ผญา คติสอนใจประจำวันที่ 26 เมษายน 2568:: อ่านผญา 
คันได้เป็นหัวหน้า นายคนอย่ามาดใหญ่ คันได้กินไก่ต้ม อย่าลืมก้อยขี่กะปอม แปลว่า ถ้าได้เป็นเจ้าคนนายคน อย่าได้ถือตัวหยิ่งยโส ถ้าได้กินไก่ต้ม ก็อย่าลืมลาบกิ้งก่า หมายถึง ได้ดีแล้วอย่าหยิ่ง อย่าลืมผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ


  ค้นหาสาธุการ กระดานสนทนาชมรมอีสานจุฬาฯ  

หน้า: 1  
  โพสต์โดย   1323) ประวัติสำเนียงหนองคาย  
  อ่อนดี    คห.ที่1) คลิปสำเนียงหนองคาย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : หนองคาย
เข้าร่วม : 03 ต.ค. 2556
รวมโพสต์ : 106
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 4520
รวม: 4520 สาธุการ

 
ถ้าหลายๆคนบอกว่าสำเนียงลาวเวียงเหมือนสำเนียงเหนือของไทยแล้วชอบขอบอกผิดคาด จริงๆตรงกับภาษาอิสานสำเนียงหนองคาย โดยเฉพาะแทบอำเภอท่าบ่อ หรือถ้าอยากให้สำเนียงเนิบจ๋า ต้องแถบตำบลกองนางสำเนียงนุ่มๆคล้ายเวียงจันทน์เลย ว่างลองแวะไปกันนะครับแถบอำเภอท่าบ่อจังหนองคาย เพราะฝั่งลาวส่วนใหญ่ตามสื่อจะชอบศัพท์ไทยจนลาวงงว่าศัพท์ลาวจริงเป็นไงจริงๆแล้วเหมือนฝั่งอิสานครับ แต่ถ้าอยากรู้แบบศัพท์อีสานแบบเต็มประตู ไปฝั่งที่หนองคาย อ.ท่าบ่อครับ จะใช้เป็นภาษาอิสานเป็นจ๋า ศัพท์อิสานหมดแต่สำเนียงคล้ายๆฝั่งลาวเลยครับ แต่เป็นภาษาอิสานเฉยๆึ อิสานแท้ ครับยังไม่ถือเป็นภาษาลาว มีศัพท์อะไรแบบอิสานหมด  เป็นภาษาอิสานถิ่นหองคายครับ ถิ่น ท่าบ้อ ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อครับ มีอย่างเดียวคิอได้แบบอิสาน โต ที่แปลว่า ตัวแบบอิสานหมด พูดครับ ค่ะ จ้า เหมือนถิ่นอีสานหมดครับ

ปล. สำหรับคนที่อยากได้ยินสำเนียงแบบลาว ที่ใช้ศัพท์ลาวหรืออิสานแท้ควรเข้ามาดูครับเพราะทุกวันนี้ศัพท์ลาวอิสาน นับจะหมดไปทุกวันในประเทศลาว สำหรับคนที่อยากมาฟังควรเข้ามานะครับ

http://www.youtube.com/watch?v=ij2OnILvo8k นี่ครับสำเนียงของคนท้องถิ่นหนองคาย สำเนียงโคสกนะครับ

http://www.youtube.com/watch?v=9qRDXKNqgc4

http://www.youtube.com/watch?v=ZX0U7qDrWVI

นี่สำเนียงของคนหนองคาย ครับแถบศรีเชียงใหม่ แต่คนท่าบ่อ อยู่ทางใต้ของศรีเชียงใหม่ก็ไม่ต่างกันมากแบบเดียวกันเลย

 
 
สาธุการบทความนี้ : 248 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 248 ครั้ง
 
 
  04 ต.ค. 2556 เวลา 16:01:21  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  โพสต์โดย   1323) ประวัติสำเนียงหนองคาย  
  อ่อนดี    คห.ที่0) ประวัติสำเนียงหนองคาย      [ไปที่ความเห็นนี้ ในกระทู้นี้]  
  ศิษย์พี่รอง

