
ชื่อวิทยาศาสตร์ Aiolopus thalassinus tamulus
ชื่อพื้นเมือง ตั๊กแตนโม (เศรษฐีทุ่งโล่ง)
รูปร่างลักษณะ
- ขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่เรียวสมส่วน
- ลำตัวสันด้านหลังแข็ง เรียวยาว บินได้ไกลมาก
- หนวดสั้น ตาสีหญ้าแห้ง โตกว่าตั๊กแตนชนิดอื่น
- สีของลำตัวเป็นสีเขียวแก่
- ปีกคู่หน้ามีสีเขียว และไล่ลายจุดสีน้ำตาลจนถึงหาง
- ขาคู่ที่ 3(ขาดีด) สีเขียวไล่เฉดสีหญ้าแห้ง มีหนามแหลมใหญ่ สีอมชมพู
- บริเวณโคนปีกคู่ที่ 2 (ปีกใน) เป็นสีเหลืองอ่อนและปีกสั้นแต่กว้าง
- บนกึ่งกลางด้านหลังของส่วนแรกเป็นสันเรียบ ๆ ต่างจากชนิดอื่น ซึ่งจะเป็นสันนูน
วงจรชีวิต
- ใน 1 ปี มีการขยายพันธุ์ 1 ครั้ง
- ฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือน เมษายน- มิถุนายน
- เริ่มวางไข่ใน เดือน เมษายน ถึง พฤษภาคม
- ชอบวางไข่ในดินที่มีความชื้นพอเหมาะ เช่นใต้ขอนไม้ โคนไม้
- ไข่ทั้งหมดอยู่ในฝักซึ่งเป็นสารหยุ่น ๆ คล้ายฟองน้ำ
- ไข่มีลักษณะยาวรี ประมาณ 7 มม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มม
- ไข่ใหม่ ๆ มีสีเหลืองแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
- ช่วงอายุของไข่ 35 วัน
- ไข่เริ่มฟักเป็นตัวอ่อนในช่วง พฤษภาคม, มิถุนายน
- ช่วงอายุตัวอ่อน 65 วัน
- มีการลอกคราบ 6 7 ครั้ง จึงกลายเป็นตัวเต็มวัย
- ตัวอ่อนมี 3 วัย
- อายุของตัวเต็มวัย 4 เดือน

ภาพวงจรชีวิตตั๊กแตนโม

ภาพตัวอ่อนของตั๊กแตนโม ปีกยังไม่งอก
ลักษณะนิสัยทั่วไป
ชอบอาศัยตามทุ้งหญ้า พื้นที่โล่ง ตามทุ่งนาในพื้นที่ราบสูง มีความสารถพิเศษ กว่าตั๊กแตนชนิดอื่น
คือ ดีดตัวครั้งหนึ่ง บินได้อึดและนาน บินได้ไกล ร่วม 200 เมตร ต่อ 1 ครั้ง
จึงนับได้ว่าเป็นตั๊กแตนที่จับตัวได้ยากนักแล อีกทั้ง ตั๊กแตนโม มีดวงตาประกอบ ชนิดตารวม
ที่มีขนาดโตกว่าตั๊กแตนปกติ จึงมาสามารถ ตรวจจับความเคลื่อนไหวได้อย่ารวดเร็ว
ชอบกินยอดหญ้าอ่อน รวมทั้งยอดอ่อนของพืชพันธุ์ตามท้องถิ่นบางชนิด ไม่พบว่าตั๊กแตนโม ทำลายพืชไร่
นั่นแสดงว่าตั๊กแตนชนิดนี้ กินยอดพืชที่เกิดตามถิ่นฐานเดิมเป็นอาหาร
ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนการเพาะปลูก มาเป็นการปลูกพืชทางเศรฐกิจ
ซึ่งนั่นคือ การลดจำนวนพืชพันธุ์ตามท้องถิ่น
ทำให้ตั๊กแตนชนิดนี้ หายากยิ่ง อีกทั้งพฤติกรรมการสืบพันธุ์ ของตั๊กแตนชนิดนี้ ปี 1 สืบพันธุ์ แค่ครั้งเดียว
จึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
เด็กเยาวชนในปัจจุบันอาจไม่เคยรู้จัก ตั๊กแตนโม
รู้จักแต่ตั๊กแตน ชลดา เด็กรุ่นต่อไปจะไม่รู้จักตั๊กแตน ชลดา รู้จักแต่ ตั๊กแตน อินดี้ (วงเพลงแฟชั่น)

ความเกี่ยวเนื่องทางวิถีชีวิตอีสาน
ลงนาใหม่ ( หมายถึงการเริ่มฤดูกาลทำนา ) น้ำเต็มไฮ่เต็มคัน พ่อแม่ก็ไถนาฮุด ไล่ควายบักตู้ลงท่งนา
ลูกหลาน วิ่งเล่นตามไฮ่นา บ่างก็เล่นน้ำไฮ่นา เป็นที่สนุกสนาน บ้างก็เลี้ยง วัวเลี้ยงควาย
แลเห็นตั๊กแตนโม บินลงมาจับคันแถนา รีบถือไม้แส่ไล่ หวังจะจับเอาเป็น อาหารว่าง
แต่ตั๊กแตนโมมันบินไกล ต้อง วิ่งไล่จนลิ้นห้อย ไล่จนมันหมดแรง บินตกลงน้ำไฮ่นา
ใครได้ ตั๊กแตนโม คุยอวดอ้างกัน ถือว่า เก่ง ที่เองที่มาของชื่อ ตั๊กแตนโม
เพราะหากใครได้ ก็จะคุยโม้ โอ้อวดกัน ประสาเด็กน้อย
อีกอย่างหนึ่ง คำว่า โม ในภาคอีสาน
หมายถึง การบริจาค ( กริยา ) หรือ แปลว่า โต ( สดใส )
ตั๊กแตนโม เป็นของขวัญแห่งท้องทุ่ง ชีวิตของสัตว์ตัวเล็ก ที่มีคุณค่า คู่กับทุ่งนาอีสาน
มานานนับโบราณกาล
ปัจจุบันลดจำนวนลง ดังวิถีชาวที่ค่อยๆ เลือนหาย ไปอย่างแช่มช้อย
ขอบคุณข้อมูล ภาพจาก www.malang.com และภาพสวยๆ จากเว็ปอื่นๆ ครับ
|