ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
บุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น คันว่าบุญบ่ให้เขาสิใช้ตั้งแต่เฮา แปลว่า บุญมี จึงได้เป็นเจ้านายเรียกใช้คนอื่น หากบุญไม่หนุนค้ำ ก็จะเป็นบ่าวให้เขาใช้ หมายถึง บุญย่อมอำนวยผลอันดีให้แก่ผู้มีบุญ พึงสั่งสมบุญอยู่เนืองๆ


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   334) เรียบเรียงประวัติเมืองร้อยเอ็ด  
  พิมล มองจันทร์    คห.ที่4) ชื่อเมือง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
เข้าร่วม : 02 มี.ค. 2551
รวมโพสต์ : 8
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 23010
รวม: 23010 สาธุการ

 
ขอบคุณครับสำหรับคำถามเพื่อต่อยอดปัญญา
    เอาเป็นว่าจะอธิบายแต่ละชื่อนะครับ

1. กุรุฎฐนคร   ชื่อนี้เป็นชื่อแรกนับตั้งแต่สมัยพระกกุสันธพุทธเจ้า  แต่ไม่ทราบเหตุแห่งนาม
2. อโยธยา    ลำดับถัดมากล่าวกันว่าเดิมทีพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชเจ้าเมืองเพราะเจ้าเมืองศรีอมรณีและเมืองโยธิกา  นำเอาบรรณาการมาถวายถึงเรียกนามเมืองใหม่เพื่อแสดงถึงอำนาจราชศักดิ์ว่าเป็นเมืองเจ้าแก่เขา
3. พาหลนคร   นามนี้เป็นนามเมืองร้อยเอ็ดเมื่อถึงยุคศาสนาของพระโกนาคมโนพุทธเจ้า   เหตุแห่งนามมิปรากฏหลักฐาน
4. ทวาราวดี  นามนี้เป็นนามเมืองร้อยเอ็ดสมัยศาสนาของพระมหากัสสปะ  เนื่องจากผีเสื้อเมืองที่รักษาประตูเมืองร้องเสียงดังว่า  ลาวะ  ทำให้ราชกุมารทั้ง 10  เข้ายึดเมืองมิได้   ต่อมาราชกุมารทั้ง  10  ได้รับความช่วยเหลือจากฤาษีจึงยึดเมืองได้
จึงตั้งนามเมืองตามเสียงแห่งผีเสื้อรักษาเมือง   ราชกุมารทั้ง  10  เป็นกุมารวงศ?ใดมิทราบได้
5. กุรุนทนคร  ครั้นเมื่อราชกุมารทั้ง 10  สถาปนาเมืองทวาราวดีแล้วมีพระยาเมืองหนึ่งโกธแค้นราชกุมารแต่เดิม  เมื่อตายจึงผูกพยาบาทเป็นผีเสื้อเมือง ชื่อ กุรุนท  
จากนั้นพระพุทธโคคมพุทธเจ้าจึงทรงเสด็จมาทรมานยังตนนั้นจึงเรียกนามเมืองตาม
นามผีเสื้อตนนั้น
6. ร้อยเอ็จ  เมื่อเมืองกุรุนทรนครเจริญขึ้นจนมีเมืองขึ้นถึงร้อยเอ็จหัวเมืองจึงเปลี่ยนนามเมืองเป็นเมืองร้อยเอ็จ   มิได้แปลมาจากคำว่า   101 /สิบเอ็ด/  ดังที่เข้าใจกัน
ผิดมาแสนนาน   เหตุที่ใช้  /จ/  เข้าใจว่าเป็นเพียงเห็นมีกลิ่นอายภาษาบาลีเท่านั้น7. สาเกตนคร  นามนี้ได้มาตามผู้ปกครองเมืองในชั้นต่อมาที่ชื่อ  พระยาสาเกตรนคร
ยุคนี้ประมาณกันว่าอยู่ในยุคสร้างพระธาตุพนม
8.ร้อยเอ็ด  ปัจจุบันเมืองร้อยเอ็จ  เปลี่ยน  /จ/  เป็น  /ด/  เพราะต้องการให้เป็นคำไทยแท้เท่านั้นเอง

***  ขอบคุณนะครับสำหรับคำถาม***  หวังว่าจะมีผู้เสริมความรู้ช่วยนะครับ  
ฝากความรู้สักนิด     ของวิเศษของร้อยเอ็ดในอดีตใครพอทราบประวัติบ้างมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะครับ    มีดังนี้
1. ม้าพลาหก  หรือ  ม้าแม่แหล่
2. ปีซาววา
3. ไม้เท้ากกชี้ตายปลายชี้เป็น
4.ช้างเผือก

 
 
สาธุการบทความนี้ : 349 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 349 ครั้ง
 