ภูมิลำเนา : หนองคาย
เข้าร่วม : 03 ต.ค. 2556
รวมโพสต์ : 106
ให้สาธุการ : 0
รับสาธุการ : 4520
รวม: 4520 สาธุการ

 
สำเนียงพูดอีสาน ในละคร สุภาพบุรุษจุฑาเทพ คุณชายรัชชานนท์
ถ้าเป็นในกลุ่มภาษาลาว จะแบ่งคร่าวๆ ดังนี้
สำเนียงอิสานกลาง คือ ร้อยแก่น กาฬสินธ์ (ร้อนเอ็ด สารคาม ขอนแก่น กาฬสินธุ์) เป็นสำเนียงที่ได้ยินบ่อยๆตามทีวี ถือว่าเป็นสำเนียงที่คนใช้เยอะสุด
สำเนียงอิสานใต้ คือ อุบล ยโสธร อำนาจเจริญ อันนี้ก้คือสำเนียงของบักจ่อยในเรื่อง เพราะเขาเป็นคนอำนาจเจริญ สำเนียงนี้จะคล้ายๆของทางจำปาศักดิ์ฝั่งลาว
สำเนียงศีรษะเกษ สุรินทร์ จะคล้ายสำเนียงอิสานใต้ แต่จะขึ้นเสียงสูงกว่า คนภาคกลางที่หัดพูดอิสาน มักจะเพี้ยยมาคล้ายสำเนียงนี้ เพราะจะพยายามขึ้นเสียงสูง
สำเนียงเมืองเลย จะพูดกันแถวๆเมืองเลย บางอำเภอของอุดร บางอำเภอของเพชรบูรณ์ จะเป็นสำเนียงของหลวงพระบาง เพราะอพยพมาจากทางนั้น จะฟังค่อนข้างยาก แม้คนอิสานด้วยคนก็ยังฟังลำบาก
สำเนียงเวียงจันทน์ จะพูดกันแถวๆหนองคาย แล้วก็บางส่วนของชัยภูมิ เพราะอพยพจากเวียงจันทน์กันมาก
สำเนียงสกลนคร-นครพนม อันนี้ก็จะมีปนเปกับภาษาผู้ไทย และภาษาย้อ
สำเนียงโคราช จริงๆบางคนอาจจะจัดภาษาโคราช ว่าอยู่ในกลุ่มของภาษาไทยมากกว่า เพราะจะพูดเหมือนภาษาไทยที่มีคำลาวเข้ามาปน
สำเนียงหรือกลุ่มภาษาอื่นๆ เช่น ผู้ไทย ญ้อ ลาวพวน
ส่วนสำเนียงของภาษาลาว ทางฝั่งลาวนั้น ก็ยังแบ่งย่อยอีกหลายสำเนียงอีกเช่นกัน เป็นต้นว่า เวียงจันทน์ ก็จะพูดไม่เหมือนกับจำปาศักดิ์ หรือ หลวงพระบาง

