ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 28 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
ผีสางฮ้ายผกจอบกินหวาน บ่ท่อคนเฮาหลอนหลอกกินกันแท้ แปลว่า ผีหลอกที่ว่าร้าย ก็ไม่เท่าคนหลอกคน ลวงเอาของกันและกัน หมายถึง คนโลภมาก ไร้ยางอาย น่ากลัวกว่าผีสาง พึงหลีกให้ห่าง


  ค้นหาสาธุการ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1 2  
  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่3) ลาวศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


วัฒนธรรมชาวลาว จ.ศรีสะเกษ      
  
การแต่งกายของชาวลาว
แต่งกายคล้ายคนไทยทั่วไป  ในสมัยก่อน ชายนุ่งผ้าขาวม้า  ผ้าโสร่ง หรือกางเกงขาก๊วย  มีหูรูด มีผ้าขาวม้าพาดบ่า  หญิงนุ่งผ้าถุง มีผ้าคาดอก  ถือผ้าเบียงหรือสไบ  ไม่สวมรองเท้าเป็นส่วนใหญ่  แต่ขณะนี้การแต่งกายเป็นไปตามสมัยนิยมแล้ว

  

การกินอยู่ของชาวลาว
ในอดีตกินข้าวเหนียวทุกมื้อ โดยการแช่ข้าวเหนียว (เรียกว่าหม่าข้าว) แล้วนึ่งในหวดหรือมวย  อาหารหลักคือปลา (จะมีการทำปลาร้าเก็บไว้กินตลอดปี) และอาหารอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นผักพื้นบ้าน หมูเห็ดเป็ดไก่ แมลง    อาหารอาจรับประทานดิบ ถ้าทำให้สุกจะใช้การต้ม นึ่ง จี่ เผา ปิ้ง ย่าง คั่ว อ่อม ไม่นิยมผัดทอด อาหารชั้นยอดคือลาบ,ก้อย   ปัจจุบันการกินของดิบเริ่มน้อยลงเพราะการรณรงค์ของราชการ  นอกจากนั้นยังกินสัตว์แทบทุกชนิด  เห็ดป่าต่างๆ จึงเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 217)

  

ความเชื่อ

ความเชื่อเรื่องญาพ่อ(หรือเจ้าพ่อ) เผ่าที่นับถือญาพ่อคือคนลาว  ที่อ.บึงบูรพ์จะนับถือเกือบทุกหมู่บ้าน  อาจเรียกได้ว่าญาพ่อคือจ้าวในเมืองผี  จะมีประเพณีการเลี้ยงญาพ่อ เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ท่านปกปักรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 244-252)

  

การละเล่น

หมอลำ

แบ่งเป็นหมอลำคู่ (ลำโต้ตอบระหว่างชายหญิง) และหมอลำหมู่จะลำเป็นคณะ  แต่งตัวคล้ายลิเกและแสดงเป็นเรื่องราว (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 168)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 1483 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 1482 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 14:54:15  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่17) แนวแซบศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
ชมรมไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน      

"ชมรมไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทัน"  สามารถติดต่อได้ที่นายปกรณ์ รัตนถาวร  เลขที่ 153  หมู่ 1  บ้านห้วยทับทัน  ต.ห้วยทับทัน  จ.ศรีสะเกษ  333210  โทรศัพท์ 045-699025  01-9998188

ไก่ย่างไม้มะดันห้วยทับทันมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480  เดิมมีการย่างไก่ประมาณ 4-5 ราย  ยังไม่แพร่หลายนัก  โดยส่วนมากเมื่อย่างเสร็จจะนำใส่ตะกร้าขึ้นไปจำหน่ายบนรถไฟ  เนื่องจากมีขบวนรถไฟสายอุบลราชธานี-กรุงเทพฯ ผ่าน  ต่อมาได้มีการสร้างทางหลวงหมายเลข 226 ผ่านอำเภอ  จึงมีการขยายร้านมาจำหน่ายริมทางหลวง  โดยทำเป็นแผงจำหน่ายชั่วคราวจนมาเป็นร้านจำหน่ายในปัจจุบัน  ซึ่งมีมากกว่า 40 ร้าน  ไม้มะดันมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีกลิ่นหอม  ออกรสเปรี้ยว  ทนความร้อนได้ดี  และเมื่อนำมาคีบไก่จึงเพิ่มรสชาติให้ไก่มีความหอมอร่อยมากยิ่งขึ้น (สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ  สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ. 2548. "ประวัติศาสตร์  วัฒนธรรม  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  อัน
ไข่เค็มไพรบึง      
ไข่เค็มไพรบึง  นับเป็นสินค้าลือชื่อของจังหวัดศรีสะเกษชนิดหนึ่งที่ผลิตไม่ทันจำหน่าย  ผลิตโดยกลุ่มสตรีแม่บ้านเกษตรกรบ้านโพธิ์ไทร  ต.ไพรบึง  อ.ไพรบึง  จ.ศรีสะเกษ  โดยมีนางโสภา  สมศรี  เป็นประธานกลุ่ม  ไข่เค็มไพรบึงเป็นไข่เค็มที่มีคุณภาพ  ผลิตจากดินจอมปลวกบดละเอียด  แกลบเผาบด  ผสมกับน้ำเกลือในอัตราส่วน  เกลือ 2 กิโลกรัม  ดิน 3 กิโลกรัม  นำส่วนผสมที่ได้มาพอกไข่บรรจุใส่ถุงพลาสติกปิดให้แน่น  แล้วจึงนำไปบรรจุกล่องจำหน่าย  ไข่เค็มที่เก็บไว้ 7 วัน  สามารถนำมาทำเป็นไข่ดาว  หากจะทำเป็นไข่เค็มให้เก็บไว้ 15 วัน  เมื่อนำมาต้มจะได้ไข่เค็มที่สามารถเก็บไว้ได้นานถึง 60 วัน  ปัจจุบันกลุ่มสตรีแม่บ้านเกษตรกรบ้านโพธิ์ไทรสามารถผลิตไข่เค็มได้ถึงวันละ 1,000 ฟอง  (ศ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 994 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 993 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:32:06  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่5) การฟ้อนกลองตุ้ม บ้านผึ้ง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
การฟ้อนกลองตุ้ม บ้านผึ้ง     ต.ทาม    อ.กันทรารมย์    จังหวัดศรีสะเกษ

    ในท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษมีศิลปะการฟ้อนที่สำคัญที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ  “ฟ้อนกลองตุ้ม”  เป็นศิลปะการฟ้อนที่พบในสังคมวัฒนธรรมของกลุ่มคนชาติพันธุ์ลาวเป็นส่วนใหญ่   การฟ้อนกลองตุ้มเป็นศิลปะการฟ้อนที่มีความงดงามและมีความเป็นเอกลักษณะของท้องถิ่น  แสดงให้เห็นว่าคนท้องถิ่นนั้นๆมีศิลปะด้านการฟ้อนรำที่บ่งบอกถึงสุนทรียะทางด้านความคิด จิตใจ   และจินตนาการ  อันเป็นมรดกที่ได้รับการตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ  และสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นกลุ่มชนที่มีสังคมวัฒนธรรมที่เต็มไปด้วยศาสตร์และศิลป์ในการดำรงชีวิต   การฟ้อนกลองตุ้มของบ้านผึ้ง  ต.ทาม  อ.กันทรารมย์  จ.ศรีสะเกษ  เริ่มมีการฟ้อนตั้งแต่บรรพบุรุษซึ่งก็ยากที่จะหาหลักฐานมายืนยันให้แน่ชัดได้ว่าเริ่มต้นตั้งแต่ปี    พ.ศ. ใด  สมัยใด    จากการสัมภาษณ์คนเฒ่าคนแก่ที่มีอายุ  70-80  ปี ก็มักจะได้คำตอบเหมือนกันคือ “เกิดมาพอจำความได้ก็เห็นแล้ว”  คำกล่าวนี้จึงพอจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า  การฟ้อนกลองตุ้มของบ้านผึ้ง  ต.ทาม  อ.กันทรารมย์   มีความเป็นมายาวนานหลายชั่วอายุคนและยังถือปฎิบัติสืบทอดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
        การฟ้อนกลองตุ้มของชาวบ้านผึ้งนิยมเล่นกันในประเพณีบุญบั้งไฟ   เป็นศิลปะการฟ้อนรำที่มีความเชื่อแฝงอยู่ด้วย  และยังเป็นศิลปะที่ผสมผสานระหว่างการฟ้อนรำ   กับ   ดนตรี (กลองตุ้ม)    การฟ้อนรำนี้เป็นการฟ้อนรำตามฉบับพื้นบ้าน คือโยกย้ายท่วงท่าการฟ้อนรำไปตามอิสระไม่มีการกำหนดท่วงท่าที่แน่นอนตายตัว    ลักษณะการฟ้อนกลองตุ้มของบ้านผึ้งจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่ที่การแต่งกายและการจัดขบวน  บางครั้งเราอาจเรียกการฟ้อนกลองตุ้มเป็นการละเล่นก็ได้เพราะเป็นความสนุกสนานที่ชาวบ้านได้ร่วมกันทำโดยไม่มีการแบ่งแยกคนเล่นกับคนดูเหมือนการแสดง
        เมื่อถึงช่วงเดือนหกอันเป็นระยะเวลาที่จะมีการจัดบุญบั้งไฟซึ่งถือว่าเป็นบุญประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวอีสานและชาวบ้านผึ้งให้ความเชื่อมั่นและศรัทธาว่าจะเป็นประเพณีที่จะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความผาสุขของชาวบ้าน   ในบุญประเพณีนี้เองที่จะต้องมีการละเล่นที่สนุกสนานและชาวบ้านจะได้ร่วมกันละเล่นร่วมกันฟ้อน  นั่นก็คือ “ฟ้อนกลองตุ้ม”  ชาวบ้านจะมีการเตรียมการกันอย่างดี  โดยจะมีการประชุมชาวบ้านหรือคณะกรรมหมู่บ้านกันก่อนเพื่อหาฤกษ์หายามที่เป็นมงคล  เมื่อประชุมกันและตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าจะจัดงานบุญบั้งไฟกันวันไหน  (ในอดีตชาวบ้านจะใช้ระบบการเรียกวันตามคตินิยมของท้องถิ่น  เช่น  วันเพ็ง  วันแรมหรือแฮม  เดือนหก หรือเดือนเจ็ด  เป็นต้น)  ก็จะมีการประกาศบอกกันให้ทราบทั่วทั้งหมู่บ้าน  การประกาศบอกนี้จะต้องใช้คนวิ่งประกาศคนเดียวเรียกว่า  “จ่าเติน”   เพื่อเป็นผู้ประชาสัมพันธ์บอกวันเวลาให้ชาวบ้านในหมู่บ้านทราบว่าจะมีการจัดบุญบั้งไฟขึ้น  ให้ชาวบ้านเตรียมทำข้าวปุ้น (ขนมจีน)  เพื่อต้อนรับแขก  พี่น้อง  และญาติมิตรที่จะมาเยือน
การฟ้อนกลองตุ้มในอดีตจะเริ่มเล่นกันอย่างต่อเนื่องนับจากที่รู้แล้วว่าจะมีการจัดบุญบั้งไฟขึ้น  แต่จะมีการเล่นกันอย่างจริงจังในวันแห่บั้งไฟหรือชาวบ้านเรียก   “วันโฮม”  ชาวบ้านจะมีการตีกลองตุ้มเรียกกันเพื่อให้สมาชิกออกมารวมกัน      เมื่อได้ยินเสียงกลองตุ้มก็จะออกมารวมกันเล่นอย่างสนุกสนาน  เพราะวันโฮม เป็นวันที่ชาวบ้านจะต้องต้อนรับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน  ญาติมิตรพี่น้อง  และเป็นวันแห่บั้งไฟ   การฟ้อนกลองตุ้มในช่วงบุญบั้งไฟถือว่าเป็นการฟ้อนเพื่อบูชาพญาแถนด้วย    การฟ้อนกลองตุ้มของบ้านผึ้งจะต้องมีการผูกผ้านุ่งติดกัน  และในอดีตคนที่จะมาฟ้อนกลองตุ้มส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย  เนื่องจากตามหลักค่านิยมของท้องถิ่นแล้วการที่ผู้หญิงจะออกมาเต้น  ระบำ รำ  ฟ้อน กรีดร้อง    ถือเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง  ผู้หญิงจึงมีหน้าที่จัดเตรียมอาหาร  สุรา  และเครื่องดื่มต่างๆเพื่อบริการผู้มาเยือน  แต่ปัจจุบันการฟ้อนกลองตุ้มของบ้านผึ้งมีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย   การที่ชาวบ้านมีการผูกผ้าติดกันเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีใครแอบหนีกลับบ้านจะต้องร่วมเล่นด้วยกันจนกว่าจะเลิกงาน  การจัดขบวนฟ้อนกลองตุ้มของบ้านผึ้งแบบขบวนเป็นสามส่วนดังนี้   กลุ่มฟ้อนขบวนหน้า และขบวนหลัง    คนตีกลองตุ้มและพางฮาด   นายท้ายเรือ    การฟ้อนกลองตุ้มของบ้านผึ้งยังเป็นวิถีชีวิตที่ชาวบ้านปฏิบัติร่วมกัน ไม่ใช่การแสดงที่ดัดแปลงท่าทางให้ดูสวยงามลีลาการฟ้อนส่วนใหญ่จึงดูไม่ค่อยเป็นระเบียบ หรือมีท่าทางเฉพาะเจาะจงใดๆ    กลุ่มที่ฟ้อนก็จะร่ายรำไปตามจังหวะลีลาของเสียงกลองและทักษะด้านการฟ้อนที่ตัวเองถนัด    คนตีกลองและตีพางฮาดจะต้องมีสองคน  (ตีกลอง  1  คน  ตีพางฮาด  1  คน)  ทำหน้าที่ให้จังหวะและความครึกครื้น  ส่วนคนที่ทำหน้าที่เป็นนายท้ายเรือถือว่าเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งเพื่อเสริมบรรยากาศให้มีความสนุกครื้นเครงมีมุขตลกขบขันขณะเล่น และมีหน้าที่คอยควบคุมให้ขบวนมีระเบียบไม่คดโค้งหรือแตกแถว  จากจุดนี้สะท้อนให้เห็นว่าชาวบ้านต้องมีความเกี่ยวพันกับการใช้เรือ  วิถีชีวิตก็จะต้องพึ่งพาน้ำ  และยังแสดงให้เห็นว่าภูมิประเทศจะต้องมีแหล่งน้ำหรือสายน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เรือเป็นพาหนะเดินทางหรือทำมาหากิน(ข้อมูลจากโครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ)

    

    


--------------------------------------------------------------------------------

 
 
สาธุการบทความนี้ : 906 ครั้ง
จากสมาชิก : 3 ครั้ง
จากขาจร : 903 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 15:10:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่18) ตำนานเมืองกตะศิลา      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
ตำนานเมืองกตะศิลา      

คนเก่าแก่เล่าสืบต่อกันมาว่า บริเวณเมืองศรีสะเกษ เป็นเมืองโบราณ  เรียกว่าเมืองอินทเกษ  ที่ อ.ราษีไศล  มีเมืองเมืองหนึ่งชื่อว่าเมืองกตะศิลา  ที่อ.เขื่องในมีเมืองหนึ่งเรียกว่า   เมืองชีทวน  เจ้าเมืองชีทวนมีธิดาสาวงามคนหนึ่ง ซึ่งชอบพอกับบุตรชายเจ้าเมืองกตะศิลา  แต่บิดาไม่ทราบความจริง  ฝ่ายเจ้าเมืองอินทเกษไปสู่ขอธิดาเจ้าเมืองชีทวนให้แก่บุตรของตน เจ้าเมืองชีทวนยินยอมและพร้อมกันกำหนดวันแต่งงาน แต่พอใกล้วันแต่งงาน ธิดาเจ้าเมืองชีทวนลอบหนีไปอยู่กับบุตรเจ้าเมืองกตะศิลาเสีย  เจ้าเมืองอินทเกษไม่พอใจจึงยกทัพเพื่อชิงนาง  แต่เจ้าเมืองกตะศิลามีกำลังคนมากกว่าได้รับชัยชนะ  เจ้าเมืองชีทวนได้มอบธิดาให้บุตรเจ้าเมืองกตะศิลา  พร้อมกับให้ตั้งกองทัพอยู่ระหว่างทางไปเมืองอินทเกษ  คือตรงที่บ้านเมืองน้อย อ.กันทรารมย์  จ.ศรีสะเกษ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 834 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 834 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:33:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่12) ตำนานบ้านเหม้า      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
ตำนานบ้านเหม้า      

เป็นเรื่องราวของศึกชิงนางเช่นกัน จนเป็นที่มาของชื่อสถานที่ต่างๆใน จ.ศรีสะเกษ  มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า เจ้าชีซ้วน (ชีทวน) มีธิดานามว่า เจี่ยงใด  มีความงดงามเป็นที่ต้องใจของหนุ่มผู้ครองนครทั้งหลาย ท้าวกาฬหงส์ลูกชายเจ้าเมืองกาฬหงส ์(เมืองพะนา) มีความคลั่งไคล้ในตัวนาง จึงให้บิดาไปสู่ขอ  เจ้าเมืองชีซ้วนยินยอมรับหมั้น ท้าวอินทะเกษเจ้าเมืองศรีสะเกษก็มาหลงรักนางเช่นกัน จึงคิดหาทางจะเอามาเป็นคู่ครองให้ได้ จึงยกทัพจะมาสู่ขอนางตามเส้นทางโพธิ์โนนจาน ข้ามแม่น้ำมูลพักไพร่พลอาบน้ำ ต่อมาจึงเรียกที่นี่ว่าท่าสีไคล  เดินทางต่อผ่านไปบ้านบัวน้อย ทราบข่าวว่านางเจี่ยงใดมีคู่ครองแล้วก็เกิดลังเลใจ ไหนๆ มาแล้วก็ต้องไปให้ถึง  ที่แห่งนี้ต่อมา เรียกทุ่งกะเทิน  (ต่อมาเพี้ยนเป็นทุ่งเทิน) เดินทางต่อไปผ่านหนองน้ำที่มีพืชสีเขียวลอยอยู่ในน้ำ  ต่อมาเรียกบ้านหนองเทา ผ่านบ้านกระเตา บ้านลาดทราย (ละทาย)  บ้านอ้น (สัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายหนู) ผ่านหุบห้วย ข้ามแม่น้ำชี  แย่งเอานางเจี่ยงใดจากเจ้าเมืองชีซ้วนได้ พากองทัพและนางเจี่ยงใดหวนกลับข้ามแม่น้ำชีทางเดิม  ขากลับไพร่พลอิดโรยมาก เจ็บป่วยต้องพยุงกันไป ได้พักที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ต่อมาเรียกว่าบ้านเจี่ย  ผ่านบ้านหมัด หวังจะเปลี่ยนเส้นทางข้ามแม่น้ำมูล เพราะเข้าใจว่าถึงอย่างไรทัพของเจ้าเมืองชีซ้วนคงจะตามมาแน่

ทัพของเจ้าอินทเกษ เดินทางมาถึงฝั่งแม่น้ำมูล หยุดพักพล หาเสบียงอาหาร ส่วนนางเจี่ยงใดเอาแต่ร้องไห้เพราะจากบ้านจากเมืองมา และพูดบ่ายเบี่ยงว่าลืมสร้อยสังวาล อ้อนวอนขอท้าวอินทเกษว่าจะกลับไปเอา แต่พระองค์ไม่ยอม ที่ตรงนี้จึงเรียกว่าหนองสังวาล ต่อมาเพี้ยนเป็นหนองไชยวาน ระหว่างพักพลมีการฉลองกันที่ได้นางมาเป็นคู่ครอง ที่แห่งนี้ต่อมาจึงเรียกว่ากุดกินดองหรือกุดสันดองในเวลาต่อมา อาหารที่จัดเลี้ยงก็เป็นของที่หาได้แถวนั้น นั่นก็คือเต่า จึงใช้เต่าเป็นอาหาร  ที่แห่งนี้ต่อมาจึงเรียกว่าถ้ำเต่า   เป็นถ้ำใกล้ลำน้ำมูลหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าท่าถ้ำเต่า