 
  22 มี.ค. 2551 เวลา 23:24:55  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   334) เรียบเรียงประวัติเมืองร้อยเอ็ด  
  พิมล มองจันทร์    คห.ที่0) เรียบเรียงประวัติเมืองร้อยเอ็ด      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
เข้าร่วม : 02 มี.ค. 2551
รวมโพสต์ : 8
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 23010
รวม: 23010 สาธุการ

 
ถึงผู้อ่านทุกคน
            เมืองร้อยเอ็จ,  ร้อยเอ็ด,  สาเกตนคร,  กุรุนทนคร,  อโยธยา,  พาหลนคร,  ทวารวดี,    ทั้งหมดนี่เป็นนามชื่อจังหวัดร้อยเอ็ดแต่เดิม  ตามตำนานก็นับมาตั้งแต่สมัยพระกกุสันธะพุทธเจ้า   เนื่องจากความหลากหลายทางประวัติศาสตร์ดังนั้นผมจึงตั้งใจเรียบเรียงประวัติศาสตร์จังหวัดร้อยเอ็ดขึ้น   จึงอยากรบกวนผู้รู้ช่วยตั้งคำถามเข้ามาผมจะได้ตอบคำถามเพื่อเป็นการพัฒนาและขยายแนวคิด

              ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 317 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 317 ครั้ง
 
 
  21 มี.ค. 2551 เวลา 21:03:46  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   334) เรียบเรียงประวัติเมืองร้อยเอ็ด  
  พิมล มองจันทร์    คห.ที่6) ตอบคำถาม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
เข้าร่วม : 02 มี.ค. 2551
รวมโพสต์ : 8
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 23010
รวม: 23010 สาธุการ

 
ขอบคุณครับสำหรับแนวคิดนะครับ
      - ชื่อบางชื่อเป็นชื่อในตำนานครับและไม่มีในประวัติศาสตร์ตามที่กล่าวถึงแต่หลายชื่อก็มีที่มาจากหลักฐานหลายแห่งเช่น
              1. กุรุฏฐนคร   พาหลนคร  อโยธยา  ทั้งสามชื่อนี้ปรากฏในตำนาน
อุรังคธาตุ
              2. ทวาราวดี   เป็นชื่อที่พึ่งมีนักวิชาการสายประวัติศาสตร์กล่าวถึงและให้ความสนใจเช่น  นิธิ  เอียวศรีวงศ์,  สุจิตต์  วงศ์เทษ  เป็นต้น  ท่านเหล่านี้ยอมรับว่าร้อยเอ็ดเดิมชื่อ  ทวาราวดีจริง
              3. กุรุนทนคร    สาเกตนคร  เป็นชื่อที่กรมศิลปากรยอมรับและกล่าวถึงมาก  ส่วนในชื่ออื่น ๆ มิได้กล่าวถึงมากนักเพราะไม่สนใจหรือไม่ใส่ใจหรือไม่เข้าใจผมก็สุดที่จะทราบได้
             4. ร้อยเอ็จ  เป็นชื่อเมืองตามเอกสารทางราชการตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีถึงรัชกาลที่ 6  แต่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นจึงดัดจริตไปใช้คำว่า  ร้อยเอ็ด  ที่สะกดด้วย  /ด/  แทน   เหมือนเมือง  "มหาสาลคาม"  นั่นแหละครับที่เปลี่ยนไปเป็น  "มหาสารคาม"   ทั้งที่จริงเมืองนี้มีประกอบศัพท์ 3  คำ  คือ  มหา(ใหญ่)+สาละ(ต้นไม้วงศ์ยาง)+คาม(บ้าน)  เดิมที่คือบ้านกุดยางใหญ่อย่างไงล่ะครับ
ด้วยปัจจัยที่ยากแก่การอธิบายจึงทำให้ชื่อเปลี่ยนไปมาก

         ขอบคุณนะครับที่ถามมาเพื่อผู้อื่นจะได้เข้าใจตามคุณไปด้วยดีใจมากครับวันหลังถามมาอีกผมก็จะได้ไปค้นคว้าเพื่อจะได้มองอย่างรอบด้านก่อนลงมือเขียน

 
 
สาธุการบทความนี้ : 274 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 274 ครั้ง
 
 
  24 มี.ค. 2551 เวลา 20:58:16  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   334) เรียบเรียงประวัติเมืองร้อยเอ็ด  
  พิมล มองจันทร์    คห.ที่8) ตอบคำถาม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
เข้าร่วม : 02 มี.ค. 2551
รวมโพสต์ : 8
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 23010
รวม: 23010 สาธุการ