ภาษาลาวเหนือ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.เลย อุตรดิตถ์ (อ.บ้านโคก น้ำปาด ฟากท่า) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มสัก หล่มเก่า น้ำหนาว) ขอนแก่น (อ.ภูผาม่าน และบางหมู่บ้านของ อ.สีชมพู ชุมแพ) ชัยภูมิ (อ.คอนสาร) พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ และนครไทยบางหมู่บ้าน) หนองคาย (อ.สังคม) อุดรธานี (อ.น้ำโสม นายูง บางหมู่บ้าน)
ภาษาลาวตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ค่อยมีผู้พูดในประเทศไทย จังหวัดที่พูดในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนลาวพวนที่อพยพมาจากแขวงเซียงขวาง สปป.ลาว เช่น ที่บ้านเชียง อ.หนองหาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และบางหมู่บ้าน ใน จ.สกลนคร หนองคาย และยังมีชุมชนลาวพวนในภาคเหนือบางแห่งในจังหวัด สุโขทัย อุตรดิตถ์ แพร่ ไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้น
ภาษาลาวเวียงจันทน์ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.ชัยภูมิ หนองบัวลำภู หนองคาย (อ.เมืองหนองคาย ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย) ขอนแก่น (อ.ภูเวียง ชุมแพ สีชมพู ภูผาม่าน หนองนาคำ เวียงเก่า หนองเรือบางหมู่บ้าน) ยโสธร (อ.เมืองยโสธร ทรายมูล กุดชุม บางหมู่บ้าน) อุดรธานี (อ.บ้านผือ เพ็ญ บางหมู่บ้าน) ศรีสะเกษ (ในบางหมู่บ้านของ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอขุขันธ์ และ อำเภอขุนหาญ)
ภาษาลาวกลาง แยกออกเป็นสำเนียงถิ่น 2 สำเนียงใหญ่ คือ ภาษาลาวกลางถิ่นคำม่วน และถิ่นสะหวันนะเขด ถิ่นคำม่วน จังหวัดที่พูดในประเทศไทย เช่น จ.นครพนม สกลนคร บึงกาฬ (อ.เซกา บึงโขงหลง บางหมู่บ้าน) ถิ่นสะหวันนะเขด จังหวัดที่พูดมีจังหวัดเดียว คือ จ.มุกดาหาร
ภาษาลาวใต้ จังหวัดที่พูดในประเทศไทย จ.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร

ถ้าหลายๆคนบอกว่าสำเนียงลาวเวียงเหมือนสำเนียงเหนือของไทยแล้วชอบขอบอกผิดคาด จริงๆตรงกับภาษาอิสานสำเนียงหนองคาย โดยเฉพาะแทบอำเภอท่าบ่อ หรือถ้าอยากให้สำเนียงเนิบจ๋า ต้องแถบตำบลกองนางสำเนียงนุ่มๆคล้ายเวียงจันทน์เลย ว่างลองแวะไปกันนะครับแถบอำเภอท่าบ่อจังหนองคาย เพราะฝั่งลาวส่วนใหญ่ตามสื่อจะชอบศัพท์ไทยจนลาวงงว่าศัพท์ลาวจริงเป็นไงจริงๆแล้วเหมือนฝั่งอิสานครับ แต่ถ้าอยากรู้แบบศัพท์อีสานแบบเต็มประตู ไปฝั่งที่หนองคาย อ.ท่าบ่อครับ จะใช้เป็นภาษาอิสานเป็นจ๋า ศัพท์อิสานหมดแต่สำเนียงคล้ายๆฝั่งลาวเลยครับ แต่เป็นภาษาอิสานเฉยๆึ อิสานแท้ ครับยังไม่ถือเป็นภาษาลาว มีศัพท์อะไรแบบอิสานหมด  เป็นภาษาอิสานถิ่นหองคายครับ ถิ่น ท่าบ้อ ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อครับ มีอย่างเดียวคิอได้แบบอิสาน โต ที่แปลว่า ตัวแบบอิสานหมด พูดครับ ค่ะ จ้า เหมือนถิ่นอีสานหมดครับ

ปล. สำหรับคนที่อยากได้ยินสำเนียงแบบลาว ที่ใช้ศัพท์ลาวหรืออิสานแท้ควรเข้ามาดูครับเพราะทุกวันนี้ศัพท์ลาวอิสาน นับจะหมดไปทุกวันในประเทศลาว สำหรับคนที่อยากมาฟังควรเข้ามานะครับ

