 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  09 ก.พ. 2555 เวลา 10:51:37  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่167) มดง่าม  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 


ชื่อพื้นเมือง   มดง่าม   มดแง่ม   มดง่ามทุ่ง
ชื่อสามัญ  Pheidole jeton driversus
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pheidole sp.
วงศ์               Formicidae
อันดับ        Hymenoptera
ก่อนอื่นขอเกริ่นให้ฟังก่อน  เนื่องจากแมง มดง่าม อันนี้ กระผมต้องใช้เวลาในการหาข้อมูล
นานพอควร หรือ ภาษาอีสานว่า “ เหิงเติบ”   เพราะว่า ข้อมูลส่วนใหญ่ เป็นภาษาอังกฤษ  การบันทึก
ข้อมูลเกี่ยวกับ มดง่าม เป็นภาษาไทยมีน้อย  อนึ่งไผเห็นแมงอันนี้ กะ เทน้ำฮ้อนลวกฮัง จนตาย “เสี่ยง”
เมื่อศึกษาอย่างจริงๆแล้ว จึงทราบง่า มดง่าม หรือ แมลงจำพวกมด น่าสนใจกว่าสัตว์ชนิดอื่นเอามากๆ
หลายอย่างที่เราไม่รู้ มองข้าม ประเมินสัตว์ประเภทนี้ต่ำกว่าที่เป็นจริง  อีกอย่างเพราะการทระนงตัว
ปัญญาสูง และมีกำลังกว่า จึงคิดว่ามด เป็นสัตว์กระจ้อยร้อย   เมื่อพิจารณาแล้ว  
ตกใจเกินจินตนาการ  มาลองอ่านดู จะพบความอัศจรรย์ ของแมง ประเภทนี้


มดจัดเป็นแมลงสังคมชั้นสูง  (Eusocial insect)   มีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร และสายใยอาหาร
อยู่ในอันดับ Hymenoptera กลุ่มเดียวกับ ต่อ แตน  วงศ์ Formicidae  ลักษณะเด่นคือ
ลำตัวออกเป็น 3 ส่วนเห็นได้ชัดเจนคือ หัว (head)  อก (thorax) และท้อง (abdomen)
ในแต่ละส่วนก็จะประกอบด้วยอวัยวะที่สำคัญ เช่น
ส่วนหัว ประกอบด้วย ตาเดี่ยว (ocelli) โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ตา อยู่เหนือตารวมขึ้นไป มักพบในเพศผู้และราชินี
หนวด (antenna) เป็นแบบหักข้อศอก มี 4 - 12 ปล้อง ส่วนมากมี 12 ปล้อง ทำหน้าที่รับความรู้สึก  
และการสื่อสาร
     หนวด จำนวน 4 – 12 ปล้องในเพศเมีย
     และ หนวด 9 – 13 ปล้องในเพศผู้   มดงานมีหนวดจำนวน 12 ปล้อง
มีปากแบบกัดกิน  (chewing type)  
มดง่ามไม่มีเหล็กใน (มดส่วนใหญ่หลายชนิดมีเหล็กใน)
อาวุธที่ร้านกาจของมัน มีเพียง ง่ามปากกัด ที่ขบกัด ที่แข็งแรงกว่ามดอื่น  พิษของมันอยู่ที่คมกราม ทำให้เกิด
อาการเจ็บคัน และ ชา เป็นผื่น


รังมดง่าม ประกอบไปด้วย  วรรณะของมด ดังนี้

1 ราชินี  (Queen) ทำหน้าที่วางไข่ และทำหน้าที่ควบคุมจำนวนประชาการของมดในรังให้เข้ากับสถานการณ์
2 มดเพศผู้ มีขนาดเท่ากับมดงาน หรือเล็กกว่า มีหัวเล็ก มีตาเดี่ยว มีหนวดสั้นมาก  มีปีก 2 คู่
มดเพศผู้มีหน้าที่ผสมพันธุ์ กับ มด  ธิดาราชินี (มดเพศเมีย)   ในฤดูผสมพันธุ์
3 เป็นมดเพศเมีย รูปร่างโตกว่ามดปกติทั่งไปภายในรัง มีปีก 2 คู่  ก้นใหญ่  หรือ “ดากต่ง”
      มีหน้าที่ ผสมพันธุ์และขยายอาณาจักร ในฤดูผสมพันธุ์
4 มดงาน (Minor worker) ซึ่งเป็นมดไร้เพศ ไม่สามารถผมพันธุ์ได้  ทำหน้าที่หาอาหาร ปกป้องรัง
และเป็นพลพรรคหลักในการสร้างอาณาจักร
5 มดพยาบาล มีลำตัวเล็กกว่ามดในรังทั้งหมด  เป็นมดไร้เพศ ไม่ออกหากิน แต่ทำหน้าที่ ดูแลไข่
       และนางพญา ป้อนอาหาร นางพญาและ ตัวอ่อนภายในรัง
6  มดทหาร ( Major  Worker)  มีลักษณะ หัวใหญ่ตัวใหญ่ มีกรามขนาด มโหฬาร  เป็นมดไร้เพศ  
ทำหน้าที่เป็นทหาร ดูแลรังดูแลพลพรรคมดงาน  เป็นอาวุธเด็ด กำลังรบหลัก ของรัง



ภาพ วรรณะต่าง ๆ ของมดง่าม ภายในรัง


ความรู้ทั่วไป
มดในโลกใบนี้ มีราว 12,000 ชนิด มดกำเนิดขึ้นมาในโลก 140 ล้านปีมาแล้ว
ในขณะที่มนุษย์เพิ่งมีปรากฏขึ้นในโลกนี้เพียง  1 แสนปีมานี่เอง   มดไม่ฉลาด แต่ฝูงมดต่างหากที่ฉลาด
มดเพียงตัวเดียวอาจเป็น “บักปึกกะหลึม “ ตัวจิ๋ว แต่เมื่ออยู่รวมกัน ฝูงมดสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์แวดล้อมได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ฉลาดล้ำที่เรียกว่า   ปัญญารวมฝูง (swarm intelligence)


หลักการสำคัญในการรวมฝูงของมดง่าม คือการไม่มีผู้นำ ไม่มีหัวหน้าคอยสั่งการมดงาน
มดราชินีไม่มีบทบาทอะไรนอกจากวางไข่ กำหนดจำนวนประชากร แม้จะมีสมาชิกถึงห้าแสนตัว
แต่ฝูงมดก็ยังทำงานได้อย่างราบรื่นโดยไม่มีการจัดการใดๆ ไม่มีแม้กระทั่งความขัดแย้ง
การดำเนินการต่างๆขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างมดแต่ละตัว นักวิทยาศาสตร์เรียกระบบนี้ว่า
การจัดการภายในตัวเอง (self-organizing)
มดง่าม จึงจัดได้ว่า เป็นสัตว์สังคมเช่นเดียวกับมนุษย์  แต่ประสบความสำเร็จ ยิ่งยวดกว่ามนุษย์
ในการอยู่รวมกับแบบฝูง แบบเทียบไม่ติด  
ขงจื้อ ปราชญ์ ที่ยิ่งใหญ่ชาวจีน กล่าวไว้ว่า  
“ การปกครองที่ประเสริฐสุด คือการอยู่โดยไม่ปกครอง”
คาดว่า ขงจื้อคงนั่งสังเกต “ขวยมดง่าม หรือ ขวยมดแง่ม “  นี่เองจึงแจ้งแจ่มในกมล


ภาพ ราชินีมดง่ามแสนสวย

พฤติกรรมโดยทั่วไป ของมดง่าม

มดง่ามเป็นมด ในตระกูล Pheidole มีการกระจายตัวในระบบนิเวศป่าเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน
แหล่งที่อาศัยส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติ (natural forest)หรือป่าขั้นทดแทน
(secondary forest) มีบางชนิดทำรังอาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมหรือใกล้บ้านเรือน
สถานที่ทำรังมีหลากรูปแบบ ได้แก่ ใต้พื้นดิน ใต้ใบไม้ผุ กิ่งไม้ผุ ขอนไม้ผุ ใต้ก้อนหิน
กระจายบริเวณผืนป่าทั่วไป   รวมทั้งพื้นเปิดโล่ง หรือ “เดิ่นดอน”  ในภาษาอีสาน
นอกจากนี้ยังมีการสร้างรังในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น สร้างรังในขอนไม้ผุช่วยทำให้ขอนไม้ผุเร็วขึ้น
สร้างรังในดินมีส่วนช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนมีผลในการส่งเสริมการหมุนเวียน
ของธาตุอาหารได้ดีขึ้น
มดง่ามทุ่ง พบเห็นได้ตาม ภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลางบางแห่ง

การสร้างรัง
มดง่าม เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ เหล่ามดธิดาราชินี หรือ มดเพศเมีย ที่มีปีก  และมดเพศผู้ที่มีปีก จะออกจากรัง
และบินขึ้นไปผสมพันธุ์กันกลางอากาศ  เอิ้นว่า “ วิวาห์เหาะ “   ส่วนใหญ่ฤดูผสมพันธุ์คือ ช่วง เมษายนจนถึงเดือน
พฤษภาคม หลังจากผสมพันธุ์เสร็จ มดเพศผู้จะตายลง “เบิ๊ดเวียก “   สำหรับมดเพศเมีย
จะเก็บน้ำเชื้อไว้ในท้อง หรือ ส่วน (spermatheca) ให้มากที่สุด จากนั้นจะสลัดปีก
พเนจรหาแหล่งที่ทำรังแห่งใหม่ เพื่อสร้างอาณาจักรของตน   ช่วงนี้เป็นช่วงที่อ่อนแอที่สุดของมดง่าม
เนื่องจากเป็นที่หมายปองของ สัตว์ต่าง ๆ ที่จ้องกิน “ราชินีไร้บัลลังก์”  เช่น “ กะปอม “ ขี้โกะ “
และนกสารพัด  อื่นๆ มากมาย



ภาพรังมดง่าม

เมื่อ”ราชินีไร้บัลลังก์” เหล่านี้ รอดพ้นพญามัจจุราชมาได้แล้ว จะเร่งเสาะหา  ตอไม้ ,โพรงใต้ดิน
หรือ สุมทุมพุ่มไม้ที่ปลอดภัย   แทรกตัวเข้าหลบภัย
จากนั้นจะออกไข่ก่อน  2 ฟอง เป็นไข่รุ่นแรก มีลักษณะขุ่น ๆ เล็ก ๆ   มันจะ กินไข่ตัวเองเพื่อ
เป็นอาหารเพื่อให้มีเรี่ยวแรง   ( มดราชินีหากินเองไม่ได้  ต้องกินไข่ตัวเองก่อน )    