ฝ่ายเจ้าเมืองชีซ้วนหลังจากถูกแย่งลูกสาว จึงให้ท้าวกาฬหงส์นำทัพออกติดตามกระชั้นชิด  ท้าวอินทะเกษเห็นจวนตัว จึงนำทัพตั้งมั่นอยู่ที่แห่งหนึ่งเพื่อรับศึก ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านเมืองน้อย  ส่วนท้าวกาฬหงส์นำทัพมาตั้งมั่นที่บ้านลาดทราย  ทั้งสองทัพทำศึกชิงนางยืดเยื้อนานเเรมปี  จนนางเจี่ยงใดคลอดบุตรเป็นชายมีรูปร่างอัปมงคล มีขนทั่วตัวคล้ายลิง ท้าวอินทะเกษจึงให้ทหารนำไปไหลล่องแพที่ลำน้ำมูล นางเจี่ยงใดเสียใจมาก ออกตามมาตามฝั่งแม่น้ำมูล  แพไหลไปตามน้ำถึงที่พักทัพครั้งลืมสร้อยสังวาล นางนั่งโศกเศร้าคิดถึงลูก คิดถึงพ่อแม่  ที่แห่งนี้ต่อมาจึงได้เรียกว่าท่านางเหงา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 827 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 826 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:19:24  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่11) ตำนานบ้านบักแมว      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
ตำนานบ้านบักแมว      

ตำนานเล่าว่ามีพี่น้องสองคนได้หลบหนีสงคราม ในสมัยเจ้าอนุวงศ์  คนพี่ชื่อบักมาย เมียชื่ออีปาด    คนน้องชื่อบักแมว เมียชื่ออีหลง เมื่อเดินทางมาถึงไร่แห่งหนึ่ง อีปาดเจ็บท้องคลอดลูก แต่ด้วยความเหนื่อยอ่อนจากการหนีทหารลาว จึงเสียชีวิต  ปัจจุบันคือบ้านอีปาด อ.กันทรารมย์  ส่วนบักมาย บักแมว อีหลง เดินทางต่อมา   บักมายแยกไปอยู่ใกล้กับห้วยพระบาง  ปัจจุบันคือบ้านหมากมาย อ.ค้อวัง จ.ยโสธร   ส่วนบักแมว ไปตั้งถิ่นฐานใกล้แม่น้ำมูล  ชื่อบ้านบักแมว ปัจจุบันคือบ้านหนองนาคู   ต่อมาทหารเจ้าอนุวงศ์ได้ตามมาฆ่าบักมายที่บ้านหมากมาย  ส่วนอีหลงก็ถูกฆ่าที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง  ปัจจุบันคือบ้านหนองอีหลง อ.ยางชุมน้อย จ.ศรีสะเกษ   บักแมวนั้นไปถูกฆ่าตายที่หนองน้ำ  ปัจจุบันคือ หนองเซียงแมว อยู่ในเขตบ้านดอนไม้งาม อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 653 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 652 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:18:07  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่16) การรักษาโรคด้วยการลำผีฟ้า      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


การรักษาโรคด้วยการลำผีฟ้า  
การรักษาโรคด้วยการลำผีฟ้าหรือลำแม่สะเอิงหรือลำแม่มด  เป็นภูมิปัญญาในการรักษาโรคอย่างหนึ่งของชาวเขมร กูย ที่ต.ไพรบึง อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ ยังสามารถพบเห็นพิธีกรรมนี้ได้ทั่วไป   การลำผีฟ้ามีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาคนป่วย   ในสมัยก่อนชาวศรีสะเกษนิยมปลูกต้นจำปา (ลั่นทม)  ไว้เกือบทุกบ้าน  เพื่อนำดอกจำปามาร้อยมาลัย  นำมาใช้ในพิธีกรรมการลำผีฟ้า มีการปลูกผาม (ปะรำ )พิธี    มีการบวงสรวงเชิญผีฟ้าเข้าทรง  มีหมอแคนพร้อมฉิ่งฉับ  ผู้ร้องลำอัญเชิญผีฟ้าผีแถน  มาเข้าทรงในร่างของตน  พกดาบจำลองทำด้วยไม้  เรือไม้จำลอง    แต่ละองค์ที่มาเข้าทรงจะมีนามแตกต่างกันและมีอาการแตกต่างกัน  เริ่มแรกที่มาเข้าทรงมักมีอาการสั่นเทิ้ม  มือที่พนมสะบัดอย่างแรงและเร็ว  ต่อจากนั้นมีการฟ้อนรำ  ร้องลำตอบโต้กันระหว่างผีฟ้าเป็นเวลานานพอสมควร  บอกวิธีแก้ไข บำบัดรักษาโรค  บางครั้งรำทั้งวันทั้งคืนหลายวัน  การลำผีฟ้ามีทั่วไป  ชาวบ้านจะมามุงดูเหมือนดูมหรสพ  เชื่อกันว่าการลำผีฟ้าจะรักษาผู้ป่วยให้หายได้หรือเพื่อความสุขในชีวิต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 649 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 648 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:29:13  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่6) วิถีชีวิตของชาวเยอ จ.ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
วิถีชีวิตของชาวเยอ จ.ศรีสะเกษ      
  
เยอ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษนักค้นคว้าบางท่านนับรวมคนเยอเป็นชนเผ่าเดียวกับกูย เพราะมีภาษาที่คล้ายคลึงกัน  เพียงแต่มีคำอุทานที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวเยอว่า  เหยา ๆ เท่านั้น (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 219) การแต่งกายของชาวเยอ- มีเอกลักษณ์ของตนเอง คือ ชายหญิงจะใส่เสื้อผ้าไหมเหยียบ แขนยาวย้อมสีดำ  ซึ่งเป็นผ้าไหมเส้นเล็ก ทอลวดลายขิดดอกเล็กๆ แทรกไว้ตลอดผืน  เมื่อตัดเย็บแล้ว นำมาย้อมดำด้วยมะเกลือ  เสื้อผ้าไหมเหยียบดำด้วยมะเกลือนี้   เป็นผ้าเนื้อแน่น อ่อนนุ่ม คงทน  ใส่ได้ในทุกโอกาส ทั้งทำนาทำไร่  ไปงานรื่นเริง  ปัจจุบันชาวเยอได้ประยุกต์ตนเองเข้ากับสมัยนิยมแล้ว  แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ของตนเองไว้ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 217) อาหารของชาวเยอ - เยอในอดีตไม่นิยมรับประทานเนื้อวัวหรือเนื้อควาย (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 219)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 620 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 619 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 15:19:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่19) ปัญหาช่องสะงำ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
  

ปัญหาช่องสะงำ

  

จังหวัดศรีสะเกษได้กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดไว้อย่างชัดเจน    โดยเฉพาะกลยุทธ์เปิดจุดผ่านแดน บริเวณชายแดนที่มีศักยภาพ เพื่อประโยชน์การค้าและการท่องเที่ยว   จากกลยุทธ์ดังกล่าว ทางจังหวัดจึงได้กำหนดเปิดจุดผ่านแดนถาวรบริเวณช่องสะงำ อ.ภูสิงห์  จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีชายแดนติดกับอำเภออัลลองเวง  จังหวัดอุดรมีชัย  ซึ่งเป็นประตูสู่นครวัด-นครธม  ในเขตจังหวัดเสียมราฐของราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีระยะทางจากอำเภออัลลองเวงถึงจังหวัดเสียมราฐ ประมาณ 135  กิโลเมตร    โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดจุดผ่านแดนถาวรในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อการค้าและการท่องเที่ยว  ซึ่งจะทำให้จังหวัดศรีสะเกษเป็นศูนย์กลางทางการค้า  การท่องเที่ยวในอีสานตอนใต้  สามารถเชื่อมโยงกับสามเหลี่ยมมรกต  ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่รัฐบาลมีนโยบายให้มีขึ้นในสามประเทศ  คือ ไทย-กัมพูชา-ลาว

  

  

ข้อมูลทั่วไปช่องสะงำ

ช่องสะงำเป็นช่องทางทางธรรมชาติ ที่ติดต่อกับชายแดนไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา  เป็นเส้นทางที่ประชาชนทั้งสองประเทศ ใช้ติดต่อสัญจรกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ  โดยเฉพาะในรัชสมัยของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เส้นทางสายนี้ถูกเรียกว่า "เส้นทางสายลวด"  ซึ่งชื่อนี้มาจากการที่เป็นเส้นทางสายโทรเลข ที่ใช้ติดต่อสื่อสารในช่วงที่เสียมเรียบ พระตะบองและศรีโสภณเคยเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย  บริเวณเมืองอัลลองเวงใกล้กับช่องสะงำ ในอดีตยังเคยเป็นที่ตั้งของเขมรแดง    อีกทั้งเส้นทางช่องสะงำ - อัลลองเวง- เสียมเรียบ  ซึ่งเป็นเส้นทางจากช่องสะงำสู่นครวัด-นครธม  ยังเคยถูกใช้เป็นเส้นทางลำเลียงยุทธปัจจัย ของกองกำลังเขมรแดงอีกด้วย   ช่องสะงำตั้งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านแซร์ไปร์ ตำบลไพรพัฒนา  การเดินทางจากอ.เมืองศรีสะเกษถึงจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อ.ภูสิงห์มีระยะทางประมาณ 105 กม.  จากช่องสะงำถึง จ.เสียมเรียบที่ตั้งนครวัด-นครธม มีระยะทางประมาณ 135 กม. (อรอุมา  ท่าบุญ, 2547:หน้า 21)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 614 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 613 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:38:08  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่30) จำปาสี่ต้น      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


จำปาสี่ต้น
เป็นตำนานที่กล่าวถึงที่มาของต้นลั่นทมไทย (จำปาลาว) ที่มาจากการที่พระโอรสแฝด 4 องค์ถูกฆ่า แล้วกลับชาติมาเกิดเป็นต้นจำปา  แม้ถูกทำลายก็ยังมีฤาษีมาชุบเลี้ยงให้กลับเป็นคนอีกครั้ง ตำนานมีอยู่ว่า    มีกษัตริย์องค์หนึ่งมีพระมเหสี 16 พระองค์  ไม่มีโอรสและพระธิดา  ต่อมากษัตริย์องค์นั้นได้มีพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง  นางมีพระโอรส สี่พระองค์ (แฝด4)  พระมเหสีเอกมีความอิจฉาริษยา  จึงกลั่นแกล้งกล่าวงหาว่าเป็นคนชั้นต่ำ จึงออกลูกออกมาเหมือนสัตว์ (หมา) กษัตริย์จึงโปรดให้เอาโอรสไปทิ้ง  มียายแก่คนหนึ่งไปพบเข้าจึงนำไปเลี้ยง  จนทรงพระเจริญมีพระโฉมงดงาม  ข่าวทราบถึงพระมเหสีเอก จึงทรงให้คนไปออกอุบาย ใช้ยาเบื่อผสมขนมให้พระโอรสทั้งสี่เสวยจนสิ้นพระชนม์  เมื่อสิ้นพระชนม์จึงเผาทั้ง 4 ศพ ณ จุดเดียวกัน  ต่อมาได้เกิดเป็นต้นจำปา ขึ้นมา ณ จุดนั้น 4 ต้น  ต้นไม้ดังกล่าวได้เจริญงอกงาม  พอมีคนไปเด็ดต้นจำปากลับมีเลือดไหลออกมา  พระมเหสีเอกมั่นใจว่าน่าจะเป็นพระโอรสทั้ง 4 องค์กลับชาติมาเกิดเป็นต้นไม้  จึงโปรดให้คนไปถอนรากถอนโคนต้นจำปา 4 ต้นล่องไปตามลำน้ำ ในที่สุด ก็มีคนนำไปปลูกและต่อมาฤาษีนำมาเสกจึงกลับกลายเป็นคน  เจริญเติบโตมีคนนับหน้าถือตา จึงล่วงรู้ถึงเจ้าเมืองจึงได้นำกลับมาบ้านเมือง  มีความสุขพร้อมหน้ากันในบั้นปลาย (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 159)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 556 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 555 ครั้ง
 
 
  05 ส.ค. 2551 เวลา 16:25:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่1) สี่เผ่าศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
คนศรีสะเกษส่วนใหญ่เป็นเผ่าลาวแต่ศรีสะเกษมีทั้งหมด 4 เผ่าได้แก่
ส่วย เขมร ลาว เยอ 4เผ่านี้อพยทมาต่างที่กัน สำเนียงของชาวศรีสะเกษแตกต่างกันสำเนียงของชาวศรีสะเกษมีทั้งภูไท อุบล และสำเนียงเฉพาะของศรีสะเกษที่เรียกว่า
ลาวศรีสะเกษที่ใช้เฉพาะศรีสะเกษเท่านั้นและสำเนียงศรีสะเกษนี่แหละที่ชาวศรีสะเกษใช้มากที่สุดจนเทียบเท่าภาษาราชกาลเลยที่เดียว
ชาวลาวศรีสะเกษนั้นอพยทมาจากหลายที่เช่นแทบอำเภอกันทรารมย์ทางฝากมูล
อพยทมาจากอุบลเช่นอำเภอเขื่องใน และอำเภอเมืองอุบล และมีบางส่วนมีตำนานว่าอพยทมาจากลาวโดยตรง เช่น บ้านเทิน อ.กันทรารมย์ และบางหมู่บ้านในอำเภอกันทรารมย์อพยทมาจากดินแดนอิสานเหนือที่ไกลโพ้นเช่น บ้านเมืองน้อย ซึ่งอพยท
มาจากเมองกาบแก้วบัวบานเขื่อนขัน หรืหนองบัวลำภูในปัจจุบันนั้นเอง และอำเภอเมืองบางหมู่บ้านเช่นบ้านโพนข่าอพยทมาจากเวียงจันทร์

 
 
สาธุการบทความนี้ : 540 ครั้ง
จากสมาชิก : 3 ครั้ง
จากขาจร : 537 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 14:43:30  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่359)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ต่ำหูก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 539 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 539 ครั้ง
 
 
  14 มี.ค. 2554 เวลา 15:02:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่14) ภาษาลาว จ.ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
ภาษาลาว จ.ศรีสะเกษ      

ภาษาลาวหรือภาษาอีสาน  เป็นภาษาที่มีพื้นฐานหรือตัวอักษรแบบเดียวกัน  แต่มีการพัฒนาแตกต่างกัน  เนื่องจาการติดต่อพื้นที่ข้างเคียงคนละด้าน  สำเนียงภาษาพูดภาษาท้องถิ่นก็แตกต่างกันตามพื้นเพเดิมที่อพยพมา   เช่นชาวบ้านคูซอด  บ้านโพนข่า  บ้านพยุห์ ที่มาจากเวียงจันทร์ สำเนียงจะเนิบๆช้าๆ ส่วนที่อพยพมาจากลาวใต้จะมีสำเนียงที่เรียกว่าส่วย  คือพูดภาษาลาวแต่อักษรกลางจะออกเสียงตรี  เช่น กิ๊น ไป๊ ดี๊ ตี๊ ภาษาลาวสำเนียงลาวเวียงจันทน์  ที่บ้านพยุห์  บ้านหนองครก บ้านคูซอด  บ้านโพนข่า  บ้านยางกุด  บ้านก้านเหลือง  อ.เมืองศรีสะเกษ  บางท้องที่ของอ.ขุนหาญ อ.กันทรลักษ์

ภาษาลาวสำเนียงลาวอุบล  กระจัดกระจายอยู่เกือบทุกแห่งใน อ.กันทรารมย์ อ.กันทรลักษ์  อ.ราษีไศล  อ.บึงบูรพ์  อ.โนนคูณ

ภาษาลาวสำเนียงลาวใต้ที่เน้นวรรณยุกต์ตรีในสำเนียงอักษรกลาง เช่น กิน เป็น กิ๊น ในเกือบทุกพื้นที่อำเภอเมือง  อ.อุทุมพรพิสัย  อ.ปรางค์กู่  อ.ขุขันธ์  อ.ห้วยทับทัน  อ.เมืองจันทร์  อ.น้ำเกลี้ยง  อ.ขุนหาญ  ซึ่งมักจะถูกเรียกว่าส่วย  ทั้งเป็นภาษาลาว   ผู้พูดภาษาลาวทั้งจังหวัด ร้อยละ 65 ผู้ที่พูดภาษาอื่นมักใช้ภาษาลาวเป็นสื่อกลาง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 509 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 508 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:23:55  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่2) ตำนานเมืองร้างกลางดง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ตำนานเมืองร้างกลางดง      

ตำนานเมืองร้างกลางดงป่าดงเมืองซ้าย ที่กล่าวถึงนางพญาเจ้าเมืององค์หนึ่ง  ที่อพยพผู้คนมาตั้งถิ่นฐานชาย ณ ฝั่งแม่น้ำมูล    นางวางผังเมืองตามคติโบราณ  แบ่งเขตชนชั้นต่างๆเป็นสัดส่วน  เขตในเป็นพื้นที่อาศัยของเจ้าเมือง  ชั้นนอกเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน เรียกว่าเมืองซ้าย  แต่อาจเพราะเป็นเมืองเล็กๆ ที่ซุกซ่อนในป่าลึก จึงไม่ถูกยึดครองจากราชอาณาจักรไทย และไม่ปรากฏชื่อในพงศาวดารไทย  ปัจจุบันป่าดงเมืองซ้ายมีร่องรอยหลักล่ามช้างของพญา ซากเตาหลอมโลหะ ซากปรักหักพังของอาคาร บ่อน้ำ บริเวณโดยรอบมีป่ามะม่วงอายุนับร้อยปีปกคลุม   ซึ่งเหลือพื้นที่ป่าประมาณ 600ไร่ จากพื้นที่ 3,000 ไร่และปัจจุบันลูกหลานของชาวเมืองดงเมืองซ้ายคือชาวบ้านเทินและผมก็คือหนึ่งในนั้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 506 ครั้ง
จากสมาชิก : 3 ครั้ง
จากขาจร : 503 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 14:51:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่13) ตำนานอักษรส่วย เยอ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
ตำนานอักษรส่วย เยอ      

กล่าวถึงเหตุผลว่าทำไมส่วย เยอ จึงไม่มีตัวอักษร เพราะมีตำนานว่า ชาวส่วย ชาวเยอ ชาวเขมรและชาวลาวคิดประดิษฐ์อักษรเพื่อใช้เขียนจารจารึก  เมื่อคิดตัวอักษรเสร็จแล้ว  ชาวขอมจารึกลงบนแผ่นหิน ชาวลาวจารึกลงบนใบลาน  แต่ชาวส่วยกับชาวเยอ จารึกลงบนหนังวัวหนังควาย  แล้วนำไปตากให้แห้งก่อนเก็บรักษา เผอิญมีสุนัขมาลากหนังสัตว ์ที่จารึกอักษรไว้ไปกินจนหมดไล่ตามไม่ทัน  ดังนั้นเมื่อมีผู้ถามเรื่องตัวอักษรส่วยและตัวอักษรเยอ ชาวส่วยและชาวเยอจะตอบว่า  จอจาจิมหมายความว่า สุนัขกินไปหมดแล้ว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 505 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 504 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:21:06  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่4) การตั้งถิ่นฐานชาวลาว จ.ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