เท่าที่ผมอยู่หนองคายมาแต่เกิดนะครับ และไำด้ติดต่อหรือได้ยินสำเนียงฝั่งนั้นบ่อยมาก ผมยอมรับว่าสำเนียงนั่นมีสำเนียงค่อนข้างคล้ายเชียงใหม่แต่ยังไม่ถือว่าทั้งหมดยังถือมีเสียงแบบอีสานนิด ยอมรับว่านิดมาก ส่วนสำเนียงเวียงจันทน์ ที่หนองคายบอกว่าเหมือนกับอุดร ขอนแก่น แสดงผมลึมบอกไปว่าถ้าเป็นแถบในตัวเมืองหนองคาย แถบในเมืองยังไม่หมดกลิ่นอายอุดรครับ มันยังไม่เริ่มสำเนียงเวียงจันทน์แต่ก็ยังมีบางคนที่ออกแบบเวียงจันทน์ ผมพูดแบบโดยรวมคุณเลยสงสัยถ้าอยากคุณอยากรู้ว่าเหมือนไม่เหมือน คุณต้องแถบชานเมืองหนองคาย หนองเมืองอ่ะครับ ออกมาจากอำเภอเมืองเลย แถบ อำเภอของหนองคาย( อำเภอท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ ตำบลกองนางของท่าบ่อยิ่งเหมือน ศรีเชียงใหม่ก็คล้ายๆ) แต่ถ้าคุณอยากได้ยินสำเนียงเวียงในตัวเมืองหนองคาย คุณต้องคลำหาหน่อย มันหาค่อนข้างยาก แม่ผมก็พูดสำเนียงนั้นเวียงจันทน์อ่ะครับ(ผมคนท่าบ่อครับแต่บ้านผมเป็นคนเชื้อยสายเวียดนามที่ท่าบ่อ หนองคาย แถบหนองคายมีชาวเวียดนามเยอะมากๆ) แต่ถ้าถามว่าสำเนียงแบบชานเมืองของหนองคายเหมือนเวียงเป๊ะๆ มั้ย ไม่ครับ อยากต่างๆบอกนิดนึง แต่ฝั่งหนองคายชานเมืองยังคงศัพท์เดิมแบบอีสานไว้จัดจ้านมาก

ขอย้ำอีกนิดนะครับ ต้องเป็นแถบชานเมืองลุ่มแม่น้ำโขงของหนองคาย เป็นอำเภอของหนองคายครับ ไล่ตามเขตที่ตรงข้ามกับตัวเมืองเวียงจันทน์มาเลยครับ(ไม่รวมโพนสัยมานะครับ) ลองไปฟังด้วย ผมนึกว่าเป็นภาคเหนือสองในภาีคอีสานซะอีก แถบนี้ อิอิ หรือไม่ก็ก็เป็น ภาษาอีสาน+เหนือ แสดงว่าแถบชานเมืองคือ อีสาน+เหนือ
เพราะหลายคนบอกว่าสำเนียงเวียงจัทน์นุ่มคล้ายๆภาษาเหนือ เหมือนอีสาน+เหนือ 555 ก็เลยอยากให้ฟังเวียงจันทน์ฝั่งไทยบ้างมีนะครับแต่ตัวอำเภอเมืองหนองคายค่อนข้างหายาก ลืมบอกที่จริงแล้วสำเนียงที่คุณว่าของตัวเมิองหนองคาย ห้วนๆ แบบอุดรนั่นเป็นสำเนียงของผู้อยู่อาศัยเพราะสำเนียงพื้นถิ่นจริงๆเป็นสำเนียงเวียงจันทน์ สำเนียงคล้ายซัยภูมิบ้างอยู่ครับแต่นุ่มกว่า แต่สำเนียงพื้นถิ่นที่ว่าทุกวันนี้หาฟังได้ยากแล้วครับในแถบนั้น แต่ทางฝั่งไทยศัพท์ต่างๆจะอีสานจ๋ามาก ฝั่งชานเมืองหนองคายจะมีหลายคำที่ลาวไม่มี และลาวก็มีอีกหลายคำที่ฝั่งนี้ไม่มี
ปล.สำเนียงแม่ผม คนอำเภอท่าบ่อ ของหนองคายจะค่อนข้างเหมือน นางเอกในสะบายดีหลวงพระบาง


นี่ครับอีกคำตอบนึงนะครับ

สำเนียงของคนเวียงจันทร์จะเหมือนคนหนองคายครับ โดยเฉพาะอำเภอศรีเชียงใหม่กับอำเภอท่าบ่อครับ

ส่วนที่ว่าคนเวียงจันทร์สำเนียงเหมือนคนกรุงเทพ สำหรับผมแล้ว ไม่เหมือนกันแม้แต่น้อยครับ

