ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันเจ้าได้ขี่ซ่าง กั้งฮ่มสัปทน อย่าสิลืมคนจน ผู้งอยโพนเกาฮิ้น แปลว่า ถ้าได้เป็นใหญ่นั่งช้าง กางสัปทน ก็อย่าลืมคนจน ผู้อยู่บนจอมปลวก คอยเการิ้นเหลือบ หมายถึง ได้เป็นใหญ่แล้ว อย่าลืมตัว อย่าลืมประชาชน


  ค้นหาสาธุการ ปลาร้านอกไห  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่21)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


ข้อมูล
วันประสูติ ๕ เมษายน ๒๓๙๙
วันสิ้นพระชนม์ ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗
พระอิสริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มารดา เจ้าจอมมารดาสังวาลย์
ชายา หม่อมพริ้ง
หม่อมจันทร์
หม่อมนวม
หม่อมเปลี่ยน
หม่อมทองสุก
หม่อมแก้ว
บุตร โอรสในหม่อมพริ้ง
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ทองใหญ่
โอรส-ธิดาในหม่อมจันทร์
หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงสอิ้งมาศ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก ทองใหญ่
หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงเถาทองตรา ทองใหญ่ โอรส-ธิดาในหม่อมนวม
หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงนาฏนพคุณ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงลำทองแร่ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงแพร่ทองทราย ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงสลักทองนูน ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่
หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่
โอรส-ธิดาในหม่อมเปลี่ยน
หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงมาลกสุวรรณ ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงข่ายทองถัก ทองใหญ่
โอรส-ธิดาในหม่อมทองสุก
หม่อมเจ้าก่องกาญจนา ทองใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงกรัณฑ์คำ ทองใหญ่ โอรสในหม่อมแก้ว
หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว ทองใหญ่
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 777 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 776 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:51:41  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่20)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (๕ เมษายน ๒๓๙๙ - ๒๕ มกราคม ๒๔๖๗) พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย (ทองคำ ณ ราชสีมา) ทรงเป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ ๒๕ ในรัชกาลที่ ๔ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๙ เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกเธอพระองค์นี้

พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงมีพระอนุชา พระขนิษฐาในเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก ๓ พระองค์คือ

พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๒ ต้นสกุล ทองแถม )
พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี
พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร
พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และบาลี กับพระองค์เจ้ากฤษณา หม่อมเจ้าหญิงจอ และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางเลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๘ และประทับที่วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระสังฆราช (สา) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา


ภาพวาดสุริยุปราคาเต็มดวง วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘ ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทย "ท่านทอง" พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๔ เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. ๑๑๒ ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ

ในเวลาต่อมา ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่ บ้านหมากแข้ง ทรงสร้างความเจริญ จากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดร และต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี

พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ

ภายหลังเกิดคดีพญาระกาขึ้นในปี พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2453 ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงกระทำปัพพานิยกรรม ขับกรมหลวงประจักษ์ฯและพระโอรส-ธิดาออกจากพระราชสำนัก พระองค์เองทรงถูกห้ามมิให้เข้าเฝ้าในที่รโหฐาน ให้เฝ้าได้แต่ในท้องพระโรงหรือในที่มีผู้เฝ้าอยู่มากเท่านั้น ห้ามหม่อมเจ้าไศลทองโดยเฉพาะมิให้เข้าในเขตพระราชฐาน และห้ามหม่อมเจ้าหญิงชายอื่นๆในกรมหลวงประจักษ์ฯมิให้ขึ้นสู่พระราชมณเฑียร ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2453 เป็นต้นมาจนตลอดรัชกาลก็มิได้พ้นพระราชอาญาจนในหลวงรัชกาลที่ 5 สวรรคต (รายละเอียดอ่านได้ในหนังสือพระราชประวัติรัชกาลที่ 6 จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์มติชน หน้า 369 - 374)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชมน์ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๗ จากโรคอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ สิริพระชันษาได้ ๖๘ พรรษา ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองใหญ่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 743 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 742 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:50:10  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่3) รักแม่นางครับ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


มาเที่ยวอุดรเด้อครับ นักร้องกะหลายโดยเฉพาะคนนี้เลยครับ นำเสนอ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 585 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 585 ครั้ง
 
 
  23 ส.ค. 2551 เวลา 08:10:42  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่16)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 



        
ประวัติพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประเภทแหล่งอนุสรณ์สถานจัดตั้งขึ้นในแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13 ตำบล บ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลแล้ว พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียงได้จัดแสดงหลักฐานที่ ได้จากการสำรวจขุด ค้น ที่บ้านเชียง และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง อันประกอบด้วยกลุ่มภาชนะดินเผา เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอื่นๆอีกมากมาย
จุดเริ่มต้นของการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง มาจากการพบภาชนะลายเขียนสี เมื่อปี พ.ศ. 2503 โดยชาวบ้านเชียง ต่อมาปี พ.ศ. 2509 ชาวอเมริกัน ได้พบภาชนะดินเผาที่บ้านเชียงโดยบังเอิญจึงนำไปแจ้งที่กรมศิลปากร ปีพ.ศ. 2510 จึงได้มีการขุดค้นอย่างจริงจังเป็นครั้งแรกปี พ.ศ.2515 ได้ขุดค้นเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถได้เสด็จทอดพระเนตรแหล่งขุดค้นที่วัดโพธิ์ศรีในพร้อมกับแหล่งอื่นในบ้านเชียง และครั้งสุดท้ายปีพ.ศ. 2517-2518 กรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ได้ร่วมมือขุดค้นและหาข้อมูลใหม่เพิ่มเติม โดยเรียกโครงการนี้ว่า " โครงการ โบราณคดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ " พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งชาติ บ้านเชียง จึงได้เริ่มจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2518 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2524 สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี ร่วมกับกรมศิลปากร ได้ของบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มาสร้างอาคารหลังแรก แต่เนื่องจาก สภาพพื้นที่ยังเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงในฤดูฝน นายมีชัย ฤชพันธุ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ขอเงินงบประมาณในโครงการเงิน กสช. มาปรับปรุงพื้นที่ให้สวยงาม และพรรคชาติไทยยังได้บริจาคต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับให้แก่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ บ้านเชียง ด้วยเช่นกัน

พ.ศ. 2525 ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ของบประมาณสร้างอาคารหลังที่ 2 จากมูลนิธิ จอร์น เอฟ เคเนดี แห่งประเทศไทย และกรมศิลปากรได้มีงบประมาณสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6,100,000 บาท เนื่องจากในวโรกาสสมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชชนนีมีพระชนมายุ 84 พรรษา กรมศิลปากร ได้กราบบังคมทูลพระบรมราชานุญาตใช้ชื่ออาคารหลังนี้ว่า "อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี" ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา ทรงเป็นผู้แทนพระองค์เสด็จทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ในวันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2530
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง ปัจจุบันมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 25 ไร่ คือ บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง หลุมขุดค้นทางโบราณคดีวัดโพธิ์ศรีใน และบ้านไทพาน ด้วยเหตุผลที่คนบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ได้มีหลักฐาน ชีวิตความเป็นอยู่ ที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของคนยุคนั้น ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้เป็นอย่างดี คณะกรรมการมรดกโลกได้ร่วมกันตกลงยอมรับให้ขึ้นบัญชี " แหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียง "ไว้เป็นแหล่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 359 ของโลก เมื่อปี พ.ศ. 2535

http://www.thailandmuseum.com/banchiang/collection.htm

 
 
สาธุการบทความนี้ : 546 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 546 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:29:36  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่2) กรมหลวงประจักษ์สิลปาคม      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


ผู้ก่อสร้างเมืองอุดรครับผม

 
 
สาธุการบทความนี้ : 541 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 541 ครั้ง
 
 
  23 ส.ค. 2551 เวลา 08:06:51  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่1) อุดร      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


ป้าดดดดดดด จังหวัดอุดรบ่มีคนตอบเลยแหม
สะมาเป็นจั่งซี้นอบาดนิ อุดรเมืองน่าอยู่
มีหม่องท่องเที่ยวหลายหม่องเด้อขน้อยเช่น
บ้านเชียง
ภุพระบาท
ฯลฯ อิอิอิหลายโพดครับ
น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแหล่งธรรมะ
อารยะธรรมห้าพันปี
ธานีผ้าหมี่ขิด
แดนเนรมิตรหนองประจักษ์
เลิสลักษณ์กล้วยไม้หอม อุดรซันไฌญ์

 
 
สาธุการบทความนี้ : 507 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 507 ครั้ง
 
 
  23 ส.ค. 2551 เวลา 08:05:33  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่17)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท


            อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท  ตั้งอยู่ที่บ้านติ้ว หมู่ 6 ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี  โดยอยู่ในความดูแลของกรมศิลปกร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2524 และเปิดเป็นทางการเมื่อ 26 มิถุนายน 2535 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 3,430 ไร่ เดิมชื่อ "ภูกูเวียง"  อยู่ในแนวเทือกเขาภูพาน เป็นทิวเขาที่ไม่สูงนัก โดยเฉลี่ย 300-500 เมตร ทอดยาวจากจังหวัดอุบลราชธานี มายังมุกดาหาร  กาฬสินธิ์  สกลนคร และอุดรธานี  ซึ่งในปัจจุบันรวมถึงจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สภาพของป่าเป็นป่าป่าเบญจพรรณ ไม้ส่วนมากเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น  มะค่า  เต็ง  รัง  ขิงชันแดง  ประดู่ เป็นต้น  เป็นแหล่งพบหลักฐานว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่มีมนุษย์อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และติดต่อเรื่อยมาถึงสมัยล้านช้าง และอยุธยา
            ภูพระบาท  เป็นเขาแห่งหนึ่งที่มีหินรูปร่างประหลาดแปลกตา เช่นเดียวกับในอุทยานอีกหลายแห่ง โดยเฉพาะในภาคอีสาน เช่นที่อำเภอเทพสถิตย์ จังหวัดชัยภูมิ หรือ ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น   ซึ่งล้วนเกิดจากขบวนการทางธรรมชาติ แต่มนุษย์หลายสมัยได้เข้ามาให้ความหมายกับภูเขาแห่งนี้ พร้อมทั้งทิ้งร่องรอยวัฒนธรรมไว้ให้ชมจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างความหมายใหม่ให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ศึกษา
            หินรูปร่างประหลาดเหล่านี้ให้ย้อนกลับไปสัก 100 ล้านปี  ตั้งแต่เชื่อกันว่าดินแดนแถบภูพระบาทนี้ยังมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่  เมื่อความร้อนในแผ่นดินสูงขึ้น น้ำแข็งเริ่มละลายไหลลง  ทำให้ครูดกับแผ่นดินแผ่นหิน  ทำให้รูปร่างหินเหล่านั้นแปรสภาพเปลี่ยนรูปร่างไป กลายเป็นรูปร่างประหลด ๆ ให้ผูกเป็นนิยายให้คล้องจองกันได้ และในเวลานั้นยังไม่มีมนุษย์เกิดขึ้น แม้จะล่วงเข้ามาในยุคล้านปีที่ผ่านมา ก็เชื่อว่ายังไม่มีมนุษย์ที่ภูพระบาท  ซึ่งตอนนั้นชื่อก็คงยังไม่มีเพราะไม่มีมนุษย์มาตั้งให้  เมื่อมีมนุษย์เกิดขึ้นในโลก กระจายอยู่ทั่วไป เชื่อกันว่าดินแดนอีสานเป็นส่วนหนึ่งที่มีมนุษย์ยุคแรก ๆ ที่เรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เข้ามาอยู่อาศัย  ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่ามีมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยในราว 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  เนื่องจากพบภาพเขียนสีบนผนังหินมากมายหลายแห่ง  เป็นภาพเขียนสีแบบเดียวกับที่พบในแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั่วไป เช่นที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
            เข้าใจกันว่ามนุษย์ยุคประวัติศาตร์ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ ภูพระบาทนี้คงมีความเชื่อว่า ภูพระบาทเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ซึ่งอาจจะเป็นด้วยรูปลักษณะที่พิกล ๆ ประหลาดของเสาหิน หรือเพิงหินบนเขา ซึ่งมองดูแล้วไม่น่าเชื่อว่าไปตั้ง ไปซ้อนกันโดยธรรมชาติได้อย่างไร มนุษย์นั้นจึงอาจจะเชื่อว่านี่คือ  "หลักของโลกและประตูสู่บาดาล"  ก็เป็นได้
            มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์คงต้องใช้ภูพระบาทที่มีลานหินกว้าง มีเพิงหินเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และยิ่งเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่ผ่านมา พุทธศาสนาได้แพร่หลายเข้ามายังเอเซียอาคเนย์ พร้อมกับรูปแบบศิลปแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบ "ทวาราวดี"  เชื่อว่าทำให้ชุมชนแห่งนี้รับเอามาผสมผสานกับความเชื่อถือดั้งเดิมเกิดเป็น พุทธแบบทวาราวดี  ซึ่งจะเห็นได้จากเสนาหินรอบเพิงหินหลายแห่ง และรูปลักษณะพระพุทธรูปบางองค์เป็นแบบทวาราวดี และเมื่อวัฒนธรรมของขอมแพร่เข้ามา ก็ส่งอิทธิพลความเชื่อแบบฮินดู หรือพรามหณ์ มาสู่ชุมชนภูพระบาท ดังจะเห็นได้จากการดัดแปลงพระพุทธรูปให้กลายเป็นเทวรูปที่ถ้ำพระ  มีการแกะสลักผ้านุ่งของเทวรูปให้เป็นแบบของขอม และนักโบราณคดีเชื่อว่าศิลปที่พบที่ภูพระบาทนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้างและกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 และสิ้นสุดการเปลี่ยนแปลงในยุคของอยุธยาตอนปลาย ต่อจากนั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นอีก จึงถือว่าเป็นอุทยานประวัติศาตร์ แต่ยังไม่ถึงขนาดเป็นมรดกโลกเหมือนอย่างในบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
            การเดินทางไปภูพระบาท  ก็ต้องไปผ่านจังหวัดอุดรธานีเสียก่อน  ซึ่งเจริญขึ้นแทบจะจำถนนหนทาง  ร้านอาหารเก่าๆ  แทบไม่ได้  รถรามากมายวิ่งกันขวักไขว่ไปหมด  โรงแรมที่พักไม่ใช่โรงแรมเดิมที่เคยพักคือเจริญโฮเตล  โรงแรมไหนไม่บอกเดี๋ยวเขาเล่นงานเอา  โรงแรมใหญ่โต  บริการพอใช้  การจราจรวุ่นวายและหนวกหูด้วยเสียงเพลงจากผับทั้งหลายที่แทบจะล้อมโรงแรมนี้ดังตึงๆ กว่าจะสงบได้ก็เลยค่อนคืนไปแล้ว  หากเป็นสมัยที่ยังหนุ่มกว่านี้ก็คงต้องสัก 20 ปี  เสียงตึงๆ อย่างนี้ไม่เดือดร้อนเพราะนั่งก๊งกันค่อนคืนเหมือนกัน  กว่าจะขึ้นมาห้องนอนก็แทบจะคลานขึ้นมา  หัวเอียง 45 องศาก็กรนแล้ว  แต่ตอนนี้ก็ใกล้ร้อยเข้าไปทุกทีเจอเสียงเพลงตึงๆ  นอนไม่หลับและย่านนี้จะหาที่จอดรถได้ยากด้วย  เพราะคนจะมาเที่ยวกันแยะ
            จากขอนแก่นมาตามถนนสาย 2 เช่นเดิม ถนนส่วนใหญ่เรียกว่า 99 % แล้วเสร็จเป็นสี่เลนหมดแล้ว จนกระทั่งถึงทางเลี่ยงเมืองที่แยกออกทางขวา กำลังขยายเป็นสี่เลน ทางเลี่ยงเมืองเส้นนี้คือเส้นทางที่จะเลี่ยงเมืองอุดรธานี เพื่อไปยัง สกลนครหนองคาย รวมทั้งไปภูพระบาทด้วยเพราะอยู่ในเส้นทางไปหนองคาย ตรงทางแยกเลี่ยงเมือง หากตรงก็เข้าเมืองไปเลย เป็นถนนสี่เลนหมดแล้ว
            ดังนั้น หากอยู่ในเมืองจะไปยังภูพระบาท  ถ้าจะให้ผมบอกทางผมก็ตั้งต้นจากหลังสถานีรถไฟ วิ่งไปตามถนนหลังสถานีรถไฟ จนถึงวงเวียนก็เลี้ยวขวา เมื่อเลี้ยวไปแล้วก็ตรงเรื่อยไปจนไปพบกับถนนที่กำลังขยายทางจราจร จึงต้องสังเกตุให้ดี ๆ เพราะหลัก กม. หายไปแล้ว  วิ่งไปจนถึงหลัก กม.13 เสาหลักไม่มี   มองเห็นป้ายไปปักอยู่กลางถนนว่า ไปอำเภอบ้านผือ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนน 2021 ไปยังอำเภอบ้านผือ ระยะทาง 42 กม. ถึงแล้วแยกขวาสัก 500 แล้วแยกซ้ายเข้าถนน 2344 ไปอีกประมาณ 12 กม. เป็นทางลาดยางตลอด มีป้ายบอกนำเมื่อถึงทางสามแพร่ง หากแยกซ้ายจะไปยังวัดพระพุทธบาทบัวบก แยกขวาก็จะเข้ามายังภูพระบาท ซึ่งต้องผ่านด่านของกองอุทยานเข้าไป วิ่งตรงต่อไปหน่อยเดียวก็จะถึงลานจอดรถกว้างขวาง ซึ่งสำนักงานของอุทยาน ร้านค้า ร้านหนังสือขายหนังสือของกรมศิลปากร  มีไม่มากนัก น่าซื้อ  ศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว แผนผังภูพระบาท ห้องสุขา จะรวมกันอยู่รอบ ๆ บริเวณลานจอดรถแห่งนี้หนังสือกรมศิลปากรนั้นราคาถูกน่าซื้อ  มีขายตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วประเทศ  หรือตามสถานที่ที่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร  แต่จะเอามาขายไม่มากนักและอาจจะไม่ได้ขายตรงกับสถานที่ท่องเที่ยวก็ได้  ไปภูพระบาทอาจจะไปเจอเอาหนังสือผาแต้มเข้าก็ได้
            ก่อนออกเดินทางชมภูพระบาทขอให้ดูแผนผังในกระดานให้ละเอียดเสียก่อนแล้วจะเดินด้วยความสนุก