การตั้งถิ่นฐานชาวลาว จ.ศรีสะเกษ      

ชาวลาวใน จ.ศรีสะเกษนั้นมีความสัมพันธ์กับชาวลาว ในประเทศลาวเป็นอย่างยิ่ง  เนื่องจากประเทศลาวมีหลายเผ่าพันธุ์  ซึ่งรวมเข้าเป็นสามเหง้าด้วยกันคือ เหง้าอินโดนีเซีย เหง้าจีนและเหง้าไทลาว  เหง้าอินโดนีเซียเป็นชนเผ่าที่ถูกเรียกว่าสลาวเทิงหรือชาวข่า  เหง้าจีนเป็นชนเผ่าที่ระยะหลังเรียกว่าลาวสูง ได้แก่พวกเผ่าแม้ว เย้า  เหง้าไทลาวหมายถึงลาวทีลุ่มได้แก่ชนเผ่าไท ผู้ไทและลาว  ดังนั้นการกล่าวถึงชาวลาวใน จ.ศรีสะเกษจึงขอกล่าวเฉพาะเผ่าไทลาวเท่านั้น

ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 7 มีชนเผ่าไทจำนวนหนึ่งล่องเรือลงมาจากตอนใต้ของประเทศจีน มาตามลำแม่น้ำแดง เเม่น้ำอู แม่น้ำโขงลงมาประเทศลาว  นำโดยขุนลอ  เข้ารบกับขุนกันฮางและหลานเหลน  พ่ายหนีตกเมืองน้ำทาพันแล  เมื่อนั้นขุนลอจึงได้ตั้งเมืองเป็นท้าวเป็นพญาแก่ลาวทั้งหลาย ก่อนท้าวพญาลาวทั้งหลายทั้งมวล  จากขุนลอราชวงศ์ลาวได้สืบทอดกันลงอีก 20 รัชกาลจนถึงสมัยเจ้าฟ้างุ้ม  

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ลาวมีฐานะเป็นพันธมิตรของอยุธยา  ลาวมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เวียงจันทน์ ซึ่ง พ.ศ. 2103 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้สร้างนครเวียงจันทน์ เป็นเมืองหลวงของลาวล้านช้าง

ใน พ.ศ. 2237 ทางราชสำนักนครเวียงจันทน์ เกิดแย่งชิงอำนาจกัน  พวกราชวงศ์ลาวต้องลี้ภัยการเมืองไปยังสถานที่ต่างๆ  ส่วนหนึ่งมีผู้นำที่เป็นศรัทธาของประชาชน คือพระครูยอดแก้ว วัดโพนสะเม็ก  มีศิษย์ตามมามากประมาณ 3,000 คน  ได้ลงมาอาศัยกับพญาข่าผสมลาวแห่งนครจำบากนาคบุรีศรี  ได้มีความสัมพันธ์กับข่าที่มีนางเพานางแพงเป็นผู้ครองนคร  ท้ายที่สุดนครจำบากก็ตกอยู่ในอำนาจของราชวงศ์ลาว ที่สถาปนาอาณาจักรลาวใต้ขึ้นมา  เปลี่ยนชื่อเป็นนครจำปาศักดิ์นัคบุรี  มีกษัตริย์เชื้อสายลาวที่อพยพลงมานั้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2256  พระนามว่าพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (พ.ศ. 2256-2281) แล้วจัดการปกครองหัวเมืองข่าทั้งปวงทั้งในเขตลาวใต้  อันได้แก่สาละวัน จำปาศักดิ์ อัตปือ  ตลอดจนส่งเสนาข้าราชบริพารไปตั้งเมืองถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำมูล-ชี  ถึงเมืองนครเขต  ซึ่งเป็นเมืองลาวที่ตั้งใหม่ในเขต จ.ศรีสะเกษ

ชาวลาวที่เข้ามาในรุ่นนี้  จากหลักฐานน่าจะเข้ามาตั้งบ้านเรือนตามหมู่บ้านใหญ่ๆ ในลุ่มแม่น้ำมูล เช่น  ที่ตั้งของเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน บานหนองครก บ้านคูซอด บ้านหนองโน อ.เมืองศรีสะเกษ  ดังประวัติหมู่บ้านที่ได้ระบุไว้

บ้านหนองครก หมู่ที่1 และหมู่ที่ 5 อ.เมืองศรีสะเกษ   ที่ชื่อบ้านหนองครกเพราะมีตำนานว่า ในวันพระเวลาข้างขึ้นข้างแรมเวลากลางคืน  จะได้ยินเสียงกลองที่หนองน้ำ และมีครกสีทองผุดขึ้นมาลอยเหนือน้ำ  จึงได้ชื่อว่าบ้านหนองครก  บรรพบุรุษเดิมของชาวหนองครกเป็นพวกลาวกาวที่มาจากนครจำปาศักดิ์  มาตั้งถิ่นฐานก่อนตั้งเมืองขุขันธ์

บ้านคูซอด หมู่ที่1 หมู่ที่ 2 ต.คูซอด  อ.เมืองศรีสะเกษ  ชาวบ้านคูซอดอพยพมาจากเวียงจันทร์   มาตั้งบ้านที่บ้านโนนหนองหว้า ตอนหลังเปลี่ยนเป็นบ้านคูซอด  เมื่อเกิดศึกพระตาได้กวาดต้อนคนกลับไปลาว จน พ.ศ. 2321 จึงได้อพยพกลับมาอยู่ที่เดิม

บริเวณที่ตั้งเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน โดยเฉพาะบริเวณวัดมหาพุทธาราม  ในช่วงที่มาตั้งเมือง พ.ศ. 2328 ได้พบพระพุทธรูปขนาดใหญ่อยู่กลางป่า  ซึ่งปัจจุบันได้บูรณะให้เป็นพระประธาน่ของวัดมหาพุทธาราม

เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ 24 พวกเจ้าลาวกลุ่มพระวอพระตาได้อพยพจากนครเวียงจันทน์  เข้ามายังบริเวณลุ่มน้ำมูล- ชี  เอกสารพื้นเมืองยโสธรกล่าวว่า พบแต่พวกผีที่เป็นเจ้าของป่าและลำน้ำ  จนมีการรบราฆ่าฟันก่อนที่จะตั้งหลักแหล่งได้    ใน จ.ศรีสะเกษได้พบหลักฐานที่สำคัญว่าชาวลาวกลุ่มพระวอพระตา  จะกระจายอยู่ในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษหลายหมู่บ้านดังนี้

บ้านกุดโง้ง หมู่ 6 ต.โพนข่า อ.เมืองศรีสะเกษ  ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2310 โดยผู้นำคือเจ้าชัยสารโพธิสาร เมืองเวียงจันทร์อพยพมากับพระวอพระตา   โดยมีลาวสั้นจากนครจำปาศักดิ์รวมกลุ่มมาเป็นส่วนใหญ่  นำขบวนมาพิชิตชาวข่า ส่วย เยอ  จนสามารถสร้างบ้านได้เมื่อวันเพ็ญเดือน 5 พ.ศ. 2320 ก่อนตั้งเมืองศรีสะเกษประมาณ 5 ปี

บ้านโพนข่า หมู่ที่ 1 ต. โพนข่า .เมือง ศรีสะเกษ  อพยพมาจากดินแดนประเทศลาว เป็นพลพรรคไพร่พลของเมืองเเสนหน้าง้ำและพระวอ พระตา  โดยมีหลวงปู่สริยา พระเถระอาวุโสหนีภัยมาด้วย

บ้านเมืองน้อย หมู่ที่ 1,6,7 ต.เมืองน้อย อ.กันทรารมย์  ความหมายของชื่อหมู่บ้านเป็นที่พักของผู้ครองนคร  บ้านเมืองน้อยสืบเชื้อสายมาจากเมืองหนองบัวลำภ ูหรือนครเขื่อนขัณธ์กาบแก้วบัวบาน  ถิ่นฐานเดิมอยู่ในจังหวัดอุดรธานีในปัจจุบันนี้

อ.บึงบูรพ์ โดยเฉพาะ ต.บึงบูรพ์ หมู่ ที่ 1,2,3,8 ซึ่งได้แก่ บ้านเป๊าะ บ้านโนนสาวสวย  บ้านจอมพระ บ้านนาสวน  และบ้านนาหล่ม  และเครือญาติของชาวบ้านเป๊าะในต.เป๊าะ ซึ่งได้แก่ บ้านหาด  บ้านหมากยาง  จะเป็นหมู่บ้านชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏชัดหรือหลบภัยการเมือง  สำเนียงภาษาที่ชาวบ้านเป๊าะพูดเหมือนพี่น้องลาวชาวอุบล (จากการศึกษาของวิรอด ไชยพรรณา พบว่าเผ่าที่นับถือญาพ่อคือเผ่าลาว จะปรากฏที่ อ.บึงบูรพ์เกือบทุกหมู่บ้าน หมู่บ้านที่นับถือญาพ่อจะอยู่ใกล้บริเวณป่าดงภูดิน อ.ราษีไสล

อ.ยางชุมน้อย มีชาวลาวที่อพยพมาคราวสงครามพระวอ พระตา  ส่วนหนึ่งมาอยู่ที่บ้านดวนใหญ่  แต่เมื่อสงครามสงบเกิดคิดถึงบ้านเดิมจึงอพยพกลับ  ส่วนหนึ่งเดินทางมาถึงบ้านเจียงอี  จึงตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่น  อีกส่วนหนึ่งเดินทางต่อไปพบสถานที่เหมาะสม จึงตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านยางชุมน้อย โดยไม่ได้กลับไปเวียงจันทร์แต่อย่างใด

                กลุ่มชาวลาวที่เข้ามาสมัยกรุงธนบุรี  

การยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ จำปาศักดิ์จนได้รับชัยชนะ ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทร์มาเป็นจำนวนมาก มาอยู่ที่ ต.สิ ,ต.ขุนหาญ, อ.ขุนหาญ ต.หมากเขียบ อ.เมืองศรีสะเกษ ,บ้านตาอุด บ้านโสน อ.ขุขันธ์ , หลวงปราบ(เป็นทหารเอกในศึกครั้งนี้ ซึ่งไปได้ภรรยาม่ายเป็นชาวลาว)ได้นำครอบครัวนางคำเวียงพร้อมบริวารไปอยู่ที่บ้านบก อ.ขุขันธ์ ก่อนที่จะย้ายเมืองมาตั้งที่หนองแตระในเวลาต่อมา

หลังจากที่ชาวลาวได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใน จ.ศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง  ชาวลาวที่เรียนหนังสือและเป็นพระ ได้เผยแพร่ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและภาษา เข้าไปยังชุมชนชาวพื้นเมือง ชาวกวย เขมร เยอ มากขึ้นเรื่อยๆ  ประกอบกับในระยะหลัง ชาวลาวได้อพยพเข้าไปแทรกอยู่ในเกือบทุก อ. โดยเฉพาะ อ.เมือง ยางชุมน้อย กันทรารมย์ โนนคูณ กันทรลักษ์ จะมีจะประชากรชาวลาวเพิ่มมากขึ้น  ปัจจุบันภาษาลาวจึงเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันส่วนใหญ่ใน จ.ศรีส

 
 
สาธุการบทความนี้ : 503 ครั้ง
จากสมาชิก : 3 ครั้ง
จากขาจร : 500 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 15:05:59  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่15) การทำประมงน้ำจืด จ.ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


การทำประมงน้ำจืด จ.ศรีสะเกษ    
การทำประมงน้ำจืด  ศีรสะเกษมีแหล่งนำจืดจำนวนมาก โดยเฉพาะที่ห้วยสำราญในอดีตเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากที่สุดและได้ชื่อว่าปลามีรสอร่อย  ชาวศรีสะเกษจึงเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการทำประมงนำจืดมากจังหวัดหนึ่ง  วิธีการทำประมงของชาวศรีสะเกษมีหลายแบบ ได้แก่

การวางลอบหรือการลงต้อน   ลอบหรือต้อนเป็นเครื่องมือที่ทำจากไม้ไผ่สานเป็นรูปกลม ขนาดกว้างตั้งแต่ 1 คืบ ถึง 1 เมตร  ยาวประมาณ ครึ่งเมตร- 2 เมตร   มีหลายแบบคือลอบนอนจะวางราบกับพื้นดิน  มีงาให้ปลาเข้าทางด้านหัวของลอบ  ลอบยืนจะวางตั้งกับพื้น  มีงาให้ปลาเข้าด้านข้าง  ลอบยืนมี 2 แบบ   คือแบบกลมตลอดหัวตัดท้ายตัด  และแบบท้ายตัดแต่หัวลอบรวบไม้ไผ่มัดเข้าด้วยกัน  การใส่ลอบ ถ้าลงต้อน  (แนวรั้วกั้นดักปลาขนาดยาวขวางตลอดลำห้วย)   ทำเสาไม้ขนาดใหญ่เป็นระยะห่าง 1 เมตร  มีเสาค้ำ  มีราวไม้ไผ่และฝากั้นปลาขึ้นลง  คือทำที่ใส่ลอบขวางลำห้วยสำราญ  เมื่อน้ำขึ้นหรือน้ำลดลง  เจาะรูใส่ลอบ  ฝากั้นทางเดินของปลาทำจากการสานไม้ไผ่ หรือ ลำเเขมหรือลำไม้ที่มีขนาดเล็กผิวเรียบ  อาจจะยาม(กู้)วันละครั้งหรือหลายครั้งก็ได้(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 267)

การอยู่จิบ  จิบเป็นเครื่องมือจับปลาที่สานจากด้ายหรือป่านคล้ายโพงพาง  ผูกจิบติดกับขาไม้สามเหลี่ยมขวางช่องว่าง เพื่อดักทางปลาที่ว่ายลงไปตามสายน้ำไหล  ผู้อยู่จิบต้องคอยจับเส้นเชือกที่ผูกโยงมาจากส่วนปลายของจิบ  หรือมัดแขนมัดนิ้วไว้เมื่อเอนหลับไป  ถ้าปลาลงจิบเส้นเชือกจะกระตุก  ต้องรับยกจิบขึ้นงัดขึ้นมาจับปลา  ผู้อยู่จิบมักจะก่อกองไฟบนร้านจิบเพื่อให้ความอบอุ่น  ไล่แมลง ทำอาหาร  จุดยาสูบ  ซึ่งสามารถนั่งหรือนอนอยู่จิบได้ทั้งกลางวันหรือกลางคืน(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268)

การลงโต่ง(โพงพาง)  ต่อมามีการสานโต่ง ใส่แทนจิบและไม่ต้องนั่งเฝ้า  ส่วนปลายโพงพางผูกลอบหรือไซหรือทำเป็นถุงไว้เก็บปลาที่ถูกน้ำซัดไปลงโต่ง  ต้องทำรั้วเผียด (กั้น)  ด้วยฝาหรือกิ่งใบไม้หนาทึบ  กั้นน้ำให้น้ำไหลแรงตรงช่องว่างที่ใส่โต่ง     ปลาสารพัดชนิดทั้งขนาดจิ๋ว จนถึงขนาดกลาง และขนาดใหญ่  กุ้ง ปู จะไหลไปรวมกันที่ท้ายโต่ง  ยกขึ้นมาได้ปลาเป็นหาบๆ  นำไปขายหรือทำปลาร้าได้เป็นจำนวนมาก  ปลาที่ลงโต่งส่วนหนึ่งจะตายเพราะกระแสน้ำพัดแรงไปแออัดกัน(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268)

การวางเบ็ด  มีหลายแบบ   เช่น เบ็ดโยง   ในหน้าแล้งจะวางเบ็ดโยงโดยผูกปลายเชือกหรือทำคันเบ็ด เพื่อหย่อนเบ็ดอยู่เหนือน้ำ  มักทำในวังน้ำหรือที่ร่ม   เบ็ดเผียก (ราว)  ข้ามลำห้วย  หน้าน้ำขึ้นใช้เหยื่อปลามีเกล็ดขนาดเล็ก หรือปลาหมอ ดักปลาผึ่ง (เทโพ)   เวลาปลาบึ่งกินเบ็ดจะสังเกตได้ง่าย  เพราะต้นไม้ริมฝั่งห้วยที่ผูกราวเบ็ดจะถูกปลาดึงขย่มสั่นไหว  บางคนจะแขวนเกราะหรือกระดึงไว้เป็นสัญญาณ   ถ่วงราวเบ็ดด้วยสมอหินหรืออิฐสอง สามสี่ก้อน  บางครั้งใช้เหยื่อไส้เดือนสำหรับปลาทุกชนิด เบ็ดคันหรือธงเบ็ด  จะใส่ตามคันนาหรือตามฝั่งห้วย  ใส่ในลักษณะเบ็ดจมหรือเบ็ดโยง (ลอย) ก็ได้  ใช้เหยื่อสำหรับการหาปลาแต่ละประเภท  เช่นใช้เหยื่อปลาอีด (ตัวเล็กเท่าปปลาหางนกยูงคล้ายปลาไหลผสมปลาหลด ) สำหรับปลากด  ใช้เหยื่อไส้เดือน สำหรับปลาทุกชนิด  ใช้สบู่ซันไลต์ตัดเป็นท่อนเล็ก สำหรับปล่ดุก  รวมทั้งเหยื่อหอย  เเมงจี่ชอน (ใช้ลอยสำหรับปลาช่อน  จมสำหรับปลาทุกชนิด)  เขียด ฮวก ปลวก แมงเม่า กุ้ง ไส้ไก่ พุงหมู ฯลฯ  เบ็ดทกหรือเบ็ดป่อมหรือตกเบ็ด  เวลาตกเบ็ดต้องหาทำเลดี  นั่งเฝ้ารอใส่ทุ่นที่สายเบ็ดเวลาปลาตอดหรือฮุบเบ็ด  ทุ่นจะกระดิกหรือจม ต้องทก (กระชากหรือวัดหรือยกคันเบ็ดอย่างเร็ว)ขึ้นมา  บางครั้งมีการหย่อนถ้ำ คือทำเลที่มีก้อนหิน  รูถ้ำโพรงหินใต้น้ำ เป็นที่อาศัยของปลา  ต้องดำน้ำลงไปวางเบ็ด  หย่อนลงไปในโพรงถ้ำ   ปลามากินเหยื่อ  ทุ่นที่สายเบ็ดจะกระดิกหรือจมลงก็สามารถยกสายเบ็ดพร้อมตัวปลาขึ้นมาได้ การแกว่งเหลื่อมล่อปลา   ใช้วิธีการติดเบ็ดไว้กับโลหะสีขาวมันวาวคล้ายๆมีดตัดเล็บ  หรือคล้ายปลาซิว  แล้วใช้คันเบ็ดลำไม้ไผ่ขนาดยาว  ลากไปตามสายน้ำ  ให้ปลา  เข้าใจว่าเป็นปลาขาวตัวเล็ก  กระโดดฮุบเหยื่อคล้ายกับการใช้เบ็ดรอกตกปลาสมัยนี้  ปลาที่ได้คือปลาสูด (ปลาที่มีเกล็ดสีขาวหรือปลากระสูบ)หรือปลากินเนื้อ(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268-269)

การใส่มองหรือการวางข่าย  มองหรือข่ายจะทำจากด้ายหรือไนล่อน สมัยก่อนไม่มีมองลูกที่ทำทุ่นลอยด้วยพลาสติค หรือ โฟม และ ตะกั่วถ่วงตีนมองสำเร็จรูปเช่นทุกวันนี้  มองก็สานเองตั้งแต่ถี่ถึงห่าง  เวลากางมองก็ตัดก้านกล้วยยาวคืบหนึ่ง  ปาดผิวให้สามารถเกี่ยวเชือกคร่าวมองได้  ทำเป็นทุ่นเป็นระยะไปตามความเหมาะสม  มองดูเห็นชัดเจน  ถ้าน้ำไหลหรือลมจัด  ก็จะถ่วงตีนมองด้านล่างด้วยก้อนหิน  หรือลวดที่ตัดเป็นท่อนสั้นๆบิดเกี่ยวไว้  บางครั้งก็ใส่มองชิดฝั่งห้วย  ดักปลาที่หากินตามริมฝั่ง  ต่อมามีการทำมองทุ่นพลาสติค  ทุ่นโฟม  ถ่วงตีนมองด้วยตะกั่ว  ซื้อมองสำเร็จรูปตามตลาด  จึงมีการไล่มองหรือไล่ปลา  โดยใช้มองกางดักตามวังน้ำ  กางล้อมเยาะ (กร่ำหรือที่กองไม้ให้ปลาเข้าอาศัย ) แล้วทุ่มน้ำ ตีน้ำ  ใช้ไม้ไล่มองที่มีโลหะติดที่ไม้หลายชิ้นให้กระทบกระแทกกัน  เสียงดังกังวาน  ปลาตกใจกลัวว่ายหนีไปติดมอง (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 269-270)