ที่หลายๆคนบอกว่าเหมือนกันเพราะ
1. คนลาวต้องการพูดเพื่อให้คนไทยฟังง่าย
2. เพลงสตริงลาว ไม่ว่าจะมาจากแขวงใหน สำเนียงก็เหมือนกรุงเทพ เพราะทำนองมันพาไปครับ

อ้อ ผมไปกลับขอนแก่น - นครหลวงเวียงจันทร์ เกือบทุกเดือนครับ



นี่ผมไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องประวัติท้องถิ่นได้ความมาว่าอย่างงี้

"มันมีการย้ายถิ่นฐานครับ ตั้งแต่สมัยโบราณแล้วครับ  

บางอำเภอมีถึงเจ็ดแปดสำเนียงเลย เป็นตำบล ๆ ไป

จังหวัดเลยจะออกไปทางพระบาง แต่ไม่ทั้งหมด ก็แปลกดีเหมือนกัน
  เลือกคำตอบนี้  ตอบกลับ
0 0  
โมกษะ  
วันจันทร์ เวลา 23:58 น.
ความคิดเห็นที่ 1-1
ย้ายจากไหนถึงไหนครับ แล้วสำเนียงกองนางเองเหมือนสำเนียงไหนของฝั่งลาวครับ แล้วทีนี้สำเนียงกองนางนี่เพราะมั้ยตามที่คุณฟัง ย้ายมาจากตัวเวียงเปล่า
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 974035
เมื่อวานนี้ เวลา 00:01 น.  [IP: 171.5.69.157]
ความคิดเห็นที่ 1-2
บ้านกองนางก่อตั้งขึ้นเมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัด แต่เหตุที่มีชื่อว่า "กองนาง" ได้มีเรื่องราวเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ผู้ครองนครเวียงจันทร์ ได้นำทหารและพลเมืองออกล่าสัตว์ บริเวณหมู่บ้านกองนางในปัจจุบันนี้ อันเป็นบริเวณที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ตามริมฝั่งแม่น้ำโขง มีหนองน้ำ และมาด้วยสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เก้ง กวาง กระจง เสือ หมูป่า ลิง ชะนี จระเข้ ฯลฯ และได้สร้างที่พักตรงบริเวณต้นลำดวน เครื่องมือที่ใช้ในการล่าดักจับสัตว์ชนิดหนึ่งในสมัยนั้นคือ "ตาหน่าง" (ตาข่าย) ในการดักจับสัตว์จะต้องกางตาหน่างดักรอไว้ก่อน จากนั้นฝ่ายไล่ต้อนสัตว์ก็จะพากันตีเกราะเคาะไม้ให้สัตว์ตกใจ พอสัตว์ตกใจก็จะวิ่งหนีไปในทิศทางที่ตรงข้ามกัน ก็คือด้านที่กางตาหน่างเอาไว้ พอสัตว์วิ่งชนตาหน่างก็จะล้มคลุมพันสัตว์จนติดคากับตาหน่าง เมื่อพระองค์เสร็จจากการล่าสัตว์ ก็เสด็จกลับนครเวียงจันทร์โดยทิ้งตาหน่างดักสัตว์กองไว้บริเวณใกล้ๆ กับต้นลำดวน ทั้งนี้เพราะไม่สะดวกในการขนกลับ และมีพลเมืองจำนวนหนึ่งไม่กลับนครเวียงจันทร์ขออยู่เฝ้ากองตาหน่าง และอีกเหตุผลหนึ่งคือ บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทำเลดี เป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ และได้สร้างที่พักอาศัยบริเวณที่เก็บกองตาหน่าง ต่อมาได้มีประชาชนพลเมืองได้ชักชวนกันอพยพย้ายถิ่นฐาน มาตั้งรกรากอยู่บริเวณนี้อีกหลายครอบครัว โดยเรียกบริเวณที่ตั้งกองตาหน่าง เพี้ยนไปเป็น "กองหน่าง" และในที่สุดก็เพี้ยนไปเป็น "กองนาง" จนถึงปัจจุบันนี้
ตอบกลับ
0 0  
โมกษะ  
เมื่อวานนี้ เวลา 00:26 น.
ความคิดเห็นที่ 1-3
ยังไม่ครบ อ่ะครับ ยังตอบไม่ครบอยู่หลายข้อ แล้วเคยฟังสำเนียงกองนางมั้ยครับ แล้วที่ว่าสำเนียงเวียงจันทน์เหมือนเหนือจริงมั้ย
แก้ไขข้อความเมื่อ เมื่อวานนี้ เวลา 00:28 น.
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 974035
เมื่อวานนี้ เวลา 00:27 น.  [IP: 171.5.69.157]
ความคิดเห็นที่ 1-4
มาจากตัวเวียง(โบราณ) ถ้าถามว่าเพราะไม๊เราก็เฉย ๆ นะ ในท่าบ่อ สำเนียงน่าฟังสำหรับเรา เป็นตำบลน้ำโมง