            ขอย้อนไปเข้าวัดพระพุทธบาทบัวบกเสียก่อน เมื่อมาถึงทางสามแพร่ง ขอให้แยกซ้ายเข้าไปยังวัดพระพุทธบาทบัวบก ซึ่งแยกเข้าไปใกล้นิดเดียว  และสองข้างทางก็เริ่มมีหิน  ที่รูปร่างประหลาด ๆ  สวยงามเพราะอยู่ในอุทยานเช่นกัน  วัดตั้งอยู่บนเนินเขา  รอยพระพุทธบาทถูกสร้างพระธาตุเจดีย์ครอบเอาไว้  แต่สามารถเข้าไปนมัสการได้โดยสะดวก  เจดีย์สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463 - 2477  คำว่า " บัวบก"  เป็นชื่อของพันธุ์ ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดตามป่า  มีหัวและใบคล้ายใบบัว  ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า  "ผักหนอก"  บัวบกนี้ขึ้นอยู่มากที่บริเวณพบรอยพระพุทธบาท  จึงพากันเรียกพระพุทธบาทนี้ว่า  "พระพุทธบาทบัวบก"  หรือคำว่า "บัวบก"  อาจจะมาจากคำว่า "ปกก"  ซึ่งหมายถึงไม้แห้งแล้ง  ทุก ๆ ปีในช่วงเดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ  จะมีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบก
            พระธาตุเจดีย์องค์นี้ผู้สร้างคือ  หลวงปู่สีทัต  สุวรรณเมาโจ (บางแห่งเขียนว่า  ศรีทัต)  โดยเริ่มมาพัฒนาวัดเมื่อ พ.ศ. 2460  พระธาตุสร้างตามรูปแบบพระธาตุพนมองค์เดิม ( ก่อนที่จะพังลงมาเมื่อปี พ.ศ. 2518 ) ที่วัดนี้มีกุฏิเจ้าอาวาสที่สร้างครอบหินก้อนมหึมาเอาไว้  แต่สร้างได้สวยงาม  มีถ้ำพญานาคมีพระพุทธรูปเสี่ยงทาย ลองเสี่ยงทายดู  หากยกขึ้นก็แสดงว่าสำเร็จ แต่ต้องยก 2 ครั้ง  ยกครั้งแรกอย่าเพิ่งไปอธิษฐานอะไรเข้า  ดูว่าจะยกขึ้นหรือไม่  ครั้งที่ 2 จึงอธิษฐาน เช่นครั้งแรกยกไม่ขึ้น คราวที่ยกด้วยการอธิษฐานก่อน ก็อธิษฐานว่าหากยกขึ้นจะ "สำเร็จ"  มีศาลาจำหน่ายยาสมุนไพร  ซึ่งท่าทางเจ้าอาวาสท่านชำนาญทางสมุนไพร  เพราะตัวท่านเองหากให้ทายอายุน่าจะเกิน 35 ปี  แต่พอถามท่าน ๆ บอกว่าอาตมาอายุ 50 ปีแล้ว  และบางโรคท่านรักษาได้  แต่ท่านห้ามเอาไปเขียน บอกใบ้ให้ก็ได้ว่า 2 โรคที่ตายแน่ ๆ คือ มะเร็งโรคหนึ่ง  กับอีกโรคหนึ่งท่านบอกว่าเคยลองรักษามาแล้ว  เพราะคนที่เป็นโรคนี้ต้องตายแน่ ๆ อยู่แล้ว  ก็น่าจะลองรักษากันให้สุดฤทธิ์และท่านบอกยามาให้ขนานหนึ่งสำหรับสตรีโดยเฉพาะ  ที่วัดไม่มีขายต้องหาซื้อเอาเอง  ได้แก่  เห็ดบก  เห็ดที่เกิดจากพื้นบ้านเช่นจากไม้เต็ง  ไม้รัง  รากไผ่เพ็ก  และพญารากเดียว  หรือรากครก  เอามาต้มกิน  เลือดลมจะเดินปกติแล  ท่านบอกให้อย่างนั้นผมไม่เคยลองต้มกินเพราะกลัวเลือดลมจะเดินมากเกินไป ธรรมดาก็ปกติดีอยู่แล้ว
            ทีนี้กลับมายังภูพระบาท  ซึ่งการชมหินต่าง ๆ  ในภูพระบาท  ตลอดจนหินที่เหมือนโบราณสถานนั้น  ต้องรู้นิทานเรื่อง " บารส  อุสา "  เสียก่อนจึงจะชมสนุก  เพราะเขาตั้งชื่อหินเหล่านั้นให้สอดคล้องกับฉากในนิทานเรื่องนี้ ความมีอยู่ว่า
           นางอุสาเป็นหญิงที่มีกลิ่นกายหอมและงดงามนัก  เมื่อเยาว์วัย (ไม่ทราบว่าเป็นบุตรของใคร) ได้ถูกพระยาพานหรือกงพาน เจ้าเมือง พาน (เมืองนี้อยู่ใกล้ ๆ กับภูพระบาท)  สู่ขอไปเป็นธิดา เมื่อนางเป็นสาวก็ยิ่งสวยมากขึ้น  พระยาพานก็หวงแหนนัก  เจ้าชายเมืองไหนมาสู่ขอก็ไม่ยอมยกให้  แถมยังสร้างตำหนักบนหอสูงเพื่อให้นางอุสาอยู่อย่างปลอดภัยและให้เรียนวิชากับฤาษีจันทา วันหนึ่งนางอุสาลงไปเล่นน้ำในลำธาร  นางได้เก็บดอกไม้มาร้อยเป็นมาลัยแล้วปล่อยลอยน้ำไปเพื่อเสี่ยงหาคู่  พวงมาลัยได้ลอยไปจนถึงเมือง ปะโคเวียงงัว ท้าวบารสซึ่งเป็นบุตรของเจ้าเมืองปะโคเวียงงัวเก็บมาลัยได้  จึงออกตามหานางอุสา  ได้ตามมาจนถึงเมืองพาน  ม้าของท้าวบารสหยุดไม่ยอมเดินต่อ  ท้าวบารสจึงลงจากหลังม้าเดินเที่ยวจนไปพบนางอุสากำลังอาบน้ำอยู่  พอพบกันก็เกิดรักกันและลักลอบได้เสียกัน
            ต่อมาเมื่อท้าวกงพาน  ทราบเรื่องก็โกรธมากสั่งประหารชีวิตท้าวบารสเสีย  และมุขอำมาตย์ขอไว้  ท้าวกงพานหรือท้าวพาน (น่าจะชื่อท้าวพาล)  จึงคิดอุบายท้าท้าวบารสสร้างวัดให้เสร็จภายในเวลา 1 วัน  โดยเริ่มตั้งแต่เช้าไปแพ้ชนะกันเมื่อดาวประกายพรึกขึ้น  ผู้ใดแพ้จะถูกตัดหัว  ท้าวกงพานเป็นเจ้าเมือง มีผู้คนมากจึงเกณฑ์มาสร้างได้  ส่วนท้าวบารสไม่ได้อยู่เมืองของตัวด้วยจะเอากำลังคนที่ไหนมา  พี่เลี้ยงของนางอุสากลัวน้องจะเป็นหม้ายจึงคิดอุบายให้ท้าวบารสนำเอาโคมไปแขวนไว้บนยอดไม้  ในเวลาดึกคณะทำงานของท้าวกงพาน เห็นโคมบนยอดไม้นึกว่าดาวประกายพรึกขึ้นแล้วเลยเลิกสร้าง  ท้าวบารสคงสร้างต่อไปจนแล้วเสร็จ  ท้าวกงพานแพ้และถูกตัดหัว (นักกีฬาแท้)
            ท้าวบารสจึงนำนางอุสากลับเมืองปะโคเวียงงัว  แต่ท้าวบารสนั้นมีชายาอยู่แล้วคงจะหลายคนด้วย  นางอุสาจึงถูกชายาเหล่านั้นกลั่นแกล้ง และออกอุบายร่วมกับโหราจารย์  ให้ทำนายว่าท้าวบารสมีเคราะห์  ต้องออกเดินป่าผู้เดียวเป็นเวลาหนึ่งปี  นางอุสาอยู่ทางนี้ถูกกลั่นแกล้งจึงหนีจึงหนีกลับเมืองพานแล้วจบด้วยการตรอมใจตาย  เมื่อท้าวบารสกลับมาทราบว่านางอุสาหนีไปแล้วก็ออกตามมาที่เมืองพานและทราบว่านางอุสาตายแล้ว  จึงนำศพไปฝังไว้ที่หินก้อนหนึ่ง  ไม่ช้าท้าวบารสก็ตรอมใจตายตามไป และศพก็ถูกฝังอยู่ข้าง ๆ ศพนางอุสานั่นเอง
            ตำนานที่นำมาเล่านี้  ผมคัดลอกเอามาจากหนังสือภูพระบาทของการท่องเที่ยว  และตรงกันกับในหนังสืออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทของกรมศิลปากร  มีขายที่ร้านที่ลานจอดรถ  แต่มาอ่านพบในหนังสือ อสท.  เรื่องภูพระบาทเช่นกันไม่ได้จบอย่างนี้จบแบบที่เรียกว่าแฮปปี้ เอ็นดิ้ง  คือนางอุสาไม่ตาย  ครองรักครองสุขกับท้าวบารส  ผมเอามาเล่าไว้เผื่อใครอ่านเล่มนี้จะได้ไม่เถียงผมว่าเล่าเรื่องผิด ๆ
            ทีนี้เมื่อเกิดตำนาน ก็จัดการนำเอาหินประหลาด ๆ เหล่านั้นมาตั้งชื่อให้เข้ากับนิทาน  เช่น หอนางอุสาที่เป็นหินเหมือนหอจริง ๆ  เกิดจากการกัดกร่อนตามธรรมชาติ  จนกลายมาเป็นปฏิมากรรมแปลกตา  ชุมชนโบราณคงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์  ด้านบนได้รับการต่อเติมให้เป็นห้องแคบ ๆ  สันนิษฐานว่าน่าจะใช้ในการประกอบพิธีกรรมหรือบำเพ็ญเพียรและรอบ ๆ  หอนี้มีเสมาปักล้อมกรอบเอาไว้  แสดงความเป็นเอกลักษณ์ในพระพุทธศาสนาและเสมาหินเหล่านี้ก็ยังอยู่  ลักษณะนำมาปักไม่ใช่หินโผล่ขึ้นมาเอง  เป็นรูปเสมามีหลายหลักด้วย
            ถ้ำช้าง    เป็นเพิงหินที่ชุมชนโบราณใช้ประโยชน์ มีภาพเขียนสีรูปเรขาคณิต และรูปช้าง
           หีบศพพ่อตา    เป็นเพิงหินที่มีร่องรอยการสกัดหินให้เรียบ  ด้านตะวันตกเรียกว่าถ้ำมือแดง  ที่เพดานมีภาพเขียนสี
           หีบศพท้าวบารส    นิทานบอกว่าฝังศพที่ตรงนี้
           หีบศพนางอุสา    เพิงหินที่คล้ายโต๊ะ ด้านในมีการสกัดให้เรียบ  นิทานบอกว่าศพนางอุสาฝังตรงนี้
           วัดพ่อตา    เป็นเพิงหินขนาดใหญ่มีการสกัดหินภายในให้เรียบ  มีร่องรอยว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป
            นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแห่งล้วนแต่งดงามแปลกตาน่าชม  และตั้งชื่อให้สอดคล้องกับนิทานทั้งสิ้น  เช่นโบสถ์วัดพ่อตา  ถ้ำพระ
(สลักผนังหินให้เป็นรูปพระพุทธรูป) ลานหินหน้าถ้ำพะ  บ่อน้ำนางอุสา
           เพิงนกกะทา (มีเสมาหินตั้งล้อม) ถ้ำวัว  ถ้ำคน (มีภาพเขียนสีแดง)  ถ้ำฤาษี  คอกม้าท้าวบารส
           คอกม้าน้อย " วัดลูกเขย "  ต้องไปชมให้ได้เพราะเพิงหินที่ได้รับการดัดแปลง และต่อเติมให้เป็นอาคารขนาดเล็ก ที่ช่องประตูและหน้าต่าง มีพระพุทธรูป 5 องค์ (ถูกตักเศียรไปเรียบร้อยแล้ว ถ้ำพระเสี่ยง  กลุ่มภาพเขียนสีโนนสาวเอ้  รอยพระพุทธบาทหลังเต่า  เทือกเขานี้มีรอยพระพุทธบาทถึง 5 รอย  ที่สำคัญคือ พระพุทธบาทบัวบก ที่ได้เล่ามาแล้ว ฯ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 503 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 503 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:33:18  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่4) เอารุปแม่นางอีกจักรูปเนาะครับเนาะ      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