การแก่กวดหรือลากอวน   (แก่ = ลาก ,กวด=อวน ,แก่กวด =ลากอวน) ทำเหมือนการลากอวนในทะเลหรือตามร่องน้ำทั่วไป  และต้องใช้หลายคนลาก คืออะไร  ลักษณะเป็นอย่างไรใช้เมื่อไร

การใส่ตุ้ม (เป็นเครื่องมือดักปลาชนิดหนึ่งสานจากไม้ไผ่)  มีหลายชนิดได้แก่ ตุ้มลาน ทำเหมือนข้องใส่ปลามีงาข้างๆ ใช้ข้าวหรือปิ้งรำข้าว หมกรำข้าว  ทำเป็นเหยื่อ   ต้องดำน้ำลงไปใส่ตุ้ม ตุ้มปลากดหรือตุ้มปลาดุก  ทำขนาดกว้างหนึ่งฟุต สูงราวหนึ่งเมตรถึงสองเมตร มีงายาวประมาณ หนึ่งคืบอยู่ข้างๆด้านล่าง งามีสองชั้น  ใช้เหยื่อตัวอ่อนของปลวกใส่ในน้ำลึกประมาณ 1-3 เมตร  ผูกติดกับหลักไม้สองหลักหรือหลักเดียวตรึงตุ้มให้อยู่ได้   ตุ้มปลาหมู  มีลักษณะคล้ายข้องใส่ปลาหรือคล้ายตุ้มลาน  มีงาสองชั้นข้างตัวตุ้ม  ใช้เหยื่อรำและมดแดง  ต้องผูกเชือกหย่อนลงไปวางในแหล่งที่คาดว่ามีปลาหมู ตุ้มปลาแปบ  หรือปลาบักแปบ    ตุ้มทีทำมีขนาดใหญ่ยาว 1-2 เมตร  มีรูและงาตรงกัน  ใช้เหยื่อมดแดงหรือรำใส่พ้นน้ำจุ่มน้ำลงไปประมาณ 1-2 ฟุต ผูกติดกับหลักไม้  เวลาจะกู้ต้องเอามือช้อนปิดรูงาก่อน  ปลาแปบนำมาหมกใบตองหรือหมักปลาร้า(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 270)

การสะปลาหรือวิดปลา   หมายถึงการวิดน้ำให้แห้งแล้วจับปลาโดยใช้กะโซ่หรือคันโซ่  สานด้วยไม้ไผ่หรือทำจากสังกะสี  มีด้ามยาว  บางครั้งเพื่อทุ่นแรงจะทำขาหยั่งสามขา (หรือฮังฮะ ) ผูกกะโซ่ติดขาหยั่งโยกวิดน้ำไปมา ทำให้เวลาวิดน้ำไม่เหนื่อย(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 269-271)

การทอดแห  แหเป็นเครื่องมือจับปลาที่สานจากด้ายหรือไนลอน มีหลายชนิดด้วยกัน เช่นแหก้อย แหโป้ แหสอง แหสาม แหสี่ ฯลฯ ความยาวของแหวัดเป็นศอก  ปัจจุบันมีการทอดแหตามลำน้ำที่มีการสงวนพันธุ์ปลาไว้หลายแห่งกระจายทั่วทุกพื้นที่   เเล้วจำหน่ายบัตรละ 30-100 บาท ให้ประชาชนซื้อบัตรจับปลาทุกปี เช่นที่หนองบัวดง ต.หนองบัวดง กิ่งอ.ศิลาลาด   วิธีการทอดแหที่ง่ายแล้วได้ปลามาก คือการฝังแกลบหรือขุม (หลุม) เริ่มจากหาทำเลที่เหมาะสมสามารถยืนทอดแหได้จากบนฝั่งน้ำ  ดำน้ำลงไปควักดินให้เป็นหลุมลึกกว้างยาวคืบหนึ่ง นำรำอ่อนที่เตรียมไว้ คลุกจุ่มน้ำ แล้วเอาไปฝังไว้ในหลุม หาก้อนหินหรือกิ่งไม้มากันรอบหลุมให้เป็นที่ปลาอาศัย จากนั้นหากิ่งไม้มาปักเป็นเครื่องหมายไว้ เมื่อบริเวณนั้นเงียบสงบจึงไปหว่านให้จอมแหอยู่ตรงกลางกิ่งไม้ที่ปักเป็นเครื่องหมายไว้ แล้วจึงค่อยๆขยับก้อนหินและกิ่งไม้ออกนอกแหทีละชิ้นจนหมด สามารถจับปลาได้แล้วนำแกลบไปฝังไว้ที่เดิมอีก  สามารถทอดแหซ้ำที่เก่าได้ทุกวันตลอดหน้าแล้ง วันหนึ่งห้าหกหลุมปลาก็ได้เต็มข้อง  และควรทำหลุมไว้ห่างกันไม่รบกวนกันเวลาทอดแห(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 271-272)

การยกฟด  (เหมือนกับการสร้างบ้านหลอกปลาให้ปลาเข้ามาอยู่แล้วจึงกู้ขึ้นมาเพื่อจับปลา)    เมื่อถึงฤดูน้ำหลากชาวบ้านจะตัดต้นหัวลิงที่ขึ้นตามทาม ทิ้งไว้บนพื้นเป็นกองๆ เมื่อน้ำหลาก ท่วมกิ่งหัวลิงใบหลุดหายไปจนหมดและเมื่อน้ำลดแห้งสนิท จะนำมามัดรวมกัน  นำไปหย่อนน้ำ เป็นที่อาศัยของปลาหลายชนิด  จากนั้นจึงกู้ขึ้นมา กระแทกกับขั้นเรือให้ปลาในฟดหล่นในท้องเรือ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 272-273)

การเอาเยาะ (กร่ำ)  หมายถึงการตัดกิ่งไม้หรือหาขอนไม้มากองรวมกันไว้ให้ปลาอาศัยในหน้าน้ำลดหรือหน้าแล้ง  แล้วเอาฝาไม้ไผ่สานด้วยเชือกหรือเครือเถาวัลย์ให้ม้วนได้หรือใช้อวนหรือใช้แหล้อมเยาะ (กร่ำ)  ดึงกิ่งไม้ออกให้หมด  จะได้ปลานานาชนิดเป็นจำนวนมาก  และสามารถไล่มองรอบเยาะได้ปลาเหมือนกัน  พอน้ำลดชาวบ้านจะตัดไม้ทำเยาะกันทุกปี(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 273)

การแก่โซ่หรือการลากโซ่   (แก่=ลาก ,โซ่= เหล็กเป็นข้อๆต่อเกี่ยวกันให้ยาวๆ) มีเครื่องมือ 2 อย่างคือ แพกะแญง หรือ ดางช้อน (อวนตาถี่ๆไม่มีทุ่นลอยแต่มีตะกั่วหรือโลหะถ่วงตีนอวน)ใช้คนสองคนจับขึงไว้ด้านใต้ของสายน้ำไหล  แล้วอีกสองคนนำโซ่ขนาดกลางหรือเล็กหรือโซ่ล่ามนักโทษยาวขนาด 2-4 เมตร ยืนห่างจากอวนประมาณ 10-20 เมตร  แล้วคนสองคนลากโซ่ไปตามพื้นดินใต้ท้องน้ำมุ่งหน้าไปยังอวนที่กางไว้  ปลาจะตกใจวิ่งไปยังอวน  เมื่อโซ่ถึงอวนสามารถยกขึ้นมาจับปลาได้  ปลาที่ได้คือปลารากกล้วย(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 273)

การใส่จั่น เป็นการดักปลาโดยทำจั่นมีทางเข้าประตูจั่นทำด้วยแผ่นไม้ที่หนักพอควรแล้วทำไลเป็นไม้ขัดกันไว้   เพื่อเปิดเป็นช่องให้ปลาว่ายเข้ามา เมื่อปลาว่ายเข้ามาหาอาหารหรือมาวางไข่  เมื่อมากระทบไลที่ขัดไว้ไลจะหลุด ทำให้แผ่นไม้หล่นลงมาปิดทางออกของปลา  ปลาที่เข้าจั่นส่วนใหญ่ จะเป็นปลาช่อนที่เข้ามาหาอาหารหรือวางไข่ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 273)

บั้งลัน เป็นเครื่องมือดักปลาไหล ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่หรือกระบอกท่อพีวีซีในปัจจุบัน ด้านหนึ่งปิดทึบ ด้านหนึ่งเป็นฝาเปิดทางให้ปลาไหลเข้า มีงาสานด้วยไม้ไผ่กั้น  แล้วเจาะรูทางปลายกระบอก  แล้วใส่เหยื่อในกระบั้งลัน โดยเฉพาะสัตว์ที่เน่ามีกลิ่นแรง  นำไปเสียบไว้ในท้องน้ำที่ลึกขนาดเอว หรือแค่เข่าที่คาดว่าจะมีปลาไหล โผล่ท่อนปลายไว้ให้ปลาไหลขึ้นมาหายใจเมื่อเข้ามาในบั้งลันจะได้ไม่ตาย   ปลาไหลจะเข้าบั้งลันแล้วออกไม่ได้เพราะมีงากั้นอยู่  บางครั้งจะได้หลายตัวจนแน่นบั้งลันหายใจไม่ออก ปลาไหลส่วนหนึ่งตายคาลันก็มี  ฯลฯ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 501 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 499 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 16:26:12  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่189) ชุดลาวเก่า      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ชุดลาว

ขั้นเจ้าเมือง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 501 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 501 ครั้ง
 
 
  08 ธ.ค. 2552 เวลา 18:19:39  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่7) ภาษากวย/กูย จ.ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
ภาษากวย/กูย จ.ศรีสะเกษ      

นักภาษาศาสตร์จัดภาษาของชาวกูย อยู่ในกลุ่มภาษาเดียวกับมอญ - เขมร  สาขา Katuic ตะวันตก  ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติก   ชาวกูยแต่ละถิ่น จะมีการใช้สำเนียงภาษาที่แตกต่างกันออกไป  แต่ถ้าใช้ระบบเสียงมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มภาษากูย (กุย- กูย) และกลุ่มภาษากวย (กูย- กวย) ส่วนกลุ่มภาษากูยกลุ่มเล็กๆ ที่พบ ได้แก่

                1. กูยเยอ พูดกันในหมู่บ้าน 10 หมู่บ้านใน อ.เมืองศรีสะเกษ  5 หมู่บ้านใน อ.ไพรบึง และ 4 หมู่บ้านใน อ.ราษีไศล   รวมทั้งสิ้นประมาณ 8,000 คน

                2. กูยไม  พูดใน 5 หมู่บ้านใน อ.ราษีไศล    9 หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงเขต อ.อุทุมพรพิสัย หมู่บ้านทั้งหมดนี้ชาวกูยจะอาศัยอยู่รวมกับชนกลุ่มลาว

                3. กูยปรือใหญ่  พูดใน 5 หมู่บ้านของ ต.ปรือใหญ่  อ.ขุขันธ์

ภาษากูยปรือใหญ่ สันนิษฐานว่า อาจเป็นตัวแทนของกลุ่มกูยที่เพิ่งอพยพมาจากเขมร จากบริเวณมะลูไปร (มโนไพร,มะลูเปร) ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองสตรึงเตรง ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองกำปงธม และเมืองกำปงสวาย  ส่วนกลุ่มภาษากุย-กูย ถือว่าเป็นประชากรกลุ่มใหญ ่กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ  ในปัจจุบันชาวกูยส่วนใหญ่พูดได้ทั้งภาษากูยและภาษาไทยกลาง  ในชุมชนกูยที่ไม่มีคนพูดภาษาไทยถิ่นอีสานอาศัยปะปน  จะไม่มีการใช้ภาษาไทยถิ่นอีสาน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 493 ครั้ง
จากสมาชิก : 3 ครั้ง
จากขาจร : 490 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 15:21:15  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่38) ลาว      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


วัฒนธรรมชาวลาว จ.ศรีสะเกษ      
  
การแต่งกายของชาวลาว
แต่งกายคล้ายคนไทยทั่วไป  ในสมัยก่อน ชายนุ่งผ้าขาวม้า  ผ้าโสร่ง หรือกางเกงขาก๊วย  มีหูรูด มีผ้าขาวม้าพาดบ่า  หญิงนุ่งผ้าถุง มีผ้าคาดอก  ถือผ้าเบียงหรือสไบ  ไม่สวมรองเท้าเป็นส่วนใหญ่  แต่ขณะนี้การแต่งกายเป็นไปตามสมัยนิยมแล้ว

  

การกินอยู่ของชาวลาว
ในอดีตกินข้าวเหนียวทุกมื้อ โดยการแช่ข้าวเหนียว (เรียกว่าหม่าข้าว) แล้วนึ่งในหวดหรือมวย  อาหารหลักคือปลา (จะมีการทำปลาร้าเก็บไว้กินตลอดปี) และอาหารอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นผักพื้นบ้าน หมูเห็ดเป็ดไก่ แมลง    อาหารอาจรับประทานดิบ ถ้าทำให้สุกจะใช้การต้ม นึ่ง จี่ เผา ปิ้ง ย่าง คั่ว อ่อม ไม่นิยมผัดทอด อาหารชั้นยอดคือลาบ,ก้อย   ปัจจุบันการกินของดิบเริ่มน้อยลงเพราะการรณรงค์ของราชการ  นอกจากนั้นยังกินสัตว์แทบทุกชนิด  เห็ดป่าต่างๆ จึงเป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน(

  

ความเชื่อ

ความเชื่อเรื่องญาพ่อ(หรือเจ้าพ่อ) เผ่าที่นับถือญาพ่อคือคนลาว  ที่อ.บึงบูรพ์จะนับถือเกือบทุกหมู่บ้าน  อาจเรียกได้ว่าญาพ่อคือจ้าวในเมืองผี  จะมีประเพณีการเลี้ยงญาพ่อ เป็นประจำทุกปี เพื่อให้ท่านปกปักรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข
  

การละเล่น

หมอลำ

แบ่งเป็นหมอลำคู่ (ลำโต้ตอบระหว่างชายหญิง) และหมอลำหมู่จะลำเป็นคณะ  แต่งตัวคล้ายลิเกและแสดงเป็นเรื่องราว

 
 
สาธุการบทความนี้ : 461 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 459 ครั้ง
 
 
  28 ส.ค. 2551 เวลา 16:35:02  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่199) เสื้อดำย้อมบักเกลือ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


เป็ฌนเอกลักษณ์ไทบ้านไทเมืองศรีสะเกษโดยแท้

เพิ่นผ้ากันตำเป็นลายดอกแก้ว(ลูกแก้ว)แล้วย้อมบักเกลือ

อยู่กันทรมย์ผมยังมีใส่กันแทบทุบ้าน

บ้านข้อยเอิ้นผ้าเก็บ

ลางบ้านเอิ้นผ้าแซว

ทางบ้านลิ้นฟ้าเพิ่นว่าผ้าเหยียบ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 431 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 431 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2553 เวลา 10:53:10  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่205) ส่วย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ส่วย............

 
 
สาธุการบทความนี้ : 407 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 407 ครั้ง
 
 
  19 เม.ย. 2553 เวลา 15:30:31  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่339)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
วันเวลามาฮอด ฤดูกาลได่พ้นผ่าน

แนวกินบ่อึดอยากบ่หยากอยู่สบาย

ข้าวในนาปลาในบุ่งยังกุ้มบ้อน

ออนซอนมันแซงหัวใหม่

ออนซออนหัวมันไม้เฮาได่เฮ็ดกินหวาน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 404 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 403 ครั้ง
 
 
  31 ต.ค. 2553 เวลา 14:06:47  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่32) ไทกันทรม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


สำเภา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 399 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 399 ครั้ง
 
 
  13 ส.ค. 2551 เวลา 16:23:09  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่200) เอาเบิ่ง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 



ที่จริงใส่ทั้ง 4 เผ่าเลย    ส่วย เขมร ลาว เยอ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 368 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 368 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2553 เวลา 10:54:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่353)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ต่ำหูก    แม่โต่ไผยังต่ำหูกอยู่น้อ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 364 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 364 ครั้ง
 
 
  20 ก.พ. 2554 เวลา 15:17:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่25) กันตรึม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อนและฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนมีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้

วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้


            วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม

  
ตรัว            ซอกันตรึม                   พิณน้ำเต้า                  ตรัวอู้  


ประเภทเครื่องดีด
พิณกระแสเดียวหรือ กระแสมุย แปลว่า พิณเสียงเดียวหรือพิณสายเดียว กระโหลกพิณทำด้วยลูกน้ำเต้าแก่จัดตากให้แห้งตัดครึ่งด้านขวางของผล แกะเมล็ดในและเยื่อออกให้หมด ใช้หวายขันชะเนาะกระโหลกน้ำเต้าให้ติดกับโคนของคันพิณลูกบิดอยู่ทางด้านโคนสุดของคันพิณขึงโยงด้วยสายโลหะ จากลูกบิดสอดหวายที่ขันชะเนาะอยู่ไปผูกกับปลายคันพิณ ตอนปลายสุดมีลักษณะงอนเป็นรูปพระยานาคชูหัว ซึ่งชาวไทยภาคกลางเรียกว่า พิณน้ำเต้า
จาเป่ย หรือ กระจับปี่ มีลักษระคล้าย ซึง มีสายคู่ซึ่งสายแต่ละคู่ตั้งเสียงให้เท่ากัน คันพิณทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนกล่องเสียงจะทำด้วยไม้ขนุนหรือไม้สัก ที่ส่วนปลายสุดของคันพิณมีรู 4 รู เพื่อใส่ลูกบิดและร้อยสาย และที่คันพิณจะมีที่วางนิ้วซึ่งขัดไว้เป็นระยะๆ
อังกุ๊ยจ์ ชาวไทยภาคกลางเรียกว่า จ้องหน่อง ลักษณะเดียวกันกับ หุน หรือ หืน ทำด้วยไม้ไผ่
ประเภทเครื่องสี เครื่องดนตรีที่ใช้สีด้วยคันชักหรือคันสีที่รู้จักกันดี ได้แก่ ซอกันตรึม หรือ ตรัว ลักษณะของวอกันตรึมนี้ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับซอด้วงและซออู้ที่ใช้ในวงดนตรีไทยในปัจจุบัน ในอีสานใต้นี้พบว่ามีใช้กันอยู่ 4 ขนาด
ซอเล็ก หรือ ตรัวจ์ ซึ่งมีรูปร่างคล้ายซอด้วง แต่มีเสียงสูงและแหบกว่า
ซอกลาง หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่กว่าซอเล็ก
ซอใหญ่ หรือ ตรัวซอ มีขนาดใหญ่ที่สุด
ซออู้ หรือ ตรัวอู มีลักษณะคล้ายซออู้ตามปกติ
            ซอทั้ง 4 ขนาดมีรูปร่างไม่แตกต่างกันมากนัก ต่างกันเฉพาะขนาดและวัสดุที่ใช้ทำกระโหลกซอเท่านั้น ซอเล็กนั้นบางครั้งพบว่าใช้เขาควายมาทำเป็นกระโหลก แต่ซอกลางและซอใหญ่นั้นนิยมใช้ไม้ขนุนหรือไม้เนื้อแข็ง ส่วนซออู้นั้นกระโหลกซอจะใช้กะลามะพร้าวขนาดใหญ่ และใช้หนังงูเหลือม หรือหนังตะกวดปิดหน้ากระโหลกซอ วงกันตรึมในปัจจุบันนิยมใช้ซอกลางและซออู้บรรเลงในงานทั่วๆ ไป