น้ำโมงเป็นชาวโส้ง ย้ายมาจากแถวพูพาน สำเนียงยังกะดนตรีเลย (ตอนนี้ไม่รู้เปลี่ยนไปยัง เราไม่อยู่มานานร่วมสามสิบปีแล้ว)
ตอบกลับ
0 0  
โมกษะ  
เมื่อวานนี้ เวลา 00:34 น.
ความคิดเห็นที่ 1-5
แล้วตัวเมืองเวียงจันทน์ทุกวันนี้ คล้ายที่ไหนในแถบนี้บ้างแล้วจริงเหรอที่ตัวเวียงจันทน์สำเนียงนุ่มๆแบบเหนือ ความนุ่มแบบนี้มีทางท่าบ่อ ศรีเชียงใมห่มั้ยอ่ะ บ้านเราออกเนิบๆ คล้ายๆเหนือที่เค้าว่ามั้ย แล้วท่าบ่อมาจากตัวเวียงเหมือนกันมั้ยอ่ะครับ สำเนียงไม่เหน่อเลยปกติ แล้วสรีเชียงใหม่คงมีที่มาเหมือนท่าบ่อเนอะ ถึงสำเนียงไม่ต่างกันมาก
แก้ไขข้อความเมื่อ เมื่อวานนี้ เวลา 00:40 น.
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 974035
เมื่อวานนี้ เวลา 00:39 น.  [IP: 171.5.69.157]
ความคิดเห็นที่ 1-6
^^^
ขอโทษที ภูพาน ไม่ใช่พูพาน
ตอบกลับ
0 0  
โมกษะ  
เมื่อวานนี้ เวลา 00:39 น.
ความคิดเห็นที่ 1-7
ฮ่วย ยาวไปเรื่อย  เราว่าที่คล้ายทางเหนือของไทย น่าจะเป็นพระบางขึ้นไปนะ
แต่เวียงก็ถือว่านุ่มหูเหมือนกัน ถ้าเทียบกับทางใต้ แถวจำปาศักดิ์ จะคล้ายกับอุบล
ตอบกลับ
0 0  
โมกษะ  
เมื่อวานนี้ เวลา 00:43 น.
ความคิดเห็นที่ 1-8
แล้วแถบท่าบ่อ ไปจนถึงศรีเชียงใหม่ นุ่มหูมั้ย อิอิ สุดท้ายแล้วครับจะไปนอนแล้วอิอิ โทษทีถามเพลินไปหน่อย
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 974035
เมื่อวานนี้ เวลา 00:50 น.  [IP: 171.5.69.157]
ความคิดเห็นที่ 1-9
ก็นุ่มแหละแต่ล่าสุดเพิ่งไปมา ตัวเมืองท่าบ่อ เว่าไทยกันหมดแหล่ว
ตอบกลับ
0 0  
โมกษะ  
เมื่อวานนี้ เวลา 00:52 น.
ความคิดเห็นที่ 1-10
นุ่มแบบเวียงจันทน์เลยใช่มั้ย อืมแล้วทีนี้เค้ายังพูดอีสานอยู่นะจัดจ้านเหมือนเดิม แต่ญวนหรือเวียดนามซึ่งก็เป็นชาวเวียดนามเชื้อสายเวียดนาม ซึ่งหนองคายมีเวียดนามเยอะ ก็ไม่ค่อยจะใช้ แต่ศรีเชียงให่จะนุ่มเหมือนกันเนาะ ศรีเชียงใหม่ต่างกับท่าบ่อมั้ย แล้วเหมือนกองนางหรือเปล่า
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 974035
เมื่อวานนี้ เวลา 01:00 น.  [IP: 171.5.69.157]
ความคิดเห็นที่ 2
อยู่กองนางเหรอ ขอบอกฟุตบอลกองนาง เจอปทุมเทพ กินไข่ไปเป็นโหล 5555555
  เลือกคำตอบนี้  ตอบกลับ
0 0  
โมกษะ  
เมื่อวานนี้ เวลา 01:20 น.
ความคิดเห็นที่ 2-1
คนท่าบ่อนี่แหละครับ แต่ชอบสำเนียงกองนางเฉยๆ 555+ เห้นว่าเหน่อๆ เนิบๆดีครับ
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 974035
เมื่อวานนี้ เวลา 01:28 น.  [IP: 171.5.69.157]
ความคิดเห็นที่ 2-2
ตอบกลับได้ยังครับว่า นุ่มแบบเวียงจันทน์เลยใช่มั้ย ท่าบ่อ อืมแล้วทีนี้เค้ายังพูดอีสานอยู่นะจัดจ้านเหมือนเดิม แต่ญวนหรือเวียดนามซึ่งก็เป็นชาวเวียดนามเชื้อสายเวียดนาม ซึ่งหนองคายมีเวียดนามเยอะ ก็ไม่ค่อยจะใช้ แต่ศรีเชียงให่จะนุ่มเหมือนกันเนาะ ศรีเชียงใหม่ต่างกับท่าบ่อมั้ย แล้วเหมือนกองนางหรือเปล่า
ตอบกลับ
0 0  
สมาชิกหมายเลข 974035
เมื่อวานนี้ เวลา 01:28 น.  [IP: 171.5.69.157]
ความคิดเห็นที่ 2-3
เราว่าเวียงเดี๋ยวนี้ก็ไม่เหมือนเดิมนะ  มีหลายคำที่ฟังแล้วเป็นทางการมาก