สวยๆๆๆนักร้องแหบเสน่ห์ ลูกหลานเจ้าปู่หอคำ อำเภอหนองหาน
บ้านดอนกลอย อำเภอพิบูลลักษณ์ จังหวัดอุดรธานี

 
 
สาธุการบทความนี้ : 482 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 482 ครั้ง
 
 
  23 ส.ค. 2551 เวลา 08:12:32  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่14) คำชะโนด      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


คำชะโนด เรื่องลี้ลับ บนความศรัทธา

  นาครากับเรื่องเล่าในสถานที่อันลึกลับ  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี หรือช่วงออกพรรษา ประชาชนจากในพื้นที่หรือทั่วทั้งประเทศไทย ไม่มากก็น้อยต่างมุ่งหน้าสู่ จ.หนองคาย ดินแดนที่สร้างความตื่นตาตื่นใจจากตำนานเรื่องเล่าแต่โบราณ จนกลายเป็นสิ่งที่ผู้คนให้สนใจและต้องการไขความลับปริศนาเกี่ยวกับ พญานาคพ่นไฟ ต้องเดินทางมาพิสูจน์ด้วยตัวเอง แต่ก่อนที่จะเดินทางสู่ จ.หนองคายผมจะพาทุกท่านตามรอยพญานาค ที่มาของตำนานเรื่องเล่า ความลี้ลับและความเชื่อ

   คำชะโนด ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี  เป็นสถานที่ ที่ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พญานาคาอาศัยอยู่ ชึ่งอยู่บริเวณวัดสิริสุทโธ เป็นที่น่าแปลกที่มีป่าขนาดใหญ่ปกคลุมด้วยนานาพรรณไม้โดยเฉพาะ ต้นชะโนด อยู่กลางทุ่งนา ก่อนที่จะเข้าไปชมในบริเวณป่าคำชะโนด ผมได้รับข้อมูลจาก ท่านกำนันของหมู่บ้าน ว่าด้วยเรื่องที่มาและความเชื่อเกี่ยวกับพญานาค กำนันเล่าให้ฟังว่า

  “สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์  เนื่องจากชาวบ้านเชื่อว่าเป็นที่อาศัยอยู่และเป็นสถานที่สู่เมืองบาดาลของพญานาคตามความเชื่อ”  อีกทั้งบริเวณรอบศาลาเคยมีร่องรอยคล้ายๆรอยพญานาคอยู่ด้วย ซึ่งชาวบ้านต่างเชื่อว่านั้นคือร่องรอยพญานาค  แต่ที่ทำให้ผมหูผึ่งและขนลุก กลับเป็นเรื่องเล่าที่ยังหาข้อพิสูจน์ไม่ได้

  เรื่องเกิดขึ้นในราวเดือนมกราคม พศ. 2532 มีคนมาว่าจ้างให้หนังเร่ ไปฉายที่บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง ห่างจากตัวเมืองอุดรธานีประมาณ 100 กิโลเมตร โดยค่าจ้างตกลงกันไว้ 4000 บาท มีหนังฉาย 3-4 เรื่อง แต่มีข้อตกลงกันว่า ให้ฉาย 3 ทุ่มถึงแค่ตี 4 เท่านั้น ห้ามฉายถึงสว่าง พอตี 4 ก็ให้รีบเก็บข้าวของออกจากสถานที่ฉาย ซึ่งทางเจ้าของหนังแร่ก็ไม่ได้ทักท้วงอะไร เพราะเห็นว่าเป็นความต้องการของผู้มาว่าจ้าง
  