ไข่ในชุดที่ 2   ออกไข่ 4 ฟอง   ฟักเป็นมดงาน  ไม่ค่อยสมบูรณ์ และยังปัญญาอ่อนเล็กน้อย
เธอจึงกินลูกมด 1 ตัว   และให้มดงาน 2 ตัวกิน น้องสุดท้อง1 ตัวเป็นอาหาร เพื่อเป็นพลังงาน
จากนั้นมดงาน 2 ตัวจะทำการออกหาเหยื่อ หรือเมล็ดพืชต่างๆ มาให้ ราชินีกินเป็นอาหาร
เมื่อพอมีอาหารประทังท้องบ้างแล้ว ราชินีมดง่าม จึงออกไข่ ชุดที่ 3 มีจำนวน  8 ฟอง
พวกมันกินกันเอง เหลือรอด 4 ตัว ช่วยกันขุดดินทำรังและหาอาหาร
กลยุทธ์แบบนี้ เรียกว่า “ เดินหน้า 1 ก้าว ถอยหลัง2 ก้าว “ ปานว่า วิชาหมัดเมา ของเฉินหลง



เธอทำแบบนี้เรื่อยๆ จนกระทั่ง มีจำนวนสมาชิกในรังจำนวนหนึ่ง เพียงพอเพื่อหาอาหารเลี้ยงมดรุ่นถัดไป
เธอจะเลิกกินลูกตัวเอง และวางไข่รุ่นต่อมา  จนกระทั่งประชากรในรังมีขนาดใหญ่ขึ้น
ราชินีมดจึง เริ่มออกไข่ ต่างประเภท เพื่อประโยชน์ต่อการ สร้างเมือง
เช่น ออกไข่ มดพยาบาล ออกไข่ มดทหาร  เป็นต้น  เมื่อมีปะชากรมากแล้ว มดงานจะย้ายราชินี ลงใต้ดิน
ให้ลึกพอในที่ปลอดภัย  สร้าง”ห้องประมุข” ให้สมเกียรติ  ราชินีใหม่ ในฐานะ “ราณีแห่งมด” และออกไข่
เป็น มดทหาร สถาปนา เมืองใหม่  สร้าง ฟีโรโมน อันเป็นเฉพาะรัง

( ตามจินตนาการของผู้เขียน คิดว่า การสร้าง ฟีโรโมนเฉพาะรังของราชินี เป็นการตั้งชื่อ ตัวเองและ
เมืองของตน เช่น “ ปูฆาน”   เมืองแห่งกลิ่นปู เพราะการตั้งรกรากครั้งแรก  มดงานนำเนื้อปูมาให้ราชินี
เมือง “ ตอแดงเนิ้งเวหาท “  เมืองนี้ตั้งอยู่ใต้ตอต้นแดง เป็นต้น    )
เมื่อเมืองแห่งมดมั่นคงแล้ว  มดง่ามจะส่ง “ทูต” หรือกลุ่มมดงาน ตามหารังแม่ เพื่อแจ้งตำแหน่ง
นครของตนให้กับ อาณาใหญ่จักรทราบ  
ตามที่ผู้เขียนเคยสังเกต “ขวยมดง่าม”  พบว่า แต่ละรังย่อยๆ มีการเดินแถวต่อต่อสื่อสารกัน
จนถึง รังขนาดใหญ่มาก    อาจกินเนื้อที่ได้ร่วม 2 กิโล  พออนุมานได้ว่า  อาณาจักรนี้  มีเนื้อที่เท่าใด
มีรังย่อยเท่าไร  รังใหญ่ที่เป็น “มหาจักรพรรดินี “ เพียงรังเดียว ซึ่งอาจมีอายุได้ 10 ปี
และมีนครย่อยทั้งหมด  60 รัง ทั้งหมดเป็น สหพันธุ์เดียวกัน
หลังจากภายในรังมีประชากรมดงานมากพอสมควร มดราชินีจึงจะผลิตมดวรรณะสืบพันธุ์เพื่อ
ออกไปสร้างรังต่อไป




ภาพ ฝรั่ง กำลังศึกษาโครงสร้างของรังมด และทึ่งในสถาปัตยกรรม  ( ใครว่ามดโง่)

การออกหาอาหาร
โดยทั่วไป มดง่าม จะจัดหน่วย “ จรยุทธ์” ประกอบด้วย มดทหาร (มดหัวโป) จำนวน 5 ตัว
และมดงานอีกประมาณ 30 ตัว  เพื่อลาดตะเวนหาอาหาร เมื่อพบอาหาร เช่น ใบไม้
เมล็ดพืช หรือตัวหนอน ก็จะขนกลับรัง หากอาหารมีปริมาณมากเกินขีดความสามารถ
ก็จะแจ้งพลพรรค ให้มาขนกันเป็นขบวน   ถึงขนาด สร้างถนนเป็น “ไฮเวย์” หรือทางด่วน



ภาพทางเดินของมดง่าม

มดง่ามจะขนของเป็นทาง เป็นแถว เป็นระเบียบ ไม่ ขนไปมั่วแบบกระจาย
ทุกริ้วขบวนการขน มักมี มดทหารคอยดูแลความปลอดภัย และทำหน้าที่บรรทุกมดงาน
มดทหาร จึงเป็นเสมือน รถถัง และรถบรรทุกในคราเดียวกัน
มดนั้นเป็นสัตว์ทรงพลัง มดสามารถยกของหนัก ได้ 50 เท่า จากน้ำหนักของตัวมัน
ลองนึกภาพว่า “ท่านคูบาต้องแล่ง” สามารถยก รถปิ๊กอัพ ได้มือสองข้างเบิ่ง




มดง่าม ไม่กินน้ำหวาน หรือน้ำตาล  อาหารหลักของมันคือ เมล็ดพืช และซากสัตว์
ในการสะสมอาหาร  มดง่ามจะขนอาหารเพื่อสะสมไว้กินในหน้าแล้งอย่างบ้าคลั่ง
เมื่อเข้าสู่ห้วง ปลายหน้าฝนจนถึงต้นหน้าหนาว  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วตรงกับ ฤดูการเก็บเกี่ยว
มันจะสะสมอาหารไว้ในโพรงได้ดิน เพื่อให้มั่นใจว่าจะอยู่รอดตลอดจนถึงฤดูฝนปีหน้า
มดเป็นนักวางกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดยิ่งยวด



พฤติกรรมอื่นที่เราคาดไม่ถึง
มดสายลับ  
นอกเหนือจาก มดวรรณะต่างๆ ภายในรังของมดง่าม  ที่กล่าวมาในขั้นต้น
มดง่ามยังแอบขโมยไข่ของมดชนิดอื่นมาเลี้ยง  เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมดต่างชนิด
หรือเพื่อ ล้วงความลับจาก รังมดชนิดอื่น เสมือนรู้เขารู้เรา   เช่น มดแดงทราย  มดคัน
มดดำ มดไว เป็นต้น  มดต่างสายพันธุ์ที่ถูกเลี้ยงจากรังมดง่ามเหล่านี้ เพื่อเป็น สายลับ
และสืบหาแหล่งข้อมูลรับมือ มดต่างชนิดที่จะมารุกรานรังของมัน

มดเกษตรกรรม
ใครที่นึกว่า มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่ รู้จักการปลูกพืชไว้เป็นอาหารหละก็  คิดผิดครับ
มดนั้นมีประวัติศาสตร์ยาวนานมากกว่ามนุษย์  จาการที่กระผม “ หาเลาะขุดขี้ไก่เดียน”
หรือขุดไส้เดือนมาเพื่อเป็นเหยื่อใส่เบ็ดกบ   มีหลายครั้งที่ผม ขุดรังมดง่าม ด้วยความอยากรู้
ภายในรังใต้ดินของมัน มีโพรงที่ปลูก เห็ดรา สีขาวและ เขียวเทาเล็ก ๆ    ไว้เพื่อเป็นอาหาร
เพราะว่า ในฤดูฝนนั้น  เมล็ดพันธุ์ของพืชยังไม่สุก หรือ มีเพียงพอให้กินเป็นอาหาร
อีกทั้งยังมีน้ำฝนไหลหลาก ทั่วป่าโคกแต่ เดิ่นดอน  จึงเป็นการลำบากในการหากิน
มดง่ามจึงหาเชื้อเห็ดรา เหล่านี้ มาปลูกไว้กินในรัง   รอฤดูเมล็ดพืชสุกงอม



การสื่อสารของมดง่าม

การติดต่อสื่อสารระหว่างมดด้วยกัน ส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีที่ผลิตขึ้นมา สารเคมีชนิดนี้ เรียกว่า” ฟีโรโมน”
เป็นสารเคมีที่สำคัญมากที่สุด ฟีโรมนของมด มีหลายชนิดตามการใช้งาน

เช่น ฟีโรมนบอกทาง สามารถค้นหาอาหารเจอ
ฟีโรโมนเตือนภัย เอาไว้บอกเพื่อนถึงอันตราย
ฟีโรมนผสมพันธุ์  มีเฉพาะมดมีเพศ
ฟีโรโมนประจำรัง  เอาไว้บอกว่าเป็นพวกจากรังเดียวกัน
ฟีโรโมน อาณาจักร  เอาไว้บอกความเป็นพวกของ สหพันธุ์เครือญาติของรังที่เป็นอาณาจักรเดียวกัน

    มดยังมีการสื่อสารอีกชนิดคือการใช้หนวด
จะเห็นอยู่เป็นประจำในลักษณะที่เรียกว่า “ แปะหนวด “ ในความเห็นส่วนตัว กระผมขอเรียก
การสื่อสารแบบนี้ว่า “ 12 G “ เพราะมันใช้หนวดทั้ง 12 ปล้องของมัน ในการถ่ายทอดข้อมูล
แต่ละตัวเมื่อพบกันตามทางเดิน จะเคลื่อนไหวหนวดป่ายแปะ
เพื่อแตะสัมผัสปล้องหนวดของกันและกัน เรียกว่า “ การซุนคิง “
“โบราณว่า  สิบหูฟังหรือจะสู้ตาดู  สิบตาดูหรือจะสู้สัมผัสเอง”
ยกตัวอย่าง โทรศัพท์มือถือ 3 G   เราโทรหากิ๊ก  เห็นภาพและได้ยินเสียง นึกว่าประเสริฐแล้ว
ลองนึกภาพหากเราได้กลิ่นและสัมผัสด้วยอย่างมดบ้างสิ พี่น้อง  อยากจะบอกว่า 3 G  ของท่าน
“โยนลง บวกควายนอน” ได้เลย

