
ชาวซามูไร กล่าวว่า
ที่มาของรสชาติอาหารไม่ได้เกิดจากความพิถีพิถัน และฝีมืออันเยี่ยมยอดของผู้ปรุงเท่านั้น
แต่ยังประกอบด้วยความใส่ใจในการสรรหาและคัดสรรวัตถุดิบชั้นเลิศ
ความสดใหม่และมีคุณภาพ การนำเสนออย่างมีศิลปะสวยงาม ตรงมาจากประเทศญี่ปุ่น
ภาชนะในการจัดวางอาหารทุกชิ้นเป็นเครื่องปั้นดินเผาแบบ `ทเบยาชิ`
ที่จัดทำขึ้นเฉพาะถิ่น
..
วิตก , วิจารณ์
ที่มาของรสชาติอาหาร มาจาก ความหิว และความปลอดโปร่งสิ้นภาระวิตกจริต ของผู้กิน
สังเกตจากอาหารมื้อสุดท้ายของ นักโทษประหาร ต่อให้เป็นเมนู รสทิพย์
ที่ปรุงโดย เชฟ ระดับสรวงสวรรค์ เอามาวางตรงหน้าก็ยังรับประทานไม่ลง
ที่อาหารชาวซามูไร กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ไทยเองก็ตาม
เราจะเห็นร้านอาหารซามูไรผุดขึ้นยังกะดอกเห็ด ข้อความข้างต้น คือสิ่งยืนยัน
ของความสำเร็จในการ เผยแพร่อาหารของเขา
นั่นคือการปลดเปลื้องวิตกจริตของผู้กิน
โดยการสร้าง นิยามปัจเจกเอกลักษณ์ ความมุ่งมั่นในการใส่ใจการทำอาหาร
ความพิถีพิถัน (ซึ่งชาติทุกชาติมีอยู่แล้ว มีชาติไหนเอาเท้าทำอาหารมั่ง)
ใช้ศิลปะในการนำเสนอ เพื่อคลายวิตกจริต ให้เป็น ไฮคลาส พิเศษจริง ๆ ไฮ๊ !
ผมชื่นชม นัยการทำอาหารแบบชาวซามูไร นั่นคือ การมีจุดยืนในชาตินิยมของตน
อดทนและมีระเบียบแบบแผน นำเสนอวัฒนธรรมการกินของตนให้โดดเด่นได้
แม้ท่ามกลาง วิตก ของกระแสวัฒนธรรม นั่นคือความเกรียงไกรของพวกเขา
.................................................................................................................................