ทางเจ้าของก็ส่งให้เจ้าหน้าที่ไปตามวันและเวลาที่ได้นัดหมายหนังเริ่มฉายตั้งแต่ตอน 3ทุ่ม ในตอนหัวค่ำไม่เห็นผู้คน ก็ยังสงสัยว่าหายไปไหนหมด แต่พอ3ทุ่มก็มีคนมาเป็นจำนวนมาก และที่แปลกคือ ผู้หญิงซึ่งนุ่งขาวห่มขาวจะนั่งอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนผู้ชายใส่เสื้อผ้าสีดำจะนั่งอีกข้างหนึ่ง และคนทั้งหมดก็นั่งกันสงบเงียบเรียบร้อยเหมือนจะไม่เคลื่อนไหวตัว และที่ยิ่งกว่านั้นคือ ไม่ว่าจะฉายหนังอะไร ก็ไม่มีการส่งเสียงหรือแสดงความรู้สึก เหมือนกับฉายหนังกลางแปลงทั่วๆไป ฉายหนังบู๊ ก็เฉย ฉายหนังตลกก็เฉยคนเราอย่างน้อยถึงเป็นคนจริงจังยังไงผมว่าต้องแสดงออกมาบ้างว่าชอบหรือไม่ชอบ แต่นี้กลับอยู่ในอาการที่สงบ
  
แต่ที่น่าสังเกตุอีกอย่างคือปกติเวลามีการฉายหนังกลางแปลงในต่างจังหวัด ก็เหมือนกับมีงานเทศกาลสร้างความคลึกคลื้นให้คนในหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ร้านค้า ร้านอาหาร ต่างพากันมาเปิดเพื่อซื้อขายกันมากมาย งานนี้ กลับไม่มีเลย บรรยากาศโดยรอบดูเย็นยะเยือกไปหมด
  
  พอถึงตี 4  มีคนมาบอกว่าให้เก็บข้าวของไปได้แล้ว อีกทั้งยังสั่งว่าเมื่อเก็บข้าวของเสร็จแล้ว ห้ามเหลียวหลังกลับมาดูเด็ดขาด พอทางเจ้าหน้าที่เก็บของและจัดการทุกอย่างเรียบร้อยก็ออกเดินทางออกจากที่ทำการฉายหนัง แต่ก็เอะใจในคำสั่ง เลยหันกลับไปดู เท่านั้นแหละพี่น้องครับพวกคนดูก็ไม่รู้หายไปไหนกันหมด หายไปอย่างรวดเร็ว ทำเอาต่างฉงนสงสัย

อีกทั้งพื้นที่ตรงนั้นกลับเป็นป่าทึบที่แม้ที่ๆ จะเอาจอหนังขึงยังแทบจะไม่มี พอขับรถมาถึงหมู่บ้านวังทองตอนเช้าก็แวะซื้อของที่ร้านค้า ชาวบ้านเลยถามว่าไปฉายหนังที่ไหนมา เจ้าหน้าที่ ก็บอกว่าฉายในหมู่บ้านวังทอง แต่ชาวบ้านกลับยืนยันว่าไม่มีหนังมาฉายในหมู่บ้านเลย  แม้กระทั่งเสียงยังไม่ได้ยิน
  
เรื่องก็เลยยุ่งว่าเมื่อคืน ไปฉายหนังที่ไหนมา ในที่สุดเมื่อสอบถามกันจนเป็นที่เข้าใจ ไปฉายหนังที่ใน ดงคำชะโนดซึ่งเป็นสถานที่ลึ้ลับที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเมืองพญานาค มีภูตผีปีศาจสิงสถิตอยู่ ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับหมู่บ้านวังทองนี่เองก็เลยเชื่อว่า”ถูกผีจ้างไปฉายหนังจริงอย่างที่ชาวบ้านว่า
  
”ปัจจุบันชาวบ้านเชื่อว่า ดงคำชะโนดเป็นที่อาศัยของพญานาคและเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ก่อนที่จะเข้าไป มีข้อห้ามเช่น ห้ามใส่รองเท้า หมวก แว่นตา และร่ม วันที่ผมเดินทางไปนั้นปรากฎว่าฝนตก นึกว่างานนี้เจอข้อห้ามอย่างนี้คงได้ ไข้หวัดกลับไปเป็นที่ระลึกแน่ แต่ยังดีที่สามารถใส่เสื้อฝนได้
  
ทางเข้ามีรูปปั้นพญานาค 2 ตัว 7 เศียร อยู่ช้ายขวาลำตัวยาวเข้าไปในป่าดง คำชะโนด ชึ่งคล้ายสะพานที่ทอดยาวผ่านท้องนาสู่ป่าที่ดูจากภายนอกแล้ว ลึกลับซ่อนแร้นน่าพิศวง ผมเดินสู่ดงคำชะโนด ด้วยความตรวจตราอย่างพินิจพิเคราะห์ ส่วนใหญ่พืชที่ขึ้นเป็น ต้นชะโนด ลักษณะคล้ายต้นหมาก ปาล์ม ต้นตาลและมะพร้าวมารวมกัน

เดินไปประมาณ 200-300 เมตร ก็จะพบศาล ที่มีผู้คนมาสักการะบูชา บริเวณใกล้มีฆ้องไว้ให้คนที่มาลูบ เชื่อว่าใครที่ลูบจนเกิดเสียงคนนั้นจะโชคดี ไม่ไกลกันนักเป็นบ่อน้ำที่เชื่อกันว่าเป็นเส้นทางที่จะไปสู่เมืองบาดาล ใครที่มีโอกาสได้มาอย่าลืมดื่มน้ำหรือเอามาพรม เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้หายจากโรคภัยและเสริมมงคลให้กับตัวเอง งานนี้ผมพลาดไม่ได้ที่จะปฎิบัติตาม เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เราสบายใจครับ ผมเดินกลับออกมาโดยที่ไม่กลับไปเหลียวหลังเพราะว่าบางที อาจจะไม่เห็น ดงป่าคำชะโนดนี้ก็เป็นได้
  
ความเชื่อหรือตำนานเรื่องเล่าเป็นความเชื่อแล้วแต่บุคคล แต่อย่างน้อยก็ทำให้เรามองเห็นที่มาความเป็นไปและนึกภาพย้อนตามได้อย่างมีอรรถรส อีกทั้งการเดินทางมา คำชะโนด ครั้งนี้ก็ถือว่าได้มาพบสถานที่ใหม่และผู้คน อย่างน้อยก็ไม่ทำให้คาใจว่า “เราเคยเดินทางสู่คำชะโนด เมืองวังบาดาลของพญานาคาหรือยัง”

 
 
สาธุการบทความนี้ : 456 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 456 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:22:26  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่19)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


จังหวัดอุดรธานี มีตราประจำจังหวัดเป็นรูป ท้าวเวสสุวัณ (ท้าวกุเวร) ซึ่งเป็นท้าวสาวจาตุมหาราช หรือหัวหน้าเทพยดาผู้ปกปักรักษาโลกด้านทิศอุดร หรือทิศเหนือ และมี “ต้นทองกวาว” หรือเรียกตามภาษาถิ่นว่า “ต้นจาน” เป็นต้นไม้ประจำจังหวัด ในด้านข้อมูลประวัติการก่อตั้งเมือง มีปรากฏขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งนับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่งของสยามเลยทีเดียว

ในครั้งนั้นต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากการล่าอาณานิคมของสองประเทศมหาอำนาจ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งมีนโยบายล่าดินแดนแถบเอเชียเป็นอาณานิคม ฝรั่งเศสนั้นผนวกเอาดินแดนประเทศเวียดนามและเขมรเป็นของตน ส่วนอังกฤษก็ยึดเอา  ประเทศ ด้วยพระปรีชาญาณ รวมทั้งได้ทรงวางระเบียบแบบแผนในการปกครองหัวเมืองชายแดนเพื่อเผชิญกับปัญหานี้จึงทรงแต่งตั้งบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไปปฏิบัติราชการประจำต่างหัวเมือง และหัวเมืองหน้าด่านซึ่งถูกล่วงล้ำอธิปไตยได้โดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอีสาน ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2434 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม เป็นข้าหลวงใหญ่ (ซึ่งต่อมาภายหลัง ทรงสถาปนาพระยศเลื่อนเป็น กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) พร้อมด้วยข้าราชการทหารตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวพวน รับผิดชอบเมืองใหญ่ 13 เมือง เมืองขึ้น 36 เมือง ซึ่งประกอบด้วย บางเมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงด้วย ในขณะนั้น ฝรั่งเศสต้องการจะแบ่งดินแดนที่เคยเป็นของเวียดนามก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสด้วย ทั้งได้ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมอ่าวไทย บีบบังคับให้สยามลงนามในสนธิสัญญายอมรับสิทธิของฝรั่งเศสเหนือดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและให้ถอยกองกำลังทหารห่างจากชายแดนในรัศมี 25 กิโลเมตร ภายในระยะเวลา 1 เดือน ด้วยเหตุนี้เอง พระเจ้าน้องยาเธอ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวน จึงต้องย้ายที่บัญชาการมณฑลลาวพวนที่ตั้งอยู่ ณ เมืองหนองคาย พระองค์ได้ทรงเคลื่อนกองกำลังทหารและข้าราชบริพารลงมาทางใต้จนถึง “บ้านเดื่อหมากแข้ง” ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2436 ที่นี่มีชัยภูมิเหมาะสมอุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งน้ำ จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างแปงเมือง ณ ที่นี้ และได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลรายงานไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบ ซึ่งพระองค์ทรงเห็นชอบที่ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนแห่งใหม่นี้