คิดว่ามนุษย์ ผลิตเทคโนโลยี่เป็นสุดยอดของการสื่อสารของโลกแล้ว ต้องคิดใหม่
3 G ดาวน์โหลด โน่นนี่  ภาพเสียง  เอกสารข้อมูล หนัง MV   หรือแม้แต่ เกมส์  Angry Birds
เกมส์ฮิต  หนังสติ๊กยิงนกตายเป็นเบือ

มดง่ามใช้เวลา 3 วินาที ในการ “ซุนคิง” ข้อมูลและประสบการณ์มากมายถูกส่งผ่านกันและกัน
(ตัวอย่าง การสื่อสารของมดง่ามในแถวคันนา ไฮ่กกหว้า  แปลเป็นภาษามนุษย์ ทั้งหมดเกิดขึ้นเพียง 3 วินาที )
“ สวัสดี ฉันคือ หมายเลข 114562 ( หมายเลขที่ตกไข่)
“สวัสดี ฉันคือ หมายเลข 5006
ว่าแล้วทั้งสองก็เอาหนวดแปะกัน   ข้อมูลเส้นทาง  อาหารคือหอยโข่งนอนหงายสิ้นใจ
รสชาติ กลิ่น  ปริมาณ  จำนวนของมดที่กำลังขนเนื้อหอยอยู่  สถานการณ์รอบด้าน
ระวัง 100 เมตรจากตรงนี้ไป มีเด็กมนุษย์เพศผู้ กำลังสร้างคลื่น “ซึนามิ” ใส่แถวมด
ภาพเสียงกลิ่นรส สัมผัส ประสบการณ์ส่งตรงถึงอีกฝ่ายเสมือนเข้าร่วมเหตุการณ์นั้นจริงๆ
ดั่งการฝังความทรงจำสู่อีกฝ่าย  จนผู้รับรู้ข้อมูล ขาสั่นๆ เพราะความกลัว ซึนามิต้องแล่ง


จากนั้น 114562 ไดแบ่งปัน M 150  เครื่องดื่มที่เป็นอาหารชั้นยอดของ “เมืองปูฆาน”
ให้แก่ 5006 ขบวนการนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนของเหลว ที่อยู่ในกระเพาะด้านหน้า
ระหว่างพลมดด้วยกัน และ อาคันตุกะ  แล้วก็ผละจากกันไปทำหน้าที่ต่อ    


ความเกี่ยวเนื่องของมดง่าม ในวิถีชีวิตชาวอีสาน

มดง่ามนั้น ในหน้าฝน ไม่ค่อยรุกราน ชาวไร่ ชาวนาผู้นอนนา เท่าใดนัก  แต่เมื่อเข้าปลายฝน
ข้าวในนาสุก หรือ ลงลานข้าวแล้ว มดง่ามคือ ผู้ขน  มักขนเม็ดข้าวไปสะสมในรวงรัง
และทำหน้าที่ เก็บซากสัตว์ที่ตายในตอนต้นหน้าแล้ง เช่น ขี้ไก่เดียนตายแดด ซากแมงไม้
ซากปลาข่อน  หรืออื่นๆ  ให้สะอาด และเป็นการ หมุนเวียนธาตุอาหารในดิน
ไม่ปรากฏว่า มดง่ามทำลายนาข้าว หรือผลผลิตจนถึงขั้นเสียหาย  บทบาทในห่วงโซ่อาหาร
ที่เฮาอาจไม่รู้เห็น   อาจจะรำคาญบ้าง สำหรับผู้ นอนนา  เพราะมันเจาะอันนั้นอันนี้
บางครั้งก็ “ขบ”ฮอดในซ่งเสื้อ   ส่วนมากคนเฒ่าคนแก่  เพิ่นเอา ขี้เถ้าไปถมฮังมัน
มันก็จะ ย้ายหนี  หรือ เอาขี้เถ้าไปโรย ป้องกันการเข้ามาไต่ตอมของมดง่าม

บางครั้งชาวอีสานอาศัยมดง่าม หรือ มดแง่ม  ในการทำนายฟ้าฝน  เช่นเห็นมดขนไข่ขึ้นที่สูง
ไม่เกิน 2 วัน  ฝนตกแน่   มดเดินแถวกัน ตามเดิ่นโล่งแจ้ง มากผิดปกติ  แสดงว่า
“ฝนขาด” แล้ว  



มดง่าม มีความสามัคคี น้ำหนึ่งใจเดียวกัน  กล้าหาญ เสียสละ แบ่งปัน  ขยันขันแข็ง
ถ่อมตัว มีเจตคติเพื่อส่วนรวมอย่างยิ่งยวด ไม่เห็นแก่ตัว จึงทำให้สังคมของมด
เป็นสังคมที่ประสบผลสำเร็จสมบูรณ์ ไร้ความวุ่นวายขัดแย้ง  
จึงน่าควรศึกษาวิถีสังคมของมดเพื่อมาปรับใช้ในสังคม ให้เจริญก้าวหน้า  
ไม่ใช่แค่มองเห็นเป็นเพียง แมลงตัวน้อยๆธรรมดา

สังคมบ้านนอกอีสานแต่เก่าก่อน ขยันขันแข็ง แบ่งปัน เสียสละ ถ่อมตน และสามัคคีกัน
อีกอย่างคนอีสานสมัยก่อน มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์   และคุณธรรม มีธรรมะในใจ
เฮาเขาใกล้ความสำเร็จทางสังคมแล้ว แต่เฮาลืมกำพืดเอง ละทิ้งหลงลืม

ด้วยความเคารพ    ปิ่นลม
ขอบคุณทุกภาพ จาก เวบไซต์ ต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1212 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  15 ก.พ. 2555 เวลา 15:20:13  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่172) จิ๊ดโป่ม  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 



ชื่อพื้นเมือง จิดโป่ม จิ๊หล่อ (อีสาน)  จิ้งกุ่ง (เหนือ)  จิ้งโกร่ง (กลาง)
ชื่อสามัญ  Cricket
วิทยาศาสตร์ว่า Brachytrupes portentosus
ลำดับ(order )  Orthoptera
วงศ์  (Family)   Gyllidae

จิดโป่ม เป็นแมลงในวงศ์ จิ้งหรีดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  แต่ครายังน้อย เคยเข้าใจว่า
เป็นสัตว์ในวงศ์ มดX supper one (พะนะ)  แต่นักวิทยาศาสตร์จัดมันอยู่ในประเภทเดียวกันกับ ตั๊กแตน
แรงดีดจากขาโต้ย (ต้นขา) แรงกว่าตั๊กแตน 2 เท่า ประมาณว่าหากมันเป็นมนุษย์
จะกระโดดไกลได้ 20 เมตร

ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาวประมาณ ๔.๕ เซนติเมตรไม่รวมรยางค์ที่ปลายท้องและปีกคู่หลังที่ยื่นยาวออกไป
ส่วนอกกว้างที่สุดประมาณ ๑.๔ เซนติเมตร สีน้ำตาลตลอดทั้งตัว ทั้งสองเพศมีอวัยวะในการฟังเสียง
อยู่ที่โคน( tibia)ด้านนอกเป็นวงบุ๋มลงไป เพศผู้มีปีกคู่หน้าขรุขระซึ่งมีแผ่นที่ทำเสียงที่เรียกว่า ไฟล (file)
อยู่เกือบกึ่งกลางปีก และ สะแครบเปอร์ (scrapers) อยู่ที่มุมปีกด้านหลัง มีตุ่มทำเสียง (pegs)
เรียงตัวกันอยู่ที่ขอบของแผ่นทั้งสอง



จิ๊ดโป่ม มีจุดเด่นที่การร้องลำทำเพลง ทำให้เกิดเสียง เรียกว่าการ “ฮ้อง” แต่จริงๆ แล้ว

การเกิดเสียงจะเป็นการเสียดสีกันอย่างรวดเร็วโดยของปีกข้างหนึ่งเสียดสีกับ สะแครบเปอร์ของปีกอีกข้างหนึ่ง
อย่างรวดเร็ว เพศเมียไม่มีอวัยวะในการทำเสียงดังกล่าว ปีกจึงมีลักษณะเรียบ
แต่ปลายท้องมีอวัยวะในการวางไข่รูปเข็มค่อนข้างยาวยื่นออกมาซางไม่พบในเพศผู้
แมลงชนิดนี้จัดเป็นอาหารเสริมรสเลิศของบางคนในชนบท โดยเฉพาะในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ



วงจรชีวิต
โดยปกติ จิดโป่มมีอายุโดยเฉลี่ย  330 วัน  ตัวเมียอายุยืนกว่าตัวผู้   ตัวเมียตัวหนึ่ง วางไข่ได้
โดยเฉลี่ย  120 ฟองจากตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัย ใช้เวลา 87 วัน  หาอยู่หากิน 180 วัน ที่เหลือ
คือการ ทำรัง (ขุดรู) และสืบพันธุ์



การจับคู่ผสมพันธุ์
ตัวเต็มวัยอยู่ในช่วงเดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน ( ฤดูหนาว ยามเกี่ยวข้าว )  โดยในช่วงนี้ จิดโป่ม
ตัวผู้จะทำฮัง หรือ ขุดรู เพื่อเตรียมวิมานน้อย ๆ  เมื่อเสร็จแล้ว ในตอนกลางคืน
จะทำเสียงเพื่อเรียกตัวเมีย
เมื่อตัวเมียมาหา ตัวผู้จะเดินวนเวียนไปมารอบ ๆ ตัวเมีย มักพบการต่อสู้ของตัวผู้เพื่อแย่งตัวเมียอยู่เสมอ
พฤติกรรมการผสมพันธุ์เกิดขึ้นในกลางคืน ตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุ์จะตามหาตัวผู้จากนั้นจะซุกตัว
ที่ท้องตัวผู้ ใช้เวลาประมาณ 20 - 30 นาที จากนั้นตัวผู้จะอยู่นิ่งๆ และตัวเมียขึ้นไปอยู่บนหลัง