  

ประเภทเครื่องตี ได้แก่
กลองกันตรึม หรือ สะกัว มีลักษณะเป็นกลองขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายโทนดินเผา ตัวกลองขุดจากไม้ขนุน หรือลำต้นมะพร้าวโดยกลึงภายนอกให้ได้รูปร่างเสียก่อน จึงเจาะคว้านภายในให้เป็นโพรงกลวง ใช้หนังวัวหรือหนังงูเหลือมหุ้มปากกลอง
นอกจากนี้ยังมีเครื่องตีอื่นๆ อีก เช่น ระนาดเอก ฆ้องวง ฆ้องราว ฆ้องหุ่ย กลองรำมะนา กลองตะโพน ฉิ่ง ฉาบ

  
กลองกันตรึม                                               ปี่เญ็น          ปี่อังกอ, ปี่จรุง, ปี่โจร่ง  


ประเภทเครื่องเป่า
ปี่อ้อ หรือ แบ็ยอด เป็นปี่ที่ทำจากไม้ไผ่ ส่วนที่เป็นตัวปี่ทำด้วยไม้อ้อ โดยเหลาปลายข้างใดข้างหนึ่งจนบางแล้วบีบให้แบนประกบกันในลักษณะลิ้นคู่ แต่ที่ปลายลิ้นยังมีลักษณะกลมเพื่อสอดส่วนที่เป็นท่อนปลายของตัวปี่ และใช้ไม้ไผ่หรือหวายเล็กบีบประกบกัน เพื่อให้ปลายลิ้นของปี่มีรูปร่างคงเดิมอยู่เสมอ ลำตัวของปี่อ้อจะเจาะรูด้านบน 7 รู และด้านล่างอีก 1 รูไว้สำหรับปิดเปิดเปลี่ยนระยะทางเดินของลมเวลาเป่า
ปี่สไนง์ หรือ สแนง เป็นปี่ชนิดหนึ่งที่ทำมาจากเขาควาย โดยเจาะช่องด้านบนของเขาควาย ใส่ลิ้นอย่างแคน ผนึกด้วยขี้สูดให้สนิท ใช้เชือกผูกปลายเขาทั้งสองข้างแขวนคอแล้วใช้ปากเป่า โดยใช้อุ้งมือขวาปิดเปิดเพื่อควบคุมระดับเสียง

  
ปี่ไฉน         ปี่ไสน       ปี่เน       แป็ยออ       ปี่อ้อ           อังกุ๊ยส์  




ลักษณะการผสมวง

วงบรรเลง
วงตุ้มโมง ประกอบด้วย ฆ้องหุ่ย (ฆ้องชัย) 1 ใบ กลองเพลขนาดใหญ่ 1 ใบ ปี่ในขนาดเล้ก 1 ใบ ฆ้องราว 1 ใบ
วงกันตรึม ประกอบด้วย กลองกันตรึม (กลองโทน) 2 ใบ ปี่อ้อ 1 เลา ปีชลัย (ปี่ใน 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่ กรับ 1 คู่
วงมโหรี ประกอบด้วย ซอด้วง 1-2 คัน ซอตรัวเอก (ซออู้) 1-2 คัน ระนาดเอก 1 ราง พิณ 1 ตัว ปี่ชลัย 1 เลา กลองกันตรึม (โทน) 2 ใบ รำมะนา 1 ใบ ฉิ่ง, ฉาบ, และกรับอย่างละ 1 คู่
วงดนตีประกอบเรือมมม็วต
วงใหญ่ ประกอบด้วย ซอ 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา กลองกันตรึม 2 ใบ กลองตะโพน 1 ใบ ฉิ่งและกรับอย่างละ 1 คู่
วงเล็ก ประกอบด้วย ซอ 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา กลองกันตรึม 2 ใบ เจรียง (นักร้อง) 1 คน (คนตีกลองทำหน้าที่เป็นนักร้องด้วย)
วงดนตีประกอบเรือมอันเร ประกอบด้วย ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา โทน 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง, ฉาบ และกรับอย่างละ 1 คู่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 357 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 356 ครั้ง
 
 
  05 ส.ค. 2551 เวลา 10:26:10  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่340)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


แพรปลาไหล คนศรีสะเกษคนใด๋ยังมีในครอบครองอยู่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 345 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 345 ครั้ง
 
 
  22 พ.ย. 2553 เวลา 20:14:06  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่53) บุญบ้านผม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


มาเด้อทุกท่านชมบุญงานใหญ่บุญบักพริก หอม กระเทียม ของดีกันทรารมย์

มาเด้อวันที่ 3 มีอีจิรพันธ์ มาลำซิ่งให้เบิ่งอยู่บ้านโนนสัง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 343 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 341 ครั้ง
 
 
  26 ก.พ. 2552 เวลา 15:31:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่201)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ส่วยใส่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 341 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 341 ครั้ง
 
 
  15 เม.ย. 2553 เวลา 10:58:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่37) ฮูป      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


เบิ่งเอา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 339 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 339 ครั้ง
 
 
  28 ส.ค. 2551 เวลา 16:33:08  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่24) บ้านผึ้ง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ฟ้อนกลองตุ้มบ้านผึ้ง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 337 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 337 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 17:22:14  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่36) ฮูป      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


เบิ่งเอา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 335 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 335 ครั้ง
 
 
  28 ส.ค. 2551 เวลา 16:32:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   41) ผ้าโสร่งตีนก่าน  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่0) ผ้าโสร่งตีนก่าน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


มื่อหนึ่งณบ้านไทบ้านบุดพ่อใหญ่ด๊องมีเมียชื่อยายแก้วมื่อหนึ่งทิศด๊องไปเบิ่งหมอลำ
เราเห็นของลับหมอลำซิ่งเราเลยคิดอยาก...เมียเรา เราเมียเฮียนเราทำการเรียบร้อยเราสิเอา
ผ้าโสร่งหั่นไปถืกต่งซิ้นยายแก้วแนวมันเป็นต่งคือกันเราเลย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 331 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 331 ครั้ง
 
 
  26 ส.ค. 2551 เวลา 16:01:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   29) กูสิสั่งสอน  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่0) กูสิสั่งสอน      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


อัศจรรห์ใจกุ้งไล่กุมกินปลาบึกใหญ่
ปลาซิวไล่สวบแข่หนี้ไปลี้ผลืบหิน
เขียดอีโม่เป่าปี้ขึ้นขี่คองู
หนูขึ้นขี่คอแมวแล่น วนอยู่เป็นฮ้าย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 331 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 329 ครั้ง
 
 
  22 ก.ย. 2551 เวลา 13:53:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่187) ผ้าซิ่นเก่า      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ผืนนี้จากหลวงพระบาง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 325 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 325 ครั้ง
 
 
  08 ธ.ค. 2552 เวลา 18:15:38  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   9) ยโสธร  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่105)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
คุณดอกอีเอี้ยงบานอยู่หัวท่ง....คน:
ไทยโสบั้งไฟล้าน

ศรีสะเกษบั้งไฟกือ

กันทรารมย์บั้งไฟโกฐ

ของไผคักกั่วกัลล


บ้านผมกะมีบั้งไฟดีคือกัลเด๋

บั้งไฟกือจุดกันหลายอยู่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 321 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 321 ครั้ง
 
 
  05 พ.ค. 2553 เวลา 19:34:04  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่43) ลาวครั่ง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ครั่ง

 
 
สาธุการบทความนี้ : 319 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 318 ครั้ง
 
 
  12 ก.ย. 2551 เวลา 16:32:42  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่22) หนังประโมทัย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
หนังปราโมทัยหรือหนังตะลุงอีสานนั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ เช่น หนังปะโมทัย หนังประโมทัย หนังปราโมทัย หนังบักตื้อ และหนังบักป่องบักแก้ว คำว่า หนังปราโมทัย น่าจะมาจากคำว่า ปราโมทย์ ซึ่งหมายถึงความบันเทิงใจ ความปลื้มใจ ส่วนคำว่า ประโมทัยและปะโมทัย สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นชื่อของคณะหนังตะลุงก็ได้ ส่วนหนังบักตื้อ และหนังบักป่องบักแก้ว มาจากชื่อตัวตลก (ตัวหนัง)

          หนังปราโมทัย ซึ่งได้รับความนิยมจากชาวบ้าน เป็นการละเล่นซึ่งผสมผสานกันระหว่างหนังตะลุงกับหมอลำ โดยตัวที่เป็นตัวเอก ตัวพระ ตัวนาง หรือเป็นเจ้าจะพูดภาษากลาง ตัวตลก เหล่าเสนาอำมาตย์ จะเป็นภาษาอีสาน เรื่องที่นำมาแสดงก็จะเอาวรรณกรรมพื้นบ้านมาแสดง เช่น สังข์ศิลป์ชัย จำปาสี่ต้น การะเกษ ผาแดงนางไอ่ ท้าวก่ำกาดำ รวมทั้งวรรณคดีเอกอย่าง รามเกียรติ์
        หนังปะโมทัยอีสานนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีเป็นศูนย์กลางแห่งแรก คณะหนังปะโมทัยคณะเก่าแก่ที่สุดคือ คณะฟ้าบ้านทุ่ง ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2467   คณะหนังปราโมทัยที่เก่าแก่รองลงมาได้แก่ คณะ  
บุญมี ซึ่งมาจากจังหวัดอุบลราชธานี และมาตั้งคณะขึ้นในจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2476   คณะประกาศสามัคคี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490   นอกจากนี้ยังมีคณะ ช. ถนอมศิลป์ บ้านโคกไพลี ตำบลโพธิ์ทอง กิ่งอำเภอศรีสมเด็จ คณะ ป. บันเทิงศิลป์ บ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด คณะหนังปะโมทัยของผู้ใหญ่ถัง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
          คณะหนังปะโมทัยคณะหนึ่งมีประมาณ 5 - 10 คน เป็นคนเชิด 2 - 3 คน ซึ่งจะทำหน้าที่พากย์และเจรจาด้วย แต่ก็มีบางคณะที่ทำหน้าที่เชิดอย่างเดียว โดยมีคนเจรจาแยกเป็นชายจริงหญิงแท้ต่างหาก มีนักดนตรีประมาณ 3 - 5 คน เครื่องดนตรีจะประกอบด้วย ระนาดเอก 1 ราง ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง 1 คู่ ต่อมามีการนำเอา พิณ แคน กลอง ฉิ่งฉาบ เข้ามาเสริมเพื่อให้เกิดความไพเราะเร้าใจขึ้น ทุกอย่างแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาคล้ายกับหมอลำนั่นเอง คณะหนังตะลุงที่ผม (ผู้ทำเว็บไซต์) ได้รู้จักและเคยเฝ้าดูการละเล่นมาตั้งแต่เด็กจนหนุ่มคือ คณะ ฟ.บันเบิงศิลป์ แต่ช่วงหลังก็หายไปคงจะเลิกกิจการไปแล้ว    



  

หนังปราโมทัย : ตำนานที่ต้องสืบสานต่อลมหายใจ
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2548 ที่ผ่านมาได้ทราบข่าวจากแม่ยายว่า จะมีคณะหนังปราโมทัยมาแสดงที่วัดแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จึงไม่พลาดที่จะต้องไปชมรำลึกถึงความหลัง ว่าหนังปราโมทัยเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่ผมรู้จักกับวันนี้ต่างกันอย่างไร


          ผิดคาดตั้งแต่เข้าไปในบริเวณวัดแล้วครับ เพราะได้ยินแต่เสียงดนตรีสไตล์ลำซิ่ง กลองชุด กีตาร์ เบส ม่วนหลาย สายตาเหลือบไปเห็นจอหนังปราโมทัยแน่ๆ แต่ดนตรีนี่ซิมันขัดแย้งอดีต
        มองดูบริเวณหน้าจอมีผู้คนจำนวนไม่น้อย (ดูวัยก็เลยสามสิบห้าขึ้นไปเป็นส่วนใหญ่ เด็กเล็กๆ ไม่เห็นมีวัยจ๊าบส์เลยแฮะ) แต่ด้านข้างโรงทำไมคนตรึมเลยล่ะ ทั้งหนุ่มทั้งแก่ชูคอกันเพียบเลย
        จะไม่ให้ตรึมได้ไง เพราะด้านหลังโรงคือกลุ่มของนักดนตรีเจ้าของเสียงเมื่อสักครู่กำลังบรรเลงอย่างมันในอารมณ์ทีเดียว ด้วยเครื่องดนตรีสมัยใหม่ เพลงและกลอนลำสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นกลอนลำซิ่งของ  
ประสาน เวียงสีมา เมียผู้ใหญ่บ้านกับอีกหลายเพลงฮิต พอมองดูไปที่จอเหล่านักเชิดวัยซิ่ง (คะเนด้วยสายตา 45 ขึ้นทั้งนั้น) กำลังชักเชือกให้สาวซิ่งบนจอยักย้ายส่ายสะโพกอย่างสนุกสนาน
        ผมยังอดที่จะขยับเท้าตามไปด้วยไม่ได้เลย แน่แล้วนี่คือการสืบสานต่อลมหายใจให้กับหนังปราโมทัยอีกเฮือก ไม่ต่างจากหมอลำคู่ที่พัฒนามาเป็นลำซิ่ง หนังปราโมทัยก็ย่อมจะต้องซิ่งเพื่อความอยู่รอดเช่นเดียวกัน
        การแสดงหน้าม่านด้วยความสนุกสนานนี่ดำเนินไปอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง ก็ได้เวลาที่การแสดงตามรูปแบบหนังปราโมทัยดั้งเดิม จะเริ่มต้น เรื่องราวที่นำมาแสดงในวันนี้ก็ยังคงเป็น    
  "รามเกียรติ์" เหมือนเมื่อครั้งอดีต เพียงแต่จะจับตอนใดมาแสดงตามความเหมาะสม (กับสถานการณ์บ้านเมืองขณะนั้น จะได้แทรกมุขตลกโปกฮาได้)
        ลักษณะการแสดงของหนังปราโมทัยของชาวอีสาน ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ จะใช้ภาษาไทยกลาง (ค่อนข้างแปร่งๆ ตามประสาครับ) ส่วนเหล่าเสนา อำมาตย์ ทหาร และชาวบ้านจะใช้ภาษาอีสาน ผู้ให้เสียงในคณะนี้จะมีนายหนังที่สามารถในเรื่องบทกลอนเป็นผู้นำเรื่อง ส่วนตัวอื่นๆ จะมีทั้งชายจริง หญิงแท้ช่วยกันประมาณ 3 คน ที่เหลือจะเป็นเพียงผู้เชิดหนัง ให้แสดงบทบาทตามเสียงพากย์  
มุมมอง : ของคนร่วมสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงในวันนี้         ผมค่อนข้างจะผิดหวังกับตัวหนังมากครับ ไม่มีรายละเอียด ฝีมือการตัดหนัง ฉลุลวดลาย ไม่ถึงศิลปะของลวดลายไทยแบบดั้งเดิม แม้แต่สีสันก็ฉูดฉาดเกินจริง และไม่ตรงกับความหมายของตัวละคร ตามแบบแผนศิลปกรรมไทยดั้งเดิมครับ (เพราะผมถูกเคี่ยวเรื่องศิลปไทยจากท่านอาจารย์จุลทัศน์ พยัคฆรานนท์ มาสมัยเรียนที่ มศว.ประสานมิตร เลยตาถึงนิดหน่อยครับ)
        ตัวละครที่เป็นเสนาและตัวตลก ซึ่งจะต้องมีการชัก และเชิดท่าทางการเคลื่อนไหวต่างๆ ก็ทำได้อย่างหยาบๆ เท่านั้นเอง แต่ผมก็ยังให้ความชื่นชมของผู้สืบสานต่อลมหายใจให้กับหนังปราโมทัยกลุ่มนี้อยู่ครับ
        เพราะนี่คือฝีมือแบบชาวบ้านจริงๆ ไม่ได้รับการปรึกษาจากผู้รู้เพียง    
  แต่จดจำสืบทอดกันมา ไม่ได้เรียนศิลปไทยจากที่ใดมาก่อน ทำกันเพราะใจรักจริงๆ ก็ต้องยกย่องชื่นชมครับ
        เครื่องดนตรีดั้งเดิม ระนาดเอก ตะโพน ฉิ่ง ยังคงอยู่ครับสำหรับการดำเนินเรื่องของตัวเอก (ตัวพระ ตัวนางและยักษ์) แต่ทัพเสริมนี่มีทั้งกลองชุด กีตาร์ เบส คีย์บอร์ดมาช่วยเสริม ซึ่งจะใช้ในตอนที่ตัวตลกออกมาดำเนินเรื่องแก้ง่วงช่วงดึกๆ

        ลักษณะของการแสดงในวันนี้เมื่อมีการเปลี่ยนไปแล้วก็จริง แต่การจะดึงดูดให้ผู้ชมยังคงอยู่กับหนังปราโมทัยได้ตลอดคืน เหมือนเมื่อครั้งอดีตคงเป็นเรื่องยากเสียแล้ว เพราะจุดน่าสนใจมีน้อยมาก สู้การแสดงของหมอลำไม่ได้ ทำไมหรือ?
        หมอลำหมู่หรือแม้แต่หมอลำซิ่ง ผู้ชมได้รับความสนุกสนานทั้งเสียงดนตรี เสียงร้องและเสียงลำ ส่วนสายตาก็ได้ชื่นชมท่าทางการฟ้อนของผู้รำ (ที่อาจมีการสวมชุดที่ออกจะออกอาการหวาดเสียวนิดๆ ด้วย) ในขณะที่หนังปราโมทัยผู้ชมได้ยินเสียงครึกครื้น แต่สายตาเห็นแต่เงาเต้นกระย่องกระแย่งอยู่ มันขาดรสชาติอยู่นะครับ ถ้าเนื้อหาการแสดงไม่ดึงดูดใจตรึงผู้ชมได้ โอกาสที่คนดูจะลุกไปก่อนเที่ยงคืนก็มีสูงมาก  
        ผมยังคงมองไม่ออกว่าจะปรับเปลี่ยนในรูปใด จึงจะสานต่อให้หนังปราโมทัยยังคงอยู่ได้ ให้มีการแสดงแพร่หลายออกไป ได้แต่เอาใจช่วยนำมาเสนอให้ท่านทั้งหลายได้รู้จักกัน
        ผมไม่มีโอกาสได้สนทนากับนายหนัง หรือหัวหน้าคณะเลย เพราะติดการแสดงตลอดเวลา (คณะเดินทางมาถึงงานช้า เพราะหลงทางไม่เคยมา พอมาถึงก็ติดตั้งอุปกรณ์แสดงกันเลย) ได้สอบถามจากนักดนตรี และคณะผู้ร่วมงาน ก็ทราบเพียงว่า มาจากบ้านโพนทัน จังหวัดยโสธร ทั้งหมดเป็นชาวบ้านในหมู่บ้านเดียวกัน ได้รับการสอนแนะนำจากหัวหน้าคณะ ช่วยกันทำและฝึกซ้อม ออกแสดงรับงานทั่วไป ไม่แน่ใจว่าจะยังคงอยู่ได้นานอีกเท่าใด เพราะหลังๆ ก็ไม่ค่อยมีงานมากนัก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 318 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 317 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 17:13:41  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่35) ฟ้อนกลองตุ้ม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 




ฟ้อนกลองตุ้ม (ฟ้อนส่วยมือ)