กองนาง ท่าบ่อชานเมืองหรือศรีเชียงใหม่ชานเมืองนะแหละ เป็นเวียงดั้งเดิม

ศรีเชียงใหม่ต่างกับท่าบ่อพอสมควร"




นี่ครับที่ถามมาแต่ฝั่งไทยคือแถบอำเภอซึ่งเป็นชานเมืองของหนองคายนั้นจะ เป็นสำเนียงแบบเนิบๆ ช้า แบบสไตล์เวียงจันทน์ตอนเด็กผมฟังทำให้ผมนึกถึงสาวเหนิอเลยครับสำเนียงท่าบ่อ ของหนองคาย แต่อย่างที่บอกไป ศัพท์หลายคำที่แถบหนองคายนี้มี ฝั่งลาวไม่มี ที่ลาวมีหนองคายก็ไม่มี สรุปก็คือ สำเนียงชานเมืองของหนองคาย(อำเภอ)=ศัพท์บางคำของลาว+ศัพท์แบบท้องถื่นอีสานส่วนใหญ่+สำเนียงแบบนุ่มๆเนิบสไตล์ของฝั่งเวียงจันทน์

ปล. ตำบลกองนาง คือรอยต่อระหว่างท่าบ่อกับ อำเภอศรีเชียงใหม่ที่อยู่ตรงข้ามกับตัวเวียงจันทน์พอดี อยู่ทางไปเขตศรีเชียงใหม่

ส่วนใหญ่จะใช้ศัพท์ท้องถิ่นอีสานทั่วไปเหมือนอีสานที่อื่นนะครับฝั่งหนองคาย แต่จะมีบางคนใช้เหมือนลาว
และเหนือ อย่างเช่น จักรยานฝั่งชานเมืองท้องถิ่นหนองคายจะใช้รถถีบ ข้างล่าง ใช้
ทางลุ่มหรือลุ่ม เหมือนลาว และภาคเหนือ อีสานทั่วไปใช้ว่าทางล่าง อย่างเรียกจะใช้
ฮ้อง ปนกับเอิ้น แต่แถบลุ่มแม่น้ำใช้ฮ้องบ่อยกว่า เอิ้น แปลว่าเรียก เหมือนภาคเหนือ
สำเนียงก็ใกล้เคียงด้วยอ่ะครับ และแถบอีกคำ มะเขือเทศจะใช้ว่า บักเหล่น ไม่ใช่บัก
เขือคึงเหมือนอีสานถิ่นอื่น