ตัวผู้จะกระดกปลายส่วนท้องขึ้น ในขณะที่ตัวเมียโน้มอวัยวะเพศ ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ต่ำกว่าอวัยวะวางไข่เล็กน้อย
ให้แนบกับถุงน้ำเชื้อของตัวผู้ ถุงน้ำเชื้อนี้มีลักษณะเป็นถุงใสๆ ถุงนี้จะมาติดอยู่ที่ปลายส่วนท้องของตัวเมีย
ช่วงนี้ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที จากนั้นตัวผู้จะพักอยู่นิ่งประมาณ 5 - 10 นาที  แล้วพาตัวเมียเข้ารู
การผสมพันธ์ของ จิดโป่ม ตัวเมียจะอยู่ด้านบน
เพราะฉะนั้น ภรรยาที่ชอบ ข่มเหง สามี แสดงว่า ชาติแต่ก่อนเคยเป็นจิ๊ดโป่ม



ภาพจิดโป่มที่หาลักขุดนำคันนาพ่อใหญ่สี


การกินอาหาร

จิดโป่ม กินหญ้าและใบไม้และผลไม้พื้นเมืองเป็นอาหาร เช่นในทางภาคอีสาน จิโป่มจะกิน หญ้าปล้อง
ผักโขมผักกะแยง และหญ้าวัชพืชอื่นๆ เป็นอาหาร ในฤดูทำรัง วางไข่มักจะ สะสม ผลไม้ ดอกหญ้าอื่นๆ
ไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารในหน้าฝน จะสะสมลูกหว้า และผลไม้ลูกเล็ก ๆ ในรัง


ภาพ "ขวย" หรือ รังของ จิโป่ม

ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์

จิดโป่มถือว่าเป็นตัวแปรในการ หมุนเวียนแหล่งธาตุอาหารในดิน และเป็นอาหารให้ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ
สัตว์เลื้อยคลานและ นก เป็นอาหารให้ กบเขียดอึ่งอ่าง ให้ ระบบนิเวศน์อุดมสมบูรณ์  
โบราณอีสานว่า หากถิ่นไหนจิดโป่ม สมบูรณ์ครอบครัวจะเป็นปึกแผ่น พี่น้องฮักกันสามัคคี  
ปลูกพืชระยะสั้นได้ผลดีแล  อีกทั้งยังเป็นอาหารของคนในท้องถิ่น
ที่ไม่ต้องเสียภาษี ร้อยละ  7  หรือผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่หวังกำไรไปเป็นทุนเล่นการเมือง






ความเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตคนอีสาน

จิดโป่ม หรือ จิ้งโกร่ง เป็นอาหารของชาวอีสานในฤดูเก็บเกี่ยว น้ำในหนองคลองบึงเหลือน้อย แหล่งโปรตีนหายาก
อาศัยแมลงชนิดนี้ เติมเต็มในส่วนที่พร่อง  เมื่อพ่อและแม่ ยากเวียกยากงาน เอื้อยและพี่น้องวัยไล่เลี่ยกัน
พากันถือเสียม และ คุ ลงท่ง ไปตามคันนา ท่งกว้าง ที่เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เพื่อ “ขุดจิโป่ม”
บ้างก็ถือ ขวดใส่น้ำ หรือ “กะตุง” เตรียมตัวไป ฮ่ายจิ๊ดโป่ม เป็นที่สนุกสนาน
คราจันทร์ทอแสงอับเฉา ในคืนเดือนแรม ก็ถือเอา ตะเกียงหรือ โคมไฟ  ไปไต้ จิ๊ดโป่ม คนธรรพ์แห่งทุ่ง
ทุ่งนาเถาลำเนาไพร อลอึงด้วยเสียงเพรียกแห่งรัก ข้าวเหนียวจี่  กับ จิดโป่ม “จ่าม” ช่างโอชะ
เอื้อยป้อนจิ๊ดโป่มกับข้าวเหนียวให้น้อง พร้อมเช็ดขี้มูกให้   นั่งฟังนิทานที่พ่อเล่าเคล้ากลิ่นจำปาโรยร่ำ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 947 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  03 มิ.ย. 2555 เวลา 17:33:43  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่174) แตนขี้หมา  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 



ชื่อพื้นเมือง  แตนขี้หมา  , แตนกระดิ่ง
ชื่อสามัญ Wasp  nest
ชื่อวิทยาศาสตร์ Leucospis japonica
วงศ์  colletidae
อันดับ  Hymenoptera

แมลงชนิดนี้เป็นสายพันธุ์เดียวกันกับ มด ต่อ และผึ้ง  มีหลากหลายชนิด  เราเข้าใจว่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ของมันคือ Hymenoptera ซึ่งผิด Hymenoptera มีหลากหลายชนิด
นับตั้งแต่มด ไปจนถึง ตัวต่อ จริงๆแล้ว คือชื่ออันดับ หรือ order ของมัน
แมลงชนิดนี้ ( แตนขี้หมา) พบมากได้ในเขตร้อน แถบเส้นศูนย์สูตร


ภาพแสดงเผ่าพันธุ์ของ  Hymenoptera โดยสังเขป

ลักษณะโดยทั่วไป
ลำตัวยาว 1.5 ซม. เอวคอด ลำตัวสีน้ำตาลหรือดำ  มีลาย ขาวหรือเหลืองพาด  ทำรังไม่ใหญ่นัก
ต่างจากพวกแตนชนิดอื่นคือ ทำรังอยู่กันแบบครอบครัว มากว่าฝูงใหญ่
ขนาดของรังเล็ก มีจำนวนช่องในรังไม่เกิน 20 ช่อง  ชอบอาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ . ใต้ใบไม้
ที่ไม่สูงเท่าใดนัก พบเห็นได้ง่าย ตามป่าละเมาะ หรือสุมทุมพุ่มไม้ ตามท้องไร่ท้องนา
วรรณะในรัง ประกอบด้วย แม่รัง(นางพญา)  แตนตัวผู้ และ แตนงานไร้เพศ
แตนขี้หมาตัวผู้ ไม่มีเหล็กใน เอวคอดผอมบางร่างน้อย แตนงานลำตัวใหญ่กว่าเล็กน้อย
ก้นต่ง หรือ Big ass   ตามศัพท์แสลงของ เมืองผู้ดี ภาษาอีสานเรียกว่า “ท้ายเป”




วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของต่อและแตนแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้
            1. ไข่  (Egg) หลังจากต่อนางพญา (Queen) เลือกหาสถานที่สร้างรังแล้วจะสร้างหลอดรวง (Cells) ขึ้นมา
และ วางไข่ในนั้น ไข่จะใช้เวลาประมาณ 5-8 วันก็จะฟักเป็นตัวอ่อน
            2. ตัวอ่อน (Larva) หลังออกจากไข่นางพญาจะทำหน้าที่เลี้ยงดูตัวอ่อน หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์
ตัวอ่อนจะสร้างสารปิดหลอดรวง เพื่อจะเปลี่ยนรูปร่างเป็นต่อแตนตัวเต็มวัย
            3. ดักแด้ (Pupa) หลังจากที่ตัวอ่อนสร้างสารปิดหลอดรวงแล้ว จะมีการเจริญเติบโตและเปลี่ยนแปลง
รูปร่างอยู่ภายในหลอดรวง เรียกว่าดักแด้ และจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงจะกลายเป็นต่อแตนตัวเต็มวัย
            4. ต่อแตนตัวเต็มวัย (Adult) ตัวต่อที่เพิ่งเกิดใหม่นี้จะเป็นเพศเมีย เรียกว่า ต่อวรรณะกรรมกร (Workers)
นับจากตัวอ่อนไปจนถึงวันละสังขาร ศิริอายุได้ 6 เดือน อนุโมทามิ ขี้ซีทาคุ


ภาพแสดงวงจรชีวิตแตนชนิดนี้


ภาพตัวอ่อนภายในรังของแตนขี้หมา

ลักษณะเด่นของ แตนขี้หมา
การทำรังที่ซ่อนเร้นสายตาดีนัก ในประเทศญี่ปุ่น (บ้านมิยาบิ)  แมลงชนิดนี้
ทำรังในป่าไผ่ แม้แต่ซามูไร นักดาบชั้นยอดเยี่ยมกระเทียมดองยัง”วิ่งหูหลูบ”
เพราะพิษของเหล็กในแมงอันนี้  แม้แต่ท่านเซียนมังกรเดียวก่อน !  ยังหลบหลีก
เหล็กในของแตนขี้หมามีปลายแหลมคมประดุจวาจาของ “ขงจื้อ” ทิ่มแทงเข้าไปในเนื้อของเหยื่อ
แล้วฉีดสารพิษออกมาทางท่อน้ำพิษราวกับเข็มฉีดยา สารพิษดังกล่าวเป็นสารประกอบอินทรีย์ประเภทเดียว
กันกับพิษของแมงมุมและ แมงงอด (แมงเงา ไม่รวมแมงง่องแง่ง)
เด็กน้อยเลี้ยงควาย และสาวส่ำน้อยไปหาฟืน   ควรระวัง

ภาพแผลการการถูกแตนชนิดนี้สั่งสอน

ความสำคัญต่อระบบนิเวศน์

แมลงประเภทแตนและต่อ แม้จะมีพิษร้าย แต่ก็มีประโยชน์อนันต์ เป็นตัวห้ำที่คอยกำจัด
หนอนเพี้ย และศัตรูพืชต่างๆ และยังคอยผสมเกสรพืชให้ออกดอกผลดี คอยจัดการ
เพี้ยกระโดด และตัวเบียนพืชนิดอื่น

ความเกี่ยวพันธ์ในแง่วิถีชีวิตชาวอีสาน

แม้จะต่อยให้มนุษย์ได้รับความเจ็บปวด  แต่แตนขี้หมาถือว่าเป็นแตนที่มีพิษน้อยที่สุด
การทำร้ายมนุษย์เพียงแค่สั่งสอน อย่าละเมิดบุกรุก บ้านคนอื่น  เด็กน้อยเลี้ยงควาย
มักจะโดนประจำ แต่โดยมากแมลงชนิดนี้จะโดน เด็กน้อยเอาไฟเผา   เอาลูกน้อย
หรือตัวอ่อนมา เปิบ ถือคติว่า ”ตอดกูติ มึงตาย” บางราย นุ่งเสื้อยีนลีวาย หนาเตอะ
ย่างเข้าไป “ซาวเอาฮังมาเฉย  ประสาแตนอันนี้ เรื่องขี้หมาพะนะ
ที่คนโบราณตั้งชื่อว่าแตนขี้หมา เพราะในชีวิตจริงของคนเรา ต้องเจ็บปวด กับเรื่องเล็ก ๆน้อย ๆ
เป็นอาจิณ ยึดถือเป็นสาระ ตีโพยตีพาย ท้อถอยไม่ได้  นั่นคือการสั่งสอนให้ลูกอีสานเป็นนักสู้  
  