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงวางแผนสร้างบ้านแปงเมือง อย่างจริงจัง ทรงวางผังเมืองและบัญชาการการก่อสร้างเมืองด้วยพระองค์เองได้ทรงสร้าง ศาลาว่าการเมือง ค่ายทหารและสถานที่ราช การต่าง ๆ ส่วนวังที่ประทับได้ทรงสร้างใกล้กับต้นโพธิ์ใหญ่และทรงสร้างวัดขึ้นตรงข้ามกับบริเวณวังที่ประทับ ซึ่งมีโบราณสถานเก่าแก่อยู่เดิมแล้ว เพื่อเป็นพระอารามหลวงคู่บ้านคู่เมือง ทรงประทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดมัชฌิมาวาส” เพื่อเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจของชาวเมือง

นับแต่นั้น บ้านหมากแข้ง จึงมีฐานะเป็นกองบัญชาการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้ เมื่อพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ได้ทรงจัดราชการบ้านเมืองมณฑลลาวพวน และวางระเบียบการปกครองหัวเมืองชายแดนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็เสด็จกลับกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2442 ไปดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมและผู้บังคับบัญชาการทหารเรือ พร้อมกับทรงเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น    “กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม” โดยมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ เป็นข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวพวนองค์ต่อมา (พ.ศ. 2442-พ.ศ. 2449)







ต่อมา ปี พ.ศ. 2442 เปลี่ยนชื่อมณฑลลาวพวน เป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มีเมืองต่าง ๆ ในปกครอง รวม 12 เมือง ปี พ.ศ. 2443 เปลี่ยนชื่อ มณฑลฝ่าย   เหนือเป็นมณฑลอุดร แบ่งการปกครองเป็น 5 บริเวณ คือ บริเวณหมากแข้ง บริเวณพาชี บริเวณธาตุพนม บริเวณสกลนคร และบริเวณน้ำเหือง ปี พ.ศ. 2450 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมือง กมุทธาไสย เมืองกุมภวาปี เมืองหนองหาร อำเภอบ้านหมากแข้ง ตั้งเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า “เมืองอุดรธานี” และเป็นที่ตั้งที่ว่าการมณฑลอุดรอีกด้วย

และ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2450 พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร พร้อมกับกรมการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนจัดพิธีตั้งเมืองขึ้น ณ สนามกลางเมือง มีการอ่านประกาศตั้งเมืองที่ปะรำพิธีและงานเฉลิมฉลอง รวม 3 วัน ปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมมณฑลอุดร มณฑลอุบลราชธานี และมณฑลร้อยเอ็ด เป็น    ภาค เรียกว่า ภาคอีสาน ตั้งที่บัญชาการที่เมืองอุดรธานี และโปรดให้ยุบเลิก ในปี พ.ศ. 2468 ปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชา ธิปไตย ในครั้งนี้ ได้ยกเลิกมณฑลต่าง ๆ มณฑลอุดรจึงถูกยกเลิกคงฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี จนกระทั่งปัจจุบันนี้ โดยในปี พ.ศ. 2552 ถือเป็นปีที่ 116 ของการจัดตั้งเมือง นายอำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี คนปัจจุบันซึ่งเป็นคนที่ 36 และยังเป็นคนจังหวัดอุดรธานีโดยกำเนิดอีกด้วย หลังจากเดินทางมารับตำแหน่งใหม่เมื่อเดือนตุลาคม 2551 ที่ผ่านมา ได้มีแนวนโยบายที่จะพัฒนาจังหวัดอุดรธานีในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศภูฝอยลม อำเภอหนองแสง นอกจากนั้น ยังมีแหล่งท่องเที่ยวภูพระบาท 3,000 ปี อำเภอบ้านผือ ที่ในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะกลายเป็นแหล่งมรดกโลกเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งเป็นแห่งที่ 6 ของประเทศไทย นายอำนาจ ยังได้ เน้นนโยบาย เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นเรื่องที่จังหวัดให้ความสำคัญมาก

ซึ่งการดำเนินงานในปี 2552 นอกจากจะเป็นการเดินหน้าการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จะเป็นการต่อยอด เพื่อให้เกิดการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากปราชญ์ชาวบ้านไปปรับประยุกต์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนในพื้นที่

 
 
สาธุการบทความนี้ : 390 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 390 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:46:05  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่18)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


วนอุทยาน ภูฝอยลม


“ภูฝอยลม” เป็นพื้นที่ภูเขาที่มีสภาพอุดมสมบรูณ์อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพันดอน-ปะโค อำเภอหนองแสงจังหวัดอุดรธานี สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 600 เมตร ตั้งชื่อตามชื่อของไลเคนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า “ฝอยลม”ซึ่งเกาะอาศัยอยู่ตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่กระจายอยู่เต็มพื้นที่  ต่อมาได้มีการให้สัมปทานทำไม้และมีราษฎรเข้ามาจับจองและบุกรุกพื้นที่เพื่อจัดตั้งหมูบ้าน จึงทำให้สภาพป่าเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ  จนทำให้ ”ฝอยลม”เริ่มน้อยลง จนแทบจะหาไม่ได้ในพื้นที่

                ในระหว่างปี 2538-3532 ส่วนราชการต่างๆนำโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ในขณะนั้น (นายสายสิทธิ  พรแก้ว) ได้ร่วมกันเคลื่อนย้ายราษฎร เหล่านั้นอกจากพื้นที่ป่า โดยจัดให้อยู่พื้นที่ใหม่ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบกับการทำลายนิเวศ

                ปี 2533 สำนักงานป่าไม้เขตจังหวัดอุดรธานี ได้จัดอบรมเยาวชน เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ชื่อว่า “โครงการเยาวชนอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้” เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติให้คนรุ่นใหม่ได้หันมาสนใจ และเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาในปี 2535 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรและกิจกรรมอบรมให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ละเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เป็น “โครงการเยาวชนพิทักษ์ไพร” โดยใช้ชื่อย่อว่า “ย.พ.พ.”

                ปี 2535 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณ จัดทำโครงการสวนรวมพรรณป่าไม้ 60 พรรษา มหาราชินี เพื่อเทิดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมพันธ์ไม้ป่า ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนเป้นสถานที่สำหรบหารศึกษาและพักผ่อนหย่อนใจของจังหวัดอุดรธานี

                ปี 2541 กรมป่าไม้ได้อนุมัติงบประมาณ จัดทำโครงการ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าพันดอน-ปะโค ตามนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการสร้างแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยพัฒนาป่าสงวนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

                ปี 2545 ในสมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท. ทักษิณ  ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว โดยการนำเสนอและการสนับสนุนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุดรธานี เขต 4 ( นายธีระยุทธ วานิชชัง ) จึงได้รับอนุมัติเงินก่อสร้างบ้านพักห้องน้ำ ศาลาห้องประชุม ศาลาพักผ่อนแหล่งน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในพื้นที่ ให้บริการ และเปลี่ยนชื่อโครงการใหม่เพื่อความสะดวกในการจดจำ และเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เป็น “ โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ภูฝอยลม “ ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “ Phu Foilom Ecotourism Project” และในปีเดียวกันนี้ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี (นายชัยพร  รัตนนาคะ)  ได้มีแผนการที่จะพัฒนาพื้นที่ ภูฝอยลม ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของภูมิภาค จึงได้หางบประมาณสร้างแหล่งน้ำเพิ่มเติม สร้างถนนลาดยาง และจัดทำโครงการอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ และเส้นทางไดโนเสาร์ โดยมรการสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์  ปั้นไดโนเสาร์ชนิดต่างๆ ขนาดเท่าของจริง ปั้นจระเข้และเต่าโบราณ จัดทำหุ่นจำลองและวิวัฒนาการ ของลิงจนกลายเป็นมนุษย์ จัดทำนาฬิกาแดด โดยมีเส้นทางเดินเท้าและการปรับปรุงภูมิทัศน์ในบริเวณโดยรอบ