ฟ้อนกลองตุ้ม หรือฟ้อนส่วยมือ เป็นการฟ้อนรำที่เก่าแก่และโบราณ ของชาวอีสาน ในอดีตนิยมฟ้อนด้วยผู้ชายทั้งหมด เป็นการฟ้อนรำประกอบจังหวะกลองตุ้ม ใช้ประกอบขบวนในการแห่บั้งไฟ
การฟ้อนกลองตุ้มมีอยู่ 2 แบบด้วยกัน แบบที่หนึ่ง คือ การฟ้อนเป็นจังหวะในรูปแบบการฟ้อนแห่เป็นขบวน  แบบที่สอง คือการฟ้อนประกอบทำนองกาพย์เซิ้ง เพื่อขอเหล้าหรือปัจจัยไทยทาน เมื่อพิจารณาที่มาของการฟ้อนกลองตุ้มในแบบที่สอง จะเห็นได้ว่า มีความเกี่ยวเนื่องกับประเพณีบุญบั้งไฟ เพราะมีทำนองเป็นเช่นเดียวกันกับทำนองเซิ้งบั้งไฟ แต่มีช่วงจังหวะที่ช้าเนิบนาบกว่า
เครื่องดนตรี
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงมีเพียง 3 ชิ้น ได้แก่ กลองตุ้ม ผางฮาด และสไน อาจจะมีฉิ่งและฉาบร่วมประกอบจังหวะด้วย
อุปกรณ์ในการแสดง
- ส่วยมือ เป็นอุปกรณ์ในการสวมนิ้วมือทั้งสิบ ทำมาจากหวายหรือไม้ไผ่ก้านยาว ปลายด้านหนึ่งสานให้เป็นกรวย เพื่อสวมเข้ากับนิ้ว ตัวก้านมีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วพันด้วยด้ายสีต่างๆ ที่ปลายสุดของไม้มีพู่สีขาว นิยมพันด้ายให้เหมือนกับสีของธงชาติไทย
- ฝ้ายขาว ทำมาจากเส้นฝ้ายหรือไหมพรมสีขาว มัดแล้วตัดเป็นข้อๆ ใช้พาดไหล่ทั้งสองข้างคล้ายกับการใส่สร้อยสังวาล มักใช้กับฟ้อนกลองตุ้มในจังหวัดอุบลราชธานี
- ในจังหวัดศรีสะเกษ  จะมีเครื่องประดับที่ใช้ในการฟ้อนกลองตุ้ม คือ กระจกบานเล็กห้อยเป็นสร้อย แล้วใช้ใบตาลสานเป็นสร้อยสังวาลแทนฝ้ายขาว และสวมแว่นตาดำ
ปัจจุบันการฟ้อนกลองตุ้มได้คลี่คลายมากขึ้น ซึ่งแต่เดิมจะฟ้อนด้วยผู้ชายทั้งหมด บางหมู่บ้านที่มีการฟ้อนกลองตุ้มก็มีผู้หญิงเข้ามาร่วมฟ้อนด้วยแต่ยังคงแต่งกายเป็นผู้ชายทั้งหมด และในสถานศึกษาได้นำมาดัดแปลงมาใช้แสดงบนเวที ร่วมกับวงโปงลาง ซึ่งจะสามารถหาชมได้จากสถาบันการศึกษาทั้ง 2 แห่งนี้ คือ
ฟ้อนกลองตุ้มของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ดัดแปลงให้เป็นการแสดงบนเวที โดยให้นักแสดงที่เป็นผู้หญิงล้วน แบ่งเป็น2 ด้าน ด้านหนึ่งจะแต่งกายเป็นผู้ชาย อีกด้านจะแต่งเป็นชุดสตรีแบบพื้นเมืองอีสาน ซึ่งได้ดัดแปลงท่วงท่าบางส่วนผสมผสานกับการแสดงของวงโปงลางด้วย
การแต่งกาย- ฝ่ายชาย สวมเสื้อย้อมครามแขนสั้น นุ่งโสร่ง ใช้ผ้าขิดสีแดง 4 ผืน คือ พาดเฉียงไหล่ทั้งสองข้าง โพกศีรษะ และมัดเอว สวมสร้อยคอเงิน และนิ้วทั้งสิบสวมส่วยมือ
- ฝ่ายหญิง สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มทับด้วยสไบขิด นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ยาวคลุมเข่า ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ สวมเครื่องประดับเงิน และนิ้วทั้งสิบสวมส่วยมือ
ฟ้อนกลองตุ้มของ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดได้ดัดแปลงการฟ้อนกลองตุ้มแบบโบราณมาผสมผสานกับการแสดงบนเวที คือ จะมีการฟ้อนร่วมกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิงด้วย แทนการฟ้อนแบบโบราณซึ่งจะมีแค่ผู้ชายเท่านั้น โดยการแสดงในช่วงแรกจะบรรเลงแบบโบราณ คือใช้เพียงกลองตุ้ม ผางฮาด และสไน ช่วงที่สองจะบรรเลงด้วยวงโปงลางในจังหวะและทำนองที่สนุกสนานเร้าใจ
การแต่งกาย- ชาย สวมเสื้อย้อมครามแขนสั้น นุ่งโสร่ง ใช้ผ้าขิดสีเขียว 3 ผืน คือ พาดเฉียงไหล่ทั้งสองข้างและมัดเอว ใช้เส้นฝ้ายสีขาว 2 เส้นเฉียงทับบนสไบ ศีรษะสวมหมวกกาบเซิ้ง และนิ้วทั้งสิบสวมส่วยมือ
- หญิง สวมเสื้อแขนกระบอกสีแดง ไหล่ทั้งสองข้างห่มทับด้วยสไบขิดสีเขียว 2 ผืนใช้เส้นฝ้ายภูไทสีขาว 2 เส้นเฉียงทับบนสไบ นุ่งโสร่งอย่างผู้ชาย  ศีรษะสวมหมวกกาบเซิ้ง สวมเครื่องประดับเงิน และนิ้วทั้งสิบสวมส่วยมือ
…………………………………………

 
 
สาธุการบทความนี้ : 318 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 317 ครั้ง
 
 
  28 ส.ค. 2551 เวลา 16:31:56  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่29) ทวย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


คำทวย เฉลย
1. กินทางใน เฮ็ดแนวทางเปลือก
2. แก่อยู่นอก อ่อนอยู่ใน
3. ใกล้บ่ไกลเหลียวเห็นพอพุมพู่
4. ก่งจ่งอยู่กลางหนอง
5. ก่อนสิไปเอาไฟจูดก้น
6. กล้วยหยังกินบ่ได้
7. ขี้ช้างลอด ขี้มอดค้าง
8. ขึ้นกะลูบ ลงกะลูบ
9. คนฮักชาติสิใส่เสื้อสีหยัง
10. คนในผ่านออก คนนอกผ่านเข้า
11. งัวอี่แดง กินน้ำบ่เหมิดท่ง
12. โงโงคือแขนศอก บอกแล้วจั่งทวย
13. จับหาง อ้าปาก
14. จี่หัว กินหาง
15. ชักกะบ่ได้ชัก ชวนกะบ่ได้ชวน น้อยบ่นานลอยนวลมาเอง
16. ชื่ออยู่ในครัว ตัวลี้อยู่ป่า
17. เด็กน้อย ๆ เอาขี้ฝอยฮองนั่ง
18. ดำจั่งหมี ขี่หมาอ้อมบ้าน
19. ต้นท่อครก ใบปกขี้ดิน
20. แต่น้อย ๆ ใส่เสื้อคับ ใหญ่ขึ้นมาใส่เสื้อหลวม ข้าว
มะพร้าว
จมูก
คันเบ็ด
บั้งไฟ
กล้วยไม้
ใยแมงมุม
บันได
สีแดง
ประตู
ตะวัน
ข้อศอก
ช้อน
สูบบุหรี่
พระจันทร์

กระต่ายขูดมะพร้าว
กระเทียม
ตัวหมัด
ตะไคร้
มะขาม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 315 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 314 ครั้ง
 
 
  05 ส.ค. 2551 เวลา 16:24:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่23) ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ศรีสะเกษ
แดนปราสาทขอม
หอมกระเทียมดี
มีสวนสมเด็จ
เขตดงลำดวน
หลากล้วนวัฒนธรรม
เลิสล้ำสามัคคี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 314 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 313 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 17:20:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่162) การละเล่นของชาวกูย จ.ศรีสะเกษ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
การละเล่นของชาวกูย จ.ศรีสะเกษ      


ฟ้อนรำตำตะ  บ้านตะดอบ ต.ตะดอบ อ.เมือง ศรีสะเกษ  เป็นการฟ้อนของชาวกวยศรีสะเกษ เป็นการรำ ซึ่งจำลองท่าร่ายรำมาจากการตีเหล็กของชาวกวยบ้านตะดอบ  คิดค้นท่ารำโดยคณะครูโรงเรียนบ้านตะดอบ

การรำสะเองของชาวกูย (บางแห่งเรียกรำนางออ) เป็นการรำถวายแถน หรือผีฟ้า ที่ตัวผู้ป่วยได้บนบานเอาไว้ (เป็นประเพณีของชาวกวย) หรือมีบรรพบุรุษนับถือแถน จึงจัดรำสะเองเพื่อให้แถนปกป้องคุ้มครองต่อไป  ชาวกวยเชื่อว่า มีเชื้อสะเองอยู่ในร่างกาย และจะตกเป็นมรดกตกทอด  เช่นตกไปเป็นของลูกสาวคนโต

 
 
สาธุการบทความนี้ : 306 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 306 ครั้ง
 
 
  08 ส.ค. 2552 เวลา 16:09:34  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่135) นิทานเรื่องพระเจ้าสร้างโลก      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
นิทานเรื่องพระเจ้าสร้างโลก      
นิทานเรื่องพระเจ้าสร้างโลกกับความเป็นมาของสังข์และสะไน

    นานมาแล้วตั้งแต่แผ่นดินเท่ารอยไก่  ต้นไม้เท่าลำเทียน  ตั้งแต่ปู่สังกะสาย่าสังกะสี  มีพระฤาษีตนหนึ่งบำเพ็ญตนอยู่ในป่าลึก  และมีพระพรมบำเพ็ญภาวนาอยู่บนสวรรค์  พระพรมเป็นผู้ที่มีบุญอันแรงกล้าเต็มไปด้วยเมตตากรุณา  เกิดคิดอยากสร้างโลกสร้างสัตว์จึงเอาดินเหนียวมาผสมกับน้ำแล้วปั้นเป็นรูปคน  เมื่อปั้นแล้วก็เอาไปให้พระยาแถนเป็นผู้หล่อเพื่อให้มีความงดงาม  จึงมีคำกล่าวที่ว่า “แถนผู้หล่อ  พรมผู้สร้าง”  เมื่อหล่อและตกแต่งให้มีความสวยงามแล้วก็เอาไปใส่ในลูกน้ำเต้าแล้วก็โยนลงมาจากสรวงสวรรค์  หวังจะให้ลูกน้ำเต้าตกลงพื้นแตกออก  ผู้คนที่ปั้นไว้ในลูกน้ำเต้าจะได้อาศัยอยู่บนพื้นโลก  แต่พอโยนลงถึงพื้นลูกน้ำเต้าไม่แตกออกพระยาแถนจึงลงมาเอาเหล็กชีเผาไฟแทงเข้าไปให้น้ำเต้าแตก    คนที่อยู่ใกล้ลูกน้ำเต้าโดนควันไฟจึงออกมาเป็นคนผิวดำ  คือ  คนเยอ  คนส่วย เขมร คนที่อยู่ตรงกลางไม่โดนควันไฟมากมีสีผิวดำแดง  เช่น  คนไทย  คนลาว  คนพม่า   คนที่อยู่ลึกเข้าไปไม่โดนควันไฟจึงมีสีผิวขาว  เช่น  คนจีน  คนฝรั่ง  คนญวน  คนทั้งหลายที่ลงมาเกิดบนโลกครั้งแรกมาจากเมืองสวรรค์  มาสร้างคุณงามความดี   แต่เมื่อเกิดมาแล้วยังไม่มีข้าวกินจึงต้องกินกินผลไม้เป็นอาหาร   จึงทำให้ไม่มีความรู้ความฉลาดมากอยู่ไปนานๆก็มีขนกลับกลายเป็นลิงเป็นค้าง   พระฤาษีที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าเห็นแล้วรู้สึกสงสารจึงได้ไปเชิญพระแม่โพสพมาช่วยเลี้ยง  พระแม่โพสพนี้หมายถึงข้าว  แต่ก่อนนั้นเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งมีชีวิตจิตใจเป็นตัวตน  มีขนมีปีก  มีหัวโตเท่าลูกมะพร้าว  พระฤาษีได้เชิญแม่โพสพมาเลี้ยงคนแต่เมื่อคนได้กินแล้วมีตัวตนใหญ่โต  มีพลัง และก็ทำตัวเป็นอันธพาลรังแกข่มเหงกันเอง  แม่โพสพเห็นแล้วไม่พอใจไม่อยากเลี้ยงคนอีกจึงหนีไปอยู่บ้านแม่ม่าย  แม่โพสพพากันบินมาอยู่บ้านแม่ม่ายจนไม่มีที่จะอยู่จนทำให้แม่ม่ายลำคาญ  และโมโหมากด่าและตบตีแม่โพสพจนแม่โพสพ ทนไม่ไหวพากันหนีไปอยู่ป่าหิมมะพาน  เมื่อไม่มีแม่โพสพพวกคนก็อดอยากไม่มีอะไรกิน   ด้วยความอดอยากนี้จึงทำให้คนฆ่ากันกินแล้วกลับกลายเป็นยักษ์เป็นมาร   นานเข้าทำให้คนเริ่มลดน้อยลงขยายพันธุ์ไม่ได้เพราะมีมารที่มีฤทธิ์ ไม่มีใครสามารถฆ่ามารตนนี้ได้   เมื่อพรมผู้ที่สร้างโลกรู้ว่ามนุษย์ที่ตัวเองได้สร้างขึ้นมากลับกลายเป็นยักษ์เป็นมาร   ถ้าจะทำลายให้ตายให้หมดก็สงสารเพราะได้สร้างขึ้นมาแล้ว    พระพรมเศร้าโศกเสียใจมากจนน้ำตาไหลผสมกับเหงื่อไหลลงพื้นดิน  ทันใดนั้นก็กลับกลายเป็นองค์พระนารายณ์  แบ่งภาคเป็นกฤษณะ    พระพรมเลี้ยงเด็กน้อยไว้คนหนึ่งจึงให้  กฤษณะเป็นผู้เลี้ยงดู    อยู่มาวันหนึ่งกษฤณะไม่อยู่บ้านออกไปทำธุระข้างนอกปล่อยให้เด็กน้อยอยู่คนเดียว  บังเอิญวันนั้นพระยามารที่กินคนได้ออกมาหากินบริเวณบ้านของกฤษณะ  เห็นเด็กน้อยอยู่คนเดียวพระยามารจึงได้จับเอาเด็กน้อยไปขังไว้แล้วก็ออกไปหาจับคนที่อื่นก่อนถึงจะกลับมากินเด็กน้อย   เมื่อกฤษณะกลับมาไม่เห็นเด็กน้อยก็รู้ทันทีว่าพระยามารมาลักพาตัวเด็กน้อยไป  จึงรีบตามไปช่วยเด็กน้อยแล้วเอากลับมาที่พักได้อย่างปลอดภัย       ทางฝ่ายพระยามารเมื่อกลับที่พักตัวเองไม่เห็นเด็กน้อยที่ตนจับมาขังไว้ก็รู้ทันทีว่า กฤษณะมาช่วยเอากลับไปแล้วและก็รู้ว่ากฤษณะที่มาช่วยก็คือองค์พระนารายณ์  เมื่อพระยามารรู้ว่าเป็นองค์พระนารายณ์ก็เกิดความกลัวอย่างยิ่ง  กะวนกะวายไม่รู้ว่าจะหลบหนีไปทางไหนเพราะองค์พระนารายณ์มีฤทธิ์เดชสามารถปราบได้ทั้งสามโลก   มันจึงออกปากว่า “ตายคักๆกูตายคักๆ”พร้อมกับหนีลงไปใต้มหาสมุทรมีความลึกหนึ่งหมื่นสี่พันโยช   เมื่อพระนารายณ์รู้ว่าพระยามารหนีลงไปอยู่ใต้มหาสมุทรก็ตามลงไป  พระยามารรู้ว่าพระนารายณ์ตามลงมาก็มีความกลัวมากพร้อมกับพูดว่า “ตายคักๆกูตายคักๆ” ไปตลอด พระยามารหลบหนีไปทุกซอกทุกมุมในใต้มหาสมุทรจนไปพบกับเปลือกหอยสังข์อยู่ใต้มหาสมุทรก็หลบเข้าไปข้างในเปลือกหอยสังข์   พระนารายณ์รู้ว่าพระยามารเข้าไปหลบซ่อนในเปลือกหอยสังข์ก็ตามลงไป ปราบพระยามารจนสิ้นฤทธิ์อย่างราบคาบในเปลือกหอย  เมื่อปราบพระยามารได้แล้วก็เอาเปลือกหอยสังข์ที่พระยามารเข้าไปหลบซ่อนตัวขึ้นมาเป่าเพื่อประกาศให้คนและเทวดาทราบทั่วกันว่าพระยามารได้สิ้นฤทธิ์แล้ว  โดยมีหอยสังข์เป็นจุดที่พระนารายณ์ปราบมาร  สังข์จึงถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสียงของสังข์จึงเป็นเสียงแห่งชัยชนะ  เมื่อพระยามารสิ้นฤทธิ์ผู้คนก็ได้ขยายสืบพันธุ์กันต่อมาแต่ก็ไม่มีข้าวกินเพราะแม่โพสพหนีไปอยู่ป่า  หิมพานต์  จึงหากินผลหมากรากไม้ กินเผือกกินมันทำให้ไม่มีความรู้ความฉลาด  พระฤาษีจึงได้ไปอ้อนวอนขอให้พระแม่โพสพกลับมาเลี้ยงคนอีก  แล้วบอกพระแม่โพสพว่าพระยามารได้สิ้นฤทธิ์เดชไปแล้วเพราะถูกพระนารายณ์ปราบในหอยสังข์ใต้มหาสมุทร  ต่อไปนี้จะมีแต่สิ่งดีๆเกิดขึ้นเพราะไม่มีพระยามารอีกแล้ว  แม่โพสพยังติดใจอยู่กับเรื่องเดิมและได้บอกกับฤาษีว่า  ถึงแม้ว่ามารจะสิ้นฤทธิ์ไปแล้วแต่ผู้คนก็ยังมีการด่ากัน  ทำร้ายกัน  ฆ่ากัน  อยู่เหมือนเดิมไม่กลับเลี้ยงหรอก  เมื่อฤาษีเห็นท่าทีว่าแม่โพสพจะไม่กลับไปเลี้ยงดูคนอีก  จึงเสกคาถาสะกดให้ขนปีกและหางของแม่โพสพหลุดออกบินไปไหนไม่ได้  จนทำให้แม่โพสพขาดใจตายทั้งหมด  ร่างของพระแม่โพสพที่หล่นลงพื้นเกิดเป็นต้นข้าวที่เรากินอยู่ทุกวันนี้    ดวงใจของพระแม่โพสพเกิดเป็นลำต้น  ส่วนขนของพระแม่โพสพเกิดเป็นรวงข้าว  เมื่อคนได้กินเข้าไปจึงทำให้คนมีความรู้ความฉลาดมากขึ้น  เป็นที่ยินดีของคนและหมู่เทวดา  เมื่อคนมีความยินดีก็เกิดอยากฟ้อนรำเพื่อฉลองชัยชนะของหอยสังข์  หมู่เทวดาทั้งหลายจึงไปขอฟ้อนรำใส่เสียงสังข์ของพระนารายณ์   แต่พระนารายณ์บอกว่าจะมาฟ้อนใส่เสียงสังข์โดยตรงนั้นไม่ได้เพราะว่าสังข์มีรูออกแต่ไม่มีรูอัด  หมายถึงเมื่ออัดปากลำโพงแล้วจะไม่มีเสียง  แต่พระนารายณ์จะให้ลิ้นสังข์ไปติดกับเขาสัตว์  เมื่อดูดลมเข้า  เปิด-ปิดรูปลายเขาแล้วจะมีเสียสูงต่ำตามจังหวะการเป่า   แล้วค่อยมีการฟ้อนรำสรรเสริญยกย่องฉลองชัยชะนะให้แก่สังข์  แล้วก็ให้ทำกลองทำฆ้องขึ้นมา  กลองให้ทำจากต้นมะเขือ  ฆ้องให้ทำจากต้นหมากแข้ง   เรียกว่า  “กลองหมากเขือ  ฆ้องหมากแข้ง”  สำหรับตีประสานเสียงกับการเป่าสังข์    ส่วนลิ้นที่พระนารายณ์ให้นำมาติดกับเขาสัตว์นั้นเรียกว่า  สังข์ไน  (สะไน)  เพราะว่าใช้ลิ้นของสังข์   ต่อไปถ้าผู้คนจะสร้างบ้านเรือนก็ต้องมีของสามอย่างนี้ประจำบ้านไว้  เปรียบเสมือนก้อนเส้าสามก้อนไว้ตั้งหม้อข้าวหม้อแกงเวลาทำอาหาร   ถ้าใครเกิดความเดือดร้อนก็ให้ตีกลองลั่นฆ้อง   ดีอกดีใจอยากฟ้อนลำก็ให้เป่าสังข์ไนง์ (สะไน)    เมื่อใดที่มีการเป่าสังข์ไนง์ จะมีเสียงดังได้ยินทั้งสามโลก    (โลกสวรรค์  โลกมนุษย์  และโลกบาดาล)  เมื่อเทวดา พระยานาคได้ยินเสียงก็ให้มาดูแลความสงบให้มนุษย์  อย่าให้มีมารมาเบียดเบียนหมู่คน  ให้มีแต่ความสงบสุข  ให้มีแต่ความดีงาม  และให้คนปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีลในธรรม   สังข์ไนนั้นให้คนและเทวดาเทิดทูลบูชาได้เป็นของศักดิ์สิทธิ์  อย่าได้ลบหลู่โดยเฉพาะสังข์ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดให้ใช้งานพิธีที่สำคัญๆเท่านั้น เช่น บุญพระเวสสันดร  งานแต่งงาน  ตั้งศาลพระภูมิ   สำหรับซั้งไนเป็นภาษาเยอ  แต่คนลาว  เขมร  ส่วยเรียก  สะไน  ก็คืออันเดียวกัน  และนี่ก็คือนิทานปรำปราเกี่ยวกับการกำเนิดสังข์และสะไนตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเยอเล่าให้ลูกหลานชาวเยอฟัง (ข้อมูลจากโครงการจัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 301 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 299 ครั้ง
 