หันมาดูอาหารไทย เมนูที่เกรียงไกร คือ ต้มยำกุ้ง โด่งดังไปทั่งแดนไกล
คนไทย ชอบต้ม คนไทย ชอบยำ ต้มคือการไม่ต้องใช้น้ำมันทอด
ยำคือการ เอาหลาย ๆ อย่างมาผสมกัน เกิดเป็นแบบใหม่
หากจะตีความจริต ให้ถึงแก่น ให้คนฟังเกลียดชัง คือ คนไทยชอบโกหก
คนไทยชอบรับเอาของคนอื่นมาผสมดัดแปลง
ฟังแล้วเลือดรักชาติมันเดือดพล่าน อยากจะโต้กลับไปทันควัน
นั่นไง จุดยืนในชาตินิยมมาแล้ว รักษาเอาไว้เถิดจะเกิดผล
..................................................................................................
ด้วยความเป็นคนรักชาติ จึงขอเสนอเมนูไปแข่งขันเขา ในฐานะประเทศไทย
จะเข้าเป็นประชาคมอาเซียน และเปลี่ยนเป็น สมาพันธุ์อาเซียน ในอีก 100 ปี
และจะเป็น สมาพันธุ์อีซาเนีย ในอีก 5000 ปี นู้น...
( เหตุผลในการเปลี่ยนจาก ประชาาคม เป็นสมาพันธุ์
คือระบบเศรษฐกิจ (เงินตราทุนนิยม) ล่มสลาย
ชาติเดี่ยว ๆ ไม่สามารถรักษาประโยชน์ในความอยู่รอดได้
มนุษย์เลิกเชื่อในระบบเงิน ( เงินตราคือเครื่องหมายแทนความไว้ใจกัน )
หันมาให้ความสนใจในการพัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติ อันจะยังประโยชน์ให้มนุษย์ดำรงอยู่ )
ชื่อเมนู แจ่วบอง
ชื่อภาษาไทย หนุมานสลายร่าง
ชื่อภาษาอังกฤษ Para Bong Esso
กล่าวนำ
อะโหล...อ้ายปิ่นติ เสียงท่าทางอารมณ์ดีดังขึ้นเมื่อขะน้อยรับโทรศัพท์
เอ้อ ! แม่นไผนิ ขะน้อยถามด้วยเสียงบ่คุ้น
น้อง แอรี่ จ้า...จื่อได้บ่ เสียงจากปลายสายตอบมา น้ำเสียงแต่งจริตนิดพองาม
แอรี่ ไสน้อ บัดเทื่อนิ ขะน้อย มืดแปดด้าน
เอ๋ากะ แอรี่ เฮือนข้างๆ กัน นั่นเด้ เล่นเฮือนน้อยนำกัน ตั้งแต่น้อย จื่อบ่ได้ ติ
เออ.... แอรี่.......แอ...รี่.. ..อ๋อ...อีแหล่ ! หุยย...นึกว่าฝรั่งทางได๋
55555555555555555555555
ข่อยอ่านกระทู้ของเจ้าแล้ว แม่นเจ้าอีหลีติ
ปลอมยากอยู่ดอก หน้าตาแบบนี้ ขะน้อยตอบ
เอา ปลาแดกบอง ลงแนเด้อ อยู่ออสเตรียกะมีขาย ปลาแดกกระป๋อง
.

ครับทุกวันนี้ ภาษา สก้อยส์ กำลังฮิต ในหมู่วัยรุ่น ที่ใช้ Face Book
เบิ่งแล้ว กะสีคือ ๆ การเข้ารหัส ความหมาย เป็นคล้าย ภาษาอิซาเนีย ที่คุยกันในอีสานจุฬา
เช่น ผบน. เอสโซ่ โอเลี้ยง โอติมหลอด บุคคล 40 เป็นต้น
แจ่วบอง จึงเป็นเมนูอาหาร เข้ารหัส ทั้งรสชาติและความหมาย อันเป็นชาวอีสานโดยบริบท
หากมีใจรักการผจญภัย ตื่นเต้น และความเป็นนักสู้ สู้กับความโหดร้ายของธรรมชาติ
เมื่อได้กินอาหารเมนูนี้แล้ว เหมือนได้ชิมความอร่อยของ ช่องว่างแห่งวิญญาณ

ต้นกำเนิด ความเป็นมา
แจ่วบอง หรือ ปลาร้าสับ หรือ ปลาแดกบอง ต้นกำเนิดมาจาก ชาวอีสาน มีคู่กับถิ่นนี้มานานโข
กำเนิดมาจากปลาแดกชั้นดี ผลิตจากปลาน้ำจืด ที่แหวกว่าย ตามแม่น้ำโขง, ชี , มูน
หมักไว้ในไห จนกลมกล่อม เนื้อปลาถูกหมักด้วยเกลือสินเธาว์ ชั้นดี จนมีเนื้อสีแดง
เดิมในโบราณกาลนั้น ชาวอีสานต้องเดินทางไปหาแหล่งน้ำ หรือ แหล่งอาหาร ไกลจากถิ่นตน
ในฤดูแล้ง หรือ เดินทางด้วยเท้า ด้วยเกวียน แรมเดือน ไปเยี่ยมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างเมือง
จึงได้คิดค้น เมนูอาหารชนิดนี้ เพื่อปรุงเสร็จ แล้วใส่กระบอกไม้ไผ่ ติดตัวไปด้วยในเวลาเดินทาง
ส่วนของกินแกล้ม ไปหาเอาดาบหน้า ผักหญ้าตามแต่จะหาได้ พกพาได้สะดวก ง่ายต่อการกิน
และเก็บรักษาไว้ได้นานหลายเดือน
แจ่วบอง จึงเป็นอาหาร fast food เจ้าแรกในถิ่นนี้
ที่คิดค้นโดยบรรพบุรุษชาวอีสาน แต่กลับไม่มีบันทึกให้ภูมิใจ