          ทั้งนี้ ในการจัดสร้างอุทยานก่อนประวัติศาสตร์ดังกล่าว ในเวลาดำเนินการเพียง 96 วัน (ตั้งแต่ วันที่ 1ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 4 มกราคม 2546)

 
 
สาธุการบทความนี้ : 385 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 385 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:36:42  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   18) อุดรธานี  
  คำเก่เด่    คห.ที่15)       [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


เมืองคำชะโนด



                                              ลักษณะพื้นที่โดยรอบเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่ เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมาก ในประเทศไทย
ประกอบด้วยต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวม กันเป็นต้นชะโนด ภายในป่าชะโนดยัง มีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่ตรงกลางเกาะ เรียก ว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่
พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำ จากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ นอก จากนี้ยังมีศาลเจ้าพ่อพระยาศรีสุท โธที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ใน ความ
ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่งตามเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า เป็นพญานาคราช ที่อาศัยอยู่ใน เมืองบาดาล และใช้เมืองคำชะโนดแห่งนี้ เป็นที่ขึ้นลงติดต่อระหว่างเมืองบาดาล
กับเมือง มนุษย์ และยังมีเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์น่าศจรรย์ของสถานที่นี้ ให้เป็นที่เล่า ขานแก่ชาวเมืองคำชะโนดได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยว
ขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ. บ้านดุงต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม .
หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45 กม. แล้วเลีย้วซ้ายแยกบ้านหนองแม็ก ไป อ. บ้านดุง อีกประมาณ 40 กม . แล้วไปหมู่บ้านสัติสุขถึงวัด ศิริสุทโธอีกประมาณ
12 กม.  

  

วังนาคินทร์คำชะโนด

      วังนาคินทร์คำชะโนด หรือชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า เมืองชะโนด สถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อของตำบลวังทอง ตำลบบ้านม่วงและตำบลบ้าน
จันทร์อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานีวังนาคินทร์คำชะโนด หรือ เมืองคำชะโนดมีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธเป็นพญานาค ครองเมืองหนอง
กระแสครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งเป็นพญานาคเช่นเดียวกันปกครองมีชื่อว่าสุวรรณนาค และมีบริวารฝ่ายละ 5,000 เช่นเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายอยู่ร่วมกัน
ด้วยความรัก ความสามัคคี เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมีอาหารการกินก็แบ่งกันกิน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นเพื่อนตายกันตลอดมา แต่มีข้อตกลง
กันอยู่ข้อหนึ่งว่า ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกไปหากินล่าเนื้อหาอาหารอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องออกไปล่าเนื้อหาอาหารเพราะเกรงว่าบริวารไพร่พลจะกระทบกระทั่ง
กัน และอาจจะเกิดรบรากันขึ้นแต่ให้ฝ่ายที่ออกไปล่าเนื้อหาอาหารนำอาหารที่หามาได้แบ่งกันกินฝ่ายละครึ่ง การกระทำโดยวิธีนี้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข
ตลอดมา อยู่มาวันหนึ่งสุวรรณนาคพาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อหาอาหารได้ช้างมาเป็นอาหาร ได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งพร้อมกับนำขนของช้างไป
ให้ดูเพื่อเป็นหลักฐานต่างฝ่ายต่างกินเนื้ออย่างอิ่มหนำสำราญด้วยกันทั้งสองฝ่าย และวันต่อมาอีกวันหนึ่งสุวรรณนาคได้พาบริวารไพร่พลออกไปล่าเนื้อ
หาอาหารได้เม่นมา สุวรรณนาคได้แบ่งให้สุทโธนาคครึ่งหนึ่งเหมือนเดิม พร้อมทั้งนำขนของเม่นไปให้ดู ปรากฎว่าเม่นตัวเล็กนิดเดียว แต่ขนของเม่น
ใหญ่เม่นตัวเล็กเมื่อแบ่งเนื้อเม่นให้สุทโธนาคจึงต้องแบ่งให้น้อยสุทโธนาคได้พิจารณาดูขนเม่นเห็นว่าขนาดขนช้างเล็กนิดเดียวตัวยังใหญ่โตขนาดนี้
แต่นี้ขนใหญ่ขนาดนี้ตัวจะใหญ่โตขนาดไหนถึงอย่างไรตัวเม่นจะต้องใหญ่กว่าช้างอย่างแน่นอน คิดได้อย่างนี้จึงให้เสนาอำมาตย์นำเนื้อเม่นที่ได้รับส่วน
แบ่งครึ่งหนึ่งไปคืนให้สุวรรณนาคพร้อมกับฝากบอกไปว่า "ไม่ขอรับอาหารส่วนแบ่งที่ไม่เป็นธรรมจากเพื่อนที่ไม่ซื่อสัตย์" ฝ่ายสุวรรณนาคเมื่อได้ยิน
ดังนั้น จึงได้รีบเดินทางไปพบสุทโธนาคเพื่อชี้แจงให้ทราบว่าเม่นถึงแม้ขนมันจะใหญ่โตแต่ตัวเล็กนิดเดียว ขอให้เพื่อนรับเนื้อเม่นไว้เป็นอาหารเสีย
เถิด สุวรรณนาคพูดเท่าไรสุทโธนาคก็ไม่เชื่อผลสุดท้ายทั้งสองฝ่ายจึงประกาศสงครามกัน ฝ่ายสุทโธนาคซึ่งมีความโกรธเป็นทุนอยู่ตั้งแต่เห็นเนื้อเม่น
อยู่แล้วจึงสั่งบริวาร ไพร่พลทหารรุกรบทันที ฝ่ายสุวรรณนาคจึงรีบเรียกระดมบริวารไพร่พลต่อสู้ทันทีเช่นเดียวกัน ตามการบอกเล่าสู่กันฟังมาว่า
พญานาค ทั้งสองรบกันอยู่ถึง 7 ปีต่างฝ่ายต่างเมื่อยล้า         เพราะต่างฝ่ายต่างหวังจะเอาชนะกันให้ได้ เพื่อจะครองความเป็นใหญ่ในหนองกระแสเพียง
คนเดียวจนทำ ให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บริเวณหนองกระแสและบริเวณรอบ ๆ หนองกระแสเกิดความเสียหายเดือดร้อนไปตามกัน
           เมื่อเกิดรบกันรุนแรงที่สุดจนทำให้ พื้นโลกสะเทือนเกิดแผ่นดินไหวทั้งหมด เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายเกิดความเดือดร้อน ไปทั้งสามภพความ
เดือดร้อนทั้งหลายได้ทราบไปถึง พระ อินทรา ธิราชผู้เป็นใหญ่ เทวดาน้อยใหญ่ทั้งหลายไปเข้าเฝ้าพระอินทร์เพื่อร้องทุกข์และเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ
ให้ฟังเมื่อพระอินทร์ได้ทราบเรื่องตลอดแล้ว จะต้อง หาวิธีการให้พญานาคทั้งสองหยุดรบกันเพื่อความสงบสุขของไตรภพจึงได้เสด็จจากดาวดึงส์ ลงมา ยัง
เมืองมนุษย์โลกที่หนองกระแส แล้วพระอินทร์ตรัส เป็นเทวราชโองการว่า "ให้ท่านทั้งสองหยุดรบกันเดี๋ยวนี้"   การทำสงครามครั้งนี้ถือว่าทุกฝ่ายเสมอ
กัน และหนองกระแสให้ถือว่าเป็นเขตปลอดสงคราม ให้พญานาคทั้งสองพากันสร้างแม่น้ำคนละสายออกจากหนองกระแสใครสร้างถึงทะเล ก่อนจะ ให้
ปลา บึก ขึ้นอยู่ในแม่น้ำแห่งนั้น และให้ถือว่าการทำ สงครามครั้งนี้มีความเสมอกัน      เพื่อป้องกันการทะเลาะวิวาทของพญานาค ทั้งสอง ให้เอาภูเขา
พญาไฟ เป็น เขตกั้นคนละฝ่าย ใครข้ามไปราวีรุกรานกันขอ ให้ไฟจากภูเขาดงพญาไฟไหม้ฝ่ายนั้นเป็นจุลมหาจุล เมื่อพระอินทร์ตรัสเป็นเทวราชโอง
การ ดัง กล่าวแล้วสุทโธนาคจึงพาบริวารไพร่พลอพยพออก จาก หนองกระแสสร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศตะวันออกของหนองกระแส เมื่อถึงตรง ไหนเป็น
ภูเขาก็คดโค้ง ไปตามภูเขาหรือ อาจจะลอดภูเขาบ้างตามความยาก ง่ายในการสร้าง เพราะสุทโธนาคเป็นคนใจร้อน แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำโขง"
คำว่า "โขง" จึงมาจาคำว่า "โค้ง" ซึ่งหมายถึงไม่ตรง ส่วนทางฝั่งลาว เรียกว่า แม่น้ำของ ด้านสุวรรณนาค เมื่อได้รับเทวราชโองการ ดังกล่าวจึงพาบริวาร
ไพร่พลพลอย อพยพออกจากหนองกระแส สร้างแม่น้ำมุ่งไปทางทิศใต้ ของหนองกระแส สุวรรณนาคเป็นคนตรงพิถีพิถันและเป็นผู้มีใจเย็น     การสร้าง
แม่น้ำจึงต้องทำ ให้ตรงและคิดว่าตรง ๆ จะทำให้ถึงจุดหมายปลายทางก่อน ตนจะได้เป็นผู้ชนะ แม่น้ำนี้เรียกชื่อว่า "แม่น้ำน่าน"แม่น้ำน่าน จึงเป็นแม่
น้ำที่มีความตรงกว่า แม่น้ำทุกสายในประเทศไทย    
                              การสร้างแม่น้ำแข่งกันในครั้งนั้น ปรากฎว่าสุทโธนาคสร้างแม่น้ำโขงเสร็จก่อนตามสัญญาของพระอินทร์ สุทโธนาคเป็นผู้ชนะและ
ปลาบึกจึงต้องขึ้นอยู่แม่น้ำโขงแห่งเดียวในโลกตามการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาว่า น้ำในแม่น้ำโขงและแม่น้ำในแม่น้ำน่านจะนำมาผสมกันไม่ได้ ถ้าผสม
ใส่ขวดเดียวกันขวดจะแตกทันที ในกรณีนี้ยังไม่เคยเห็นท่านผู้ใดนำน้ำทั้งสองแห่งนี้มาผสมกันสักที สุทโธนาคเมื่อสร้างแม่น้ำโขงเสร็จแล้ว ปลาบึกขึ้น
อยู่แม่น้ำโขงและเป็นผู้ชนะตามสัญญาแล้ว จึงได้แผลงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ณ ดาวดึงส์ ทูลถามพระอินทร์ว่า "ตัวข้าเป็นชาติเชื้อ
พญานาคถ้าจะอยู่บนโลกมนุษย์นานเกินไปก็ไม่ได้ จึงขอทางขึ้นลงระหว่างบาดาลและโลกมนุษย์เอาไว้ 3 แห่ง และทูลถามว่าจะให้ครอบครองอยู่ตรง
แห่งไหนแน่นอน พระอินทร์ผู้เป็นใหญ่จึงอนุญาตให้มีรูพญานาคเอาไว้ 3 แห่ง คือ