 
 
สาธุการบทความนี้ : 613 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  03 มิ.ย. 2555 เวลา 22:06:10  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่179) แมงหยอด แมงไหย๋ แมงขี้กะตอด  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 


ขอบคุณเจ้าของภาพ  (ภาพจากอินเตอร์เน็ต )



ชื่อพื้นเมือง (อีสาน) แมงหยอด  แมงไหย๋  แมงขี้กะตอด ( ศิลปินนักปั้นแต่ง แห่งเสาเถียง )
ชื่อภาษาไทย  หมาร่า
ชื่อสามัญ Ceriana wasp  , Wasp-mimic Hoverfly
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hymenoptera Ceriana sp.
วงศ์ Sphecidae
ลำดับ   insecta

ส่วนท่านที่  search ในกูเกิลว่า หมาร่า ได้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphex viduatus Christ
ไม่มีในสารบัญแมลงครับ มั่วที่สุด หากใครที่จบด้าน กีฏวิทยา ช่วยให้ความกระจ่างด้วย อย่าปล่อยให้เข้าใจผิด
ฝรั่งเขาจัดมันอยู่ในวงศ์ของต่อแตน  และอยู่ในประเภท แตนดอกไม้ เด้อคูบา
ลักษณะโดยทั่วไป
แมงอันนี้ เป็นสายพันธุ์เดียวกับแตน และต่อ เนื่องจาก มีเหล็กใน  หรือ ภาษาอีสาน เรียกว่า “ ไล”
สามารถ “ ตอด” ได้ อย่าไรก็ตาม แมงอันนี้ นิสัยไม่ก้าว ความระกำ ช้ำชอกใจ ที่เธอทำไว้นั้น  
ส่วนใหญ่มีนิสัย รักสงบ ไม่ทำร้ายมนุษย์ง่ายๆ  ดูเผิน ๆ มันชอบที่จะอยู่ร่วมกับมนุษย์มากกว่า
ผิดกับเรา ที่เห็นรังมันเมื่อไหร่ ต้องรังเกียจ  หาไม้ไป “ ถั่ง “ หรือ “ซุ “ ให้มันพินาศ
แมงหยอด แมงไหย๋  ทำรังด้วยดินเหนียว บรรจง ปั้นแต่งให้เป็นรัง หรือที่เรียกว่า “ บ้านดิน “ ที่
กำลังฮิตกัน

ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาวประมาณ  2- 4 ซม.  ที่พบในประเทศ ไทย มี 2 สายพันธุ์ คือ พวกที่มีลำตัว สีน้ำตาลคาดเหลือง
กับสายพันธ์ สีดำคาดขาวและดำเหลือง ล้วน มีลำตัวปราดเปรียว เป็นนักล่า อาหารคือ หนอน ไข่เพี้ยและแมลง
ที่เป็นศัตรูพืชขนาดเล็ก อื่นๆ  นับเป็นยาฆ่าแมลงชีวภาพ ตามธรรมชาติ  ยังพบว่าแมลงชนิดนี้ช่วยในการผสมเกสร
ช่วยให้พืชผล ติดผลได้ดี   ช่วงท้อง มีท่อเพรียวเล็ก เชื่อมต่อกับก้นที่มีขนาดใหญ่กว่า เหมาะสำหรับการบินที่
ปราดเปรียว  มี รยางค์ เช่นเดียวกับแมลง ประเภท ต่อแตน



วงจรชีวิต
แมลงชนิดนี้ มีอายุเฉลี่ย 220 วัน นับจากวันที่ ออกจากรัง  การผสมพันธ์ ไม่เลือกฤดู เช่นเดียวกับมนุษย์
ขึ้นอยู่กับอายุโตเต็มวัย ซึงจะอยู่ที่ 90 วัน  เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ตัวเมียจะ หาที่ทำรัง ก่อด้วยดินเหนียว
ด้วยความพากเพียร ปกติจะปั้นรัง อยู่ที่ 3 ช่อง นั่นคือวางไข่ ประมาณ 1 ตัวต่อช่อง เมื่อทำรังเสร็จ
และหาตัวหนอน หรือแมลงเป็น ๆ มาไว้ในรังเพื่อเป็นอาหารของลูกที่เกิดมา
ระยะเวลาการทำรัง “ โอดโปด วิมาน “ จะอยู่ที่ 1 สัปดาห์
ใช้เวลาในการในการวิวัฒนาการ จากไข่ เป็นตัวอ่อน 3 สัปดาห์   เมื่อแม่ทำรังเสร็จ ปิดรังให้มิดชิด จะตายลง
เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ออกมาจะกินอาหารที่แม่เตรียมให้ จนปีกงอกสมบูรณ์ จึงออกมาจากรัง นับว่ามัน กำพร้าตั้งแต่เด็กเลย


ภาพการวิวัฒนาการภายในรังของตัวอ่อน

**จากการทดลอง ของกระผมเอง พบว่า แมงหยอด แมงใหย๋   ไม่มีปฏิกิริยา บินเข้าหาแสงสว่าง ดังแมลงชนิดอื่น
แม้จะส่องไฟใส่มัน มันก็ยังบินไปทำภารกิจของมันเป็นปกติ  ****


ภาพการปั้นรังของแมงอันนี้

ประโยชน์ของแมลงชนิดนี้  
หน้าที่สำคัญทางธรรมชาติก็คือ การควบคุมจำนวนแมลงศัตรูพืช เพราะมันเป็นนักล่าตัวหนอน และแมลงอื่นเป็นอาหาร
บทบาทหน้าที่ของธรรมชาตินั้น ละเอียดอ่อนนัก  ยากที่เราจะลากเส้นความสัมพันธ์ และเป็นผู้ตัดสิน   ชาวสวนมะพร้าว
ในประเทศอินโดนิเซีย ประสบปัญหาด้วงมะพร้าวเจาะกินยอดมะพร้าว ทำให้ต้นมะพร้าวตายลง เป็นเนื้อที่หลายพันไร่
แม้จะใช้สารเคมีในการกำจัดก็ไม่สามารถหยุดการแพร่ระบาดของโรค ยอดเน่าได้  

จนในที่สุดได้มีการนำแมลง สายพันธุ์ แมงหยอด แมงใหย๋ นี้ มาเพาะเลี้ยงในสวน  ปรากกฎว่า แมงอันนี้
ไล่กินตับ หนอนด้วงมะพร้าว จนการแพร่ละบาดลดลง ร้อยละ 90 ของพื้นที่  นี่คือความอัศจรรย์ของธรรมชาติ
เกือบเอาจรวดนิวเคลีย ยิงสวนมะพร้าว เพื่อทำลายโรคแมลงด้วงระบาดเสียแล้ว ดีนะที่มีคนศึกษาด้านแมลง



ภาพการล่าของ แมงหยอด แมงไหย๋

ในประเทศแถบตะวันออกกลาง อย่าง ประเทศซาอุ  ไม่เกี่ยวกับ ซาอุดร เด้อ การเกษตรกรรมทำได้ยาก
มีการลงทุนมหาศาล เพื่อการเพาะปลูก   ทั้งที่ประเทศเขา มีท่อน้ำมันฟรี ตามรายทาง เปิดเติมฟรีได้เลย
ยังหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง ในการเกษตร ( สารเคมี และ ยาฆ่าแมลง คือ ผลิตภัณฑ์จากการปิโตเลี่ยม)
ลงทุนซื้อ กิ่งก่า หรือ กะป้อมแดง กะปอมก่า ม้างโลก ไปปล่อยใน สวนผักของเขา เพื่อช่วยในการกำจัดแมลง


ลุงสี ( ลุงของผู้เขียน) คนอีสาน แกไปทำงานที่ซาอุ  ในตำแหน่งคนงานดูแลสวนมะเขือ
แกไปทำงานได้ 2 อาทิตย์  ถูกทางการซาอุ ส่งกลับ  ทางอีสานเรียกว่า “ หลุบ”  เนื่องจากแกกู้เงินมากมายเพื่อไปนอก
ทำงานยังไม่ได้เงินเลย ถูกส่งกลับแล้ว  
“ลุง ๆ เป็นหยังเขาคือส่งเจ้ากลับ “ กระผมถาม
“ กูไป ค้องกะปอมเขามาก้อยกิน เบิ๊ดสวน ซั่นแหล่ว “ แกตอบแบบ ขำไม่ออก
สรุปแล้ว แกไป โซ้ย.. !  กะปอมก่าม้างโลก ที่ทางบริษัท ฯ จัดซื้อมาจากเมืองไทย และ แอฟฟริกา ปล่อยไว้ในสวน
เพื่อการป้องกันแมลงที่มากินผักนี่เอง ถึงถูกส่งกลับ  



ความเกี่ยวเนื่องกับชาวอีสาน
ตามเถียงนาทุ่งลำเนาไพร มักจะพบ รังของแมงอันนี้ “โตดโปด” ตาม เสาเถียงนา คาขื่อ
ตง และ สะยัวชาวอีสานตั้งชื่อตาม การสังเกตกิจกรรมของมัน  โดยมันจะบินมาหาที่หลบฝน หรือ ความชื้น
ตามเถียงนาเมื่อพบรูเล็ก ๆ ตามไม้ ก็จะวางไข่ และหาอาหารมาเตรียมการไว้ให้ลูก ก่อนจะปั้นดินปิดปากรู
หรือหากหารูไม่ได้ มันก็หาหาทำเลเหมาะ ๆ ปั้นรังเลย มันจะค่อยๆ ขนดินเหนียวที่ผสมกับน้ำลายของมัน
มาปั้นทีละก้อนๆ  เมื่อทำรังเสร็จ จะหาหนอนมาบรรจุไว้ ก่อดินทับ เพื่อเป็นการถนอมอาหารไว้สำหรับลูกน้อย


ภาพพฤติกรรมหยอดอาหารในรัง และ ค่อยๆ ปั้นดินปิดทับรู ( กรณีที่มันหารูเจอ )