แล้วก็อีกคำคือคำว่า ไม้เรียว คนแถบหนองคาย(ทุกที่อำเภอส่วนใหญ่) เรียกว่า ไม้แส้ เหมือน

คนล้านนาหรือภาคเหนือเลย แล้วคำว่าใต้เช่นอยู่ใต้โต๊ะ จะชอบใช้คำ ก้อง ออกเสียงว่าก้องเลย
แล้วก็คำว่าเสร็จ ไม่รู้อีสานที่อื่นใช้เหมือนกันไม่ แถวหนองคาย ใช้ แล้ว อ่านออกเสียงเป็น แล่ว เช่น
ยังบ่แล้ว แปลว่ายังไม่เสร็จ แล้วก็นิยมใช้คำว่าเทื่อซึ่งที่จริง แปลว่าครั้งมักจะไว้ท้ายประโยค แปลว่า

เท่าไหร่ ยังบ่เก่งเทื่อ ยังบ่ป่องเทื่อ ยังไม่เก่งเท่าไหร่ ยังบ่ได้กินเทื่อแปลว่ายังไม่ได้กินที
คำผู้หญิง จะชอบใช้เหมือนภาคเหนือว่าแม่หญิง แม่ญิง ออกตามสำเนียงเนิบใกล้กับเวียงเลย
แล้วคนแถวนี้จะนิยมเรียกแทนตัวเองเวลาคุยกับคนที่สนิทมากๆ หรือใกล้ชิดว่า เขา ใช้เป็นบุรุษ

ที่1เลยถ้าะเทียบกับภาษากลาง แปลว่า เค้า เรา อะไรประมาณนี้ แต่หลักคือคำท้ายประโยคคำ

ถามว่าหวา จะใช้แทน ติ แปลว่า เหรอ หรือ

แต่คำอื่นๆทั่วไปจะเป็นแบบศัพท์อีสานหมด บัก บักหล่า เซียง อีหล่า หรือคำส่วนใหญ่ยังคงมี

และใช้เหมือนเดิมเหมือนเคย



ผมคิดว่าสำเนียงเมืองเลย น่าจะใกล้เคียงกับภาคเหนือที่สุดนะ  ส่วนสำเนียงของหนองคาย ท่าบ่อ  ศรีเชียงใหม่ ตำบลกองนาง โซนนี้สำเนียงจะใกล้เคียงกับทางเวียงจันทร์ครับ ส่วนอำเภอที่ลงใต้ไปทาง รัตนวาปี โพนพิสัย ปากคาด บึงกาฬ บุ่งคล้า บึงโขงหลง สำเนียงก็จะใกล้เคียงกับแขวงต่างๆ ของ สปป. ลาวที่อยู่ตรงข้ามกันครับ อย่างบึงโขงหลง บ้านผม สำเนียงก็จะคล้ายกับแขวงคำม่วน ของลาวครับ
จากประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ อาจจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้นะครับ


ปล. คุยกับคนที่เวียงจันทร์ เขาบอกว่า " ควมเว้าเจ้า คือทางคำม่วนเนาะอ้าย "
ที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่มีเจตนาที่จะชวนเถียงหรือทะเลาะนะครับ ยินดีที่ได้สนทนาด้วยนะครับ    

 
 
สาธุการบทความนี้ : 204 ครั้ง
จากสมาชิก : 0 ครั้ง
จากขาจร : 204 ครั้ง
 
 
  04 ต.ค. 2556 เวลา 15:31:05  
   ขึ้นบน ลงล่าง  
 
         

  หน้า: 1

   

Creative Commons License
ประวัติสำเนียงหนองคาย --- เว็บบอร์ดอีสานจุฬาฯ