 
  16 มิ.ย. 2552 เวลา 18:08:28  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่26) ส่วย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ส่วยคือชาวกูย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 297 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 296 ครั้ง
 
 
  05 ส.ค. 2551 เวลา 16:15:23  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   112) เรื่องเศร้า ณ กันทรารมย์  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่2) นางเหงาแบบไทบ้านเหม้า      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
เป็นเรื่องราวของศึกชิงนางเช่นกัน จนเป็นที่มาของชื่อสถานที่ต่างๆใน จ.ศรีสะเกษ  มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่า เจ้าชีซ้วน (ชีทวน) มีธิดานามว่า เจี่ยงใด  มีความงดงามเป็นที่ต้องใจของหนุ่มผู้ครองนครทั้งหลาย ท้าวกาฬหงส์ลูกชายเจ้าเมืองกาฬหงส ์(เมืองพะนา) มีความคลั่งไคล้ในตัวนาง จึงให้บิดาไปสู่ขอ  เจ้าเมืองชีซ้วนยินยอมรับหมั้น ท้าวอินทะเกษเจ้าเมืองศรีสะเกษก็มาหลงรักนางเช่นกัน จึงคิดหาทางจะเอามาเป็นคู่ครองให้ได้ จึงยกทัพจะมาสู่ขอนางตามเส้นทางโพธิ์โนนจาน ข้ามแม่น้ำมูลพักไพร่พลอาบน้ำ ต่อมาจึงเรียกที่นี่ว่าท่าสีไคล  เดินทางต่อผ่านไปบ้านบัวน้อย ทราบข่าวว่านางเจี่ยงใดมีคู่ครองแล้วก็เกิดลังเลใจ ไหนๆ มาแล้วก็ต้องไปให้ถึง  ที่แห่งนี้ต่อมา เรียกทุ่งกะเทิน  (ต่อมาเพี้ยนเป็นทุ่งเทิน) เดินทางต่อไปผ่านหนองน้ำที่มีพืชสีเขียวลอยอยู่ในน้ำ  ต่อมาเรียกบ้านหนองเทา ผ่านบ้านกระเตา บ้านลาดทราย (ละทาย)  บ้านอ้น (สัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายหนู) ผ่านหุบห้วย ข้ามแม่น้ำชี  แย่งเอานางเจี่ยงใดจากเจ้าเมืองชีซ้วนได้ พากองทัพและนางเจี่ยงใดหวนกลับข้ามแม่น้ำชีทางเดิม  ขากลับไพร่พลอิดโรยมาก เจ็บป่วยต้องพยุงกันไป ได้พักที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ต่อมาเรียกว่าบ้านเจี่ย  ผ่านบ้านหมัด หวังจะเปลี่ยนเส้นทางข้ามแม่น้ำมูล เพราะเข้าใจว่าถึงอย่างไรทัพของเจ้าเมืองชีซ้วนคงจะตามมาแน่

ทัพของเจ้าอินทเกษ เดินทางมาถึงฝั่งแม่น้ำมูล หยุดพักพล หาเสบียงอาหาร ส่วนนางเจี่ยงใดเอาแต่ร้องไห้เพราะจากบ้านจากเมืองมา และพูดบ่ายเบี่ยงว่าลืมสร้อยสังวาล อ้อนวอนขอท้าวอินทเกษว่าจะกลับไปเอา แต่พระองค์ไม่ยอม ที่ตรงนี้จึงเรียกว่าหนองสังวาล ต่อมาเพี้ยนเป็นหนองไชยวาน ระหว่างพักพลมีการฉลองกันที่ได้นางมาเป็นคู่ครอง ที่แห่งนี้ต่อมาจึงเรียกว่ากุดกินดองหรือกุดสันดองในเวลาต่อมา อาหารที่จัดเลี้ยงก็เป็นของที่หาได้แถวนั้น นั่นก็คือเต่า จึงใช้เต่าเป็นอาหาร  ที่แห่งนี้ต่อมาจึงเรียกว่าถ้ำเต่า   เป็นถ้ำใกล้ลำน้ำมูลหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าท่าถ้ำเต่า

ฝ่ายเจ้าเมืองชีซ้วนหลังจากถูกแย่งลูกสาว จึงให้ท้าวกาฬหงส์นำทัพออกติดตามกระชั้นชิด  ท้าวอินทะเกษเห็นจวนตัว จึงนำทัพตั้งมั่นอยู่ที่แห่งหนึ่งเพื่อรับศึก ซึ่งต่อมาเรียกว่าบ้านเมืองน้อย  ส่วนท้าวกาฬหงส์นำทัพมาตั้งมั่นที่บ้านลาดทราย  ทั้งสองทัพทำศึกชิงนางยืดเยื้อนานเเรมปี  จนนางเจี่ยงใดคลอดบุตรเป็นชายมีรูปร่างอัปมงคล มีขนทั่วตัวคล้ายลิง ท้าวอินทะเกษจึงให้ทหารนำไปไหลล่องแพที่ลำน้ำมูล นางเจี่ยงใดเสียใจมาก ออกตามมาตามฝั่งแม่น้ำมูล  แพไหลไปตามน้ำถึงที่พักทัพครั้งลืมสร้อยสังวาล นางนั่งโศกเศร้าคิดถึงลูก คิดถึงพ่อแม่  ที่แห่งนี้ต่อมาจึงได้เรียกว่าท่านางเหงา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 296 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 296 ครั้ง
 
 
  23 ก.พ. 2554 เวลา 18:15:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่28) คำทวย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 
คำทวย
ความทวย : "กกบ่มีฮาก หมากบ่มีใบ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เครือเขาดำ อธิบายให้รู้จักกันชัดๆ คือเครือเขาดำนั้นเป็นเถาวัลย์เล็กๆ ชนิดหนึ่งชอบเกิดบนต้นไม้ ไม่มีรากลงดิน มีลูก (ผล) แต่ไม่มีใบ (เวลาตอบให้ตอบเฉพาะว่า เครือเขาดำ เท่านั้น)
ความทวย : "ไก่อีดำงำดิน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ก้อนขี้ควาย เพราะกองขี้ควายมันจะเป็นกองดำๆ คว่ำอยู่บนดิน (งำดิน = คว่ำอยู่บนดิน)
ความทวย : "ไก่อีกล้ากินหญ้าอ้อมโพน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ กรรไกรตัดผม หมายถึง กรรไกรตัดผมรอบศรีษะ (อ้อมโพน = รอบโคนจอมปลวก ในที่นี้หมายถึงศรีษะ)
ความทวย : "ไก่อีลายขี้ยายคันฮั้ว" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขี้ตอก หมายถึง เศษไม้ไผ่ที่เหลาจากตอกแล้ว เขามักจะเอาไปวางตามรั้วบ้านสมัยก่อน
ความทวย : "กกอยู่ป่า ง่าอยู่บ้าน บานได้สู่แลง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ กระบอง หมายถึง ขี้ไต้ที่จุดไฟไว้ อธิบายให้รู้ชัดๆ คือ กก หมายถึงต้นยางที่เอายางของมันมาผสมกับไม้ผุ ห่อด้วยใบตองยางเช่นเดิม แล้วเอามาจุดไฟให้แสงสว่าง ง่า หมายถึง กิ่งไม้ ซึ่งก็คือที่วางขี้ไต้ สู่แลง คือทุกค่ำคืน
ความทวย : "ไก่อีลายตายอยู่นอกซาน คนเบิ้ดบ้านมาปาดบ่เบิ้ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หินฝนพร้า หมายถึง คนที่มาลับมีด (ฝนพร้าที่หินเป้นร้อยคน หินก็ไม่หมด)
ความทวย : "ไก่อีลายตายอยู่ไฮ่อ้อย คนเป็นร้อยไปปาดบ่เบิ้ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หินฝนพร้า หมายถึง หินลับมีด
ความทวย : "ไก่อีขาวซาวเกลือ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หน่อไม้ส้ม หมายถึง หน่อไม้ดอง
ความทวย : "ไก่อีขาวซาวปีก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ดอกซ้อน หมายถึง ดอกมะลิ
ความทวย : "ขนแยมแยะแปะกันมีแฮง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขนตา หมายถึง เวลาหลับตานอน
ความทวย : "แข่วซากลาก ฮูดากหลุมแขน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ สุ่ม อธิบายว่า สุ่มนั้นที่ปากของมันจะมีริ้วไม้ไผ่ที่ใช้สานสุ่มแหลมๆ เรียงกันเป้นแถวคนอีสานเรียกว่า "แข่ว" (ฟัน) หรือ (เขี้ยวสุ่ม) ใช้ขังไก่ จับปลา เวลาใช้จะเอาปากลง เอาก้นขึ้น เวลาจะเอาของในสุ่มจะล้วงเอาทางดาก (ก้น) สุ่มนี้

ความทวย : "ข่ายหล่ายก่ายหี" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หางควายโตแม่
ความทวย : "ขาวคือฝ้าย ยายอยู่ทั่วฟ้า" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ดาว
ความทวย : "เค็งๆ ก้องในดงมิดมี่ คื่นๆ ก้องในบ้านบ่ได้ยิน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หมากเค็ง (ลูกหยี) และ หมากเขือคื่น (ขื่น) อธิบายได้ว่า เค็งๆ ก้องในดงมิดมี่ คือหมากเค็ง คื่นๆ ก้องในบ้านบ่ได้ยิน คือหมากเขือขื่น เค็งๆ กับคื่นๆ เป็นเพียงชื่อผลไม้ ไม่ใช่เสียงมันจึงเงียบและไม่ได้ยิน
ความทวย : "คนเบิ้ดบ้านกินน้ำสร้างเดียว เทียวทางเดียวบ่ให้เหยียบฮอยกัน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนรับศีลจากพระ อธิบายว่า คือรับจากพระรูปเดียว ว่าความเดียวกัน และว่าพร้อมกันด้วย
ความทวย : "ควยบ่มีขากินหญ้าบ่เป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หลักฝังบ่แน่น (ของที่เคยแน่นมาก่อนแต่มาโยกหรือคลอนตอนหลัง คนอีสานเรียก "ควย" เช่น ฟันโยก คนอีสานจะเรียกว่า "แข่วควย" หลักที่ถูกโยกหรือคลอน คนอีสานจะเรียกว่า "หลักควย")
ความทวย : "งงงาพร้อมหูหางดูอาจงามเด สัตว์สิ่งนี้ควรค่ำค่าเมือง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ช้าง
ความทวย : "งุมหน้าให้ฟ้าเบิ่งก้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บักหอยโข่ง
ความทวย : "โงโค้งโน้งข่วมท่งข่วมภู" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ฮุ้งลงกินน้ำ
ความทวย : "จับหางขี้จ๊วก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คันโซ่ หมายถึง เครื่องมือวิดน้ำ ทำด้วยไม้ไผ่สาน ใช้แรงคนวิด
ความทวย : "จับใต้ฉีกแคกแดกเข้าในฮู" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขนไก่แหย่หู อธิบายว่า สมัยก่อนคนนิยมเอาขนปีกไก่มาฉีกบางส่วนออก แล้วเอามาแหย่รูหู (แทนคอตตอนบัดในสมัยนี้นั่นเอง) ทั้งคัน ทั้งมันอย่าบอกใครเชียว
ความทวย : "จากไปบ่เห็นฮอย บ่ต้งคอยกลับมาเอง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ จิตใจของคน
ความทวย : "เจ้าบ่มีศาล สมภารบ่มีวัด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : "เจ้าบ่มีศาล คือ แม่น้ำเจ้าพระยา สมภารบ่มีวัด คือ การแถมสมภาร ในภาคอีสานเวลาพระเทศน์ เช่น กัณฑ์มัททรี เวลาพระขึ้นเสียงสูง ชาวบ้านจะหยอดเหรียญในบาตรทำให้เกิดเสียงดังพร้อมกับร้องว่า "นิมนต์ข้าน้อย" การกระทำเช่นนี้เรียกว่า แถมสมภาร
ความทวย : "ว้างอีเอ่นเล่นน้ำกลางวัง ทางหลังมันเปียก ทางท้องมันบ่เปียก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือน หมายถึง เรือนอยู่อาสัยของเรานี้เอง เวลาฝนตกใส่หลังคาจะเปียก แต่ท้องบ้านคือใต้ถุนบ้านใต้ไม้กระดานปูไม่เปียก
ความทวย : "ซ้างขึ้นพลูตีหูปั๊วๆ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ฟืม หมายถึง ฟืมเวลาทอผ้า โดยเอากี่เป็นโรงทอ
ความทวย : "ซ้างขึ้นภู หักไว้หักไว้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ไหวาก คือไหปากวิ่นนั่นเอง
ความทวย : "ใช้แล้วใหม่ บ่ใช้แล้วเก่า" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หนทาง คือ หนทางนั้นถ้าเราเทียวอยู่บ่อยๆ มันก็ไม่รก แต่ถ้าเราไม่เทียวหรือไม่ใช้เส้นทางนั้น มันก็จะรก
ความทวย : "หญิงเห็นกลาย ชายเห็นชายเด้า เข้าบ่เข้าคลำเบิ่งเอา" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ผู้ชายฝนมีดหรือฝนพร้า อธิบายเวลาลับมีด-พร้า ผู้ชายจะนั่งยองๆ ผลักมีดไปตามหินและดึงกลับเป็นจังหวะๆ เอวก็จะโยกตัวไปตามจังหวะผลักและดึงกลับนั้น
ความทวย : "ญาท่านบ่เว้า ญาเจ้าบ่แสดง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ พระพุทธรูป
ความทวย : "หญ้าผีบ้าบ่ถูกกะติด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หญ้าคา
ความทวย : "ดำจั่งหมี ตีก้นจั่งกัด คำจั่งหมัดสนเคราทางก้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ สิ่ว และ เข็มเย็บผ้า (จั่ง = คล้าย, สนเครา = สนตะพาย)
ความทวย : "ดังบ่มีฮู อยู่ป่ากินสัตว์" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เสือ (ดัง = จมูก, ฮู = รู)
ความทวย : "ดังอยู่ดิน บินบนอยู่เทิงฟ้า" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือหอ (ดัง = เสียงดัง, เฮือหอ = เรือเหาะหรือเครื่องบิน)
ความทวย : "ต้นมันท่อลำเทียน หมากมันเลียนซ่ายล่าย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ต้นข้าว อธิบายได้ว่า ต้นมันเล็กๆ แต่หมาก (เมล็ด) มันจะเรียงเป็นรวงยาว
ความทวย : "ตักกะเต็ม บ่ตักกะเต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หมากพร้าว อธิบายว่า น้ำมะพร้าวไม่มีใครไปตักใส่ไว้ มันก็เต็มอยู่อย่างนั้น
ความทวย : "ตาเดียว หลายหน่อ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ตากล้า อธิบายว่า แปลงนาที่หว่านข้าวเพื่อเอาต้นกล้าไปดำนานั้น ชาวอีสานเรียก ตากล้า ตากล้าแปลงเดียวนั้นจะมีหน่อข้าวที่หว่านลงไปงอกขึ้น นับหน่อไม่ได้
ความทวย : "โตอยู่นา ตาอยู่บ้าน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ปูกับเหล็กตาปู อธิบายว่า โต (ตัว) อยู่นา (ท้องนา) คือ ปู ตาอยู่บ้านคือเหล็กตาปู
ความทวย : "ตกปุ๊ก ข้างซี่บ่ให้ว่าขี้ช้าง ยื่อแย่งแขนงเดียว" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ข้าวเหนียวแดง
ความทวย : "ตักบ่เต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ต้นบก อธิบายว่า บก ภาษาอีสานคือเหือดแห้ง
ความทวย : "ตากบ่แห้ง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ซุ่ม ปัญหาเชาวว์ หมายถึงความซุ่มที่ไม่แห้ง (ในที่นี้จะหมายถึง ซุ่มขังไก่ เพราะในสำเนียงคนอีสาน ซุ่มกับสุ่ม ออกเสียงเหมือนกัน)
ความทวย : "โตใหญ่ตาน้อย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ช้าง
ความทวย : "ตุ้มกลางดง โค่งโน่งกลางเหล่า เค้าเม้ากลางเฮือน แอ๋แอ่นกลางซาน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : จุ้มกลางดง คือ เสียงปืน, โค่งโน่งกลางเหล่า คือ คันแฮ้ว เค้าเม้ากลางเฮือน คือ ใต้กระบอง แอ๋แอ่นกลางซาน คือ ไม้คานหาบของ
ความทวย : "ตาบ่เน่า เก่าบ่เป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ความดีที่คนทำไว้
ความทวย : "แถนบ่เว้า หมู่เจ้ากะให้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บั้งไฟ (แถน = พระอินทร์)
ความทวย : "ไถบ่มีฮอย แต่ว่าจ่อยเบิ้ดโต" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ไถเงิน (ฮอย = รอย, จ่อย = ผอม, เบิ้ดโต = ทั่วทั้งตัว)
ความทวย : "เถียงอีหยัง บังแดดบ่ได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนเถียงกัน กระท่อมนา คนอีสานเรียกว่า "เถียงนา" คนทะเลาะกัน คนอีสานเรียกว่า "เถียงกัน" (อีหยัง = คืออะไร)
ความทวย : "ถมบ่เต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บก คำตอบนี้เป็นคำตอบปัญหาเชาว์เพราะถ้ายังมีคำว่า "บก" หรือพร่องอยู่มันก็ต้องไม่มีคำว่าเต็ม
ความทวย : "ถิ่มใส่น้ำดังโป๊ก ถิ่มใส่บกดังถ่วน ถิ่มใส่ป่าหญ้าดังป้อง ดังก้องทั่วเมือง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ความดีคนดี อันว่าความดีคนดีนั้นโบราณท่านว่าตกน้ำไม่ไหลคือทิ้งลงน้ำจะให้จมมันก็ไม่จม ใช้ไม้แข็งกะจะให้ตาย ให้แตก มันก็ไม่ตาย เพราะมันมีฐานมวลชนรองรับเหมือนทิ้งลงน้ำ ยกให้มวลชนไป เหมือนทิ้งเข้าป่าหญ้าป้อง มันก็ยิ่งดังระเบิดเมือง
ความทวย : "ทางบ่มีเส้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ทางสวรรค์ ทางนิพพาน