แมงหยอด ไม่ทำร้ายมนุษย์ หากมนุษย์ไม่ไปทำร้ายมันก่อน  แต่รังของมันเป็นที่รำคาญสายตา
คนเฒ่าคนแก่ชาวอีสานบอกว่า หากจะไปเอารังมันออก ให้รอจนลูกมันออกมาจากรังก่อน ค่อยไป”ซุ”ออก
มันเป็น ปาบเป็นกรรม  ในบางครั้งเมื่อเรานอนดูทิวข้าวเขียวขจี เถาฟักแฟงกำลังออกดอก ตาม “ ฮ้าน”
เสียงลมพัดหวิว แว่วเสียงกริ่งเกราะ วัวควาย  
เมื่อนอนแหงนไปมอง ขื่อเถียงนา จะเห็น ฮังแมงหยอด แมงไหย๋ มันกำลังคาบหนอนมาหยอดใส่รังดิน  
เราเป็นมนุษย์ ก็ควร  หมั่นหยอดความดีงาม และปัญญาอันสร้างสรรค์   เติมเต็มความเป็นคน

สภาพรัง ที่ถูกคน “ซุ” ลงมา จะเห็นว่ามีหนอน ชิมีโจได๋  อยู่ด้านใน นั่น ไม่ใช่ตัวอ่อนมันครับ
แต่เป็นอาหาร ที่ถูกถนอมไว้ให้ตัวอ่อน หรือลูกของมันนั่นเอง


นี่ต่างหากที่ตัวอ่อนของ แมงหยอด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 454 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  22 มิ.ย. 2555 เวลา 12:20:17  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่181) แมงอี  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 




ชื่อพื้นเมือง  : แมงอี ,   แมงอี่
ชื่อสามัญ : Chorus cicada
ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptatylomia radha
ชั้น : Insecta
ลำดับ : Hemiptera
วงศ์ : Cicadidae
( วงศ์เดียวกัน กับจักจั่น)

บางคนบางท่านเห็นภาพแล้ว “ นี่มันจักจั่นนี่นา “  ครับผม ไม่ผิดเท่าใดนัก แมงอี เป็นแมลง วงศ์เดียวกันกับจักจั่น
แต่เป็นคนละพันธุ์กัน  แมงอี มีขนาดเล็กกว่า สั้นกว่า ลักษณะทั่วไปจากหัวจรดหาง มีรูปร่างเป็น สามเหลี่ยม
ซึ่งต่างจากจักจั่น ที่มีลักษณะเรียว   สีสัน ของแมงอี เท่าที่พบมีสีสวยงานั่นคือ มีสีเขียว และสีใบไม้แห้ง
เสียงร้องของมัน ร้อง “ อี  อีๆๆๆๆๆ “  ก้องกังวานป่า  นั่นคือที่มาของชื่อ  “ แมงอี”
ส่วนมากพบในประเทศเขตร้อน ครับ



ลักษณะทางกายภาพ
มีลำตัวยาว  2- 3 ซม.  มีหนวดเป็นรูปขน มีตาเดี่ยว 3 ตาเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนหัว ลำตัว และท้อง
จะเชื่อมต่อเป็นส่วนเดียวกัน มีปีกบางใสและยาวกว่าลำตัว เวลาเกาะอยู่กับที่ ปีกจะหุบชิดกันเป็นรูปสามเหลี่ยม
มองคล้าย เครื่องบิน “สเตลท์” ของอเมริกา ใครจะรู้ แรงบันดาลใจของวิศวกรการบิน ที่ผลิต
อาจได้จากการเดินเที่ยว ป่าโคก บ้านเรา แล้วได้ยินแต่เสียง “ อี ๆๆ “  มองหาตัวแมงอี ไม่เห็น  
พอจับตัวได้ แอบไปเพ่งพิจ แล้ว คิดออกแบบออกมา
กลายเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัย ตั้งชื่อว่า “ล่องหน”    


ตัวอ่อนมีลักษณะรูปร่างเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย มีสีน้ำตาลอ่อน ตาโต ขาหน้ามีขนาดใหญ่ไว้สำหรับขุดดิน

เสียงที่เกิดจากแมงอี  ไพเราะจนฝรั่งตั้งชื่อให้มันว่า ” แมลงแห่งเสียงประสาน”


เสียงของจักจั่น
ตัวผู้สามารถทำเสียงได้ดังมาก เฉลี่ยอยู่ที่ 100 เดซิเบล  เสียงของมันมีความถี่สูง แตกต่างจาก
จักจั่นชนิดอื่น จนเราสามารถได้ยินเป็นเสียงแหลมเล็ก ส่งเสียงร้องในเวลากลางวันมากกว่ากลางคืน และร้องมากที่สุด
เมื่อมีอุณหภูมิประมาณ 32-33 องศาเซลเซียส  ช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน
ในภาคอีสานเรียกว่า “ฤดู ฝนฮวย”
ส่วนตัวเมีย หรือ อีสานเรียกว่า “โตแม่” ไม่สามารถทำเสียงได้
แหล่งกำเนิดเสียงมาจากบริเวณใต้ลำตัวของท้องปล้องแรกต่อกับส่วนอก  เกิดจากการสั่นถี่ยิบ
ของกล้ามเนื้อส่วนปล้องอก  เรียกว่า กล้ามเนื้อ Tymbal ดูดีๆ จะคล้าย “ ฮีทซิงค์ “  ของเครื่องคอมพิวเตอร์
จากนั้นเสียงที่มีความถี่ เฉลี่ย 120 เฮิรตซ์ จะถูกส่งผ่าน ถุงลม  และจะผ่านการปิด-เปิดของแผ่น opercula
ที่จะปรับแต่งเสียงเป็นครั้งสุดท้าย    ป๊าด..มี.ขั้นมีตอน ปานไส้กรอก นครพนม  พะนะ



การส่งเสียงของแมงอีตัว ผู้ไม่ต่างไป จากการส่งกลิ่นฟีโรโมนของแมลงชนิดอื่น ๆ
เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม  แปลเป็นภาษามนุษย์ได้ว่า  “มาเอากับข่อยเด้อ”

วงจรชีวิต

การเจริญเติบโตของจักจั่นเป็นแบบไม่สมบูรณ์ คือ ระยะตัวอ่อนมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย
ต่างกันที่ตัวอ่อนในระยะแรกไม่มีปีก เมื่อลอกคราบปีกจะค่อย ๆ ยาวออก  
                ระยะไข่   ตัวเมียจะอาศัยเปลือกไม้ เพื่อวางไข่ เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อน
จะร่วงลงสู่พื้นดิน โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 4 เดือน



                ระยะตัวอ่อน อาศัยในดินที่ความลึกตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ถึงมากกว่า  2.5 เมตร
ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากพืช ตัวอ่อนมีขาหน้าขนาดใหญ่สำหรับขุดดิน
บางครั้งจะเห็นดินเป็นแท่งทรงกระบอกเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร
บิดเป็นเกลียวโผล่ขึ้นมาจากดินสูงประมาณ 5-7 เซนติเมตร คล้ายกับดินที่เกิดจากไส้เดือน หรือ “ ขี้ไก่เดียน”
ในภาษาอีสาน  แต่มีขนาดใหญ่กว่า   นั่นคือ “ ฮังของแมงอี “  หรือรังของจักจั่นชนิดนี้ละครับ
ตัวอ่อนใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน ในใต้ดิน



                 ตัวเต็มวัย  เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่ จะไต่ขึ้นมาบนลำต้นเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย
ในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะประมาณ 1-2 เดือน
วงจรชีวิตโดยรวมประมาณ 2 ปี  ส่วนใหญ่มันใช้ชีวิตใต้ดิน ช่วงเวลาที่เราเห็นมัน ร้องรำ คือ วงจรสุดท้าย
ของชีวิตแมงอี  เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ  วางไข่  แล้วมันก็จะอำลาวงการเพลง กลับคืนสู่ผืนดิน



ความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวอีสาน
ในฤดู”ฝนฮวย” ต้นเดือน มี.ค – ปลายเดือน เม.ย. เมื่อฝนแรก โรยรินแผ่นดินอีสาน ใบไม้ไปไหล่ ออกบ่งใหม่
ฟื้นคืนชีพให้แดนดินอีสานบ้านเฮา  ต้นจิก ต้นฮัง ต้นตะแบก ต้นยางนา และต้นไม้ถิ่นหลากหลายชนิด
ผลิใบเพื่อต้อนรับฤดูฝนที่จะมาถึง  เมื่อดินชุ่มพอควร แมงอี และ จักจั่น ต่าง โผล่ออกมาจากดินดอน
ไต่ขึ้นกกไม้ เพื่อลอกคราบกลายเป็น ตัวโตเต็มวัย ส่งเสียง แซ่ซ้องสรรเสริญใบเขียวแห่งโคกป่า




เมื่อผ่านพ้นความยากลำบากในห้วงฤดูแล้งมาแล้ว ดังเพลงของ พ่อใหญ่ เทพพร เพชรอุบล ว่า
“ ฝนตกมา มีของกิน “  แมงอี และจักจั่น คืออาหารของชาวอีสาน ที่ฟ้าประทานมาให้
ต่างถือข่องและไม้ส่าว และ ปั้งตั๋ง หรือ กระบอกบรรจุยางไม้เหนียวๆ  เพื่อไปหา” ติดจักจั่น”  
โคกได๋หละ แมงอี กับจักจั่นหลาย  ก็พากันออกหากิน และ บ่ลืมห่อหมกปลาแดก และ ติ๊บข้าวเหนียวห้อยไปด้วย
การหาแมงอันนี้ ปีหนึ่งทำได้ครั้งเดียว  ภาคอื่นมีผลไม้ตามฤดู แต่ อีสานเฮามี แมลงตามฤดู ละครับพี่น้อง
ฤดูนี้ มีทั้ง ไข่มดแดง  จักจั่น และ แมงอี   สำหรับหมู่บ้านไหน ไม่มีโคกป่า  กิจกรรมนี้ อาจทดแทนด้วยการหาแมงจินูน



  เสียงก้องกังวานของแมลงชนิดนี้ บ่งบอกถึง ความร่มเย็น และพูนสุขในวิถีชีวิต การอุดมสมบูรณ์ด้วย ธรรมชาติ

ได้นอนอิงต้นไม้ใหญ่ร่มครึ้ม หลับตา ฟังเสียงเพลงคอรัส แห่งแมงอีและจักจั่น
พริ้มหลับไปให้เมโลดี้เจือลมเย็น เห่กล่อม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 833 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  25 มิ.ย. 2555 เวลา 14:55:51  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่189) แมงขี้นาก  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 


ชื่อพื้นเมือง    แมงขี้นาก

ชื่อสามัญ     Black dwarf honey bee
ชื่อวิทยาศาสตร์  Tetragonula laeviceps
ลำดับ            Hymenoptera  
วงศ์                APIDAE  
วงศ์ย่อย         Meliponinae