 
ขอบคุณครับที่รอ  ผมจะพยายามเขียนให้เป็นกลางที่สุดเพราะตอนนี้อยู่ในขั้นกรองตำนานเพราะคนโดยมากมักละเลยนิทาน  ตำนาน  เรื่องเล่า  แล้วหันไปสนใจประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกชัดเจนทั้งที่จริงแล้วทั้ง  นิทาน  ตำนาน  เรื่องเล่า  ล้วนเป็นข้อพึงสังเกตทางประวัติศษสตร์ทั้งนั้นโดยมีแนวคิดคือ
    ประวัติศาสตร์เมื่อนานไปจะกลายเป็นตำนานซึ่งอาจมีความจริงเหลืออยู่มาก  พอเวลานานผ่านไปกลายเป็นเรื่องเล่าอาจเหลือความจริงอยู่บางส่วน   พอกาลผ่านไปนานยิ่งขึ้นก็กลายเป็นนิทานซึ่งมีการตกแต่งเรื่องราวตามรูปแบบนิทานอาจเหลือความจริงบ้างแต่ก็คลุมเคลือเต็มที  แต่ก็สามารถเคล็นเอาความจริงบางประการมาวางเป็นจิ๊กซอว์ได้แล้วสร้างโครงเรื่องจำลองเพื่อเชื่อมต่อร่องรอยที่ขาดหายไปก็พอจะอนุมานความเหมือนจริงของประวัติศาสตร์  ลักษณะอย่างนี้ต่างชาติเขาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์มากต่อมาก  เช่น  เมืองอินคา  เรือโนอา  เป็นต้น

 
 
สาธุการบทความนี้ : 274 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 274 ครั้ง
 
 
  25 มี.ค. 2551 เวลา 12:30:50  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   334) เรียบเรียงประวัติเมืองร้อยเอ็ด  
  พิมล มองจันทร์    คห.ที่11) ขอบคุณครับ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
เข้าร่วม : 02 มี.ค. 2551
รวมโพสต์ : 8
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 23010
รวม: 23010 สาธุการ

 
ก่อนอื่นขอขอบคุณอย่างยิ่งครับสำหรับคำเตือนและคำชื่นชมทำให้ได้ทั้งยาขมและยาหวาน   ผมยินดีเชื่อมโยงความรู้จากเรื่องจังหวัดของตนกับจังหวัดอื่น ๆ นะครับ  เพียงแต่ผมไม่มีโอกาสพบและสนทนากับคนที่รักประวัติศาสตร์ถิ่นตนเองเท่านั้นเอง

หวังว่าจะมีปิยมิตรร่วมถกองค์ความรู้กันเพื่อให้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ยังคงอยู่ดังคำว่า  "ของเก่า  บ่เล่ามันกะลืม"

 
 
สาธุการบทความนี้ : 269 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 269 ครั้ง
 
 
  25 มี.ค. 2551 เวลา 23:43:50  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   3) โคราชทำไมไม่เหมือนอีสาน  
  พิมล มองจันทร์    คห.ที่23) ไทเบิ้ง      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์ใหม่ไร้วรยุทธ์

ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด
เข้าร่วม : 02 มี.ค. 2551
รวมโพสต์ : 8
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 23010
รวม: 23010 สาธุการ

 
ไทเบิ้ง
      ไทเบี้ง(เขียน"ไท" เพราะเป็นชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งหรือไทยโคราชเขียน("ไทย"
นำหน้าตามระบบทวิรัฐ) ถือเป็นต้นเค้าของ"ไทย" ภาคกลางในยุคปัจจุบัน กล่าวคือ
ไทยกลางได้รับอิทธิพลมอญและลาวโยนก(เหนือ)มามากแล้วถึงกาลสมัยหนึ่งจึงมารับเอาวัฒนธรรมไทเบิ้งไปร่วมใช้เช่น  การนุ่งโจง  ที่เรียกกันว่าโจงกระเบน  การร้องเพลงฉ่อย   เพลงอีแซว ที่ถือกันว่าเป็นพื้นบ้านของภาคกลางก็ได้ต้นเค้าเพลง
โคราชนั่นเอง  
       ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าไทเบิ้งหรือไทยโคราช   เป็นต้นแบบวัฒนธรรมบางประการให้แก่ไทยกลาง  ส่วนไทอีสานและไทเบิ้งต่างกันมากเพราะลักษณะทางวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งนี้ยังต้องอาศัพปัจจัยหลายด้านเพื่ออธิบายความต่าง  ผู้เขียนจะพยายามค้นและสรุปให้สั้นและเข้าใจงานที่สุดในโอกาศต่อไป

 
 
สาธุการบทความนี้ : 202 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 202 ครั้ง
 
 
  02 มี.ค. 2551 เวลา 02:38:03  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
โคราชทำไมไม่เหมือนอีสาน --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