ความทวย : "ทิศบ่มีทาง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ทิศสึกใหม่
ความทวย : "ท้องอยู่หลัง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หม้อกะทะ
ความทวย : "เทิงกะดำ หลุ่มกะดำ มักตำกันเวลากลางคืน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ขนตา คนส่วนใหญ่ชอบนอนเวลากลางคืน เวลานอนจะหลับตา ขนตาดำข้างล่างกับขนตาดำข้างบนมันจะปิดทับกัน หรือมาชนกันอยู่ คนอีสานเรียกว่า "ตำ"
ความทวย : "ธงบ่มีสัญชาติ ปราชญ์เอามาจาระนัย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ธงบุญผะเหวด
ความทวย : "ธรรมอันใด๋หมุนไปคือล้อ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ธรรมจักร
ความทวย : "ธรรมอยู่ในคัมภีร์ แต่ว่าอยู่สู่หม่อง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ธรรมดา
ความทวย : "เนื้อจิ้มเนื้อ แซบเกินเชื่ออีหลี" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เด็กน้อยดูดนมแม่
ความทวย : "น้อยๆ มันนุ่งผ้าเหลือง ใหญ่ขึ้นมามันนุ่งผ้าเขียว" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ไม้ไผ่
ความทวย : "น้ำบ่มีฝน คนกินกะบ่ได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ น้ำหมอก หรือน้ำค้าง
ความทวย : "นกกดตาแดง น้ำแห้งกะตาย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ตะเกียงเบิ๊ดน้ำมัน
ความทวย : "นกโก่นโต่น สี้ก้นแม่เจ้าของ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ลูกกุญแจ (โก่นโต่น = การเปลือยกาย)
ความทวย : "นาหนองน้อย บ่มีจอกบ่มีแหน มีปลาซิวหัวแป โตหนึ่งอยู่หั่น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ปากกับลิ้น (หัวแป = หัวแบน)
ความทวย : "นอนหงายให้เขาขี่ เอามือตี่ยัดใส่" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เกิบ (ตี่ = คลี่ออก หรือแยกออก)
ความทวย : "บ่มีขาขึ้นกกไม้ บ่มีใส้ฮ้องดัง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ งู และ แมงง่วง (เรไร)
ความทวย : "บ่มีตาขึ้นต้นไม้ บ่มีไส้กินคน บ่มีขนนอนบวก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เครือไม้ (เถาวัลย์) ยุง และ ปลิง

ความทวย : "บักน้อยๆ แก่ไส้ลอดขอน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เข็ม อธิบายว่า เข็มที่สอดด้ายเวลาเย็บผ้า ขอนนั้นคือ ดูกผ้า
ความทวย : "บักหัวโล่นโตนน้ำแต่เดิ๊ก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ กระบวยตักน้ำ (เดิ๊ก = ดึก)
ความทวย : "ใบมันท่อแป้นกี่ หมากมันจี่กินกะเป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ กกกล้วย (แป้นกี่ = ไม้กระดานรองนั่งทอผ้า, กี่คือที่ทอผ้าของคนอีสาน)
ความทวย : "บานแพ่แว่ มีตั้งแต่ของดี" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เปิดหนังสืออ่าน
ความทวย : "บักน้อยๆ ไปค้าบ่เห็นฮอย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือ เรือไปที่ไหนจะไม่มีรอยเหลือได้
ความทวย : "ป้องกะหลิ่วกิ่วกลาง ขึ้นกกยูงขึ้นกกยางกะได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ มดแดง อธิบายว่า มดแดงมันตัวเล็กๆ คอดกิ่วกลางตัว ขึ้นต้นยูง ขึ้นต้นยางต้นโตๆ ก็ขึ้นได้คล่อง
ความทวย : "ปลาอีหยังตายแล้วกะยังถั่ง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : ปลาแดก
ความทวย : "ปลาหยังปลาบ่มีเลือด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ปลาท่องโก๋
ความทวย : "เปิดสิ่นในวัด บ่ขัดศีลธรรม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เปิดห่อคัมภีร์มาเรียน อธิบายว่า สมัยก่อนหนังสือใบลาน โบราณจารย์ท่านจะเอาผ้าซิ่นไหมที่คนยังไม่ได้ใช้มาห่อไว้
ความทวย : "ไปท่อไร่นา มาท่อก้อนเส้า" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ตึกแหกับตุ้มแห (ทอดแหกับตะล่อมเข้า)
ความทวย : "ปลดบ่หลุด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ข้อง หมายถึง ข้องใส่ปลาที่ชาวอีสานทำขึ้น แต่คำตอบนี้เป็นเชาว์ปัญญา เพราะข้องก็คือติดๆ อย่างไม่หลุด ถ้าหลุดจะเรียกว่า ข้อง ได้อย่างไร
ความทวย : "ผู้อยู่โคกปั้นถ้วย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ มดลิ้น อธิบายว่า มดเวลามันขุดรูมันจะเอาดินมาวางรอบๆ รู กองดินนั้นมีลักษณะเหมือนถ้วย
ความทวย : "ผู้อยู่ห้วยสานมอง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ แมงย่างซิ้น อธิบายว่า เป็นแมลงชนิดหนึ่งคล้ายแมงมุม แต่ตัวใหญ่กว่าและยาวกว่า ลำตัวไม่มีขน ชอบทำตาข่ายดักอาหารกิน คนอีสานชอบกินแมลงชนิดนี้ด้วย

ความทวย : "ผู้อยู่หนองกองก้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บักหอย หอยโข่งหรือหอยอะไรก็ตามเวลามันจะไปมันจะคว่ำหน้าลง และยกก้นขึ้นเคลื่อนตัวไป

ความทวย : "ผักกินบ่ได้ ไม้กินบ่เป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ผักตู ผักตูคือประตู บางแห่งออกเสียงเป็นผักกะตู
ความทวย :
"ผู้เฮ็ดบ่ได้ใช้ ผู้ใช้บ่ได้เฮ็ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ โลงผี
ความทวย : "ฝาอีหยังหย่างไปกะได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ปลาฝา
ความทวย : "ฝนบ่คม มีแต่ลมกับน้ำ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ฝนตก
ความทวย : "เฝ้าบ่หนี ผีบ่ย่าน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ อยู่ยาม
ความทวย : "พระฤาษีอยู่ในถ้ำ ฝนตกฮำปีละเทื่อ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ พระพุทธรูปยามสงกรานต์ อธิบายว่า พระพุทธรูปปีหนึ่งเขาจะเอาลงสรงน้ำครั้งหนึ่ง
ความทวย : "พระบ่ได้บวช บ่ต้องสวดกะนับถือ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ พระเจ้าแผ่นดิน
ความทวย : "พรหมสองหน้า ผู้ข้าเกิดนำ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ พ่อกับแม่
ความทวย : "พีเคิ่งกลาง หางหัวมันส่วย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ งูกินเขียด (พีเคิ่งกลาง = อ้วนตรงกลาง, มันส่วย = มันเรียวปลาย)
ความทวย : "พิศหนู มีหูอยู่ปาก พิศนาคมีปากอยู่ท้อง พิศหล่องหง่องมีท้องอยู่หลัง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ กระทอ, มีดสะนาก และ หม้อกระทะ อธิบายว่า พิศหนู มีหูอยู่ปากคือ กระทอ พิศนาคมีปากอยู่ท้อง คือ มีดปาดหมากของคนแก่สมัยโบราณ (บางแห่งเรียกมีดสะนาก) พิศหล่องหง่องมีท้องอยู่หลัง คือหม้อกระทะ
(พิศหนูให้อ่านออกเสียงว่าพิดสะหนู, พิศนาค อ่านว่า พิดสะนาก)
ความทวย : "ไฟไหม้ป่าบ่ไหม้หมกเห็ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ โพนปลวก อธิบายว่า เวลาไฟไหม้ป่า โคลนปลวกหรือจอมปลวกจะไม่ถูกไหม้ด้วย

ความทวย : "ไฟไหม้ดัง บ่ไหม้ขี้มูก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนสูบยา เวลาคนสูบยา (บุหรี่) จะเอาควันออกทางจมูก (ดัง = จมูก)
ความทวย : "ฟ้าวบ่ไว ไฟบ่ลุก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : ฟ้าวบ่ไว คือ ช้า และไฟบ่ลุก คือ ไฟฟ้า (ฟ้าว = รีบเร่ง)

ความทวย : "ภูเขาสูงบ่มีบ่อนตั้ง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ โหง่นขี้ฝ่า (บ่อน = ที่, โหง่น = กลุ่มที่ตั้งขึ้นดำทะมึน, ขี้ฝ่า = ก้อนเมฆ)
ความทวย : "ภาชนะบ่มีแกง ภาแลงบ่มีข้าว" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เดือนเคิ่งซีก (พระจันทร์ครึ่งซีก)
ความทวย : "ภูต่ำคนปั้น ภูเป็นชั้นคนทำ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คันแทนา กับ ตึกแถว (คันแทนา คือ คันนา)
ความทวย : "แม่มันฮ้องอีอี ลูกมันพีมั่นลั่น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หลากับไนเข็นฝ้าย หลาคือเครื่องมือปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นใยเพื่อนำมาทอ ผ้าสมัยโบราณเวลาปั่นเสียงมันจะดัง อี อี หรือ อือ อือ ปั่นให้เป็นเส้น แล้วเขาก็จะม้วนเก็บไว้ที่เหล็กตัวที่หมุนให้ฝ้ายเป้นเส้น เหล็กนี้เขาเรียกกันว่า เหล็กไน ม้วนเข้าไปเรื่อยๆ ฝ้ายที่ม้วนเข้าไปในเหล็กไนก็จะโตขึ้นเรื่อยๆ การที่มันโตขึ้นนี้แหละที่เขาเรียกกันว่า พี ในภาษาอีสาน
(ฮ้อง = ร้อง, พีหรือภี = อ้วน, มั่นลั่น เป็นกิริยาวิเศษของพี = อ้วนเนื้อแน่น)
ความทวย : "ม้าอี่ขาวหางยาวต้วยก้น บ่ให้ว่าต้นกล้วย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เด็กน้อยเอาขี้มูกเช็ดก้น สมัยก่อนเสื้อผ้าที่จะใส่ก็หายาก เด็กเวลาเป็นหวัดขี้มูกไหลก็จะเช็ดด้วยหลังมือ แล้วเอาไปเช็ดก้นตัวเอง (ต้วยก้น = เอามาทาที่ก้น)
ความทวย : "มีน้ำบ่มีปลา" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ น้ำบักพร้าว
ความทวย : "ยามมื้อเช้าเก็บเข้าบุงหวาย ยามมื้อแลงยายออกยายออก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ดาวเทิงฟ้า ดวงดาวบนท้องฟ้าเวลากลางคืนจึงเห็น พอรุ่งเช้าจะไม่เห็น (ยามมื้อแลง = ตอนเย็น)
ความทวย : "ยืนต่ำกว่านั่ง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หมา (สุนัข)
ความทวย : "อยากให้ยาวแล้วปั่น อยากให้สั้นแล้วต่อ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เข็นฝ้าย และ ต่อยา อธิบายว่า การเข็นฝ้ายให้เป็นเส้นโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "หลา" ชาวอีสานเรียกเข็นฝ้าย การเข็นฝ้ายจะได้เส้นยาวออกไปเรื่อยๆ การต่อยา (จุดบุหรี่สูบ) จะทำให้ยา (บุหรี่) สั้นลงเรื่อยๆ

ความทวย : "ยาวคาคืบ ยัดเข้าหลืบฮูหนัง ทั่งไปทั่งมา น้ำแบ้นไหลออก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนสีฟัน (แปรงฟัน) (คาคืบ = แค่คืบ, หลืบ = ซอกหรือเงื้อม, ฮูหนัง = รูหนัง, ทั่งไป = ชักเข้า, ทั่งมา = ชักออก, น้ำแบ้น = น้ำอสุจิ (แต่ในที่นี้หมายถึงฟองน้ำของยาสีฟันที่ไหลออกจากปาก))
ความทวย : "ลงบ่เห็นฮอย ถอยบ่เห็นส้น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือ (เรือ)
ความทวย : "เลือดบ่ดีย้อมสีบ่แดง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คนชั่วที่ลื่นความพ่อแม่ (ลื่นความ = ไม่เชื่อฟัง)
ความทวย : "เลียทางปากเอาของใกล้ดากใส่กัน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หมาสิเซิงกัน (ดาก = ก้น, สิเซิงกัน = จะสัดกัน)
ความทวย : "ลมบ่มีฝน ฝนบ่มีหยาด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ :
ลมบ่มีฝน คือ ลมปาก ฝนบ่มีหยาด คือ ฝนพร้า (ลับมีด)
ความทวย : "ศิษย์บ่มีครู ผักตูบ่มีบาน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : ศิษย์บ่มีครู คือ คนเฮียน (เรียน) ด้วยตนเอง ผักตูบ่มีบาน คือ ผักตูโขง (ประตูหน้าวัด)
ความทวย : "ศาลาบ่อยู่กลางบ้าน คนย่านบ่อยากไป" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ศาลาพักศพ (ย่าน = กลัว)
ความทวย : "ศาลาบ่อยู่วัด แต่ว่าจัดไว้อยู่กลางเมือง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ศาลากลางจังหวัด
ความทวย : "สุกอยู่ดินกากินบ่ได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ถ่านไฟแดงๆ
ความทวย : "สุกอยู่ฟ้า กายื้อบ่เถิง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ตาเว็น (ดวงตะวัน)
ความทวย : "สัตว์สี่ขากินสัตว์ขาเดียว สัตว์หัวเขียวกินสัตว์หน้าคว่ำ เต่ากินเห็ดเป็ดกินหอย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เต่ากินเห็ด และ เป็ดกินหอย (พึงสังเกตว่าปริศนาคำทายนี้แฝงคำตอบไว้ด้วยแล้ว ถ้าช่างสังเกตก็จะทราบทันที)
ความทวย : "เสียกแพ้แว้ แหย่เข้าฮูหนัง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ยาดม (เสียกแพ้แว้ = ลักษณะของหลอดยาดมที่เปิดฝาออกแล้ว)
ความทวย : "เสียกข่านหล่าน จำกั่นจำบัก ยกขาขึ้นผู้อยู่หลุ่มมีแฮง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนกั้งคันยู (เสียกข่านหล่าน = ลักษณะของการกางร่ม, จำกั่นจำบัก = ออกไปจนสุด, ร่ม ภาษาอีสานเรียกว่า คันยู)
ความทวย : "ส่วยคือใบพลู มีฮูอยู่กลาง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หูควาย
ความทวย : "สามขาตั้งธรณีแหยแหย่ง อ้าปากขึ้นเห็นช้างคาบงา" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ก้อนเส้า หม้อนึ่ง หวดข้าว (การนึ่งข้าวเหนียวจะตั้งหม้อนึ่งบนเตาใช้หินก้อนเส้าวางสามก้อน แล้วนำหวดบรรจุข้าวเหนียววางบนหม้อนึ่งอีกที)

ความทวย : "ห้อยอยู่หลักบ่ตักกะเต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ บักพร้าว (มะพร้าวไม่มีใครเอาน้ำไปใส่มัน มันก็มีน้ำเป็นของตัวเอง)
ความทวย : "หายบ่เห็น เฮ็ดให้คนเป็นได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หายใจ (เฮ็ด = ทำ)
ความทวย : "หูอยู่ปาก ดากอยู่ท้อง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ หม้อกะทะ (ดาก = ก้น)
ความทวย : "อุดหลูดปูดหลูดออก ปูดหลูดเข้าเอาหัวตำ ผู้หญิงมักทำยามมื้อเช้ามื้อแลง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ สากกระเบือ (ยามมื้อแลง = ตอนเย็น)
ความทวย : "อ้อยมีรสหวาน เฮ็ดน้ำตาลบ่ได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เครืออ้อยช้าง
ความทวย : "ฮ้อยคนเอิ้นบ่มีเพรียก แสนคนเฮียกบ่มีขาน" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนตาย
ความทวย : "อุ้มแล้วไห้ ปลงไว้แล้วเซา" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ คนเป่าแคน
ความทวย : "ฮากแดงๆ ไปแทงตาฝั่ง ฮากมันหยั่งเถิงเมืองนคร" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ แสงตาเว็น (แสงตะวัน) (ฮาก = ราก, ตาฝั่ง = ฝั่งน้ำ, เถิง = ถึง)
ความทวย : "ฮูเนินคือฮูคัน ฮูซันคือฮูลูก" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ ฮูคราด (คราด คืออุปกรณ์ปรับดินดำนาหรือก่อนปลูกพืช)
ความทวย : "เฮือบ่มีน้ำ ไปได้ทุกก้ำทุกภาย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือหอ (เครื่องบิน)
ความทวย : "ฮอยใหญ่กว่าโต เอาโซ่ล่ามไว้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ : คือ เฮือ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 290 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 289 ครั้ง
 
 
  05 ส.ค. 2551 เวลา 16:23:00  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่27) กันตรึม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


         วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 286 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 286 ครั้ง
 
 
  05 ส.ค. 2551 เวลา 16:19:53  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่209) งานพิธีเผาศพบนหลังนกหัสดีลิงค์วันกันทรารมย์      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ยอศพองค์ครูจารย์ขึ้นสู่หัสไดลิงนกหัวคือซ้าง    

หัสดีลิงค์ เผิ่นว่าภาษาบ้านเฮาว่า หัสไดลิง หรือ ผู้เฒ่าเว้าว่า นกสักกะไดลิง    

แม่นพีธีเผิ่นต้องมีการฆ่าหัสไดลิงก่อนเผา

 
 
สาธุการบทความนี้ : 283 ครั้ง
จากสมาชิก : 2 ครั้ง
จากขาจร : 281 ครั้ง
 
 
  22 เม.ย. 2553 เวลา 09:01:56  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   12) ศรีสะเกษ  
  เด็กน้อย ขาท่ง    คห.ที่20) ปิ้งไก่กันทรารมย์      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ไร้เทียมทาน

ภูมิลำเนา : ศรีสะเกษ
เข้าร่วม : 30 ก.ค. 2551
รวมโพสต์ : 529
ให้สาธุการ : 1620
รับสาธุการ : 1442010
รวม: 1443630 สาธุการ

 


ผมในถานะชาวกันทรารมย์คนหนึ่งผมรู้ดีว่าการที่เราได้กินอาหารอร่อยต้อง
ไก่อย่างกันทรารมย์โดยเฉพาะร้านแม่อาร์ทที่อยู่เจ้าแรกที่หน้าตลาดด้านทิศ
ใต้ฝั่งตะวันตกถ้าได้ไปเที่ยวอย่าลืมไปกินให้ได้นะ จากป๋าซม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 280 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 280 ครั้ง
 
 
  04 ส.ค. 2551 เวลา 17:05:22  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1 2

   

Creative Commons License
ศรีสะเกษ --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