ตามคำเรียกร้องของท่านสมาชิก “ว้อนท์”  แมงขี้นาก เสียเหลือเกิน วันนี้
จัดให้ตามคำขอ  เนื่องจากแมงขี้นาก หาข้อมูลยากยิ่ง เพราะส่วนใหญ่
ค้นหาในอินเตอร์เน็ต  จะพบแต่สรรพคุณของแมงอันนี้  ว่ามันเจ้าชู้  ชอบเล่นหูเล่นตา
และสร้างอาการ “ ฟ้อนไปตามดิน” ( รำคลาน)  แก่ประชาชนทั่วไป
จึงนับได้ว่า เวบอีสานจุฬาเฮา เป็นแห่งเดียวที่รวบรวมข้อมูล “แมงขี้นาก” ไว้ครบถ้วนกระบวนยุทธ
หากท่านใด อ่านแล้ว “ ซ๊วด! ” หรือ ตาสวด ขึ้นมาทันใด ในข้อมูลแมงขี้นาก
ที่ลงในเวบอีสานจุฬา ฯหากจะก็อปปี้ ไปลงที่อื่น ก็ขอให้ อ้างอิงที่มาด้วยเด้อขะน้อย  หลูโตน บ่าวปิ่นลม ผู้เรียบเรียงแน

กล่าวทั่วไป
แมงขี้นาก เป็นแมลงเชื้อสายเดียวกับผึ้งประเภท Stingless bee หรือ ผึ้งไร้เหล็กใน   ในประเทศไทย
มีผึ้งสายพันธุ์นี้ จำนวน 29 ชนิด  ( จำพวกแมงน้อย  ,ขี้สูด  อ่มหมี เป็นต้น ) ภาคตะวันออก เรียกแมงนี้ว่า แมงอีโลม
แต่ในต่างประเทศ เรียกมันว่า “ ผึ้งแคระดำ” จัดมันเข้าในกลุ่มผึ้งดอกไม้
แมงขี้นาก ทำรังในโพรงไม้ หรือรอยแตกบนต้นไม้ รังที่ขนาดใหญ่ที่สุด มีขนาดเท่าผ่ามือ ยูไล เท่านั้น
แมงขี้นาก นั้นขึ้นชื่อว่า สร้างความรำคาญแก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  เพราะชอบตอมไต่ ตาม รูหู  และตา
และส่งเสียง วิ้ง..วิ้ง  ในรูหู จนเกิดความรำคราญ หากเรา “ปัดหรือตบฆ่ามัน  ตัวที่ตาย จะปล่อย ฟีโรโมน ชนิดพิเศษ  
ชนิดกลิ่นเข้มข้น ทำให้ตัวอื่นๆ ที่อยู่ใน อาณาบริเวณ เข้าร่วม “ประท้วง” ทวงหาสิทธิ แมงขี้นาก ตอมไต่ ทวีคูณ
แถมกลิ่นฉุน หรือ ภาษาอีสาน เรียกว่า “ ขิว”  จะติดตามท่านไปทุกย่างก้าว


ในประเทศ แถบแอพฟริกา ก็มี แมงขี้นาก เช่นกัน แต่แถวนั้น นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า “ ผึ้งดำพื้นเมือง”
ยังไม่รับการจำแนก วงศ์  มีการถ่ายรูปมันมาลงใน วงการวิทยาศาสตร์ แต่ ไม่มีรายละเอียดมากนัก



สาเหตุที่ แมงขี้นาก ชอบตอมหูคน
เพราะ ขี้หู คือ ปัจจัยสำคัญในการอยู่รอด ของรัง ซึ่ง แมงขี้นาก สามารถนำเอาขี้หู และ สารประกอบแคลเซี่ยม
ในเหงื่อไคลของคนเรา ไปผลิต รังของมัน
อธิบายว่า ขี้หูถูกสร้างออกมาจากต่อมสร้างขี้หู ซึ่งอยู่ในช่องหูชั้นนอก มีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ ประโยชน์ของขี้หู คือ ช่วยปกป้องผิวหนังของช่องหูชั้นนอก ให้ความชุ่มชื้น ช่วยต่อต้านเชื้อโรค ป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย และช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องหู
แมงขี้นาก ก็ใช้ประโยชน์จาก คุณสมบัตินี้ หาตอมหู ตอมตาคนเรา หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น
เพื่อนำไป ฉาบทาปากโพรงรัง และรังด้านใน เพื่อป้องกันเชื้อโรค และรักษาความชุ่มชื่นภายในรัง  และยังเป็น
ฟีโรโมนสังเคราะห์ ป้องกัน  แมลงจำพวกมดต่าง ๆ เข้าบุกรุกโพรงของมันนั่นเอง
ฮ้วย...ฮังแมงขี้นาก มันเอาขี้หูสัตว์ไปเฮ็ด ซั่นตี้...ลังคนคิดในใจ  จริงๆแล้ว มันเอาไปผสมกับ เกสรดอกไม้ และ
สารประกอบอื่น ๆ อีกหลายอย่างครับ บ่มีแต่ขี้หู อย่างเดียว ขะน้อย


ที่มาของชื่อ “แมงขี้นาก”


ภาพวาดประกอบ วรรณกรรมเรื่อง  “ สังข์สินไซ “ ของ ด.ญ.สุปรียา บุญตั้ง  โรงเรียนวัดบางฝ้าย

สืบเนื่องมาจาก วรรณกรรม พี่น้องชาว “ลาว”  เรื่อง “สังข์สินไซ”  ตอนสู้กับ งูซวง”
ลูกน้อง ยักษ์กุมภันฑ์   ที่ทรงฤทธิ์กินสัตว์น้อยใหญ่เป็นอาหาร เป็นพญาเมืองมาร คุมฮอดบ่อบาดาลพู้น  
( ไม่เกี่ยวกับ กรมทรัพยากรธรณี เด้อ )
งูซวง นั้นเป็น “นาก”   หรือ นาค บ่สมประกอบ คือมีเชื้อสายยักษ์ สีโห เอาเท้าเหยียบหางไว้

สินไซ เอาพระขรรค์ ฟันฉับ   !
ส่วนสีโห กระทืบซ้ำ จน “นากา”  นาคา”  ขี้หยอด แตกเป็นฝอย   กลายเป็นแมงไม้ หลบหลีกสายตาหอยสังข์
กลายมาเป็น “แมงขี้นาก”  ที่คอยรบกวนมนุษย์ อยู่ร่ำไป   นี่ขนาด”ขี้” ของยักษ์ ยังมีพิษภัยขนาดนี้ เนาะพี่น้อง
นี่ก็ว่ากันไปตาม นิทานปรัมปรา  นี่หละครับที่มาของชื่อ “ แมงขี้นาก”




ลักษณะทางกายภาพของ แมงขี้นาก
เป็นแมลงในตระกูลผึ้ง แต่เล็กมาก มีลำตัวยาวเพียง 2 มม. มีสีดำ  เป็นแมลงที่ไม่มีเหล็กใน ต่อยใครไม่ได้
ใช้กลยุทธในการ”ตอม” ไต่ และปล่อยสารเคมี ที่มีกลิ่นฉุน ก่อให้เกิดการรำคาญ ทดแทนการที่ไม่มีเหล็กใน
ลักษณะของแมลงชนิดนี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.ส่วนหัว มีตารวม และมีตาเดี่ยว  ตารวมมีลักษณะคล้ายรูปหกเลี่ยม เชื่อมต่อกันเป็นแผง ทำให้มองเห็นรอบทิศ
    ตาเดี่ยวเป็น จุดเล็ก ๆ  2 จุด อยู่ระหว่าง ตารวม  แมงขี้นาก ใช้ตาเดี่ยวนี้ในการมองเห็นสี
   หนวด ใช้ในการสัมผัส บรรยากาศ ความชื้น และไวต่อสารเคมีใน บรรยากาศ เป็นอย่างมาก
2.ส่วนอก มีปล้องจำนวน 4 ปล้อง
3.ส่วนท้องมีลำตัว 6 ปล้อง ด้านข้างมีรูสำหรับหายใจ แมงขี้นาก ใช้ประโยชน์จากรูด้านข้างท้องเหล่านี้
ในการสูดอากาศเข้าไปซึ่งแต่ละรูจะเชื่อมกับถุงลมภายในเพื่อพยุงตัว ช่วยในการบิน
นอกจากนั้น บริเวณท้องยังบรรจุ สารเคมีฟีโรโมน กลิ่นฉุน ซึ่งในผึ้งประเภทอื่นแทบจะไม่พบเลย



วงจรชีวิต
ปกติจะมีวงจรชีวิต 1-2 ปี ผสมพันธุ์ในช่วงเดือน เมษายน จากนั้นมันจะเป็นผึ้งเร่ร่อน
พาฝูงตระเวนบินหาทำเลเหมาะสม


ภาพแมงขี้นาก ออกหากิน ในระหว่าง เป็นแมลงพเนจร  หาที่ทำรัง
ตัวก้นใหญ่ ๆ ท้ายเปๆ นั่นคือนางพญา


การนอนในขณะที่ยังไม่พบทำเลที่เหมาะ อาจเกาะกลุ่มกันหลบใต้พุ่มไม้ใบหนา
เมื่อพบโพรงที่เหมาะสม จะเข้าไปสร้างรัง กลุ่มของ แมงขี้นากเป็นผึ้งกลุ่มเล็ก



มีขนาดฝูงไม่เกิน 1000 ตัว
แต่เมื่อพบโพรงที่สร้างรังแล้ว อาจเพิ่มจำนวนถึง 2000 ตัว



วางไข่ได้ประมาณวันละ 100 ฟอง สามารถวางไข่ทุกวัน จนถึงเดือน พ.ย.ของทุกปี
ระยะฟักตัว จากไข่เป็นตัวอ่อน 7 วัน เมื่อมีจำนวนมาก มันจะแยกรัง
อาหารของมัน คือ เกสรดอกไม้ น้ำหวาน  ขี้หู ขี้ตา เหงื่อไคล ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  



อย่างไรก็ตาม ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับ แมงขี้นากน้อยมาก เพราะมีประโยชน์กับมนุษย์น้อย
รังขนาดเล็ก น้ำหวานน้อย จึงไม่น่าสนใจ ซึ่งต่างจาก ผึ้งสายพันธุ์เดียวกัน เช่น ผึ้งชันมะโรง ขี้สูด