1. ที่ธาตุหลวงนครเวียงจันทน์
2. ที่หนองคันแท
3. ที่พรหมประกายโลก (ที่คำชะโนด)

    ส่วนที่ 1-2 เป็นทางขึ้นลงสู่เมืองบาดาลของพญานาคเท่านั้น ส่วนสถานที่ 3 ที่ พรหมประกายโลกคือที่พรหมได้กลิ่นไอดิน (ตามตำนานพรหมสร้างโลก)
แล้วพรหมเทวดาลงมากินดินจนหมดฤทธิ์กลายเป็นมนุษย์หรือผู้ให้กำเนิดมนุษย์ให้สุทโธนาคไปตั้งบ้านเมืองครอบครองเฝ้าอยู่ที่นั้น ซึ่งมีต้นชะโนด
ขึ้นเป็นสัญลักษณ์ ลักษณะต้นชะโนดให้เอาต้นมะพร้าว ต้นหมากและต้นตาลมาผสมกัน อย่างละเท่า ๆ กันและให้ถือเป็นต้นไม้บรรพกาลให้สุทโธนาค
มีลักษณะ 31 วันข้างขึ้น 15 วัน ให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นมนุษย์เรียกชื่อว่า "เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธ" มีวังนาคินทร์คำชะโนดเป็นถิ่น และอีก
15 วัน ในข้างแรมให้สุทโธนาคและบริวารกลายร่างเป็นนาค เรียกชื่อว่า "พญานาคราชศรีสุทโธ" ให้อาศัยอยู่เมืองบาดาล

                ตั้งแต่บัดนั้นมาถึงกึ่งพุทธกาล นับแต่ปี พ.ศ. 2500 ถอยหลังไป พี่น้องชาวบ้านม่วง บ้านเมืองไพร บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี
จะไปพบเห็นชาวเมืองชะโนดไปเที่ยวงานบุญประจำปี หรือบุญมหาชาติที่ชาวบ้านเรียกว่าบุญพระเวท ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่บ่อยครั้ง และบางทีจะเป็น
ผู้หญิงไปยืมเครื่องมือทอหูก (ฟืม) ไปทอผ้าอยู่เป็นประจำและปาฏิหาริย์ครั้งล่าสุดคือ ปี พ.ศ.2519 เกิดน้ำท่วมใหญ่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
(รวมทั้งท้องที่อำเภอบ้านดุง) แต่น้ำไม่ท่วมคำชะโนด

     เจ้าพ่อพญาศรีสุทโธได้จัดมีการแข่งเรือและประกวดชายงามที่เมืองชะโนด นายคำตา ทองสีเหลือง ซึ่งเป็นชาวบ้านวังทอง ตำบลวังทอง อำเภอบ้านดุง
ได้บวชอยู่ที่วัดศิริสุทโธ (วัดโนนตูม และได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อ พ.ศ.2533) ติดกับเมืองชะโนดได้เป็นผู้ได้รับคัดเลือกจากเจ้าพ่อพญาศรีสุทโธให้ไป
ประกวดชายงาม และบุคคลดังกล่าวเกิดความคลุ้มคลั่งอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์ ญาติพี่น้องได้ทำการรักษาโดยใช้หมอเวทมนต์ (อีสานเรียกว่าหมอทำ)
จัดเวรยามอยู่เฝ้ารักษาและในที่สุดได้หายไปนาน ประมาณ 6 ชั่วโมง แล้วได้กลับมาและได้เล่าเรื่องเมืองชะโนดให้พ่อแม่พี่น้องทั้งหลายฟังถึงความ
งามความวิจิตรพิสดารต่าง ๆ ของเมืองบาดาลให้ผู้สนใจฟัง

     ปัจจุบันนี้คำชะโนดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มีชื่อเสียงในระดับประเทศ เรือตรี อนิวรรตน์ พะโยมเยี่ยม อดีตนายอำเภอบ้านดุง ได้ชักชวนข้าราชการทุก
ฝ่ายตลอดทั้ง ตำรวจ อส. พ่อค้าประชาชนได้ทำสะพานทางเข้าเมืองชะโนด ตลอดทั้งปรับปรุงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้เป็นสถานที่เคารพสักการะของชาว
อำเภอบ้านดุง และจังหวัดอื่นและจนได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดอุดรธานีให้นำน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์คำชะโนดไปร่วมงาน พระราชพิธีมหามงคลเฉลิม
พระชนมพรรษา 5 รอบ ณ มณฑลพระราชพิธีท้องสนามหลวงกรุงเทพมหานคร ในวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม 2530 และในปี พ.ศ.2533 นายมังกร มาเวียง
ปลัดอำเภอบ้านดุง (หัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ) ได้ชักชวนข้าราชการ พ่อค้าประชาชน ผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันจัดทำบุญทอดผ้าป่าสร้างสะพานคอนกรีต
เสริมเหล็ก เพื่อความมั่นคงแข็งแรงเข้าไปเมืองชะโนด

 
 
สาธุการบทความนี้ : 348 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 348 ครั้ง
 
 
  03 ก.ค. 2553 เวลา 10:26:01  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   4) นครพนม  
  คำเก่เด่    คห.ที่22) อยากไปธาตุอีกเด้      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์น้องเล็ก

ภูมิลำเนา : อุดรธานี
เข้าร่วม : 06 ม.ค. 2551
รวมโพสต์ : 18
ให้สาธุการ : 15
รับสาธุการ : 71600
รวม: 71615 สาธุการ

 


เคยไปไหว้ธาตุทุกปีครับ  อยากไปอีกครับ ปีหน้ากะว่าสิไปครับ อยู่ อุดรครับ

 
 
สาธุการบทความนี้ : 275 ครั้ง
จากสมาชิก : 1 ครั้ง
จากขาจร : 274 ครั้ง
 
 
  28 ส.ค. 2551 เวลา 14:25:12  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
นครพนม --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