เครดิตภาพจาก
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=pradthana&month=01-2010&date=06&group=2&gblog=2
ส่วนประกอบ
เนื้อปลาแดก 1 ถ้วย ( แนะนำให้ใช้ปลาแดกจาก อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม )
พริกแห้งคั่วให้สุกจนเป็นสีน้ำตาล (ระวังอย่าให้ไหม้) โขลกให้ละเอียด
กระเทียมปลอกเปลือก คั่วให้สุกสีเหลืองปนน้ำตาล
หอมแดงคั่วหั่น ( หัวหอมจาก อ.ราษีไศล )
มะกอกป่า 3-4 ลูก (หากหาไม่ได้ ใช้ใช้มะขามเปียกแทน )
ข่า ตะไคร้ หั่นเป็นแว่นคั่วให้หอมโขลกละเอียด
เกลือสินเธาว์สารคาม
น้ำ ( แนะนำให้ใช้น้ำจาก ส่างหิน )
น้ำตาลก้อน ( น้ำอ้อย ) จากเมือง ขอนแก่น
ผักสดตามชอบ เช่น มะเขือ ผักกะโดน และอื่นๆ ตามแต่จะหาได้ ไม่กำจัด
ส่วนวิธีทำ ขอสงวนไว้ เป็นสูตร ปู่ลาว ปัจจุบันมีการใช้เทคนิคในการผลิต ผสมสมุนไพร หรือสูตรอื่น ๆ
เพิ่มความหลากหลายของเมนู แจ่วบอง โบราณใส่กระบอกไม้ไผ่ ปัจจุบัน มีการพัฒนาบรรจุ กระป๋อง
หรือ กระปุกส่งไปขายต่างประเทศ และเป็นสินค้าโอท็อบไปแล้ว พี่น้อง

ที่มาภาพตามที่ปรากฎในภาพครับ
พี่น้องอีสานที่ไปทำงานที่ประเทศใต้หวัน สั่งปลาแดกบอง 1 กก. ไปกิน ชาวใต้หวันได้ขอทดลองกิน
แซบหลาย ติดใจ โทรมาสั่งให้ส่งไปให้อีก 5 กก. ฮ้วยไต้หวันกะกินปลาแดกบองเป็น ซั้นติ
โอ้ย..จะแม่นเพิ่นติดใจ คุ้ยเอา คุ้ยเอาพะนะ
แจ่วบองคืออาหารของนักผจญภัย หรือฝรั่งเรียกว่า Adventure ด้วยรสชาติเผ็ดแซบ และนัวผสมกัน
ซ้ำยังกินกับผักต่างได้สารพัด มันคือจิตวิญญาณแห่งการดิ้นรนเอาตัวรอด การเดินทาง และมิตรภาพ
ที่แผงไว้ในรสชาติของอาหารชนิดนี้
เมื่อชาวไต้หวัน ที่เดิมทีอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ถูก พรรคก๊กมินตั๋ง ไล่ต้อน เร่ร่อนรอนแรม นับพันลี้ จนอพยพ
มาอยู่เกาะไต้หวัน เมื่อ ได้ชิม Para Bong Esso วิญญาณแห่งนักสู้ที่รอนแรม ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
จึงโชติช่วงในชิวหา เพราะ แจ่วบอง คือ อาหารแห่งการ Adventure โดยบริบท
แนะนำศิลปะการนำเสนอแบบ ชาวซามูไร ควรบรรจุในไหบ้านเชียงขนาดเล็ก ที่ผลิตเฉพาะถิ่น
ติดโลโก้ อีซาเนีย ส่งชายไปทั่วแดนไกล ให้รู้ว่าไทยก็มีดีในโลกา
ปัญหาคือ เราจะแก้วิตกจริตเช่นไร ให้คนไทย ภาคภูมิใจในรากเหง้าตน
เฉกเช่นชาวปลาดิบ

เครดิตภาพ จาก www.dumenu.com
|