ในประเทศไทย มีการศึกษาอย่างกว้าง ขวางเพื่อการเกษตร  


ความเกี่ยวพันธ์กับวิถีชิวิตอีสาน
แมงขี้นาก เป็น “ไอดอล” หรือสัญลักษณ์แห่ง “ความหนหวย” โดยเฉพาะในฤดูแล้ง
  เมื่อชาวอีสานดุ่มเดินตามท้องนา ป่าโคก เพื่อหาอาหารหรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง  มักจะโดนทายาทอสูร
ชนิดนี้ตอมหูตอมตา  พอฆ่าไปตัวหนึ่ง กลับมาอีก 3 เท่าทวี   ยิ่งตอนที่ต้องใช้สมาธิ เช่นเล็งหนังสติ๊ก
หมายมั่นใส่ กะปอมก่า   มักจะได้ยินเสียง วิ๊ง...วิ้ง..ตามรูหู

หาก “หันใจ” แรง ก็จะสูดเอาแมงขี้นาก ”เข้าดัง” ไปด้วย.. จนต้องสบถก่นด่า


ขอบคุณเจ้าของภาพ จาก อินเตอร์เน็ตครับ

พอใช้ท่า ฝ่ามือ ยูไล จัดการ  ก็สะใจอยู่สักพัก ไม่เกิน 1 นาที มันก็ยกพวกมาประท้วงเกาะติดตามหน้าตา
จนต้องรีบหนีแจ้นไป “ โตนห้วย”  เพื่อล้างกลิ่นฉุนติดตามตัว
สำหรับพ่อใหญ่สี  เลามีเคล็ดลับ สูตรดั้งเดิม ออริจินอล  คือ เอาผักอีตู่ ”ฮะ”ตามกะแต้หู เพื่อไล่แมงขี้นาก
สำหรับ อ้ายต้องแล่ง ก็มีสูตรเด็ดในการ ต่อต้าน แมงขี้นาก  โดยการ “เอาตมโอบกกหูไว้”

ประการหนึ่ง แมงขี้นาก หมายถึง พวกก่อกวน พวก อึดเวียก  มือไม่พายเอาเท้าลาน้ำ
สร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับคนอื่น   ภาษาอีสานเรียกว่า “ พวกบ่เป็นตาซิแตก”
บุคคลชนิดนี้ เรียกว่า “แมงขี้นาก” ได้เช่นกัน

ข้อมูลจากภาพ และข้อมูลทางวิชาการจาก
http://flickrhivemind.net   www.padil.gov.au  www.lebahkelulut.com

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1007 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  27 มิ.ย. 2555 เวลา 08:45:26  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปิ่นลม    คห.ที่199) แมงแคงขาโป้ง (ขาโป้)  
  เซียน

ภูมิลำเนา : สกลนคร
สมาชิกภาพ : สมาชิกชมรมฯ
เข้าร่วม : 16 มี.ค. 2553
รวมโพสต์ : 2,213
ให้สาธุการ : 180
รับสาธุการ : 5,444,730
รวม: 5,444,910 สาธุการ

 



ชื่อวิทยาศาสตร์  Anoplocnemis plasiana F.
ชื่อสามัญ Coreid bug, Squash bug
ชื่อพื้นบ้าน  แมงแคงขาโป้ง  แมงแคงขาโป้
ชื่อภาษาไทย  มวนนักกล้าม
อาณาจักร Animalia
ไฟลัม    arthropoda
คลาส  insecta
อันดับ Hemiptera
อันดับย่อย  Gymnocerata
วงศ์  Coreidae


ขอบคุณภาพ จากป้าหน่อยครับ

กล่าวนำ  
นักวิทยาศาสตร์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ  เรียกมันว่า มวนถั่ว (มาลีมง)   จัดเข้าในประเภทเดียวกันกับ
แมงแคงค้อ แมงแดง เช่นเดียวกับที่ชาวอีสานโบราณ เรียกชื่อมัน ว่า “แมงแคงขาโป้ หรือ ขาโป้ง “  เพิ่มลักษณะเด่น
ของมันเพื่อให้จดจำง่าย ว่ากันว่าพบกระจายในพื้นที่ประเทศไทย  จารย์ใหญ่แห่งมุกดาหาร ที่ปลูกถั่วลิสง
ช่วยตรวจสอบด้วย   มีแมงอันนี้ มากินใบถั่วหรือไม่   หากไม่มีมากิน ก็อย่าเชื่อ ว่ามันกินถั่ว
เท่าที่พบมา แมงแคงชนิดนี้ พบตามต้นไม้ท้องถิ่น เช่น “ต้นแมงแคงขาโป้” ต้นคูน
และไม้พันธุ์ท้องถิ่น  มักเกาะตามใบอ่อน  หรือยอดพืชที่กำลังผลิใบ
แมลงชนิดนี้ ดูดกินน้ำเลี้ยงจาก ก้านใบของพืช  อาจจะแพร่ระบาดในถิ่นอื่น
หากแต่เจอคนอีสานเข้าไป  "ไม่ดับแนว" ก็บุญโข  เพราะเป็นอาหารระดับ แฟทตินั่ม พะนะ




ลักษณะทางกายภาพ
ลักษณะลำตัว เป็นรูปทรงกระบอก  หนวดสีดำ ปีกชั้นใน สีชมพูอ่อน  ปีกชั้นนอกสีน้ำตาลดำ
มีปากแบบเจาะดูด  มีตาแบบ ตารวม  ขา 4 ขา สั้น ส่วนอีก 2 ขาหลัง  มีขนาดใหญ่
ลักษณะโค้งเข้าหาลำตัว ขาอันใหญ่ผิดปกตินี้เอง คือที่มาของชื่อ เพราะว่ามัน “โป” ซึ่งแปลว่า
ใหญ่กว่าปกติ ลำตัวมีขนาดยาว 3- 4 ซม.


ขอบคุณเจ้าของภาพ ตามที่ปรากฏในภาพครับ

นอกเรื่อง
ไม่รู้ว่าท่านเคยดูหนังเรื่อง “ สงครามบ้งกื๋อ ล่าล้างจักรยาน” ไหมครับ    อ้อ ชื่อเรื่องผิดแฮะ
“ สงครามหมื่นขา ล่าล้างจักวาล”   ไอ้ตัวแมลงที่ ใช้ขาสับหัวคน  “ใช่เลย  แมงแคงขาโป”
เพียงแต่ขาหลังสลับมาอยู่ขาหน้าแทน   ไอ้ตัวแมลง”หัวเสธ”  หัวหน้าทัพแมลง ดูยังไง
ก็คิดถึง “ นางพญาปลวก”   ที่อีเกียดำ ดุ่มเดินหา “ซะ” โพน  หวังเอามาเป็นเหยื่อล่อปลาช่อน


ภาพจาก อินเตอร์เน็ต ครับ


วงจรชีวิต
วางไข่ ช่วงต้นฤดูฝน  ตัวหนึ่งวางไข่ประมาณ 30 ฟอง ใช้เวลาฟักเป็น ตัว 7 วัน
ตัวอ่อนระยะแรก  อายุ 10 วัน มีลักษณะ ตัวเล็ก ๆ แดงๆ อยู่กันเป็นกลุ่มใต้ใบไม้  
ตัวอ่อนระยะที่ 2 มีขาดเกือบเท่าตัวเต็มวัย แต่ปีกยังไม่งอก มีขาขนาดใหญ่แล้ว
ใช้เวลา จากระยะนี้เป็นตัวเต็มวัย 5 วัน     กล่าวกันว่า มันมีอายุขัย ทั้งสิ้น 100 วัน


ภาพจาก อินเตอร์เน็ต

ความสัมพันธ์กับวิถีชาวอีสาน

แมลงชนิดนี้ เป็นอาหาร จานเด็ดของ กะปอมก่า กะปอมแดง  และนกต่างๆ  เพราะมีรสชาติ แซบ
หากจับได้คราละมาก ๆ สามารถนำมาทำน้ำพริกได้  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นอาหาร จานด่วน
ของเด็กน้อย เลี้ยงงัว  จับได้ปุ๊บ ก็ เด็ดปีก” โม่มขาโต้ย” มันก่อน เพราะมันใหญ่
จากนั้นก็ กินตัวมันเป็น ๆ
หากว่าเป็น “ขาร็อก” หน่อย ก็จะ เด็ดขาโปของมัน  เด็ดขาช่วงแรก เหลือแต่ ต้นขาใหญ่
จากนั้นก็นำ ดอกหญ้าเจ้าชู้ มาเสียบแทน ขาข้อหลัง  ปล่อยให้มันบิน เหมือน เครื่องบิน ชี-นุ๊ค ลากของหนัก
จากนั้นก็ วิ่งตามกันเป็นพรวน  เฮโลสาระพา  เป็นที่สนุกสนาน ในมุมมองของเด็ก




แมงแคงบาโป้ง ตัวเมีย ขาบ่โป้ง เท่าตัวผู้ อันนี้ถ่ายมาจาก โคกโสกฮัง


อย่างไรก็ตาม มันสามารถปล่อยฉี่ หรือสารกลิ่นฉุน ป้องกันตัวมัน ซึ่งมีสภาพเป็นกรด ต้องระวังไว้บ้าง
แมลงน้อยอันนี้ คือ ชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของธรรมชาติที่ใหญ่ยิ่ง  เรายังไม่ได้ศึกษาชิ้นส่วนนี้ให้ชัดแจ้ง
ว่ามันเกี่ยวเนื่องกับ ชิ้นส่วนอื่นที่ใหญ่กว่าอย่างไร  มันอาจจะซ่อนประโยชน์ ต่อมวลมนุษย์ไว้
ภายใต้ “ขาโป้ง” อันน่าพิสมัยของมัน  

ชาวอีสานหลายพื้นที่รู้จักแมลงชนิดนี้ ดี เพราะมีให้เห็นตาม ท่งนา ป่าโคก แลเห็นมันเป็นอาหาร
และไม่ได้มี พิษภัย คุกคามพืชไร่ พืชนา  มันคือส่วนประกอบหนึ่งเล็ก ๆ ที่ทำให้ วิถีเรียบง่าย
แอบอิงธรรมชาตินั้น เปรมปริ่ม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 927 ครั้ง
ให้สาธุการบทความนี้
 
 
  04 ก.ค. 2555 เวลา 16:20:03  
        offline  ติดต่อหลังเวที  ติดต่อโดยเมล์ ตอบอ้างอิง  
 
  ปราร้านอกไห   ตอบเต็มรูปแบบ || Quick Reply  
  หน้า: 1 2 3 4 5

   

Creative Commons License
สารานุกรม แมงไม้ ใน อีสาน --- ปลาร้านอกไห (ปลาร้านอกไห --- อีสานจุฬาฯ)